วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 01:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 83, 84, 85, 86, 87, 88, 89 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และการปฏิบัติก็จะวนเวียนไปเช่นนี้นะครับ คือ :b46: :b47: :b46:

๑) ให้ใช้คำบริกรรม (เช่นพุทโธ) เพื่อหาผู้รู้
๒) จนจิตนิ่งเป็นสมาธิได้ในระดับหนึ่ง แล้วทิ้งคำบริกรรม มารู้อยู่กับรู้ในผู้รู้
๓) สักพักหนึ่งเมื่อสมาธิคลายตัวเกิดสัญญาและวิตกฟุ้งขึ้นมา ก็ให้ดูการดับไปของสัญญาและวิตก

๑) โดยกลับมาหาคำบริกรรมใหม่เพื่อกดการทำงานของสัญญากับวิตกนั้นลงไปไม่ให้ฟุ้งขึ้นมา
๒) สักพักจนจิตนิ่งเป็นสมาธิได้ในระดับหนึ่ง แล้วทิ้งคำบริกรรม มารู้อยู่กับรู้ในผู้รู้
๓) สักพักหนึ่งเมื่อสมาธิคลายตัวเกิดสัญญาและวิตกฟุ้งขึ้นมา ก็ให้ดูการดับไปของสัญญาและวิตก

๑) โดยกลับมาหาคำบริกรรมใหม่เพื่อกดการทำงานของสัญญากับวิตกนั้นลงไปไม่ให้ฟุ้งขึ้นมา ..

ฯลฯ

วนกลับไปมาจนกระทั่งเข้าสู่สมาธิขั้นอัปปนา หรือขั้นฌานที่ไม่มีสัญญาและวิตกผุดฟุ้งขึ้นมาอีกนะครับ ซึ่งตรงนี้ จิตจะผ่านการรู้ในปีติ รู้ในสุข และรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิตได้อย่างแนบแน่น เป็นขั้นเป็นลำดับไปตามอัปปนาสมาธิที่เข้มแข็งขึ้นไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

(แต่โดยส่วนมากของผู้ปฏิบัติ มักจะเข้าไม่ถึงสมาธิในขั้นอัปปนา หรือขั้นฌาน ก็ให้ฝึกวนบริกรรม แล้วกลับเข้ามารู้ในผู้รู้เช่นนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะออกจากสมาธิภาวนานะครับ หมั่นเพียรสะสมกำลังของสมาธิเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งถ้าสมาธิเข้มแข็งพอ จิตก็จะรวมของเขาเอง เข้าสู่อัปปนาสมาธิได้โดยอัตโนมัตินะครับ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากการใช้การบริกรรมเพื่อฝึกในสมาธิภาวนาแล้ว ผู้ปฏิบัติที่ถนัดในการดูท้องพองยุบ ก็สามารถใช้การดูท้องพองยุบเข้ามาฝึกหาผู้รู้ รู้อยู่ในรู้ หรือรู้อยู่ในจิตได้เช่นกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งการขึ้นต้นก็เหมื่อนกับการฝึกด้วยการใช้คำบริกรรม นั่นก็คือใช้การแยกรูปแยกนาม แยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ออกจากกัน :b47: :b48: :b43:

ต่างกันเพียงแต่ว่า การใช้คำบริกรรม เป็นการแยกนาม (คือจิต) ออกจากนาม (คือเจตสิก) แต่การใช้การดูท้องพองยุบ เป็นการแยกนาม (คือจิต) ออกจากรูป (คือท้องที่พองยุบ) โดยจิตไม่ไปจมแช่ หรือรวมอยู่กับอาการพองยุบนั้น ซึ่งนั่น จะเป็นการเพ่งท้องพองยุบไป ไม่ใช่การดูท้องพองยุบแบบตั้งมั่นแยกรู้อยู่ที่จิต :b50: :b49: :b43:

ซึ่งการใช้การดูท้องพองยุบในภาคปฏิบัตินั้น ก็ให้ผู้ปฏิบัติ แยกจิตออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูท้องที่พองยุบตึงไหวอยู่นั่น เหมือนกับการใช้ตามองท้องที่ขยับขึ้นลง แต่เป็นตาภายในที่รู้สึกได้ถึงการไหวขึ้นลงของท้อง โดยไม่ไปจมแช่รู้สึกอยู่ที่ท้อง แต่ "รู้" อยู่ในตำแหน่งของผู้รู้ที่เคยหามาได้ด้วยการทดลองกลั้นลมหายใจนั่น :b50: :b48: :b47:

และในขณะเดียวกัน ก็ "กำลังรู้" ในอาการไหวขึ้นลงของท้องอยู่ห่างๆ โดยที่ไม่ต้องใช้คำบริรรมว่าพองว่ายุบประกอบเข้ามา :b50: :b49: :b48:

ทำไปสักพัก ผู้ปฏิบัติก็จะเห็นได้ว่า ท้องที่พองยุบอยู่นั้น เป็นคนละส่วนกับตำแหน่งของผู้รู้ โดยแยกกันอยู่ต่างหาก และห่างจากผู้รู้ออกไปในส่วนล่างของกาย :b50: :b44: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 03 ก.ค. 2016, 22:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเช่นเดียวกัน เมื่อจิตคลอเคลีย รู้อยู่ในอาการพองยุบแต่เพียงอย่างเดียวจนตั้งมั่นดีแล้ว ให้ทิ้งการรับรู้ในท้องที่พองยุบ เข้ามารับรู้อยู่แค่ในจิตที่รู้การพองยุบนั้น หรือจิตอาจจะทิ้งการรับรู้ในอาการพองยุบของเขาเอง เข้ามารู้อยู่แค่ในจิตที่รู้การพองยุบนั้นได้ จนเข้าสู่อัปปนาสมาธิ :b48: :b49: :b44:

แต่ถ้าผู้ปฏิบัติยังไม่มีสมาธิแนบแน่นถึงขั้นอัปปนาแล้วละก็ องค์นิวรณ์โดยเฉพาะความฟุ้งซ่านหรืออุทธัจจะ ก็จะเข้ามาแทรกในจังหวะที่สมาธิมีกำลังอ่อนลง :b45: :b44: :b39:

และเช่นเดียวกันกับการทำสมาธิด้วยวิธีใดๆก็ตามแล้วมีอุทธัจจะเข้าแทรก สิ่งที่ผุดฟุ้งทำงานขึ้นมาก่อนก็คือ ตัวสัญญาขันธ์ :b44: :b39: :b40:

และถ้าสติยังตามไม่ทัน ตัวสังขารขันธ์ที่เป็นตัววิตกหรือตัวความคิด ก็จะใช้สัญญาขันธ์ที่ผุดฟุ้งขึ้นมานั้น เป็นวัตถุดิบในการปรุงแต่งความคิดต่อเนื่องออกไปอีก จนกว่าจะมีองค์ของสติเข้ามาระลึกรู้ได้ในอาการฟุ้ง อาการฟุ้งนั้นถึงจะสงบลงไป :b51: :b50: :b49:

ตรงนี้ก็ให้ผู้ปฏิบัติใช้วิธีเดียวกับการบริกรรมนะครับ คือหวนกลับมาดูท้องพองยุบเพื่อกดข่มนิวรณ์คืออาการคิดฟุ้งที่ผุดขึ้นมานั้น ให้สงบระงับลงไป จนจิตนิ่งและตั้งมั่นอยู่แค่อาการรู้ในท้องที่พองยุบ :b55: :b54: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และการปฏิบัติก็จะวนเวียนไปเช่นนี้นะครับ คือ :b43: :b42: :b44:

๑) ให้ใช้การดูท้องพองยุบ เพื่อหาผู้รู้ และแยกผู้รู้ ออกจากอาการพองยุบที่ถูกรู้
๒) จนจิตนิ่งเป็นสมาธิได้ในระดับหนึ่ง แล้วทิ้งการดูท้องที่พองยุบ เข้ามารู้อยู่กับรู้ในผู้รู้
๓) สักพักหนึ่งเมื่อสมาธิคลายตัวเกิดสัญญาและวิตกฟุ้งขึ้นมา ก็ให้ดูการดับไปของสัญญาและวิตก

๑) โดยกลับมาหาการดูท้องพองยุบใหม่เพื่อกดการทำงานของสัญญากับวิตกที่ผุดเกิดขึ้นมานั้นลงไป ไม่ให้ฟุ้งขึ้นมา
๒) สักพักจนจิตนิ่งเป็นสมาธิได้ในระดับหนึ่ง แล้วทิ้งการดูท้องที่พองยุบ เข้ามารู้อยู่กับรู้ในผู้รู้
๓) สักพักหนึ่งเมื่อสมาธิคลายตัวเกิดสัญญาและวิตกฟุ้งขึ้นมา ก็ให้ดูการดับไปของสัญญาและวิตก

๑) โดยกลับมาหาการดูท้องพองยุบเพื่อกดการทำงานของสัญญากับวิตกที่ผุดเกิดขึ้นมานั้นลงไป ไม่ให้ฟุ้งขึ้นมา

ฯลฯ

วนกลับไปมาจนกระทั่งเข้าสู่สมาธิขั้นอัปปนา หรือขั้นฌานที่ไม่มีสัญญาและวิตกผุดฟุ้งขึ้นมาอีกนะครับ ซึ่งตรงนี้ จิตจะผ่านการรู้ในปีติ รู้ในสุข และรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิตได้อย่างแนบแน่น เป็นขั้นเป็นลำดับไปตามอัปปนาสมาธิที่เข้มแข็งขึ้นไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

(แต่โดยส่วนมากของผู้ปฏิบัติ มักจะเข้าไม่ถึงสมาธิในขั้นอัปปนา หรือขั้นฌาน ก็ให้ฝึกวนดูท้องพองยุบแล้วกลับเข้ามารู้ในผู้รู้เช่นนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะออกจากสมาธิภาวนานะครับ หมั่นเพียรสะสมกำลังของสมาธิเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งถ้าสมาธิเข้มแข็งพอ จิตก็จะรวมของเขาเอง เข้าสู่อัปปนาสมาธิได้โดยอัตโนมัตินะครับ) :b1: :b46: :b39:

แล้วมาลงรายละเอียดการปฏิบัติของการรู้อยู่ในรู้ ผ่านการดูลมหายใจ การเดินจงกรม และการขยับมือตามจังหวะกันในคราวหน้า :b50: :b49: :b48:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ การรู้อยู่ในรู้ รู้อยู่ในจิต ผ่านการดูลมหายใจ การเดินจงกรม และการขยับมือตามจังหวะ ซึ่งรวมถึงอิริยาบถย่อยอื่นๆที่เอาไว้ใช้ในการทำสมาธิภาวนากันนะครับ :b1: :b46: :b39:

มาที่การฝึกรู้อยู่ในรู้ รู้อยู่ในจิต หรือจิตเห็นจิต ด้วยการดูลมหายใจกันก่อน :b49: :b50: :b51:

ซึ่งโดยมาตรฐานการปฏิบัติแล้ว นี่คือการทำตามขั้นตอนของอานาปานสติกรรมฐานนั่นเอง อันได้แก่การไล่ระดับในจตุกกะที่ ๑ ข้อที่ ๑ ดูลมหายใจยาว ไปสู่ข้อที่ ๒ การดูลมหายใจสั้น ไปสู่ข้อที่ ๓ การกำหนดรู้กองลม และข้อที่ ๔ ดูการระงับแผ่วเบาลงไปของกองลมจนเข้าสู่สมาธิระดับฌานที่ ๑ และจบในส่วนของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในอานาปานสติ :b48: :b47: :b46:

ต่อเนื่องด้วยจตุกกะ ๒ ข้อที่ ๑ การรู้ลงในปีติ (ฌาน ๒) และข้อที่ ๒ รู้ลงในสุข (ฌาน ๓) ที่เกิดขึ้น เข้าสู่ข้อที่ ๓ รู้ลงในจิตสังขารซึ่งก็คือโสมนัสเวทนา จนกระทั่งเข้าสู่ข้อที่ ๔ กำหนดให้ และเห็นในการระงับไปของจิตสังขาร จนจบในส่วนของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในอานาปานสติ :b43: :b44: :b45:

ต่อเนื่องไปถึงจตุกกะที่ ๓ ข้อที่ ๑ การกำหนดรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หรือจิตเห็นจิต จนกระทั่งข้อที่ ๒ ทำจิตให้ปราโมทย์ ร่าเริง เบิกบาน เข้าสู่ข้อที่ ๓ การตั้งมั่นแห่งจิต (ฌาน ๔) จนกระทั่งเข้าสู่ข้อที่ ๔ การปล่อยจิตให้รู้อยู่ในรู้ รู้อย่างสบายๆ เฉยอยู่ จนจบจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในอานาปานสติ :b42: :b43: :b42:

(ซึ่งรายละเอียดของการปฏิบัติและสภาวะที่เป็นไป จะเอาไว้ลงลึกกันอีกทีในช่วงของมหาสติปัฏฐาน ๔ ในส่วนของอานาปานสติกรรมฐานนะครับ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งขั้นตอนปฏิบัติ โดยไล่ตามอานาปานสติกรรมฐานไปในแต่ละข้อนั้น อาจจะยากสำหรับผู้ปฏิบัติที่ไม่สามารถทำสมาธิให้ถึงฌานได้ :b42: :b48: :b44:

แต่อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์โดยส่วนตัวแล้ว ยังมีวิธีปฏิบัติที่เป็นทางลัดในการเข้าสู่จตุกกะที่ ๓ ข้อที่ ๑ คือการกำหนดรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หรือจิตเห็นจิตได้ โดยไม่ต้องไล่ตามลำดับในอานาปานสติ และไม่ต้องได้ฌานมาก่อน ซึ่งสำหรับผู้ที่ชำนาญในอานาปานสติแล้ว จะสามารถเข้าสู่จตุกกะที่ ๓ โดยเข้าสู่ฌาน ๔ ได้ โดยผ่านจตุกกะที่ ๑ และ ๒ รวมถึงฌาน ๑ ถึง ๓ ไปได้อย่างรวดเร็ว :b50: :b51: :b53:

แต่สำหรับผู้ที่เข้าไม่ถึงฌาน เมื่อเข้าสู่สภาวะรู้อยู่ในรู้ หรือรู้อยู่ในจิตแล้ว สติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้ด้วยวิธีการลัดทางนี้ จะไม่คมเข้มและคมชัดเหมือนสภาวะในฌาน ๔ ดังเช่นที่ผู้ชำนาญในอาปานสติเขาได้กันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เพราะสมาธิที่ได้ จะเป็นเพียงแค่อุปจารสมาธิ แต่ก็ยังเป็นสติสัมปชัญญะและสมาธิที่มีประโยชน์อย่างมากอยู่ดีในการปฏิบัติให้จิตเห็นจิต และยังเป็นพื้นฐานในการต่อยอดเข้าสู่ขั้นตอนต่างๆของอานาปานสติฉบับจริงได้อย่างดีอีกด้วย
:b47: :b46: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มากันที่รายละเอียดในการปฏิบัติของทางลัดนี้กันครับ :b1: :b46: :b39:

เริ่มจากการทำสมาธิด้วยการตามรู้ลมหายใจเข้าออกเหมือนกับในอานาปานสติจตุกกะที่ ๑ คือรู้ลมหายใจยาวก่อน ทั้งเข้าและออก ไม่ว่าจะเป็นการรู้ตามกองลมที่ไหลเข้าไปจากโพรงจมูกลงไปถึงท้องในการหายใจเข้า และไล่จากท้องมาที่โพรงจมูก ในขณะหายใจออก หรือจะรู้แค่การเข้าออกของกระแสลมผ่านโพรงจมูก อันจะรู้สึกได้ถึงลมเย็นเมื่อหายใจเข้า และลมอุ่นเมื่อหายใจออก ก็ได้นะครับ :b1: :b46: :b39:

จากนั้นเมื่อกระบวนการเผาผลาญ หรือ metabolism ของกายเริ่มสงบลง ร่างกายเริ่มต้องการออกซิเจนน้อยลง ก็ให้เข้ามารู้ลมหายใจสั้น ทั้งเข้าและออก ด้วยการรู้แค่การเข้าออกของกระแสลมผ่านโพรงจมูก อันจะรู้สึกได้ถึงลมเย็นเมื่อหายใจเข้า และลมอุ่นเมื่อหายใจออก :b50: :b45: :b44:

และเมื่อมาถึงจุดที่ดูลมหายใจเข้าออกในจังหวะสั้นแล้ว คราวนี้ก็ให้ผู้ปฏิบัติ แยกผู้รู้ออกจากผัสสะของกระแสลมซึ่งเป็นตัวถูกรู้ โดยผู้รู้ ก็อยู่ส่วนหนึ่ง (คือในส่วนที่ได้เคยหาเจอตำแหน่งของผู้รู้ด้วยการกลั้นลมหายใจไว้สักพัก ตามอุบายของหลวงปู่เทสก์นั่นหล่ะครับ) ผัสสะของลมเข้าออกที่โพรงจมูกก็อยู่อีกส่วนหนึ่ง โดยให้รู้ผัสสะของลมเข้าออกอยู่ที่ผู้รู้นั้น แทนที่จะไปรู้ที่โพรงจมูก :b48: :b42: :b43:

ซึ่งการแยกผู้รู้ ออกจากความรู้สึกของลมเข้าออกที่โพรงจมูกนั้น สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญ จะรู้สึกแยกได้ยากเหมือนกันนะครับ เพราะตำแหน่งของผู้รู้ กับตำแหน่งของโพรงจมูกนั้น ไม่ห่างกันสักเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับการแยกผู้รู้ ออกจากขาที่เดินอยู่ ในการฝึกด้วยการเดินจงกรม เพราะขาที่เดินจงกรมกับตำแหน่งของผู้รู้นั้น อยู่ไกลกันมากกว่า :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยถ้าผู้ปฏิบัติ ยังไม่สามารถแยกรู้ลมอยู่ที่ผู้รู้ได้ ก็ให้ลองหาตำแหน่งของผู้รู้ด้วยการใช้คำบริกรรมเสริมเข้าไปในระหว่างดูลมหายใจ เช่น หายใจเข้าก็ให้บริกรรมในใจว่า พุท หายใจออกก็ให้บริกรรมในใจว่า โธ ไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตว่า บริกรรม พุท-โธ ชัดอยู่ที่ตรงไหน ตรงนั้นก็คือตำแหน่งของผู้รู้ หรือของใจนั่นเอง :b47: :b48: :b49:

ก็ให้ผู้ปฏิบัติ รู้ชัดอยู่ในคำบริกรรมพุทโธ ในขณะเดียวกันกับที่รู้ลมหายใจไปด้วย ก็จะสามารถแยกการเห็นได้ ระหว่างพุทธโธ กับลมหายใจ :b51: :b50: :b49:

จากนั้นให้ลองหยุดท่องพุทโธ แต่ยังรู้อยู่ที่ตำแหน่งที่พุทโธชัดอยู่นั้น แล้วดูลมหายใจเข้าออกต่อไป ก็จะเห็นได้ว่า ผู้รู้ก็อยู่ส่วนหนึ่ง ลมหายใจก็อยู่ส่วนหนึ่ง :b43: :b42: :b44:

ทำเช่นนี้ไปสักพักจนจิตสงบ จากนั้นให้ละการรู้ลมหาใจ กลับเข้ามารู้ลงเฉพาะแค่ในผู้รู้ หรือรู้เฉพาะลงในจิตที่กำหนดตำแหน่งไว้ได้แล้วนั้นเพียงอย่างเดียว ด้วยวิธีนี้ ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถรู้ลงในรู้ รู้ลงในจิต หรือรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตได้โดยง่าย :b54: :b55: :b51:

ซึ่งสำหรับผู้ที่ชำนาญในอานาปานสติ และชำนาญในฌาน ๔ แล้ว หลังจากละการรู้ลมหายใจ กลับเข้ามารู้ลงเฉพาะแค่ในผู้รู้ หรือรู้เฉพาะลงในจิตไปสักพัก จิตเขาก็จะรวมพรึบลง จากอุปจารสมาธิ เข้าสู่อัปปนาสมาธิในระดับฌาน ๔ ที่สว่าง แจ่มแจ้ง จิตตื่นและรู้ชัด ด้วยสติที่บริสุทธิ์ ควรค่าแก่การงาน คือการเจริญวิปัสสนาได้โดยง่ายนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2016, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่ไม่ชำนาญในอานาปานสติและฌาน ๔ การเข้าถึงจุดที่จิต มีความรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตรงนี้ จะเป็นการเข้าสู่อุปจารสมาธิที่ทำให้สติและสัมปชัญญะมีความบริสุทธิ์ขึ้นในระดับหนึ่ง สามารถเอาไว้ใช้งานได้ในการฝึกสติสัมปชัญญะและเดินปัญญา :b46: :b47: :b48:

คือการดูความไม่เที่ยง ดูการเกิดดับของเจตสิกต่างๆที่ฟุ้งขึ้นมา คือเวทนา สัญญา และวิตก โดยเฉพาะตัวสัญญาและตัววิตก หรือความคิดที่อาจจะฟุ้งขึ้นมาได้ในสมาธิระดับอุปจาระ ตามวิธีการของพระบรมครูในสมาธิสูตรนะครับ
:b1: :b46: :b39:

ซึ่งจิตที่มีสมาธิในระดับอุปจาระที่ว่า จะสามารถนำมาใช้งานได้ดีในการเฝ้าดูอาการของเวทนา สัญญา และวิตก หรือความรู้สึก ความจำได้หมายรู้ และความคิดที่ผุดฟุ้งขึ้นมา สามารถมีความไวในการระลึกรู้ (สติ) และรู้ชัด (สัมปชัญญะ) ได้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของเวทนา สัญญา และวิตก :b44: :b43: :b42:

สามารถเห็นได้ชัดถึงความไม่เที่ยง แปรปรวนไป บังคับไม่ได้ตามใจของเวทนา สัญญา และวิตกที่ผุดเกิดขึ้นมาได้เองตามเหตุปัจจัยนั้น สะสมเป็นวิปัสสนาปัญญาในการเห็นลงในไตรลักษณ์ของนามขันธ์ทั้ง ๓ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ด้วยการปฏิบัติในสมาธิภาวนาที่เริ่มด้วยการดูลมหายใจเข้าออกนั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วมาต่อกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ การรู้อยู่ในรู้ รู้อยู่ในจิต ผ่านการเดินจงกรม และการขยับมือตามจังหวะ ซึ่งรวมถึงอิริยาบถย่อยอื่นๆที่เอาไว้ใช้ในการทำสมาธิภาวนากันในคราวหน้า :b50: :b49: :b48:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ การรู้อยู่ในรู้ รู้อยู่ในจิต ที่เอาไว้ใช้ในการทำสมาธิภาวนา ผ่านการเดินจงกรม ซึ่งเป็นตัวแทนของอิริยาบถใหญ่ในการใช้ชีวิตประจำวัน และการขยับมือตามจังหวะ ซึ่งเป็นตัวแทนของอิริยาบถย่อย ในการใช้ชีวิตประจำวัน :b47: :b48: :b49:

เริ่มจากการเดินจงกรมกันก่อนนะครับ :b1: :b46: :b39:

อย่างที่เคยกล่าวเอาไว้แล้วนะครับในตอนต้นๆว่า หลักการของการเดินจงกรมก็คือ การเดินที่ประกอบไปด้วยสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ มีความรู้สึกตัว หรือรู้ตัวทั่วพร้อม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาไว้ใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ อันเป็นพื้นฐานในการฝึกเพื่อให้เกิดอินทรียสังวร ให้เกิดสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เข้ามาคุ้มครองจิตใจอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในขณะฝึก และโดยเฉพาะในขณะของการใช้ชีวิตประจำวันที่มีผัสสะมารุมเร้ามากกว่า :b51: :b50: :b44:

นั่นหมายความว่า การเดินจงกรม สามารถพลิกแพลงเอามาฝึกเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งได้ทั้ง สติ สัมปชัญญะ สมาธิ และสามารถรวมได้ถึงการฝึกวิปัสสนา โดยมีความแตกต่างในภาคของการฝึกก็คือ ถ้าเอาไว้ฝึกสติ ฝึกสัมปชัญญะ ก็ให้เดินอย่างรู้เนื้อรู้ตัว รู้ตัวทั่วพร้อม หรือรู้ในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสัญญา เวทนา และวิตก ในขณะเดิน :b48: :b47: :b46:

หรือถ้าเอาไว้ฝึกสมาธิ ก็ให้จิต ยึดติดกับจังหวะเท้าที่ก้าวเดินไป โดยอาจจะภาวนาและนับจังหวะไปด้วยว่า ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ จนจิตสงบปราศจากนิวรณ์ ซึ่งตรงนี้ ถ้าสามารถทำความรู้ชัดได้ถึงอาการ ยก ย่าง และเหยียบ ได้อย่างชัดเจนแล้ว ก็จะได้การฝึกทั้งสติ สัมปชัญญะ และสมาธิเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:

และโดยพื้นฐานของสติสัมปชัญญะและสมาธินี้ ในท้ายที่สุดก็เพื่อเอาไว้ใช้เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาในขั้นปลาย ในการให้จิต ได้เรียนรู้ จนรู้ซึ้งถึงความเป็นจริงของกายและใจ คือการเดินไปแล้วเห็นในรูปที่เดิน ว่ารูปนั้นไม่ใช่เรา ไม่มีเราในรูปที่เดิน ฯลฯ ก็สามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้ด้วยกำลังของโลกุตรปัญญาเมื่อเห็น จนลึกซึ้งถึงอกถึงใจ ยอมรับปลงใจได้ในความเป็นจริงของกายและใจอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีเราปรากฏในกายใจที่ไหน :b48: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น การฝึกสมาธิภาวนาผ่านการเดินจงกรมนี้ จึงมีหลักอยู่ว่า ให้เดินด้วยความมีสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ชัดลงในอาการเห็นรูปที่เดิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดอินทรียสังวรในเบื้องต้น และเป็นพื้นฐานของวิปัสสนาปัญญาในเบื้องปลาย :b46: :b46: :b47: :b46:

และการเดินจงกรมเพื่อให้เกิดสภาวะรู้ชัดในรูปที่เดินนั้น สำหรับนักปฏิบัติที่เริ่มต้นฝึกใหม่ๆ อาจจะเดินให้ช้า และใช้การนับจังหวะ พร้อมกับการภาวนา ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ฯลฯ เข้ามาช่วยในการผูกจิตให้ติดอยู่กับการรู้ในรูปที่เดิน จนเกิดสติ สัมปชัญญะ และสมาธิได้ต่อเนื่องในการทำสมาธิภาวนา ไม่ฟุ้งซ่านเปะปะออกไปในเรื่องอื่นนะครับ :b1: :b46:

จากนั้น เมื่อจิตจดจ่อมั่นคงดีแล้ว หรือเกิดความชำนาญดีแล้วในการประคองจิตให้ติดอยู่กับอาการรู้รูปที่เดิน ผู้ปฏิบัติอาจจะพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เพื่อให้สติสัมปชัญญะและสมาธิที่เกิดจากการปฏิบัติในรูปแบบ เข้ามามีผลให้เกิดอินทรียสังวรในชีวิตประจำวัน ด้วยการละทิ้งจังหวะ ละทิ้งคำภาวนา เข้ามารู้ตรงๆในอาการเดินอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องนับจังหวะ และโดยความเร็วที่ใช้ตามปรกติในชีวิตประจำวัน :b47: :b48: :b42:

นั่นหมายความว่า สำหรับการเดินที่เป็นตัวแทนของอิริยาบถใหญ่แล้วนั้น เมื่อนักปฏิบัติฝึกจนแคล่วคล่องดีแล้ว ในชีวิตประจำวันเดินอย่างไร ก็ให้ฝึกในรูปแบบด้วยอาการเดินเช่นเดียวกัน แกว่งแขนเช่นเดียวกัน ด้วยความเร็วเดียวกัน ฯลฯ นั้น โดยไม่ต้องเดินให้ช้า ค่อยๆนับจังหวะ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ อีก (ยกเว้นในจังหวะที่จิตฟุ้งซ่านมากๆแล้วจึงต้องกลับมาทำช้าๆเพื่อให้เกิดความรู้ชัดในอาการเดินอีกรอบ) :b50: :b49: :b48:

และเมื่อนั้น อินทรียสังวรที่เกิดขึ้นในการทำสมาธิภาวนาด้วยการเดินจงกรมตามรูปแบบ ก็จะลามเข้ามาคุ้มครองจิตในการใช้ชีวิตประจำวันได้เอง :b48: :b49: :b43:

หรือพูดอีกนัยหนึ่ง เมื่อฝึกเดินในรูปแบบให้เหมือนกับการเดินในชีวิตประจำวันได้แล้ว การเดินในชีวิตประจำวันนั้นเอง ก็จะเป็นเหมือนการเดินปฏิบัติในรูปแบบ โดยไม่มีการแบ่งแยกอีกว่า นี่คือการปฏิบัติโดยมีสติสัมปชัญญะและสมาธิในรู้แบบ หรือนี่คือการเดินให้มีสติสัมปชัญญะและสมาธิในชีวิตประจำวัน :b50: :b51: :b44:

เนื่องเพราะการเดินในชีวิตประจำวันนั้น ก็จะกลายเป็นการฝึกปฏิบัติสติสัมปชัญญะและสมาธิเหมือนกับการเดินทำสมาธิภาวนาในรูปแบบไปแล้วด้วยนั่นเอง โดยมีอินทรียสังวรศีลมาคุ้มครองกายใจ ให้เกิดขึ้นได้เป็นอัตโนมัติ
:b50: :b49: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึงหลักการแล้ว คราวนี้มาพูดถึงวิธีการกันนะครับ :b1: :b46: :b46: :b39:

เริ่มจากการหาสถานที่ฝึกสำหรับการเดินจงกรมทำสมาธิภาวนาตามรูปแบบ ในเบื้องต้นนั้น ถ้าสามารถหาพื้นที่ในสถานที่อยู่อาศัยหรือในบ้านได้ ก็ควรจัดทางเดินที่เรียบ สามารถเดินไปกลับได้โดยมีความยาวสัก ๒๕ - ๓๐ ก้าว มีความสบาย สัปปายะ เงียบสงบ แสงสว่างพอเหมาะ และไม่หนาวหรือไม่ร้อนจนเกินไปนัก เอาไว้สำหรับเดินจงกรมในบ้าน :b48: :b47: :b42:

แต่ถ้าในบ้านมีพื้นที่ยาวไม่พอ ก็สามารถปรับพื้นที่ที่มีความยาวสัก ๑๐-๑๕ ก้าวความยาวปรกติ เอามาใช้เดินจงกรมด้วยก้าวที่สั้นลงก็ยังได้นะครับ :b1: :b46: :b39:

แต่ถ้าในบ้านคับแคบ ไม่มีพื้นที่เพียงพอจริงๆแล้วละก็ ผู้ปฏิบัติคงต้องพึ่งพาพื้นที่ในสวนสาธารณะใกล้บ้าน หรือริมถนนแถวบ้านที่ไม่ค่อยมีรถยนต์วิ่งผ่าน เอาไว้ฝึกเดินจงกรมกันแล้วหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:

หรือถ้าจะเอาในขั้นที่ใช้ปฏิบัติการเลย ก็คือเอาการเดินจงกรมเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันเลยโดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ ก็ไม่ต้องหาสถานที่จำเพาะสำหรับเอาไว้ฝึกเดินจงกรมที่ไหน แต่ให้เอาเวลาที่ต้องเดินในชีวิตประจำวันด้วยตัวคนเดียวนั่นหล่ะครับ เอาไว้ฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เข้าไปตรงๆได้เลย เช่น เวลาที่ใช้เดินตอนเช้าเพื่อไปทำงาน เวลาเดินกลับเข้าบ้านหลังเลิกงาน ฯลฯ :b50: :b49: :b48:

ซึ่งการเอาเวลาที่ต้องเดินในชีวิตประจำวัน มาไว้ฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธินั้น ก็คือจุดมุ่งหมายสุดท้าย ที่ให้สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ที่เกิดขึ้นจากการฝึกเดินจงกรม เข้ามาคุ้มครองจิต จนเกิดเป็นอินทรียสังวรศีลขึ้นได้เป็นปรกติในชีวิตประจำวันนั่นเอง โดยไม่มีการแบ่งแยกอีกว่า ขณะนี้เป็นการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ผ่านการเดินจงกรม ขณะนี้ไม่ได้เป็นการฝึก เพราะเป็นการเดินในขณะใช้ชีวิตอยู่ประจำวัน ฯลฯ :b48: :b47: :b46:

เนื่องเพราะถ้าได้ฝึกมาจนถึงระดับนี้แล้ว ทุกขณะทุกเวลาที่มีการเดิน หรือมีอาการของกายอยู่ในอิริยาบถใหญ่ใดๆก็ตาม คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ขณะนั้นก็คือเวลาฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ได้ทั้งสิ้น เพื่อให้เกิดอินทรียสังวรศีล เป็นศีลอัตโนมัติ เป็นศีลปรกติ ที่เข้ามาคุ้มครองกายใจอยู่ได้ทุกเมื่อ
:b47: :b48: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึงสถานที่ไปแล้ว คราวนี้มาพูดถึงวิธีการบ้าง :b48: :b47: :b49:

สำหรับผู้ปฏิบัติมือใหม่ ที่สามารถหาสถานที่สัปปายะภายในบ้านเอาไว้ฝึกเดินจงกรมได้ เริ่มแรกแนะนำว่า ให้เดินช้าๆก่อนนะครับ เพื่อให้เกิดความชัด :b49: :b50: :b51:

คือรู้ชัดในอาการก้าวย่าง โดยอาจจะใช้คำบริกรรมและการนับจังหวะเข้าช่วย เช่น การนับแบบ ๓ จังหวะ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ในขณะทำกิริยา ยกเท้า ย่างเท้า และเหยียบเท้าลงไป โดยอาจจะเอามือประสานกันไว้ที่ท้องหรือไขว้หลังแล้วแต่ถนัด ตามองไปที่พื้นข้างหน้า ห่างออกไปสัก 3 ก้าว :b49: :b48: :b47:

ส่วนการทำความรู้สึก ก็ขึ้นอยู่กับว่า จะฝึกอะไร ถ้าจะทำสมถะเป็นหลัก ก็ให้เอาความรู้สึกไว้ที่เท้า ยกก็รู้สัมผัสที่เท้า ย่างก็รู้สัมผัสที่เท้า เหยียบก็รู้สัมผัสที่เท้า พร้อมกับภาวนา ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ หรือภาวนาพุทโธ ซ้ำๆกันไปเรื่อยๆจนจิตสงบ ปราศจากนิวรณ์เข้ามารบกวน :b47: :b48: :b42:

แต่ถ้าจะฝึกสติสัมปชัญญะเป็นหลัก ก็ให้ทำความรู้สึกรวมๆเอาไว้ในอาการยก ย่าง หรือเหยียบนั้น โดยรู้ให้ชัดในอาการไหว อาการเคลื่อนไปของเท้า ทั้งยก ย่าง และเหยียบ อีกทั้งยังรวมไปถึงการตามรู้ทันในอาการของใจ อันได้แก่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับลงไปของสัญญา เวทนา และวิตก ตามที่ได้เคยอธิบายไปแล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:

แต่ถ้าต้องการฝึกวิปัสสนา ก็ต้องแยกกายใจออกจากกัน เอาความรู้สึกไปตั้งไว้ในตำแหน่งของใจ (ที่เคยบอกวิธีหาไว้ด้วยอุบายการกลั้นลมหายใจสักพักนั่นหล่ะครับ) รู้อยู่ในรู้ หรือรู้อยู่ในจิต แล้วเอาจิตนั้น มาเห็นในรูปกายที่กำลังเดิน กำลังยก ย่าง เหยียบนั้น :b48: :b47: :b42:

และด้วยการแยกรู้ แยกรูปนามให้ขาดออกจากกัน จิตก็จะเห็นรูปกายที่เดิน โดยรู้ชัดว่า รูปกายนี้ก็เป็นอยู่คนละส่วนกับจิต ไม่ใช่จิต และไม่ใช่เรา รูปกายเป็นเพียงแค่ก้อนธาตุหรือวัตถุหนึ่งที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งการเข้าไปเห็นตรงนี้ อาจจะยากสำหรับผู้ฝึกใหม่อยู่บ้าง แต่สำหรับผู้ที่คุ้นเคยอยู่กับการแยกรูปแยกนามแล้ว ตรงนี้ก็จะสามารถปฏิบัติได้ไม่ยากเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:


และไม่ว่าจะเดินเพื่อฝึกสติ ฝึกสัมปชัญญะ ฝึกสมาธิ หรือฝึกวิปัสสนา เมื่อถึงจุดสิ้นสุดของทางเดินและต้องกลับตัวแล้ว ให้หยุดสักพัก ทำความรู้ตัวทั่วพร้อม ก่อนที่จะกลับหลังหันเพื่อเริ่มเดินในรอบต่อไป :b46: :b47: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้สำหรับผู้ที่หาทางเดินจงกรมในบ้านไม่ได้ ก็อาจจะเอาสวนสาธารณะใกล้บ้าน หรือริมถนนในซอยที่ไม่มีรถวิ่งจอแจ เอาไว้เป็นที่สำหรับฝึกเดินจงกรมนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยสวนสาธารณะหรือถนนในซอยที่เลือก ควรจะเป็นสถานที่ หรือเลือกเวลาที่ไม่ค่อยมีคนที่เรารู้จักมาเดินอยู่ด้วย ไม่เช่นนั้นจะทำให้เสียสมาธิเพื่อต้องหยุดทักทาย หรือแม้แต่มองหน้าแล้วยิ้มให้กัน ก็ทำให้เสียสมาธิในการฝึกแล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งในสวนสาธารณะที่มีทางเดินวนเป็นรอบได้นั้น จะเหมาะสมที่สุดในการเอาไว้ฝึกเดินจงกรม เนื่องเพราะเป็นทางเดินที่เรียบยาว วนกลับมาที่เดิมได้ โดยไม่มีอะไรมาเป็นที่สะดุด และไม่ต้องระวังยวดยานพาหนะที่วิ่งไปวิ่งมาเหมือนกับเดินบนถนนในซอยนะครับ แถมยังมีอากาศที่สดชื่น วิวทิวทัศน์ที่เขียวชอุ่มให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติอีกด้วย :b50: :b49: :b48:

เมื่อได้สถานที่ในสวนสาธารณะแล้ว ก็ให้เริ่มเดินจงกรมโดยใช้ความเร็วในการเดินตามปรกติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ช้าจนขวางทางผู้อื่น ไม่เร็วจนเหนื่อยหอบ โดยแกว่งแขนเหมือนการเดินตามปรกติเพื่อไม่ให้แปลกแยกจากผู้คนในสวนสาธารณะที่ร่วมเดินรอบข้าง :b47: :b48: :b49:

และเริ่มแรกให้ใช้ตามองพื้นห่างออกไปสัก ๓ ก้าว เพื่อที่จะได้ตัดผัสสะทางตาให้น้อยลง จิตใจจะได้ไม่วอกแวกออกไปทางตา แต่เมื่อฝึกจนชำนาญไปได้สักพักใหญ่ๆแล้ว ก็ให้พัฒนาการฝึกด้วยการเดินแล้วใช้สายตามองเหมือนเดินตามปรกติในชีวิตประจำวัน แต่ใช้ใจคอยระวังให้มีสติรักษาจิตอย่างรู้เนื้อรู้ตัว รู้ตัวทั่วพร้อม โดยจิตไม่แส่ส่ายออกไปทางตา (หรือถ้าแส่ส่ายออกไป ก็ให้มีสติรู้ตัวให้ไว) :b51: :b50: :b49:

ทั้งนี้ เพื่อให้การฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิในรูปแบบ ลามเข้ามาเพื่อให้เกิดสติ สัมปชัญญะ และสมาธิในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีการกระทบทางผัสสะอยู่ตลอดเวลาในทุกช่องทางของการรับรู้โลกนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และการเดินในสวนสาธารณะนั้น ถ้าจะเดินเพื่อฝึกสมาธิ ก็ให้ทำความรู้สึกเอาไว้ที่เท้า โดยอาจจะท่องคำบริกรรมไว้ในใจด้วยคำว่า พุทโธ ตามไปด้วยในแต่ละก้าวสำหรับในช่วงแรกที่จิตยังไม่สงบ ยังมีนิวรณ์เข้ามารบกวนอยู่ เพียงแต่ว่า การท่องคำบริกรรมนั้น จะท่องเร็วตามจังหวะการเดินที่เร็วกว่าการเดินจงกรมในบ้านนะครับ และจะไม่ใช้คำบริกรรมเกินกว่า ๒ จังหวะ เช่นคำว่า ยก ย่าง เหยียบแล้ว เพราะจะบริกรรมไม่ทันตามเท้าที่ก้าวเดิน :b43: :b42: :b41:

และเมื่อเดินไปสักพักพอให้จิตสงบดีแล้ว ผู้ปฏิบัติก็อาจจะละทิ้งคำบริกรรม เข้ามาทำความรู้สึกให้อยู่ที่เท้าที่เคลื่อนไหวไปอยู่นั้นเพียงอย่างเดียว ก็จะเป็นการฝึกสมาธิที่เน้นความจดจ่อต่อเนื่อง เพื่อให้จิตสงบปราศจากนิวรณ์นะครับ :b1: :b46: :b39:

หรือถ้าจะเดินเพื่อฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กาย ก็ให้เดินเหมือนกับการเดินทำสมาธิ เพียงแต่ว่า ให้เอาความรู้สึกมาไว้รวมๆที่การเคลื่อนไหวของขาและของกาย เป็นการทำความรู้สึกแบบรู้ตัวทั่วพร้อมโดยไม่จดจ่ออยู่ที่ใดที่หนึ่ง :b42: :b43: :b44:

และเมื่อเดินไปสักพัก จิตจะหลุดจากสมาธิออกไปคิดปรุงฟุ้งซ่าน ก็ให้ใช้โอกาสนี้ ฝึกสติสัมปชัญญะ ด้วยการมีสติระลึกรู้ในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับลงไปของ เวทนา สัญญา และวิตก ตามที่ได้เคยขยายความเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:

หรือถ้าจะเดินเพื่อทำวิปัสสนา ก็ให้ทำการแยกจิตออกจากกาย แล้วมารู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต ที่เห็นกายเคลื่อนไหวอยู่ โดยที่มีจิตเป็นผู้รู้ผู้ดู กายที่กำลังเคลื่อนไหวก็อยู่ส่วนหนึ่ง จิตที่เป็นผู้รู้ก็อยู่ส่วนหนึ่ง กายปรากฏเป็นก้อนธาตุที่กำลังเคลื่อนไหวไป กายไม่ใช้จิต จิตไม่ใช่กาย และทั้งกายทั้งจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราอยู่ในกายในจิตที่ไหน ตามที่ได้อธิบายไว้แล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 83, 84, 85, 86, 87, 88, 89 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร