วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 07:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2011, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2011, 16:14
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณาอสุภะเป็นขั้นสถมถะหรือขั้นวิปัสสนา แล้วถ้าเป็นขั้นสมถะมีความต่างกับการพิจารณาขันธ์5ในขั้นวิปัสสนาอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2011, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรรมฐานสองอย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน สมถะกรรมฐาน ๔๐ กองมีอสุภะ ๑๐ ฯลฯ จัดอยู่ใน อารัมมณูปนิชฌาน เป็นสมถะภาวนา คือเพ่งต่ออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอารมณ์เดียว

ส่วนลักขณูปนิชฌาน เป็นการเพ่งต่อลักษณะหรือสภาวะธรรม หรือวิปัสสนาภาวนา มีขันธ์ ธาตุ อายาตนะ ฯลฯ เพื่อเห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์และอนัตตา

แต่มีข้อสังเกตุในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน วิปัสสนาภานา บรรพหรือหมวด ปฏิกูลมนสิการ(พิจารณาใส่ใจความไม่สะอาดสกปรกที่มีอยู่ในกายนี้และกายอื่น) และนวสีถิกาบรรพ(พิจารณาน้อมใส่ใจเทียบเคียงกายนี้กายอื่น ด้วยสภาพศพ ๙ ลักษณะ) มีความคล้ายคลึงกับอสุภะกรรมฐาน ๑๐ ใน อารัมมณูปนิชฌาน

ถามถึงความแตกต่างของสมถะ เป็นอุบายทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ กับการพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ต่างกันโดยภูมิอย่างหนึ่งเพิ่อพื้นฐานทำให้จิตควรแก่การงาน ง่ายต่อการพิจารณาธรรมขั้นสูงต่อไป การกำหนด กล่าวคือ อารัมณูปนิชฌาน เพ่งจดจ่ออารมณ์เดียวจนจิตตั้งมั่นถึงขั้นอุปจาระ และอัปปนา ต่อนิมิตที่กำหนดขึ้น จนจิตรวมเป็นหนึ่งเกิดความสงบขึ้นมาระงับดับ นิวรณ์กิเลสลงไป ตอนกำหนดจะทำให้จิตมีความวางเฉยเป็นหนึ่ง เมื่อออกจากฌานหรือสมาธิ จิตจะพิจารณาไม่ประมาทในความตาย ไม่เมาในชีวิต ในวัยและอายุ ในความสวยงาม โดยอำนาจฌาน พอสมาธิหมดกำลัง ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบ อารมณ์และเรื่องราวต่าง ๆ เช่นเดิม จิตก็จะยึดถืออารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นเช่นเดิมที่เคยเป็น ต้องมีศีล สติสมาธิกำกับใจไว้โดยตลอด เพื่อความไม่ประมาท


ส่วนวิปัสสนากรรมฐาน อุบายทำจิตให้เกิดปัญญารู้แจ้งอริยสัจธรรม ลักขณูปนิชฌาน กำหนดเพื่อไถ่ถอนความเห็นผิด จำผิด คิดผิด เรียกว่าวิปลาสใน ความไม่สวยไม่งามว่าสวยงาม ถอนความเห็นผิด จำผิด คิดผิดในความไม่เที่ยงว่าเที่ยง ถอนความเห็นผิด จำผิด คิดผิดในความทุกข์ว่าไม่ทุกข์เป็นสุข ถอนความเห็นผิด จำผิด คิดผิดในความไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัวตน ตามลำดับขั้นของการ อบรมสติปัฏฐาน กายละไม่สวยงาม เวทนาละความสุข จิตละความเป็นตัวตน ธรรมละความสำคัญผิดในรูปธรรม นามธรรมแม้ทั้งหมดว่า เที่ยง ว่าสุข ว่างาม ว่าเป็นตัวเป็นตน ฯลฯ

โดยที่สุด เมื่อไม่ได้ใส่ใจ มีโยนิโสมนสิการต่ออารมณ์ต่าง ๆ จิตที่อบรมวิปัสสนาก็มีโอกาสยังจำผิด เห็นผิดคิดผิดอยู่โดยปกติเท่า ๆ กับการอบรมสมถะภาวนา จนกว่าจะเกิดมรรคญาณ จึงถอนความเห็นผิดเรื่องสัตว์บุคคลตัวตนลงไป ดังนั้น หนึ่งนาทีสองนาทีที่มีหนอ หรือพุทโธ หรือทำความรู้สึกตัว ก็เป็นช่วงขณะที่จิตปราศจากนิวรณ์ได้ชั่วครั้งชั่วคราว ตามกำลังของจิตคุณภาพจิต หากใน ๑ นาที จะมีกุศลจิตในการอบรมสมาธิและปัญญา เพียงไม่กี่วินาที ก็อย่าได้ประมาทปล่อยเวลาให้ล่วงเลยผ่านไปเจริญพร :b1:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2011, 09:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 09:13
โพสต์: 73


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญอสุภะเป็นการเจริญสมถะกรรมฐาน โดยถือเอานิมิตเพื่อพิจารณาว่าร่างกายเป็นของไม่สวยงาม ที่สุดของสมถะคือความสงบแห่งจิต ถึงจะเป็นการถือนิมิต แต่ก็เป็นของจริงที่ร่างกายมีความเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ที่ไม่เห็นเพราะอวิชชาปกปิดไว้ รูปนี้มีความตายเป็นที่สุด ตายแล้วเน่าเหม็นเหมือนสัตว์ทั้งหลาย หากไม่โชลมเครื่องหอม ก็ส่งกลิ่นเหม็น
เป็นรังของโรค แท้จริงพอดูได้แต่เพียงเนื้อหนังภายนอก หากลอกออกเหลือแต่เนื้อภายในก็ไม่น่าดู รังเกียจ น้ำหูน้ำตา น้ำลาย เป็นของตัวยังพอทนได้ เป็นของคนอื่นกลับน่ารังเกียจ การเจริญเพื่อความเข้าใจสิ่งที่แท้จริง พิจารณาจนเห็นเป็นอย่างนั้นทุกรูปทุกนาม แล้วพิจารณาวิปัสสนา ว่ารูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คงทนอยู่ไม่ได้ มีแต่ความทุกข์บีบคั้นตลอดเวลา เพื่อถอดถอนกิเลส สมถะเป็นการทำให้กิเลสสงบแต่ก็สำคัญ เมื่อฟุ้งซ่านไปในกิเลสก็น้อมเข้าหาความสงบ แล้ววิปัสสนาปรมัต ( รูป จิต เจตสิก นิพพาน )เพื่อเป็นการถอดถอนกิเลส
ควรหาพระอาจารย์ผู้รู้ธรรมเป็นกัลลยานมิตร เพื่อไม่หลงทางหากปฏิบัติจริงจัง

ตอบตามความรู้ตังเองเท่านั้นผิดพลาดประการใดโปรดอโหสิกรรมด้วยครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร