วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 18:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 04:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


หนทางในการออกจากสุคติภูมิ 6 มีด้วยการยังอยู่ในภพในสังสารวัฏฏ์และออกจาก

ภพทั้งหมดคือสิ้นสังสารวัฏฏ์

การเจริญฌาน เมื่อฌานไม่เสื่อมย่อมไปเกิดบนพรหมโลก พ้นจากสุคติภูมิ 6
ชั้น แต่เมื่อไปเกิดบนพรหมโลกแล้ว ในเมื่อไม่ใช่หนทางดับกิเลสเมื่อสิ้นผลบุญก็ต้อง
กลับมาเกิดในอบายภูมิบ้างหรือสุคติภูมิ 6 ชั้นอีกได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่สามารถพ้นไปจาก
ภพต่างๆได้เลย ส่วนผู้ทื่ทำอกุศลกรรมเมื่ออกุศลกรรมให้ผลก็ต้องเกิดในอบายภูมิ 4 มี
นรก เป็นต้น ก็พ้นจากสุคติภูมิ 6 ชั้นเช่นกัน
หนทางในการออกจากภพทั้งหมด คือการอบรมเจริญปัญญาที่เป็นวิปัสสนาซึ่ง
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ไม่มีใครรู้ได้ด้วยพระองค์เองเหมือนพระองค์ พระองค์ทรงสั่งสอน
โดยให้เข้าใจความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แน่นอนครับว่าเมื่อถึงยุคปัจจุบัน
ย่อมมีหนทางมากมายในการที่จะไปถึงพระนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

ปฐมมิคชาลสูตร

[ ๖๗ ] ดูก่อนมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ
ไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าว
สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความ
เพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความ
เกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและ
ความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่
ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่น
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่น
ธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มี
ความกำหนัดกล้า เมื่อไม่มีความกำหนัดกล้า ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อน
มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เรา
เรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว


เมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน พระองค์ตรัสกับ

ท่านพระมหากัสสปะว่า เราหรือเธอ ควรกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย

ท่านพระมหากัสสปะ กราบทูลว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับ

คำพร่ำสอนโดยเคารพ ผู้ที่ไม่มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญาในกุศลธรรม

ย่อมมีแต่ความเสื่อม หาความเจริญมิได้ เปรียบเหมือนพระจันทร์ในข้างแรม ที่เสื่อม

จากรัศมี ไม่มีความสว่างไสว, การไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีความ

เกียจคร้าน ไม่มีปัญญา มักโกรธ ผูกโกรธ และ การไม่มีผู้ว่ากล่าวสั่งสอน เป็นความ

เสื่อม

ส่วนผู้ที่มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญาในกุศลธรรม ย่อมมีแต่

ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม เปรียบเหมือนกับพระจันทร์ในข้างขึ้น ที่เต็มไปด้วยรัศมี

สว่างไสว, การมีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ และ

การมีผู้ว่ากล่าวสั่งสอน นั้น ไม่เป็นความเสื่อม

เมื่อท่านพระมหากัสสปะกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงชื่นชม

ว่าดีแล้ว พร้อมทั้งได้ทรงแสดงธรรมอย่างนั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง.



ผู้ว่ายาก กับ ผู้ว่าง่าย (๑)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๓๙ - หน้าที่ ๓๔๐

ภิกษุมิใช่พึงเป็นผู้ตรงและตรงดีอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้พึงเป็นผู้ว่าง่าย

อีกด้วย. ก็บุคคลใดถูกท่านว่ากล่าวว่า ท่านไม่ควรทำข้อนี้ ก็พูดว่าท่านเห็น

อะไร ท่านได้ยินอย่างไร ท่านเป็นอะไรกับเราจึงพูด เป็นอุปัชฌาย์ อาจารย์ เพื่อน-

เห็น เพื่อนคบหรือ หรือเบียดเบียนผู้นั้นด้วยความนิ่งเสีย หรือยอมรับแล้วไม่ทำ

อย่างนั้น ผู้นั้น ชื่อว่ายังอยู่ไกลการบรรลุคุณวิเศษ.

ส่วนผู้ใดถูกท่านโอวาทก็กล่าวว่า "ดีละ ท่านขอรับ ท่านพูดดี ขึ้นชื่อว่าโทษ

ของตนเป็นของเห็นได้ยาก ท่านเห็นกระผมเป็นอย่างนี้ โปรดอาศัยความเอ็นดูว่า

กล่าวอีกเถิด กระผมไม่ได้รับโอวาทจากสำนักท่านเสียนาน" แล้วปฏิบัติตามที่ท่าน

สอน ผู้นั้น ชื่อว่าอยู่ไม่ไกลการบรรลุคุณวิเศษ เพราะฉะนั้น บุคคลรับคำของ

ผู้อื่นแล้วกระทำอย่างนี้ พึงชื่อว่า เป็นผู้ว่าง่าย.

(จาก ... อรรถกถา เมตตสูตร)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒๖ หน้าที่ ๕๗๓-๕๗๖

๗. ทุติยโอวาทสูตร

(ว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุทั้งหลาย)


[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล

ท่านพระมหากัสสป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค

เจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอจงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่

ภิกษุทั้งหลาย.

[๔๙๐] ท่านพระมหากัสสป กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ

ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มี

โอตตัปปะ ไม่มีความเพียร ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวัน

ของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความ

เจริญไม่ได้เลย เปรียบเหมือนพระจันทร์ในข้างแรม ย่อมเสื่อมจากวรรณ จากมณฑล

จากรัศมี จากความยาวและความกว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคน

ไม่มีศรัทธา... ไม่มีหิริ... ไม่มีโอตตัปปะ... ไม่มีความพากเพียร...ไม่มีปัญญา ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเสื่อมใน

กุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิรินี้

เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อ

ที่บุรุษบุคคลเป็นคนเกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญาทราม

นี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมักโกรธนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษ

บุคคลผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อม

โทรม.

[๔๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีความเพียร

มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่

ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เปรียบเหมือน

พระจันทร์ในข้างขึ้น ย่อมเปล่งปลั่งด้วยวรรณ ด้วยมณฑล ด้วยรัศมี ด้วยความยาว

และความกว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคนผู้มีศรัทธา... มีหิริ...

มีโอตตัปปะ... มีความเพียร ... มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของ

เขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความ

เสื่อมไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้

ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมีหิรินี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่

บุรุษบุคคลมีโอตตัปปะนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมีความพากเพียรนี้

ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญานี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่

บุรุษบุคคลไม่มักโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่ผูกโกรธนี้

ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ไม่เป็นความเสื่อมโทรม.

[๔๙๒] พ. ดีแล้ว ดีแล้ว กัสสป บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา... ไม่มีหิริะ...

ไม่มีโอตตัปปะ... ไม่มีความเพียร... ไม่มีปัญญา ในกุศล ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืน

หรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายท่านั้น หวัง

ความเจริญไม่ได้เลย เปรียบเหมือนพระจันทร์ในข้างแรม ย่อมเสื่อมจากวรรณ จาก

มณฑล จากรัศมี จากความยาวและความกว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคล

บางคนไม่มีศรัทธา... ไม่มีหิริ... ไม่มีโอตัปปะ... ไม่มีความเพียร... ไม่มีปัญญาในกุศล

ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเสื่อมใน

กุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลยเหมือนฉะนั้น ดูก่อนกัสสป

ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิริ ฯ ล ฯ

ข้อที่บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ ฯ ลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนเกียจคร้าน ฯ ล ฯ

ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญาทราม ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมักโกรธ ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคล

ผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้เป็นความเสื่อมโทรม.
[๔๙๓] ดูก่อนกัสสป บุคคลบางคนมีศรัทธา... มีหิริ... มีโอตตัปปะ... มีความ

เพียร... มีปัญญา ... ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็น

อันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เปรียบ

เหมือนพระจันทร์ในข้างขึ้น ย่อมเปล่งปลั่งด้วยวรรณ ด้วยมณฑล ด้วยรัศมี ด้วยความ

ยาวและความกว้างในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคนผู้มีศรัทธา... มี

หิริ...มีโอตตัปปะ... มีความเพียร... มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวัน

ของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวัง

ความเสื่อมไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ดูก่อนกัสสปข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็น

ความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมีหิริ ฯลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีโอตตัปปะ ฯลฯ ข้อที่

บุรุษบุคคลมีความเพียร ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญา ฯล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็น

คนไม่มักโกรธ ฯล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อ

ที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ดังนี้.

จบทุติยโอวาทสูตรที่ ๗
อรรถกถาทุติยโอวาทสูตรที่ ๗


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโอวาทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธาที่มั่นคง. บทว่า วิริย ได้แก่ความเพียรทางกาย

เเละทางจิต. บทว่า ปญฺญา ได้แก่ ปัญญรู้กุศลธรรม. บทว่า น สนฺติ ภิกฺขู

โอวาทกา ท่านพระกัสสปะ แสดงว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำนี้ว่า บุคคลนี้ไม่มี

ภิกษุผู้เป็นกัลยาณมิตร ผู้โอวาทพร่ำสอน ดังนี้ เป็นความเสื่อม.

จบอรรถกถาทุติยโอวาทสูตรที่ ๗.




เอาบุญมาฝากวันนี้ตั้งใจว่าจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
เมื่อวานนี้ได้ไปปล่อยปลากับหลาน ฟังธรรม เมื่อวานนี้ได้ไปปิดทอง สักการะพระธาตุที่เจดีย์ วันนี้ก็จะไปอีก และได้ร่วมทอดผ้าป่าสร้างศาลาการเปรียญ และวันนี้ตั้งใจว่าจะนำดอกไม้และสร้างพระและเจดีย์ถวายบูชาพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิษบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง เมื่อวานนี้ได้อนุโมทนาบุญกันเพื่อนๆที่ได้ทำการช่วยเหลือด้านต่างๆ
และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย





ขอเชิญผู้ใจบุญร่วมสร้างพระอุโบสถ วัดเกาะแก้วขวัญเมือง จ.หนองคาย
พระมหาดง ปภัสสโร เจ้าอาวาส วัดเกาะแก้วขวัญเมือง (สำนักงานเจ้าคณะตำบลบ้านว่าน ) วัดเกาะแก้วขวัญเมือง ตำบลบ้านว่าน อำเภอท่าบ่อหนองคาย 43110 โทรศัพท์ 080-7505212



ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างห้องพักสงฆ์อาพาธและผ้าป่ากองทุนพระภิกษุสงฆ์อาพาธ
สอบถามได้ที่ ๐๘๙-๖๗๖-๒๙๐๒ <O ></O >




ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
ปล่อยปลา ฟังธรรม ปิดทอง สักการะพระธาตุที่เจดีย์วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ทอดผ้าป่าสร้างศาลาการเปรียญ
ที่สำนักสงฆ์พุทธานุภาพบุปพาราม อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี นำดอกไม้และสร้างพระและเจดีย์ถวายบูชาพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิษบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง
สร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง ขอเชิญร่วมบุญด้วยกันนะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร