วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 94 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขบวนการเกิด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ มีลักษณะหรือขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ
ขอบคุณคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เกิดพร้อมกันครับ และดับพร้อมกัน
ที่ใดมีวิญญาณ ที่นั่นมี เวทนา สัญญา สังขาร
ไม่มีธรรมอะไร เกิดดับได้เร็วเท่า วิญญาณอีกแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นแสง เป็นคลื่นอะไรก็แล้วแต่

นามขันธ์(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วยเวลาอันรวดเร็ว

ดับแล้วเกิดใหม่ทันทีทันใดเช่นกัน ไม่มีระหว่างคั่น

เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสืบต่อ ก็คือ อนันตรปัจจัย

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ขบวนการเกิด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ มีลักษณะหรือขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ
ขอบคุณคะ :b8:

ไม่ทราบเจ้าคะ อิอิ.. รอท่านอื่นด้วยคะ :b32: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ขบวนการเกิด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ มีลักษณะหรือขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ
ขอบคุณคะ

ขันธ์ ๕ ,.ที่ตั้งของความทุกข์ -ไม่ทุกข์
:b51: ขันธ์ แปลว่า กอง, มี องค์ประกอบคือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
รูป, ได้แก่ วัตถุธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
นาม, -เวทนา คือ ความรู้สึก จากประสาท ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
- สัญญา คือ ความจำได้จาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
- สังขาร ความคิดปรุงแต่งของจิต
- วิญญาน คือ ความรู้ ความเข้าใจจากสัมผัสของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
:b53: ขันธ์ ๕ จะมีความหมายขึ้นมา ก็เมื่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นนั้น กำลังทำหน้าที่อยู่
แม้ว่า ตา มีอยู่, รูป มีอยู่, วิญญาน มีอยู่ : แต่ธรรม ๓ อย่างนี้ยังไม่ทำหน้าที่ร่วมกัน ก็ยังไม่เป็นขันธ์ ๕
เมื่อมีการรวมกันของ ๓ สิ่งคือ : ตา, รูป , และ วิญญานทางตา(จักขุวิญญาน) แล้ว ผัสสะ จึงเกิดขึ้น รูปจึงมีความหมายขึ้น
....เมื่อตาทำหน้าที่ดู รูปขันธ์ ๑ เกิด
รูปขันธ์ ตั้งขึ้น : เกิดเวทนาความรู้สึก

เกิดจากผัสสะ
-เวทนา รู้สึก : เกิดสัญญา ความนึกรู้,ความจำได้
-สัญญานึก,รู้ : เกิด สังขาร ความคิด การปรุงแต่งของจิต
-สังขาร ปรุง : เกิด วิญญาน(ที่ทำหน้าที่มาตลอด)
เกิดเป็น วิญญานขันธ์ (๒) สมบูรณ์
(เกิดตามลำดับนี้ก็ได้ หรือเกิดกลับไปกลับมาก็ได้)และ นอกจากทางตาแล้ว...ผัสสะ ก็เกิดที่ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้เช่นเดียวกัน...
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ผัสสะ" คำเดียว ครอบคุมหมดทุกเรื่อง

....ตัวเราก็คือจิต ความรู้ของจิตเขาเรียกว่า "เจตสิก" จิตดวงเดียวนี้ บางเวลามันโง่ บางเวลามันฉลาด[/b] จิตมันไม่ฉลาด สามารถถึงขนาดรู้ถูก ทำถูก ไปตลอด ความรู้ผิด รู้ถูก มันมีเรื่อยๆมา ตรงกลางจิตดวงเดียวนี้ มันค่อยๆ รู้พร้อมขึ้นมาทั้งสองอย่าง จนกว่ามันจะฉลาด แม้ฝึกฝน อบรม อย่างถูกต้องมาแต่เกิด แต่อ้อนแต่ออก ก็ยังยากจะถูกต้องโดยส่วนเดียวเพราะมันยังไม่รู้จักความผิดพลาด ต้องรู้สองอย่างพร้อมกันทั้งดีชั่ว,ผิดถูก จนกว่ามันจะรู้จักเลือกชีวิต : การเรียนถูก เรียนผิด ความเจ็บปวดแต่หนหลัง มันเป็นบทเรียนมาอย่างนี้
....ซึ่งทั้งหมดนี้ รวมอยู่ที่ว่า ผัสสะที่เกิดแต่ละครั้ง มันสอนจิต จิตเรียนโลกทั้งโลกโดยทางผัสสะ จิตเรียนอารมณ์ทั้งหลายโดยทางผัสสะ จิตจึงรู้จักหนีทุกข์ ดับทุกข์เองได้ถึงชั้นละเอียด ชั้นในของจิตในที่สุด แต่จิตเรียนเองไม่พอ จึงต้องมาเรียน มาศึกษาอบรมธรรมะในพระพุทธศาสนานี้ เพื่อใหพ้นอวิชชาที่ทำให้เกิดผัสสะที่โง่ และเกิดทุกข์แก่จิต
...... :b42: ฉะนั้น ผัสสะ คือสิ่งที่จะต้องรู้จักและควบคุมให้ได้ เพื้อไม่ให้เกิดทุกข์
...... :b42: วิชชา,ปัญญา,สติ คืออุปกรณ์ที่จะควบคุมผัสสะ
...... :b42: มนุษย์เรามีชีวิตรอดมาได้ก็เพราะความมีสติ ฉะนั้นสติจึงเป็นพลังที่สำคัญที่สุดของจิต
...... :b42: การศึกษาอานาปานสติ เพื่อรู้วิชชา เพื่อมีปัญญา และเพื่อฝึกสติให้มากพอที่จะนำมาใช้ให้ทันกับเหตุการณ์ในขณะเกิดผัสสะ ไม่ให้เป็นผัสสะโง่
....ท่านพุทธทาสกล่าวว่า "ถ้าไม่มีผัสสะ โลกก็ไม่มี มันมีค่าเท่ากับไม่มี ถ้าเราไม่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่จะรู้สึกอะไรทั้งหมดนี้ มันเท่ากับไม่มีโลก....สมมติว่าใครสักคนหนึ่งเขายังไม่ตายดอก แต่ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหกอย่างของเขาไม่ทำหน้าที่ นั่นก็คือไม่มีโลกนั่นเอง เพราะโลกทั้งปวงมีต้นเหตุมาจากผัสสะ..."
(คำว่า "ไม่ทำหน้าที่" หมายถึง สักแต่ว่ามีการมองเห็น หรือมีผัสสะทั้งปวงปรากฏขึ้น โดยถูกจิตปฏิเสธที่จะปรุงให้ต่อเนื่องต่อไปจนเกิดทุกข์)

จาก...ธรรมโฆษณ์ : ขุมทรพย์ทางปัญญา
เจริญในธรรม :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 09 พ.ย. 2010, 11:48, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ขบวนการเกิด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ มีลักษณะหรือขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ
ขอบคุณคะ :b8:

สภาพธรรมแบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือรูปธรรม ๑ นามธรรม ๑ เป็นขันธ์ หรือหมวดประชุม หรือกองขันธ์เรียกว่าขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

รูปธรรมได้แก่ รูป ๒๘ หรือรูปขันธ์ ๑ = การประชุมรวมกันของ

มหาภูตรูป ๔ ธาตุดิน ๑ ธาตุน้ำ ๑ ธาตุไฟ ๑ ธาตุลม ๑

และมีรูปอาศัยเรียกว่า อุปาทายรูป คือรูปที่อาศัยในมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ปสาทรูป ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

โคจร ๔ หรือ(วิสยรูป ๗) คืออารมณ์เที่ยวไปของปสาทรูป มี ๔ เว้นกาย ๑ คือ รูปโคจรเทียวไปทางตา ๑เสียงโคจรเีที่ยวไปทางหู ๑ กลิ่นโคจรเที่ยวไปทางจมูก ๑ รสโคจรเที่ยวไปทางลิ้่น ๑ นี่เรียกโคจรรูป ๔

อีก ๓ ก็นับเป็น วิสยรูป ๗ คือเที่ยวไปทางกายได้แก่ ปถวี อารมณ์ที่เที่ยวไปของธาตุดินทางกายคือมีความแข็งหรืออ่อน ๑ เตโช อารมณ์ที่เที่ยวไปของธาตุไฟทางกายคือร้อนหรือเย็น ๑ วาโย อารมณ์ี่เี่ที่ยวไปของธาตุลมทางกายคือ ตึงหรือหย่อน ๑ เที่ยวไปทางกาย

ภาวะรูปมี ๒ คือ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง ๑ ปุริสภาวะ ความเป็นชาย ๑

ปกิณนกะ เบ็ดเตล็ดมี ๔
หทยรูป ๑ คือที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ให้สำเร็จเป็นการกระทำบุญบาปต่าง ๆ
ชีวิตรูป ๑ รูปที่รักษากลุ่มรูปธรรม คือชีวิตรูป ส่วนนามธรรม(เจตสิก)เรียกว่า ชีวิตินทรียเจตสิก
อาหารรูป ๑ อาหารทีบริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้วกลายเป็น โอชะไปหล่อเลี่ยงร่างกาย
ปริจเฉทรูป ๑ หรือ ช่องว่างอากาศรอบ ๆ ตัวที่แบ่งขอบเขตให้กำหนดสันฐานลักษณะของรูปต่าง ๆ ได้

วิญญัติรูป ๒ กายวิญญัตติ ความเคลื่อนไหวทางกาย ๑ วจีวิญญัตติ ความเคลื่อนไหวทางคำพูด ๑

วิการรูป ๓ ลหุตา ความเบาของกาย ๑ มุุทุตา ความอ่อนของร่างกาย ๑ กัมมัญ ความควรแก่การงาน ๑

ลักขณรูป ๔ อุปจย เติบโตได้ ๑ สันตติ สืบต่อ ๑ ชรตา ความชรา ๑ อนิจจตา ความไม่เที่ยง ๑

รวมรูป ๒๘ ที่เรียกว่ารูปขันธ์ หรือรูปธรรม
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


นามธรรมได้แก่ นามขันธ์ ๔ เวทนาขัันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑

นามธรรมคือจิตเจตสิก ได้แก่วิญญาณ เวทนา สัญญา สัขาร จะต้องอิงอาศัยรูปธรรมจึงเกิดขึ้นแยกจากกันไม่ได้ ในปกิณนกะรูป คือมี หทยรูป เป็นที่ตั้งอาศัยให้จิต คือวิญญาณขันธ์ ๑ เกิด และเจตสิกคือ เวทนาขันธ์ ๑ หรือเวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ ๑ หรือสัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ ๑ คือเจตสิกที่เหลือทั้งหมด ๕๐ ดวงเกิดรวมด้วย เป็นกุศลและอกุศลต่าง ๆ
อ้างคำพูด:
การเกิด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ มีลักษณะหรือขั้นตอนอย่างไร


นามรูปต้องอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นก่อน
๑)รูปธรรมอาศัย กรรม จิต อุตุ อาหาร เกิด
๒)นามธรรมอาศัย อารมณ์ วัตถุ มนสิการ เกิด

เมื่อทราบปัจจัยการหรือปัจจัยในการเกิดของทั้งรูปธรรมและนามธรรม ก็พึงศึกษาสืบสาวถึงปัจจัยการอื่น ๆ ต่อไปเป็นลำัดับ เช่น เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ก็เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูปเป็นต้น ก็คือวิญญาณขันธ์ ๑ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือจิต ๘๙ ดวง

เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ(อายตน) เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ นี่คือธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น เช่นเดียวกับรูปต้องอาศัยนาม นามต้องอาศัยรูป นี่จึงเป็นเหตุเิกิดของนามธรรม อื่น ๆ เพราะอะไร เำพราะวัตถุ คืออายตนะภายในได้แก่ ปสาทรูป ๕ จักขุปสาทรูป โสต ฆาน ชิวหา กาย และ หทยรูป ๑หทยรูป(มโน)เป็นที่อาศัยให้ อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ โคจรท่องเที่ยว เป็นที่เกิดของจิตและเจตสิกที่ประชุมรวมกันเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เรียกว่าอารมณ์ ๖
จักขุปสาทรูป โสต ฆาน ชิวหา กาย ๕ หทยรูป(มโน) ๑ เรียกว่า วัตถุ ๖
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นการเกิดขึ้นของนามธรรมเพราะมี การประชุมรวมกันของ อารมณ์ + วัตถุ + มนสิการหรือวิญญาณจึงเป็นปัจจัยให้นามธรรมอื่น ๆ เกิดร่วมด้วย คือ เวทนา สัญญา สังขาร ก็เพราะเหตุว่ามีวิญญาณจึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ การเกิดขึ้นของเวทนา สัญญา สังขาร จึงมีด้วยประการฉะนี้นั่นเองเจริญพร.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนถามท่านพุทธฏีกา :b8:
ถ้าท่านหวนกลับมาที่กระทู้นี้อีก คงได้เจอคำถามผม ดังนี้

มโน คือ หทยรูป หรือ?
ผมถามเพราะไม่รู้ ไม่แน่ใจจริงๆ มิได้แกล้ง
เมื่อเห็นท่านพุทธฏีกา เขียนด้วยความมั่นใจ ผมว่าคงจะมีหลักฐานพอสมควร
มาเปิดเผยแบ่งปัน กันบ้างได้ไหมครับ
ผมหา หลักฐานชัดๆ ยังไม่ได้ว่า มโน คือ หทยรูป
กำลัง สงสัยอยู่พอดีครับ

ที่รู้แน่ๆ คือ จิต บางครั้งเรียก มโน บางครั้ง เรียก หทย บางครั้งเรียก มนายตนะ

เพราะใครๆ ก็รู้ว่า จิต เป็น นาม
คำว่า หทย น่าจะแปลว่า ใจ ซึ่งเป็นนาม
ส่วน หทยวัตถุ หทยรูป นั้น เป็น รูป ..............ซึ่งไม่ใช่ จิต
มนายตนะ เมื่อเป็น จิต ก็ต้องเป็น นาม

หทยรูป ..................เป็นรูป
มโน ......................เป็นนาม

อ้างคำพูด:
ท่านพุทธฏีกา กล่าว

จักขุปสาทรูป โสต ฆาน ชิวหา กาย ๕ หทยรูป(มโน) ๑ เรียกว่า วัตถุ ๖


ผมจึงต้องการคำอธิบายครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุญาตคุณโยมเจ้าของกระทู้นะครับ

เจริญพรโยมพี่ govit2552
อ้างคำพูด:
[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.
---------------------------------------------------
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์


อ้างคำพูด:
มโน คือ หทยรูป หรือ?

ปสาทรูป ๕ และหทยรูป(มโน) ๑ ก็คืออยาตนะภายใน ๖ ตาหูจมูกลิ้นกายแล้วก็ ใจธรรมดา ๆ นี่เองแหละครับเข้าใจว่า ถ้าพุทธฏีกาวงเล็บ(ใจ)เสียแล้วคงไม่สงสัยแน่เลย โยมพี่ govit2552 เข้าใจถูกต้องแล้วครับว่าหทยวัตถุเป็นรูป แต่ยังเป็นรูปที่อาศัยเกิดของ จิตเจตสิกได้ด้วย

ในมโน มนะ หรือใจนั้น พุทธฏีกาหมายเอาคำว่า วัตถุหทยรูป ใน อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี เรียกว่า หทยวัตถุ รูปที่อาศัยเกิดอยู่ในมังสหทยรูป เป็นที่ อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ เรียกว่า หทยรูป หรือ วัตถุหทยรูป ดังนั้นมโน หรือหทยรูป จึงเป็นรูปธรรม ที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก (ตามอธิบายของอภิธัมมัตถสังคหะ) มโน หรือ ใจ ที่ยกแสดงจึงแสดงด้วยศัพท์ หทยรูป ที่อธิบายตามอภิธัมมัตถสังคหะดังนี้ครับ
อ้างคำพูด:

ประเภทที่ ๕ หทยรูป

หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว ต่าง ๆ ได้ ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป

สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป นั้น ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ นั้นชื่อว่า หทยรูป



๑๖. หทยรูป

หทยรูป แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง

(๑) มังสหทยรูป ได้แก่ รูปหัวใจที่มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูมที่แกะกลีบ ออกมา แล้วเอาปลายห้อยลง ภายในนั้นเหมือนรังบวบขม

(๒) วัตถุหทยรูป
ได้แก่ รูปที่อาศัยเกิดอยู่ในมังสหทยรูป เป็นรูปที่เกิดจาก กรรม ที่ตั้งของหทยรูปนั้น ตั้งอยู่ในช่องที่มีลักษณะเหมือนบ่อ โตประมาณเท่าเมล็ด ดอกบุนนาค ในช่องนี้มี น้ำเลี้ยงหัวใจ หล่อเลี้ยงอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ เป็นที่ อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ สถานที่ตรงนี้เอง ที่เรียกว่า หทยรูป หรือ วัตถุหทยรูป
------------------------------------------------------
อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค


ดังนั้นหทยรูปที่แสดง คือ รูปที่เกิดที่อาศัยของนามธรรม คือจิตและเจตสิก มโน มโนธาตุ มโนวิญญานธาตุ และอีกหลายชื่อตามที่แสดงไปข้างต้น

อ้างคำพูด:

ที่รู้แน่ๆ คือ จิต บางครั้งเรียก มโน บางครั้ง เรียก หทย บางครั้งเรียก มนายตนะ

เพราะใครๆ ก็รู้ว่า จิต เป็น นาม
คำว่า หทย น่าจะแปลว่า ใจ ซึ่งเป็นนาม
ส่วน หทยวัตถุ หทยรูป นั้น เป็น รูป ..............ซึ่งไม่ใช่ จิต
มนายตนะ เมื่อเป็น จิต ก็ต้องเป็น นาม

หทยรูป ..................เป็นรูป
มโน ......................เป็นนาม

อ้างคำพูด:
ท่านพุทธฏีกา กล่าว

จักขุปสาทรูป โสต ฆาน ชิวหา กาย ๕ หทยรูป(มโน) ๑ เรียกว่า วัตถุ ๖

จากอัฏฐสาลินี
อ้างคำพูด:
คำว่า หทัย อธิบายว่า อก ท่านเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า
เราจักขว้างจิตของท่านไป หรือจักผ่าหทัยของท่านเสีย. จิตเรียกว่า หทัย
ในประโยคนี้ว่า หทยา หทยํ มญฺเญ อญฺญาย ตจฺฉติ (บุตรช่างทำรถ
ย่อมถากไม้เหมือนจะรู้ใจด้วยใจ) หทัยวัตถุเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า วกฺกํ หทยํ
(ม้าม หัวใจ) แต่ในนิทเทสนี้ จิตเท่านั้นเรียกว่า หทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน.
--------------------------------------------------------
อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี ๓๗๕ - ๓๗๖



อ้างคำพูด:
จักขุปสาทรูป โสต ฆาน ชิวหา กาย ๕ หทยรูป(มโน) ๑ เรียกว่า วัตถุ ๖

มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ อาศัยหทยรูปเกิด หทยวัตถุหรือหทยรูปนี้ เป็นรูปที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกได้ มโน คือใจ อยาตนะภายในคือมโน คือ หทยรูป ฯลฯ
อ้างคำพูด:
[๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ
อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
---------------------------------------------------------
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวิภังคสูตร


อ้างคำพูด:
หมวดที่ ๖ วัตถุสังคหะ

วสนฺติ ปติฏฺฐหนฺติ จิตฺตเจตสิกา เอตฺถาติ วตฺถุ ฯ


จิต เจตสิก ทั้งหลาย ย่อมอาศัยตั้งอยู่ในธรรมใด ฉะนั้น ธรรมที่เป็นที่อาศัย ตั้งอยู่ของจิตเจตสิกเหล่านั้น ชื่อว่าวัตถุ

วัตถุสังคหะ เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องวัตถุ อันเป็นที่อาศัยเกิดของจิตและ เจตสิก วัตถุอันเป็นที่จิตและเจตสิก
อาศัยเกิดนี้ มี ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัตถุ ๖ และวัตถุ ๖ นี้เป็น รูปธรรม ทั้งนั้น คือ
๑. จักขุวัตถุ ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุวิญญาณจิต ๒
๒. โสตวัตถุ ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ โสตวิญญาณจิต ๒
๓. ฆานวัตถุ ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ ฆานวิญญาณจิต ๒
๔. ชิวหาวัตถุ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๕. กายวัตถุ ได้แก่ กายปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ กายวิญญาณจิต ๒
๖. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จิต ๗๕ ดวง (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔)
--------------------------------------------------------------------------
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหวิภาค


ดังนั้นอายตนะภายในทั้ง ๖ หรือวัตถุ ๖ คืออุปาทายรูป รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่แสดงไปตอนต้นคือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุปสาทรูป ๑ โสตปสาทรูป ๑ ฆานปสาทรูป ๑ ชิวหาปสาทรูป ๑ กายปสาทรูป ๑ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม

หทยรูป ๒ คือ มังสหทยรูป ๑ ก้อนเนื้อหัวใจ หทยวัตถุรูป ๑ รูปที่อาศัยมังสหทยรูป เป็นที่เกิดที่อาศัยของจิตเจตสิก (มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ) เกิดจากกรรม ดังนี้ ฯลฯ เจริญพรครับ.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ขอบคุณครับ ท่านพุทธฏีกา ที่ต้องไปวุ่นวายหาหลักฐานมาแสดง
จนแจ่มแจ้ง เรื่องการมีอยู่ของ หทยรูป
และการเป็นที่เกิดของจิตได้ ณ หทยรูปนั้น

แต่................สงสัยอีกนิดครับ เรื่องการกระทบอารมณ์

ตกลง มนายตนะ กระทบธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ :b10:
หรือ หทยรูป กระทบธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ :b10:

Quote Tipitaka:
[๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบ
ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความ
ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖
นั่น เราอาศัยผัสสะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๔ ฯ


อีกแหล่งหนึ่ง แปลคำว่า มโน แล้วว่า คือ ใจ

อ้างคำพูด:
สัมผัส หรือ ผัสสะ มีหกอย่าง คือ
จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ(เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)+กายวิญญาณ
มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


govit2552 เขียน:
แต่................สงสัยอีกนิดครับ เรื่องการกระทบอารมณ์

ตกลง มนายตนะ กระทบธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ :b10:
หรือ หทยรูป กระทบธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ :b10:


ขออนุญาตคุณโยมเจ้าของกระทู้อีกครั้งนะครับ และขออภัยท่านผู้รู้ด้วย อาจอธิบายส่วนหนึ่งส่วนใดขาดเกินบ้างก็ขออภัย พุทธฏีกาใช่แต่จะอ้างอิงอาัศัย หรือยึดถือ อรรถกถาชั้นหลังอย่างอภิธัมมัตถสังคหะอย่างเดียว อย่างงมงายก็ไม่นะครับ เพียงแต่ ในพระอภิธรรมปิฏกเดิมที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล

เป็นของยาก ของเกินจะศึกษาให้ทั่วถึงให้ถึงพร้อมได้ ดังนั้นที่หยิบยก อภิธัมมัตสังคหะ ก็เพราะครูบาอาจาย์แต่โบราณ ท่านย่อท่านสรุปให้ศึกษาให้เข้าใจ ได้โดยง่าย เพื่อให้แทงตลอดในปรมัตธรรม ๔ ดังนั้นที่ยกมาอธิบายแก่ ผู้ที่ไม่ทำลายชินจักร ไม่คัดค้านธรรมอันยิ่งนี้ มีโยมพี่ govit2552 และกัลยาณมิตรที่สนใจ คือผู้สนใจศึกษาพระอภิธรรมนี้เป็นต้น เป็นผู้เชื่อ ต่อพระสัพพัญญุตาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา ขอเชิิญให้ศึกษากันด้วยดี ไม่นำมาข่มกัน เถียงกัน ควรศึกษาเพื่อเหตุคือ สัมมาทิฏฐิ เพื่อมรรคผล เพื่อแจ้งในอริยสัจธรรม เพื่ออบรมขัดเกลาตนเอง เพื่อดับทุกข์.

ที่นี้ขออธิบาย ปัญจทวารวิถีก่อนนะครับโยมพี่ govit2552 ในชั้นพระสูตร

เมื่อเราแบ่ง
อายตนะภายใน ๑ คือมนายตนะ + อายตนะภายนอก ๑ คือ ธรรมารมณ์ + พร้อมการเกิดของมโนวิญญาณ น้อมไปรู้ ธรรมารมณ์นั้น ๆ เช่นบัญญัติของมโนวิญญาณที่กำลังถาม นี้คือที่กล่าวที่เข้าใจทั่วไปโดยชั้นพระสูตร นี่อาศัยกา่ีรเกิดจักขุผัสสะพร้อมด้วยมโนผัสสะ เป็นมนายตนะแล้ว เป็นการเกิดของธรรม(รูปธรรมนามธรรม)ที่อาัศัยกันและกันเกิดขึ้นเีรียบร้อยแล้ว โดยชั้นพระสูตรทั่วไป


ในชั้นอภิธรรม ตอนแรก อาศัยการมีอยู่ของจักขุปสาท + รูปารมณ์คือข้อความของพุทธฏีกา + จักขุวิญญาณ(ที่น้อมไปเห็นไปรู้ไปดูไปอ่าน) = เกิดกระทบสัมผัสทางตา ทำกิจหน้าที่รับรู้อารมณ์ทางตาแล้วดับไปเป็นภวังค์ เป็นการเกิดของรูปภาพผ่านประสาทตาี่ที่ดี มีแสงมีข้อความชัดเจน

เกิดขึ้นเพราะอาัศัย มโน มนะ มโนธาตุ หรือหทยรูป ที่ท่านว่าเป็นที่เกิดที่อาศัยของจิตและเจตสิกนั่นเองในที่นี้คือที่เกิดของ จักขุวิญญาณจิต เพราะเป็นการเกิดขึ้นของ ปัญจทวาราวัชชนะจิต ทำหน้าที่ทำกิจรับรู้อารมณ์ ทางปสาทรูป ๕ มีจักขุเป็นต้น เป็นผัสสะ สัมผัสกระทบรับรู้ทางตาเห็นรูปเฉย ๆ เป็นปรมัตถอารมณ์ด้วย อารมณ์ปัจจุบันด้วย

เห็นสักว่าเห็น ยังไม่พิจารณา ไม่ใคร่ควร เป็นสัมปฏิจฉนะจิต รับอารมณ์มาจากจักขุวิญญาณจิตเ่ท่านั้น ลองดูวิถีจิตคร่าว ๆ นะครับ 1.- 2. จิตพ้นวิถี จิตไม่น้อมออกไปรู้อารมณ์ไม่ออกจากภวังค์ 2.-3. ภวังคุปปัจเฉทะ ตัดกระแสอารมณ์เก่า รับรู้อารมณ์ใหม่อย่างรวดเร็วทาง ปัญจทวาราวัชนะจิต และมโนทวาราวัชชนะจิต เบื้องต้นนี้อธิบายในส่วนของ ปัญจทวาราวัชชนะจิตก่อน

อ้างคำพูด:
(จะแสดงวิถีจิตคราว ๆ เท่าที่พออธิบายได้นะครับ ลึกซึ้งกว่านี้ ยังศึกษาไม่ถึง)
1.(ตี) อตีตภวังค์
2.(น) ภวังคจลนะ
3.(ท) ภวังคุปัจเฉทะ
4.(ป) ปัญจทวาราวัชชนะ (ทวารรับรู้อารมณ์ ๕)
5.(จ) จักขุวิญญาณจิต (ทวิปัญจวิญญาณ)
6.(สํ) สัมปฏิจฉนะ (รับอารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณ)
7.(ณ) สันตีรณะ (พิจารณาอารมณ์)
8.(วุ) โวฎฐัพพนะ (ตัดสินอารมณ์) บางครั้งท่านเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ หรือ มโนทวารวิถี ขึ้นวิถีทางใจ รับอารมณ์ต่อจาก สัมปฏิจฉนะจิต มีอารมณ์เดียวกับ ปัญจทวารวิถี ฯลฯ
9.-15.(ช ๗) ชวนะ (เสพอารมณ์)
16.-17.(ต ๒) ตทาลัมพนะ (ยึดหน่วงอารมณ์ต่อจากชวนะ)
(ภ) ภวังค์


จากนั้นเมื่อภวังค์ตัดกระแส (3.) ก็แล้วแต่ว่าจะเกิด (4,8) คือจิตออกจากภวังค์ขึ้นวิถีทางปัญจทวาร หรือมโนทวาร หากอาศัยตากระทบรูปข้อความอักษรผ่าน ๆ อ่านข้อความอยู่ ไม่ได้นึกคิดใคร่ควรใด ๆ เรื่องอื่นก็ไม่คิด ก็เป็นขณะแห่ง ปัญจทวาร คือ จักขุวิญญาณจิต (5,6) [ตรงนี้ละเอียดสุขุม ลึกซึ้ง สำคัญนะครับ เป็นเพียงแต่ตากระทบรูป รู้แต่อารมณ์คือเห็นสี เป็นปรมัตถอารมณ์ ไม่มีบัญญัติ ต่อเมื่อส่งต่อไปตามวิถีจิต หรือกิจของวิญญาณจิต ก็เป็นบัญญัติอารมณ์เรียบร้อย----พุทธฏีกา]

จักขุวิญญาณจิต(5.) สัมปฏิจฉนะจิต (6.) อาศัย หทยรูปเกิด เป็นมโนธาตุ


จากจักขุวิญญาณ(5.)ส่งต่อสัมปฏิจฉนะจิต(6.) รับอารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณ ก็ส่งต่อไปยัง (7.)สันตีรณะ (พิจารณาอารมณ์) และ (8.) โวฎฐัพพนะ (ตัดสินอารมณ์)

สันตีรณะจิต (7.) โวฎฐัพพนะ (8.) อาศัย หทยรูปเกิด เป็นมโนวิญญาณธาตุคือ จิต ๗๕ ดวง


อ้างคำพูด:
๖. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จิต ๗๕ ดวง (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔)
--------------------------------------------------------------------------
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหวิภาค


ดังนั้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง (อกุสลจิต ๑ ดวง กับอเหตุกกุสลวิบากจิต ๑ ดวง) โสต ฆานะ ชิวหา กาย ก็นัยเดียวกัน คือ ที่เกิดที่ตั้งอาศัยของ หทยรูป เป็นมโนธาตุ (มโนธาตุ หมายถึง จิต ๓ ดวง ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และสัมปฏิจฉันจิต ๒ ดวง)---อภิธัมมัตถสังหคะ ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

และเมื่อแบ่งจิต ๘๙ ดวงที่เป็นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิปาก ๔ ออก เป็นมโนธาตุ ดังนั้น จิตที่เหลือ ๗๕ ดวงก็คือ มโนวิญญาณธาตุ (มโนวิญญาณธาตุ เฉพาะในอเหตุกจิตนี้ หมายถึง จิต ๕ ดวง ได้แก่ สันตีรณจิต ๓ ดวง มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และหสิตุปปาทจิต ๑ ดวง)---อภิธัมมัตถสังหคะ ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

เพราะฉะนั้น
อ้างคำพูด:
จิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ สถานที่ตรงนี้เอง ที่เรียกว่า หทยรูป หรือ วัตถุหทยรูป
------------------------------------------------------
อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค


อ้างคำพูด:
ตกลง มนายตนะ กระทบธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ :b10:
หรือ หทยรูป กระทบธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ :b10:

เบื้องต้นเสริมความรู้ความเข้าใจหากทราบดีอยู่แล้วก็ขออภัยนะครับ ที่นี้ก็พูดกันธรรมดา ๆ ก็คือ ทุก ๆ การรู้อารมณ์ มีธาตุรู้ มีตัวรู้ มีวิญญาณจิต ต้องอาศัยการประชุมรวมกันของ อายตนะภายนอกทั้ง ๖ คือธรรมารมณ์ (ที่ ๖) เรื่องราวต่าง ๆ + อยาตนะภายในทั้ง ๖ คือผ่านปสาทรูป ๕และไม่ผ่านปสาทรูปถ้าไม่ผ่านก็ ลงสู่(มนายตนะ)หทยรูป (ที่ ๖)คือ ใจ มโน จิต วิญญาณ มนัส หทัย ประชุมกันประจวบกันก็จะเกิด + ปัญจทวาราวัชชนะจิต หรือปัญจวิญญาณ ๕ บ้าง หรือ มโนทวาราวัชชนะ หรือมโนวิญญาณ ๑ ตัวรู้ ความรู้แจ้งอารมณ์ ธาตุรู้

มนายตนะ + ธรรมามร์ = มโนวิญญาณ ๓ ธาตุประชุมรวมกันเรียก มโนผัสสะ ถูก
หทยรูป + ธรรมารมณ์ = มโนวิญญาณ ๓ ธาตุประชุมรวมกันเรียกว่า มโนผัสสะ ถูก

ต้องไม่ลืมนะครับว่า ผัสสะหรืออายตนะภายใน ๕ คือรับรู้ได้ ๕ อารมณ์ตัวที่รู้คือ ใจคือจิตรู้ ตาไม่ได้รู้อารมณ์รูปไม่ได้รู้อารมณ์ รูปารมณ์ ก็เป็นแต่เพียงวัตถุเป็นอารมณ์ภายนอกเฉย ๆ ไม่เป็นอารมณ์เช่นกัน ต่อเมื่อตากระทบรูป แล้วมีใจน้อมไปรู้ นั้นจึงเิกิดวิญญาณทางตา การประชุมรวมกันนั้น ๆ เรียกว่าผัสสะ ตาหูจมูกลิ้นกาย เป็นมโนธาตุ

ส่วนใจ คือมโนวิญญานธาตุ เพราะมนายตนะ รับรู้ได้ทั้ง ๖ อารมณ์ และเป็นไปในภายในจิตใจ มีแต่ จักขุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย ๕ ธาตุ ๕ ปสาทรูปนี้เ่ท่านั้นตามที่อธิบายแจกแจงแต่ต้น เมื่อมีอยู่ + กระทบกับ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฎัฐพพารมณ์

ห้าตัวนี้เป็นที่เกิดที่อาศัยของหทยรูป มาประจวบกันประชุมกันจึงเกิด = มโนธาตุ หรือมโน เพราะเป็นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เรียกแตกต่างกันไปตาม ความเป็นกิจเป็นอินทรีย์ของตน ตามที่เคยตอบกระทู้ในลานธรรมจำได้ไหมครับ จึงเรียกว่า จักขุผัสสะ โสตผัสสะ ฆานะผัสสะ ชิวหาผัสสะ กายผัสสะ เพราะเกิดตั้งอยู่อาศัยอยู่ใน หทยรูป นั่นเองเจริญพรครับ.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนท่านพุทธฏีกา :b8:
ผมยังต้องค่อยๆ อ่านทำความเข้าใจครับ ถ้ามีอะไรสงสัยคงได้ถามกันอีก
ผมคงต้องอ่านหลายๆเที่ยวหน่อยครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


แต่ถ้าท่านพุทธฏีกา :b8:
มีส่วนไหนจะขยายความอีก
ผมก็จะรออ่านอยู่เช่นกันครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
ขอเชิิญให้ศึกษากันด้วยดี ไม่นำมาข่มกัน เถียงกัน ควรศึกษาเพื่อเหตุคือ สัมมาทิฏฐิ เพื่อมรรคผล เพื่อแจ้งในอริยสัจธรรม เพื่ออบรมขัดเกลาตนเอง เพื่อดับทุกข์.

ขอโมทนากับทุกท่านคะ สาธุ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2011, 17:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 28 พ.ย. 2011, 15:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2011, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ขบวนการเกิด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ มีลักษณะหรือขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ
ขอบคุณคะ :b8:

เปรียบเทียบอย่างนี้นะ "สมมุติว่า ตุ๊กกี้ร้องเพลง สาวนาสั่งแฟน"

อันดับแรกเลยคือ เราได้ยินเสียง ได้รับรู้ เรียกว่า วิญญาณ
อันดับสอง เสียงอะไร เพลงอะไร ใครร้อง เรียกว่า สัญญา
อันดับสาม เสียงเพราะ ไม่เพราะหรือไม่ร้องเอาเท่าไร เรียก สังขาร
อันดับสี่ เกิดความเคลิบเคลิม รำคาญหรือเฉย ๆ อย่างนี้คือ เวทนา

เรียงลำดับลักษณะการเกิด คือ ๑. วิญญาณ ๒. สัญญา ๓. สังขาร ๔. เวทนา

แหะ.. แหะ .. แต่เสียงกระผมเหมือนเป็ดเทศขอรับ :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 94 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 139 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร