วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 08:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 10:13
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นคงต้องขอถามว่ากินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เช่นเราไปจับจ่ายจากตลาดแล้วนำมาปรุงกิน หรือไปกินที่ร้านอาหาร (ไม่ได้ไปชี้ตัวที่เป็นๆอยู่นะครับ) แบบนี้บาปไหมครับ

ถ้าตอบว่าบาป...ต่อมาจึงเป็นหัวข้อกระทู้ครับ
ทำไม ไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเป็นการสร้างกุศลครับ เพราะผมเข้าใจว่าแค่เพียงไม่สร้างบาปเพิ่มเท่านั้นเองนี่นา แต่ก็ไม่น่าได้กุศลหรือบุญเพิ่ม

อีกคำถามคือว่า ทำไมกินเนื้อสัตว์บาปมากกว่าพืชครับ เพราะพืชเองก็มีชีวิตเหมือนกัน

ขอบคุณครับ :b20:

แก้ไข: จากคำว่า "น้อย" เป็น "มาก"


แก้ไขล่าสุดโดย halem1982 เมื่อ 05 ต.ค. 2010, 11:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๕. ชีวกสูตร

เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์
เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง


[๕๗] พ. ดูกรชีวก ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้
ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง ดูกรชีวก
เรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน
เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล

ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น
เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค
ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.


เป็นพระพุทธดำรัสตรัสตอบปัญหาของหมอชีวกโกมารภัจจ์
คัดลอกจาก
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=13&A=950
อ่านอรรถกถาขยายความได้ที่
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=56

หมายความว่า ไม่ควรกินเนื้อที่เราเห็น หรือได้ยิน หรือรังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ
เนื้อที่กินได้ คือ เนื้อที่เราไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ

เจตนางดเว้นจากการกินเนื้อที่เราเห็น หรือได้ยิน หรือรังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ เป็นเจตนางดเว้นปาณาติบาต คือ ศีลข้อแรกของศีลห้า ได้กุศลจากการรักษาศึล

คำถามที่สอง "ทำไมกินเนื้อสัตว์บาปน้อยกว่าพืชครับ เพราะพืชเองก็มีชีวิตเหมือนกัน"
ขอแก้คำถามก่อนนะครับ ว่า กินพืชไม่บาป พืชเป็นสิ่งมีชีวิต ที่ปราศจากเวทนา คือ ความรู้สึกทุกข์สุข
ส่วนการกินเนื้อสัตว์มีหลักพิจารณาตามพระพุทธดำรัสข้างต้นครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 02 ต.ค. 2010, 09:31, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 23:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
ก่อนอื่นคงต้องขอถามว่ากินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เช่นเราไปจับจ่ายจากตลาดแล้วนำมาปรุงกิน หรือไปกินที่ร้านอาหาร (ไม่ได้ไปชี้ตัวที่เป็นๆอยู่นะครับ) แบบนี้บาปไหมครับ

บาปหรืออกุศล..นี้..มันก็มีหยาบ..มีละเอียด..ด้วยนะ

อกุศลหยาบ ๆ ก็พวกผิดศีล 5 เป็นต้น..อย่างที่ยกมานี้..ไม่ผิดศีล 5 แน่ ๆ

แต่อกุศลละเอียด ๆ ..ก็พวกความพอใจในรูป..รส..กลิ่น..เสียง..สัมผัส..และ.ธรรมารมณ์ ..คนที่คิดจะพ้นทุกข์..ต้องพิจารณาให้ดี..ว่าที่ซื้อหามากินนี้นะ..หากเกิดจากสิ่งเหล่านี้..ถือว่าเป็นอกุศล..

อ้างคำพูด:
ทำไม ไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเป็นการสร้างกุศลครับ เพราะผมเข้าใจว่าแค่เพียงไม่สร้างบาปเพิ่มเท่านั้นเองนี่นา แต่ก็ไม่น่าได้กุศลหรือบุญเพิ่ม


หาก..การไม่กินเนื้อสัตว์..เพราะปรารถณาให้เกิดการฆ่า..น้อยลง..เป็นการสร้างกุศลแน่นอน..ครับ
แต่ถ้าหาก..ไม่กินเนื้อสัตว์..เพราะอยากให้เขาว่าเราดี..เราเก่ง..อันนี้ไม่เป็นกุศล..ครับ

อ้างคำพูด:
อีกคำถามคือว่า ทำไมกินเนื้อสัตว์บาปน้อยกว่าพืชครับ เพราะพืชเองก็มีชีวิตเหมือนกัน

ขอบคุณครับ :b20:


คุณภูพิงค์..ตอบได้ตรงใจแล้วละครับ
ภูพิงค์ เขียน:
กินพืชไม่บาป พืชเป็นสิ่งมีชีวิต ที่ปราศจากเวทนา คือ ความรู้สึกทุกข์สุข


โมทนาสาธุ.. :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 04:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
ก่อนอื่นคงต้องขอถามว่ากินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เช่นเราไปจับจ่ายจากตลาดแล้วนำมาปรุงกิน หรือไปกินที่ร้านอาหาร (ไม่ได้ไปชี้ตัวที่เป็นๆอยู่นะครับ) แบบนี้บาปไหมครับ

ถ้าตอบว่าบาป...ต่อมาจึงเป็นหัวข้อกระทู้ครับ
ทำไม ไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเป็นการสร้างกุศลครับ เพราะผมเข้าใจว่าแค่เพียงไม่สร้างบาปเพิ่มเท่านั้นเองนี่นา แต่ก็ไม่น่าได้กุศลหรือบุญเพิ่ม

อีกคำถามคือว่า ทำไมกินเนื้อสัตว์บาปน้อยกว่าพืชครับ เพราะพืชเองก็มีชีวิตเหมือนกัน

ขอบคุณครับ :b20:

คุณเข้าใจถูกแล้วครับ มันไม่ได้สร้างกุศลเพิ่ม เพียงแต่ได้ชื่อว่าไม่ทำบาป
กรรมคือผลของการกระทำ เมื่อมิได้สร้างกรรมแล้วจะมีผลได้อย่างไรครับ

ผมสังเกตุเห็นสมาชิกบางท่าน ชอบบอกว่า ถือศีลแล้วจะได้บุญ
มันเป็นไปได้อย่างไรกันครับ ไม่ทำชั่ว แต่ก็ไม่ได้ทำบุญ
แล้วจะเอาบุญมาจากไหนกันครับ
เวลาจะสอนจะบอกใครต้องกล่าวว่าละชั่วสร้างกรรมดี

ฉะนั้นการถือศีลแต่อย่างเดียวหาใช่การสร้างบุญไม่
เราจะต้องสร้างธรรมที่เป็นกุศลควบคู่ไปด้วย
อย่างเช่น เมื่อมีเบญจศีล จึงต้องมีเบญจธรรม

ส่วนเรื่องกินพืชไม่บาป ง่ายๆสั้นๆครับ พืชไร้ซึ่งจิตวิญญาณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
หมายความว่า ไม่ควรกินเนื้อที่เราเห็น หรือได้ยิน หรือรังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ
เนื้อที่กินได้ คือ เนื้อที่เราไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ

เจตนางดเว้นจากการกินเนื้อที่เราเห็น หรือได้ยิน หรือรังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ เป็นเจตนางดเว้นปาณาติบาต คือ ศีลข้อแรกของศีลห้า ได้กุศลจากการรักษาศึล

ผมอ่านคำอธิบายความของคุณแล้ว ผมเกิดความรู้สึกขัดๆ แย้งๆขึ้นในใจ
ที่บอกว่าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ แล้วถ้ารู้ด้วยสามัญสำนึกล่ะ

การอธิบายความ หรือเผยแผร่ธรรมของพระพุทธเจ้า
ถ้ากระทำโดยขาดความเข้าใจ อธิบายไปตามเหนือหา
หรือแปลข้อความลงไปตรงๆ มันจะทำให้เกิด
ความขัดแย้งขึ้นในใจของผู้ฟัง ฉะนั้นจึงควรนำธรรมในหมวดหรือข้ออื่น
มาอธิบายประกอบธรรมนั้นๆ จะได้เป็นเหตุเป็นผล
คำสอนของพระพุทธเจ้าจะได้ไม่เสียหาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 21:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนเรารู้มาไม่เท่ากัน...ไม่เหมือนกัน

หากมีสิ่งใดที่คิดว่า..ควรจะกล่าวเพิ่ม..เสริมให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป..

ก็น่าจะเป็นกุศล..กว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันเนื่องมาจากข้อเขียนของคุณโฮฮับ

จึงขอขยายความดังนี้

อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ตติยวรรค ปุตตสูตร
อรรถกถาปุตตสูตร


ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม ความพยายามที่จะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.

ปาณาติบาตที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ ไม่พ้นไปจากองค์ ๕ พึงทราบว่าเป็นปาณาติบาต. ในองค์ประกอบ ๕ อย่างนั้น การรู้ว่าสัตว์มีชีวิต และจิตคิดจะฆ่า จัดเป็นบุพภาค (ของปาณาติบาต) ส่วนความพยายามที่จะฆ่า เป็นองค์ประกอบให้วธกเจตนาปรากฏชัด.

ปาณาติบาตนั้นมี ๖ ประโยค คือ
๑. สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือตนเอง)
๒. อาณัตติกประโยค (ใช้ผู้อื่นฆ่า)
๓. นิสสัคคิยประโยค (การขว้างอาวุธไป ปล่อยอาวุธไป)
๔. ถาวรประโยค (เครื่องมือฆ่าสัตว์ที่ทำไว้ประจำ)
๕. วิชชามยประโยค (อำนาจคุณแลไสยศาสตร์)
๖. อิทธิมยประโยค (การบันดาลด้วยฤทธิ์)

พิจารณาจากอรรถกถาข้างต้น การกินเนื้อสัตว์อาจไม่ครบองค์ประกอบของปาณาติบาต

แต่ถ้าได้เห็น ได้ยิน แล้วเกิดความสงสัยหรือคิดสงสัยรังเกียจขึ้นเองว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นตาย เหตุเพราะเจาะจงเพื่อให้ตนกิน ก็ทำให้จิตเศร้าหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังพระพุทธวจนะ ว่า “จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา”

หรือเมื่อกินเนื้อสัตว์ แล้วชอบใจติดใจในรส พลอยยินดีกับการฆ่า ข้อนี้แม้ศีลยังไม่ขาด แต่ด่างพร้อย ไม่บริสุทธ์

อรรถกถาขยายความชีวกสูตร ท่านวินิจฉัยไว้น่าฟัง ความว่า

“ในส่วนที่สงสัยทั้ง ๓ นั้น มีวินิจฉัยรวบรัด ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้เห็นคนทั้งหลายถือตาข่ายและแหเป็นต้น กำลังออกไปจากบ้านหรือกำลังเที่ยวอยู่ในป่า. แต่วันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาต (อาหาร) ที่มีเนื้อปลาถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยโดยการเห็นนั้นว่า เนื้อปลาเขาทำมาเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ.
นี้ชื่อว่าสงสัยโดยเห็น. รับอาหารที่สงสัยโดยการเห็นนั้น ไม่ควร. อาหารใด ภิกษุไม่ได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. ก็ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.
ภิกษุทั้งหลายไม่เห็นอย่างนั้นเลย แต่ได้ยินมาว่า เขาว่าคนทั้งหลายถือตาข่ายและแหเป็นต้นออกจากบ้านไป หรือเที่ยวไปในป่า. รุ่งขึ้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาตที่มีเนื้อปลามาถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยโดยการได้ยินนั้นว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ.
นี้ชื่อว่าสงสัยโดยได้ยินมา. รับอาหารนั้น ไม่ควร. อาหารใดมิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. แต่ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าขา อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่พวกข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.
อนึ่ง ภิกษุไม่เห็น ไม่ได้ยินมา เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้นคนทั้งหลายรับบาตรเอาไปตกแต่ง บิณฑบาตที่มีเนื้อปลานำไปถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือ.
นี้ชื่อว่าสงสัยนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. รับอาหารแม้นั้นก็ไม่ควร อาหารใดมิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. แล้วถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก เราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก หรือว่าพวกเราได้ปวัตตมังสะ (เนื้อที่เขามีอยู่แล้ว) เป็นของกัปปิยะ (ควร) ทั้งนั้น จึงตกแต่งเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย รับอาหารนั้นก็ควร. ในอาหารที่เขาทำเพื่อประโยชน์เป็นเปตกิจ (อุทิศ) สำหรับคนที่ตายไปแล้ว หรือเพื่อประโยชน์แก่การมงคลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
แท้จริง อาหารใดๆ เขามิได้กระทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายก็มิได้เคลือบแคลง สงสัยในอาหารอันใด รับอาหารนั้นทุกอย่างก็ควร.”


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 03 ต.ค. 2010, 20:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
halem1982 เขียน:
ก่อนอื่นคงต้องขอถามว่ากินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เช่นเราไปจับจ่ายจากตลาดแล้วนำมาปรุงกิน หรือไปกินที่ร้านอาหาร (ไม่ได้ไปชี้ตัวที่เป็นๆอยู่นะครับ) แบบนี้บาปไหมครับ

ถ้าตอบว่าบาป...ต่อมาจึงเป็นหัวข้อกระทู้ครับ
ทำไม ไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเป็นการสร้างกุศลครับ เพราะผมเข้าใจว่าแค่เพียงไม่สร้างบาปเพิ่มเท่านั้นเองนี่นา แต่ก็ไม่น่าได้กุศลหรือบุญเพิ่ม

ขอบคุณครับ :b20:

คุณเข้าใจถูกแล้วครับ มันไม่ได้สร้างกุศลเพิ่ม เพียงแต่ได้ชื่อว่าไม่ทำบาป
กรรมคือผลของการกระทำ เมื่อมิได้สร้างกรรมแล้วจะมีผลได้อย่างไรครับ

ผมสังเกตุเห็นสมาชิกบางท่าน ชอบบอกว่า ถือศีลแล้วจะได้บุญ
มันเป็นไปได้อย่างไรกันครับ ไม่ทำชั่ว แต่ก็ไม่ได้ทำบุญ
แล้วจะเอาบุญมาจากไหนกันครับ
เวลาจะสอนจะบอกใครต้องกล่าวว่าละชั่วสร้างกรรมดี

ฉะนั้นการถือศีลแต่อย่างเดียวหาใช่การสร้างบุญไม่
เราจะต้องสร้างธรรมที่เป็นกุศลควบคู่ไปด้วย
อย่างเช่น เมื่อมีเบญจศีล จึงต้องมีเบญจธรรม



ขอแก้ข้อความที่ป้ายสีฟ้าไว้ ดังนี้

พระพุทธวจนะ

“เจตนาหํ ภิกฺเว กมฺมํ วทามิ” แปลว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นตัวกรรม”
“เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ วทามิ” แปลว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นตัวศีล”

เมื่อมีเจตนางดเว้นกายทุจริต วจีทุจริต รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ก็สำเร็จเป็นบุญแล้ว

สมดังพระพุทธดำรัสตรัสสอนปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ความตอนหนึ่งว่า...

[๒๒๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น
การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก
เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ เป็นไฉน
...
ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง

๑. ทานมัย [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน]
๒. สีลมัย [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล]
๓. ภาวนามัย [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา]...

ขอส่งท้ายด้วยพุทธภาษิตนี้ครับ

สีเลนะ สุคะติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข

สีเลนะ โภคะสัมปะทา
ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติ

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน

ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
เพราะฉะนั้น จงทำจิตให้สะอาดหมดจดด้วยศีลตลอดกาลทุกเมื่อเถิด

ถ้าสิ่งที่เขียนไว้ก่อให้เกิดความขุ่นข้องไม่สบายใจใดๆ แก่ใคร ผมขอให้อดโทษ
และโปรดอโหสิกรรมต่อกัน ไว้ ณ ที่ตรงนี้เทอญ
:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 03 ต.ค. 2010, 13:20, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
ขอแก้ข้อความที่ป้ายสีฟ้าไว้ ดังนี้

ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง

๑. ทานมัย [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน]
๒. สีลมัย [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล]
๓. ภาวนามัย [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา]...

รบกวนถามคุณภูพิงค์ครับ ที่ว่าถ้าเรารักษาศีลแต่อย่างเดียวก็เป็นบุญแล้ว
ผมมีปัญหาครับ ตัวอย่างเช่น
1.ห้ามฆ่าสัตว์ ผมไม่เคยฆ่าสัตว์เลย ถ้าสมมุติผมเห็นลูกหมาตกน้ำ
ซึ่งมันตกไปเอง ผมไม่ช่วยมัน ผมจะยังได้บุญจากข้อนี้มั้ย
2.ห้ามลักทรัพย์ ถ้าผมเปิดบ่อนการพนันรับแทงบอล
เล่นตามกติกาทุกอย่างไม่โกงใคร ผมจะได้บุญมั้ยครับ
3.ข้อกาเม ผมไม่เคยผิดลูกเมียใคร แต่ผมชอบเที่ยวผู้หญิง
ทั้งผู้หญิงและผม ไม่มีพันธะและผู้ปกครอง ผมจะได้บุญมั้ยครับ
4.ห้ามพูดปด ผมไม่เคยพูดปดกับใคร ผมเห็นโจรวิ่งราวหนีตำรวจ
แต่ผมทำเฉยเสียไม่บอกตำรวจ ผมจะได้บุญมั้ยครับ
5.ห้ามกินเหล้า ทั้งชีวิตไม่เคยกินเหล้า แต่วันๆผมชอบนั่งฝัน สร้างจินตนาการ
แต่เรื่องที่ไร้สาระ ผมจะมีบุญในข้อนี้มั้ยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ภูพิงค์ เขียน:
หมายความว่า ไม่ควรกินเนื้อที่เราเห็น หรือได้ยิน หรือรังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ
เนื้อที่กินได้ คือ เนื้อที่เราไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ

เจตนางดเว้นจากการกินเนื้อที่เราเห็น หรือได้ยิน หรือรังเกียจว่าเขาฆ่าเจาะจงให้เรากินโดยเฉพาะ เป็นเจตนางดเว้นปาณาติบาต คือ ศีลข้อแรกของศีลห้า ได้กุศลจากการรักษาศึล

ผมอ่านคำอธิบายความของคุณแล้ว ผมเกิดความรู้สึกขัดๆ แย้งๆขึ้นในใจ
ที่บอกว่าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ แล้วถ้ารู้ด้วยสามัญสำนึกล่ะ

การอธิบายความ หรือเผยแผร่ธรรมของพระพุทธเจ้า
ถ้ากระทำโดยขาดความเข้าใจ อธิบายไปตามเหนือหา
หรือแปลข้อความลงไปตรงๆ มันจะทำให้เกิด
ความขัดแย้งขึ้นในใจของผู้ฟัง ฉะนั้นจึงควรนำธรรมในหมวดหรือข้ออื่น
มาอธิบายประกอบธรรมนั้นๆ จะได้เป็นเหตุเป็นผล
คำสอนของพระพุทธเจ้าจะได้ไม่เสียหาย

คุณภูพิงค์ครับ สิ่งที่คุณกล่าวมา แล้วผมแย้งว่า รู้ได้ด้วยสามัญสำนึก
ซึ่งความจริงมันก็เป็นอย่างนั้น ในตอนท้ายผมจึงแนะนำว่า
เราต้องเอาธรรมในข้ออื่น มาพิจารณาร่วมด้วย

อย่างเช่น พระพุทธเจ้าทรงมีวินัยไว้ว่า ห้ามภิกษุปรุงอาหารหรือเก็บ
อาหารไว้ อาหารที่จะฉันต้องรับจากญาติโยมและสิ่งสำคัญ
ห้ามปฏิเสธการให้ทานหรือใส่บาตรของฆราวาส
แต่ก็ยังคงกำหนดไว้ว่า เมื่อรับมาแล้ว
อาหารที่รับมาอย่างไหนฉันท์ได้อย่างไหนฉันท์ไม่ได้

ดังนั้นพินิจพิเคราะห์ดูแล้ว ภิกษุไม่มีสิทธิที่จะเลือกครับ การฉันท์อาหารที่ทำจาก
เนื้อสัตว์จึงสามารถทำได้ครับ ไม่เข้าข่ายปาณาฯ

แต่ฆราวาสมีสิทธิที่จะเลือก สามารถปรุงอาหารเองได้
ฉะนั้นการที่จะกินเนื้อสัตว์หรือกินพืชผักก็สามารถทำได้
ฉะนั้นลองคิดดูซิครับว่า ท่านจะเลือกทำบาปหรือละบาปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


halem1982 เขียน:
ก่อนอื่นคงต้องขอถามว่ากินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เช่นเราไปจับจ่ายจากตลาดแล้วนำมาปรุงกิน หรือไปกินที่ร้านอาหาร (ไม่ได้ไปชี้ตัวที่เป็นๆอยู่นะครับ) แบบนี้บาปไหมครับ

ถ้าตอบว่าบาป...ต่อมาจึงเป็นหัวข้อกระทู้ครับ
ทำไม ไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเป็นการสร้างกุศลครับ เพราะผมเข้าใจว่าแค่เพียงไม่สร้างบาปเพิ่มเท่านั้นเองนี่นา แต่ก็ไม่น่าได้กุศลหรือบุญเพิ่ม

อีกคำถามคือว่า ทำไมกินเนื้อสัตว์บาปน้อยกว่าพืชครับ เพราะพืชเองก็มีชีวิตเหมือนกัน

ขอบคุณครับ :b20:


เขาตายด้วยมือคนอื่น เราไม่มีส่วนในการฆ่า
เช่น หมู ไก่ ที่วางตามตลาด
เวลาเราไปซื้อ .... เราซื้อ"ซาก"
ซากไม่มีชีวิต ซากเป้นธาตุ เป้นรูป ไม่มีใจครอง ไม่เป็นสิ่งมีชีวิต
เราเอาซากมาเป้นอาหาร เหมือนพืชผัก ดินน้ำลมไฟ

แต่ถ้าเราเป็นผู้บงการเอาชีวิตเขา เพื่อหวังเอาซากของเขา
เราก็ไปไล่เอาชีวิตออกไป จะได้เอาซากมาเป็นของตัว
เช่นไปบงการว่า จะเอาตัวนี้ เอาตัวนั้น
อย่างนี้บาปเต็มๆ เพราะเรามีส่วนในการฆ่า
คือเป็นผู้บงการเอาชีวิต


ส่วนพืชนั้น มันไม่จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตในทรรศนะของพระพุทธเจ้า
ท่านไม่ได้ระบุว่าพืชอยู่ในวัฏฏะสงสาร
พืชเป็นเพียงธาตุที่เกิดดับตามเหตุปัจจัย แต่ "ไม่ได้มีจิตใจครอง"
เกิดดับไปตามปัจจัย เช่นมีน้ำ มีแสง มีดิน

ส่วนที่คุณเห็นว่าการไม่กินเนื้อสัตว์เป็นบุญตรงไหน
ก็แค่ไม่ทำบาปเพิ่มเท่านั้น นับว่าเป็นคำถามที่น่าคิด
และถามแบบนี้ ก็น่าชื่นชม คือสงสัยได้อย่างน่ารักดี มีความจริงใจใคร่รู้


บุญบาปนั้น "เกิดจากการปรุงของจิต"
หมายความว่าอะไรจะบาปมากบาปน้อย บุญมากบุญน้อย
ล้วนแล้วแต่การปรุงของจิต..ของแต่ละคน

เรื่องเดียวกันแท้ๆ
หากอยู่คนละสถานการณ์ ก้จะมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน

อย่างคนฝรั่งที่กินแต่ผัก
เขาไม่ได้หมายมั่นสำคัญว่าได้ช่วยชีวิตสัตว์อะไรยังไง
เขาแค่รู้ว่ากินผักดี เขาอยากบำรุงร่างกายแบบนั้น
เพราะฉะนั้น การกินผักของเขา เขาก็ไม่ได้รู้สึกอะไรกับมันมากนัก
จะว่าเป็นบุญเพราะไม่กินผัก ตามความหมายที่เรากำลังจะพูดกันนั้น คงพูดลำบาก

ถ้าไม่กินเนื้อ แล้วกินแต่ผัก แล้วเป็นบุญ
พวกสัตว์กินพืช เช่นช้างม้าวัวควาย คงจะมีบุญมาก
เพราะทั้งชีวิตกินแต่ผัก

ส่วนพระพุทธเจ้า กลับกินอาหารตามปกติ แต่เป็นได้ถึงพระพุทธเจ้า

แสดงว่า การเกิดของบุญ
"ไม่เกี่ยวกับว่ากินอะไร ไม่เกี่ยวกับอาหาร"
แต่อยู่กระบวนการภายในใจของแต่ละคนๆ ที่มีต่ออาหาร

บุญก็เหมือนอาหาร เรากินอะไร ได้อันนั้น
แต่ละคน กำลังสติปัญญาแตกต่างกัน
การเลือกกินอาหารก็เป็นไปตามกำลังสติปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: กินเจ...กินเนื้อ - "กบ" กับ "คางคก" :b8:
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=34808

:b8: :b8: :b8:

ก า ร กิ น เ นื้ อ สั ต ว์
ขั ด แ ย้ ง กั บ พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ห รื อ ไ ม่ ?
:b8:
อาจารย์สมภาร พรมทา


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18152


:b4: :b8: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 05 ต.ค. 2010, 01:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 01:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:40
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโฮฮับครับจะกินเนื้อไม่กินเนื้อจะบาปบุญทำไปเถอะ มีความสุขก็ทำไปชีวิตพวกเราลงมาเสพสุขอะไรที่

เป็นทุกข์ก็อย่าไปทำ ถ้ายังเสพสุขได้มากกว่าทุกข์ก็OK แต่ถ้าทุกข์มากๆเมื่อไร ทุกข์จนรู้สึกเบื่อเกมส์ชีวิต

ก็ลองมาศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าดูพิจารณาดู จะขอเล่นเกมส์ชีวิตต่อแต่ขอเบาๆอีกหลายรอบไม่

ต้องทุกข์มากหรือขอออกไม่ลงมาเล่นเกมส์แล้ว เบื่อเกมส์ยาว พระพุทธเจ้ามีวิธี อยู่ในพระธรรม เข้าใจ

ง่าย ศึกษาจะเข้าใจ เกิดมาทำไม อะไรเป็นเครื่องให้เกิด อะไรเป็นเครื่องชี้นำว่าเกิดมาใหม่จะเป็นอย่างไร

กรรมมีผลอย่างไรกับการเวียนตายเวียนเกิด ในชาติหน้า อยากเกิดมาดีกว่านี้ แย่กว่านี้ หรือไม่อยากเกิด

เต็มแล้ว อิ่มแล้ว พอแล้ว ไม่กระหายอีกแล้ว กลับมาเกิดเป็นมหาเศษฐีก็ไม่เอา กลับมาเกิดมีอำนาจล้นฟ้า

กลับมามีร่ำรวยมีแฟนสวยก็ไม่เอา ถ้าแน่ใจ ไม่ผิดหวัง...พระพุทธเจ้าพระบรมครูหลุดออกจากเกมส์ได้ ลูก

ศิษย์ก็ต้องหลุดได้..ลองศึกษาดูอาจเจอคำตอบ..จะได้อยู่อย่างสบายทั้งชาตินี้และชาติหน้า..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ชาวพุทธ รู้จักศีล สมาธิ ภาวนา
สอนเพิ่อให้เราหมั่นปฏิบัติ เมื่อทำบ่อยเข้าก็จะเกิดความเข้าใจ
ผลสุดท้ายก็จะมีปัญญาเกิดขึ้น เพื่อพิจารณาการกระทำของเรา
ในแต่ละอย่างว่า สิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล

คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่นำมาแห่งปัญญา
เพื่อการเป็นอยู่และความเข้าใจในธรรมชาติ
อยู่อย่างกลมกลืนไปกับธรรมชาติ
ไม่เอาชนะธรรมชาติ ด้วยการเบียงเบนธรรมชาติ
พยายามเปลี่ยนแปลงเหตุและผลของธรรมชาติ ตามความต้องการของใจตนเอง

พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นถึงอริยสัจจ์สี่และเรื่องเหตุปัจจัย
ถ้าเราเอาหลักการเรื่องเหตุปัจจัยมาพิจารณาในเรื่องนี้
เราก็จะรู้ว่า....ความอยากกินเนื้อของเรา เป็นเหตุปัจจัยของการฆ่า

สิ่งที่ทำให้พวกเราเข้าใจผิดอยู่ ก็เพราะขาดความเข้าใจเรื่องเหตุปัจจัย
มองเหตุเป็นผล และมองผลมาเป็นเหตุ
ที่สำคัญที่ว่าด้วยเหตุปัจจัย ไม่ใช่การกระทำแค่สองวาระ
อาจเป็นสามหรือสี่ก็ได้มันวนกันเป็นวง

ที่แน่ๆผมมองเห็น อวิชชาในกระทู้นี้แล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้ารับประเคนเนื้อ
เราก็ทำตามพระพุทธเจ้า
จะหาว่าเราผิดได้อย่างไร

ตรงกันข้าม เรื่องการห้ามภิกษุฉันเนื้อ
ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยทรงวินิจฉัย
พระเทวทัตเคยยกขึ้นเพื่อทรงพิจารณาบัญญัติเป็นพระวินัยแล้ว
แต่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ

ท่านจะก้าวล่วงพุทธวินิจฉัยหรือ
พระพุทธเจ้าฉันเนื้อ พระพุทธเจ้าคงมีอวิชชากระมัง

อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้บอกว่า "ต้องกินเนื้อ"
พระองค์ไม่ได้เลือกว่าต้องกิน หรือต้องไม่กิน ใช่หรือไม่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 94 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร