วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 02:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

คู่มือผู้ปฏิบัติธรรม
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี)
วัดอโศการาม สมุทรปราการ ๒๕๐๓


:b44: :b44:

...ผู้ปฏิบัติธรรมมีข้อควรแสวงหาอยู่ ๒ อย่าง ซึ่งเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ ภายนอก เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ

๑. บุคคลสัปปายะ ให้เลือกบุคคลที่คบค้าสมาคม ให้แสวงหาแต่บุคคลผู้มีความสงบ จะเป็นหมู่คณะใด ๆ ก็ตาม ให้เพ่งไปในแนวสงบด้วยกัน เรียกว่า “บุคคลสัปปายะ”

๒. เสนาสนะสัปปายะ สถานที่สงบสงัด อากาศที่สบาย ห่างไกลจากชุมนุมชน สถานที่เช่นนั้นย่อมเป็นที่สบาย สะดวก ของผู้ฝึกหัด เรียกว่ากายวิเวก ที่สงัดกาย ในบาลีท่านแสดงไว้เช่น ถ้ำ คูหา เงื้อมผา ป่าดง สูญญาคาร บ้านว่างเปล่า ซึ่งไม่มีมนุษย์ไปมาเกินควรเกลื่อนกล่น ที่เช่นนั้นเรียกว่า เสนาสนะสัปปายะ เป็นเครื่องมือสนับสนุนของผู้ปฏิบัติใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี

เวลาไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น อย่าให้ปล่อยจิตใจไปในอารมณ์ที่จะเป็นศัตรูแก่ความสงบ เช่นใฝ่ใจไปในทางติรัจฉาน คาถาและไสยศาสตร์ ให้ปรารภและปฏิบัติแต่ธรรมที่จะให้ความสบายแก่ตน เช่น อปิจฉตา ทำตนให้เป็นคนมักน้อยในปัจจัยทั้งสี่ วิเวกะ ให้มุ่งต่อความวิเวกสงัดถ่ายเดียว อสังสัคคะ อย่าเป็นผู้จุกจิก จู้จี้ คลุกคลีด้วยหมู่คณะ วิริยารัมภะ ให้ตั้งใจปรารภแต่ความพากเพียร เพื่อทำจิตของตนให้สงบถ่ายเดียว สีลานุสสติ ให้ตรวจดูมารยาท ความประพฤติของตน ได้ล่วงข้อห้ามสิกขาบทหรือไม่ ให้รีบชำระเสียโดยเร็วด้วยเจตนาของตนเอง สมาธิกถา ให้ปรารภในเรื่องสมาธิ อารมณ์กัมมัฏฐาน อันเป็นเหตุแห่งความตั้งมั่นแห่งจิต ปัญญากถา ให้ปรารภแต่เรื่องที่จะให้เกิดปัญญา (วิปัสสนา) วิมุตติ ให้ยินดีในการทำความหลุดพ้นไปจากกิเลสทั้งปวง วิมุตติญาณทัสนะ ให้ปรารภตรึกตรอง ใคร่ครวญ ในการรู้เห็นธรรมะที่จะให้หลุดพ้นไปจากกิเลสวะธรรมทั้งปวง

ธรรมเหล่านี้เป็นคู่มือของผู้ปฏิบัติทั่วไป จะทำใจของบุคคลผู้นั้นให้โน้มไปในทางพ้นทุกข์ถ่ายเดียว หมวดธรรมย่อ ๆ พอเป็นเครื่องอุปการะ เครื่องสนับสนุนผู้ปฏิบัติมิให้วกเวียน แต่ควรถือว่าเป็นปกิณกะธรรมเพียงเท่านั้น ส่วนความจริงนั้นต้องทำให้เกิดมีในตนเอง โดยกำลังของตนเอง เรียกว่าปฏิบัติธรรม ถ้าเราจะถือกันแต่หมวดธรรมนี้ถ่ายเดียวก็ได้แต่ปริยัติธรรมเพียงเท่านั้น การทำจิตของตนให้สงบลง จนถึงหลักธรรมชาติเป็นเองที่มีอยู่ในตน รู้เอง ละเอง นั่นแหละจึงเรียกว่าปฏิบัติธรรม จึงจะนำตนเข้าถึงปฏิเวธธรรมอันเป็นรสของธรรมะจริง ๆ ไม่ต้องมาสาวเชือก หรือสายโยงเพียงเท่านั้น.....อัตตาหิ อัตตโนนาโถ อะไรจะเป็นสิ่งที่มาช่วยเหลือเราได้ นอกจากตนของตนพึ่งตนเองแล้วไม่มี ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในตนเองจึงจะสำเร็จได้.... ... .. .

(คัดย่อจากบางส่วนหนังสือ มูลกัมมัฏฐาน วิปัสสนาธุระ พระธุดงค์ ๒๕๐๓)


:b42: :b42:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 20:27
โพสต์: 40

แนวปฏิบัติ: ดูจิตในชีวิตประจำวัน
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ,ท่องเที่ยว,ขี่จักรยาน,เลี้ยงสุนัข
อายุ: 43
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดีเสมอ อย่างน้อยก็ยังดีที่ไม่เลวร้ายไปกว่านี้
(ฟังจากธรรมะบรรยายของ พระไพศาล วิสาโล)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b27:
คู่มืออบรมวิปัสสนาภาวนาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมการทำ
วิปัสสนาภาวนา ได้ใช้เป็นความรู้ประกอบการฝึกหัดปฏิบัติจริง จนกว่าจะประสบความ
สำเร็จ สาระสำคัญในคู่มือ คือ หน้าที่ของชาวพุทธ และหัวใจวิปัสสนาภาวนา ส่วนที่เหลือ
คือข้อธรรมสำหรับผู้ปารถนาจะยกระดับชีวิตของตนเอง จากกัลยาณชน คนดี ขึ้นมาเป็น
ชาวพุทธแท้ ซึ่งก็ได้เลือกเฟ้นเอาเฉพาะความรู้และข้อธรรมที่จำเป็นสำหรับการทำ
วิปัสสนาภาวนา คือธรรมคุณ ๖ ประการ ยาก ๕ อย่าง ทางเดินของสัตว์โลก ๕ เส้น
บุคคล ๕ จำพวก โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ สิ่งปิดกั้นและอันตรายที่จะมาขัดขวาง
มิให้บรรลุธรรม ข้อธรรมที่ยกเอามาจากพระสูตร คือ ธัมจักกัปวัตนสูตร อนัตตลักขณสูตร
และ ภัทเทกรัตตคาถา ซึ่งกล่าวถึงหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา อันได้แก่ อริยสัจ ๔
มรรค ๘ อนัตตา และปัจจุบันอารมณ์ ส่วนอื่นๆ เป็นข้อธรรมที่คัดกรองและมาทำให้ง่าย
แต่ก็ไม่ออกนอกเส้นทางคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะคำสอนทั้งหมด ชี้ตรงไปที่
การทำลายความเห็นผิด(มิจฉาทิฐิ) หรืออวิชชา อันเป็นต้นเหตุ ให้เกิด อัตตา กิเลส ตัณหา
ซึ่งพาให้เกิดทุกข์ การทำลายหรือขุดถอน สมุทัย ต้นเหตุแห่งทุกข์นั้นก็ สอนเน้นให้
ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา พอกพูนความเห็นถูกต้อง(สัมมาทิฐิ)คือเห็นว่าทุกสิ่งทุก
อย่างเป็นอนัตตาตามคำสรุปที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า “สพฺเพธมฺมา อนตฺตา”
หวังว่าคู่มืออบรมวิปัสสนาภาวนาเล่มเล็กๆนี้ คงจะมีประโยชน์ให้ท่านทั้งหลาย
ได้ใช้เป็นหลักในการเจริญวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค ๘ พาตนเองให้เกิดดวงตา
เห็นธรรม เข้าถึงธรรม เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ทันในปัจจุบันชาตินี้ ทุกท่าน ทุกคน เทอญ

:b16:
โฉลกธรรม
เพราะไม่รู้ จึงอยู่เช่น วัวควาย
กิน ขี้ สี่ นอน ไป เท่านี้
โกรธ โลภ หลง เต็มกาย ทั่วถ้วน
วนว่ายวัฏฏ์สุดลี้ ตราบชั่ว กัปกัลป์
จนกุศลส่งได้ เป็นคน
พบพุทธธรรมช่วยดล จิตให้
พลิกรู้สัจจ์ในตน จบแจ้ง
จึ่งจักอาจพ้นได้ ข่ายทุกข์ สงสาร
จงดูอริยสัจจ ๔ พิจรณ์ให้ดีอย่าข้าม เพียรสอบถามผู้รู้ ทางออกสู่เสรี
มีอยู่แล้วในตน อย่าวกวนบัญญัติ อย่าผูกมัดสิ่งใด จงเป็นไทยทุกเมื่อ เชื่อคำ
พระชินวร คำสอนท่านสุดง่าย เฝ้ารู้กายและจิต อย่างพินิจ พิจารณา ณ เพลาปัจจุ
จักรู้ลุทั่วตัว ความเมามัวจักหาย หลักใหญ่คืออัตตา อย่าให้มาเข้าร่วม ทิ้ง
ความเห็นเป็นตน กมลมั่นกับธรรม ที่เกิดตามยถา ซึ่งบัญชาไม่ได้ ไร้ศัพท์ใดบัญญัติ
จึ่งจักอาจเห็นจริง ตัดทิ้งซึ่งตัวข้า โคนเหง้าแห่งอวิชชา ขาดสิ้น สู่มรรค ผล นิพพาน
:b18:
ยาก ๕ อย่าง
๑.การเกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นมาในโลก โลกใบนี้จะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาทั้งหมด
๕ พระองค์ เกิดมาแล้ว ๔ พระองค์ คือพระพุทธเจ้า กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสัปโป
โคตโม ยังคงเหลืออีก ๑ พระองค์คือ พระศรีอริยเมตตัยพุทธเจ้า โลกบางใบมี
พระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว บางใบก็ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเลย เป็นโลกมืด
๒.การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ผู้ที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นจิตวิญญาณที่ได้
รักษาศีล ๕ ไว้ดีในอดีตชาติ
๓.เกิดเป็นมนุษย์แล้วได้พบพระพุทธศาสนา คือมีโอกาสที่จะได้ฟังข้อธรรมคำสอน
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเกิดในเมืองพุทธ หรือสถานที่ที่ศึกษาพุทธศาสนาได้
๔.พบพระพุทธศาสนาแล้วได้ฟังข้อธรรม คำสอนอันถูกต้องของสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนสามารถ เข้าใจนำไปปฏิบัติจริงได้
๕.ได้ลงมือปฏิบัติจริงข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จนสามารถพาตนเองเข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ที่สงบเย็นได้
ทาง ๕ เส้นของสัตว์โลก
๑.อกุศล ทางชั่วบาป เหตุรู้ผิด เห็นผิด คิดผิด ทำผิด ไม่มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป จึงล่วงศีล ๕ ผล พาให้ไปเกิดในอบายภูมิ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
๒.กามกุศล ทางดี บุญ เหตุทำบุญ ให้ทาน มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ไม่ล่วง
ศีล ๕ ไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนา ผล ได้เกิดเป็นมนุษย์ ๑ ชั้น หรือเทวดา มี ๖ ชั้น


๓.รูปกุศล ทางไปสู่รูปพรหม เหตุทำสมถะภาวนาโดยทำรูปกรรมฐาน ๓๖ อย่าง
ผล ไปเกิดเป็นรูปพรหม มี ๑๖ ชั้น
๔.อรูปกุศล ทางไปสู่อรูปพรหม เหตุทำสมถะภาวนาโดยทำอรูปกรรมฐาน ๔ อย่าง
ผล ไปเกิดเป็นอรูปพรหม มี ๔ ชั้น
๕.โลกุตรกุศล ทางพ้นโลก เหตุทำวิปัสสนาภาวนา ผล ไปนิพพาน
บุคคล ๕ จำพวก
๑.ปุถุชน คนชั่ว คนธรรมดา ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยอารมณ์ ไม่รู้จักแยกแยะดีชั่ว บาป
บุญ คุณ โทษ ไม่มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ล่วงศีล ๕ อยู่เป็นนิจ
๒.กัลยาณชน คนดี ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล รู้จักแยกแยะดีชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ไม่ล่วงศีล ๕
๓.เตรียมชาวพุทธ คือผู้ที่กำลังศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาวิธีทำวิปัสสนาภาวนา
วิธีเจริญมรรค ๘ จนเข้าใจแจ่มแจ้งและมีความรู้ทางทฤษฎีถึงสุดยอดคำสอน
ของพุทธศาสนาคือ “สัพเพธัมมา อนัตตา”
๔.ชาวพุทธ คือผู้ที่ลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เจริญมรรค ๘ ละความเห็นผิด
เป็นอัตตา พอกพูนความเห็นถูกต้องเป็นอนัตตา อยู่ทุกวันเวลานาทีที่ระลึกได้และมีโอกาส
๕.อริยบุคคล คือผู้ที่เจริญเหตุทำวิปัสสนาภาวนาจนได้รับผลถึงผลคือมรรค ๔
ผล ๔ อริยบุคคลมี ๔ จำพวกคือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีและอรหันต์บุคคล
:b32:
ยังมีต่อ ไว้รออ่านคราวหน้าครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 11:09
โพสต์: 41


 ข้อมูลส่วนตัว


รออ่านตอนต่ออยู่ ขอบคุณ :b8:

.....................................................
ทุกข์เท่านั้นที่เกิดทุกข์เท่านั้นที่คงอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร