วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 10:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 38, 39, 40, 41, 42, 43, 44 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2013, 21:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
แต่ปัจจุบันผมพบว่า ....


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2013, 21:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ในเวลานั้นจึงคิดทบทวนว่า เมื่อตากระทบรูป จะดึงข้อมูลเดิม(สัญญา) เกิดปรุงแต่ง(สังขาร)โดยมีตัณหาอุปาทาน เป็นตัวชักใยเบื้องหลัง (อนุสัย) เกิดความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ(เวทนา) เวทนานี้จะไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารฮอร์โมนประเภทเดียวกันออกมากระจายในร่างกายและสะสมในกระแสโลหิต(อาสวะ) การเกิดของอนุสัย ที่สร้างเวทนา ก็จะสร้างอาสวะ คือ 1 รอบ แล้วดับลง เช่น มีความรู้สึกโกรธไม่พอใจ สมองก็จะหลั่งอดีนารีน ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ หน้าแดง มือสั่น มีอาการเกร็ง ต่อมาจะเหนื่อยล้า แล้วเบาลง(1รอบ) ต่อมาก็จะเกิดอารมณ์อื่น ก็จะกระตุ้นสมองให้หลั่งสารประเภทนั้นออกมา (2รอบ)ดังนั้นวันหนึ่งๆ จะเกิดกระบวนการวนนี้เป็น1000 ๆ รอบ ทับถมสะสม

หากเปรียบ ใจเป็นเสาหลักอันหนึ่งที่เกิดปรากฏการของใจ(อนุสัย) กายเป็นเสาหลักอีกอันหนึ่งที่ได้รับผล
กระทบต่อกาย(อาสวะ) เปรียบได้กับการมีเส้นเชือกวนจากเสาหลักใจ วนไปที่เสาหลักกาย (1รอบ) อารมณ์ต่อไปก็จะวนจากใจไปกายอีก(รอบที่2) และวนไปมาต่อไปเรื่อยๆ หากจะแก้เชือกออก ถ้าแก้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งเช่น มุ่งแก้เฉพาะที่ใจ คือกำนดรู้สภาพธรรมของใจเพียงอย่างเดียว หรือที่กายเพียงอย่างเดียวเชือกก็จะพันกันยุ่ง อาจแก้ได้ก็ต้องใช้เวลามาก ดังนั้นหากจะแก้ให้ง่ายและเร็วที่สุด ก็คือการวนกลับจากกายย้อนไปที่ใจ นั่นหมายถึง หากรู้ว่ากายมีความเมื่อยล้า ให้กลับไปสังเกตใจว่ามีลักษณะอย่างไร ตรงนี้มีผู้ที่มาปฎิบัติธรรมกับผมเคยถามว่า ดูใจดูอะไร ซึ่งขณะนั้นไม่มีความรู้สึกใด (พอใจหรือไม่พอใจ )คือเฉยๆ ผมเลยให้สังเกตว่า รู้สึกเหมือนมีแรงหรือมีอะไร มาทาบบนอกหรือไม่ ซึ่งพอให้สังเกตผู้ปฎิบัติถึงพบแรงนั้น แรงนั่นคือแรงเจตนาต่อสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความพอใจ ไม่พอใจ แต่เหตุของแรงนั้น ที่ลึกลงไปได้แก่ตัณหา อุปาทาน และระดับที่ลึกลงไปอีกชั้นคือ อวิชานั้น เป็นส่วนของอนุสัยที่ไม่มีผู้ใดสามารถจะเห็นได้ เพราะยังไม่ก่อเกิดเป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2013, 23:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอย้อนไปที่ห้องปฎิบัติธรรมขณะนั้นเป็นเวลา 10 .00 น.เมื่อพิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลของจิตใจกับร่างกาย และความเป็นเหตุผลที่กระทบเป็นลูกโซ่ จึงย้อนกลับมาพิจารณาวิธีปฎิบัติที่ตนเองทำอยู่ คือการรู้ในกายที่เกิดดับสั่นสะเทือนจนกระทั่งเกิดความว่าง ก็รู้ว่าที่ผ่านมาเราพิจารณาในส่วนของกายอย่างเดียว โดยไม่ได้พิจารณาในความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตใจ ซึ่งขัดกับหลักที่พระพุทธองค์ได้กล่าวว่า ธรรมทุกอย่างเกิดแต่เหตุ และเมื่อเหตุดับผลจึงดับ ดังนั้นเมื่อพิจารณาในกระบวนการจะต้องย้อนกลับคือ เมื่อรู้กายในกายแล้ว(ผล)ก็จะ link ไปที่จิตใจ(เหตุ)

ดังนั้นจึงคิดว่าเมื่อรู้ในกายที่สั่นสะเทือนแล้ว จะเคลื่อนไปรู้ที่ใจว่าขณะนั้นใจเป็นอย่างไร ทีนี้ก็เกิดข้อพิจารณาว่า จะกำหนดรู้จิตใจจะกำหนดรู้อะไร และที่ไหน (ซึ่งขณะนั้นจิตมีความละเอียด ไม่มีความนึกคิดแล้ว มีแต่ความเป็นมวลไม่สามรถแยกแยะได้ว่าคืออะ ไร) ซึ่งโดยหลักการจิตเกิดได้ทุกแห่งในร่างกาย แต่ขณะนี้ตัวรู้กระจายทั่วทั้งตัวแล้ว การรู้จึงเป็นการรู้ในภาพรวม (ผ่านการรู้เป็นจุดๆมาแล้ว) จึงพิจารณาต่อว่าศูนย์รวมของจิตอยู่ที่ไหน และเห็นว่าศูนย์รวมของจิตอยู่ที่หัวใจ คือตำแหน่งราวนมซ้าย ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกที่สุด รองลงมาคือที่กลางหน้าอก จึงคิดว่าเมื่อรู้สิ่งที่หยาบก็จะเชื่อมไปถึงส่วนที่ละเอียดต่อไปได้เอง จึงเริ่มพิจารณาการสั่นสะเทือนที่ร่างกายแล้วจึงเคลื่อนมารู้ที่กลางหน้าอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2013, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์หนึ่งที่จะสังเกตุได้คือ สังขารขันธ์ดับลง แต่วิญญาณขันธ์ยังปรากฏถึงการเคลื่อนไปกำหนดตามจุดต่างๆ จะมีความรู้สึกสงบ หากสังเกตุความสงบจะผุดขึ้นตามจังหวะดับลงของธรรม วิญญาณขันธ์ตามธรรมต่อไม่ได้ หรือหาธรรมไม่เจอ เราจะสังเกตุตัวเองว่า เราสงบเพราะความระงับลงของสังขารขันธ์ หรือเราสงบลงเพราะความดับลงของธรรมเพราะเหตุคือวิญญาณขันธ์ อันนี้ส่วนตัวกำลังศึกษาเรื่องอารมณ์ บางทีเราคิดดี หรือคิดในทางที่เป็นกุศล จู่ๆเราก็เกิดความสุขสงบ แต่พอคิดอกุศล ไม่ปรากฎว่าเกิดความสุขสงบลงของอารมณ์ บางทีทุกข์ก็ทำให้เราสงบลง(เวทนาขันธ์ที่เกิดจากกาย) พอเราจ่อที่ความทุกข์ บางทีเราจะถามตัวเองว่าเราจ่อที่กายหรือเราจ่อที่ทุกข์ คำว่ากายคืออะไร คือมหาภูติรูป4 ประชุมกัน หากเราเห็นเป็นร่างกายเรากำลังยึดถือความเป็นอัตตาหรือไม่ หรือเราเอาสัญญาขันธ์มาเทียบเพื่อเป็นแนวทาง อันนี้ส่วนตัวก็กำหนดรู้อย่างนี้ หรือเรากำหนดรู้ที่ทุกข์เลย

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2013, 10:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้กายในกายหรือความปรุงแต่งของใจ – ดับลง – ปลดปล่อยพลังงาน(ทุกข์)-อนัตตา

Mini ไตรลักษณ์ – ตทังคนิพพาน(ขณะทุกข์ดับพบความอิสระระยะสั้นๆ)

สำหรับคุณ student พิจารณาได้เหมาะสมแล้ว ซึ่งรู้ได้เฉพาะตน ผมมีประเด็นที่อยากกล่าวถึง คือในขณะปฎิบัติรู้กายใจให้รู้ด้วยสติ และสัมปชัญญะ เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องพิจารณาด้วยความคิดแยกแยะธรรมเพราะคุณได้ปฎิบัติธรรมในขณะใช้ชีวิตในปัจจุบัน (อิริยาบถย่อย)มามากแล้ว เกิดสมาธิต่อเนื่องและสูงขึ้น การคิดพิจาณาในสมาธิระดับขณิก (ระดับต้น)ทำได้ แต่หากสมาธิมากไปกว่านั้นการใช้ความคิดในขณะปฎิบัติธรรมจะเป็นอุปสรรค หากจะใช้ความคิดพิจารณาก็ทำได้แต่ควรทำหลังจากเวลาปฎิบัติธรรม แต่ หากปัจจุบันคุณได้ทำอย่างที่ผมกล่าวอยู่แล้วก็ขออนุโมทนา

ที่ผมกล่าวเช่นนี้เป็นการสันนิฐาน เพราะปัจจุบัน ภายในร่างกายของคุณ student มีการเกิดดับเป็นยิบยับเป็น ระลอกแล้ว แต่บนศีรษะมีแรง(มึนน้อยๆ) อยู่ และที่ท้องก็มีอาการตึงไม่มากนัก จากประสบการณ์ของผม บ่งบอกว่าคุณมีอุปนิสัยชอบพิจาณาความเป็นเหตุเป็นผลและทำอะไรทำจริง สภาพธรรมเหล่านี้คือศีรษะมีแรง(มึนน้อยๆ) อยู่ และที่ท้องก็มีอาการตึง เป็นผลจากเจตนา(แรง)ที่สร้างไว้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้เช่นเดียวกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2013, 20:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนถึงการปฎิบัติ(10.00 น.)เมื่อรู้การสั่นสะเทือนภายในร่างกาย( 5-6 วินาที)แล้ว ค่อยๆเคลื่อน ตัวรู้มาที่กลางหน้าอก(5-6 วินาที่)แล้ว รู้สึกว่ามีอะไรตึงๆหรือทึบๆ ที่กลางหน้าอกจึงกำหนดรู้และปล่อยวาง จึงเลื่อนการรู้กลับไปรู้การสั่นสะเทือนภายในร่างกายอีกครั้ง การรู้กลับไปกลับมาต้องมีการปล่อยวางก่อนทุกครั้ง ซึ่งพบว่าอาการทางใจและกายเปลี่ยนแปลง โปร่งเบาอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยปฎิบัติมา จึงพิจาณาว่ามาถูกทางแล้ว ต่อมาการรู้กายและใจ คล่องกำหนดได้เร็วขึ้น ต่อมาเกิดการพะอืดพะอมลำไส้ภายในเหมือนมีการบีบตัว ต้องออกมาจากห้องปฎิบัติเพื่อสำรอกออกมาเป็นน้ำลายแต่มีความเหนียวมาก(ไม่ใช่อาเจียน) บางครั้งต้องใช้มือช่วย เป็นที่แปลกใจ แต่ก็ยังกำหนดรู้ในอาการดังกล่าว และกลับเข้าไปนั่งสมาธิต่อ ซึ่งพบว่าภายหลังการสำรอก การปฎิบัติยิ่งอิสระมากยิ่งขึ้น (พักตอนเพล)

ต่อมาช่วงบ่าย(13.00 น.)เริ่มรู้สึกตัวเริ่มร้อนคล้ายเป็นไข้ กระอักกระอ่วน ปวดเมื่อยตามตัว ทุรนทุราย ที่ใจเหมือนกิเลสแตกรัง มีทั้งการหัวเราะสลับอารมณ์เศร้าเสียใจ ในเวลานั้นหากไม่มีองค์ความรู้ด้านวิปัสสนาว่าเข้าสู่ทุกขังแล้ว ( อาทีนญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิกมยตาญาณ) ก็คงตกใจคิดว่าตนเองเป็นไข้และเพี้ยนแน่ ในขณะนั้นเป็นเวลาพัก 16.00 น. จึงพักเดินปล่อยคลายอารมณ์ โดยไม่ได้กินยาแก้ไข้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2013, 08:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การวนกลับของรอบปฎิจสมุปบาท(รอบดับ) คือกระบวนการเห็นหรือรู้ปรากฏการเกิดดับของผล(กาย)ย้อนกลับไปหาเหตุ(จิต)เชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่ คือ เหตุ(ผล)1 - ผล(เหตุ)2 - ........ไม่รู้จบ เป็นการคลายออกของอาสวะ(เครื่องหมักดองในกาย คือ ฮอร์โมนหรืออินทรีย์สารที่สมองหลั่งออกมาสะสมในกระแสโลหิตและกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดความชา เจ็บ ปวด ร้อน อึดอัด)ในขณะต่อกันก็จะรู้ถึงสภาวะของการแน่นที่หน้าอก อารมณ์ ที่หงุดหงิด อึดอัด (ภาวะทางใจที่เป็นผลจากอนุสัยกิเลส)คลายออกมาด้วยเช่นเดียวกัน

โดยมีความเกิดดับของกายและจิต(อนิจจัง)เป็นเหตุ การคลายออกของอาสวะและภาวะทางใจที่แน่นที่หน้าอก อารมณ์ ที่หงุดหงิด อึดอัด (ทุกขัง)เป็นผล

ในขณะเดียวกันเมื่อย้อนกลับไปรู้ในกายก็จะเห็นปรากฎการณ์ใหม่ที่แสดงออกมาโดยมีความสัมพันธ์กับใจทุกครั้งไป ซึ่งบางท่านอาจเป็นการรู้ความสัมพันธ์ของกายกับกายก็ได้

การรู้กายแล้วปล่อยรู้ ย้อนกลับไปรู้ใจแล้วปล่อยรู้ นั้นต้องผ่านการฝึกรู้โดยไม่เลือกมาก่อน หากกำหนดโดยตัวรู้ยังมีปกติยึดสภาวะอยู่ การรู้กลับไปกลับมาจะเป็นการโยง(ยึด)ไปโยง(ยึด)มา ซึ่งเป็นการสร้างรอบปฎิจสมุปบาทขึ้นใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2013, 09:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นอุบายวิธีของคุณสุทธิยานแล้วทำให้นึกถึงพ่อครูบัญชา ตั้งวงษ์ไชย แห่งอุบล..จังครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 08:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขัง จึงถือเป็นขยะกาย(อาสวะ) ขณะใจ(อารมณ์ที่เป็นผลของอนุสัย)ที่ถูกคลายออกมา (ดีทอกค์) ที่มีระดับของสภาพอนิจจังเป็นตัวกำหนด คืออนิจจังหยาบคลายทุกข์ระดับตื้น อนิจจังละเอียดคลายทุกข์ระดับลึก และเมื่อทุกข์ระดับลึกคลาย สภาพอนัตตาระดับลึกจึงปรากฏ (ทุกข์เป็นเหตุอนัตตาเป็นผล) สภาพอนัตตาระดับลึกถือเป็นความว่างที่อิสระ (สังขารุเบกขาญาณ) แต่ยังมีความว่างอีกลักษณะหนึ่งที่เป็นของคู่กับความว่างที่กล่าวมา คือความว่างที่เกิดจากกระบวนการยึดถือ (สมถะ) ความว่างประเภทนี้จะไม่รู้ถึงสภาพความเกิดดับ ความว่างทั้ง 2 นี้ มีผู้หลงผิดว่านี่คือ นิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 19:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


อาจมีผู้สงสัยว่า ทำไมเมื่อรู้ปรากฎการณ์กายในกายแล้ว ต้องรู้ถึงความสัมพันธ์ของแรงที่ปรากฏตรงกลางหน้าอก และหรือแรงบีบที่หัวใจ จริงอยู่ที่ผู้ปฎิบัติธรรมใหม่จะกำหนดรู้ความนึกคิด ความฟุ้งซ่าน ซึ่งเป็นส่วนของนาม ที่เป็นนิวรณ์ธรรม แต่สำหรับผู้ที่ปฎิบัติมานานแล้วส่วนของนิวรณ์ลดลงแล้ว ส่วนของนามไม่รู้จะกำหนดอะไร บางครั้งเป็นความว่าง บางครั้งอาจเป็นเพียงความรู้สึกเหมือนเส้นใยบางๆก็ได้ แต่หากถามตนเองว่าขณะนี้รู้อะไร ก็สิ่งนั้นแหละเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ไม่สามารถเรียกชื่อสภาวะนั้นได้(ธรรมารมณ์)

หากเปรียบความนึกคิด ความฟุ้งซ่าน ความพอใจ ไม่พอใจ เป็นเสมือนตัวผึ้งที่บินออกจากรัง การกำหนดรู้สภาวะความนึกคิด......ไม่พอใจ คือการฆ่าผึ้งแต่ละตัว ไม่มีทางหมด เพราะตัวอ่อนภายในรังก็จะกลายเป็นผึ่งบินออกมาอีก การจะทำลายได้หมดจะต้องเข้าไปถึงปากรัง เข้ารังกำจัดตัวอ่อนและสุดท้ายนางพญาผึ้งการเข้าไปถึงปากรัง ก็คือการสังเกตลักษณะของธรรมารมณ์ ที่จะปรุงเป็นความนึกคิดต่อไป [/color[color=#FF00FF]]การกำจัดตัวอ่อนคือ การรู้แรงที่ปรากฎตรงกลางหน้าอก และหรือแรงบีบที่หัวใจจะอยู่ในระดับลึก ต่อจากนั้นทุกขังจึงปรากฏชัด เมื่อทุกอย่างคลายตัวจนหมดแล้ว จึงเข้าถึงการกำหนดที่สะดวกและเป็นไปเอง ตัวรู้จะรู้เป็นขณะ( ต็อก ต็อก.....) เมื่อรู้ตาม...ปล่อยรู้...รู้ตาม...ปล่อยรู้ ......พบสภาวะ.....นั่นคือ นางพญาถูกทำลายจริงแล้วนางพญามีเพียงตัวเดียว แต่ในที่นี้สมมุติว่ามี 10 ตัว ตายไป 3 ตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2013, 20:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อที่ผลการปฎิบัติตั้งแต่13.00 น.-16.00 น. เป็นการรู้ในสภาวะชองความทุกข์ทั้งทางกายและใจ ซึ่งโดยหลักการแล้วสภาวะทุกข์จะดำรงอยู่นาน มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของสมาธิที่มากกว่าปัญญา(การไม่รู้ ตามความเป็นจริง) สรุปคือ นิ่งเกินไปโดยไม่รู้ทันการเปลี่ยนแปลงของรูปนาม ดังนั้นในเวลาพักคือ 16.00-17.00 น.ผมจึงออกไปแก้สภาวะหรือปรับอินทรีย์ โดยเดินแบบสบายๆมองสิ่งต่างๆแบบธรรมชาติ เมื่อมีการเคลื่อนของสายตาหรือความรู้สึกก็ระลึกรู้ตาม ซึ่งสังเกตได้ว่าความทุกข์คลายอย่างรวดเร็ว

18.00 น, เริ่มปฎิบัติโดยรู้ความสั่นสะเทือนในส่วนของกายแล้วเคลื่อนไปรู้ความรู้สึกเหมือนมีอะไรทาบที่หัวใจ แล้วกลับไปรู้ที่กายอีก ก็จะเกิดสภาวะเกิดดับคั่นกลาง ซึ่งจะสังเกตได้ว่าทุกครั้งของการเกิดดับส่วนของความสั่นสะเทือนของกายและแรงที่กระทำต่อหัวใจจะละเอียดยิ่งขึ้น ทำไปสักระยะส่วนของกายแคบเข้ามา การรู้ที่กายและใจ ใช้ระยะเวลาจาก 5-6 วินาทีต่อครั้ง เริ่มลดลงเหลือ 3- 4 วินาที คือรู้ได้เร็วและคล่อง ต่อมาเกิดการวูบหายใจไม่ออก สูบลมเข้าไม่ได้ ขณะนั้นอยู่ระหว่างการนั่งสมาธิพร้อมผู้ปฎิบัติอื่นอีกประมาณ 70 คน ซึ่งการปฎิบัติในครั้งนี้ไม่มีการเดินจงกรม นึกในใจว่าหากลุกขึ้นเดินก็จะผิดกับแนวทางปฎิบัติที่นี่ แต่ก็คิดได้ว่าทุกท่านที่มาปฎิบัติก็เพื่อมรรคผล เพราะฉะนั้นทำอย่างไรก็ได้ถ้าทำแล้วบรรลุจุดมุ่งหมาย ผมจึงปรับอินทรีย์(เพิ่มตัวรู้ให้สมดุลกับสมาธิ)อีกครั้งโดยลุกขึ้นเดินจงกรมแบบเดิมโดยเดินปล่อยแขน เดินสบายๆ ตามรู้การเคลื่อนของการสัมผัสรู้ และเมื่อกลับมานั่งกำหนดสภาวะอีกคตั้งก็ไม่เกิดอาการหายใจไม่ออกอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2013, 08:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฎิบัติในช่วงเวลา 18.30 น.การกำหนดรู้ความสั่นสะเทือนหรือความไหวภายในกาย ที่เปลี่ยนมารู้สภาวะแรงที่กระทำบริเวณหัวใจ จะเร็วกว่าช่วงที่เกิดสภาวะทุกขัง

อาจมีคำถามว่าทำไมต้องเร็ว ?
หลักการ คือ กิจของตัณหาจะสร้างแรง ร้อยรัด รึงรัด บีบเค้นที่หทัยวัตถุ( ตำแหน่งหัวใจ) ซึ่งผมขอเรียกว่ารอบสร้างภพ นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับระยะเวลาของโลก คือ 1 วินาที ส่วนกิจของสัมปชัญญะ(ปัญญา) คือการหยั่งรู้สภาวะธรรมของกายที่สัมพันธ์กับใจที่เกิดขึ้นจริง จะทำหน้าที่คลายแรงของตัณหา ขอเรียกว่ารอบดับภพ ดังนั้นหากปัญญารู้ความจริงของกายและใจช้า รอบสร้างภพจะทำกิจได้มากกว่ารอบคลายภพ สรุปคือไม่สามารถคลายแรงตัณหาได้

หากถามว่าทำไมไม่เร่งการรู้ คำตอบคือ การเร่งตัวรู้ให้เร็ว ก็คือ ตัณหา อีก จึงต้องเข้าใจว่า ความเร็วจะเกิดได้มาจากการคลายแรง(ทุกขัง)แล้ว โดยสรุปคือ ผ่านการเกิดอนิจจังและทุกขังที่ละเอียดแล้ว สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปฎิบัติต้องคำนึง ถึงแม้จะรู้ขั้นตอนของสภาวธรรมที่จะเกิดขึ้น แต่หากอินทรีย์และพละไม่พร้อม(ไม่ถึงความเป็นสัมโพชฌงค์) ก็ไปไม่ได้
จะสังเกตได้ว่า ในชั้นที่ต่อสู้กับตัณหานี้ ผมไม่ได้เน้นที่สติแต่เน้นที่สัมปชัญญะ เพราะสติมีความหมายว่าระลึกรู้ แสดงว่าผ่านการไม่รู้(ความหลง)มาก่อน แต่การจะทำลายตัณหาคือการรู้ต่อเนื่องโดยไม่มีความหลงมาคั่นกลาง และต้องหยั่งรู้ความเปลี่ยนแปลง(สัมปชัญญะ) ที่รวดเร็ว และที่ใช้คำว่าหยั่งรู้พราะต้องแทรกลงไปรู้ภายในกาย สลายความเป็น ฆนะ(การเกาะกันก้อน แท่ง) โดยทำลายสันตติ(ความสืบต่อ)เมื่อสลายออก จึงมีการปลดปล่อยพลังงาน( ความปวด แสบ ชา มาจากสารอินทรีย์หรือฮอร์โมน และความอึดอัด ขัดข้องหงุดหงิดมาจากกิเลส และเมื่อสิ่งเหล่านี้สลายไปก็จะปลดปล่อยพลังงานแสงและความร้อนออกมา และในส่วนของรูปสลายไป เหลืออยู่แต่ตัวรู้กับความว่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2013, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b8: :b46: :b39: :b46:

แต่ก่อนจะไปกันที่อธิศีลสิกขาหัวข้อการฝึกสติสัมปชัญญะ และไตรสิกขาข้ออื่นๆ ด้วยขั้นตอนคือ :b48: :b47: :b46:

๑) ศึกษาธรรม ตามคำสอนของพระบรมครูที่ทรงกล่าวไว้ดีแล้ว และ :b46:

๒) อรรถกถาจารย์ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้รู้ต่างๆ นำมาอธิบายขยายรายละเอียด แจกแจงในธรรมนั้นๆของพระบรมครูอีกครั้งให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดย :b46:

๓) ผู้ปฏิบัติต้องน้อมนำธรรม หรือคำสอน และคำอธิบายขยายรายละเอียดเหล่านั้น มาโยนิโสมนสิการใคร่ครวญด้วยปัญญาอันแยบคายก่อน จนเห็นตามคำของพระบรมครูที่กล่าวไว้ในกาลามสูตรว่า

"ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ..

เมื่อนั้น .. :b46:

๔) ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่" คือค่อยน้อมนำธรรมที่ศึกษา ไปทดลองปฏิบัติ หาที่ปรึกษา ด้วยการเข้าหาครูบาอาจารย์ผู้ผ่านทางมาก่อนคอยช่วยชี้แนะ และสอบทานกับพระธรรมของพระบรมครูอีกครั้ง ... :b46:


จนเห็นแจ้ง ได้ผลเชิงประจักษ์ด้วยตนเองในความทุกข์ที่ลดลงและความสุขที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีอาการอันได้แก่ :b46: :b47: :b46:

การเกิดความจางคลาย (๑) ในกำหนัด (๒) ในการติดอยู่ในวัฏฏะ (๓) ในกิเลส (๔) ในความมักมาก (๕) ในความไม่สันโดษ (๖) ในความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ (๗) ในความเกียจคร้าน และ (๘) ในความเลี้ยงยาก :b49: :b47: :b46:

ตามหัวข้อที่พระบรมครูทรงกล่าวถึงคุณสมบัติในธรรมวินัยของพระองค์เอาไว้ในสังขิตตสูตร ... :b8: :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2013, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา ซึ่งหมายถึงการบูชาพระรัตนตรัยในวันเพ็ญเดือน ๖ อันเป็นวันคล้ายวันประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระบรมครูผู้มีพระภาคเจ้า :b8: :b8: :b8:

วิสุทธิปาละขอถือเป็นโอกาสอันดี ที่จะน้อมจิตถวายความเคารพและบูชาคุณ ของพระบรมครูผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น :b8:

รวมทั้งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ไว้ดีแล้วจึงนำมาสั่งสอนหมู่ชนเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์ :b8:

ตลอดจนเหล่าสานุศิษย์ภิกษุสงฆ์ของพระองค์ที่มีดวงตาเห็นธรรมจวบจนพ้นทุกข์ตามพระองค์ ...
:b8:

ด้วยการรวบรวมเอาข้อธรรมบางส่วนที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ด้วยพระองค์เอง (โดยความเอื้อเฟื้อของกัลยาณมิตรบางท่านได้กรุณาสรุปให้อ่านง่าย) เพื่อให้เหล่าสาวกผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของพระบรมครู สำหรับไว้ใช้เป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย ... เพื่อให้การศึกษาและการปฏิบัติ เป็นไปได้อย่างถูกต้องและตรง เข้าสู่การรู้แจ้งในธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบได้อย่างรวดเร็วไม่ผิดทาง :b8: :b8: :b8:

และที่สำคัญที่สุด เพื่อเป็นการเคารพพระธรรมที่พระบรมครูทรงค้นพบและบัญญัติขึ้น ตลอดจนเพื่อเป็นการรักษาสืบทอดพระสัทธรรมให้ดำรงคงอยู่ต่อไปได้ด้วยวิถีที่ถูกต้อง งดงามตามธรรม

"เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก"

ตามปณิธานในการประกาศพระศาสนาของพระบรมครูด้วย ตามด้านล่างนี้ครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2013, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๑) หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายธรรมะ)

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ ใกล้โภคนคร ได้ตรัสถึงมหาประเทศ ๔ สำหรับสอบสวนเปรียบเทียบ หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ

หากมีภิกษุกล่าวว่า

๑. ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

๒. ในวัดโน้นมีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

๓. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่มาก เป็นผู้รู้ผู้ชำนาญ ทรงธรรมทรงวินัย ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

๔. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่องค์หนึ่ง เป็นผู้รู้เป็นผู้ชำนาญ ทรงธรรมทรงวินัย ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

เมื่อได้ฟังมาดังนี้ จงอย่าชื่นชมหรือคัดค้าน แต่จงเรียนข้อความและถ้อยคำเหล่านั้นให้ดี แล้วจงสอบสวนดูในพระสูตรและเทียบเคียงดูในพระวินัย

ถ้าลงและเข้ากันไม่ได้ พึงทราบเถิดว่า นี้มิใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจำมาผิดแล้วจงทิ้งเสียเถิด

(สัญเจตนิยวรรค ๒๑/๑๘๐)


http://84000.org/tipitaka/read/?21/180
http://www.phrarattanatrai.com/files/tripidok/TPD008.htm


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 38, 39, 40, 41, 42, 43, 44 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร