วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:40
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร ประโยคนี้ได้ยินบ่อยมาก หลุดแล้วได้อะไร ทำอย่างไรจึงหลุดได้ขอรับ.. smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไม่เห็นทุกข์ ก็ไม่อยาก ออกจากทุกข์
ตราบใดที่อยู่ในวัฏฏะสงสาร ตราบนั้นยังมีความทุกข์
เพราะ เมื่อมีการเกิด(ชาติ) การแก่ การเจ็บ และการตาย โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ย่อมตามมา ไม่หนีพ้น

อ้างคำพูด:
ก็อุปายาสเป็นไฉน ?
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของ
บุคคลผู้คับแค้นของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูก
ธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส.
บทว่า วิปริณามญฺญถาภาเวน ได้แก่ เพราะละความเป็นปกติ
เข้าถึงความเป็นอย่างอื่น. ความเหี่ยวแห้งภายในใจ ชื่อว่า โศก, ความ
บ่นเพ้อด้วยวาจา ชื่อว่า ปริเทวะ, ความบีบคั้นทางกายเป็นต้น ชื่อว่า
ทุกข์, ความบีบคั้นทางใจ ชื่อว่า โทมนัส, และความคับแค้นใจอย่าง
แรง ชื่อว่า อุปายาส. ความโศกเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น
ย่อมเกิดขึ้น คือย่อมถึงความปรากฏ


ถ้าใครไม่กลัว ไม่จำเป็นที่จะต้องหนี เพราะมันมีกามคุณอยู่
เพลิดเพลินในกามคุณ ชอบกามคุณ ก็ยังได้ว่ายเวียนอีกนาน
ความพออกพอใจ(อภิชฌา) พาให้ติดข้อง ไม่เบื่อหน่าย ไม่คลายกำหนัด
ยินดีที่จะว่ายเวียน ก็เชิญตามสบาย เพราะการว่ายเวียนนั้นง่าย แต่การหลุดพ้นน้ันยากกว่า ลำบากกว่า

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


poorboy เขียน:
การหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร ประโยคนี้ได้ยินบ่อยมาก หลุดแล้วได้อะไร ทำอย่างไรจึงหลุดได้ขอรับ..


วัฏฏสงสาร คือการเกิดขึ้น ความเป็นไป ความดำเนินไป ของกองทุกข์
ความไม่เกิด ไม่เป็นไป ไม่ดำเนินไป ในกองทุกข์ เป็นลักษณะที่เรียกกันว่า หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร

หลุดแล้วได้อะไร?
ไม่ได้อะไรเลยครับ จะหาอะไรก็ไม่ได้ครับ

ทำอย่างไรจึงหลุดได้?
มรรคปฏิปทา เป็นหนทางแห่งความดับทุกข์ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

http://www.oknation.net/blog/mylifeandw ... 07/entry-1

คุณ poorboy ได้รูปประจำตัวมาจากไหนครับน่า

เรื่องการหลุดพ้นเนี่ย ผู้คนหรือเจ้าลัทธิต่างๆแสวงหาก่อนพุทธกาลอีก นั่นๆเขาก็ว่าเขาหลุดพ้นแล้วนะน่า :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:40
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณวิสัชชนาของท่านอาจารย์ เรียนถามถึงชีวิต ที่ว่าเราเกิดมาบนกองทุกข์จึงไม่อยากเกิดเบื่อการเกิด จึงต้องหาทางหลุดพ้นไม่กลับมาเกิด ฟังดูเหมือนเราลงมาเกิดผิดโลก โลกนี้ไม่มีสุขมีแต่กองทุกข์ ทำให้ไม่อยากมาเกิด เหมือนวิญญาณถูกทำโทษให้มาเกิดเป็นคนที่ต้องทนทุกข์เรื่อยไป แล้วก็ตายแล้วมาเกิดทนทุกข์อีกถ้ายังหลงยึดติดกับสิ่งเสพติดรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส กระผมเข้าใจถูกต้องไหมขอรับ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


poorboy เขียน:
ขอบพระคุณวิสัชชนาของท่านอาจารย์ เรียนถามถึงชีวิต ที่ว่าเราเกิดมาบนกองทุกข์จึงไม่อยากเกิดเบื่อการเกิด จึงต้องหาทางหลุดพ้นไม่กลับมาเกิด ฟังดูเหมือนเราลงมาเกิดผิดโลก โลกนี้ไม่มีสุขมีแต่กองทุกข์ ทำให้ไม่อยากมาเกิด เหมือนวิญญาณถูกทำโทษให้มาเกิดเป็นคนที่ต้องทนทุกข์เรื่อยไป แล้วก็ตายแล้วมาเกิดทนทุกข์อีกถ้ายังหลงยึดติดกับสิ่งเสพติดรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส กระผมเข้าใจถูกต้องไหมขอรับ ..


คุณ POORBOY

ทุกขอริยสัจจ์ กล่าวถึงทุกข์แห่งอริยสัจจ์ ซึ่งไม่ได้แสดงความหมายเป็นคู่ตรงข้ามกับ สุข-ทุกข์

ทุกขอริยสัจจ์ เป็นการแสดงภาวะของ ทุกข์ ที่มาจาก คำว่า ทุ+ขํ นะครับ

ทุ ความหมายคือ ชั่ว เลว ไม่ดี
ข ความหมายคือ ว่างเปล่า

ทุ+ขํ >>> ทุกข์

หมายความถึงสภาวะะที่ เลวและว่างเปล่า ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ก็จะเข้าใจความหมายของทุกข์สัจจ์ ที่ชนชาติในสมัยพุทธกาลนั้นเข้าใจ และสื่อความหมายเดียวกันว่า ทุกขสัจจ์ เป็นสัจจะที่มุ่งบอกว่าสภาวะนั้นไม่ดีไม่มีแก่นสารว่างเปล่าครับ อย่าไปเข้าใจเอาว่า เป็นคู่ตรงข้ามของ สุข-ทุกขเวทนา ความหมายของทุกขสัจจ์กว้างกว่าครับ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


poorboy เขียน:
ขอบพระคุณวิสัชชนาของท่านอาจารย์ เรียนถามถึงชีวิต ที่ว่าเราเกิดมาบนกองทุกข์จึงไม่อยากเกิดเบื่อการเกิด จึงต้องหาทางหลุดพ้นไม่กลับมาเกิด ฟังดูเหมือนเราลงมาเกิดผิดโลก โลกนี้ไม่มีสุข มีแต่กองทุกข์ ทำให้ไม่อยากมาเกิด เหมือนวิญญาณถูกทำโทษให้มาเกิด เป็นคนที่ต้องทนทุกข์เรื่อยไป แล้วก็ตายแล้วมาเกิดทนทุกข์อีก ถ้ายังหลงยึดติดกับสิ่งเสพติด รูป รสก ลิ่น เสียงสัมผัส กระผมเข้าใจถูกต้องไหมขอรับ ..


ทั้งหมดนั่นเป็นไปได้ไหมครับว่า เพราะเราไปยึดติดมั่นถือมั่นว่าเรา มีเรา คือเราทุกข์ เราสุข เราเป็นนั่น

เป็นนี่ เราไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ มันจึงทุกข์

หากมองในมุมกลับล่ะว่า มันจะทุกข์ก็เรื่องของมัน เราไม่ทุกข์ด้วย มันจะสุขก็เรื่องมัน เราไม่สุขด้วย

วิญญาณจะถูกลงโทษก็เรื่องของมัน เราไม่ได้ถูกลงโทษด้วย

สรุปก็คือว่า มันจะเป็นอะไรก็เรื่องของมัน เราไม่เป็นไปกับมันด้วย แต่เราจะอยู่ด้วยความรู้เข้าใจชีวิตและ

โลกนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็
เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น
ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง
ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์
ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด
ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน
หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง
เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ
ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ
ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์
นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ
พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้
เรียกว่าโสกะ ฯ
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ
กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ
บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ
เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความ
เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น
ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ
ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่
เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ฯ
ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ
ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา
ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก
โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์
หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็
เป็นทุกข์ ฯ
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา
ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ
เกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ
ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ
ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา
ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้
สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอ
เราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง
ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น
ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์
ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็
เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์
ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น
ก็เป็นทุกข์ ฯ
ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:40
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่สละเวลาอัตถาธิบาย เรื่องทุกข์ สรุปคือความเปลี่ยนแปลงการสูญเสีย การไม่ได้อย่างที่อยากได้อยากเป็นอยากทำคือความทุกข์ ดูแล้วไม่หนักหนาขนาดต้องหาทางหลุดพ้นไม่อยากเกิดอีกทุกชาติ ในชีวิตกระผมด้อยความรู้ในธรรม คิดว่าถ้าไม่มีทุกข์จะมีสุขได้อย่างไร ถ้าไม่มีกลางวันจะมีกลางคืนได้อย่างไร ถ้าโลกนี้มีแต่ชายไร้หญิง โลกนี้คงไร้ร่างมนุษย์ ใช่ไหมขอรับอาจารย์ ทำให้กระผมไม่เข้าใจว่าเราจะหาทางหลุดพ้นไปทำไม หลุดพ้นไปแล้วเราจะไปไหน มีจุดหมายหรือไม่ มีหลักฐานอ้างอิงให้พอเชื่อได้ไหมว่า เมื่อหลุดจากตรงนี้ไปแล้ว ที่ใหม่จะดีกว่าที่เก่า โลกใหม่จะดีกว่าโลกเก่า เราตั้งจุดหมายถึงการหลุดพ้นไปถึงนิพพาน มันไกลเกินไป ขนาดพระพุทธเจ้ายังต้องละทิ้งสมบัติทรัพสินหลายชาติภพ ส่วนเราชาตินี้ยกบ้านยกรถยกคอมยกทีวีตู้เย็นเงิน7พันล้าน(ฝันว่ามี ความจริงมีอยู่แค่7พันบาท)ที่มีอยู่ในธนาคารให้คนอื่น แล้วใครที่ไหนเขาจะทำได้ มีทองเท่าหนวดกุ้งยังนอนสะดุ้งจนเรือนไหว แล้วถ้าเป็นเพียงความเพ้อฝัน เพ้อเจ้อ จะมาตั้งจุดหมายกันทำไม เสียเวลาเปล่าๆเอาเวลาที่เหลือมาค้นหาตักตวงความสุขปันสุขให้ผู้อื่นบ้างตามสมควรไม่ดีกว่าหรือ หรือมีใครคิดสละทรัพย์ทั้งสิ้น รถยนตร์บ้านพร้อมที่ดินเก่าๆเป็นทานบ้าง ผมยินดีไปเซนต์รับโอน ถึงบ้านเลยขอรับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




dd139.jpg
dd139.jpg [ 132.57 KiB | เปิดดู 6701 ครั้ง ]
cool
การหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร ประโยคนี้ได้ยินบ่อยมาก หลุดแล้วได้อะไร ทำอย่างไรจึงหลุดได้ขอรับ..

คุณ Poorboy กำลัง Poor viewing & Poor thinking อยู่หรือเปล่าครับ หรืออยากลองภูมิผู้รู้ทั้งหลายในลานธรรมจักร

คุณPoorboy อย่าพยายามมองวัฏสงสารวงใหญ่ ชนิดข้ามภพข้ามชาติซิครับ มันพิสูจน์ยาก
ลองเปลี่ยนมามองวัฏสงสารวงเล็ก เช่น
ตื่นเช้ามาล้างหน้าแปรงฟัน ทำงานและกิจกรรมทั้งวันแล้วเข้านอน
วันที่ 2 ก็ทำอย่างเดียวกัน
วันที่ 3 - 4 - 5 ..............ก็ทำอย่างเดียวกัน
จนถึงสัปดาห์ที่ เดือนที่ ปีที ตราบจนอายุได้มาถึงปูนนี้ ก็ตื่นเช้ามาล้างหน้าแปรงฟัน ทำงานและกิจกรรมทั้งวันแล้วเข้านอน

คุณ Poorboy ไม่รู้จักเบื่อบ้างหรือครับ ความซ้ำซากจำเจอันนี้ มีอะไรมาปิดบังตาอยู่หรือ


หลุดจากความซ้ำซากจำเจ (วัฏสงสาร) ก็ได้สบาย

ทำอย่างไรจึงหลุดได้ ก็จงไปศึกษาวิธีการที่ผู้เคยหลุดพ้น อย่างพระพุทธเจ้าหรือพระอริยสาวกทั้งหลายท่านทำ นำทางเราไปก่อน ไม่เนิ่นช้า เกินชาตินี้ ต้องทำได้แน่นอน จะพ้นร้อน พ้นทุกข์ อยู่สุขเย็น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไม่เบื่อหน่าย ย่อมไม่คลายกำหนัด
ไม่คลายกำหนัด ย่อมไม่หลุดพ้น
ไม่หลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่เกิดญาณหยั่งรู้ใดๆ ว่าหลุดพ้นแล้ว

อิอิ......................................................................เป็นวาทะ ของผมเอง

ผัสสะ> เวทนา> ตัณหา> อุปาทาน> ภพ

เออ ... ว่าแต่ เมื่อละตัณหาได้แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ มันหายไปตอนไหน ก็ยังงงๆ อยู่เหมือนกัน

เพราะเมื่อละตัณหาได้แล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ เวทนา

อุปาทาน หายไป ไม่เกิดอีก

ภพ หายไป ไม่เกิดอีก

เวทนา เกิดการเปลี่ยนแปลง จากเวทนา5 เหลือแค่เวทนา4 หายไป1


เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)


โทมนัส หายไป เพราะไม่มีโทสะอีกต่อไป
ละตัณหาได้เด็ดขาด ทำให้ โทสะ หายไปตอนไหน?
ละตัณหาได้เด็ดขาด ทำให้ ราคะ โทสะ โมหะ หายไปตอนไหน?

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แก้ไขล่าสุดโดย govit2552 เมื่อ 28 ก.ย. 2010, 04:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:40
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าพยายามมองวัฏสงสารวงใหญ่ ชนิดข้ามภพข้ามชาติซิครับ มันพิสูจน์ยาก
ลองเปลี่ยนมามองวัฏสงสารวงเล็ก เช่น
ตื่นเช้ามาล้างหน้าแปรงฟัน ทำงานและกิจกรรมทั้งวันแล้วเข้านอน
วันที่ 2 ก็ทำอย่างเดียวกัน
วันที่ 3 - 4 - 5 ..............ก็ทำอย่างเดียวกัน
จนถึงสัปดาห์ที่ เดือนที่ ปีที ตราบจนอายุได้มาถึงปูนนี้ ก็ตื่นเช้ามาล้างหน้าแปรงฟัน ทำงานและกิจกรรมทั้งวันแล้วเข้านอน

คุณ Poorboy ไม่รู้จักเบื่อบ้างหรือครับ ความซ้ำซากจำเจอันนี้ มีอะไรมาปิดบังตาอยู่หรือ
[/color]

หลุดจากความซ้ำซากจำเจ (วัฏสงสาร) ก็ได้สบาย

ทำอย่างไรจึงหลุดได้ ก็จงไปศึกษาวิธีการที่ผู้เคยหลุดพ้น อย่างพระพุทธเจ้าหรือพระอริยสาวกทั้งหลายท่านทำ นำทางเราไปก่อน ไม่เนิ่นช้า เกินชาตินี้ ต้องทำได้แน่นอน จะพ้นร้อน พ้นทุกข์ อยู่สุขเย็น [/b]
[/quote]

สงสัยกิเลสบังตา เลยไม่เบื่อล้างหน้าแปรงฟันอาบน้ำ เคยเบื่อเหมือนกัน เมียเลยไล่ไปนอนกับหมาหลังบ้าน เหมือนอาหารกินกันวันสามมื้อไม่กล้าเบื่อกลัวผอมตายไม่มีแรงทำงาน ไม่รู้นะรู้สึกขอบคุณผู้สร้างโลกอันสวยงามนี้ ผู้สร้างมนุษย์สัตว์อาหารที่หล่อเลี้ยงสรรพสัตว์ สัมผัสทั้งห้าครบบริบรูณ์ กลไกอัตโนมัติต่างๆในร่างกายที่สมบรูณ์ที่สุดในโลก ละเอียดอ่อนมีแบบแผนรองรับซ่อมแซมตนเองที่วิเศษสุดๆและยังมีสิ่งวิเศษของร่างกายที่มนุษญ์ยังค้นหาไม่เจอ โอ..โลกที่แสนประเสริฐ ใครหน่อสร้างขึ้นมา ให้วิญญาณข้าได้ประสพบนร่างกายนี้แม้เวลาที่ให้มาจะมากหรือน้อย ข้าก็ขอบคุณแล้ว หากได้กลับมาครั้งหน้าขอให้ข้าได้พบประสพการมากมายกว่านี้ สุขมากกว่านี้รวยมากกว่านี้ เจ้าข้า..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คุณ Poorboy กำลัง เอาความคิดของเทวดา มาพูดครับ
เทวดา สมบูรณ์ ด้วย กามคุณ5
ย่อมไม่ขวนขวายที่จะหลุดพ้น อะไรอยู่แล้วครับ
แต่อย่าลืมว่า ความเป็นเทวดา มันไม่เที่ยง
สักวันหนึ่งก็ต้องตกสวรรค์
อาจถึงต้องตกนรก
อาจต้องไปเกิดในภพใหม่ๆ ภพน้อยภพใหญ่
คุณ poorboy เกิดมาแล้ว ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็แล้วไปครับ
เทวดา ชีวิตมันยืนยาว
กว่าจะแก่ ก็ไม่รู้กี่ร้อยปีมนุษย์ (เพราะมนุษย์นั้น 100 ปี เท่ากับ เทวดาเช่นคุณแค่ 1 วันเท่านั้น)
เมื่อไร ความแก่มาเยือน ตาที่เคยมองเห็นก็จะเบลอๆ การใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น
ต้องใส่แว่นสายตา บางวันลืมเอาแว่นมา ก็ดูสิ่งของลำบากอีก
ผมที่เคยดำ บัดนี้มันเริ่มขาว แต่หน้าคุณยังเด็ก ทำไงดี ก็ต้องย้อม
ยุ่งกับการย้อมผมอีก เผลอไม่ได้ย้อม เดินไปไหนมาไหน ก็เกิดความไม่มั่นใจ คุณคงยิ้มไม่ออก
ภรรยาคุณ เริ่มหงุดหงิด ที่คุณไม่ค่อยทำการบ้าน
เพราะพละกำลังของคุณถดถอย
อาจด้วยเบาหวาน หรือความดัน หรือหัวใจ โรคพวกนี้มันมาไม่เลือกว่ายากดีมีจน
แล้วคุณจะบอกว่า ผมไม่น่าประมาทแล้ว

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Prayim.jpg
Prayim.jpg [ 131.06 KiB | เปิดดู 6619 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณ poorboy

วันก่อนเราคุยกันถึง วัฏสงสารวงเล็ก วันนี้เรามาคุยกันต่อถึง วัฏสงสารวง..น้อย.... คือเล็กลงไปอีกดีไหมครับ

วัฏสงสารวง..น้อย

คุณpoorboy เคยสังเกตไหมครับ ว่า ตอนที่เรานั่ง ภาวนา สมมุติว่าได้ 1 ชั่วโมง
ตั้งแต่เริ่มต้นนั่ง จนสิ้นสุดเวลา 1 ชั่วโมง มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างในกายและจิต วันหลังลอง สังเกตให้ดี จดจำให้แม่น หลังจากนั่งครบ 1 ชั่วโมงแล้ว ทำรายงาน(จดลงสมุดเลย)ให้กับตัวเองว่า ตลอด 1 ชั่วโมงที่ผ่านมานี้ มีเหตการณ์ การกระทบสัมผัส สภาวะ อารมณ์ ความรู้สึก นิมิตภาพ อะไร เกิดขึ้นกับข้าพเจ้าบ้าง รวมทั้งหมดกี่เรื่อง แต่ละเรื่องเขาเกิดขึ้นและจบไปอย่างไร มันเกิดขึ้น ซ้ำๆซากๆ หรือหมุนเวียนเปลี่ยนไป เป็นเรื่องใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ ไม่น่าเบื่ออยู่ตลอดเวลา อะไรมาทำให้ข้าพเจ้าทนอยู่ได้กับเรื่องเหล่านี้

ลองทำดูโดยละเอียดถี่ถ้วนสักครั้งหนึ่ง แล้วคุณpoorboy จะได้ ข้อมูลสำหรับใช้อ้างอิงเปรียบเทียบ ความแตกต่างของเหตุการณ์ จำนวนการเกิด-ดับ ของเรื่องราว ความใหม่ หรือความซ้ำซากจำเจ ของเรื่องที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลาของการนั่งภาวนาแต่ละครั้ง


ผลสรุป คือประสบการณ์ และผลความเจริญก้าวหน้าของการภาวนา ถ้าเป็นไปด้วยดี พระอริยเจ้าทั้งหลาย ก่อนที่จะได้ถึงความเป็นอริยบุคคลชั้นต้นนั้น ท่านได้ นิพพิทา ความเบื่อหน่าย เนื่องจากได้เห็นความจริงอันซ้ำซากจำเจ ของสิ่งไร้สาระแก่นสาร หลักฐาน ตัวตน ทั้งหลาย ที่หลงยึดว่ามันใช่ แต่ที่สุดกลับไม่ใช่ ไม่เหลืออะไรไว้ให้เลย นอกจากสัญญาความทรงจำ แล้วที่สุดก็ลบเลือนหายไปในกระแสแห่งกาลเวลา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ต่อไปก็เป็นข้อความที่พระผู้ฯ ทรงแสดงเรื่องของ "ทุกข์" อาการต่างๆ ของทุกข์

ที่มีตัณหาเป็นแดนเกิด ซึ่งก็ได้เคยกล่าวถึงแล้ว เช่นข้อความที่ว่า

ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้นคือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์

มรณทุกข์ โสกปริเทว ทุกขโทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก

ในกำเนิดดิรัจฉาน ทุกข์ในปิตติวิสัย ทุกข์ในมนุษย์

ทุกข์มีการก้าวล่วงลงสู่ครรภ์เป็นมูล

ทุกข์มีการตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล

ทุกข์มีการออกจากครรภ์เป็นมูล

ทุกข์เนื่องจากสัตว์ผู้เกิด

ทุกข์เนื่องจากผุ้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด

ทุกข์เกิดจากความเพียรของตน

ทุกข์เกิดจากความเพียรของผู้อื่่่น และโรคนานาชนิด แม้แต่อาพาธ เพราะ

เปลี่ยนอิริยาบถไม่สมำเสมอกัน

อาพาธเกิดเพราะความเพียร

อาพาธเกิดเพราะ ผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย

ความตายของมารดาก็เป็นทุกข์

ความตายของบิดาก็เป็นทุกข์

ความตายของพี่น้องชายก็เป็นทุกข์

ความตายของพี่น้องหญิงก็เป็นทุกข์

ความตายของบุตรก็เป็นทุกข์

ความตายของธิดาก็เป็นทุกข์

ความพินาศของญาติเป็นทุกข์

ความพินาศของโภคทรัพย์ก็เป็นทุกข์

ความพินาศเพราะโรคก็เป็นทุกข์

ความพินาศของศีลก็เป็นทุกข์

ความพินาศของทิฏฐิ ความเห็นก็เป็นทุกข์

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 103 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร