วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 90, 91, 92, 93, 94, 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2018, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ของท่านเจ้าประคุณอาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ. ปยุตโต ได้กล่าวถึงธรรมสมาธิ ๕ นี้ไว้ว่า :b46: :b47: :b42:

"ธรรม หรือคุณสมบัติ 5 ประการนี้ ตรัสไว้ทั่วไปมากมาย เมื่อทรงแสดงการปฏิบัติธรรมที่ก้าวมาถึงขั้นเกิดความสำเร็จชัดเจน ต่อจากนี้ ผู้ปฏิบัติจะเดินหน้าไปสู่การบรรลุผลของสมถะ (คือได้ฌาน) หรือวิปัสสนา แล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงใช้เป็นเครื่องวัดผลการปฏิบัติขั้นตอนในระหว่างได้ดี และเป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ"

นั้นคือ ผู้ปฏิบัติที่สามารถทำให้เกิดธรรมสมาธิ ๕ ได้ในชีวิตประจำวัน ในแง่ของสมถกรรมฐาน ก็จะก้าวไปถึงขอบของการที่จะได้ฌาน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้สามารถทรงฌานได้ในชีวิตประจำวันแล้ว และสภาวะที่ว่า มักจะเริ่มเกิดขึ้นในระดับโสดาบัน ที่มีกิเลสเบาบางมากลงไปกว่าปุถุชน และเริ่มเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อันแท้จริง :b48: :b49: :b48:

โดยผู้ปฏิบัติ จะมีสภาวะของธรรมสมาธิทั้ง ๕ ที่เริ่มเกิดได้บ่อยขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าการงานจะยุ่งยากแค่ไหน ชีวิตจะประสบกับสิ่งที่เคยไม่ชอบใจอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็จะเริ่มมีความสามารถในการคงความชื่นบาน เบิกบานใจ ร่าเริงผ่องใส ปีติอิ่มเอมใจ ผ่อนคลายสงบเย็น และมีจิตใจที่สงบตั้งมั่นอยู่ได้ถี่ขึ้น และยาวนานขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมีผัสสะเวทนาอะไรมากระทบก็ตาม :b50: :b48: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2018, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(แต่ในระดับโสดาบันนั้น จะยังคงมีความแกว่งของจิตอยู่สูงเมื่อกระทบกับผัสสะเวทนาที่ก่อให้เกิดราคะและปฏิฆะ โดยธรรมสมาธิทั้ง ๕ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติที่เป็นโสดาบันนั้น อยู่เฉยๆโดยไม่มีผัสสะเวทนาแรงๆเข้ามากระทบ :b46: :b47: :b42:

จวบจนผู้ปฏิบัติเข้าสู่สกทาคามี ที่มีราคะและปฏิฆะสังโยชน์เบาบางลงแล้วนั่นหล่ะครับ ถึงจะมีความสามารถในการคงธรรมสมาธิ ๕ คือมีความชื่นบาน เบิกบานใจ ร่าเริงผ่องใส ปีติอิ่มเอมใจ ผ่อนคลายสงบเย็น และมีจิตใจที่สงบตั้งมั่นอยู่ได้ถี่ขึ้น และยาวนานขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าการงานจะยุ่งยากแค่ไหน ชีวิตจะประสบกับสิ่งที่เคยไม่ชอบใจอย่างไร :b50: :b49: :b43:

จนกระทั่งผู้ปฏิบัติมีธรรมสมาธิทั้ง ๕ โดยเฉพาะข้อสุดท้ายคือ สมาธิ ที่ตั้งมั่นบริบูรณ์พร้อมในการใช้ชีวิตประจำวันเมื่อเข้าสู่ระดับอนาคามี ต่อเนื่องจนถึงระดับพระอรหันต์ ที่มีความชื่นบาน เบิกบานใจ ร่าเริงผ่องใส ปีติอิ่มเอมใจ ผ่อนคลายสงบเย็น และมีจิตใจที่สงบตั้งมั่นและเป็นกลางอยู่ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าการงานจะยุ่งยากแค่ไหน ชีวิตจะประสบกับสิ่งที่เคยไม่ชอบใจอย่างไร หรือไม่ว่าจะมีผัสสะเวทนาอะไรมากระทบก็ตาม) :b48: :b47: :b46:

ซึ่งเมื่อธรรมสมาธิ ๕ อันมีองค์ธรรมของฌานคือปีติและสุขประกอบอยู่ด้วยนั้น เกิดขึ้นได้บ่อยและยาวนานขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพระอริยะบุคคลระดับสกทาคามีขึ้นไปที่เป็นผู้ที่เข้าฌานได้ (ฌานลาภีบุคคล) ธรรมสมาธิ ๕ และ ฌานที่เข้าได้นั้น ก็จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัตินั้น มีความสามารถในการทรงฌานได้ในชีวิตประจำวันด้วย :b48: :b47: :b46:

โดยสภาวะของการทรงฌานในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นนั้น จะเหมือนกับสภาวะที่ผู้ปฏิบัติ พึ่งออกจากรูปฌาน ๑, ๒, ๓, หรือ ๔ มาใหม่ๆ คือเมื่ออยู่เฉยๆ กายสงบใจสงบ จิตก็จะทรงตัวอยู่ได้ โดยมี "รู้" เป็นวิหารธรรม อันอาจจะประกอบไปด้วยความปีติอิ่มเอิบ ความสุขสงบ หรือเบิกบานอุเบกขาอยู่เฉยๆ ตามลำดับฌานที่ทรงไว้ได้ :b48: :b49: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2018, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้ามีเรื่องให้ต้องทำงานต้องใช้ความคิด จิตก็จะถอยออกมาคิดและสั่งการกระทำต่อ โดยมีสังขารคือตัววิตกและวิจารปรากฎขึ้นมาทำงานคู่กับจิต แต่เป็นการทำงานที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานที่เหลืออีก ๓ ตัวของรูปฌานที่ ๑ คือปีติ สุข เอกัคคตา ปรากฏขึ้นมาด้วย :b46: :b47: :b42:

นั่นคือทำการทำงาน คิดงาน สั่งงาน บนพื้นฐานของจิตที่อิ่มเอิบปีติเบิกบานแจ่มใสเป็นสุข และจดจ่อต่อเนื่อง (เอกัคคตา) อยู่ในเนื้องานที่คิดที่ทำที่สั่งการกระทำนั้น นั่นเอง :b51: :b50: :b44:

ซึ่งตรงนี้ ผู้ปฏิบัติก็จะทำงานโดยมีสภาวะที่เหมือนกับพึ่งออกจากรูปฌานที่ ๑ มาใหม่ๆ คือมีองค์ของรูปฌานที่ ๑ อันได้แก่ การมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นพื้นฐานของการทำงาน :b51: :b50: :b49:

นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะทำงานโดยมีสมาธิที่จดจ่อต่อเนื่อง มีจิตใจที่ปีติสุขสงบเบิกบานแจ่มใส อันเกิดแต่ความสงัดจากกาม จากนิวรณ์ และอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหารธรรมของจิตขณะทำงาน ซึ่งมีประโยชน์ก็คือ สามารถเอาไว้ใช้ในการทำงานที่ต้องใช้ความคิด (วิตก วิจาร) ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพสูง โดยไม่เกิดความเครียดสะสมขึ้นในจิต :b53: :b45: :b40:

และเมื่อเสร็จกิจจากการงานที่ต้องใช้ความคิด จิตและสติของผู้ปฏิบัติก็กลับเข้าไปสู่ความสงบนิ่งอยู่ภายใน โดยผู้ปฏิบัติจะมีสภาวะที่พระบรมครูทรงเรียกว่า "เอโกธิภาวะ" ซึ่งจะเริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ในรูปฌาน ๒ ขึ้นไป แต่คราวนี้ สภาวะที่ว่า จะลามออกมาเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ด้วย สำหรับผู้ปฏิบัติที่อบรมสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้ว โดยที่ไม่ต้องทำสมาธิให้ได้ถึงรูปฌาน ๒ ก่อน
:b48: :b49: :b42:

ซึ่งในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ท่านพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบาย "เอโกธิภาวะ" นี้ไว้ว่า :b50: :b49: :b48:

"ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้

สมาธิใดเป็นเอกเกิดขึ้น ฉะนั้น สมาธินั้นชื่อว่า เอโกทิ แปลว่า เป็นเอกเกิดขึ้น อธิบายว่า เป็นธรรมล้ำเลิศ เป็นธรรมประเสริฐเกิดขึ้น เพราะไม่ถูกวิตกและวิจารขึ้นครอบงำ

จริงอยู่ บุคคลรู้ประเสริฐ เขาก็เรียกกันว่าเป็นเอกในโลก หรือจะพูดว่า สมาธิเป็นเอกคือไม่มีเพื่อน เพราะเว้นจากวิตกและวิจาร ฉะนี้บ้างก็ได้

ทุติยฌานประกอบด้วยองค์ ๓ ปีติ ๑ สุข ๑ จิตเตกัคคตา ๑ ความเอิบอิ่ม, ความสุข, และภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว ...

โยคีบุคคลนั้นได้บรรลุแล้วซึ่ง ทุติยฌาน อันเป็นภายใน ทำจิตให้เลื่อมใส เป็นภาวะที่ให้สมาธิชั้นเอกเกิดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไปแล้ว มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ

เจตโส เอโกทิภาวํ แปลว่า เป็นภาวะที่ให้สมาธิชั้นเอกเกิดขึ้นแก่ใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2018, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายด้วยภาษาง่ายๆของสายพระป่าได้ว่า ผู้ปฏิบัติที่อบรมสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้วนั้น จะเริ่มมี "ผู้รู้" คือจิตที่ประกอบไปด้วย (สหรคต - สหคตํ) สมาธิ (เอกัคคตาเจตสิก) ชั้นเอกที่เด่นดวง เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันในขณะที่จิตอยู่เฉยๆ คือในขณะที่ไม่ต้องทำงานใช้ความคิด (คือไม่ถูกวิตกและวิจารขึ้นครอบงำ) :b48: :b43: :b46:

ซึ่งปรกติ "ผู้รู้" หรือ "เอโกธิภาวะ" นี้ จะเริ่มมีได้ในฌาน ตั้งแต่รูปฌานที่ ๒ ขึ้นไป :b45: :b44: :b39:

ดังนั้น สภาวะที่มี "ผู้รู้" ผุดเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนี้ จะเป็นไปได้ทั้งการผุดเกิดขึ้นของผู้รู้ พร้อมกับการมีปีติที่อิ่มเอิบซาบซ่าน เบาสบายไปทั้งกาย ผุดเกิดร่วมขึ้นมาเหมือนกับพึ่งออกจากรูปฌาน ๒ มาใหม่ๆ :b50: :b51: :b53:

หรือมีการผุดเกิดขึ้นของผู้รู้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับการมีความสุขที่ฉ่ำเย็นทั้งกายใจ ผุดเกิดร่วมขึ้นมาเหมือนกับพึ่งออกจากรูปฌาน ๓ มาใหม่ๆ :b46: :b47: :b42:

หรือมีการผุดเกิดขึ้นของผู้รู้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับการมีจิตและสติที่บริสุทธิ์ สัมปชัญญะที่รู้ชัดแบบ 4K Ultra HD อันเกิดแต่อำนาจของอุเบกขา (ที่เป็นทั้งเวทนาเจตสิก และเป็นทั้งตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก คือความเป็นกลางปราศจากชอบชังแห่งจิต) และมีเอกัคคตารู้แบบตั้งมั่นในอารมณ์ปัจจุบันขณะอย่างต่อเนื่องและเป็นกลางโดยปราศจากอาการฟุ้ง เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ และเป็นเครื่องอยู่ของจิต ผุดเกิดร่วมขึ้นมาเหมือนกับพึ่งออกจากรูปฌาน ๔ มาใหม่ๆ :b44: :b43: :b39:

และสามารถที่จะทำให้สภาวะของการทรงฌานทั้ง ๔ ในชีวิตประจำวันที่ว่านี้ เกิดขึ้นได้บ่อย และสามารถที่จะคงสภาวะที่ว่านี้ให้เกิดขึ้นได้อย่างยาวนานต่อเนื่อง จนเป็นวิหารธรรมในชีวิตประจำวันได้ ตามลำดับขั้นของการบรรลุธรรมนะครับ :b1: :b46: :b39:


แล้วมาลงรายละเอียดในสภาวะของการทรงฌานที่เป็นอารัมมณูปนิชฌาน ตามลำดับขั้นของการบรรลุธรรมกันในคราวหน้า :b44: :b39: :b40:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2018, 19:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ
ความสงบระงับจิตของอริยชน มีธรรมชาติเป็นปกติจะสั่นไหวบ้างเมื่อมีการกระทบผัสสะที่แรง
แต่เนื่องจากคุณภาพของจิตที่มีการตัดกระแส จึงทำให้อารมณ์ไม่รุนแรงนัก และสงบโดยเร็ว
จึงเป็นจิตที่มีความปลอดภัยระดับหนึ่ง การเกิดดับที่มีความละเอียดมากขึ้น ส่งผลให้สมาธิเข้าถึงฌานจิต
มีวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ ได้ตามปารถนาและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อกันที่รายละเอียดในสภาวะของการทรงฌานที่เป็นอารัมมณูปนิชฌาน ตามลำดับขั้นของการบรรลุธรรมกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งสำหรับปุถุชนผู้ที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน การทรงฌานในชีวิตประจำวันอันเนื่องมาจากอิทธิพลของฌานสมาธิก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ตามปรกติของผู้ที่เข้าฌานได้ แต่ความเข้มแข็งคมชัดและระยะเวลาที่ทรงฌานอยู่ได้ เมื่อเทียบกับการทรงฌานในชีวิตประจำวันของอริยบุคคลซึ่งเกิดมาจากอิทธิพลของทั้งศีลที่สมบูรณ์ ฌานสมาธิที่พัฒนาขึ้น รวมถึงโลกุตรปัญญาที่ได้มาตามระดับขั้นของการบรรลุธรรมนั้น จะมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก :b50: :b44: :b40:

โดยทั้งปุถุชนและอริยบุคคลผู้ที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน ถึงแม้ว่าจะทำสมาธิได้ถึงอรูปฌาน ๔ ก็ตาม การทรงฌานในชีวิตประจำวันที่ได้ ก็จะสามารถทรงฌานได้เพียงแค่รูปฌาน ๔ เท่านั้น เนื่องจากว่า อารมณ์ในอรูปฌานนั้น ไม่มีขันธ์ที่เป็นรูป ทั้งอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) และอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ให้รับรู้ได้เลย ทำให้อรูปฌานทั้งหมด ไม่สามารถมีอิทธิพล ส่งผลลามออกมาปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่ต้องใช้ทั้งอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลื่น รส สัมผัส) และอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ในการรับรู้โลกได้ :b47: :b46: :b42:

ส่วนอริยบุคคลที่ไม่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน แต่เป็นอริยบุคคลในระดับสกทาคามีขึ้นไปนั้น ด้วยกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ฝึกมาดีแล้ว ถึงแม้ว่าจะทำสมาธิให้ถึงฌานไม่ได้ แต่สภาวะที่เหมือนกับสภาวะที่ออกมาจากรูปฌานมาใหม่ๆ คือสภาวะที่ประกอบไปด้วยเจตสิกอันเป็นองค์ของฌานอันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา และอุเบกขา (ซึ่งจะประกอบด้วยเจตสิกอันไหน ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะที่เหมือนกับสภาวะที่ออกจากรูปฌานมาใหม่ๆนั้นว่าอยู่ในระดับฌานไหน) ก็สามารถเกิดร่วมขึ้นมาได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน :b50: :b49: :b48:

โดยเฉพาะสภาวะที่จิตมีสมาธิแน่วแน่แบบสบายๆอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ได้ตลอด (เอกัคคตาที่เป็นเอโกธิภาวะ) ซึ่งถ้าอยู่ในฌาน จะเกิดขึ้นได้ในระดับรูปฌานที่ ๒ ขึ้นไป หรือถ้าอยู่นอกฌาน ก็คือสิ่งที่สายพระป่าเรียกว่า สภาวะที่มี "ผู้รู้" ปรากฎเกิดขึ้นด้วยกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็งนั่นหล่ะครับ เพียงแต่ว่า ความเข้มแข็งคมชัดและระยะเวลาที่ทรงฌานอยู่ได้ จะแตกต่างกันในระหว่างสกทาคามีไปอนาคามี และอนาคามีไปพระอรหันต์ และต่างจากอริยบุคคลที่สามารถทำสมาธิให้ถึงฌานได้นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเริ่มลงรายละเอียดในระดับปุถุชนผู้ที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌานกันก่อน :b51: :b49:

โดยในระดับปุถุชนผู้ที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌานแล้วนั้น สภาวะที่ปรากฎเกิดขึ้นในขณะเข้าฌาน จะติดออกมาด้วยหลังจากออกจากฌานเข้ามาสู่การใช้ชีวิตประจำวัน แต่ทั้งนี้ ความเข้มข้นของสภาวะ และระยะเวลาที่ทรงอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับว่า ปุถุชนผู้นั้น มีผัสสะเวทนาที่มากระทบแล้วทำให้เกิดนิวรณ์อันได้แก่ :b46: :b47: :b48:

๑) ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง (กามฉันทะ)
๒) ความไม่พอใจ ความขัดเคือง จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง (พยาบาทะ)
๓) ความหดหู่ เซื่องซึม ขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม (ถีนมิทธะ)
๔) ความคิดเหม่อลอย ฟุ้งซ่าน ซัดส่าย ไม่สงบนิ่ง (อุทธัจจะ กุกกุจจะ)
๕) ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ (วิจิกิจฉา)

เข้ามากระทบมากน้อยแค่ไหนในระหว่างวัน ซึ่งถ้าบวกกับสภาวะและความชำนาญความแคล่วคล่องในฌาน หรือวสีในฌานยังไม่แก่กล้าเพียงพอแล้ว เพียงแค่ความฟุ้งในจิตหรืออุทธัจจะเพียงเล็กน้อยหลังออกจากฌานได้เพียงไม่กี่นาที ก็พอเพียงแล้วที่จะทำให้ความสามารถในการทรงฌานในชีวิตประจำวันนั้น จางหายออกไปได้อย่างง่ายดายนะครับ :b1: :b46: :b39:

อันนี้ยังไม่ต้องพูดถึงผัสสะเวทนาชนิดปานกลางหรือรุนแรงที่เข้ามากระทบอยู่อย่างเป็นปรกติในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งสำหรับปุถุชนมือใหม่ผู้เข้าฌานได้ ทั้งพระทั้งฆราวาส ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสมาธิในยุคนี้ นอกจากจะมีความสามารถในการเข้าฌานกันได้อย่างน้อยคนลงไปมากๆแล้ว ยังมีความสามารถที่จะทรงฌานได้ในชีวิตประจำวันกันได้อย่างน้อยคนลงไปอีก อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในยุคสมัยปัจจุบัน ที่ผู้ปฏิบัติต้องดิ้นรนทำมาหากินภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยแสงสีเสียงข่าวสารความวุ่นวายการกระทบกระทั่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นผัสสะเวทนาอันก่อให้เกิดนิวรณ์อยู่ได้รอบตัวชนิดตลอดเวลา :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังมีข้อยกเว้นสำหรับปุถุชนผู้ปฏิบัติทั้งพระและฆราวาสที่มีของเก่าติดตัวมาแต่เดิมและมีความตั้งใจเอาจริงเอาจัง ด้วยการปลีกวิเวกแบบพระสายวัดป่าที่อยู่ภายใต้วัตรปฏิบัติอันเข้มข้น

นั่นคือ ตัดเครื่องผูกพันเครื่องหน่วงเหนี่ยวอันเป็นเหตุให้ใจพะวักพะวนห่วงกังวล หรือเหตุกังวลข้อติดข้องต่างๆ (ปลิโพธ) ตัดสิ่งกระตุ้นผัสสะเวทนาอันก่อให้เกิดนิวรณ์อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ แทปเบล็ต วิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่การสนทนากับญาติโยมหรือพระสหธรรมมิกด้วยกันเองในเรื่องทั่วไปที่ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระธรรมวินัยออกไปให้หมด เหลือแต่กายใจและปัจจัยสี่เท่าที่จำเป็น ภายใต้อริยกันตศีลอันเป็นไปเพื่อสมาธิ (อริยกนฺเตหิ สีเลหิ สมนฺนาคโต โหติ สมาธิสํ วตฺตนิเกหิ) และสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและทางธรรมชาติที่เอื้อให้เกิดความสงบสัปปายะในการฝึกปฏิบัติ จนเกิดความชำนาญแคล่วคล่องในฌาน หรือวสีในฌานนั่นหล่ะครับ ถึงจะสามารถทำให้เกิดการทรงฌานขึ้นในชีวิตประจำวันได้
:b50: :b49: :b48:

(ปลิโพธ เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพะวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง;

ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่
๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก
๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ
๔. คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ
๕. กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง
๖. อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ
๗. ญาติปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น
๘. อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง
๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน
๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม
(ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)

สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย — suitable things; things favorable to mental development)

1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ — suitable abode)
2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป — suitable resort)
3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ — suitable speech)
4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ — suitable person)
5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก — suitable food)
6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น — suitable climate)
7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี — suitable posture)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ. ปยุตฺโต อ้างอิงจากคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ โดย พระพุทธโฆษาจารย์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น สำหรับปุถุชนไม่ว่าพระหรือฆราวาส ถ้ามีความเพียรและความตั้งใจจริงในการปลีกวิเวกออกไปฝึกสมาธิ ก็มีสิทธิที่จะทำสมาธิได้ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือขั้นฌาน และยิ่งถ้าฝึกปฏิบัติจนมีความชำนาญในฌาน หรือมีวสีในฌานได้มากเท่าไหร่ ความสามารถในการทรงฌานในชีวิตประจำวัน ก็จะมีได้มากเท่านั้น และฌานที่ทรงไว้ได้ จะมีความคงทนต่อผัสสะเวทนาที่ก่อให้เกิดนิวรณ์ได้มากขึ้น :b48: :b47: :b46:

(วสี ๕ คือ ความชำนาญแคล่วคล่องในฌาน ๕ ประการ

๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว
๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที
๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตนั้นตกภวังค์
๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ
๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน)

และยิ่งกว่านั้น ถ้าผู้ปฏิบัติมีเวลาปฏิบัติสมาธิจนเข้าถึงฌานได้เช้าเย็นเป็นประจำทุกวันแล้ว ก็จะเหมือนกับแบตเตอรี่มือถือที่ได้รับการชาร์จอยู่ทุกวัน การทำงานหรือการทรงฌานในชีวิตประจำวันก็จะกระทำได้ หรือทรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน มิฉะนั้นแล้ว ถ้าไม่มีการเข้าฌานเพื่อไปชาร์จแบตฯอย่างต่อเนื่อง การทรงฌานในชีวิตประจำวันก็อาจจะทรงอยู่ได้แค่วันสองวัน จากนั้นก็จะค่อยๆเสื่อมลงไปอันเนื่องมาจากผัสสะเวทนาที่เข้ามากระทบ แล้วทำให้เกิดนิวรณ์อันทำให้ผู้ปฏิบัติเสื่อมจากการทรงฌานในชีวิตประจำวันลงไป จนกว่าจะทำสมาธิเข้าฌานเพื่อไปชาร์จแบตฯใหม่ :b49: :b50: :b51:

ส่วนผู้ปฏิบัติที่เป็นอริยบุคคลในระดับโสดาบันแล้วนั้น ถ้าไม่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน ก็จะไม่สามารถที่จะทรงฌานได้ในชีวิตประจำวัน อันเนื่องมาจากองค์ธรรมพื้นฐานอันได้แก่สติสัมปชัญญะและสมาธิ ยังไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะสร้างผู้รู้อย่างที่ปรากฎเกิดขึ้นในฌาน ให้ปรากฎเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ ถึงแม้ว่าจะมีโลกุตรปัญญาที่เหนือกว่าปุถุชนแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงโลกุตรปัญญาแค่ขั้นต้น ซึ่งเพียงพอแค่ทำให้เกิดการทรงลักขณูปนิชฌาน ที่มีอนิจจังหรือความไม่เที่ยงเกิดดับเป็นอารมณ์ที่ทรงอยู่ หรือระลึกอยู่ได้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนผู้ปฏิบัติที่เป็นอริยบุคคลในระดับโสดาบันที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน ก็จะมีความสามารถในการทรงฌานในชีวิตประจำวันได้ตามลำดับขั้นของรูปฌานที่เข้าถึง ซึ่งถ้าสามารถทำสมาธิได้ตั้งแต่รูปฌานที่ ๒ ขึ้นไป ก็จะมี "ผู้รู้" เกิดปรากฎขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน :b47: :b46: :b42:

โดยสภาวะของผู้รู้ที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้นมาจากอิทธิพลของทั้งศีลที่สมบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่พัฒนาขึ้น สมาธิระดับฌานที่เข้มแข็ง รวมถึงโลกุตรปัญญาที่ได้มาในระดับโสดาบัน ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น รู้ในผัสสะเวทนาที่เข้ามากระทบในชีวิตประจำวันได้อย่างละเอียด คมชัด มีความสุขุม นิ่ง หนักแน่น และเป็นกลางในอารมณ์ต่อผัสสะเวทนาที่มากระทบได้ดีกว่าผู้ปฏิบัติที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌานแต่ยังเป็นปุถุชนอยู่ :b49: :b48: :b47:

และด้วยอำนาจของศีลที่สมบูรณ์ดีแล้วในระดับโสดาบัน สติสัมปชัญญะที่พัฒนาขึ้น บวกกับอำนาจของโลกุตรปัญญาในระดับโสดาบันที่เกื้อหนุนสมาธิในระดับฌานที่ทำได้ตามที่กล่าวมาแล้ว ทำให้สมาธิในระดับฌานที่ทำได้นั้น สร้างเสริมให้เกิดเอกัคคตาเจตสิก (ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวแห่งจิต) และตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก (ความเป็นกลางแห่งจิตต่ออารมณ์ที่เข้ามากระทบ) ที่เข้มแข็ง ซึ่งส่งผลให้ระดับของฌานที่เข้าถึงนั้น มีความแข็งแรงคมชัด และอยู่ได้ยาวนาน ทนทานต่อผัสสะเวทนาอันก่อให้เกิดนิวรณ์ได้ดีกว่าในปุถุชนที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน ทั้งการทำสมาธิในรูปแบบ และการทรงฌานในชีวิตประจำวันนะครับ :b1: :b46: :b39:

ส่วนอริยบุคคลในระดับสกทาคามีที่ไม่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน การทรงฌานในชีวิตประจำวันนั้น สามารถจะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุปัจจัยสามประการอันได้แก่ ศีลที่สมบูรณ์ดีแล้วตั้งแต่ในระดับโสดาบัน, กำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่แก่กล้าขึ้น, และสังโยชน์ข้อราคะและปฏิฆะที่เบาบางลงไป อันทำให้นิวรณ์ที่เป็นอุปสรรคของสมาธินั้นลดลง จนจิตตั้งมั่นเกิดสมาธิได้ง่ายขึ้น หนักแน่นขึ้น และลึกขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งแรกๆที่ก้าวเข้าสู่สกทาคามีใหม่ๆ การทรงฌานในชีวิตประจำวันก็จะเป็นในลักษณะไม่ประติดประต่อ เกิดสภาวะผู้รู้ได้เพียงชั่วครู่ชั่วคราวแล้วก็จางหายไป โดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในบางขณะที่จิตสงบภายใต้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่เอื้ออำนวย เช่น ขณะไปเที่ยวชมธรรมชาติอันสงบงาม สภาวะของผู้รู้ก็อาจจะสามารถปรากฎเกิดขึ้นมาได้ด้วยกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็งขึ้นมากกว่าในระดับโสดาบัน และกิเลสนิวรณ์ที่ลดลงไปอย่างมากในระดับสกทาคามี :b46: :b47: :b42:

โดยสภาวะของผู้รู้และการทรงฌานในชีวิตประจำวันดังกล่าว ก็จะมีการพัฒนาตัวและเกิดปรากฎได้บ่อยขึ้นและยาวนานขึ้นในระดับสกทาคามีช่วงปลายๆที่กำลังเพียรปฏิบัติเพื่อก้าวข้ามไปสู่ระดับอนาคามี :b46: :b47: :b46:

ส่วนอริยบุคคลในระดับสกทาคามีที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน การทรงฌานในชีวิตประจำวันนั้น นอกจากจะเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจแห่งฌานที่ตามติดออกมาในชีวิตประจำวันแล้ว อำนาจของเหตุปัจจัยอีกสามประการที่กล่าวถึงไปแล้วอันได้แก่ ศีลที่สมบูรณ์ดีแล้วตั้งแต่ในระดับโสดาบัน, กำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่แก่กล้าขึ้น, และสังโยชน์ข้อราคะและปฏิฆะที่เบาบางลงไป ก็จะมีอิทธิพลส่งผลให้อริยบุคคลในระดับสกทาคามีที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌานนั้น สามารถทรงฌานในชีวิตประจำวันได้อย่างเข้มแข็ง ยาวนานต่อเนื่อง และทนทานต่อผัสสะเวทนาที่ทำให้เกิดนิวรณ์ได้มากขึ้นกว่าอริยบุคคลในระดับสกทาคามีที่เข้าฌานไม่ได้ :b51: :b50: :b49:

โดยสภาวะของการทรงฌานและสภาวะของผู้รู้ที่เกิดขึ้นมาในการใช้ชีวิตประจำวันของอริยบุคคลในระดับสกทาคามีที่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌานนั้น จะเกิดขึ้นได้เกือบตลอดทั้งวัน ซึ่งในขณะทำงานที่ต้องใช้อายตนะในการรับรู้โลกเพื่อจะเอามาประมวลผลโดยใช้ความคิดและสั่งการกระทำต่อผ่านทางกายและวาจานั้น ก็จะเต็มเปี่ยมไปด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิ ทำให้เกิดความคมชัดทั้งภาคการรับรู้ ภาคประมวลผล และภาคสั่งการกระทำต่อ โดยอยู่บนพื้นฐานของความสงบเบิกบานและเป็นกลางแห่งจิต :b49: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งนั่นก็คือสภาวะที่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบผัสสะเวทนาใดก็รู้ชัด ความคิดเกิดขึ้นก็รู้ชัด ความคิดดับไปก็รู้ชัด การสั่งการกระทำต่อ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวทางกายในส่วนต่างๆ หรือการใช้วาจาสื่อสาร ก็จะเกิดความรู้ชัด เต็มเปี่ยมไปด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิในทุกการที่กระทำ และทุกคำที่พูด ที่สื่อสารออกมา :b48: :b49: :b44:

ผู้ปฎิบัติ จะมีความนิ่ง หนักแน่น และเป็นกลางทางอารมณ์สูง โดยเฉพาะในระดับสกทาคามีที่เข้าฌานได้ในช่วงปลายๆที่จะก้าวข้ามเข้าสู่ระดับอนาคามีนั้น การทรงฌานในชีวิตประจำวันและอาการของการ "รู้ชัด" บวกกับความนิ่ง และหนักแน่นทางอารมณ์นี้ แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:

ส่วนสภาวะหลังจากจิตออกไปทำงานทำการเสร็จแล้ว จิตเขาก็จะกลับเข้ามาสู่ความสงบตั้งมั่น อันอาจจะประกอบไปด้วยปีติ สุข หรือเบิกบานอุเบกขา รู้อยู่ในรู้ ตามแต่ระดับฌานที่ทรงไว้ได้ โดยสภาวะที่ว่านี้ ก็จะเป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหารธรรมของจิตเป็นส่วนใหญ่ในขณะที่จิตไม่ได้ออกไปทำงานทำการ :b49: :b48: :b47:

ส่วนการทรงฌานในชีวิตประจำวันที่เป็นอารัมมณูปนิชฌานในระดับอนาคามีนั้น ไม่ว่าผู้ปฎิบัติจะสามารถทำสมาธิได้ถึงฌานหรือไม่ก็ตาม ต่างก็จะมีความสามารถในการทรงฌานได้จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันด้วยกันทั้งคู่ ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุปัจจัยสามประการ อันได้แก่ ศีลที่สมบูรณ์ดีแล้วตั้งแต่ในระดับโสดาบัน, กำลังของสติสัมปชัญญะ โดยเฉพาะสมาธิที่แก่กล้าบริบูรณ์เต็มที่แล้ว, และสังโยชน์ข้อราคะและปฏิฆะที่ถูกกำจัดลงไปได้ด้วยโลกุตรปัญญา ทำให้กิเลสนิวรณ์ข้อกามฉันทะ, พยาบาทะ, ถีนมิทธะ, และวิจิกิจฉา ถูกกำจัดออกไปหมดจนเหลือเพียงข้อเดียวคืออุทธัจจะซึ่งก็เบาบางลงไปมากแล้ว :b49: :b50: :b44:

โดยผลรวมของทั้งหมด ก็จะมีอิทธิพลส่งผลให้อริยบุคคลในระดับอนาคามี ไม่ว่าจะเข้าฌานได้หรือไม่ก็ตาม สามารถทรงฌานได้ในชีวิตประจำวัน โดยมีผู้รู้ปรากฎเกิดขึ้นมาคุ้มครองจิตให้สว่างไสวเด่นดวงอยู่ได้อย่างเป็นปรกติตลอดเวลา :b46: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และด้วยสังโยชน์ข้อราคะและปฏิฆะที่หายไปในระดับอนาคามี บวกกับการผ่านการฝึกสติสัมปชัญญะอย่างเข้มข้นจนทำให้เกิดสมาธิที่บริบูรณ์เต็มที่แล้วนี้นั้น ก็จะทำให้สภาวะการทรงฌานที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของระดับอนาคามี จะเหมือนกับสภาวะที่พึ่งออกจากรูปฌาน ๔ มาใหม่ๆ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งนี่ก็คือ สภาวะผู้รู้ที่ "รู้ชัด" ด้วยสติอันบริสุทธิ์ อันเกิดแต่อำนาจของอุเบกขาในองค์ฌาน ๔ ที่เป็นทั้งเวทนาเจตสิก (เวทนุเบกขา) คือความเฉยต่อเวทนาที่ได้เสวยอารมณ์ที่ไม่สุขไม่ทุกข์ และเป็นทั้งตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก (ฌานุเบกขา และปาริสุทธุเบกขา) คือความเป็นกลางปราศจากอาการชอบชังแห่งจิต อันส่งผลให้เกิดการรู้ชัด ที่ชัดยิ่งขึ้นไปกว่าการรู้ชัดในระดับสกทาคามี ที่อาจจะเป็นการรู้ชัดในระดับรูปฌานที่ ๑ ถึง ๔ แต่ในระดับอนาคามีนั้น จะรู้ชัดเฉพาะแต่ในระดับรูปฌานที่ ๔ เท่านั้นไม่เป็นอย่างอื่น (ยกเว้นขณะที่ต้องใช้ความคิด) อันเนื่องมาจากสภาวะที่จิต มีสมาธิที่บริบูรณ์อย่างเต็มที่แล้วนั้น นั่นเอง :b49: :b48: :b47:

และนี่ ก็เป็นเหตุปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ในระดับอนาคามีนั้น เมื่อละขันธ์ไปแล้ว จะไปปฏิสนธิ หรือบังเกิดในพรหมโลก ในระดับรูปภูมิที่ ๔ เท่านั้นไม่เป็นอย่างอื่น โดยมีรูปภูมิอันเป็นแดนเกิดโดยเฉพาะที่เรียกว่า สุทธาวาสภูมิ (ซึ่งแบ่งเป็น ๕ ภูมิย่อย อันได้แก่ อวิหา, อตัปปา, สุทัสสา, สุทัสสี, อกนิฏฐา) อันเนื่องมาจากความบริบูรณ์อันถึงที่สุดแล้วแห่งสมาธิ ทำให้จิต สามารถที่จะทรงรูปฌาน ๔ อยู่ได้ตลอดเวลา (ยกเว้นเวลาที่ต้องใช้ความคิด) จนถึงขณะจิตที่ละสังขาร หรือจุติจิตนั้น นั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:

(ส่วนจะไปปฎิสนธิ หรือบังเกิดในสุทธาวาสภูมิไหนใน ๕ ภูมิย่อยนั้น ทางตำราท่านกล่าวเอาไว้ว่า ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปฏิบัตินั้น จะพัฒนาอำนาจแห่งอินทรีย์ ๕ อันได้แก่ ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, และปัญญา ขึ้นไปได้ถึงขั้นไหน ก็จะไปบังเกิดในชั้นนั้นๆนั่นเอง) :b49: :b48: :b47:

ส่วนการทรงฌานในชีวิตประจำวันที่เป็นอารัมมณูปนิชฌานในระดับพระอรหันต์แล้วนั้น ก็ในเมื่อเกิดสภาวะของการทรงฌานที่เป็นรูปฌาน ๔ อันเป็นระดับสูงสุดในชั้นของอนาคามีอยู่เป็นปรกติในชีวิตประจำวันได้อยู่แล้ว ในระดับพระอรหันต์ก็ไม่ต้องกล่าวถึงกันอีก :b49: :b47:

แต่ก็จะมีแตกต่างกันบ้างในส่วนที่ว่า ในระดับอนาคามี จิตผู้รู้ที่สว่างไสวเด่นดวงอยู่นั้น อาจจะมีอาการหมองลงได้บ้างในบางครั้ง แต่ในระดับพระอรหันต์ท่าน จิตผู้รู้ที่สว่างไสวเด่นดวงนั้นจะไม่มีอาการหมองแทรกเข้ามาได้อีกต่อไป เพราะจิตผู้รู้นั้นจะแปรเปลี่ยนเป็นธาตุรู้ที่แผ่ออกไปรวมกับธรรมชาติของจักรวาลอย่างไม่มีเขตแดน ไม่มีประมาณ จนเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติของจักรวาลโดยปราศจากตัวตนแห่งจิตให้ปรากฎอาการหมองลงไปได้อีก :b46: :b47: :b46:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b46: :b42: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อยู่หนไหนแล้วหน๋อ ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องขอโทษด้วยครับที่หายไปนาน เนื่องเพราะในช่วงสี่ห้าเดือนที่ผ่านมา มีภารกิจบางอย่างที่ต้องใช้อิทธิบาท ๔ โดยเฉพาะข้อวิริยะหรือความเพียรเป็นอย่างมาก ในการกระทำภารกิจนั้นให้สำเร็จลุล่วงไป ทำให้ในช่วงสี่ห้าเดือนที่ผ่านมา ไม่เหลือเวลายาวนานเพียงพอที่จะใช้สมาธิมานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ตามปรกติ :b47: :b46: :b48:

ขออนุญาตมาต่อกันที่สภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีกันนะครับ :b1: :b46: :b40:

หลังจากที่ไล่เรียงสภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีในภาคส่วนของศีล ซึ่งที่เป็นผลโดยตรงก็ได้แก่อินทรียสังวรศีลและสุจริต ๓ กับในภาคส่วนของสมาธิ อันได้แก่ธรรมสมาธิ ๕, การเข้าถึงสมาธิในระดับฌาน, และความสามารถของการทรงฌานในชีวิตประจำวันกันไปแล้ว :b49: :b50: :b51:

คราวนี้ จะขอขยายความเพิ่มเติม ด้วยการไล่เรียงสภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามี ในภาคส่วนของปัญญากันบ้างนะครับ หลังจากที่เรียบเรียงไปแล้วบ้างบางส่วน แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดให้มากพอ :b51: :b50: :b44:

ซึ่งทั้งนี้ ก็จะรวมถึงสภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิในภาคส่วนของปัญญาในระดับปุถุชนเอาไว้ด้วย เพราะการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ถูกต้องตรงทาง ก็จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางโลกุตรปัญญา ในการเข้าใจสรรพสิ่งในโลกตามความเป็นจริงขึ้นมาในระดับของปุถุชน จนเข้าสู่อริยบุคคลได้เช่นกัน
:b46: :b47: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 90, 91, 92, 93, 94, 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร