วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 10:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 135 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2010, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:15
โพสต์: 34

แนวปฏิบัติ: สมาถะ วิปัสสนาญาน ลมหายใจมิมีสิ้นสุด มิมีประมาณ
งานอดิเรก: ธรรมะเกิดที่ใจ ไปให้ถึงธรรม จึ่งมีธรรมประจำใจ บ้านเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมะ ทุกแนว "รอยเท้าสัตว์ย่อมรวมลงในเท้าช้าง"ฉันใด ก็ฉันนั้น
ชื่อเล่น: out
อายุ: 47
ที่อยู่: จังหวัดแพร่

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจ

ในทางพระพุทธศาสนา มีการกล่าวถึง วิสุทธิ 7 ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการทำให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขา ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ

ศีลวิสุทธิ หรือ ความหมดจดแห่งศีล คือ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งใจรักษา ทำให้สามารถปฏิบัติ สมาธิกับวิปัสสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึง ปาริสุทธิศีล 4 ซึ่งหมายถึง ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล มีสี่ข้อ ได้แก่
ปาฏิโมกขสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต ตลอดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท (คือ ศีลและมารยาทที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง)
อินทรียสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมอินทรีย์6 ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมเกิดขึ้นได้ ในขณะที่รับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม
ปัจจัยสันนิสิตศีล หมายถึง ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ การพิจารณาใช้สอยปัจจัย ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ไม่บริโภคด้วยความอยากรับประทาน ไม่บริโภคด้วยความอยากอยากใช้สอย
จิตตวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือ การฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิ ให้ได้อุปจาระสมาธิและอัปปนาสมาธิ ได้ฌาน ได้อภิญญาสมาบัติ อันเป็นปทัฏฐานที่สำคัญเพราะจะทำให้เกิดวิปัสสนาขึ้นได้ง่าย ยิ่งสมาธิดีเท่าใดยิ่งบรรลุได้ง่ายเท่านั้น.
ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เห็นรูปธาตุและนามธาตุเป็นคนละธาตุกันอย่างชัดเจน เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่ารูปขันธ์นี้เป็นเราเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย เห็นปฏิจจสมุปบาท
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง จิตรับรู้ถึงกระแสแห่งไตรลักษณ์ได้
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (วิปัสสนาญาณ 9)รู้ทุกขอริยสัจจ์ทั้ง๘ระดับจึงรู้สมุทัยอริยสัจจ์ทั้ง๘ จึงรู้นิโรธอริยสัจจ์ทั้ง๘ จึงรู้มรรคอริยสัจจ์ทั้ง๘ และพิจารณาทั้งสิ้นพร้อมกัน (สามัคคีธรรม)เมื่อถึงสัจจานุโลมมิกญาณ คือหมุนธรรมจักรทั้ง๘ และพิจารณาดุจผู้พิพากษาพิจารณาเหตุทั้งสิ้น
ญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือการปฏิบัติบริบูรณ์จนก้าวผ่านภูมิจิตเดิมคือโคตรภูญาณและวิทานะญาณ ได้ความรู้แจ้งในอริยมรรคหรือมรรคญาณ ความบรรลุเป็นอริยบุคคลหรือผลญาณ พิจารณาธรรมที่ได้บรรลุแล้วคือปัจจเวกขณะญาณ ย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
...............
ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานไปตามลำดับขั้น ได้รู้ได้เห็นธรรมชาติรวมทั้งความเป็นไปต่าง ๆ ของรูป/นาม หรือกาย/ใจ มากขึ้นเรื่อย ๆ ได้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่น่ารักน่าใคร่น่าปรารถนา ไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นได้เพราะไม่อยู่ในอำนาจ จึงไม่เป็นไปอย่างที่ใจต้องการ ฯลฯ จนกระทั่งจิตคลายความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงลงไปอย่างถาวร คือความยึดมั่นถือมั่นในระดับนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีกเลย เพราะเห็นชัดด้วยปัญญาของตนเองอย่างแท้จริง จนหมดความเคลือบแคลง และความลังเลสงสัยใดๆ ทั้งปวงแล้วนั้น จะได้ชื่อว่าเป็นอริยบุคคล คือบุคคลอันประเสริฐ ซึ่งจำแนกอย่างละเอียดได้ 8 ประเภท ตามลำดับขั้นของการละกิเลส หรือตามลำดับขั้นของความยึดมั่นถือมั่น
ก่อนจะกล่าวถึงอริยบุคคลขั้นต่าง ๆ นั้น จะขออธิบายถึงความเจริญก้าวหน้าในการทำวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่เริ่มต้นก่อน เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องของอริยบุคคลได้ง่ายขึ้น ดังนี้

บุคคลทั่ว ๆ ไปที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ อยู่อย่างปกติทั่วไปนั้นได้ชื่อว่าปุถุชน (ปุถุ แปลว่าหนา) คือชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสนั่นเอง ปุถุชนนั้นแบ่งได้ 2 ระดับคือ
1.) อันธปุถุชน คือปุถุชนที่มืดบอดต่อธรรมมาก จิตใจหยาบกระด้าง เป็นผู้ยากแก่การรู้ธรรม
2.) กัลยาณปุถุชน คือปุถุชนที่แม้จะยังมีกิเลสหนาแน่นอยู่ แต่จิตใจก็มีความประณีต เบาสบายกว่าอันธปุถุชน จึงเข้าถึงธรรมได้ง่ายกว่า
เมื่อบุคคลใดได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ก็จะเกิดปัญญามองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เรียกว่าญาณขั้นต่าง ๆ (คำว่าญาณนี้เป็นชื่อของปัญญาในวิปัสสนา ต่างจากฌานซึ่งเป็นขั้นต่าง ๆ ของสมาธิ) จนกระทั่งปัญญาญาณนั้นแก่กล้าจนสามารถทำลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ อย่างถาวร อันเป็นผลให้กิเลสที่เกิดจากความยึดมั่นในขั้นนั้นถูกทำลายลงไปอย่างสิ้นเชิง จิตในขณะที่เห็นแจ้งในความที่ไม่สามารถยึดมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวงได้อย่างชัดเจน จนสามารถทำลายกิเลสได้นี้เรียกว่ามรรคจิต ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงแค่ขณะจิตเดียว คือเกิดอาการปิ๊งขึ้นมาแว้ปเดียว กิเลสและความยึดมั่นในขั้นนั้นก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย
บุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นนี้เรียกว่ามรรคบุคคล ซึ่งนับเป็นอริยบุคคลประเภทหนึ่ง

บุคคลจะเป็นมรรคบุคคลแค่เพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้นหลังจากนั้นก็จะได้ชื่อว่าผลบุคคล คือบุคคลผู้เสวยผลจากมรรคนั้นอยู่ ไปจนกว่ามรรคจิตในขั้นที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อทำลายความยึดมั่นและกิเลสที่ประณีตขึ้นไปอีก มรรคจิตแต่ละขั้นนั้นจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะไม่เกิดขึ้นในขั้นเดิมซ้ำอีกเลย จะเกิดก็แต่ขั้นที่สูงขึ้นไปเท่านั้น เพราะความยึดมั่นในขั้นที่ถูกทำลายไปแล้ว จะไม่มีโอกาสกลับมาให้ทำลายได้อีกเลย
อริยบุคคล 8 ประเภทนั้นประกอบด้วยมรรคบุคคล 4 ประเภท และผลบุคคล 4 ประเภท ดังนี้คือ
1.) โสดาปัตติมรรคบุคคล คือบุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เรียกว่าโสดาปัตติมรรคจิต โสดาปัตติมรรคบุคคลนี้นับเป็นอริยบุคคลขั้นแรก และได้ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงสู่กระแสพระนิพพานแล้ว มรรคจิตในขั้นนี้จะทำลายกิเลสได้ดังนี้คือ
(ในที่นี้จะใช้สัญโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่งประเภทของกิเลส เป็นหลักในการอธิบาย - ดูเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)
- สักกายทิฏฐิ
- วิจิกิจฉา
- สีลพตปรามาส
รวมทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ, ขัดเคืองใจ, กังวลใจ, เครียด, กลัว) โมหะ(ความหลง คือไม่รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง) ในขั้นหยาบอื่น ๆ อันจะเป็นผลให้ต้องไปเกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก) ด้วย
2.) โสดาปัตติผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโสดาบัน คือผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว
คุณสมบัติที่สำคัญของโสดาบันก็คือ
- พ้นจากอบายภูมิตลอดไป คือจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย เพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้ (ใครจะไปเกิดในภูมิใดนั้น ขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียกว่ามรณาสันนวิถี ถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะส่งผลให้ไปเกิดใหม่ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจิตนั้นมากที่สุด)
- อีกไม่เกิน 7 ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์
- มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน จะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย
- มีศีล 5 บริบูรณ์ (ไม่ใช่แค่บริสุทธิ์) คือความบริสุทธิ์ของศีลนั้นเกิดจากความบริสุทธ์/ความประณีต ของจิตใจจริง ๆ ไม่ใช่ใจอยากทำผิดศีลแต่สามารถข่มใจไว้ได้ คือใจสะอาดจนเกินกว่าจะทำผิดศีลห้าได้
3.) สกทาคามีมรรคบุคคล หรือสกิทาคามีมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ที่เรียกว่าสกทาคามีมรรคจิต มรรคจิตในขั้นนี้ ไม่สามารถทำลายกิเลสตัวใหม่ให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิงเหมือนมรรคจิตขั้นอื่น ๆ เป็นแต่เพียงทำให้ โลภะ โทสะเบาบางลงเท่านั้น โดยเฉพาะกามฉันทะ และปฏิฆะ ถึงแม้ว่าความยึดมั่นที่มีอยู่จะน้อยลงไปก็ตาม ทั้งนี้เพราะกามฉันทะและปฏิฆะนั้นมีกำลังแรงเกินกว่า จะถูกทำลายไปได้ง่าย ๆ
4.) สกทาคามีผลบุคคล หรือสกิทาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านสกทาคามีมรรคมาแล้ว
คุณสมบัติสำคัญของสกทาคามีผลบุคคลก็คือ ถ้ายังไม่สามารถบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ในชาตินี้ ก็จะกลับมาเกิดในกามภูมิอีกเพียงครั้งเดียวก็จะบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ แล้วจะพ้นจากกามภูมิตลอดไป เพราะอริยบุคคลขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายที่จะเกิดในกามภูมิได้อีก
คำว่ากามภูมินั้นได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษยภูมิ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก แต่สกทาคามีบุคคลนั้นพ้นจากอบายภูมิไปแล้วตั้งแต่เป็นโสดาบัน จึงเกิดได้เพียงในสวรรค์ และมนุษย์เท่านั้น
5.) อนาคามีมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่เรียกว่าอนาคามีมรรคจิต ทำลายกิเลสได้เด็ดขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวคือ
- กามฉันทะ
- ปฏิฆะ
6.) อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว
คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)
ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น
สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย
- อวิหาภูมิ
- อตัปปาภูมิ
- สุทัสสาภูมิ
- สุทัสสีภูมิ
- อกนิฏฐาภูมิ
7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่
- รูปราคะ
- อรูปราคะ
- มานะ
- อุทธัจจะ
- อวิชชา
8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้

นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ
- สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง
- อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทางใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง)

พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่

ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด.

ธัมมโชติ
...... :b48: :b48: :b48: ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2010, 15:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 13:31
โพสต์: 5


 ข้อมูลส่วนตัว


Re: หาเพื่อนสนทนาธรรมที่มีความรู้ระดับอริยบุคคล
การที่จะบรรลุธรรมจนถึงหมดทุกข์ได้ต้องมีผู้รู้แจ้งเห็นจริงจริงๆจึงจะแนะได้บอกได้เพราะบางขั้นของจิตต้องเป็นผู้่รู้เท่านั้นที่สามารถเทศน์บอกแสดงให้กระจ่างข้ามพ้นได้ เพราะในตำราไม่ได้บอกทุกอย่างในตำราบอกแต่วิธีทำแต่เมื่อทำไปแล้วจะรู้ข้อติดขัดและไปไม่ได้เลยละ ดังนั้นเราคิดว่าการสนทนากับท่านผู้รู้นะดีแต่ท่านที่มีธรรมจริงแล้วก็มีนะแม้เป็นฆราวาสก็เยอะ ส่วนพระที่บรรลุธรรมแล้วท่านคงไม่มาเกลือกกลั้วกับพวกเราๆมั่งคุณติ๊ก1111 ดูสิแม่ชีแก้วกระดูกเป็นพระธาตุใสยังกะแก้วคริสตัล ในตำราบอกว่าบรรลุอรหันต์แล้วต้องบวชเป็นพระ เป็นภิกษุณี ถ้าไม่จะตายภายในเจ็ดวันแล้วทำไมท่านบรรลุธรรมตั้งแต่ปี๒๔๙๔-๙๕ ไม่เห็นตาย อยู่มาจนปี ๓๐ กว่าจึงนิพพานล่ะ เห็นไหมละว่าตำรานะมียังไม่หมด บางอย่างไม่มีในตำรา เพราะจิตที่เป็นไปต้องอาศัยผู้รู้ผู้เป็นก่อนแนะนำจึงผ่านได้
การสนทนาว่าบรรลุหรือไม่ย่อมสอบกันได้ถ้าได้ปฏิบัติจนเห็นเหมือนกันถ้าไม่เห็นแล้วถึงจะเล่ามาก็ไม่เข้าใจ งงอยู่ดี ถ้าคุณติ๊ก1111มีจิตบรรลุธรรรมแค่เล่าขณะที่จิตเป็นไปให้ท่านผู้บรรลุธรรมฟังท่านย่อมรู้ได้เลย ส่วนท่านที่แนะเกียวกับท่านผู้รู้ตำรามาให้คุณติ๊กนะอาจไม่เข้าใจแจ่มแจ้งว่าการอ่าน การฟังแต่ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถึงมันยิ่งสงสัยเข้าไปกันใหญ่ ถ้าคิดว่าพอสนทนากะคุณติ๊กได้ก็ลองมาตอบมาหน่อยสิอาจจะคุยกันได้นะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2010, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ติ๊ก1111 เขียน:
หาเพื่อนสนทนาธรรมที่มีความรู้ระดับอริยบุคคล

เหมือนขอทานแหละเจ้าคะ คนที่จะให้ทานเขาได้ต้องคนระดับเศรษฐีมหาเศรษฐี
ต่ำกว่านี้อย่ามาเสนอหน้านะ..เจ้าข้า :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2010, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การหาอริยะบุคคลภายนอกไม่ทำให้ใครพ้นจากกองทุกข์ไปได้หรอก ควรใช้ปัญญาใคร่ครวญพิจารณาว่าอะไรคือทุกข์? อะไรคือเหตุให้เกิดความทุกข์ อะไรคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ และอะไรคือความดับทุกข์ และคบหากัลยามิตรบัณฑิตผู้ที่สามารถชี้ทางสว่างบอกทางพระนิพพานให้ อันนี้จะเป็นประโยชน์กว่าและเป็นมงคลอันสูงสุดด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 03:24
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันให้ความรู้ และบอกสถานที่ที่จะไปหาความรู้เพิ่มเติมได้ ขอบคุณครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 19:06
โพสต์: 57


 ข้อมูลส่วนตัว


ploypet เขียน:
tongue สวัสดีคะ แค่มาทักทาย

ปัญญาอันน้อยนิดนี้ มิบังอาจสนทนาธรรมด้วยคะ

แต่ขอแนะนำท่านนึงนะคะ ท่านผู้นี้มีวาจาว่า

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

:b8:

ยึดที่ธรรม อย่ายึดที่บุคคลคะ



ผมเห็นคนที่ชอบพูดคำนี้บ่อยๆ น่าจะเป็นคนนี้ใช่มั๊ยครับ ผมก็ตามอ่านตลอดครับ
เห็นบทความของเขาอยู่ทั่วไป แต่ที่เห็นอยู่ประจำ ก็มีครับ
ลองไปคุยดูก็ได้ครับผมก็พึ่งเห็นเว็บของเขาครับ ตามลิ้งค์ข้างล่างครับ
อันนี้ส่วนตัวดี
http://phonsak.fix.gs/

อีกที่ครับ
http://leavesofeden.fws.cc/

.....................................................
ดาวน์โหลดหนังสือพุทธวจน-mp3-VDO ศูนย์มัลติมีเดีย วัดนาป่าพง
http://media.watnapahpong.org/
http://watnapp.com/

แจกหนังสือพุทธวจน-ซีดี-วีดีโอ (กลุ่มพุทธโอษฐ์)
http://sites.google.com/site/buddhaottha/home

ตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน บนเว็บไซต์
http://etipitaka.com/search

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ (รวมเสียงธรรม ดาวน์โหลด mp3)
http://truthoflife.fix.gs/index.php?board=117.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2010, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


35158.หาเพื่อนสนทนาธรรมที่มีความรู้ระดับอริยบุคคล

:b32:

เช่นนั้น ว่า ใช่นะ
แต่.... จขกท ...ล่ะ ระดับไหน?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2010, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
tongue สวัสดีครับคุณติ๊ก1111

คุณติ๊กต้องลองกลับไปค้นหามาอ่านเรื่องของท่านโพธิละเถระ ภิกษุคัมภีร์เปล่า ซึ่งสมัยเป็นภิกษูปุถุชน ท่านมีปัญญาดี จดจำพระไตรปิฎกไดอย่างแม่นยำ สั่งสอนลูกศิษย์ให้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ได้ตั้งมากมาย

อาจารย์ขี้เหล้า ขี้ยาในโรงเรียน มหาวิทยาลัย สั่งสอนลูกศิษย์ที่เชื่อถ้อย ฟังคำ เป็นคนดี เป็นใหญ่เป็นโตก็มีเยอะนะครับ

ต้องเอาธรรมเป็นใหญ่ อย่ายึดบุคคลเป็นหลัก ดังที่กัลยาณมิตรหลายท่านบอกไว้ ปฏิบัติไปก็จะรู้ไป พบกัลยาณมิตรที่ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อการประพฤติปฏิบัติของคุณถึงที่ ถึงเวลาที่จะต้องได้พบ มหากัลยาณมิตร คืออริยบุคคลทั้งหลาย เทวดาจะดลจิตดลใจให้คุณได้พบเองครับ

:b16: :b12:


อนัตตาธรรม ....จะอ้างประวัติพระอรหันต์ ก็ควรอ้างด้วยความเคารพ ทั้งการสะกดชื่อ และการนำไปเปรียบเปรยกับบุคคลในยุคสมัยปัจจุบัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2010, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




41_1718.jpg
41_1718.jpg [ 41.25 KiB | เปิดดู 6222 ครั้ง ]
cool อนัตตาธรรม ....จะอ้างประวัติพระอรหันต์ ก็ควรอ้างด้วยความเคารพ ทั้งการสะกดชื่อ และการนำไปเปรียบเปรยกับบุคคลในยุคสมัยปัจจุบัน

ท่านเช่นนั้นชำนาญด้านคัมภีร์ กรุณาช่วยเสริมเป็นภาษาทางการให้ดูเป็นตัวอย่างด้วยจะขอบพระคุณมากครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2010, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นกระทู้เก่า เห็นว่าดี ขออนุญาตลงในลานธรรมจักรครับ

ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรม

"เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งมีลูกศิษย์ลูกหาเยอะ วันหนึ่งตอนท่านเทศน์อบรมลูกศิษย์ ท่านสอนว่าการปฏิบัตินี้เหมือนเทน้ำใส่กระชอนให้มันเต็ม" :b31:

รายละเอียดตามข้างล่างนี้ :b41:
http://larndham.org/index.php?/topic/27482-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%8f%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%b6%e0%b8%87%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1/page__pid__396241__st__0&#entry396241


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2010, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


อืม

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2010, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. ตั้งคติไว้ถูก อุมาเหมือนจะเรียนหมอ ก็ต้องเรียนกับอาจารย์หมอ เป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุด จะไปเรียนกับใครที่เรียนไม่จบหมอ ก็ไม่ต่างอะไรกับตาบอดจูงมือตาบอดเดิน ... แม้พระพุทธองค์ก็ตรัสไว้เช่นนี้ว่า ต้องได้รับฟังธรรมจากสัตตบุรุษ จึงจะได้มีดวงตาเห็นธรรม

แต่ก็ขึ้นอยู่กับบุญของท่าน ว่าจะพาท่านไปพบสัตตบุรุษหรือไม่ เพราะจริงๆ ก็คือที่ท่านไม่มีเฉลยในมือ ไม่รู้ได้เองว่า ใครเป็นอริยบุคคล ... :b38:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2010, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2008, 18:29
โพสต์: 200

แนวปฏิบัติ: ธรรมะเพื่อพระนิพพาน
งานอดิเรก: สนธนาธรรม
อายุ: 0
ที่อยู่: ราชบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


เชิญที่เวปนี้เลยครับ www.sangthipnipparn.com

.....................................................
มโนมยิทธิ=เราคิดถึงพระฯ , แสงทิพย์นิพพาน=พระฯคิดถึงเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2011, 02:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แปลกดีครับ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2011, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


หาเพื่อนทางธรรมที่รู้อย่างมาก ก้คงเปนเพียงกัลยาณมิตร กัลยาณธรรม จะหาถึงขั้นโสดาปัติมรรคปัตติผลขึ้นไป
คงหาไม่ได้ง่ายๆในโลกนี้อย่างแน่นอน.... กัลยาณมิตร ก้เหมือนได้พบบัณฑิตชี่งได้มีความหมายตามมงคล
32 ประการ เท่านี้ก้จัดว่าดีแล้ว เขาบอกว่าคนที่เข้าใจการปฏิบัติธรรมถูกแล้วหากจะให้ก้าวหน้าขึ้นไป จะต้องมี
"ศรัทธาและวิริยะเสมอกัน" การปฏิบัตินี้เหมือนเทน้ำใส่กระชอนให้มันเต็ม เต็มเพราะกะชอนมันจมลงไปในน้ำแล้ว
แต่ถ้าไม่จม เทน้ำเท่าไรก้ไม่ยอมเต็ม ที่ยังไม่เต็มเพราะยังขาดศีล ยังมีทิฏฐิ ยังขาดความเชื่อมั่นในคำสอนของ
อาจารย์ตัวเอง และที่สำคัญไม่ขยันทำอย่างสม่ำเสมอ จึงเหมือนเทน้ำใส่กะชอนแล้วก้รั่วออก รักษาคุนความดีในตัว
ไว้ไม่อยู่ คติธรรมว่า "บำเพ็ญทานแล้วอย่าเสียดาย บำเพ็ญศีลต้องทำให้เกิดสติ บำเพ็ญภาวนาต้องให้มีปัญญา ไม่มีปัญญา ท่านจะกระวนกระวายใจ ขาดความเยือกเย็น ความตั้งใจก้ไม่เกิด ทำอะไรย่อมไม่สมหวัง แล้วจะประเสริฐได้ที่ไหนเล่า"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 135 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 110 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร