วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 07:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 03:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: อยากถามวิธีการลดทิฏฐิมานะครับ
เพราะว่า เวลาปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ อกุศลบางอย่างมันลด
บางอย่างมันก็เพิ่มครับ อย่างเรื่องทิฏฐิมานะ ความถือตัวถือตนนี่มันเพิ่ม
อยากขอคำแนะนำเพื่อนกัลยาณมิตรทุกท่านถึงอุบายการละทิฏฐิมานะครับ


ขอคุณครับ :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 03:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www



คราใดที่เริ่มมีความคิดว่า "เราเก่ง เราแน่" จะระลึกรู้ว่า
ทิฐิ มานะเกิดขึ้นแล้ว จะกำหนด..รู้ตัว "แน่" ทันที
ความคิดก็จะเปลี่ยนไป และก็จะรู้ได้ในทันทีเหมือนกันว่า
ตัวที่ว่า "เราแน่" นั้น ที่แท้ก็แค่กิเลสตัวหนึ่ง
เป็นวิธีที่ใช้อยู่....โปรดพิจารณาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อยู่ด้วยกัน อย่าเอามานะทิฏฐิมาอวดกัน (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=22701

การละทิฏฐิมานะ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=21120

มาลดทิฐิมานะของตัวเอง...กันเถอะ!!!
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=22650

ทิฏฐิ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=35993

มานะ ๙ (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=36478

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มานะ เป็นองค์ธรรมใหญ่ ดับเมื่อบรรลุอรหันต์ เป็นสังโยชน์เบื้องสูง อยู่อันดับที่ ๙ แปลว่า แม้อนาคามีก็ยังมีมานะอยู่

มานะเกิดขึ้นได้จากความพอใจไม่พอใจ ถ้าเราหลงไปกับความพอใจไม่พอใจเมื่อได้รับกระทบสัมผัส มานะก็เกิดได้ แต่ถ้าเราทัน ใช้วิปัสสนาดับความพอใจไม่พอใจที่จะเกิดร่วมกับจิตปัจจุบันได้ มานะก็จะไม่เกิด แต่ถ้าประมาท วิปัสสนาไม่ทัน มานะก็ยังเกิดขึ้นมาได้ เพราะมันยังไม่ได้หายไปใหน ยังนอนเนื่องอยู่ในจิต คอยเล่นงานเราทันทีเมื่อเราเผลอ ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า พวกเธอจงอยู่ด้วยความไมประมาทเถิด ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 04 มี.ค. 2011, 19:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
:b1: อยากถามวิธีการลดทิฏฐิมานะครับ
เพราะว่า เวลาปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ อกุศลบางอย่างมันลด
บางอย่างมันก็เพิ่มครับ อย่างเรื่องทิฏฐิมานะ ความถือตัวถือตนนี่มันเพิ่ม
อยากขอคำแนะนำเพื่อนกัลยาณมิตรทุกท่านถึงอุบายการละทิฏฐิมานะครับ


เวลาปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ อกุศลบางอย่างมันลด บางอย่างมันก็เพิ่ม เรื่องทิฏฐิมานะ ความถือตัวถือตนนี่มันเพิ่ม

คุณ FLAME ปฏิบัติธรรม ทำยังไงครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมก็ปฏิบัติในเรื่อง
การเจริญบุญกิริยาวัตถุ 10 แล้วก็กุศลกรรมบท 10
ช่วงนี้เน้นรักษาศีล
เจริญพรหมวิหาร เจริญอนิจจลักษณะ พยายามมีสติ ดูใจตัวเองครับ
ทำใจให้เบิกบาน อดทนต่อความทุกข์ที่มากระทบใจ

ที่บอกว่ากุศลบางอย่างมันลดคือหมายถึง ความโกรธ ความโลภ โมหะ มันลดครับ
แต่ที่บอกว่าอกุศลบางอย่างมันเพิ่ม ก็เพราะ มันหลงดีครับ หลงว่าตนดีกว่าคนอื่นบ้าง
หลงไปเปรียบเทียบกับคนอื่นบ้าง พูดง่ายๆคือติดดี หลงไปเพ่งโทษคนอื่น ทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องของเรา
พอหลงปุ๊บใจมันก็ขุ่น บางครั้งครับ มันไม่ได้มีตลอด

จำได้ว่ามีช่วงนึงมันหลงมาขนาดที่ว่าทำความดีเพื่อหวังให้คนอื่นเห็น ให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองดี
ทำงานไป อยากไป หลงไปช่วงนั้นก็ปฏิบัติเหมือนกันครับ แต่ตอนนี้ก็ดีขึ้นมาก สนใจคนอื่นน้อยลง
อยากน้อยลง เพราะมีแต่ทุกข์ แทนที่จะทำบุญได้สุข กลับได้ทุกข์หาสาระไม่ได้จริงๆ :b55:

ปกติผมมีวิธีลดมานะของตนอยู่
คือมีสติ ปล่อยวางอารมณ์เหล่านั้น เพราะไม่เห็นประโยชน์
แล้วก็ทำความนอบน้อมไว้ในใจ คือ นอบน้อมต่อพระรัตนตรัย บิดา มารดา ผู้ใหญ่ในตระกูล
ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ แม่แต่คนที่เสมอ หรือต่ำกว่าก็ต้องให้ความเกรงใจ
เป็นต้นครับ

เพียงแต่ว่า อยากขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ทุกท่านว่ามีวิธีไหนในการ
ปฏิบัติ จะได้ศึกษาและนำไปใช้ เพราะเชื่อว่าการสั่งสมสุตะ ไว้มากเป็นการสั่งสมอาวุธ
ตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอน

ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำครับ ขอคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue ทั้งสักกายทิฐิและมานะทิฐิ ก็ใช้วิธี ลด ละ เลิก อย่างเดียวกัน คือมีสติรู้ทัน ปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา (วิปัสสนาภาวนา)จนเห็นสภาวะอารมณ์ทั้งที่เป็น กู อวดดีอวดรู้หรือมานะนั้นเขาดับไปหน้าต่อตา โดยไม่มีปฏิกิริยาทางกายหรือใจตอบโต้ นิ่งสนิทอยู่ รู้อยู่ภายในจนตลอดสายแห่งอารมณ์นั้นๆ :b12: :b27: :b16: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จะให้เกิดศีล ก็ต้องไปปฏิบัติที่เหตุของการมีศีล จะให้เกิดพรหมวิหาร ก็ต้องปฏิบัติที่เหตุของการมีพรหมวิหาร เพราะธรรมชาติเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ หรือ นึกจะให้เกิดก็เกิดได้ .. แปลว่า คุณปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม หรือ ทำผิดครรลองคลองธรรม ผลที่คุณจะได้ ดีที่สุดก็คือ กาที่กำลังเลียนแบบหงส์เท่านั้น

วิปัสสนา คือ ปัญญา ปัญญาก็คือ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ มาจากการได้เรียนรู้ธรรมชาติตามความเป็นจริงที่มันเป็น หรือเข้าถึงความจริงที่แท้จริงของธรรมชาติ เกิดจากการได้สดับรับฟังแต่บุคคลอื่น (สุตตมยปัญญา) อันสรุปได้ง่ายๆ ว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงฯ ... ไม่เที่ยง คือกฏธรรมชาติ ๒ กฏ ได้แก่ กฏไตรลักษณ์ และกฏของเหตุปัจจัย (อิทัปปัจนายตาปกิจจสมุปบาท) ขอให้คุณท่องทำให้ขึ้นใจ สำรวมระวังไว้ให้มั่น (สีลมยปัญญา)

สิ่งทั้งปวง คือ ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง กลิ่นคู่กับจมูก ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับสัมผัส ใจคู่กับความคิด ถ้าได้พิจารณาธรรมทั้งปวงในปัจจุบันว่า มันไม่เที่ยงเป็นประจำคู่กับการใช้ชีวิตประจำวัน (ภาวนามยปัญญา) ก็คือ คุณมีสัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์แห่งมรรค เป็นสัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ หรือ คุณมี โลกุตระปัญญา คือ มีความรู้ที่จะทำให้พ้นโลกได้อย่างมั่นคง

เมื่อจิตเกิดการรับรู้ (เกิดผัสสะ) ให้พิจารณาว่า สิ่วที่รับรู้มันเป็นเพียงธรรมชาติที่ไม่เที่ยงฯ เท่านี้ โลภะ โทสะ โมหะ จะไม่สามารถเกิดร่วมกับจิตปัจจุบันของคุณได้ อโลภะ อโทสะ อโมหะ จะเกิดขึ้นมาแทน ชวนะจิตจะจำ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาไว้ ๗ ขณะต่ออายุของรูป ๑ รูป อันเป็นฐานของการมีศีล มีพรหมวิหาร ฯ

อโลภะ อโทสะ อโมหะ คือ วิชชา การวิปัสสนา จิตจะสะสมวิชชาไว้แทนอวิชชา อวิชชาคือ โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าวิชชาสะสมมากพอ มันจะมีอิทธิพลเหนืออวิชชา ทำให้คุณมีความคิดเห็นเปลี่ยนไปถาวร คือ ความเห็นผิดจะดับไป (สักกายะดับ) คุณจะรู้เองเห็นเองไม่ต้องให้ใครมาบอก ความสงสัยว่า วิปัสสนาดับทุกข์ได้จริง ก็จะไม่มี (วิจิกิจฉาดับ) และสุดท้ายเมื่อความเห็นเปลี่น พฤติกรรมก็เปลี่ยน คิดเห็นถูกก็ทำถูกดำเนินชีวิตถูก (สีลพตปรามารสดับ) ....

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนอบน้อมแด่องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เจริญ ผู้เป็นเจ้าชีวิต
พระองค์ทรงสั่งสอนธรรม อันเป็นเหตุให้นำมาซึ่งความพ้นทุกข์
พระองค์ทรงสั่งสอนสิ่งที่มีประโยชน์ ปราศจากโทษ ประกอบด้วยคุณอันวิเศษ
พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนธรรมอันเป็นเหตุให้กุศลกรรมเจริญ
ทรงสั่งสอนทางอันนำมาซึ่งความเสื่อมถอยของอกุศล
ข้าพเจ้าเพียรปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์

สิ่งใดพระพุทธองค์ตรัสให้เสพข้าพเจ้าก็เพียรเสพสิ่งนั้น
ด้วยรู้ว่าตนนั้นเป็นปุถุชนผู้หนาแน่น ไปด้วยกิเลส มากไปด้วยเวร
ข้าพเจ้าผู้เป็นกาดำ ผู้ปรารถนาจะเป็นกาขาว
ด้วยการอาบน้ำแห่งพระศรัทธรรมของพระองค์

ข้าพเจ้าเห็นผู้กระทำความดีข้าพเจ้าก็รู้สึกปลาบปลื้ม และอยากจะเอาอย่างผู้ที่ทำความดีทั้งหลาย
พระพุทธองค์ผู้บำเพ็ญบารมีมาอย่างยากลำบาก ด้วยเวลานับจะประมาณไม่ได้
เพื่อช่วยให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นห้วงจากความทุกข์
พระผู้นิรทุกข์ พระธรรมของพระองค์ช่วยให้สัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ได้จริง
ข้าพเจ้ายึดถือเอาธรรมบทที่พระองค์ตรัสไว้ชอบแล้ว
เป็นแก่นเกณฑ์ เพราะธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสนั้น
มีความไพเราะยิ่ง บริสุทธ์ บริบูรณ์ยิ่ง พระองค์ผู้ไม่มีใครเทียม

พระองค์ตรัสสั่งสอนว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตน สังขารไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

พระพุทธองค์สอนว่าธรรมทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุ
เพราะเหตุดับผลจึงดับ ดังนั้นแท้จริงแล้วธรรมทั้งปวง
ล้วนไม่ใช่ตนเพียงแต่อาศัยกันเกิดขึ้น และก็ดับไป

ดังนั้นสังขตธรรมทั้งหลายล้วนเป็นสมมุติบัญญัติขึ้น
แท้จริงมันว่างอย่างยิ่ง ว่างจากอะไร ว่างจากอาตมลักษณะ
บุคคลลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ เป็นมหาสมุทรแห่งความว่าง
เป็นความว่างที่ไม่อาจเติมให้เต็ม แต่ก็ไม่ว่างขาดสูญ

พระพุทธองค์สอนธรรมอันเป็นสุญญตาธรรม
เป็นธรรมที่แสดงความว่างเปล่าแห่งธรรม
ความว่างเปล่าแห่งโลก ความไม่มีตัวตน ไม่มีธรรม ไม่มีอธรรม
เป็นธรรมชั้นลึกขึ้น เป็นปรมัตถ์

พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมอันนำมาซึ่งความบริสุทธิ์
ทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่าสมมุตติทั้งปวงนั้นรวมลงในชื่อ
เพราะอวิชชาปั้นเสกธรรมอันเป็นสุญญตาให้มีตัวตนให้มีชื่อขึ้นมา
แท้จริงแล้ว ธรรมไม่ใช่ธรรมเพียงแต่เป็นนามว่าธรรม
กุศลไม่ใช่กุศลเพียงแต่เป็นนามว่ากุศล

เมื่อได้สดับฟังดังนั้น ข้าพเจ้า ได้มนสิการไว้ในใจว่า
ตัวเรานั้นไม่มี ของเรานั้นไม่มี อัตตาของเรานั้นไม่มี
เราไม่ใช่ความดี ความดีไม่ใช่เรา ความดีไม่ใช่ของของเรา
บุญไม่ใช่ของของเรา แต่ว่าเกิดจากอะไร
เกิดจากมีเหตุจึงมีผล ไม่ใช่เกิดจากตัวเรา

ธรรมทั้งปวงจึงเป็นความว่างที่ไม่อาจเติมให้เติม แต่ก็ไม่ได้ว่างขาดสูญ
ไม่เกี่ยวกับความสุดโต่งทั้งสองนั้น(คือความว่างที่อาจเติมเต็ม และความว่างขาดสูญ)

ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเพียรทำกุศล ละอกุศล เพราะรู้ว่าถ้ามีความมืดแสงสว่างย่อมเกิดได้ยาก
แต่หากเป็นสีขาวแล้วแสงสว่างย่อมเกิดได้ง่าย

มานะทั้งหลายย่อมเกิดเพราะมีอุปาทานเห็นเป็นตัวตน จึงเที่ยวเปรียบเทียบเขา

ข้าพเจ้ามีสัมมาทิฎฐิว่าอย่างนี้ เพียงแต่จิตมันยังเต็มไปด้วยกิเลส
แต่แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเป็นของอะไรทิฏฐินี้ก็ไม่ใช่ของเรา
เพียงแต่หลงว่าเป็นเรา ของเรา

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว
พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพุทธบุตร

ข้าพเจ้าเป็นพุทธบริษัท เป็นผสกนิกรของพระพุทธองค์
ข้าพเจ้าของนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุขกายสบายใจ มีความสุขเกษมสำราญ
ปราศจากเวร ปราศจากภัย พ้นจากทุกข์ มีความเมตตากรุณาต่อกัน ปราศจากมานะอัตตา
ปราศจากความลำเอียง ให้อภัยกันและกัน และเกื้อกูลกันด้วยธรรมเทอญ

ขอให้เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 19 มี.ค. 2011, 18:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมใดเกิดแต่เหตุ ... กุศลเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ... อกุศลเหตุ ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ

เพียรทำกุศล แปลว่า ทำให้จิตปัจจุบันประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือ ประกอบด้วยวิชชาหรือปัญญา ดังพระสารีบุตรอุปมาว่า ยังปัญญาเกิดขึ้นมาประกบกับจิตทุกครั้งเมื่อชวนะจิตเกิดขึ้นมาเพื่อเสวยอารมณ์ เปรียบปัญญาเหมือนรอยฝีเท้าที่เดินตามจิตฉะนั้น

ละอกุศล แปลว่า ไม่ให้ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นประกอบกับจิตปัจจบัน เมื่อจิตเกิดขึ้นมาเพื่อเสวยอารณ์

เมื่อจิตไม่ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เราก็จะคิดดีทำดีทุกประการ มานะก็ไม่เกิด อุปทานก็ไม่เกิด เพราะไม่มีเหตุให้เกิด ณ ขณะปัจจุบัน แต่เมื่อจิตประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เราก็ทำเลวได้ทุกกรณี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ตั้งแต่น้อย ไปถึงเลวมาก

แบบนี้เรียกว่า ทำดี ละชั่ว ทำกุศล ละอกุศล อย่างแท้จริง

ละให้ว่าง พูดกันมาพันกว่าปี what when where why มีครบ ... แต่ไมีมี how to มานานแล้ว ... ถ้าไปนึกเอาว่า ไม่มีอะไร ไปนึกเอาว่าว่างเป็นอารมณ์ รู้เห็นอะไร แล้วก็นึกว่า มันไม่มีอะไร คือ การเอาจิตหลบผัสสะไปเพ่งอารมณ์ในมโนทวาร หรือเป็นเพียงสมถะที่ไม่มีปัญญาที่ดับทุกข์ได้ประกอบเท่านั้น ไม่ใช่วิปัสสนา ชวนะจิตจะเสพ อทุกขมสุขเวทนา หรือเกิดอุเบกขาที่มีอามิส จะทำให้เกิดตัณหาอุปทาน หรือพูดง่ายๆ ว่า ติดสงบ พอใจในความสงบ ... ผลก็คือ ดับทุกข์ไม่ได้ ได้เพียงหลบทุกข์ได้ชั่วคราวเท่านั้น ถึงจะได้ปฏิบัติด้วยความเพียรมาตลอดชีวิต ก็ฆ่ากิเลสอะไรไม่ได้เลย ...

จิตเป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย การเห็นว่า มันไม่มีอะไร ก็คือ การพยายามสั่งจิตให้ว่าง การพยายามบอกจิตว่า อย่าไปยึดถือ คือ พยายามสั่งจิตให้ละ มันเป็นไปไม่ได้ตามธรรม หรือ ตามกฏธรรมชาติ ๒ กฏ ... หรือคุณพยายามจะเพิกเฉยต่ออารมณ์ที่รับรู้ ต่อการที่สัมผัส เป็นได้เพียงหินทับหญ้าเท่านั้น

ถ้าคุณปฏิบัติแบบนนี้มานาน จริงๆ คุณก็น่าจะรู้เองเห็นเองว่า มันไม่ได้ประหารอะไรลงไปเลย ลดลงมานิดหน่อยด้วยอาการกดข่ม ๗ วันก็แล้ว ๗ เดือน ก็แล้ว ๗ ปี ก็แล้ว มันไม่มีอะไรดีขึ้นมาเลย แต่ก็น่าพอใจอยู่ระดับหนึ่ง .. ตอนไม่มีปัญญา ผมก็ทำแบบนี้มา ๓๐ ปี ตอนแรกก็นึกว่าพ้นดีพ้นวิเศษแล้ว พอมารู้ว่าปัญญาคืออะไร ได้ทบทวนธรรมวินัย ได้เสวนากับสัตบุรุษ ได้รู้จักการใช้ปัญญาประหารกิเลสได้ตามความเป็นจริง มันเป็นหนังคนละม้วน คนละเรื่องละราวกัน กดข่มกับประหาร มันไม่เหมือนกัน เหมือนน้ำกับน้ำมัน ไม่ได้ทำเองไม่มีทางรู้

ถ้าจะให้จิตว่าง ให้จิตวาง ต้องไปทำที่เหตุ คือ เอาชนะความพอใจไม่พอใจและความหลงให้ได้ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันประกอบกับจิตปัจจุบันเท่านั้น วิปัสสนา คือ เห็นจริง ตามจริง เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ ... ถ้าไปคิดว่ามันไม่มีอะไร มันคือความว่าง อย่าไปยึดถือ คือ ไม่ได้เห็นจริงด้วยปัญญาอะไรเลย เรียกว่าการหลบทุกข์ ไม่ได้ดับทุกข์ วิปัสสนาต้องชนผัสสะ ไม่ใช่หลบผัสสะ เอาชนะมันด้วยปัญญาอันชอบ คือ แค่เห็นว่ามันไม่เที่ยง เห็นด้วยสัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์แห่งมรรค ... วันที่คุณเกิดปัญญา คนจะมองดูผัสสะอายตนะทั้งหลายด้วยอาการปิติว่า ... มันทำอะไรกูไม่ได้แล้ววววววว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2011, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีของพลอยนะคะ พลอยจะเข้าไปมองที่ มานะ ความถือตัวนั้น
แล้วก็ใช้สติ พิจารณา ก็จะเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ของอารมณ์ทุกๆอารมณ์ค่ะ

แต่ถ้ากำลังจิตยังอ่อนอยู่ ก็จะใช้เตือนสติตัวเองด้วยความคิดว่า
- คนเราโง่ก่อนฉลาด เราจะกลับไปโง่ใหม่อีกรอบหรอ (ให้ความถือตัวทำให้ใจเราทุกข์ต่อไป)
- เราดีกว่าเค้าวันนี้ ก็ไม่แน่หรอก เค้าอาจจะดีกว่าเราในวันหน้าก็ได้
ตัวเราและตัวเค้าก็เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ เรากำลังยึดอะไรอยู่
- เลิกดูคนอื่น มาดูตัวเราเองดีกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุบายลดทิฏฐิมานะ

ด่าตัวเองบ่อยๆ ตอนรู้ตัวว่ามันโผล่

:b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

กุศโลบายของท่านจาง...ช่างแยบคายนัก
ข้าพเจ้าเห็นทีต้องนำไป ประพฤติปฏิบัติบ้างแล้วล่ะ :b6:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ควรด่าตนเองเลยครับ ไม่ควรเลย
แต่ถ้าจะโจษตัวเอง ว่าเรายังมีกิเลสอย่างงี้อย่างงี้ ยังย่อหย่อยในเรื่องนี้ อันนี้ควร

ลองพิจารณาดูนะครับ
ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความบางตอนจากการบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

นี่คือชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นลืมตาขึ้นมา ก็ไม่รู้ว่าเป็นธาตุ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์

ไม่ใช่บุคคล แต่ข้อความที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ทรงแสดงลักษณะของธาตุต่างๆ

ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แม้แต่การที่จะดู ก็เป็นเพราะเหตุว่าวาโยธาตุที่

เกิดเพราะจิตที่ต้องการจะดู เป็นสมุฏฐาน ทำให้รูปไหว คือ กลีบตาล่างจมเบื้องล่าง

กลีบตาบนหนีไปเบื้องบน ด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่มี

ใครๆชื่อว่า เปิดได้โดยสะดวก ถ้าจะใครมาจับตาลืมขึ้น ก็ยังยากกว่าที่วาโยธาตุจะทำ

เอง ใช่ไหมคะ ง่ายที่สุดเลยค่ะ เพียงแต่หลับตาแล้วก็ลืมตาขึ้น นั่นก็เป็นกิจภาระของ

วาโยธาตุซึ่งเกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐานซึ่งทำได้โดยสะดวกและก็โดยรวดเร็ว ทุกคน

กระพริบตาบ้างหรือเปล่า ถ้าขาดสติ ก็ไม่รู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นรูปหรือเป็นนาม ในขณะ

ที่หลับตาลงไป มีเห็นไหมคะ จะเห็นได้ไหม สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา จะปรากฏไหม?

แต่จะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏ ก็ต่อเมื่อ วาโยธาตุที่เกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน

ทำให้ลืมตาขึ้น และก็จากนั้นจักขุวิญญาณก็ได้สำเร็จกิจ คือ การเห็นได้เกิดขึ้น...

ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ที่ให้เข้าใจความจริงแม้ในชีวิตประจำวัน ขณะที่

ลืมตาขึ้น ถ้าสติไม่เกิดก็ลืมตาขึ้นด้วยความต้องการ ส่องให้เห็นว่าในชีวิตประจำวันนั้น

จิตที่ประกอบด้วยโลภะเกิดขึ้นเกือบตลอดทั้งวัน...

http://www.dhammahome.com/front/webboar ... fd087e83f9


ข้อความบางตอนจากหนังสือบุญญกิริยาวัตถุ

ส.เวลาคุณวันทนาชนะใครแล้วดีใจไหม

ว.ดีใจ ถ้าลำพังตัวเองชนะ ก็ดีใจคนเดียว หรือว่าถ้าพวกพ้องของเราชนะ อย่างเวลาแข่งขันกีฬา เราก็ยิ่งจะดีใจใหญ่

และก็มีหลายคนมาช่วยดีใจด้วย

ส.ขณะที่ชนะและดีใจนั้น มีความสำคัญตนว่าเราชนะ ในขณะนั้นด้วย

ว.ค่ะ เพราะขณะนั้นสำคัญว่าเราชนะจริงๆเลย


ส.ความสำคัญตนว่าเราชนะนั้นก็เป็นมานะ เพราะฉนั้นถึงแม้ว่าจะมีการอ่อนน้อมต่อบุคคลและสถานที่ที่ควรนอบน้อม

สักการะ ซึ่งเป็นการขัดเกลามานะอย่างหยาบๆที่ทำให้ยกตนเองข่มคนอื่นด้วยกาย วาจา แล้วก็จริง แต่ว่ามานะใน

เรื่องอื่นซึ่งไม่แรงเท่ากับการยกตนข่มคนอื่นด้วยกาย วาจา ก็ยังมีได้ อย่างเวลาที่ดีใจว่าชนะ เป็นต้น ฉะนั้นศีลก็

เป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ สมถภาวนาก็เป็นการระงับกิเลสอย่างกลาง และวิปัสสนาภาวนาก็ละกิเลสอย่างละเอียด


ว.สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาเป็นบุญญกิริยาประเภทภาวนา แต่ต่างกันที่ว่าอย่างหนึ่งระงับกิเลสอย่างกลาง

และอีกอย่างหนึ่งละกิเลสอย่างละเอียด แต่เพราะอะไรทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาจึงเป็นบุญญกิริยาประเภทภาวนา


ส.การที่สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาเป็นบุญญกิริยาประเภทภาวนานั้น ก็เพราะเหตุว่าเป็นกุศลที่ขจัดขัดเกลา

อกุศลธรรมที่ไม่เป็นไปทางกาย วาจา อย่างเวลาที่ดีใจสำคัญตนเองว่าชนะคนอื่นก็เป็นอกุศล หรือเวลาจิตใจไม่

แช่มชื่นแม้ว่าจะเพียงนิดเดียวเท่านั้น ยังไม่ปรากฎให้ใครรู้แต่ก็เป็นอกุศลแล้ว คนที่เห็นโทษของกิเลสอกุศลธรรมทั้ง

หลายซึ่งแม้ว่าจะไม่มากถึงกับทำให้เกิดทุจริตกรรมทางกาย ทางวาจา แต่ก็ทำให้จิตใจไม่สะอาด ไม่ผ่องใสบริสุทธิ์

จึงอบรมเจริญภาวนาเพื่อขจัดขัดเกลากิเลสอกุศลธรรมทั้งหลายให้เบาบางและดับหมดสิ้นไป


อนุโมทนาครับ :b46: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 139 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร