วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 08:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 10:47
โพสต์: 11

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ, สติปัฏฐาน ๔
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: พุทธธรรม
ชื่อเล่น: พัท
อายุ: 37
ที่อยู่: กรุงเทพ

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผมเพิ่งเริ่มศึกษาธรรมมะได้ไม่นานครับ สาเหตุที่หันมาศึกษาเพราะต้องการเปลี่ยนชีวิตในภายภาคหน้าให้ดีขึ้น เนื่องจากชีวิตที่ผ่านมามักพบแต่ความผิดหวังและความล้มเหลวมาโดยตลอด โดยเชื่อว่าเป็นผลมาจากกรรมเก่าที่ผมได้เคยก่อไว้ ซึ่งในชีวิตผมนั้นสิ่งใดที่เคยเกิดขึ้นก็มักจะเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงขอเรียนถามท่านผู้เจริญในธรรมทั้งหลายว่า กรรมที่เราได้ก่อไว้ในอดีตทั้งทางมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม อันเป็นกรรมชั่ว จะสามารถใช้การเจริญวัปัสนากรรมฐานเพื่อตัดกรรมเหล่านั้นไม่ให้แสดงผลออกมาได้หรือไม่ครับ หรือว่าไม่สามารถแก้ได้ กรรมเหล่านั้นก็ยังต้องแสดงผลให้เราต้องเป็นไปตามกรรมเหล่านั้นอยู่นั่นเองครับ...ช่วยให้ความรู้และคำแนะนำกับผู้ด้อยในธรรมด้วยนะครับ....ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

tongue

.....................................................
ปล่อยวาง...ปล่อยวาง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วยทำให้เบาบางลงได้ครับ แต่จะตัดเลยคงทำไม่ได้ ต้องชดใช้ไปก่อน
การ "คิดดี พูดดี ทำดี" เปนสิ่งที่เปนมงคลกับชีวิตทำให้แก้อุปสรรคได้

ผู้ที่จะแก้ไขความผิดพลาดสิ่งไม่ดีออกไปได้ ต้องมี 2 สิ่งคือ ใจต้องมีความเยือกเย็น ได้จากการทำใจเข้าถึงความสงบและอีกอย่างคือทำให้เกิดสติปัญญา ได้จากการทำวิปัสสนากรรมฐาน มีสติในขณะเจริญวิปัสสนา มีสติในขณะ
เจริญภาวนา เจริญสมาธิ และมีสติขณะที่ไม่ได้เจริญภาวนาด้วย

เมื่อตัวเองไม่รู้ก้มักจะไม่รู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง รอให้ผ่านไปแล้วถึงนึกได้ แต่ผู้ปัญญามักจะทบทวนในสิ่งที่จะ
เกิดขึ้นก่อนและหลังปัญหาจะเกิด คือคิดได้ก่อน ถึงแม้ว่าทำไม่ได้ก้ทนอย่กับปัญหาที่เจอได้ แต่เมื่อแก้ไข ปัญหา
ที่เข้ามาได้ทุกอย่างก้คลี่คลาย คลี่คลายได้ เราก้ปลอดโปร่ง คลายจากความทุกข์ครับ :b41:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรรมที่เราได้ก่อไว้ในอดีตทั้งทางมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม อันเป็นกรรมชั่ว



ลึกๆแล้วกรัชกายไม่รู้ว่า คุณภุมรู้เข้าใจเกี่ยวกับ"กรรม" ยังไงแค่ไหนเพราะเรื่องนี้พูดกันเข้าใจกันไปต่างๆ

แต่เห็นคุณเขียน เช่นที่อ้างอิงแล้ว เห็นว่าน่าจะสนทนากันได้ (แต่ก็ติดคำว่า อดีต อดีตคุณหมายถึงแค่ไหน อดีต) ลองดูนะครับ

เริ่มจากทำความเข้าใจ ความหมายศัพท์เหล่านี้ก่อน

(มโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม อันเป็นกรรมชั่ว)

กรรม คือ การกระทำ ได้แก่ การกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) มีทั้งกุศล และอกุศล ถ้าเป็นกุศลก็เรียกว่า กุศลกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ (กรรมฝ่ายดี ฝ่ายบุญ)

หากเป็นอกุศล ก็เรียกว่า อกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ (กรรมฝ่ายชั่ว ฝ่ายบาป)

ท่านกล่าวว่า เจตนา นั่นแหละกรรม ดังนั้น เจตนาที่ประกอบด้วยกุศล ก็เป็นกุศลเจตนา และเป็นกุศลกรรม

เจตนาที่ประกอบด้วยอกุศล ก็เป็นอกุศลเจตนา และเป็นอกุศลกรรม เมื่อกุศลเจตนา และอกุศลเจตนานั้น เป็นไปหรือแสดงออกโดยทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็เรียกว่า เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ

หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่เป็นกุศล และเป็นอุกศล ตามลำดับ

กุศลเจตนาหรือกุศลจิต...เรียกว่าเป็นบุญทางใจ ทางกาย ทางวาจา

อกุศลเจตนาหรืออกุศลจิต...เรียกว่าเป็นบุญทางใจ ทางกาย ทางวาจา

เท่านี้ก่อน สับสนไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณภุม ศึกษาทำความเข้าใจความหมายของ วิปัสสนา ที่นี่ดูก่อนนะครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 33#msg5633

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาคำว่า เจตนา ซึ่งเป็นความหมายทางธรรมด้วยครับ


เจตนาในทางธรรม คือ ตามหลักกรรมนี้ การกระทำ การพูดที่แสดงออกภายนอกโดยจงใจก็ดี ความคิดต่างๆ แม้เล็กๆ น้อยๆที่เกิดขึ้นๆ ชั่วครู่ชั่วขณะแล้วผ่านไปๆภายในจิตใจก็ดี

การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ดี ความรู้สึก และท่าทีของจิตใจต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ประสบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ระลึก หรือ นึกขึ้นมาในใจก็ดี ล้วนมีเจตนาประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น

เจตนาจึงเป็นเจตน์จำนง ความจงใจ การเลือกอารมณ์ของใจ ตัว นำที่หันเหชักพาทำให้จิตเคลื่อนไหวโน้มน้อมไปหา หรือ ผละไปจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมุ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เป็นหัวหน้าเป็นผู้จัดการ หรือ เจ้ากี้เจ้าการของจิตว่า จะเอาอะไรไม่เอาอะไรกับเรื่องใดอย่างไร เป็นตัวการจัดแจงแต่งวิถีทางของจิต และในที่สุดก็เป็นตัวการปรุงแต่งจิตนั้นให้เป็นไปต่างๆ เมื่อเจตนาเกิดขึ้นครั้งหนึ่งก็คือกรรมเกิดขึ้นทีหนึ่ง

เมื่อกรรมเกิดขึ้นแล้ว ก็มีผลทันที เพราะเมื่อเจตนาเกิดขึ้นก็คือมีกิจกรรมเกิดขึ้นในจิตแล้ว จิตมีการเคลื่อนไหว หรือไหวตัวแล้ว แม้ เป็นเพียงความคิดอะไรเล็กน้อย ซึ่งถึงจะไม่มีผลอะไรสำคัญ แต่ก็ไม่ไร้ผลเสียเลย อย่างน้อยก็เป็นละอองกรรมอันละเอียดที่สั่งสม หรือพอกเข้าไว้เป็นเครื่องปรุงแต่งคุณสมบัติของจิตอยู่ภายใน

เมื่อ มากขึ้น เช่น จิตเสพความคิดนั้นบ่อยๆหรือความคิดนั้นรุนแรงขึ้นจนออกมาภายนอก ผลก็แรงขึ้นขยายออกมาเป็นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ เป็นต้น
เช่น เจตนาในการทำร้าย ไม่ต้องพูดถึงกรรมร้ายแรงถึงขั้นจะฆ่าคน แม้แต่การทำลายสิ่งของที่เล็กๆน้อยๆ เหลือเกิน ถ้าทำด้วยเจตนาทำร้ายคือประกอบด้วยโทสจิตหรือมีความโกรธ

อย่างคนฉีก กระดาษด้วยความฉุนเฉียว ทั้งที่กระดาษนั้นไม่มีคุณค่าสำคัญอะไร แต่ย่อมมีผลต่อสุขภาพจิต หาเหมือนกันไม่กับการฉีกกระดาษของคนที่ทำด้วยจิตปกติโดยรู้ว่า จะไม่ใช้กระดาษนั้นแล้ว

เมื่อทำการอะไรๆ ด้วยเจตนาอย่างนั้นบ่อยๆ ผลแห่งการสั่งสมก็จะปรากฏชัดยิ่งขึ้น และอาจขยายกว้างออกไปในระดับต่างๆโดยลำดับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 81#msg5181

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 10:47
โพสต์: 11

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ, สติปัฏฐาน ๔
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: พุทธธรรม
ชื่อเล่น: พัท
อายุ: 37
ที่อยู่: กรุงเทพ

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบพระคุณท่านกรัชกายมากนะครับที่กรุณาให้ความรู้ จริงๆ แล้วผมก็พอเข้าใจในเรื่องกรรมนี้บ้างว่าเมื่อใดที่ได้ก่อขึ้นไม่ว่าจะกุศลกรรมและอกุศลกรรมก็ตามย่อมเกิดผลในทันที โดยเฉพาะในทางจิตใจนี่แหละครับ :b48: :b48:
:b41: ส่วนที่ผมได้กล่าวถึงว่ากรรมในอดีตในทางอกุศลกรรมนั้น หมายถึง การที่เราเคยก่อกรรมต่างๆ นาๆ ไว้(เน้นทางอกุศลกรรมนะครับ) มีการปรุงแต่ง ต่อเติม ตอบโต้ และถูกเก็บฝังมันไว้ในจิต ถือเป็นต้นทุนที่จะนำเราไปเกิดในชาติต่อไป (ตามความเข้าใจของผมเองนะครับ) ซึ่งก็จะมีผลต่อการรูปนามรวมทั้งบุคลิกภาพหรือนิสัยของเรานั้นชาตินั้นด้วย และสิ่งที่ถูกฝังเก็บไว้ในจิตนี่ละครับก็แสดงผลออกมา เป็น "สัญญา" เก่าๆ ความจำได้หมายรู้ มีผลต่อการแสดงออกของเรา เมื่อเราปรุงแต่งต่อเติมต่อไป หรือใช้ความรู้สึกเดิมๆ ในการปรุงแต่ง เช่น เมื่อได้ยินหรือได้เจอสิ่งนี้ ก็จะทำให้เรารู้สึกโมโห หรือหงุดหงิด เป็นต้น ตรงนี้แหละครับ ที่ผมเรียกกว่าผลของกรรมเก่าในอดีต ซึ่งเรากระทำหรือพอกกิเลสสะสมไว้ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติแล้ว มีผลต่อการแสดงออกของเรา และทำให้เราต้องพบกับสิ่งที่จะทำให้เราต้องแสดงออกซึ่งกรรมหรือการกระทำของเราแบบเดิมๆ อยู่เสมอๆ จึงเริ่มศึกษาธรรมมะ เกี่ยวกับการวิปัสนากรรมฐาน เพื่อจะลอกกิเลสที่เกาะกุมจิตของผมให้หมดไป ให้จิตใจมันบริสุทธิ์ขึ้นครับ ดังนั้นที่ใช้คำว่าตัดกรรม โดยความหมายก็หมายถึงการขจัดสังขารเก่าที่เกาะกุมจิต ไม่ให้แสดงผลออกมาในชาติหน้าหรือชาติต่อๆ ไปนี่แหละครับ จึงต้องการถามว่า มันจะลบความจำเหล่านั้น (เน้นในทางอกุศลกรรม) ไม่ให้ปรากฏเป็นสัญญาในชาติต่อไปได้หรือไม่ :b35: :b35:
ไม่รู้จะพอเข้าใจหรือเปล่านะครับ เพราะอ่านเองยังงงเอง ถ้าตรงประเด็นจริงๆ แล้ว ผมเป็นคนขี้โกรธ โมโหง่าย ขี้หงุดหงิด แล้วก็แปลกครับยิ่งเราเป็นคนอย่างนี้ ก็ต้องเจอเรื่องที่ทำให้ต้องโมโหหรือหงุดหงิดบ่อยมาก ต้องการปลี่ยนนิสัยของตัวเองครับ เลยเริ่มศึกษาธรรมมะ ตอนนี้ก็พยายามทำอานาปานสติทุกวัน ทั้งตอนขับรถ ทำงาน และเริ่มศึกษาสติปัฎฐาน ๔ ตอนนี้เน้นที่จิต และเวทนาครับ ยังไงขอท่านช่วยให้คำแนะนำด้วยนะครับ
tongue

.....................................................
ปล่อยวาง...ปล่อยวาง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่ผมได้กล่าวถึงว่า กรรมในอดีตในทางอกุศลกรรมนั้น หมายถึง การที่เราเคยก่อกรรมต่างๆ นาๆ ไว้ (เน้นทางอกุศลกรรมนะครับ) มีการปรุงแต่ง ต่อเติม ตอบโต้ และถูกเก็บฝังมันไว้ในจิต ถือเป็นต้นทุน ที่จะนำเราไปเกิดในชาติต่อไป (ตามความเข้าใจของผมเองนะครับ) ซึ่งก็จะมีผลต่อการรูปนาม รวมทั้งบุคลิกภาพหรือนิสัยของเรานั้นชาตินั้นด้วย และสิ่งที่ถูกฝังเก็บไว้ในจิตนี่ละครับ ก็แสดงผลออกมา เป็น "สัญญา" เก่าๆ ความจำได้หมายรู้ มีผลต่อการแสดงออกของเรา เมื่อเราปรุงแต่งต่อเติมต่อไป หรือใช้ความรู้สึกเดิมๆ ในการปรุงแต่ง เช่น เมื่อได้ยินหรือได้เจอสิ่งนี้ ก็จะทำให้เรารู้สึกโมโห หรือหงุดหงิด เป็นต้น ตรงนี้แหละครับ ที่ผมเรียกกว่าผลของกรรมเก่าในอดีต ซึ่งเรากระทำหรือพอกกิเลสสะสมไว้ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติแล้ว



สัญญา ที่คุณพูดถึง ใช่ตัวเดียวกับ สัญญาที่ => รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณภุม พิจารณาพุทธพจน์นี้


“เขาละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ละมุสาวาท...ปิสุณาวาจา...ผรุสวาจา... สัมผัปปลาปะ...อภิชฌา...พยาบาท...มิจฉาทิฐิ แล้วเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ เขาเป็นผู้อริยสาวก มีใจปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น อยู่ด้วยใจที่ประกอบด้วยเมตตาปกแผ่ไปทิศ 1...ทิศ 2...ทิศ 3...ทิศ 4...ครบถ้วนทั้งสูง ต่ำ กว้างขวาง ทั่วทั้งโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ยิ่งใหญ่ ไม่มีประมาณ ไร้เวร ไร้พยาบาท ฯลฯ เมื่อเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ทำให้มากอย่างนี้ กรรมใดที่ทำไว้พอประมาณ กรรมนั้น จักไม่เหลือ จะไม่คงอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตินั้น…”

ดูทั้งหมดลิงค์นี้


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 211#msg211

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 10:47
โพสต์: 11

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ, สติปัฏฐาน ๔
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: พุทธธรรม
ชื่อเล่น: พัท
อายุ: 37
ที่อยู่: กรุงเทพ

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบพระคุณท่านกรัชกายมากนะครับ ที่ช่วยให้คำแนะนำ
tongue
ส่วนคำว่า สัญญา ที่ผมกล่าวไว้นั้นถูกแล้วครับ คือ สัญญาในขันธ์ ๕ นั้นแหละครับ ตามความเข้าใจของผม สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ซึ่งแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่บรรจุเก็บไว้ในจิตแต่ละคน ทั้งดีและไม่ดี และน่าจะเกี่ยวข้องกับการปรุงแต่ง ตอบโต้ (สังขาร) สร้างกิเลสเกาะกุมจิต ส่งผลต่อวิญญาณ และรูปนาม และเมื่อเกิดขึ้นมาในชาติใหม่ ข้อมูลที่เก็บไว้ในจิต ก็มีผลต่อการแสดงออกมาเป็นกรรมใหม่ทั้งทั้งทางกาย วาจา หรือทางใจ เป็นลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพนั่นแหละครับ ตรงนี้แหละครับที่ผมอยากลบข้อมูลเก่าๆ ที่เราเองเคยเก็บข้อมูลมันไว้ในจิตที่เก็บสะสมเพิ่มพอกพูนไว้ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ (โดยเน้นในทางอกุศลกรรมก่อน) และเข้าใจว่าการเจริญวิปัสนากรรมฐานจะช่วยในการลอกกิเลสนี้ให้ออกหมดไป โดยใช้ปัญญาในการพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม เป็นต้น :b8: :b8:
เท่าที่ติตตามโพสของคุณกรัชกายมา เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ในธรรมดีมาก จึงใคร่ขอคำแนะนำในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมมะ โดยเฉพาะการเจริญวิปัสนากรรมฐาน หรือการปฏิบัติต่างๆ ครับ ว่าควรเริ่มจากอะไร หนังสืออะไร แนวทางการปฏิบัติ เอาตามแบบของคุณกรัชกายก็ได้นะครับ ขอบพระคุณมาก :b45: :b41: :b48: :b55:

.....................................................
ปล่อยวาง...ปล่อยวาง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้เริ่มจากข้อคิดเบาๆนี้ก่อนนะครับ


กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (สํ.สฬ. 18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า “คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น” และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า “ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์”

ลิงค์โยนิโสมนสิการ 10 วิธี

1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย

2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา

4. วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา

5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก

7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม

8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม

9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน

10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาทะ

รายละเอียดตามนี้

viewtopic.php?f=2&t=31566

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อด้วย พุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า



“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”

จับสาระพุทธพจน์ให้ได้นะครับว่าอะไรยังไง


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=745.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วต่อด้วยประเด็นที่คุณถาม นั่นคือความหมายของคำว่า สัญญา ความจำได้หมายรู้พิจารณาดูครับ



สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆอันเป็นเหตุให้จำอารมณ์

ว่าโดยสภาพแปรุงแต่ง สัญญาแบ่งได้ 2 ระดับ คือ

1. สัญญาขั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง เช่น หมายรู้ว่า สีเขียว ขาว ดำ แดง แข็ง อ่อน รสเปรี้ยว หวาน รูปร่างกลม แบน ยาว สั้น เป็นต้น

2. สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ ความหมายรู้ไปตามสภาพคิดปรุงแต่ง หรือตามความรู้ความเข้าใจ ในระดับต่างๆ เช่น หมายรู้ว่า สวย ว่าน่าเกลียด น่าชัง ว่าไม่เที่ยง ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น

ถ้าแยกย่อยออกไป สัญญาซ้อนเสริม แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ

-สัญญา ซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกว่า ปปัญจสัญญา คือสัญญาซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฏฐิ เรียกอีกอย่างว่า กิเลสสัญญา แปลว่าสัญญาที่เกิดจากกิเลส สัญญาพวกนี้ ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือ และห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้ ไม่เป็นเรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ แทนที่จะช่วยให้เกิดความรู้ กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้ ยกตัวอย่างเช่น หมายรู้ลักษณะที่ตนถือว่าน่าชัง หมายรู้ลักษณะอาการที่สนองความอยากได้อยากเอา หมายรู้ลักษณะอาการที่ตนเป็นคนยิ่งใหญ่ หมายรู้ลักษณะอาการในผู้อื่นที่ตนถือว่าต่ำต้อยด้อยค่า หมายรู้ภาวะ ที่ตนเป็นเจ้าของ เป็นผู้ครอบครอง

- สัญญา ที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือ เกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า กุศลสัญญาบ้าง เรียกว่า วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้าง เป็นสัญญาที่ช่วยส่งเสริมในความเจริญปัญญา และความงอกงามแห่งกุศลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร หมายรู้ลักษณะอาการ ซึ่งแสดงสภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะ ที่เป็นของไม่เที่ยง ภาวะที่ไร้ตัวตน เป็นต้น

พระอรหันต์ ก็มีสัญญา แต่เป็นสัญญาที่ปราศจากอาสวะ คือ สัญญาไร้กิเลส พระอรหันต์ ก็หมายรู้ปปัญจสัญญาตามที่ปุถุชนเข้าใจ หรือ ตามที่ท่านเองเคยเข้าใจเมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แต่ท่านหมายรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ เช่นในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของผู้อื่น ไม่หมายรู้ในแง่ที่จะมีตัวตนออกรับความกระทบ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูข้ออุปมาส่วนประกอบชีวิตนี้อาจเข้าใจเรื่องที่เราจะสนทนากันง่ายขึ้น


เวทนา เป็นตัวล่อและชักจูงใจ เหมือนผู้คอยเสนอให้เอา หรือไม่ให้เอา หรือหลีกเลี่ยงอะไร

สัญญา เหมือนผู้สะสมเก็บข้อมูล หรือวัตถุดิบ

สังขาร เหมือนผู้นำเอาข้อมูล หรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ปรุงแปรตระเตรียมทำการ

วิญญาณ เหมือนเจ้าของงาน ใครจะทำอะไรคอยรับรู้ไปหมด เป็นทั้งผู้เปิดโอกาสให้มีการทำงาน

และเป็นตัวรับผลของการทำงาน

รูป เหมือนสนาม หรือสำนักงานให้นามขันธ์ได้เล่น,ได้ทำงาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมายคำว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” ที่คุณพูดถึง วิปัสสนากรรมฐาน (วิปัสสนา+กรรม+ฐาน) คำว่า วิปัสสนา เป็นอีกชื่อหนึ่งของคำว่า ปัญญา

ปัญญา มีหลายขั้นหลายระดับ มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้เป็นความหมายเฉพาะ หมายถึงปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง เช่นคำว่า ญาณ วิชชา วิปัสสนา สัมปชัญญะ ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ <= เป็นชื่อของปัญญาทั้งสิ้น

ส่วนคำว่า
กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน

มีความหมายเป็นทางการว่า สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบาย หรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ
พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยวเล่นเตลิด หรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย

วิปัสสนากรรมฐาน จึงแปลตามพยัญชนะว่า ที่ตั้งแห่งการงานของจิตเพื่อให้เกิดปัญญา หรือแปลสั้นๆตามแบบเรียนว่า อุบายเรืองปัญญา

แต่ดูความหมายคำว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” ที่คุณพูดถึง วิปัสสนากรรมฐาน (วิปัสสนา+กรรม+ฐาน) คำว่า วิปัสสนา เป็นอีกชื่อหนึ่งของคำว่า ปัญญา

ปัญญา มีหลายขั้นหลายระดับ มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้เป็นความหมายเฉพาะ หมายถึงปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง เช่นคำว่า ญาณ วิชชา วิปัสสนา สัมปชัญญะ ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ <= เป็นชื่อของปัญญาทั้งสิ้น

สวนคำว่า
กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน
มีความหมายเป็นทางการว่า สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบาย หรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ
พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยวเล่นเตลิด หรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย

วิปัสสนากรรมฐาน แปลตามศัพท์ว่า ที่ตั้งแห่งการงานของจิตเพื่อให้เกิดปัญญา หรือแปลสั้นๆตามแบบเรียนว่า อุบายเรืองปัญญา

แต่ว่าขณะปัจจุบัน ที่เรากำหนดรู้รูปนามอยู่นั้น มิใช่มีแต่ปัญญาตัวเดียวหรอกที่ทำงานง่วนอยู่ภายใน ยังมีองค์ธรรมที่เกิดร่วมกันหนุนกัน (เหตุปัจจัย) และกันอีกตามสมควร เช่น สติ วิริยะ สมาธิ เจตนา มนสิการ ฯลฯ

ลิงค์ความหมายศัพท์ทางธรรม

viewtopic.php?f=2&t=23002

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณภุมโหลดข้อธรรมเหล่านี้เก็บเอาไว้ฟังทำความเข้าใจเสริมด้วยจะดีมากๆครับ

1. จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา

2. ตำแหน่งของข้อปฏิบัติทางจิตใจในระบบพระพุทธศาสนา

3. ความสัมพันธ์ระหว่างจิตภาวนากับปัญญาภาวนา

4. บุพภาคของการเจริญภาวนา

5. ปลิโพธ

6.เข้าหากัลยาณมิตร เรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์

7.เลือกหาที่สัปปายะ

8.พิธีสมาทานกรรมฐาน

9.พิธีสมาทานกรรมฐาน คุณพระรัตนตรัย

10.สมาทานศีล อธิษฐาน แผ่เมตตา มรณสติ ระลึกถึงบุญข้อห้าม

11.ความหมายของภาวนา กรรมฐาน อารมณ์

12.กรรมฐานที่ใช้ในการเจริญสมถภาวนา

13.กรรมฐาน๔๐

14.เกณฑ์ในการเลือกกรรมฐาน

15.จริต๖และหลักการดูจริต

16.การเลือกกรรมฐานโดยพิจารณาให้เหมาะกับจริต

17.ขีดขั้นของความสำเร็จที่กรรมฐานจะให้ได้

18.ผลสำเร็จของการเจริญจิตภาวนา การละนิวรณ์ สมาธิ ๓ อย่าง

19.สมาบัติ ๘ อภิญญา ๖

20.ความก้าวหน้าหรือขั้นตอนในการปฏิบัติ นิมิต ๓ ภาวนา ๓ ขั้น

21.จากจิตภาวนาสู่ปัญญาภาวนาตามวิธีสติปัฏฐาน

22.ความหมายของวิปัสสนา

23.วิปัสสนาภูมิ ๖

24.โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

25.วิสุทธิ ๗ (อธิบาย ความหมายสมมติบัญญัติด้วย)

26.วิปัสสนาญาณ ๙

27.ญาณ ๑๖

28.ปริญญา ๓

29.อนุปัสสนา ๓

30.ตัวอุปสรรคในกระบวนการปฏิบัติ(วิปัลลาส๔วิปัสสนูปกิเลส๑๐)

31.ความจริงที่ถูกเปิดเผยโดยวิปัสสนา

32.หลักการทั่วไปของสติปัฏฐาน

33.ความหมายของสติปัฏฐาน

34.อารมณ์ของสติปัฏฐานโดยย่อ

35.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

36.เวทนา-จิตตา-ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

37.ข้อสังเกตและข้อแตกต่าง

38.หลักการปฏิบัติ ความมุ่งหมาย และตัวทำงาน

39.วิธีการกำหนดและวางใจ

40.กระบวนวิธีปฏิบัติและเทคนิค

41.การใช้อานาปานสติโยงสู่สติปัฏฐานสี่

42.ลำดับการปฏิบัติในการเจริญอานาปานสติ ๑๖ ขั้น

43.ข้อควรทราบที่๑(สิกฺขติ=ศึกษาว่าปชานาติ=รู้ชัดว่า)

44.ข้อควรทราบที่๒(สังขาร๓)

45.ข้อควรทราบที่๓(นิวรณ์๕ องค์ฌาน๕ ธรรมสมาธิ๕)

46.ลำดับการปฏิบัติ

47.หมวดที่๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

48.หมวดที่๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

49.หมวดที่๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

50.หมวดที่๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

51.ความสำเร็จของการปฏิบัติ (โพชฌงค์๗)

http://www.watnyanaves.net/th/album_det ... evelopment

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 104 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร