วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 00:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 85, 86, 87, 88, 89, 90, 91 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉฬวรรคที่ ๕
สังคัยหสูตรที่ ๑

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

ผัสสายตนะ ๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ

[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้

ผัสสายตนะ ๖ เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ

[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์

บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่

บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึงบรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารักของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว)

ได้ยินเสียงที่น่ารักและเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึงบรรเทาโทสะในเสียงที่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่
น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว)

ได้ดมกลิ่นที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารักใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่

ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย
ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้าแล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ

ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายเพราะผัสสะอะไรๆ

นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความสำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่

ก็บุคคลบรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษาใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ

ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วในอารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้นอันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ


จบสูตรที่ ๑
http://84000.org/tipitaka/read/?18/128-130


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทริยภาวนาสูตร

[๘๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา

ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค

ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๘๕๔] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกรอุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า ฯ

อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ ฯ

พ. ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด ฯ

อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต ฯ

พ. ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์ ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอดไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตกก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๘๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรอานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง ฯ

ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป

ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๕๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา

เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

(note : โพฌังคุเบกขา สังขารุเปกขาญาณ ไม่ไปในส่วนสุดทั้งสอง เห็นธรรมชาติของ "สิ่งหนึ่ง" ตั้งมั่นอยู่ตรงกลาง)

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาย่อมดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

(ด้วยข้อความคล้ายกันกับ ได้ยินเสียงด้วยโสต, ดมกลิ่นด้วยฆานะ, ลิ้มรสด้วยชิวหา, ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๘๖๒] ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ

เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น

เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ...

เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๘๖๓] ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ

เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติ
สัมปชัญญะได้ ฯ

[๘๖๔] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน

เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๘๖๕] ดูกรอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ

แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล

ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น
เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ

ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล ฯ


อินทรียภาวนาสูตร ที่ ๑๐
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=10912


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง

เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง

เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง

เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง

เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป

และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้

จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้

จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้

จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้

เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ

มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ

มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ

มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ

มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ

ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ


http://84000.org/tipitaka/read/?14/828


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2017, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อผู้ปฏิบัติ พัฒนาสติสัมปชัญญะจนอินทรียสังวรศีลบริบูรณ์ ก็จะทำให้เป็นผู้ที่มีศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ และปัญญาบริบูรณ์ได้ ตามคำของพระบรมครูในตัณหาสูตร และอวิชชาสูตรที่กล่าวไว้ก่อนหน้า รวมถึงที่ทรงกล่าวไว้ในอินทรียสังวรสูตรด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:


๘. อินทรียสังวรสูตร
[๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์

แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์

แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=8520&Z=8539&pagebreak=0


นั่นหมายความว่า เมื่อพัฒนาต้นน้ำ คือพัฒนาสติสัมปชัญญะได้ถูกต้อง ก็จะได้อินทรียสังวรศีลที่ถูกต้อง :b47: :b48: :b43:

และเมื่อได้อินทรียสังวรศีลที่ถูกต้อง เมื่อนั้น กลางน้ำและปลายน้ำ คือ ศีล สมาธิ และปัญญาที่ถูกต้องบริบูรณ์ ก็จะตามมาโดยอัตโนมัติ :b46: :b47: :b46:

และนี่ก็คือ ความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการเจริญสติสัมปชัญญะ ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านเน้นย้ำนักย้ำหนา ให้หมั่นภาวนาด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นต้นธารของการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึงซึ่งโลกุตรธรรมในท้ายที่สุดนั่นเอง
:b46: :b42: :b39:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b46: :b47: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2017, 23:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติวิปัสสนา
1 เพียรระวังอกุศลใหม่ที่จะเกิด โดยการรู้การกระทบอายตนะภายนอกสู่ใจ
2 ละอกุศลที่ได้สะสมแล้ว โดยการรู้ในสู่ใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม สู่ใจ
3 มีใจที่ขาวรอบ เป็นผล จากข้อ 1 และ 2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2017, 05:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: :b17: :b17:
หายไปซะนาน..เลยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2017, 14:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณกบนอกกะลา ผมไปเปิดกลุ่มสนทนาในไลน์ จึงไม่ค่อยได้เข้ามา แต่ก็ได้ติดตามในลานแห่งนี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2017, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

คราวที่แล้วได้เล่าว่า เมื่อจิตกระทบกับผัสสะจนเกิดเวทนาใดๆก็ตาม จิตที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้ว จะสามารถเข้าสู่ความเป็นกลาง คืออุเบกขาในสังขารทั้งปวง (สังขารุเปกขา) ได้สองทางก็คือ ได้ด้วยอำนาจของสมถะที่มีมากกว่าอำนาจของปัญญา และ ได้ด้วยอำนาจของปัญญาที่มีมากกว่าอำนาจของสมถะ :b48: :b49: :b50:

ขอขยายความเพิ่มเติมตรงนี้สักหน่อยนะครับ นั่นคือ ในขั้นตอนของการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธินั้น ในเบื้องต้นสิ่งที่ได้ก็คือ อินทรียสังวรศีล และสุจริต ๓ ซึ่งยังอยู่ในภาคส่วนของอธิศีลสิกขานั้น จะเจริญขึ้นมาก่อน :b51: :b50: :b53:

หมายความว่า เมื่อมีผัสสะเวทนาใดๆก็ตาม เข้ามากระทบ จิตที่เริ่มมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ อาจจะแกว่งไปด้วยอาการชอบและชังบ้างในเบื้องต้น แต่ด้วยอำนาจของสมถะที่มีมากกว่าอำนาจของปัญญา จิตจะสามารถกลับเข้าสู่ความเป็นกลาง (สังขารุเปกขา) ได้ด้วยอำนาจของสัมมาสติและสัมมาสมาธิ ที่เข้ามาตัดอาการชอบชังนั้นออกไป :b55: :b54: :b48:

ซึ่งจะตัดออกไปได้เร็วแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วของสติ ที่จะสามารถตรวจจับอาการชอบชังนั้นได้ไวแค่ไหน และความตั้งมั่นของสมาธิ ที่จะสามารถทรงสภาวะของความเป็นกลางแบบรู้ซื่อๆโดยไม่ปรุงแต่งต่อนั้น ได้หนักแน่นเพียงใด :b48: :b47: :b46:

และระหว่างที่จิต กลับเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยอำนาจของสมถะ (สติ สมาธิ) ที่มีมากกว่าอำนาจของปัญญา (ซึ่งในเบื้องต้นคือ สัมปชัญญะ) นั้น จิตจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ทางปัญญาในความเป็นจริงของกายใจ ผ่านขั้นตอนและกระบวนการที่เราคุ้นเคยกันดี อันได้แก่ สติปัฏฐาน ซึ่งจะเป็นองค์ธรรมที่จะบริบูรณ์ต่อเนื่องมาจากสุจริต ๓ ตามคำของพระบรมครูในตัณหาสูตรและอวิชชาสูตร :b49: :b48: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2017, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมายความว่า ระหว่างที่จิตแกว่งออกไปในอาการชอบหรือชัง จนเกิดกำลังของสมถะ อันได้แก่สติและสมาธิ เข้ามาตัดนั้น กำลังของสัมปชัญญะ อันเป็นปัญญาในเบื้องต้น ก็จะทำงานควบคู่กันไปด้วย :b46: :b47: :b46:

เริ่มตั้งแต่การเห็นชัดในผัสสะ ในเวทนา ในอาการชอบหรือชังในเบื้องต้น ซึ่งอาจเลยไปถึงการเห็นชัดในทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิต จนกระทั่งเข้าสู่การเห็นชัดในการเสื่อมลงไปของผัสสะเวทนา ของอาการชอบหรือชังนั้น จนกระทั่งอาการชอบหรือชังนั้นดับลงไป ซึ่งอาจเลยไปเห็นถึงการเห็นชัดในทุกข์ที่ดับลงไปจากจิต :b47: :b48: :b42:

นั่นหมายความว่า ในกระบวนการของการกลับเข้าสู่ความเป็นกลาง (สังขารุเปกขา) อันเนื่องด้วยอำนาจของสมถะ (สติ สมาธิ) ที่มีมากกว่าอำนาจของปัญญา (ซึ่งในเบื้องต้นคือ สัมปชัญญะ) นั้น ตัวปัญญาเอง หรือสัมมาทิฏฐิ ก็ได้เกิดการบ่มเพาะขึ้นในจิตแล้ว โดยผ่านกระบวนการของสติปัฏฐาน อันได้แก่การเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมลงไปขององค์ธรรมต่างๆ นั่นเอง :b49: :b48: :b42:

และตัวปัญญาสัมมาทิฏฐินี้ ก็จะเกิดการสะสมพอกพูนขึ้นทุกครั้งที่มีการกระทบผัสสะเวทนาแล้วจิตสามารถกลับเข้าสู่ความเป็นกลางได้ด้วยอำนาจของสมถะ (สติ สมาธิ) ที่มีมากกว่าอำนาจของปัญญา (ซึ่งในเบื้องต้นคือ สัมปชัญญะ และในเบื้องปลายคือวิปัสสนาปัญญา) :b50: :b49: :b47:

นั่นคือการเห็นการเกิดขึ้นและเสื่อมลงไปของผัสสะเวทนา ของอาการชอบชังและทุกข์ที่ตามมานั้น ด้วยกระบวนการของสติปัฏฐาน (สติสัมโพชฌงค์) เกิดธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) เห็นไปเรื่อยๆ (วิริยสัมโพชฌงค์) เกิดการสะสมทางปัญญาจนกระทั่งจิตเข้าใจ จนลึกซึ้งถึงใจในเหตุปัจจัย ลึกซึ้งถึงใจในขบวนการเกิดขึ้นของทุกข์ (ปฏิจจสมุปบาท) :b47: :b48: :b43:

จนกระทั่งสุดท้าย จิตเกิดความตั้งมั่น และเข้าสู่ความเป็นกลาง (สังขารุเปกขา) ได้เองด้วยอำนาจของปัญญาสัมมาทิฏฐิ ที่มากกว่าอำนาจของสมถะ เมื่อเกิดการกระทบทางผัสสะเวทนาทั้งหลาย โดยไม่เกิดอาการชอบชังหรือทุกข์ แทรกเข้ามาก่อนได้ :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2017, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมายความว่า เมื่อจิตเกิดปัญญาที่เป็นโลกุตรปัญญา เข้าใจโลกตามความเป็นจริงขึ้นมาแล้ว การกระทบทางผัสสะจนเกิดเวทนาใดๆก็ตาม จิตจะไม่หวั่นไหวออกไปในชอบหรือชัง :b46: :b47: :b46:

จิตจะรับรู้ผัสสะและเวทนาอย่างตั้งมั่นเป็นกลาง เป็นเพียงผู้รู้ผู้ดู รู้เฉยๆ รู้ซื่อๆ รู้แล้วจบ ไม่ปรุงแต่งต่อ สามารถคงความเป็นกลาง (สังขารุเปกขา) ไว้ได้โดยอาศัยกำลังของปัญญาสัมมาทิฏฐิ ที่มีมากกว่ากำลังของสมถะ คือสัมมาสติและสัมมาสมาธิแล้ว นั่นเอง :b48: :b49: :b50:

และความเป็นกลางแห่งจิตที่ตั้งมั่นอยู่ตรงนี้ ก็เป็นความเป็นกลาง หรืออุเบกขาต่อสังขารทั้งหลาย ที่เรียกว่า สังขารุเปกขา อันเกิดจากปัญญาเจตสิก ซึ่งรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นกลางที่ถูกพัฒนาขึ้นต่อเนื่องมาจากสติปัฏฐาน นั่นคือความเป็นกลางในโพชฌงค์ หรือ โพฌังคุเปกขา อันเกิดจากตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก :b49: :b48: :b47:

ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ ก็จะเข้าร่วมเป็นอุเบกขาเดียวกันกับความเป็นกลางในวิปัสสนา หรือวิปสสนูเปกขา อันเกิดจากปัญญาเจตสิกที่เข้าใจในไตรลักษณ์ :b49: :b50: :b44:

และเมื่อความเป็นกลางหรืออุเบกขานี้ ได้รับการพัฒนามาถึงที่สุด ก็จะเป็นองค์เดียวกับความเป็นกลางในจิตของพระอรหันต์ ที่รับรู้และกระทำการอะไรก็เป็นไปด้วยกิริยาจิต ซึ่งก็คือ ฉฬังคุเปกขา ซึ่งเป็นอุเบกขาอันเกิดจากตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ซึ่งหมดกิเลสแล้วนั่นเองครับ :b1: :b50: :b49:

แต่การรับรู้ผัสสะและเวทนาด้วยความตั้งมั่นเป็นกลาง ไม่ว่าจะด้วยสังขารุเปกขาและวิปัสสนูเปกขา อันเกิดจากปัญญาเจตสิก หรือโพฌังคุเปกขาและฉฬังคุเปกขา อันเกิดจากตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกตรงนี้ ต้องไม่สับสนกับอาการที่มีผัสสะ และเกิดเวทนาที่เฉยๆ เป็นกลาง ที่เราเรียกว่า อุเบกขาเวทนา หรือเวทนุเปกขา อันเกิดจากเวทนาเจตสิกนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2017, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความด้วยการยกตัวอย่างก็คือ ไม่ได้หมายความว่า สำหรับพระอรหันต์แล้ว จะมีอารมณ์เฉยตลอด คือไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลย (อุเบกขาเวทนา, เวทนุเปกขา) ทุกครั้งที่ผัสสะใดๆเกิดขึ้นก็ตาม :b46: :b47: :b42:

ซึ่งสำหรับพระอรหันต์แล้ว เมื่อเกิดผัสสะ จะมีเวทนาเกิดได้ ๔ อย่าง คือสุขเวทนาทางจิต (โสมนัสเวทนา), สุขเวทนาทางกาย (สุขเวทนา), ทุกข์เวทนาทางกาย (ทุกขเวทนา), และความรู้สึกเฉยๆ (อุเบกขาเวทนา) :b47: :b48:

ยกเว้นเวทนาเดียวที่ไม่เกิดขึ้นกับพระอรหันต์อีกเลย นั่นคือ ทุกข์เวทนาทางจิต (โทมนัสเวทนา) :b47: :b48: :b49:

หมายความว่า เมื่อเกิดผัสสะกับพระอรหันต์แล้ว ไม่ว่าจะเกิดโสมนัสเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา พระอรหันต์ท่านจะสามารถรับรู้เวทนานั้นๆได้ ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง รู้อย่างซื่อๆ ไม่มีตัณหา ไม่มีชอบชัง เกิดขึ้นมาอีก :b46: :b47: :b46:

ยกตัวอย่างในพระไตรปิฏกเช่น เมื่อพระสัปปเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์ ชื่นชมธรรมชาติ จิตใจท่านก็เกิดความแช่มชื่น (โสมนัสเวทนา) ขึ้นได้ แต่เกิดความแช่มชื่น (โสมนัสเวทนา) ด้วยใจที่เป็นกลาง รับรู้ความแช่มชื่นนั้นอย่างซื่อๆ ไม่ปรุงแต่งกิเลส ไม่ติดเพลินอยู่ในความแช่มชื่นหรือโสมนัสเวทนานั้น เช่นนี้ เป็นต้นนะครับ :b1: :b46: :b42:

สัปปเถรคาถา สุภาษิตชมธรรมชาติโดยธรรม http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=6303&Z=6314

หรือแม้กระทั่งพระอรหันต์ที่เกิดทุกข์เวทนาทางกาย (ทุกขเวทนา) ไม่ว่าจะเจ็บป่วยหรือโดนทำร้าย อย่างเช่นองค์พระอุปเสนะที่เป็นน้องชายขององค์พระสารีบุตรถูกงูพิษกัดจนมรณภาพ หรือองค์พระมหาโมคคัลลานะที่ถูกโจรลอบทุบตีจนมรณภาพ :b46: :b47: :b48:

ท่านก็จะรับรู้ทุกข์นั้นอยู่ได้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ไม่หวั่นไหว ไม่เคียดแค้น ไม่ตัดพ้อ ไม่ชิงชังในทุกข์นั้น ทุกข์นั้นก็ยุติลงเพียงแค่กาย โดยไม่เข้ามากระทบกระทั่งจิตของท่านให้เกิดทุกข์ (โทมนัสเวทนา) ไปด้วย เช่นนี้ เป็นต้นนะครับ :b1: :b46: :b47:

(หมายเหตุเรื่องที่องค์พระโมคคัลลานะถูกโจรทุบตี เริ่มแรกที่ท่านรู้ว่าจะถูกลอบทำร้าย ท่านก็ไม่ได้เพิกเฉยปล่อยวาง หรือวางเฉยแบบเฉยโง่ (อัญญาณุเบกขา ที่เกิดจากโมหเจตสิก) นะครับ ท่านก็หลบอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับท่านเหมือนกัน เพียงแต่เมื่อท่านตรวจดูแล้วว่าเป็นบุพกรรมของท่านที่หนีไม่พ้น ท่านจึงปล่อยวางและยอมให้โจรทำร้ายจนมรณภาพ)

เรื่องพระมหาโมคคัลลานะ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=7
อุปเสนสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=885&Z=907&pagebreak=0

สำหรับท่านที่สนใจเรื่องอุเบกขาซึ่งในขุททกนิกายอรรถกถาและวิสุทธิมรรคได้แบ่งไว้ ๑๐ ประเภท ส่วนในวิภังคอรรถถาและในอภิธัมมัตถสังคหะเพิ่มมาอีก ๒ ประเภท รวมเป็น ๑๒ ประเภทนั้น สามารถศึกษาได้จาก link ด้านล่างนะครับ

อรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=30&p=3
วิสุทธิมรรค http://bit.ly/2jAvhe4
อภิธัมมัตถสังคหะ http://abhidhamonline.org/aphi/p7/048.htm

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b46: :b47: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 85, 86, 87, 88, 89, 90, 91 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร