วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 86, 87, 88, 89, 90, 91, 92 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




มาฆปุรณมี .jpg
มาฆปุรณมี .jpg [ 183.88 KiB | เปิดดู 4825 ครั้ง ]
.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

กลับมาที่บทสรุปของการฝึกสติสัมปชัญญะ เพื่อการเจริญขึ้นแห่งอินทรียสังวรศีล ซึ่งฝึกได้สองแบบ ก็คือฝึกผ่านการรู้กาย ตามคำของพระบรมครูในอุทายีสูตร รวมถึงอีกหลายพระสูตรในทีฆนิกาย และฝึกผ่านการรู้ใจ ตามคำของพระบรมครูในสมาธิสูตร :b46: :b47: :b48:

ซึ่งทั้งการฝึกผ่านการรู้กายและการฝึกผ่านการรู้ใจ ก็สามารถฝึกได้ด้วยการปฏิบัติในรูปแบบและเวลาที่กำหนด จนลามเข้ามาสู่การฝึกในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดอินทรียสังวรศีล มาปกป้องคุ้มครองจิตอย่างเป็นอัตโนมัติโดยตลอดเวลานะครับ :b1: :b46: :b39:

มาสรุปที่การฝึกผ่านการรู้กายกันก่อน :b51: :b50: :b49:

เริ่มต้นที่คำของพระบรมครูนะครับ :b1: :b46: :b39:

พ. ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำอนุสสติข้อที่ ๖ แม้นี้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสติ
นั่งอยู่ มีสตินอน มีสติประกอบการงาน ดูกรอานนท์ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุ
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ

อุทายีสูตร

[๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.

สามัญผลสูตร และอีกหลายพระสูตรในทีฆนิกาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการฝึกผ่านการรู้กายในรูปแบบและเวลาที่กำหนดตามที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้ตัดเอาบางส่วนในคำของพระบรมครูมาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถฝึกเวียนซ้ำๆกันได้โดยสะดวก :b49: :b50: :b51:

ยกตัวอย่างเช่น การฝึกเดินจงกรม ที่ตัดเอาเฉพาะอิริยาบถเดิน หรือการฝึกการเคลื่อนไหวมือ ๑๔ จังหวะขององค์หลวงพ่อเทียน ที่ตัดเอาเฉพาะอาการคู้เข้าและเหยียดออกของแขน มาเป็นตัวอย่างในการฝึก ตามที่ได้พิมพ์ลงในรายละเอียดไปแล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยหลักการของการฝึกดังกล่าว ก็คือให้จิตมีเครื่องอยู่ มีสติเป็นเครื่องระลึกรู้ มีสัมปชัญญะรู้ชัด และมีสมาธิที่จดจ่อตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ผู้รู้สึกในการเคลื่อนไหวของกาย รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ลงปัจจุบันโดยไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปไหน รู้แบบสบายๆโดยไม่เพ่งจ้องให้เกิดความตึงเครียด :b49: :b48: :b55:

และเมื่อรู้ได้เช่นนี้แล้ว ไม่ว่าจะในขณะเดินจงกรม หรือว่าเคลื่อนไหวมือ หรือวิธีฝึกอื่นๆอีกก็ตาม ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความจำได้หมายรู้ที่แนบแน่นมั่นคง (ถิรสัญญา) ในลักษณะเฉพาะ (วิเสสลักษณะ) ลงในอาการของการเคลื่อนไหว หรือหยุดนิ่งของกายนั้น :b47: :b46: :b47:

และเมื่อเกิดความจำได้หมายรู้ที่แนบแน่นมั่นคง (ถิรสัญญา) ในลักษณะเฉพาะ (วิเสสลักษณะ) ลงในอาการของการเคลื่อนไหว หรือหยุดนิ่งของกายนั้นแล้ว เมื่อร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งในชีวิตประจำวัน จิตก็จะเกิดสติระลึกรู้ สัมปชัญญะรู้ชัด และมีสมาธิที่จดจ่อตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ รู้การเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งของกายลงเป็นปัจจุบัน จิตไม่แส่ส่ายออกไปหากิเลสที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ :b50: :b51: :b50:

เช่นนี้แล้ว อินทรียสังวรศีลและสุจริต ๓ ก็เกิดขึ้นมาได้ :b49: :b48: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และการฝึกสติสัมปชัญญะที่ถูกต้อง ก็จะได้การฝึกสมาธิที่ถูกต้องเข้ามาด้วย คือเป็นสมาธิแบบที่จิตมีความตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดูติดมาด้วยเสมอ อันเนื่องมาจากผลของการที่จิตจะมีสติระลึกรู้ได้ จิตนั้นจะต้องมีความตั้งมั่นเกิดขึ้นมาพร้อมกันเป็นสหชาติธรรมและสัมปยุตตธรรม :b46: :b47: :b46:

และความตั้งมั่นหรือสมาธินั้น ก็จะทำให้จิตเกิดสัมปชัญญะระลึกรู้ได้ชัด ตรงตามสภาพธรรมทั้งวิเสสลักษณะและสามัญลักษณะ ซึ่งจะชัดมากชัดน้อย ก็ขึ้นกับว่า จิตนั้นเกิดการระลึกรู้ (สติ) และรู้ชัด (สัมปชัญญะ) อย่างตั้งมั่น (สมาธิ) อยู่ได้นานเพียงไร :b48: :b49: :b50:

นั่นคือ การฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธินั้น จะเป็นการฝึกที่ควบรวมองค์ธรรมทั้งสามเข้าไว้ด้วยกัน :b48: :b47: :b48:

คือเมื่อฝึกเจริญสติที่ถูกต้องแล้ว ย่อมได้ทั้งสัมปชัญญะและสมาธิติดเข้ามาด้วย โดยเป็นทั้งสหชาติธรรมและสัมปยุตตธรรม :b48: :b47: :b46:

และนอกเหนือจากการฝึกเพื่อสติสัมปชัญญะและสมาธิด้วยการรู้กายขึ้นไปอีก ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถโยนิโสมนสิการในขณะที่กำลังรู้สึกลงในการเคลื่อนไหวของกาย ด้วยการแยกกายใจออกจากกัน (นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นญาณที่ ๑ ในญาณ ๑๖ หรือโสฬสญาณ) :b46: :b47: :b48:

นั่นคือ ทำความรู้สึกให้อยู่ที่ใจ ให้ใจเป็นผู้รู้ผู้ดู แล้วเห็นอวัยวะหรือร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวไป ก็จะเกิดความรู้ชัดขึ้นมาได้อีกว่า กายกับใจนั้นเป็นคนละส่วนกัน กายก็ส่วนหนึ่ง ใจก็ส่วนหนึ่ง กายไม่ใช่ใจ และใจก็ไม่ใช่กาย ทั้งสองส่วนล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย และต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ (ปัจจัยปริคคหญาณ) :b49: :b48: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และถ้าสามารถสังเกตให้ละเอียดลึกซึ้งลงไปอีกขั้น ก็จะพบว่า กายนั้น เป็นสิ่งที่ถูกรู้ กายนั้นไม่ใช่เรา เป็นเพียงแค่วัตถุก้อนธาตุที่กำลังเคลื่อนไหวไปตามคำสั่งของใจ :b47: :b48: :b47:

ซึ่งในขั้นนี้ ผู้ปฏิบัติในเบื้องต้นอาจจะยังเห็นว่า ใจเป็นเราอยู่ แต่กายนั้นไม่ใช่เราแน่ๆ เป็นเพียงวัตถุก้อนธาตุที่กำลังเคลื่อนไหวไปตามคำสั่งของใจ :b49: :b48: :b42:

คือใจยังสามารถควบคุมกายได้ด้วยคำสั่งของใจ จวบจนภาวนาต่อไปจนเห็นว่า ใจก็ไม่ใช่เราแล้วนั่นแหละ ผู้ปฏิบัติถึงจะเห็นว่า ทั้งกายและทั้งใจ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของๆเราเลย :b51: :b50: :b49:

และที่เข้าใจว่า ใจสั่งกายได้นั้น ก็มีเพียงแค่เจตนาแห่งใจ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเหตุปัจจัยที่ทำให้กาย ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไปได้เท่านั้น ซึ่งถ้าขาดปัจจัยอื่นๆอีกมากมายเสียแล้ว (เช่น ถ้าเลือดไม่เดินจนแขนขาเหน็บชากินตามที่เคยยกตัวอย่างเอาไว้) ใจก็ไม่สามารถสั่งกาย ให้เคลื่อนไหวได้ :b46: :b47: :b46:

นั่นหมายความว่า ผู้ปฏิบัตินั้น สามารถก้าวเข้าสู่ความเป็นโสดาบัน ละสักกายทิฏฐิได้แล้วนั่นหล่ะ ถึงจะเห็นได้อย่างลึกซึ้งถึงใจว่า ทั้งกายทั้งใจต่างไม่ใช่เรา ไม่มีอะไรเป็นเรา หรือเป็นของๆเรา จึงจะสามารถเห็นได้ถึงสภาวะที่ใจไม่ได้เป็นผู้สั่งกาย มีแค่เพียงเจตนาแห่งใจเท่านั้น ที่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในอีกหลายปัจจัย ที่ทำให้กายสามารถเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งได้ :b47: :b46: :b42:

และถ้าผู้ปฏิบัติ ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ด้วยการรู้กายต่อไปเรื่อยๆ ความเคยชินและถิรสัญญาที่เคยรู้ลงในกายที่มีความเป็นปรกติอยู่นั่นหล่ะครับ ที่จะทำให้เมื่อกายถูกบีบคั้นหรือมีความผิดปรกติออกไป ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถรู้สึก และสังเกตเห็นได้ถึงความถูกบีบคั้น และความเสื่อมไปแห่งกายได้อย่างเป็นอัตโนมัติ (สัมมสนญาณ, อุทยัพพยญาณ, ภังคานุปัสสนาญาณ) :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเข้าวัย ๔๐ ล่วงไปแล้ว ก็จะสังเกตเห็นได้ชัดอย่างเป็นอัตโนมัติ โดยรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างชัดแจ้งเลยนะครับว่า กายนั้นเริ่มเสื่อมลงไปตามอายุขัย ที่เคยเดินเหินเคลื่อนไหว วิ่งหรือกระโดดได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวเมื่อสมัยหนุ่มสาว ก็เริ่มไม่คล่องแคล่วว่องไวเมื่ออายุล่วงไป :b5: :b50: :b48:

การลุกการนั่งก็จะเริ่มเข้าสู่สิ่งที่เรียกกันว่า ลุกก็โอยนั่งก็โอย จะก้มจะเงยก็ทำได้ไม่สุดอย่างที่เคยทำได้เมื่อสมัยหนุ่มสาว จะทำกิจกรรมการงานใดๆก็เริ่มที่จะเหนื่อยง่ายขึ้น บรรไดบ้านที่เคยขึ้นลงได้อย่างคล่องแคล่วแบบไม่เมื่อยขาเมื่อยน่อง ก็เริ่มที่จะไม่ค่อยอยากเดินขึ้นเพราะความเมื่อยขาเมื่อยข้อเริ่มเข้ามาเยือน ฯลฯ :b46: :b47: :b46:

สายตาที่เคยมองได้ชัดเจนเป็นปรกติก็เริ่มยาวขึ้น เวลาใครส่งนามบัตรมาให้ ต้องยืดมือที่ถือนามบัตรออกไปจนสุดแขนถึงจะค่อยพออ่านออกได้บ้าง มือถือก็ต้องเลือกชนิดที่หน้าจอใหญ่ตัวอักษรใหญ่ไว้ก่อน ที่ไม่เคยใส่แว่นก็ต้องหาแว่นอ่านหนังสือมาใส่ ที่มีแว่นใส่ก็ต้องตัดแว่นใหม่แบบที่ให้อ่านหนังสือได้ติดแว่นมาด้วย ฯลฯ :b49: :b48: :b47:

อาหารการกินก็ไม่สามารถกินได้เยอะเหมือนสมัยวัยรุ่น ไปทานบุฟเฟ่ต์แต่ละทีก็เริ่มที่จะไม่คุ้มค่า และถ้าตามใจปาก ทานเยอะไปก็จะรู้สึกเป็นทุกข์ด้วยความอึดอัด แถมด้วยน้ำหนักที่จะเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวเพราะระบบเผาผลาญเริ่มไม่สมบูรณ์เหมือนสมัยวัยรุ่น :b50: :b51: :b53:

อาหารที่เหนียวก็เริ่มเคี้ยวไม่ค่อยไหว อาหารที่เย็นเกินไปก็ต้องอมไว้ในปากสักครู่ให้หายเย็นถึงจะเริ่มเคี้ยวได้โดยไม่เสียวฟันมาก เรื่องที่คุยกับเพื่อนๆก็เริ่มมีเรื่องการดูแลสุขภาพเพิ่มเข้ามามากขึ้น หรือบางครั้งถึงขนาดที่ต้องเริ่มไปงานศพเพื่อนๆที่เริ่มทยอยตายจากกันไปทีละคนสองคนด้วยโรคร้ายยอดนิยมอย่างเช่นโรคมะเร็ง ฯลฯ :b46: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิด้วยการรู้กายอย่างต่อเนื่อง ก็จะเริ่มเห็นความเสื่อมไปแห่งกายตามอายุที่มากขึ้นอย่างเป็นอัตโนมัติ จิตจะเห็นว่ากายนี้เป็นก้อนธาตุที่ถูกบีบคั้นให้เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา (ภยตูปัฏฐานญาณ, อาทีนวญาณ) :b46: :b47: :b46:

และการจัดการเพื่อให้เป็นทุกข์น้อยลงไปจากก้อนธาตุนี้ ก็ต้องทำเหตุปัจจัยให้ถูกต้องเหมาะสม เช่น อาหารก็ต้องควบคุมให้ครบหมู่และไม่มากเกินไป อะไรที่อยากกินก็ไม่ควรตามใจปาก มิฉะนั้นกายอาจจะลำบากในอนาคตด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่นโรคอ้วนที่ทำให้อึดอัด และนำพาไปสู่โรคอื่นๆอีกสำหรับผู้สูงวัย เช่นโรคไขมันในเส้นเลือด โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเกาต์ หรือเบาหวาน ฯลฯ :b49: :b48: :b47:

และการออกกำลังกายซึ่งสมัยวัยรุ่นไม่เคยเห็นความสำคัญ พอวัยล่วงเข้าหลักสี่ก็ต้องเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ด้วยการมีวินัยในการออกกำลังกาย ซึ่งถึงแม้จะเหนื่อยแต่ก็จำเป็นต้องทำ เพื่อมิให้ร่างกายนั้นเสื่อมหรืออ่อนแอลงไปก่อนวัยอันควร ฯลฯ :b47: :b42: :b43:

ส่วนการใช้ชีวิต จากที่เคยใช้อย่างสุดเหวี่ยงในสมัยวัยหนุ่มสาว ก็เริ่มที่จะต้องเพลาๆกิจกรรมที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพออกไป กีฬา extreme หรือกีฬาที่ต้องใช้ความแข็งแรงว่องไวของร่างกายที่เคยเล่นก็ต้องเลิก หรือลดความรุนแรงลงมา :b50: :b51: :b44:

การท่องเที่ยวที่เคยสมบุกสมบันขึ้นเขาลงห้วยได้เหมือนในสมัยวัยรุ่น ก็ต้องเปลี่ยนกิจกรรมมาเป็นการท่องเที่ยวแบบที่ไม่ต้องบุกตะลุยมาก การเที่ยวกลางคืนแบบดึกๆดื่นๆก็ต้องลดละเลิกลงไปด้วยวัยและกำลังวังชาที่ถดถอยลง การใช้ชีวิตก็ให้ใช้อย่างพอดี ไม่สุดเหวี่ยงเกินไปเหมือนสมัยวัยรุ่น ฯลฯ :b49: :b48: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียกได้ว่า ถ้าผู้ปฏิบัติเห็นความเสื่อมไปแห่งกายอย่างซาบซึ้งถึงใจแล้วละก็ ผู้ปฏิบัติก็จะเหลือทางเลือกแค่สองทาง :b47: :b48: :b49:

คือหนึ่ง จะยอมทุกข์น้อยในตอนแรก ด้วยการมีวินัยในการดูแลร่างกายให้เหมาะสม ทานอาหารในคุณภาพและปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ตามใจปาก ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม ดูแลอารมณ์ไม่ให้เคร่งเครียดโกรธขึ้ง พักผ่อนให้เพียงพอต่อสุขภาพ ไม่ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงเกินไป ฯลฯ :b49: :b48: :b47:

หรือสอง จะยอมตามใจกิเลสแล้วมาทุกข์มากในทีหลัง ถ้าดูแลร่างกายไม่เหมาะสมตามเหตุปัจจัย เช่น เอาแต่สบายปากสบายตัว แต่ตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หรือใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยงเต็มที่จนร่างกายทรุดโทรม ฯลฯ :b48: :b47: :b47: :b42:

นั่นหมายความว่า นอกจากผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นก้อนทุกข์ล้วนๆแล้ว ยังจะเห็นด้วยความลึกซึ้งถึงใจอีกว่า ร่างกายนี้เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเราของเรา จะทุกข์มากหรือทุกข์น้อยนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่กระทำและสั่งสมมา มิสามารถสั่งให้ไม่ทุกข์ได้ไม่ :b51: :b50: :b49:

และเมื่อผู้ปฏิบัติมีปัญญาเห็นถึงทุกขังและอนัตตาแห่งกาย ผู้ปฏิบัติก็จะเริ่มเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในกาย และสิ่งที่เคยหลงเข้าใจว่าเป็นความสุขแห่งกายลง (นิพพิทาญาณ) :b50: :b44: :b51:

ซึ่งแรกๆที่เริ่มเบื่อหน่ายกาย อาจจะเห็นกายที่เป็นทุกข์นั้นอย่างไม่เป็นกลาง คืออาจจะเจือปนไปด้วยความอยากที่จะพ้นไปเสียจากกาย หรือวิภวตัณหาที่ต้องการให้กายขาดสูญลงไปบ้าง ซึ่งจะมีอาการคล้ายๆกับผู้ที่เป็นทุกข์ทรมานจากโรคร้ายที่รุมเร้า จนอยากจะพ้นๆไปเสียจากกายที่เป็นทุกข์อยู่นั้น :b46: :b47: :b48:

เพียงแต่ไม่เหมือนกันอยู่บ้างตรงที่ผู้ที่ปฏิบัติมาพอสมควรแล้ว จะเห็นกายเป็นทุกข์ และอยากพ้นจากกายไปด้วยปัญญา (มุญจิตุกัมยตาญาณ) มากกว่าอยากพ้นจากกายไปด้วยวิภวตัณหา :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาทบทวนและโยนิโสมนสิการหาทางหนีทุกข์ทางกายต่อไปเรื่อยๆ (ปฏิสังขาญาณ) จนเข้าใจถึงความเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ทั้งหลายในกาย หรือเห็นถึงความเป็นอนัตตาแห่งกาย จิตจึงจะเริ่มเห็นทุกข์แห่งกายด้วยความเป็นกลาง (สังขารุเปกขาญาณ) :b49: :b48: :b47:

ซึ่งการพิจารณาอนัตตาแห่งกาย หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งทุกข์ในกายตรงนี้ จะเป็น key word ที่สำคัญ สำหรับผู้ปฏิบัติที่พิจารณากายมาถึงในขั้นนี้ คือขั้นที่จะต้องพ้นจากความเบื่อหน่ายแห่งทุกข์ในกาย เพื่อเข้ามาสู่ความเป็นกลางแห่งทุกข์ในกายเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:

ไม่เช่นนั้น ด้วยความเบื่อหน่ายในกายที่เกิดจากปัญญา นานๆเข้าถ้าหาทางออกไม่ได้ ก็อาจจะเป็นเหตุให้เกิดอาการเบื่อหน่ายกายที่เกิดจากวิภวตัณหา แทรกเข้ามาทำให้เกิดทุกข์ขึ้นในใจ อันเนื่องมาจากการเห็นทุกข์ในกายได้ :b51: :b50: :b49:

และเมื่อจิตสามารถก้าวข้ามผ่านความเบื่อหน่ายในทุกข์แห่งกาย เข้ามาสู่ความเป็นกลางในทุกข์แห่งกายได้แล้ว จิตก็จะเริ่มแยกออกจากกาย และเห็นทุกข์ในกาย ซึ่งได้แก่ความปรุงแต่งบีบคั้นแห่งกายทั้งหลาย ได้อย่างเป็นกลาง รวมทั้งเป็นกลางต่อผัสสะที่ผ่านอวัยวะแห่งกาย :b46: :b47: :b42:

ซึ่งก็คือ ความเป็นกลางต่อผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่ผ่านเข้ามา ซึ่งแต่เดิมนั้น ผัสสะดังกล่าว เมื่อผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย เข้ามาแล้ว จะชักนำให้เกิดอาการชอบ (ราคะ) หรือชัง (ปฏิฆะ) เกิดขึ้นในจิตเสมอ :b46: :b47: :b42:

ซึ่งเมื่อผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา สามารถก้าวข้ามความเบื่อหน่าย เกิดความคลายกำหนัดในผัสสะ เข้าสู่ความเป็นกลางแห่งสังขารทั้งหลายได้แล้ว เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติก็จะเข้าใจถึงความเป็นจริงแห่งธรรม เห็นอริยสัจจ์แห่งกาย (สัจจานุโลมิกญาณ) ถึงพร้อมในการก้าวข้ามทั้งราคะและปฏิฆะ (โคตรภูญาณ) เข้าสู่ความเป็นอนาคามี (มัคคญาณ, ผลญาณ) ได้ด้วยการพิจารณากายเพียงอย่างเดียวตามขั้นตอนดังนี้ นะครับ :b1: :b46: :b39:


(เนื้อหาในรายละเอียด จะไปลงอีกครั้งเมื่อถึงบทที่ว่าด้วยการปฏิบัติจากสกทาคามีไปสู่อนาคามีนะครับ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2017, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือถ้าผู้ปฏิบัติ จะดำเนินวิธีฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ด้วยการรู้กายในแบบมหายานอันมีพุทธนิกายเซนเป็นแบบอย่างแล้วละก็ ผู้ปฏิบัติก็จะต้องฝึกปฏิบัติในรูปแบบด้วยการใช้ธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เป็นตัวช่วยเพื่อให้เข้าถึงความว่างเปล่า (ศูนยตา) และความเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่ต่างต้องขึ้นแก่กันและกันของสรรพสิ่ง (อิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ) :b46: :b47: :b41:

อันได้แก่การปฏิบัติด้วยการเคลื่อนไหว และรู้สึกลงในปัจจุบันได้ถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกายใจ กับธรรมชาติโดยรอบนั้น ตามที่ได้เคยพิมพ์เล่ารายละเอียดเอาไว้นะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งเมื่อผู้ปฏิบัติ สามารถเห็นได้อย่างลึกซึ้งว่า กายนั้นเป็นเพียงแค่ก้อนธาตุที่ประกอบกันขึ้นมาจากเหตุปัจจัย และเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมธาตุทั้งหลาย เมื่อนั้น การปฏิบัติทุกอย่างก็จะมาลงที่เดียวกัน นั่นคือการเห็นถึงซึ่งอนัตตา หรือศูนยตาแห่งกาย เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถละความยึดติดถือมั่นในกาย หรือละอุปาทานในรูปขันธ์ ก้าวข้ามเข้าสู่อนาคามีบุคคลได้ เช่นเดียวกับการฝึกวิปัสสนาในรูปแบบของเถรวาทนะครับ :b1: :b46: :b39:


แล้วมาสรุปต่อในการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้ใจในคราวหน้า :b48: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2017, 15:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดรู้วิปัสนาในฌานจิต เป็นการกำหนดรู้องค์ฌาน
เช่น ปืติ สุข ซึ่งสาพธรรม เหล่านี้จะเกิดดับไป นอกจากนี้เราจะรู้ถึงแรงเกาะยึดที่หทัยวัตถุ คือทีตำแหน่งหัวใจ จะมีแรงเหนี่ยวนำ ซึ่งเป็นเหตุให้ฌานนั้นๆ ดำรงอยู่เมื่อแรงครอบงำ ดับลงจิตก็จะเลื่อนสู่ฌานที่สูงขึ้น
สรุป คือภาวะฌานเป็นผล เหตุคือ แรงเกาะยึดที่หััวใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาสรุปในส่วนของการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ผ่านการรู้ใจกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เริ่มต้นด้วยคำของพระบรมครูกันก่อน :b8:

"ภิกษุ ท ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะนั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ
สัญญาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ
วิตกเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ
ภิกษุ ท !นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ."

สมาธิสูตร

ซึ่งอย่างที่กล่าวเอาไว้แล้วนะครับว่า การฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ด้วยการเห็นอย่างแจ่มแจ้งในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไปของ ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆ (เวทนา), ความจำได้หมายรู้ (สัญญา), และความตริตรึกนึกคิด (วิตก) ในพระสูตรนี้ เป็นเช่นเดียวกับที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านได้สอนตามพระบรมครูกันไว้ว่า ให้ฝึกหัดตามดู ให้รู้เท่าทันกระบวนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของความคิด หรือวิตก ที่เกิดขึ้นในจิตของเรา นั่นเอง :b46: :b47: :b48:

ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยเหตุที่ว่า การฝึกหัดตามดู ให้รู้เท่าทันความคิดปรุงแต่งนั้น เป็นการตามดูให้รู้เท่าทันขบวนธรรมในการเสพเสวยโลก ที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของเรา :b50: :b49: :b48:

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า โดยมาก คนเราจะฟุ้งคิดกันทั้งวัน ไม่เว้นแม้แต่เวลาหลับนอน ซึ่งสังขาร โดยเฉพาะตัววิตก ก็ยังผุดขึ้นมาทำงานได้เองในรูปของความฝัน โดยที่เราไม่สามารถบังคับบัญชาว่าจะให้ฝันหรือไม่ให้ฝัน หรือฝันหรือไม่ฝันในเรื่องใดๆได้ :b50: :b51: :b53:

ซึ่งกระบวนธรรมที่เกิดขึ้นนี้ ก็สามารถแสดงให้ดูตามที่ท่านเจ้าประคุณอาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต) ท่านได้เขียนไว้ในหนังสือพุทธธรรมฉบับปรับขยาย ที่เคยแสดงไว้ ตามด้านล่างนี้ครับ :b1: :b46: :b39:
แนบไฟล์:
Bhuddhadham pg 34-35 (1).jpg
Bhuddhadham pg 34-35 (1).jpg [ 44.15 KiB | เปิดดู 4721 ครั้ง ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น การฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ด้วยการตามดูให้รู้เท่าทันความคิดฟุ้งปรุงแต่งของตนเองนั้น จึงเป็นการตามดูเพื่อให้รู้เท่าทันในกระบวนธรรมของการเสพเสวยโลก ซึ่งเมื่อรู้เท่าเอาทันในกระบวนการก่อเกิดของความคิดนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถตรวจจับได้ว่า เรากำลังเจตนาตั้งใจคิด หรือเผลอคิด :b49: :b48: :b47:

และนอกจากนี้ ยังรู้เท่าเอาทันได้อีกว่า ความคิดที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นกุศลหรืออกุศล หรือไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล จนกระทั่งสามารถเกิดสติสัมปชัญญะที่เป็นอัตโนมัติ ขึ้นมารู้เท่าเอาทัน และหยุดกระบวนการของความคิดที่เป็นอกุศล ซึ่งก็คือ ความคิดในเรื่องกาม (กามวิตก อันมีโลภะหรือราคะเป็นเหตุ) ความคิดในเรื่องโกรธ (พยาบาทวิตก อันมีโทสะเป็นเหตุ) และความคิดที่จะเบียนเบียนหรือเอาเปรียบผู้อื่น (วิหิงสาวิตก อันมีโมหะเป็นเหตุ) ได้ จนเกิดเป็นอินทรียสังวรศีลมารักษาจิตเมื่อเกิดผัสสะทางทวารหรืออินทรีย์ต่างๆ (ภาครับรู้โลก) เพื่อไม่ให้เกิดการประมวลผลและสั่งการกระทำต่อ (วิตักกะ ปปัญจะ คิดฟุ้งปรุงแต่ง) ที่ตกไปในข้างของอกุศลหรือทุจริต ทั้งทางใจ กาย และวาจา ตามที่ได้เคยเขียนอธิบายไว้ก่อนหน้านั้น นั่นเอง :b46: :b47: :b48:


และด้วยหลักการอันนี้ สติ สัมปชัญญะ และสมาธิที่เกิดขึ้นจนเป็นอินทรียสังวรศีล ที่ทำให้สุจริต ๓ ทั้งทางกาย วาจา ใจ บริบูรณ์ขึ้น ก็จะทำให้ทุกข์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากความคิดฟุ้งปรุงแต่ง ก็จะลดลงไปได้เองอย่างมากมาย โดยเฉพาะในระดับสกทาคามี เหมือนดังคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ว่า คนเราส่วนมาก เป็นทุกข์จากความคิด และถ้าสามารถมีสติสัมปชัญญะตามทันความคิดของตนเองได้แล้วละก็ ความทุกข์อันเนื่องมาจากความคิด ก็จะลดลงไปได้อย่างมหาศาล :b47: :b48: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และในขั้นของการฝึกสติสัมปชัญญะ และสมาธิ ผ่านสมาธิภาวนาในสมาธิสูตร ซึ่งได้แก่การรู้ในกระบวนการเกิดดับของความคิด อันผุดเกิดขึ้นมาจากเวทนาและสัญญานั้น ก็ได้ยกตัวอย่างสำหรับให้ฝึกปฏิบัติเอาไว้ ด้วยการเจริญอานาปานสติ จตุกกะที่ ๓ ข้อที่ ๑ นั่นคือ การนำจิต เข้ามารู้พร้อมเฉพาะซึ่งตัวจิตเอง ที่เป็นธาตุรู้ หรือการรู้อยู่ในรู้ รู้อยู่ในจิต ตามที่พ่อแม่ครูอาจารย์สายวัดป่า ท่านได้สอนกันมานะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยเมื่อเริ่มแรกในการทำสมาธิภาวนา ที่เอาจิตเข้ามารู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต ด้วยกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็งอันเนื่องมาจากเจตนาที่จะเข้าไปรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตในช่วงแรก จิตที่เป็นผู้รู้นั้นก็จะทำหน้าที่ของธาตุรู้ โดยเข้าไปรู้อย่างนิ่งๆว่างๆอยู่ภายในจิต ที่ยังไม่มีความตริตรึกนึกคิดเกิดขึ้นมานั้น :b48: :b49: :b50:

และอย่างที่ได้เคยกล่าวไปแล้วนะครับว่า สำหรับผู้ที่ชำนาญ หรือมีวสีในการเข้าฌาน การเอาจิตมารู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต ก็จะเป็นทางลัดในการดำเนินวาระจิต ให้เข้าสู่ฌานที่ ๔ ที่มีสติอันบริสุทธิ์รักษาตัวรู้ หรือธาตุรู้อยู่ :b49: :b43: :b42:

แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ชำนาญในการเข้าฌานที่ ๔ โดยอาศัยทางลัดนี้ เมื่อทำสมาธิไปสักพัก กำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิก็จะอ่อนกำลังลง ทำให้ขันธ์อื่นๆอีก ๓ ขันธ์ อันได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เริ่มต้นกระบวนการทำงานของเขาขึ้นมาได้เอง โดยผุดเกิดขึ้นมาให้จิต หรือวิญญาณขันธ์ได้รับรู้ เหมือนกับตะกอนที่ค่อยๆฟุ้งขึ้นมาในน้ำที่เริ่มไม่นิ่ง :b51: :b50: :b44:

(ซึ่งอันที่จริง ในขณะที่เจริญสมาธิภาวนา รู้อยู่ในรู้ที่นิ่งๆว่างๆนั้น ทั้ง ๓ ขันธ์นั้น ก็ได้ทำงานตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่จิตไม่ได้เข้าไปรับรู้ในการทำงานนั้นอย่างจำเพาะ จนกว่ากระบวนการของการฟุ้งคิดได้เริ่มก่อตัวขึ้นมา) :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งโดยมากสำหรับผู้ที่เริ่มปฏิบัตินั้น จะตามเห็นได้ทันในสังขารขันธ์ก่อน ซึ่งก็คือจะตามเห็นได้ทันในตัววิตก หรือความตริตรึกนึกคิดนี้ ที่เป็นตัวทำงานเด่นขึ้นมา :b47: :b48: :b49:

หลังจากนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติมีความชำนาญ มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็งมากขึ้น สิ่งที่จะตามทวนขึ้นไปเห็นได้ ก็คือการตามเห็นทันในการผุดเกิดของสัญญาขันธ์ ซึ่งเป็นตัวขันธ์ที่เกิดนำขึ้นมา ก่อนที่สังขารขันธ์จะนำสัญญาขันธ์นั้น ไปปรุงต่อให้เป็นความคิด :b43: :b42: :b41:

ซึ่งเมื่อถึงในขั้นนี้ ที่ผู้ปฏิบัติ มีสติ สัมปขัญญะ และสมาธิที่เข้มแข็งขึ้นไปอีก จนสามารถเห็นสัญญาขันธ์ผุดเกิดขึ้นมาทำงานของเขาเองได้แล้ว โดยมากผู้ปฏิบัติ ก็จะสามารถตามเห็นได้ถึงการดับลงไปของสัญญาขันธ์นั้น โดยที่สังขารขันธ์ยังไม่ทันที่จะเอาสัญญาขันธ์นั้นไปปรุงแต่ง ก็จะเห็นสัญญาขันธ์นั้นดับลงไปเสียก่อน :b44: :b45: :b40:

คือผู้ปฏิบัติ มีสติที่ไว สามารถตรวจจับได้ถึงการผุดเกิดขึ้นมาของสัญญาขันธ์ มีสัมปชัญญะที่รู้ชัดในการเกิดขึ้นของสัญญาขันธ์ และมีสมาธิที่จดจ่อตั้งมั่น รู้อยู่เฉพาะในการเกิดขึ้นของสัญญาขันธ์เท่านั้น ไม่วอกแวกปล่อยให้สังขารขันธ์ทำงานแทรกขึ้นมาได้ก่อนที่จะเห็นการดับลงไปของสัญญาขันธ์ :b51: :b53: :b45:

เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถตามเห็นต่อในการดับลงไปของสัญญาขันธ์ โดยที่ไม่เปิดช่องให้สังขารขันธ์ นำสัญญาขันธ์นั้นไปปรุงต่อเป็นความคิด .. ตัวความคิดเองนั้นก็จะไม่สามารถฟุ้ง หรือผุดเกิดขึ้นมาในจิต ที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็งได้ นะครับ :b1: :b46: :b39:

ส่วนการเห็นในการเกิดขึ้นหรือดับไปของตัวเวทนาขันธ์ในระหว่างการทำสมาธิภาวนาด้วยการใช้จิตมารู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตนั้น จะตามเห็นได้ยากกว่าการตามเห็นในการเกิดดับของสัญญาขันธ์ เพราะเวทนาที่เกิดขึ้น จะเป็นอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตามเห็นได้ยากนะครับ :b1: :b46: :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 86, 87, 88, 89, 90, 91, 92 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร