วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 06:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:

ลองมาพิจารณากันดูว่า..จิตจะตัดวงปฏิจจสมุปบาทได้อย่างไร?

ขอพิจารณาเเยกออกเป็น ๒ สาย..
๑. สุตตะฯ เเละ จินตมยปัญญา คือ ความรู้จากการอ่าน การฟัง จากพระไตรปิฎก อภิธรรม
ครูพักลักจำ การคิด..นึกตามที่ได้อ่านได้ยินได้ฟังมา ฯลฯ

๒. ภาวนามยปัญญา คือ การปฏิบัติธรรม หรือ การนำธรรมมาปฏิบัติ
มีศึล สมาธิ ปัญญา เป็นบาทฐาน..รวมลงที่ สติ

สายที่ ๑ ยกตัวอย่าง เช่น...
ตาเห็นรูปที่ ๑. ไม่พอใจ..หงุดหงิดรำคาญ..บันดาลโทสะ..
มโนสังขาร-วจีสังขาร-กายสังขารทุจริต..จวกๆๆๆๆๆๆๆ
ของกู..ต้องเเบบนี้ดีที่สุด(ขออภัยที่ใช้ภาษาพ่อขุนฯ)...อุปาทาน
ถือเอาทิฐิมานะของตนเป็นใหญ่..ว่านี่เเหละกู..ของกู....ภพ
กดปุ่มตั้งกระทู้ ตูม!!!......ชาติ...ของอสูรกาย ....มีนรก เป็นที่ไป

ตาเห็นรูปที่ ๒. อิจฉา..ริษยา..อาฆาต..จองเวร..พยาบาทวิตก..โลภะโทสะ
มโนสังขาร วจีสังขาร กายสังขารทุจริต...ส่อเสียด..มุสา..ลามก..อนาจาร
อยากได้..อยากดี..อยากมี..อยากเป็น...ภพ
กดปุ่มตั้งกระทู้...ตูม!!!...ชาติ...ของเปรต สัตว์เดรัจฉาน....มีนรก..เป็นที่ไป

ตาเห็นรูปที่ ๓ ๔ ๕....เป็นในลักษณะเดียวกัน ก็มีเเต่นรก...เป็นจุดหมาย
ตรงนี้เเหละ..ที่เรียกว่า..อนุสัยกิเลส..ที่สั่งสมไว้

นี่ยังไม่ได้ตาย..ก็ตกนรกซะเเล้ว..ไม่รู้กี่ชาติ..
สมมุติว่า..หากขณะที่เกิดเหตุนั้น..หัวใจวายตายไปจริงๆ...ไปนรกทันที..
เเล้วความรู้สุตตะ จินตฯ ล่ะ...ยังไม่เอาออกมาใช้เลย...หรือว่าจะเอาไปใช้ได้ในนรก?

พอมองเห็นมั้ย..ว่าที่เคยท่องจำจากความรู้ทั้งการอ่านการฟัง..ท่องเป็นนกเเก้วนกขุนทอง..
ว่า..รู้อริยสัจ..รู้เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ ฯลฯ...
พอเกิดเหตุการณ์จริงในชีวิต...ไม่เห็นเอาขึ้นมาใช้กันเลยล่ะ?

ความรู้นั้นเป็นความรู้ทางโลกียะ
อ่านเเล้ว..ใครเป็นคนรู้?
ผู้รู้ที่เเท้จริงนั้นเป็นใคร?
:b44: :b44: :b44:

คุณอาณาปานครับ ผมอ่านความเห็นของคุณแล้ว รู้สึกจิตใจหดหู่และเบื่อหน่ายมากครับ
การแสดงออกของคุณ มันเหมือนกับการอาศัยธรรมะมาว่าคนอื่น ทั้งๆที่ธรรมะที่นำมาอ้าง
ก็อ้างแบบผิดๆ โยงกันไปโยงกันมาแบบผิดหลักการ
อีกอย่างครับ คุณแน่ใจแล้วหรือว่า สิ่งที่คุณกำลังกระทบกระเทียบคนอื่นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
คุณไม่ได้เป็นเหมือนคนอื่นเขา ความเห็นที่คุณแสดงออกมาในกระทู้นี้ มันก็เป็นการกระทำ
ที่คุณว่าคนอื่นเขาทั้งนั้นนั้นแหล่ะครับ

ผมขอร้องครับ อย่าเอาธรรมะของพระพุทธเจ้า มาว่าคนอื่นแบบไร้เหตุผล
ถ้าคุณเป็นผู้ปฏิบัติจริงหากรู้สึกว่า ไม่เห็นด้วยกับความเห็นใคร ก็ควรจะใช้เหตุผลมาหักล้างมันถึงจะถูก
ไม่ใช่มาตั้งตัวเองเป็น เป็นผู้รู้ ผู้ทรงภูมิ แล้วนำธรรมะมาเป็นอาวุธประหัสประหารคนอื่นแบบนี้ครับ

อันที่จริง ผมเข้ามากระทู้นี้ก็เพื่ออ่านความเห็นของท่าน วิสุทธิฯแก ว่าจะอ่านผ่านๆแล้วไป
แต่มันมาสะดุดกับความเห็นของคุณนี้แหล่ะ เลยต้องขอแสดงความเห็น มันอาจไม่เกี่ยวกับผม
แต่บอกจริงๆครับว่าทนไม่ได้ ที่คุณมาใช้คำพูดที่บอกได้คำเดียวว่า หยาบกว่าภาษาในสลัมหรือในตลาดอีกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
[color=#BF0000]
ลองมาพิจารณากันดูว่า..จิตจะตัดวงปฏิจจสมุปบาทได้อย่างไร?
ขอพิจารณาเเยกออกเป็น ๒ สาย..
๑. สุตตะฯ เเละ จินตมยปัญญา คือ ความรู้จากการอ่าน การฟัง จากพระไตรปิฎก อภิธรรม
ครูพักลักจำ การคิด..นึกตามที่ได้อ่านได้ยินได้ฟังมา ฯลฯ

๒. ภาวนามยปัญญา คือ การปฏิบัติธรรม หรือ การนำธรรมมาปฏิบัติ
มีศึล สมาธิ ปัญญา เป็นบาทฐาน..รวมลงที่ สติ

สายที่ ๑ ยกตัวอย่าง เช่น...
ตาเห็นรูปที่ ๑. ไม่พอใจ..หงุดหงิดรำคาญ..บันดาลโทสะ..
มโนสังขาร-วจีสังขาร-กายสังขารทุจริต..จวกๆๆๆๆๆๆๆ
ของกู..ต้องเเบบนี้ดีที่สุด(ขออภัยที่ใช้ภาษาพ่อขุนฯ)...อุปาทาน
ถือเอาทิฐิมานะของตนเป็นใหญ่..ว่านี่เเหละกู..ของกู....ภพ
กดปุ่มตั้งกระทู้ ตูม!!!......ชาติ...ของอสูรกาย ....มีนรก เป็นที่ไป

ตาเห็นรูปที่ ๒. อิจฉา..ริษยา..อาฆาต..จองเวร..พยาบาทวิตก..โลภะโทสะ
มโนสังขาร วจีสังขาร กายสังขารทุจริต...ส่อเสียด..มุสา..ลามก..อนาจาร
อยากได้..อยากดี..อยากมี..อยากเป็น...ภพ
กดปุ่มตั้งกระทู้...ตูม!!!...ชาติ...ของเปรต สัตว์เดรัจฉาน....มีนรก..เป็นที่ไป

ตาเห็นรูปที่ ๓ ๔ ๕....เป็นในลักษณะเดียวกัน ก็มีเเต่นรก...เป็นจุดหมาย
ตรงนี้เเหละ..ที่เรียกว่า..อนุสัยกิเลส..ที่สั่งสมไว้

ผมอ่านตัวอย่างที่คุณยกมาแล้ว พูดได้คำเดียวครับว่า มั่วอะไรปานนั้น
คุณครับ คุณจะอ้างจะยกอะไรมา กรุณาทำความเข้าใจกับสิ่งที่นำเสนอให้ดีเสียก่อน
ไม่ใช่สักแต่ว่า เห็นเป็นภาษาธรรมก็เลยเอามาอ้าง คงคิดว่าคนอื่นไม่รู้
แต่ที่แน่ๆผมว่าตัวคุณนั้นแหล่ะที่ไม่รู้

[b]ผมไม่รู้ว่าคุณเข้าใจในเรื่อง ไตรสิกขามั้ย ไตรสิกขาท่านให้เรารู้เรื่องของ
อธิศีล อธิจิตและอธิปัญญา
เรื่องของปฏิจจ์ฯนั้นก็อยู่ในไตรสิกขาที่ว่าด้วย อธิจิต

ไอ้เรื่องที่คุณยกมา ๑ ๒ ๓ อะไรนั้นน่ะ มันมั่วครับ มันคงละเรื่องมันไม่เกี่ยวกันเลย
เรื่องนรก สัตว์เดรัจฉานที่คุณบอกมา
เขาต้องใช้ศีลข้อห้ามของปุถุชนนี้แหล่ะ ไม่ใช่อธิศีล
แล้วเรื่องการหยุดยั้งที่การกระทำที่คุณอ้างมา ก็ใช้แค่ สติแบบชาวบ้านที่เอาศีลข้อห้าม
หรือความกลัวต่อผลที่จะได้รับ มาเป็นที่ระลึกรู้เท่านั้นเอง
คุณอย่าพยายามลากให้ไปไกลซิครับ เพราะยิ่งไกลยิ่งเหละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2010, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:

ขอพิจารณาเเยกออกเป็น ๒ สาย..
๑. สุตตะฯ เเละ จินตมยปัญญา คือ ความรู้จากการอ่าน การฟัง จากพระไตรปิฎก อภิธรรม
ครูพักลักจำ การคิด..นึกตามที่ได้อ่านได้ยินได้ฟังมา ฯลฯ

๒. ภาวนามยปัญญา คือ การปฏิบัติธรรม หรือ การนำธรรมมาปฏิบัติ
มีศึล สมาธิ ปัญญา เป็นบาทฐาน..รวมลงที่ สติ

นี่ยังไม่ได้ตาย..ก็ตกนรกซะเเล้ว..ไม่รู้กี่ชาติ..
สมมุติว่า..หากขณะที่เกิดเหตุนั้น..หัวใจวายตายไปจริงๆ...ไปนรกทันที..
เเล้วความรู้สุตตะ จินตฯ ล่ะ...ยังไม่เอาออกมาใช้เลย...หรือว่าจะเอาไปใช้ได้ในนรก?

พอมองเห็นมั้ย..ว่าที่เคยท่องจำจากความรู้ทั้งการอ่านการฟัง..ท่องเป็นนกเเก้วนกขุนทอง..
ว่า..รู้อริยสัจ..รู้เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ ฯลฯ...
พอเกิดเหตุการณ์จริงในชีวิต...ไม่เห็นเอาขึ้นมาใช้กันเลยล่ะ?

ผมว่าที่คุณมาว่าเขาป่าวๆอยู่นี่ คุณรู้ตัวบ้างหรือเปล่าครับว่า เป็นคุณเองแหล่ะที่เป็นแบบนั้น
อาจจะมากกว่าเสียด้วย คุณลองคิดดูนะว่าการที่ไม่ได้ใช้กับการที่นำมาใช้แบบผิดๆ
อะไรมันจะมีโทษมากกว่ากันครับ


ที่ผมบอกว่านำมาใช้แบบผิดๆ ก็เป็นตัวคุณอีกนั้นแหล่ะที่ใช้ผิดครับ
เอาอย่างแรกที่เห็นง่ายๆเลยนะที่คุณบอกว่า

อานาปานา เขียน:

๒. ภาวนามยปัญญา คือ การปฏิบัติธรรม หรือ การนำธรรมมาปฏิบัติ
มีศึล สมาธิ ปัญญา เป็นบาทฐาน..รวมลงที่ สติ

คุณรู้หรือเปล่า ข้อความอ้างอิงของคุณมันผิดตรงไหน ผมจะบอกให้ครับ
การปฏิบัติที่มีศีล สมาธิ ปัญญาที่เรียกมรรคมีองค์แปด
เราต้องให้รวมเป็นหนึ่งนั่นนะถูกแล้วครับ แต่ต้องรวมกันเป็น มรรคสมังคีครับ
ไม่ใช่รวมกันเป็น สติอย่างที่คุณบอก สติเป็นเพียงองค์หนึ่งในองค์แปดเท่านั้นเอง


สุดท้ายถามจริงครับ คุณไปโกรธขึงใครมาหรือครับ ถึงได้มาระบายอารมณ์ชนิดด่ากราด
ไม่ดูเหนือดูใต้ แบบนี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกครั้งสำหรับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ :b1: :b51: :b53: :b46:

หลวงปู่ชาท่านกล่าวโดยสรุปไว้ในทำนองว่า :b46: :b46: :b41:

... จะเป็นบัวพ้นน้ำ ต้องรู้จักเอาโคลนตม (กิเลสและความทุกข์ต่างๆ) มาเป็นปุ๋ย ถ้ายังหลงจมอยู่ในโคลนตม ก็เป็นได้แค่อาหารเต่าปลา .... :b8: :b8: :b8:
http://www.fungdham.com/download/book/article/cha/004.pdf

“... ภายในโคลนนั่นนะ มีความเหม็นสาบเหม็นเนาสารพัดอยาง แตดอกอุบลทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ยิ่งสวย ยิ่งงาม ยิ่งตนใหญลําใหญดอกใหญ โคลนทั้งหลายนั้นเปนปุยของมัน บัวทั้งหลายมันชอบปุย ติณชาติทั้งหลายชอบปุย ไดปุยแลวมันงาม ปุยนั้นเปนของโสโครก เปนของสกปรกเปนของเหม็น กลิ่นสารพัดอยาง มันจะเหม็นเทาไรๆ สกปรกเทาใดๆ บัวมันยิ่งชอบ ดอกมันยิ่งโต ลํามันใหญ ยิ่งยาว

ดอกบัวนั้นก็เปรียบกับจิตของเรา มันจมอยูในทุกสิ่งทุกอยาง คือ ราคะ โทสะ โมหะ สารพัดอยาง อันมันเปนโคลน ที่เปนโคลนนี้ทานจึงจัดวา ดอกบัวมันอยูในตม ที่มันอยูในโคลนนั้นนะ ทานบอกวา มันเปนดอกบัวที่เสี่ยง เสี่ยงเพราะอะไร มันอยูในโคลนยังไมมีหวังที่จะพนตมมาเลย มันจึงเปนดอกบัวที่เสี่ยงมากทีเดียว มันเปนเหตุที่วาเตามันก็จะกิน ปลามันก็จะกินไดเพราะมันอยูในโคลน

จิตใจของเราก็เหมือนกันฉันนั้น ถามันหมกอยูใน ราคะ โทสะ โมหะ มันเหมือนอยูในโคลน มัจจุราชตามเอาเปนอาหารหมดละ มันอยูในโคลน มันหนาแนน มันไมไดยิน มันไมไดฟง มันไมไดอบรม มันหนา มันแนน มันก็ยังมีที่หวังของมันจะเปนไดหลายอยาง จะเปนปุถุชน หรืออันธภาพชนทั้งหลาย เปนไดหลายอยาง แลวแตจิตของตน

อีกคนหนึ่งนั้น อีกจิตหนึ่งนั้น มันจะพนตมขึ้นมาแลว แตมันอยูในกลางน้ำ ดอกบัวดอกนี้ก็ยังจะเสี่ยงอยูเหมือนกัน นี่เพราะวามันจะเปนอาหารเตาหรือปลาอยูเสมอ ยังไมพน

เหลาที่ 3 เสมอน้ำ พนตมแตยังเสมอน้ำ อันนี้ก็ยังเสี่ยงอยูเหมือนกัน ยังจะเปนอาหารของปลา และเตาอยูทั้งนั้นอันนี้มันเกิดความรูสึกขึ้นมา มีญาณของพระพุทธเจาของเราที่ทานหยั่งซึ้งลงไปวา สัตวโลกเปนอยางไร

เหลาที่ 4 นี้เรียกวา พนโคลน พนตม พนน้ำมาจะบานแลว บัว 4 เหลานี้คือ อุคฆฏิตัญูวิปจิตัญูเนยยะ ปทปรมะ นั่นแหละ

พระพุทธเจาของเราจึงมาตรัสเสียวา เออ มันเปนอยางนี้อยู โลกมันก็ตองเปนอยางนี้อยู ไมใหมันเปนอยางนี้มันก็ไมเปนโลก จะตองทําอยางไร พระพุทธเจาทานรูแจงโลกนี้ดีจึงทรงชื่อวาโลกวิทู ในจิตของทาน รูแจงโลกวามันเปนอยางนี้โลกมันเปนอยางนี้ เหมือนบัวในตมในโคลนมันเหม็นสาบ ดอกบัวไปเกิดที่ตรงน้ำ มันโผลน้ำขึ้นมา มันมีกลิ่นหอมนาทัศนาดูทุกสิ่งทุกอยาง ก็เพราะดอกบัวดอกนี้มันเกิดมาจากโคลนสกปรก

จิตใจของเราทั้งหลายก็เหมือนกัน สัตวโลกทั้งหลายก็เหมือนกัน มันปกปดอยูดวยอาสวธรรมทั้งหลายทั้งนั้นแหละ

ถึงพระพุทธเจาก็ดี พระอรหันตสาวกก็ดี ก็ตองเกิดมาจากโคลนอยางนั้น มีราคะ โทสะ โมหะปกคลุมอยูทั้งนั้นแหละ หุมหออยูทั้งนั้นแหละ แตพระพุทธองคก็พนมาได สาวกทั้งหลายก็พนมาได ทานแยกกันอยูอยางนั้น ถาไมมีอันนั้นเปนเหตุผลมันก็เกิดขึ้นไมได้ ...”


.......................................................................................

ฝากธรรมะของหลวงปู่ชาไว้เป็นข้อคิดข้อปฏิบัติสำหรับปีใหม่ ๒๕๕๔ ที่จะมาถึงนี้สำหรับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ :b46: :b46: :b46:

ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เป็นช่วงที่วิสุทธิปาละมีกิจทางโลกมากมายที่ต้องบริหารจัดการให้เรียบร้อยลุล่วงไป ขอให้กัลยาณมิตรทุกท่านศึกษาธรรมะในภาคปฏิบัติเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุดจากกัลยาณมิตรท่านอื่นไปก่อนนะครับ :b1: :b42: :b48: :b44:

แล้วค่อยมาสนทนาธรรมกันต่อในส่วนที่เหลือหลังปีใหม่ครับ :b41: :b46: :b51:

เจริญในธรรม ปฏิบัติธรรมที่สมควรแก่ธรรม ให้จิตใจผ่องใส บริสุทธิ์ เบิกบาน เพื่อเป็นการส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่กันทุกๆท่านครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 30 ธ.ค. 2010, 12:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ในวงปฏิจจสมุทบาททั้งสิบสองถ้าเราจะดับทุกข์
เราจะดับอะไรตัวไหนอย่างไรเอาแบบเน้นๆเรียงลำดับ ที่ท่านยกมายังไม่เข้าใจครับ

วงปฏิจจสมุปบาท เราจะเลือกดับอะไร..ตัวไหนอย่างไร..ไม่ได้เลย
มีเเต่...จิต..เท่านั้น ที่สามารถจะตัดวงปฏิจจฯได้

แค่ฝากความเห็นนะครับ..

จะว่าเลือกดับ..ก็คงไม่ใช่ซะทีเดียว..แต่เป็นความถนัดมากกว่ามั้งครับ..
บางที..เวทนาเกิด..ตัณหาเกิด..แต่ปล่อย..ก่อนที่จะอุปทาน..อันนี้ภพก็ไม่เกิด
บางที..เวทนาเกิด..แล้วใช้ปัญญา..ตัณหาก็ไม่เกิด...ภพก็ย่อมไม่เกิดเช่นกัน
แต่ทั้งหมดนี้..จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีวิชชา..ดับความหลงอยู่ก่อนแล้ว

บางที..แม้อวิชชาคือความโง่ยังมีอยู่..แต่ใช้สติ..ก็อาจจะระงับเป็นบางครั้งบางคราวได้

เช่น..วิญญาณเกิด...สัญญาเกิด..สติทัน..เวทนาอาจไม่เกิดได้..ภพก็คงไม่เกิด(เฉพาะครั้งนี้)
บางที..วิญญาณเกิด..สติทัน..สัญญาไม่เกิด..แต่ภพ..ไม่รู้ว่าจะเกิดไหม..อาจเป็นพรหมก็ได้??

อ้างคำพูด:
เช่น ตาเห็นรูป รู้สึกไม่พอใจ เผลอเหน็บเขาไปเเล้ว...นึกขึ้นมาได้...อุ๊ย!เผลอ (เเต่เหน็บไปเเล้ว)
จบไปเเล้ว ๑ วงปฏิจจฯ พอเห็นมั้ยว่า...เราจะเลือกดับอะไรได้?

เป็นความถนัด..แบบไม่ได้คิดจะเลือก..มั้ง?? :b12:

คือที่เขียนข้างบนมานี้..เพราะมีบางอย่างที่เป็นหลักฐาน(ของตัว)ว่า..
มีความเป็นไปได้..ที่จะทัน..

ก็ในเมื่อ..สัญญายังดับทัน..

เวทนารึ..ตัณหารึ..อุปาทานรึ..

ทำไมจะดับไม่ทัน..

ขอให้มีปัญญาที่เห็นจริงก่อน..

(คิดว่า)..การดับแบบสมุจเฉปหาน..ย่อมเป็นไปได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนจะมาต่อกันในส่วนของการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป ขอเพิ่มเติมตัวอย่างในการปฏิบัติส่วนสมถะที่มีมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้ากันอีกสักหน่อยนะครับ เพราะการปฏิบัติในส่วนนี้เหมาะกับชนหมู่มาก ซึ่งส่วนใหญ่เจริญสมถะไม่ได้ถึงขั้นฌาน :b1: :b46: :b45: :b51:

(แต่การเจริญสมถะก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติคู่กันไปด้วยความเพียรอย่างเข้มข้นเพื่อให้ครบองค์ ๘ ของมรรคนะครับ และเพราะสมถะนั้นเป็นบาทฐานของวิปัสสนา ทำให้จิตมีกำลังตั้งมั่นในการเห็นสามัญลักษณะของขันธ์ต่างๆได้อย่างชัดแจ้งจนหมดซึ่งอุปาทานแห่งขันธ์ และขณะที่เกิดอริยมรรคขึ้นในจิตนั้น จะต้องอาศัยกำลังของทั้งสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันรวมเป็นมรรคสมังคี เพื่อใช้ในการกำจัดกิเลสให้หมดไปอย่างสิ้นเชื้อทีละระดับ :b39: :b42: :b44: )

ตัวอย่างที่ยกมาก่อนหน้าในการใช้สติและ (ขณิกะ) สมาธิ พิจารณาทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปจนกระทั่ง “เห็น” ในไตรลักษณ์แห่งทุกข์ คือทุกข์ที่เสื่อมลง และดับหายไปต่อหน้าต่อตา จนเกิดจิตที่เบิกบานตั้งมั่น (สมถะ) เป็นผลตามวิปัสสนามานั้น :b46: :b45: :b41:

สามารถใช้หลักเดียวกันนี้ เพียรปฏิบัติเพื่อพิจารณาเวทนาขันธ์อื่นๆ (สุข, อุเบกขา = เวทนานุปัสสนา) หรือขันธ์ ๕ องค์อื่นๆ (รูป = กายานุปัสสนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ = จิตตา + ธรรมานุปัสสนา) นอกเหนือจาก (ทุกข์) เวทนาขันธ์ได้เช่นเดียวกัน :b46: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะขยายความให้ละเอียดขึ้นสักหน่อย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทประกาศแจกโบนัสปลายปี ๘ เดือน :b4: เกิดความดีใจ (สุขเวทนา) :b19: :b12:

๑) ให้ใช้สติและสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) :b46:

๒) ดูตรงๆเข้าไปที่สภาวะสุข คือความตื่นเต้น สดชื่น คึกคัก กระเพื่อม กระโดดโลดเต้น เริงร่าภายในจิต (ทุกข์ให้รู้ ซึ่งทุกข์ตรงนี้ คือสภาวะที่จิตโดนบีบคั้นให้กวัดแกว่งหลุดออกจากสภาวะที่มีจิตตั้งมั่น (มัชฌิมา) เพียงแต่เป็นการแกว่งไปในทางตื่นเต้น (กามสุขัลลิกะ) ไม่ใช่ซบเซาเศร้าซึม (อัตตกิลมถะ) เหมือนในตัวอย่างก่อนหน้า หรือในอีกมุมหนึ่ง ทุกข์นี้คือการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ (= ชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาขันธ์) ซึ่งก็คือทุกข์ (ชาติปิทุกขา) ในทุกขอริยสัจจ์) :b46:

๓) โดยไม่วกเข้าไปดูเหตุที่ทำให้สุข คือ อย่าไปจดจ่อกับการปรุงแต่งจินตนาการ (สัญญา + สังขาร) ถึงตัวเงินและการบริโภคที่จะตามมาจากโบนัสนั้น เช่น อย่าไปปรุงแต่งฝันถึงกระเป๋ากุชชี่ พราด้า :b22: :b4: หรือการเลี้ยงฉลองเสพสุขอื่นๆที่ยังมาไม่ถึง (สมุทัยให้ละ คือความอยากเสพเสวยในกามต่างๆ = กามตัณหา = โลภะ) :b46:

๔) ถ้ามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง ตามดูสภาวะแห่งสุข (ซึ่งจริงๆคือทุกข์ ในความหมายที่ให้ไว้ด้านบน) ได้นานพอที่จะไม่แว๊บไปคำนึงถึงเหตุ จะเห็นสภาวะสุข คือความตื่นเต้น สดชื่น คึกคัก กระโดดโลดเต้น เริงร่าภายในจิต ดับไปได้เองเพราะหมดเหตุตามลักษณะสามัญของเขา จิตจะตั้งมั่น เป็นกลาง เบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ควรค่าแก่การใช้งานเพื่อคิดใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือการกระทบจากภายนอก (คือการที่ได้รับโบนัส) โดยไม่เจือไปด้วยกิเลสคือความอยากบริโภคในกาม (กามตัณหา) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแกว่งแห่งจิต (โลภะ + โมหะ) :b46:

เช่นกันครับ หัดแรกๆอาจจะดูยากหน่อย สภาวะที่จิตตั้งมั่น เป็นกลางและเบิกบานจะมาเพียงแวบเดียวแล้วหายไป เพราะจิตเจ้ากรรมชอบกลับไปจมแช่อยู่กับเหตุ คือยังไปจดจ่ออยู่กับการปรุงแต่งจินตนาการ (สัญญา + สังขาร) ถึงตัวเงินและการบริโภคในกามสุขที่จะตามมาจากโบนัสนั้น มากกว่ามีสมาธิจดจ่อตามรู้แต่ในสภาวะที่จิตแกว่งไหว ทำให้สุขจากโลภะ คือความอยากและความคาดหวังที่จะได้เสพเสวย ไม่ดับให้เห็นเพราะเหตุไม่ดับ แถมยังจะทับถมทวีเพราะจิตไม่ยอมปล่อยเหตุ :b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกตัวอย่างสำหรับการใช้วิปัสสนานำหน้าสมถะ ในการพิจารณาไตรลักษณ์ในสังขารขันธ์ (จิตตานุปัสสนา) :b39: :b44: :b46:

ยกตัวอย่างเช่น ชายหนุ่มไปเที่ยวงานมอเตอร์โชว์เห็นพริตตี้สาวสวยนุ่งน้อยห่มน้อยตรงหน้า แล้วจิตแวบไปปรุงแต่งจนเกิดราคะกำหนัด :b22: :b22: :b22:

๑) ให้ใช้สติและสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) :b46:

๒) ดูตรงๆเข้าไปที่สภาวะแห่งความกำหนัด คือความตื่นเต้น วาบหวิว ฉ่ำเคลิ้ม หื่นกระหาย อยากใคร่ กระเพื่อมภายในจิต (ทุกข์ให้รู้ ซึ่งทุกข์ตรงนี้ คือสภาวะที่จิตโดนบีบคั้นให้กวัดแกว่งหลุดออกจากสภาวะที่มีจิตตั้งมั่น (มัชฌิมา) เพียงแต่เป็นการแกว่งไปในทางตื่นเต้น (กามสุขัลลิกะ) ไม่ใช่ซบเซาเศร้าซึม (อัตตกิลมถะ) หรือในอีกมุมหนึ่ง ทุกข์นี้คือการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ (= ชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์) ซึ่งก็คือทุกข์ (ชาติปิทุกขา) ในทุกขอริยสัจจ์) :b46:

๓) โดยไม่วกเข้าไปดูเหตุที่ทำให้กำหนัด คือ อย่าไปจดจ้องมองตาไม่กระพริบกับพริตตี้ที่อยู่ตรงหน้า และการปรุงแต่งจินตนาการในหัว (สัญญา + สังขาร) ถึงการที่จะได้เสพในกามนั้น (สมุทัยให้ละ คือความอยากเสพเสวยในกามต่างๆ = กามตัณหา = โลภะ) :b46:

๔) ถ้ามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง ตามดูสภาวะแห่งราคะกำหนัดได้นานพอที่จะไม่แว๊บไปคำนึงถึงเหตุ คือพริตตี้ที่ยืนอยู่ตรงหน้านั้นแล้ว จะเห็นสภาวะของความกำหนัด คือความตื่นเต้น วาบหวิว ฉ่ำเคลิ้ม หื่นกระหาย อยากใคร่ ดับไปได้เองเพราะหมดเหตุตามลักษณะสามัญของเขา จิตจะตั้งมั่น เป็นกลาง เบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ควรค่าแก่การใช้งานเพื่อคิดใช้ประโยชน์จากการกระทบจากภายนอก (คือการที่ได้เห็นพริตตี้ ซึ่งอาจจะพลิกไปเพื่อการปลงอสุภะด้วยอาการ ๓๒) โดยไม่เจือไปด้วยกิเลสคือความอยากบริโภคในกาม (กามตัณหา) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแกว่งแห่งจิต (โลภะ + โมหะ) :b46:

เช่นกันครับ หัดแรกๆอาจจะดูยากหน่อย สภาวะที่จิตตั้งมั่น เป็นกลางและเบิกบานจะมาเพียงแวบเดียวแล้วหายไป เพราะจิตเจ้ากรรมชอบกลับไปจมแช่อยู่กับเหตุ คือยังไปจดจ่ออยู่กับพริตตี้ตรงหน้า :b22: :b22: และการปรุงแต่งจินตนาการ (สัญญา + สังขาร) :b22: :b22: ถึงการบริโภคในกามสุข มากกว่ามีสมาธิจดจ่อตามรู้แต่ในสภาวะที่จิตแกว่งไหว ทำให้สุขจากโลภะ คือความอยากและความคาดหวังที่จะได้เสพเสวย ไม่ดับให้เห็นเพราะเหตุไม่ดับ แถมยังจะทับถมทวีเพราะจิตไม่ยอมปล่อยเหตุ :b46: :b46:

~~~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~~~~

ขอแทรกเพิ่มเติมสำหรับตัวอย่างการพิจารณาโทสะ ตามนี้ครับ :b51: :b53: :b41:

ยกตัวอย่างเช่น กำลังขับรถต่อแถวไหลไปอย่างช้าๆอยู่อย่างสุภาพบนถนน มีนักเลงดีขับรถเข้ามาเบียดแทรกหรือปาดหน้า ความมีตัวตนเกิดขึ้นออกรับการกระทบ ทำให้ความโกรธโมโหผุดแปล๊บขึ้นมาทันทีในบัดเดี๋ยวนั้น ประมาณว่า i-เvรนี่ ! เดี๋ยวเถอะมุง !! :b33: :b33:
( :b8: ขอโทษครับที่ใช้ภาษาพ่อขุนให้เห็นภาพ)

ถ้าตามความโกรธและตัวตนที่ใหญ่คับรถคับทางไม่ทัน จะต้องเกิดการปะทะวิทยายุทธในบทที่ว่าด้วยการขับรถจี้ติดและเบียดแทรกกันบนถนน ซึ่งอาจจะตามมาด้วยการชูนิ้ว (ซึ่งแน่ๆไม่ใช่นิ้วโป้งที่หมายความว่า นายแน่มาก :b4: :b4: ) หรือหนักกว่านั้นคือ เบียดกันจนบุบไปข้าง ต้องเปิดประตูลงมาปะทะวิทยายุทธกันต่อบนท้องถนน :b33: :b33: :b34: :b34:

แต่ผู้ที่ได้สดับพระธรรมของบรมครูและฝึกสติมาดีแล้วระดับหนึ่ง :b8: :b8: :b8:

๑) ให้ใช้สติและสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) :b46:

๒) ดูตรงๆเข้าไปที่สภาวะแห่งความโกรธ คืออาการปี๊ดขึ้นมาในจิต คืออาการของขึ้น อัดแน่นพร้อมระเบิดให้ฝ่ายตรงข้ามพินาศกันไปข้าง :b33: :b34: พร้อมทั้งอาการของกายภายนอก ได้แก่ ความแน่นในอก หัวใจเต้นเร็วและแรง มือไม้สั่น หน้าแดง :b33: :b33: (ทุกข์ให้รู้ ซึ่งทุกข์ตรงนี้ คือสภาวะที่จิตโดนบีบคั้นให้กวัดแกว่งหลุดออกจากสภาวะที่มีจิตตั้งมั่น เป็นทั้งอาการที่จิตถูกบีบคั้น (ทุกขัง) และเกิดความไม่สบายในจิต (ทุกขทุกข์) หรือในอีกมุมหนึ่ง คือการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ (= ชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ - ความเกิดขึ้นแห่งตัวตนที่ถูกกระทบ) ซึ่งก็คือทุกข์ (ชาติปิทุกขา) ในทุกขอริยสัจจ์) :b46: :b46:

๓) โดยไม่วกเข้าไปดูเหตุที่ทำให้โกรธ คือ อย่าไปจดจ้องกับการปาดหน้าเบียดแทรกของอีกฝ่ายที่อยู่ตรงหน้า และการปรุงแต่งจินตนาการในหัว (สัญญา + สังขาร) ถึงการที่จะได้แก้แค้น i-หมอนั่น (สมุทัยให้ละ คือความไม่อยากให้คู่กรณีเกิดขึ้นหรือคงอยู่ = วิภวตัณหา -> อันนำให้เกิด -> โทสะ) :b46: :b46:

๔) ถ้ามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง ตามดูสภาวะแห่งความโกรธได้นานพอที่จะไม่แว๊บไปคำนึงถึงเหตุ คือคู่กรณีที่อยู่ตรงหน้านั้นแล้ว จะเห็นสภาวะของความโกรธ คืออาการปี๊ดขึ้นมาในจิต คืออาการของขึ้น อัดแน่นพร้อมระเบิดให้ฝ่ายตรงข้ามพินาศกันไปข้าง พร้อมทั้งอาการของกายภายนอก ได้แก่ ความแน่นในอก หัวใจเต้นเร็วและแรง มือไม้สั่น หน้าแดง ฯลฯ ค่อยๆมอดลงและดับไปได้เองเหมือนไฟที่หัวเตาแก๊สตอนปิดวาล์วแก๊สที่ถัง เพราะหมดเหตุตามลักษณะสามัญของเขา จิตจะตั้งมั่น เป็นกลาง เบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ควรค่าแก่การใช้งานเพื่อคิดหาทางแก้ไขสถานการณ์ให้ไม่เกิดโทษ คือไม่เจือไปด้วยโทสะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแกว่งแห่งจิต (โทสะ + โมหะ) และตามมาด้วยการกระทำที่รุนแรง ขาดสติ

เช่นกันครับ หัดแรกๆอาจจะดูยากหน่อย เพราะจิตเจ้ากรรมชอบกลับไปจมแช่อยู่กับเหตุ คือยังไปจดจ่ออยู่กับความแค้นที่โดนเบียดปาดหน้า และการปรุงแต่งจินตนาการ (สัญญา + สังขาร) ถึงความอยากให้อีกฝ่ายพินาศ มากกว่ามีสมาธิจดจ่อตามรู้แต่ในสภาวะที่จิตแกว่งไหว ทำให้ทุกข์จากโทสะ คือการถูกกระทบบีบคั้นแล้วจิตแอ่นอกเอาตัวเองเข้าไปรับการถูกกระทบและยกแบกความอึดอัดคับข้องนั้นไว้ ไม่ดับให้เห็นเพราะเหตุไม่ดับ แถมยังจะทับถมทวีเพราะจิตไม่ยอมปล่อยเหตุ :b1: :b46: :b46:

ปล. แต่ถ้าสถานการณ์ภายในใจของเรายังไม่เอื้อให้เจริญสติแก้ทุกข์ด้วยปัญญาได้ ก็ต้องหาทางแก้ด้วยวิธีอื่นที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำด้วยเหมือนกันก่อนนะครับ เช่น ใช้องค์ธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน (ตทังคปหาน) แก้ไขกดข่มโทสะ ได้แก่ การแผ่เมตตา ด้วยการคิดในใจว่า ไปที่ชอบที่ชอบเถอะพ่อคุณ อะไรประมาณนั้นนะครับ :b13: :b13: :b46: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 00:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ลองมาต่อกันในส่วนของการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป :b8: :b46: :b46:

จริงๆแล้วการปฏิบัติแนวนี้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของการบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมีสมถะเป็นเบื้องหน้าในวิธีที่ ๑ นั่นเอง เพราะเป็นการพิจารณาไตรลักษณ์ของการปรุงแต่งจิตในฌานสมาบัติขั้นต่างๆ (จิตสังขาร คือเจตสิกที่เกิดร่วมในฌาน เป็นอเนญชาภิสังขาร) :b46: :b46:

โดยในอรรถกถาท่านใช้คำว่า เข้าสมาบัติถึงไหน พิจารณาสังขารถึงนั่น พิจารณาสังขารถึงไหน ก็เข้าสมาบัติถึงนั่น (ยกเว้นในสัญญาเวทยิตนิโรธและในอรูปฌานที่ ๔ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ที่ต้องออกจากสมาบัตินั้นก่อนแล้วจึงพิจารณาได้ เพราะไม่มีสัญญาหรือสัญญาอ่อนมากเกินกว่าจะอยู่ในฌานแล้วพิจารณาได้) :b45: :b46: :b41:

ซึ่งมีหลักฐานการบำเพ็ญด้วยแนวทางนี้ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเล่าให้เห็นถึงการบรรลุธรรมขององค์พระสารีบุตรในอนุปทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ :b8:

“... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่งอยู่
ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตนฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ
เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า
ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ ...”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งในพระสูตร ระบุวิธีการไว้ชัดเจนว่า ให้พิจารณาธรรม (เจตสิกต่างๆ) ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมและดับไปในฌานต่างๆ ไม่ยินดี (อภิชฌา) ยินร้าย (โทมนัส) จนกิเลสไม่อาศัย พ้นการปรุงแต่ง (พ้นวิเศษ) เข้าสู่สภาวะสูญตา เป็นหนึ่งเดียวกับธรรม (มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่) :b46: :b45: :b41:

ซึ่งตามความรู้ของวิสุทธิปาละเองนั้น (ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง) ผู้ปฏิบัติที่สามารถพิจารณาไตรลักษณ์ของเจตสิกและอารมณ์ทั้งในรูปฌานและอรูปฌานได้นั้น (โดยเฉพาะในอรูปฌาน ซึ่งมีความละเอียดเป็นอย่างยิ่ง) ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาทำลายกิเลสมากจริงๆระดับพระพุทธเจ้า หรือพระสารีบุตร (ตามที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวยกย่องพระสารีบุตรไว้ในตอนต้น และตอนท้ายของพระสูตร) :b8: :b39: :b44:

เนื่องเพราะการพิจารณาให้เห็นถึงสภาวะบีบคั้น แปรปรวน หรือทุกข์ในองค์ฌาน โดยเฉพาะอรูปฌานที่มีความละเอียดมากๆนั้น เป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าหรือพระสารีบุตรเอง ทรงมีปัญญาพิจารณาเห็นได้ดังที่ปรากฏในบางพระสูตรที่ท่านใช้คำว่า อาพาธ (สิ่งรบกวน หรือสิ่งเบียดเบียน) เพื่อแสดงถึงอาการแห่งความแปรปรวน เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ในองค์ฌานขั้นต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นที่สูงกว่า :b46: :b46: :b46:

สำหรับผู้ปฏิบัติที่ได้ฌานแต่ไม่มีปัญญาถึงระดับนั้นแล้ว ให้บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปโดยพิจารณาไตรลักษณ์ขององค์ธรรมที่เกิดขึ้นแค่ในรูปฌานก็เพียงพอกับการบรรลุธรรมแล้วครับ :b1: :b46: :b51:

ซึ่งนั่นคือการปฏิบัติอานาปานสติในจตุกกะที่ ๑, ๒, และ ๓ นั่นเอง โดยเฉพาะการพิจารณาสุขเวทนาในจตุกกะที่ ๒ (เวทนานุปัสสนา) ซึ่งเป็นองค์ธรรมที่หยาบกว่า สามารถรู้เห็นถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้ง่ายกว่าเอกัคคตาและอุเบกขาเจตสิกในฌาน ๔ และอรูปฌาน :b46: :b45: :b41:

เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการพิมพ์ ขอตัดบางส่วนที่เคย reply ไว้ในกระทู้ 33984.ขบวนการของเวทนาเป็นอย่างไร + แก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=33984

ตามนี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณาเวทนา โดยใช้สมาธินำเพื่อให้เกิดวิปัสสนาปัญญา (หรืออีกนัยหนึ่ง คือการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป) ขอแนะนำเพิ่มเติมด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในอานาปานสติสูตรครับ เป็นการปฏิบัติแบบสุขาปฏิปทาด้วย แต่ยากหน่อยที่ต้องเข้าอัปปนาสมาธิให้เกิดฌาน :b46: :b46: :b46:

คือทำสมาธิก่อนให้เกิดกำลัง รู้กองลมผ่านฌาน ๑ จนเกิดฌาน ๒ มีปีติ รู้ชัดในปีติ เกิดเอโกธิภาวะหรือจิตผู้รู้ จนล่วงเข้าฌาน ๓ มีสุข รู้ชัดในสุข และรู้การปรุงแต่งของสุขในจิต (กำหนดรู้จิตสังขาร) จนรู้ชัดถึงการดับของการปรุงแต่งสุขในจิต (ระงับจิตสังขาร) นั่นคือล่วงเข้าฌาน ๔ ครับ ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านปีติโสมนัสเวทนาเหล่านี้ ถ้าอบรมจิตจนความรู้แก่รอบพอ จิตจะเกิดปัญญาจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) ขึ้นมาเอง และตัดสังโยชน์ได้ด้วยตัวจิตเอง :b39: :b39: :b39:

เคยมีท่านหนึ่งที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวเล่าว่า ระหว่างทำสมาธิผ่านฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ จนล่วงเข้าฌานที่ ๓ อันมีโสมนัสเวทนาเป็นองค์ฌานเด่น กำหนดตามรู้ชัดอยู่ในสุขอยู่ดีๆ เกิดภาวนามยปัญญารู้แจ้งขึ้นมาเอง (อะไรผุดขึ้นมา จิตจะกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติตามที่องค์หลวงตาบัวท่านกล่าว หรืออีกนัยหนึ่งคือ จิตภาวนาของเขาเอง) :b1: :b46: :b46: :b41:

คือจิตดวงใหม่เห็นจิตดวงเก่าที่กำลังเสวยโสมนัสเวทนา เหมือนเห็นคนกำลังกินอาหารอร่อย โดยเห็นจิตแยกไปทาง เวทนาก็แยกไปทาง โดยเวทนาปรุงแต่งจิต (จิตสังขาร) และจิตกำลังบริโภคเวทนา จิตก็อ๋อของเขาเองว่า จิตก็ไม่ใช่เรา เวทนาก็ไม่ใช่เรา ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นและดับไปตามเหตุและปัจจัย ปัญญาเกิดขึ้น ความสว่างเกิดขึ้น สักกายทิฏฐิก็ขาดลงตรงนี้เอง :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเห็นได้ว่า ไม่มีการใช้ความคิดซึ่งเป็นจินตามยปัญญา ในกระบวนการปฏิบัติของภาวนามยปัญญานะครับ (แต่การคิดก็จำเป็นที่จะต้องสะสมในขั้นต้นก่อนการปฏิบัติ) แต่จะเป็นการให้จิตรู้เวทนาตามสภาวะความเป็นจริงลงในไตรลักษณ์ไปเรื่อยๆจนถึงจุดที่เหมาะสมแล้ว จิตจะภาวนาของเขาเอง รู้เห็นและตัดสินความเป็นจริงได้ด้วยจิตเองครับ โดยที่ไม่ต้องรู้กระบวนการเกิดของสุขหรือทุกข์เวทนามาก่อนเลย :b46: :b46: :b46:

ซึ่งกระบวนการเกิดของเวทนาในมุมเจาะลึกของพระอภิธรรมที่เน้นในเรื่องของวิถีจิตและจิตตุปาทะซึ่งเริ่มจากภวังค์จิตไหว จิตเปิดทวารเกิดผัสสะ (ปัญจทวาราวัชชนจิตทางทวาร ๕ หรือมโนทวาราวัชชนจติทางมโนทวาร ซึ่งจริงๆแล้วมีเวทนาเกิดร่วมด้วยแล้วตั้งแต่ต้นคืออุเบกขา แต่ไม่ได้เป็นเจตสิกเด่น) เรื่อยไปในวิถีต่อมาจนจิตเสพสุขทุกข์ – โสมนัสโทมนัสเวทนานั้น (ชวนะจิต .. ตทาลัมพนะจิต หรือฌานจิต ที่มีเวทนานั้นๆเป็นเจตสิกเด่น) :b39: :b44: :b43:

หรือแม้กระทั่งกระบวนการเกิดของเวทนาในมุมกว้างเน้นเหตุปัจจัยตามแนวปฏิจสมุปบาท ตั้งแต่อวิชชา ... สังขาร ... จนเวทนาเกิด และเป็นปัจจัยต่อไปเรื่อยจนทุกข์เกิด :b39: :b39: :b44:

ก็เป็นในแง่ของทฤษฎีหรือปวัตินัย คือความเป็นไปที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ในแง่ของปฏิบัตินัย ดังนั้น ไม่รู้ก็ได้ เพราะพระอรหันต์สมัยพุทธกาล ท่านก็ไม่ได้มีสัญญาตรงนี้มาก่อนที่จะฟังธรรมครั้งแรกแล้วบรรลุโสดาบัน (แต่ถ้ารู้ได้ก็ดีครับถ้ามีเวลาศึกษา เพราะสามารถนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ธรรมได้อีกอย่างพิศดารหลากหลาย) :b41: :b46:

ส่วนที่สำคัญกว่าในการนำไปใช้คือส่วนของปฏิบัตินัย ได้แก่มรรค ๘ อันมีสมถะและวิปัสนาภาวนา (สัมมาสมาธิ (ฌาน) & สัมมาสติ (สติปัฏฐาน ๔)) หรือตามความหมายอย่างเคร่งครัดได้แก่ วิปัสสนาภาวนา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) และสมถภาวนา (มรรคอีก ๖ องค์ที่เหลือ) เป็นองค์หลักในการปฏิบัติเพื่อรู้และคลายความยึดติด (อุปาทาน) ในเวทนาขันธ์ครับ :b8: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2011, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ดึกแล้ว ขอเวลาไปนั่งเรียบเรียงในส่วนของวิธีที่ ๔ คือการพิจารณาไตรลักษณ์ ข้ามอุทธัจจะในธรรม (ความฟุ้งในธรรม, วิปัสสนูปกิเลส) จนจิตตั้งมั่น หรือ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง :b8: :b42: :b39:

ซึ่งที่จริงแล้วก็คือหัวข้อย่อยในการหาทางแก้เมื่อปฏิบัติด้วยวิธีที่ ๑ และ ๒ จนเกิดวิปัสสนาญาณอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) แล้วเกิดความฟุ้งในธรรม (ธรรมมุธัจจ์ = ธรรม + อุทธัจจะ) นั่นเอง ซึ่งสามารถเทียบเคียงวิธีปฏิบัติตามบันทึกที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่ดูลย์เข้าในมรรคนี้ได้อย่างกลมกลืน โดยมีรายละเอียดของสภาวะที่เป็นผลของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ตามมาหลายประการ :b8: :b46: :b46: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2011, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโทษด้วยครับ ช่วงนี้มีกิจทางโลกให้ต้องบริหารจัดการให้ลุล่วงไปมากมายจริงๆ :b31: :b31: :b46: :b46:

ขอเพิ่มเติมตัวอย่างของการปฏิบัติสมถะโดยมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ว่าด้วยการพิจารณาความโกรธให้เกิดปัญญา ตามแก้ไขด้านบนไปก่อนครับ :b1: :b39: :b39:

แล้วจะมาสรุปในส่วนของมรรค ๔ ข้อสุดท้าย รวมถึงการปฏิบัติสำหรับการบรรลุอริยมรรค - อริยบุคคลในแต่ละขั้น ตามความรู้และหลักฐานที่พอจะมีปัญญาอธิบายได้นะครับ :b8: :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2011, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันในส่วนวิธีปฏิบัติของมรรคข้อที่ ๔ ที่องค์พระอานนท์ท่านว่าไว้ในปฏิปทาวรรคดังนี้ครับ :b8: :b46: :b46: :b46:

"… อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้ว สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป ..."


ซึ่งมีคำอธิบายขยายความอยู่ในส่วนท้ายของคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย) และในส่วนอรรถกถาไว้อย่างละเอียด :b45: :b46: :b44:
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=7564&Z=7861

โดยสรุปเป็นข้อปฏิบัติได้ว่า สำหรับผู้ที่ทำความเพียรจนได้วิปัสสนาญาณอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา คือสามารถพิจารณาได้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (ไตรลักษณ์) ของขันธ์ ๕ เป็นสัมมสนญาณ คือญาณที่ ๓ ในโสฬสญาณ) เมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ ลงในไตรลักษณ์ถึงจุดหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสมถะนำ หรือวิปัสสนานำ จิตจะรวมพรึบลงลงด้วยกำลังของวิปัสสนาญาณจนเกิดแสงสว่าง ปีติ ความสุขสงบ ฯลฯ :b8: :b39: :b39:

ซึ่งที่จริงแล้ว นี่เป็นหลุมล่อกับดักของเหล่านักปฏิบัติ ก็คือกิเลสอย่างละเอียดในวิปัสสนา (วิปัสสนูปกิเลส ๑๐) แต่ผู้ปฏิบัติหลงเข้าใจผิดว่าเป็นการบรรลุธรรม ซึ่งในความเป็นจริง ขณะที่กำลังพิจารณาไตรลักษณ์ในขันธ์ ๕ อยู่ก่อนหน้านั้น มีกิเลสละเอียดแทรกเข้ามาทำให้จิตทิ้งการพิจารณาไตรลักษณ์มาจับกับกิเลสละเอียดนี้เข้าก่อนเพราะเป็นสิ่งสวยงามชวนให้ยินดีพอใจ ติดใจเพลิดเพลิน (นิกนฺติ) :b22: :b46: :b41:

เป็นการตกหลุมพรางดังแอ๊กก่อนจะเข้าถึงการเห็นธรรมอย่างแจ่มแจ้ง เหมือนกับลิงที่กำลังดูส้มอยู่ในมือ (ไตรลักษณ์) แต่เมื่อมีคนโยนเปลือกกล้วย (วิปัสสนูฯ) เข้าไปให้ ก็ทิ้งผลส้มแล้วคว้าเอาเปลือกกล้วยด้วยนึกว่าเป็นของดี :b19: :b46: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 20 ม.ค. 2011, 23:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 79 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร