วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 84, 85, 86, 87, 88, 89, 90 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือสำหรับผู้ที่ชำนาญในอานาปานสติ จะเอาจิต มารู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต ตามข้อแรกของอานาปานสติ จตุกกะ ๓ จนกระทั่งจิตปราโมทย์เบิกบาน เข้าสู่ความตั้งมั่นแห่งจิต จนสู่การปล่อยซึ่งจิต แล้วเข้าสู่วิปัสสนาในจตุกกะที่ ๔ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเรียงจากอนิจจานุปัสสี ไปวิราคานุปัสสี ไปนิโรธานุปัสสี จนจบที่ปฏินิสสัคคานุปัสสี จิตรวมพรึบแล้วแผ่กระจายเข้าร่วม และรวมกับสภาวะแวดล้อมรอบข้างก็ได้นะครับ ตามที่ได้เคยเล่าไว้แล้วเมื่อก่อนหน้านานมาแล้ว :b48: :b47: :b46:

แต่ไม่ว่าจะเดินเพื่อสมาธิ เพื่อสติสัมปชัญญะ หรือเพื่อวิปัสสนา การเดินในทุกอย่างเมื่อตอนเริ่มต้นเดินก็มักจะมีนิวรณ์ โดยเฉพาะการฟุ้งคิด (อุทธัจจะ) เข้ามาแทรกอยู่เป็นช่วงๆในระหว่างการเดินภาวนา :b48: :b47: :b46:

ก็ให้ใช้หลักการเดียวกันกับการฝึกสมาธิภาวนาด้วยการนั่งสมาธินั่นหล่ะครับ คือให้สังเกตให้เห็นถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับลงไปของเวทนา สัญญา และวิตก ที่ผุดแทรกขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ :b51: :b50: :b49:

และตรงนี้ ก็คือการฝึกสติสัมปชัญญะ ผ่านการทำสมาธิภาวนา โดยที่ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบถย่อยใดๆก็ตาม :b50: :b49: :b44:


แล้วมาต่อกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ การรู้อยู่ในรู้ รู้อยู่ในจิต ที่เอาไว้ใช้ในการทำสมาธิภาวนา ผ่านการขยับมือตามจังหวะ ซึ่งเป็นตัวแทนของอิริยาบถย่อย ในการใช้ชีวิตประจำวัน กันในคราวหน้า :b51: :b50: :b55:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันในรายละเอียดของการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ผ่านการรู้ใจ ที่เอาไว้ใช้ในการทำสมาธิภาวนาสำหรับผู้ที่ยังเข้าฌานไม่ได้ ผ่านการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ด้วยการขยับมือตามจังหวะ ซึ่งเป็นตัวแทนของอิริยาบถย่อยในการใช้ชีวิตประจำวัน กันนะครับ :b1: :b46: :b39:

นั่นคือการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ผ่านการรู้ (การปรุงแต่งทาง) ใจ หรือรู้ลงในเวทนา สัญญา วิตก โดยใช้การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว เป็นอุปกรณ์ช่วยในการภาวนา สำหรับผู้ที่เข้าฌานไม่ได้ :b51: :b50: :b53:

ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่า จุดประสงค์ของการฝึกในเบื้องต้น ก็คือให้เกิดความคุ้นเคย เกิดสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ในการภาวนา เอารู้เป็นเครื่องอยู่ ทำสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต จนลามเข้ามาคุ้มครองจิตได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน กระทั่งกลายเป็นอินทรียสังวรศีล ที่มีอยู่เป็นปรกติในชีวิตได้ตลอดเวลา :b50: :b49: :b48:

ส่วนจุดหมายเบื้องปลาย ก็คือให้เกิดวิปัสสนาปัญญา เห็นลงในสามัญลักษณะทั้งสามหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง จนถึงขั้นหลุดพ้นไปจากทุกข์นะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งรูปแบบของการฝึกการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวนั้น ไม่ได้จำกัดว่า จะต้องเป็นการเคลื่อนไหวมือ ๑๔ จังหวะตามรูปแบบที่กำหนด อย่างขององค์หลวงพ่อเทียนเท่านั้น แต่ผู้ปฏิบัติอาจจะนำรูปแบบการเคลื่อนไหวอวัยวะน้อยใหญ่ในรูปแบบอื่นๆ ที่ซ้ำกันเป็นวงรอบอย่างช้าๆ เช่น การรำมวยจีน การเล่นโยคะ หรือแม้กระทั่งเพียงแค่การพลิกมือไปมาแล้วรู้สึกตัว สำหรับผู้พิการอย่างเช่นที่ท่านอาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม ท่านใช้ในการฝึก ก็ไม่ติดขัดอะไร :b49: :b48: :b47:

เพียงแต่ว่า ถ้าการเคลื่อนไหวอวัยวะนั้นๆ มีจังหวะน้อย มีความซับซ้อนน้อย เช่นเพียงแค่ถูมือ หรือพลิกมือไปมา ด้วยความซับซ้อนที่น้อยนั่นหล่ะครับ อาจจะทำให้ใจของผู้ปฏิบัติเกิดความเผลอเพลินในการเคลื่อนไหว จนล่องลอยออกไปคิดฝันกันได้ง่ายกว่าการเคลื่อนไหวที่มีจังหวะและความซับซ้อนมากกว่า (ยกเว้นผู้ที่ฝึกสติสัมปชัญญะมาจนมีสติสัมปชัญญะมั่นคงดีแล้วระดับหนึ่ง) :b48: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาดูตัวอย่างของอิริยาบถย่อยจากมหาสติปัฏฐานสูตร ที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้นะครับว่า :b8: :b46: :b44:

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง"

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสติด้วยการเคลื่อนไหวอวัยวะน้อยใหญ่ใดๆก็ตาม หรือแม้กระทั่งการหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว ก็สามารถนำมาประกอบเข้าเป็นกิริยาอาการที่เอาไว้ใช้ฝึกตามรูปแบบ ซึ่งลามเข้าไปถึงการฝึกด้วยกิริยาอาการที่ต้องกระทำในการดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยง่าย เช่น การอาบน้ำ การล้างจาน การกวาดพื้น ฯลฯ :b46: :b47: :b48:

ขอเพียงจับหลักให้ได้เท่านั้นว่า ในการเคลื่อนไหวอวัยวะนั้นๆ ต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยความมีสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกตัว รู้ตัวทั่วพร้อมในการไหวไปของอวัยวะได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดอาการ "หลง" ใจลอยไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เป็นการดึงจิตให้มีสติระลึกรู้ สัมปชัญญะรู้ชัด และสมาธิ คือการรู้ได้อย่างจดจ่อต่อเนื่อง ไปกับอวัยวะที่เคลื่อนไหวไปนั้น :b50: :b48:

ด้วยความสะอาดของอินทรียสังวรศีล ด้วยความสงบของสัมมาสมาธิ และด้วยความสว่างของสัมมาปัญญา :b49: :b47: :b39:

และโดยการใช้อุบายดึงจิตให้มีสติอยู่กับการเคลื่อนไหว เมื่อจิตไหวออกไปคิด ผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติจนชำนาญแล้ว ก็จะเห็นการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับไปของความคิด จนกระทั่งเข้าไปเห็นต้นรากของความคิด นั่นคือการผุดเกิดขึ้นได้เองของเวทนาขันธ์ หรือสัญญาขันธ์ ที่เป็นหัวเชื้ออันนำมาซึ่งการปรุงความคิดขึ้นมาได้เองของสังขารขันธ์
:b48: :b49: :b50:

โดยตรงนี้ก็เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะในสมาธิภาวนา สอดคล้องตามที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ในสมาธิสูตรนั่นเอง :b46: :b47: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งอานิสงค์ที่ผู้ปฏิบัติจะได้โดยตรงเมื่อเห็นกายเคลื่อนไหวได้ชัด ก็คือ ผู้ปฏิบัติ ก็จะเห็นการเคลื่อนไหวของใจได้ชัดตามไปด้วย :b46: :b47: :b48:

นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะสามารถเห็นความคิดปรุงแต่งที่เกิดขึ้นได้ทัน โดยเฉพาะความคิดปรุงแต่งที่สร้างความเดือดร้อนหรือความทุกข์ขึ้นมาในจิต (อกุศลวิตก) อันได้แก่ ความคิดที่ทำให้เกิดความกังวล ความคิดที่ทำให้เกิดความเศร้าโศก ความคิดที่ทำให้เกิดความกลัว ความคิดที่ทำให้เกิดความโกรธ ความคิดที่ทำให้เกิดความอยากได้อยากมีอยากเป็น ฯลฯ :b49: :b50: :b44:

ซึ่งถ้าสติตามไม่ทันความคิดทางด้านลบดังกล่าว จนจิตถลำจมลงไปในความคิด ความคิดนั้นก็จะนำมาซึ่งความทุกข์ให้แก่ตนเอง :b49: :b48: :b47:

และถ้าจิตยังคงกอดความคิดนั้นไว้ไม่ยอมปล่อย ยังคงหมกมุ่นครุ่นคิด ถลำลึกลงไปในความคิดอันดำมืดนั้นไปเรื่อยๆ สังขารขันธ์ก็จะยิ่งปรุงแต่งความคิดนั้นจนเกิดสัญญาที่ซับซ้อนดำมืดมากขึ้นไปเรื่อยๆ (ปปัญจสัญญา) :b48: :b54: :b55:

ความคิดและสัญญาที่ซับซ้อนดำมืดเหล่านั้น ก็จะยิ่งทำให้จิตจมลงไปในความมือบอดมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดความทุกข์ขึ้นมาสะสมในจิตมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนในที่สุดอาจจะเกิดอาการที่เรียกว่า สติแตก จนกระทั่งทำให้ตัดสินใจทำอะไรลงไปในด้านที่ก่อความเสียหายอย่างร้ายแรง และทำให้ต้องมานั่งเสียใจในภายหลังได้โดยไม่รู้ตัว :b49: :b50: :b45:

แต่สติที่ฝึกมาดีแล้ว และตามทันความคิดทางด้านลบดังกล่าว ก็จะทำให้ดับความคิดด้านลบดังกล่าวลงได้ทัน เกิดความสะอาด สว่าง สงบ เข้ามาตัดวงจร ก่อนที่ความคิดทางด้านลบนั้นจะหันกลับมากัดกินใจให้เป็นทุกข์ หรือทำให้ตัดสินใจทำอะไรที่ทำให้ก่อเกิดทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมาได้นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และนี่คืออานิสงค์ในเบื้องต้นของการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว จนกระทั่งสุดท้ายจิตสามารถเข้าใจในกลไกของการเกิดทุกข์ เห็นการเกิดดับ ความไม่เที่ยงแปรปรวนไปแห่งทุกข์ หรือความเป็นอนิจจังแห่งทุกข์ เห็นการทำงานได้เอง หรือความเป็นอนัตตาของขันธ์ โดยเฉพาะเวทนา สัญญา และสังขารขันธ์ :b47: :b46: :b47:

และเมื่อนั้น ญาณย่อมเกิด นั่นคือการเข้าไปเห็นการแยกตัวระหว่างความคิดกับจิต .. ความคิด (สังขารขันธ์) ก็สิ่งหนึ่ง จิต (วิญญาณขันธ์) ก็สิ่งหนึ่ง ต่างอาศัยพึ่งพิงกันเกิดและดับตามเหตุปัจจัย :b49: :b47: :b50:

หรือบางท่านอาจจะเห็นการแยกตัวระหว่างความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ (เวทนา) หรือความจำได้หมายรู้ (สัญญา) กับจิต .. ความรู้สึก (เวทนาขันธ์) หรือความจำได้หมายรู้ (สัญญาขันธ์) ก็สิ่งหนึ่ง จิต (วิญญาณขันธ์) ก็สิ่งหนึ่ง ต่างอาศัยพึ่งพิงกันเกิดและดับตามเหตุปัจจัย :b39: :b40: :b45:

นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะเห็นขบวนการปรุงแต่งทั้งหมด เป็นแค่ปรากฏการณ์หรือกระบวนการทางธรรมชาติของจิต โดยไม่มีบุคคลตัวตนเราเขาที่ไหน ปรากฏอยู่ในกระบวนการดังกล่าว :b50: :b44: :b45:

และนั่นก็คือการเห็นการเกิดขึ้นของสายปฏิจจสมุปบาท และเห็นการดับลงของสายปฏิจจสมุปบาท จิตตกกระแสได้ต้นทางของพระนิพพานนั่นเอง :b55: :b54: :b41:

ฝึกเหมือนเดิมไปเรื่อยๆจนถึงที่สุดของการฝึกแล้ว สติจะเป็นอัตโนมัติ ปัญญาจะเป็นอัตโนมัติ จนเกิดญาณเข้าไปตัดความหลงให้ขาดออกจากจิต จิตจะไม่ข้องเกี่ยวกับการปรุงแต่งใดๆอีก :b50: :b51: :b44:

กิเลสทั้งหลาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ จะต่อไม่ติด เหมือนกับที่องค์หลวงพ่อเทียนท่านยกตัวอย่างจากการเห็นธรรมของท่านว่า เปรียบได้กับการตัดเชือกที่ขึงตึงอยู่ระหว่างเสาสองต้น เมื่อตัดเชือกขาดแล้ว เชือกแต่ละเส้นย่อมถูกดึงกลับไปที่เสาของมัน จะเอาเข้ามาต่อกันอย่างไรก็ไม่สามารถจะดึงเข้ามาต่อให้ติดได้อีก :b55: :b54: :b48:

เมื่อนั้น ทุกสรรพสิ่งจะเข้าสู่สภาพเดิมของเขาตามกฏของธรรมชาติ รูปนี้ก็เข้าสู่สภาพเดิมของเขา เวทนาสัญญาสังขารก็เข้าสู่สภาพเดิมของเขา จิตใจนี้ก็เข้าสู่สภาพเดิมของเขา เกิดสภาวะที่เรียกว่า จิตปล่อยจิตให้เป็นเพียงแค่ธาตุรู้ เป็นอิสระจากความยึดติดในขันธ์ หรือความทุกข์ทั้งหลาย :b48: :b42: :b43:

และนั่น คือการสลัดคืนกายและใจกลับสู่สภาพดั้งเดิมของเขาตามธรรมชาติ เข้าสู่ความสิ้นสุดแห่งทุกข์ ซึ่งเป็นอานิสงค์ในเบื้องปลาย ของการฝึกนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยหลักการและอานิสงส์กันแล้ว คราวนี้มาดูที่วิธีการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้ใจ หรือรู้ลงในการปรุงแต่งแห่งจิต อันได้แก่สัญญา เวทนา และวิตก โดยมีการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวในอิริยาบถย่อย เป็นอุปกรณ์ในการฝึก สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌานกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เริ่มต้นด้วยการฝึกในรูปแบบด้วยการเคลื่อนไหวของอวัยวะเป็นจังหวะตามรูปแบบที่กำหนด ต่อด้วยการฝึกในชีวิตประจำวัน ที่มีการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ซับซ้อนกว่า โดยใช้กิจกรรมที่ต้องทำด้วยตัวคนเดียวเพื่อให้เกิดสมาธิ เป็นอุปกรณ์ในการฝึก จนกระทั่งใช้กิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น รวมเข้ามาในการฝึกด้วย :b48: :b49: :b51:

และด้วยการฝึกพร้อมกันไปทั้งสองทาง คือทั้งในรูปแบบตามเวลาที่กำหนด และทั้งในกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน จนกระทั่งตลอดทั้งวันก็คือการฝึกปฏิบัติธรรม เมื่อนั้น สติสัมปชัญญะและสมาธิจากการฝึกในรูปแบบ ก็จะลามเข้ามาคุ้มครองจิตในการฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย จนกระทั่งเกิดเป็นอินทรียสังวรศีลอย่างเป็นอัตโนมัติอยู่อย่างตลอดเวลา :b51: :b45: :b53:

สำหรับการฝึกในรูปแบบ ก็ขอยกตัวอย่างการเคลื่อนไหวมือ ๑๔ จังหวะแบบขององค์หลวงพ่อเทียน ที่เคยลงเอาไว้ มาเป็นตัวอย่างนะครับ :b1: :b46: :b39:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=1219

ซึ่งสำหรับการฝึกเจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิ ที่เริ่มด้วยการเคลื่อนไหวกาย เข้าสู่การรู้ในการเคลื่อนไหวของใจ (ซึ่งก็คือการเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของ เวทนา สัญญา และวิตก) จนกระทั่งเข้าสู่การรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิต สำหรับผู้ที่เข้าฌานไม่ได้นั้น ก็ให้ผู้ปฏิบัติ เริ่มต้นด้วยการแยกรูปแยกนาม (นามรูปปริจเฉทญาณ) คือการแยกจิตที่เป็นผู้รู้ ออกจากการเคลื่อนไหวของกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ให้ได้เสียก่อน ตามวิธีที่เคยเขียนเอาไว้ :b47: :b48: :b49:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 25 ก.ย. 2016, 21:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ ขณะที่ทำการเคลื่อนไหวมือ ๑๔ จังหวะ ให้ผู้ปฏิบัติ ตั้งสติสัมปชัญญะและสมาธิ เข้ามารู้ที่ใจ ไม่ใช่ไปรู้ในอวัยวะที่กำลังเคลื่อนไหว :b48: :b50: :b51:

(ถ้าจะว่าตามตำราอภิธรรมเรื่องวิถีจิต ก็คือการเข้ามารู้ในมโนทวาราวัชชนจิตที่ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร ไม่ใช่ไปรู้ในปัญจทวาราวัชชนจิต หรือจิตเปิดทวารทั้ง ๕) :b53: :b45: :b44:

เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นอวัยวะคือมือนั้น กำลังเคลื่อนไหวอยู่ห่างๆ :b46: :b47: :b48:

มือ (รูป) ที่กำลังถูกรู้ก็ส่วนหนึ่ง จิตที่กำลังทำหน้าที่รู้นั้นก็อยู่อีกส่วนหนึ่ง จิตไม่ใช่มือ และมือก็ไม่ใช่จิต แต่ทั้งสองก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อทำหน้าที่อยู่ภายในกายใจนี้ :b43: :b42: :b48:

ประคองการรู้อยู่ในจิต ขณะที่มือกำลังเคลื่อนไหวตามจังหวะนี้ไปเรื่อยๆนะครับ ถ้ากำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิไม่อ่อนลงไปแล้วละก็ ผู้ปฏิบัติก็จะเข้าสู่การรู้อยู่ในรู้ หรือรู้อยู่ในจิต โดยที่มีการเคลื่อนไหวของอวัยวะเป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติไปได้อย่างต่อเนื่อง :b49: :b50: :b51:

แต่โดยมากแล้ว เมื่อเคลื่อนไหวมือไปสักพัก กำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิจะอ่อนลงไป เมื่อนั้นก็จะมีนิวรณ์ ซึ่งส่วนมากก็คือความคิดฟุ้งปรุงแต่ง ผุดแทรกขึ้นมาในจิต :b54: :b55: :b54:

และเมื่อมีความคิดฟุ้งปรุงแต่ง ผุดแทรกขึ้นมาในจิต ก็ให้ฝึกสติสัมปชัญญะ ด้วยการรู้ลงในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับลงไปของความคิดนั้น :b51: :b50: :b49:

ฝึกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสติสัมปชัญญะและสมาธิเข้มแข็งขึ้นในระดับหนึ่ง ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถตามรู้เข้าไปถึงต้นรากของความคิด นั่นคือ เวทนาหรือสัญญาที่ผุดเกิดขึ้นมาก่อน ก่อนที่สังขารขันธ์จะนำเวทนาหรือสัญญานั้น ไปปรุงต่อจนเกิดเป็นความคิด (วิตก) ขึ้นมา :b47: :b48: :b49:

เมื่อนั้น ก็ให้ผู้ปฏิบัติ เฝ้าดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับลงไปของเวทนา สัญญา และวิตกนั้น ตามคำสอนของพระบรมครูในสมาธิสูตร
:b48: :b49: :b50:

"ภิกษุ ท ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะนั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ
สัญญาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ
วิตกเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ
ภิกษุ ท !นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งอานิสงค์ที่ได้ของการปฏิบัติเช่นนี้ก็คือ เมื่อจิตหลงไปคิดฟุ้งปรุงแต่ง โดยเฉพาะความคิดฟุ้งปรุงแต่งในทางอกุศล (อกุศลวิตก) เกิดขึ้นมาแล้ว ความคุ้นเคยที่มาจากการฝึกจนเกิดเป็นความจำได้หมายรู้อย่างแนบแน่น (ถิรสัญญา) ในการเห็นในเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของกระบวนการหลงคิดดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดสติเข้ามาตัดวงจรของอกุศลวิตกนั้น ไม่ให้ปรุงแต่งต่อเนื่องเลยเถิดจนเกิดทุกข์ขึ้นมาในจิต :b46: :b47: :b48:

ดังนั้น อาการที่จิตทุกข์อันเนื่องมาจากการหลงคิด ก็จะค่อยๆลดลงไปจากชีวิต จิตที่หลงคิดก็จะหลงน้อยลง กลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ คือการรู้เนื้อรู้ตัว รู้กาย โดยเฉพาะรู้ใจในปัจจุบันขณะมากขึ้นเรื่อยๆ :b50: :b49: :b48:


และเมื่อฝึกต่อไป จนกระทั่งจิตสามารถเห็นต้นรากของความคิด คือเวทนา หรือสัญญา ที่ผุดเกิดขึ้นมาได้เองบ่อยๆแล้วละก็ อาการหลงคิดจนจิตเกิดทุกข์ก็จะเกิดขึ้นน้อยมากๆในระดับสกทาคามี หรือไม่เกิดขึ้นอีกเลยในระดับอนาคามี :b48: :b47: :b46:

จิตจะเห็นเพียงแค่การขยับจะคิด คือเห็นเพียงแค่เวทนา หรือสัญญา ที่ผุดเกิดขึ้นมาแวบเดียวแล้วดับไป ไม่มีการหลงปรุงเวทนาหรือสัญญานั้น ให้เกิดเป็นอาการหลงคิดจนเกิดทุกข์ขึ้นมาได้อีก :b55: :b49: :b48:

(แต่อาการจงใจคิด หรือคิดในทางกุศล หรือไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศลนั้น ยังเกิดขึ้นได้นะครับ เพราะในขณะที่ยังดำรงชีวิตอยู่ ก็ยังคงต้องใช้ความคิดในการทำงานต่างๆ เพียงแต่ว่า อาการ "หลง" ออกไปคิดในทางอกุศลจนเกิดทุกข์ขึ้นมานั้น เกิดขึ้นน้อยมากๆในระดับสกทาคามี และไม่เกิดขึ้นอีกแล้วในระดับอนาคามี) :b47: :b46: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อผู้ปฏิบัติ ฝึกสติสัมปขัญญะและสมาธิด้วยการรู้ใจผ่านการเคลื่อนไหวในรูปแบบไปแล้ว เพื่อให้การปฏิบัติยิ่งๆขึ้นไปอีก ก็ควรฝึกสติสัมปขัญญะและสมาธิด้วยการรู้ใจผ่านการเคลื่อนไหวในการดำเนินชีวิตประจำวันไปด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งเริ่มแรกนั้น ผู้ปฏิบัติอาจจะเอาการเคลื่อนไหวในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ต้องทำด้วยตัวคนเดียว เช่น ขณะถูฟัน อาบน้ำ ล้างจาน กวาดบ้าน ฯลฯ มาไว้เป็นเครื่องมือในการฝึก เนื่องจากกิจกรรมที่ทำด้วยตัวคนเดียวนั้น จะทำให้เกิดสมาธิได้ง่ายกว่ากิจกรรมที่ต้องทำในขณะที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย :b49: :b48: :b47:

และเมื่อฝึกจากกิจกรรมที่ทำด้วยตัวคนเดียวจนคล่องแล้ว จึงนำกิจกรรมการเคลื่อนไหวอื่นๆที่ต้องทำในขณะที่มีผู้อื่นอยู่ด้วยนั้น เข้ามาฝึกเป็นส่วนเสริม เพื่อให้การฝึกนั้น ครอบคลุมไปได้ตลอดทั้งวัน จนกระทั่งเกิดอินทรียสังวรศีล เป็นศีลปรกติที่เข้ามาคุ้มครองจิตได้ตลอด :b51: :b50: :b53:

ยกตัวอย่างของการฝึกในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันด้วยตัวคนเดียวก็เช่น ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า ผู้ปฏิบัติอาจจะกำหนดเอาเวลาที่ต้องเก็บเตียงนอน เวลาที่เข้าห้องน้ำทำกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะขับถ่าย ถูฟัน อาบน้ำ มาเป็นกิจวัตรประจำวันที่ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกสติแบบเคลื่อนไหวของกาย จนเข้าไปสู่การรู้ในการเคลื่อนไหวของใจ ตามที่ได้เคยเขียนเล่าลงในรายละเอียดมาแล้วหลายครั้ง :b49: :b48: :b47:

จากนั้น กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะทำด้วยตัวคนเดียว หรือมีผู้อื่นอยู่ด้วย ก็สามารถนำมาปรับใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติ เจริญสติแบบเคลื่อนไหวกาย จนรู้เข้าไปในการเคลื่อนไหวของใจด้วยกันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการทานข้าว ล้างจาน เดินไปทำงาน หรือแม้แต่การพูดคุย ฯลฯ :b46: :b47: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2016, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยมีหลักการที่ว่า ให้ผู้ปฏิบัติเอาสติมาคุ้มครองที่ใจ มารู้สึกอยู่ที่ใจแบบเบาๆ โดยไม่เอียงสุดไปข้างใดข้างหนึ่ง อันได้แก่การเพ่งจ้องหรือปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน ในการรับรู้การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคู้เข้าหรือเหยียดออก เอี้ยวตัวหันตัว กระพริบตาหรือกลืนน้ำลายฯลฯ แม้กระทั่งการพูด การนิ่ง :b49: :b50: :b51:

ซึ่งถ้าฝึกแยกกายแยกใจออกจากกันในรูปแบบได้จนชำนาญแล้ว การปฏิบัติด้วยการแยกกายใจในชีวิตประจำวันก็จะไม่ยากเย็นอะไรนักนะครับ :b1: :b46: :b39:

และถ้าผู้ปฏิบัติ มีความชำนาญในการแยกกายใจแล้ว การทำงานต่างๆในชีวิตประจำวันนั้น จิตก็จะเกิดอาการนิ่งรู้อยู่ในรู้ (โพฌังคุเบกขา) ดูรูปที่เคลื่อนไหวทำงานไปอยู่ห่างๆ โดยที่มีใจเป็นผู้รู้ผู้ดู เหมือนคนขับรถม้าที่นั่งนิ่งๆ คอยดูม้าที่กำลังนำรถวิ่งไป โดยใจมีรู้เป็นเครื่องอยู่ มีสติเป็นเครื่องรักษาจิต มีอินทรียสังวรศีลคุ้มครองกายใจอยู่ได้ตลอดเวลา :b50: :b51: :b50:

แล้วมาต่อกันที่บทสรุปของการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เพื่อให้เกิดอินทรียสังวรศีล อันเป็นศีลที่ต้องเพิ่มเข้าไปในระดับโสดาบัน ที่จะก้าวข้ามเข้าสู่ระดับสกทาคามีกันต่อในคราวหน้า :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2016, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออาราธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระโพธิสัตว์เจ้าทุกพระองค์ พระอรหันตเจ้าทุกรูป และขอน้อมถวายบุญกุศลทั้งปวงที่ข้าพระพุทธเจ้าได้สร้างได้บำเพ็ญมาดีแล้วนี้ นับตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ตราบจนถึงในอนาคต น้อมถวายแทบเบื้องพระยุคลบาทองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขอพระองค์ทรงเสด็จสู่สวรรคาลัยเพื่อบำเพ็ญพระบารมี จนมีพระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2016, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติ เจริญปัญญา เมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก :b46: :b42: :b39:

การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือแม้กระทั่งความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตามนั้น ถือเป็นสภาวะบีบคั้น (ทุกขัง ทุกขทุกข์) ที่มาจากการกระทบภายนอก ซึ่งมีเหตุปัจจัย และกระบวนการเกิดต่างกันไปในแต่ละคน แต่ละเคส :b46: :b47: :b46:

แต่เมื่อการกระทบภายนอกนั้น กระแทกเข้ามาจนเกิดทุกข์ภายในแล้ว ต่างมีเหตุปัจจัย และกระบวนการเกิด เหมือนกันหมดทุกคน (ปฏิจจสมุปบาท) :b49: :b48: :b47:

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนให้เราเข้มแข็งและแก้ไขทุกข์ด้วยปัญญา พระพุทธเจ้าถึงทรงสอนไว้ว่า กิจที่ควรปฏิบัติในทุกข์นั้นคือ ให้รู้เข้าไปตรงๆ (ทุกข์ให้รู้) ไม่ใช่ให้หนีหรือละ แต่สิ่งที่ควรละคือ เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัยให้ละ) โดยวิธีที่จะใช้ละ ก็คือมรรค (มรรคให้เจริญ) แล้วเมื่อทุกข์หมดเหตุ ทุกข์จะดับให้เห็นเอง แล้วความเบิกบาน เป็นกลางแห่งจิตเนื่องมาจากทุกข์ดับ ก็จะตามมา (นิโรธให้แจ้ง) :b46: :b47: :b41:

ถ้าจะขยายความให้ละเอียดขึ้นสักหน่อย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเป็นทุกข์เนื่องจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป :b46: :b47: :b46:

1) ให้ใช้สติ สัมปชัญญะ และสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) :b48: :b42: :b41:

2) ดูตรงๆเข้าไปที่สภาวะทุกข์ คือความคร่ำครวญ สะอื้นร่ำไห้ แน่นในหัวอก (ทุกข์ให้รู้) :b46: :b47: :b48:

3) โดยไม่วกเข้าไปดูเหตุที่ทำให้ทุกข์ (สมุทัยให้ละ) คือ อย่าไปจดจ่ออยู่กับภาพความทรงจำเก่าๆที่ผุดขึ้นมา หรือความอยากให้ท่านยังดำรงคงอยู่ (ภวตัณหา) :b47: :b46: :b50:

4) ถ้ามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง ตามดูสภาวะแห่งทุกข์ได้นานพอที่จะไม่แว๊บไปคำนึงถึงเหตุ จะเห็นสภาวะทุกข์ คือความคร่ำครวญ สะอื้นร่ำไห้ แน่นในหัวอก ดับไปได้เองเพราะหมดเหตุตามลักษณะสามัญของเขา จิตจะเป็นกลาง เบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ควรค่าแก่การใช้งานเพื่อคิดแก้ไขปัญหาที่มาจากภายนอกโดยไม่เจือไปด้วยกิเลสคือความอยากให้ท่านกลับมา (ภวตัณหา) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความโศกเศร้า คร่ำครวญ ความหมดหวังท้อแท้เป็นทุกข์ (โลภะ + โทสะ + โมหะ) :b48: :b49: :b50:

นี่คือ (อริย) สัจบรรพ ซึ่งเป็นบรรพสุดท้ายในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ทำให้เห็นถึงอริยสัจจ์ครบทั้ง ๔ องค์ภายในชั่วขณะจิต :b51: :b50: :b48:

หัดแรกๆอาจจะดูยากสักหน่อย ถ้าสติ สัมปชัญญะ และสมาธิยังไม่เข้มแข็งพอ เพราะจิตเจ้ากรรมชอบกลับไปจมแช่อยู่กับเหตุ คือยังไปจดจ่อครวญคร่ำอยู่กับภาพความทรงจำเก่าๆที่ผุดขึ้นมา หรือความอยากให้ท่านยังคงอยู่ มากกว่ามีสมาธิจดจ่อตามรู้ตามดูแต่ในสภาวะทุกข์ ทำให้ทุกข์ไม่ดับให้เห็นเพราะเหตุไม่ดับ แถมยังจะทับถมทวีเพราะจิตไม่ยอมปล่อยเหตุ :b48: :b47: :b46:

มีความเพียรเจริญสติด้วยวิธีนี้ไปเรื่อยๆทุกครั้งที่ความทุกข์ความเศร้าแทรกเข้ามา สุดท้าย เมื่อจิตรู้ในตัวสภาวะทุกข์ได้ไว ก็จะเห็นการดับได้ไว ระยะที่จิตจับทุกข์ก็จะสั้นลงๆ จนกระทั่งจิตไม่เข้าไปจับกับสภาวะนั้นเองเพราะมีปัญญารู้ว่าเป็นของร้อนซะแล้ว :b46: :b47: :b46:

แต่ถ้าสถานการณ์ภายในใจของเรายังไม่เอื้อให้เจริญสติแก้ทุกข์ด้วยปัญญาได้ ก็ต้องออกไปตั้งหลักหาทางแก้ด้วยวิธีอื่นที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำด้วยเหมือนกันก่อน เช่น ใช้วิธีกดข่มทำใจ หรือ หาทางทำใจให้สุขและสงบ ได้แก่ ทำบุญแผ่เมตตา สวดมนต์นั่งสมาธิ ออกไปเที่ยวเข้าวัดเข้าวา เลิกคิดถึงแต่ภาพเก่าๆให้ได้เสียก่อน จิตถึงจะมีกำลังตั้งมั่นไม่ไหลตามการปรุงแต่งพอที่จะทวนเข้ามาดูสภาวะตรงๆให้เกิดปัญญาที่รู้เท่าทันโลกธรรม (อ่านว่า "โลก - กระทำ") ทั้งหลาย และปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาภายนอกได้ (สุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ + สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา) :b46: :b47: :b46:

เข้มแข็ง เข้มแข็ง :b49: :b48: :b47:

แล้วความเศร้าทุกอย่างก็จะผ่านไป (อนิจจัง) :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

ย้อนกลับไปตั้งแต่ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=316 :b47: :b46: :b47:

กว่า ๕ ปีที่เริ่มเขียนเรื่องอินทรียสังวรศีล ซึ่งเป็นอธิศีลสิกขาที่สำคัญมากในระดับโสดาบันที่จะก้าวข้ามไปสู่สกทาคามี โดยผ่านการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ จนคิดว่าน่าจะได้รายละเอียดเพียงพอแล้ว ตอนนี้ก็คงต้องมาถึงบทสรุปกันละครับ :b1: :b46: :b39:

สาเหตุที่พระโสดาบันซึ่งถึงแม้ว่ามีศีล ๕ ที่สมบูรณ์แล้ว จะต้องพัฒนาตนเองในระดับอธิศีลสิกขาขึ้นไปอีก ก็เพื่อทำให้กิเลสสังโยชน์ด้านกามราคะและปฏิฆะ (หรือการกระทบกระทั่งทางอารมณ์) ให้เบาบางลงเพื่อเข้าสู่ระดับสกทาคามี :b48: :b49: :b44:

ซึ่งอธิศีลสิกขาที่ระดับโสดาบัน จะต้องพัฒนาขึ้นไปนั้น ก็คือ อินทรียสังวรศีล นั่นเอง :b48: :b47: :b46:

และองค์ธรรมที่จะต้องฝึกฝนภาวนาให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อให้อินทรียสังวรศีลบริบูรณ์ก็คือ สติสัมปชัญญะ ตามคำของพระบรมครูในอวิชชาสูตร และตัณหาสูตร :b46: :b47: :b48:


(ฯลฯ แม้การสำรวมอินทรีย์ (อินทรียสังวร) เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ
แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ

ฯลฯ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ (อินทรียสังวร) ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ (อินทรียสังวร) ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ฯลฯ)

และจากคำของพระบรมครูนั้น องค์ธรรมที่จะทำให้สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ก็คือการหมั่นโยนิโสมนสิการ ทำไว้ในใจโดยแยบคายพิจารณา สังเกต จดจำ และทำให้เห็นตามจริงในองค์ธรรมที่เกิดขึ้นทั้งในกายและในจิต :b46: :b47: :b48:

ทั้งลักษณะเฉพาะขององค์ธรรมนั้นๆ (วิเสสลักษณะ) และลักษณะที่ร่วมกันขององค์ธรรมทั้งหลาย (สามัญลักษณะ) :b46: :b47: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นหมายความว่า เมื่อโยนิโสมนสิการจนเห็นตามจริงมากขึ้นไปเรื่อยๆ เกิดสัญญาคือความจำได้หมายรู้ที่ชัดเจน ถูกต้อง แม่นยำมากขึ้นทั้งวิเสสลักษณะและสามัญลักษณะ กำจัดเสียซึ่งสัญญาวิปลาส จนจำได้อย่างชัดเจน อย่างมั่นคงในสัญญาขององค์ธรรม ของสภาวธรรมต่างๆเหล่านั้น (ถิรสัญญา) :b46: :b47: :b48:

สติก็จะบริบูรณ์ขึ้น สภาวธรรมใดๆเกิดขึ้นก็ระลึกรู้จากสัญญาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ พร้อมทั้งสัมปชัญญะ คืออาการรู้ชัด รู้ได้ตรงตามสภาวธรรม ก็จะบริบูรณ์ตามกันไป เกิดอาการรู้ตัวทั่วพร้อม รู้ว่าทำอะไร เพื่ออะไร เหมาะสมหรือไม่ ไม่วอกแวกออกนอกกิจ และโดยเฉพาะ รู้ชัดทุกขณะจิตที่ทำ :b49: :b50: :b51:

คือในขณะเดียวกันที่สติเจริญขึ้น ก็เข้าถึงในปัญญาเบื้องต้น คือสัมปชัญญะ ๔ ได้ด้วย :b47: :b41: :b42:

และเมื่อสติสัมปชัญญะได้รับการพัฒนาขึ้น การสำรวมอินทรีย์ หรืออินทรียสังวรศีล ก็จะได้รับการพัฒนาขึ้นไปด้วยเช่นกัน :b49: :b50: :b44:


เนื่องเพราะสติสัมปชัญญะที่ได้รับการฝึกดีแล้วจากการหมั่นพิจารณา หมั่นสังเกต หมั่นโยนิโสมนสิการ จะทำให้จิตสามารถมีสติระลึกรู้ และปัญญารู้ชัดในการกระทบของผัสสะทางทวารต่างๆ ว่าผัสสะและเวทนาที่เกิดตามมานั้น นำให้เกิดกุศลธรรม หรืออกุศลธรรม หรือไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศลธรรม :b46: :b47: :b41:

ซึ่งทำให้เกิดการคุ้มครองจิตที่รับการกระทบทางทวารต่างๆ ไม่ให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสเข้าครอบงำ ทำให้อินทรียสังวรศีลเข้มแข็งขึ้น สุจริต ๓ บริบูรณ์ขึ้น :b42: :b43: :b44:

นั่นคือเมื่อเกิดการกระทบ (ผัสสะ) ทางทวารต่างๆแล้ว จิตจะสามารถระลึกรู้ และเกิดสัมปชัญญะรู้ชัดในอาการชอบใจ หรือไม่ชอบใจที่ตามมา ตัวกุศลเจตสิกที่เกิดขึ้นคือสติระลึกรู้ และปัญญาสัมปชัญญะที่รู้ชัดในอาการไหวของจิต จะดึงจิตให้กลับสู่ความเป็นกลาง นั่นคืออุเบกขา ที่ละเอียดประณีตกว่าจิตที่ไหวออกไปในชอบชังนั้น :b48: :b42: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรืออธิบายอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเกิดอกุศล คือความยินดี (ราคะ) ยินร้าย (ปฏิฆะ) หรือความชอบความชัง เกิดขึ้นในจิต แล้วสติสัมปชัญญะ ความระลึกรู้ได้ในอาการชอบชังนั้น เข้ามาตัด :b47: :b48: :b43:

องค์ของกุศล คือสติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นตามหลัง จะทำให้องค์ของอกุศลที่กำลังดำเนินอยู่นั้น ขาดลงไปโดยอัตโนมัติ จิตก็จะเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิ คืออุเบกขาอันสงบ ปราณีตได้เอง :b46: :b47: :b48:

โดยเป็นอุเบกขาที่เรียกว่า สังขารุเบกขา ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของสมถะ ที่มีมากกว่าอำนาจของปัญญา :b49: :b50: :b51:

หรือถ้าวิปัสสนาปัญญาพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เมื่อเห็นการเกิดขึ้นของอาการยินดียินร้ายในผัสสะต่างๆ จิตจะเกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทาญาณ) ทิ้งอาการยินดียินร้ายเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญา (สังขารุเปกขาญาณ) หรืออุเบกขาต่อผัสสะเวทนาที่เข้ามากระทบนั้น :b50: :b51: :b44:

โดยเป็นอุเบกขาที่เรียกว่า สังขารุเบกขา ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของวิปัสสนาปัญญา ที่มีมากกว่าอำนาจของสมถะ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ความยินดียินร้ายในผัสสะต่างๆนั้นลดลง กิเลสสังโยชน์ด้านกามราคะและปฏิฆะลดลง โลภะ โทสะ โมหะลดลง ชีวิตมีความสุขมากขึ้นเนื่องจากกิเลสผ่านทางตาหูจมูกลิ้นกายใจลดลง ทั้งความถี่ ความเข้มข้น และระยะเวลาที่เกิดขึ้น :b48: :b49:

มาดูพุทธพจน์ที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์, ความสุข, และอุเบกขา อันเนื่องมาจากอินทรียสังวรศีลกันสักหน่อยนะครับ :b1: :b46: :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 84, 85, 86, 87, 88, 89, 90 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร