ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

มหาสติปัฏฐาน ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=34670
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  จันทร์เจ้าขา [ 25 ก.ย. 2010, 19:38 ]
หัวข้อกระทู้:  มหาสติปัฏฐาน ๔

ในสติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. ให้พิจารณากายในกาย
๒. พิจารณาเวทนาในเวทนา
๓. พิจารณาจิตในจิต
๔. พิจารณาธรรมในธรรม

อยากได้คำอธิบายสั้นๆ กระทัดรัด จากการปฏิบัติของตนเองยิ่งดีค่ะ
ช่วยอนุเคราะห์ด้วยนะค่ะ สาธุ :b8:

เจ้าของ:  ธรรมดาครับ [ 26 ก.ย. 2010, 07:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ ก็คือ ที่ตั้งสติสี่แห่ง คือในกาย ในเวทนา ในจิตและในธรรม

๑. ตั้งสติ พิจารณากาย ก็คือ ว่าด้วยลมหายใจเข้าออก ว่าด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ข้อว่าด้วยสัมปชัญญะความรู้ตัว ในอิริยาบถทั้ง ๔ นี้และว่าด้วยการจำแนกกายด้วยอาการ ๓๒ ธาตุ ๔ ป้าช้า ๙ เป็นต้น
๒. ตั้งสติ พิจารณาเวทนา ก็คือตั้งสติกำหนดเวทนา ความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข
๓. ตั้งสติ พิจารณาจิต ก็คือตั้งสติกำหนดดูจิตใจนี้ ที่มีราคะ หรือไม่มีราคะ ที่มีโทสะหรือไม่มีโมสะ ที่มีโมหะความหลงหรือปราศจากโมหะความหลง เป็นต้น
๔. ตั้งสติ พิจารณาธรรม ก็คือตั้งสติกำหนดดูธรรมะทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในจิต ตั้งต้นแต่กำหนดดูนิวรณ์ทั้ง ๕ คือกิเลสที่เป็นเครื่องกั้นจิต บังเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต มีกามฉันท์ความพอใจรักใคร่อยู่ในกาม พยาบาทความมุ่งร้ายปองร้ายเป็นต้น

สั้นๆ อย่างนี้นะขอรับ :b11: :b12:

เจ้าของ:  sindyann [ 26 ก.ย. 2010, 08:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

เข้ามาอ่าน เพราะเราทำสมาธิโดยการวิปัสนา ยังไม่แน่ใจ งง ๆ เล็กน้อยว่าทำถูกหรือป่าว ทุกวันนี้ก็หาวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง แต่ยังไม่กระจ่าง อิอิ เมื่อก่อนทำสมาธิแบบสมถกรรมฐาน แต่จิตไม่ินิ่งเลย ปวดศรีษะ ก็เลยลองเปลี่ยนดูค่ะ
tongue tongue tongue

เจ้าของ:  ต้อยตีวิด [ 26 ก.ย. 2010, 09:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

แนวทางการฝึกสติปัฏฐาน ๔ ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ :b16: :b4:

เจ้าของ:  อนัตตาธรรม [ 26 ก.ย. 2010, 10:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

cool

จันทร์เจ้าขา เขียน

ในสติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. ให้พิจารณากายในกาย
๒. พิจารณาเวทนาในเวทนา
๓. พิจารณาจิตในจิต
๔. พิจารณาธรรมในธรรม

อยากได้คำอธิบายสั้นๆ กระทัดรัด จากการปฏิบัติของตนเองยิ่งดีค่ะ
ช่วยอนุเคราะห์ด้วยนะค่ะ สาธุ
:b8:

อนัตตาธรรม บอก

1.ให้พิจารณาเห็น กาย ในกาย

กายในกาย คือ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
การเห็นธาตุดิน อาการของธาตุดินคือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม ซึ่งจะเห็นได้ด้วยความรู้สึก รู้หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม

สังเกตพิจารณาลงไปในความรู้สึก หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม จะพบ เวทนา ความรู้สึก
ชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ในสติปัฏฐาน 4 ท่านจึงสอนต่อว่า "วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง แปลว่า เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดี ยินร้าย ในโลก ซึ่งหมายถึง ความยินดี ยินร้าย เฉยๆ ในสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ที่สุดของความเห็นกายในกายคือ เห็นหรือรู้สึกถึงความ ยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆในสัมผัส

2.พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา ข้อนี้ง่ายและสั้น เพราะเวทนา ในเวทนา ทางกาย คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ
หรือไม่สุข ไม่ทุกข์ ที่สุดของความเห็นเวทนาในเวทนา คือ เห็นหรือรู้สึกถึง ความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆในสัมผัส งานของเราต่อไปก็คือ "วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง แปลว่า เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดี ยินร้าย ในโลก

3.พิจารณาเห็นจิต ใน จิต จิตในจิต ก็คืออารมณ์ที่เกิดกับจิต เช่นจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ จิตประภัสร จิตห่อเหี่ยว ฯลฯ แต่สังเกตพิจารณาต่อไปอีกก็จะได้พบเวทนาทางจิต คือ โสมนัส โทมนัส และอุเบกขา คือ ยินดี ยินร้าย และเฉยๆ เช่นเดียวกับ ฐานกายและเวทนา
หน้าที่ของเผู้ปฏิบัติก็คือ "วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง แปลว่า เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดี ยินร้าย ในโลก

4.พิจารณาเห็นธรรม ในธรรม ก็เช่นเดียวกับทั้ง 3 ฐาน ที่กล่าวมาข้างต้น คือ บรรดาธัมมารมณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น เช่นกามฉันทะ พยาบาท อุทธัจจะ กุกุจจะ ถีนะ มิทธะ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิด ยินดี ยินร้าย หรือ เฉยๆ เช่นเดียวกัน หน้าที่ของเราก็คือ "วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง แปลว่า เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดี ยินร้าย ในโลก

ทั้งหมดนี้คือ เคลํดลับและประเด็นสำคัญของการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4
ต้องระวังใหด้มากและใช้ปัญญาพิจารณาให้ดี อย่าปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ตามตำราและตัวหนังสือ


พึงปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ตามธรรมชาติ เคล็ดสำคัญที่สุดคือ

ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมของสติปัฏฐาน 4 ถ้าเรารู้จัก เอาปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่ตั้งที่ระลึกของสติ เป็นที่สังเกต พิจารณาของปัญญา สติปัฏฐานทั้ง 4 จะเจริญขึ้นไปพร้อมกันทั้ง 4 ฐาน โดยธรรมชาติ ทำให้โพชฌงค์ 7 โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 อันมี มรรค 8 รวมอยู่ในนั้นด้วย เจริญก้าวหน้าต่อเนื่องกันไป จนถึง มรรค ผล นิพพาน โดยธรรมชาติ ดังนี้ เอวัง


ไฟล์แนป:
Resize of aa029.jpg
Resize of aa029.jpg [ 93.59 KiB | เปิดดู 7421 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมดาครับ [ 26 ก.ย. 2010, 14:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

ต้อยตีวิด เขียน:
แนวทางการฝึกสติปัฏฐาน ๔ ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ :b16: :b4:

*** ทำความเข้าใจก่อนนะว่า ภาวนามี สองคือ

---- สมถะภาวนา คือ การทำสมาธิ ให้จิตสงบระงับจากนิวรณ์ห้า ให้จิตเป็นหนึ่งเป็นเอคตารมณ์
---- วิปัสสนาภาวนา คือ การใช้ความคิด พินิจพิจารณาหาความจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด


การฝึกสติ ตามสติปัฏฐานสูตร เริ่มต้นดังนี้

๑. พิจารณากายในกาย เหมาะสำหรับท่านผู้มีตัณหาอย่างหยาบ คือรักสวยรักงาม เห็นร่างกายเป็นสิ่งน่ารักน่าใคร่น่าพอใจ เป็นสุภ ต้องพิถีพิถันเรื่องการแต่งเนื้อแต่งตัวเป็นพิเศษ ท่านให้พิจารณากายแยกเป็นธาตุสี่ มีอาการ ๓๒ อย่างคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังฯลฯ หรือพิจารณาป่าช้า ๙ คือ ตายหนึ่งวัน...จนกระดูกป่นเป็นฝุ่น สำหรับท่านที่มีวิตกจริต คือ คิดเล็กคิดน้อย ตัดสินใจไม่ได้ฟุ้งซ่านเป็นประจำ ท่านให้ใช้อานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจ เข้า-ออก ในการเริ่มต้นฝึก เป็นต้น

นี่คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณากายในกาย

เจ้าของ:  อนัตตาธรรม [ 26 ก.ย. 2010, 17:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

tongue ต่ออีกสักนิดครับ

การพิจารณาเห็นกายในกาย ตอนเห็นธาตุไฟ ลม น้ำ

การเห็นธาตุไฟ เห็นได้ด้วยความรู้สึก

ธรรมชาติของธาตุไฟ คือ ร้อน หนาว เย็น อุ่น เมื่อกระทบรู้ขึ้นในจิตแล้ว ย่อมจักทำให้เกิดเวทนา คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ไปปรากฏเป็น อภิชฌาหรือ โทมนัส คือความยินดี ยินร้าย ซึ่งต้องเอาออกเสียให้ได้

การเห็นธาตุ ลม

ธรรมชาติของธาตุลมคือ ไหว นิ่ง เจ็บ ปวด เต้น ตอด โยก คลอน หมุน กระตุก เป็นต้น เมื่อกระทบรู้ขึ้นในจิตแล้ว ย่อมจักทำให้เกิดเวทนา คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ไปปรากฏเป็น อภิชฌาหรือ โทมนัส คือความยินดี ยินร้าย ซึ่งต้องเอาออกเสียให้ได้

การเห็นธาตุน้ำ ธาตุน้ำเป็นสุขุมธาตุ เห็นได้ยาก ธรรมชาติของธาตุน้ำคือ ซึมวับ เอิบอาบ ไหล หยด ย้อย แตกแยก เกาะกุมกันเข้า เมื่อกระทบรู้ขึ้นในจิตแล้ว ย่อมจักทำให้เกิดเวทนา คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ไปปรากฏเป็น อภิชฌาหรือ โทมนัส คือความยินดี ยินร้าย ซึ่งต้องเอาออกเสียให้ได้

การจะเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดี ยินร้ายในโลกจะทำอย่างไร ต้องมาสนทนากันต่อไปอีกรอบหนึ่งถ้ามีผู้สนใจอยากจะรู้

onion cheesy Kiss

ไฟล์แนป:
Resize of aa032.jpg
Resize of aa032.jpg [ 89.82 KiB | เปิดดู 7365 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 26 ก.ย. 2010, 19:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

จันทร์เจ้าขา เขียน:
ในสติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. ให้พิจารณากายในกาย
๒. พิจารณาเวทนาในเวทนา
๓. พิจารณาจิตในจิต
๔. พิจารณาธรรมในธรรม

อยากได้คำอธิบายสั้นๆ กระทัดรัด จากการปฏิบัติของตนเองยิ่งดีค่ะ
ช่วยอนุเคราะห์ด้วยนะค่ะ สาธุ :b8:


คุณจันทร์ ฯ จะรู้เอาไปทำอะไรครับ

เจ้าของ:  ธรรมดาครับ [ 27 ก.ย. 2010, 08:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

๒. พิจารณาเวทนาในเวทนา สำหรับบุคคลผู้มีตัณหาจริตอย่างละเอียด คือติดในเวทนา เช่นต้องการสุขเวทนาเป็นสำคัญ

ท่านให้ปฏิบัติในสติปัฏฐานข้อพิจารณาเวทนา คือตั้งสติ กำหนดเวทนา ในสุขเวทนา เวทนาความรู้ที่เป็นสุข ทุกขเวทนา ความรู้ที่เป็นทุกข์ เวทนาที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ตั้งสติกำหนดเวทนาที่เกิดทางตา เวทนาทางหู เวทนาที่เกิดจมูก เวทนาที่เกิดทางลิ้น เวทนาที่เกิดทางกาย เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางมโนคือใจ

ให้กำหนดว่า เวทนาเหล่านั้นประกอบด้วยอามิสหรือไม่ประกอบด้วยอามิส(วัตถุสิ่งของคนและสัตว์) กำหนดว่าไม่มีความจีรังยั่งยืน มีเปลียนแปลง ไม่คงทน เป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น

เป็นแนวทาง การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนาในเวทนา ข้อที่ ๒

เจ้าของ:  ต้อยตีวิด [ 27 ก.ย. 2010, 10:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

ธรรมดาครับ เขียน:
ติดในเวทนา เช่นต้องการสุขเวทนาเป็นสำคัญ

พอจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบได้ไหมค่ะ ขอความรู้เพิ่มเติมหน่อยนะค่ะ รออ่านข้อ ๓-๔ อยู่คะ :b4: :b8:

เจ้าของ:  จันทร์เจ้าขา [ 27 ก.ย. 2010, 11:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

ขอบพระคุณทุกท่านคะ ได้ความรู้ประดับปัญญา เพื่อนำไปเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติเมื่อมีปัญหาในภายภาคหน้า รออ่านข้อ ๓-๔ เหมือนกันเจ้าข้าาา ขอโมทนาคะ สาธุ :b17: :b8:

เจ้าของ:  ธรรมดาครับ [ 27 ก.ย. 2010, 13:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

ต้อยตีวิด เขียน:
ธรรมดาครับ เขียน:
ติดในเวทนา เช่นต้องการสุขเวทนาเป็นสำคัญ

พอจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบได้ไหมค่ะ ขอความรู้เพิ่มเติมหน่อยนะค่ะ รออ่านข้อ ๓-๔ อยู่คะ :b4: :b8:

ตัวอย่างครับ

คนที่มักจะแสวงหาความสุข คือมุ่งสุขกายสุขใจ ไม่พิถีพิถันเรื่องสวยสดงดงามของร่างกายแต่งเนื้อแต่งตัวแบบปอนๆ ก็ไม่เป็นไร ขอให้มีความสุขกายสุขใจก็แล้วกัน เช่น กินข้าวนอกบ้านบ่อยๆ ไปร้อง โอเกะ ประจำ หาซื้อสิ้นค้าฟุ้มเฟือย ไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดต่างประเทศทุกบ่อย สรรหาสิ่งของมาเป็นเจ้าของให้ได้ หาปลาหานกมาเลี้ยงแพงแค่ไหนก็ไม่ว่า แหะๆ แหมแต่คนก็แสวงหามาบำรุงบำเรอตน เพื่อให้เกิดความพอใจเกิดความสุข เป็นต้น ฯลฯ

อาจไม่ตรงกับท่านอื่นนะครับ
:b32: :b12:

เจ้าของ:  ธรรมดาครับ [ 28 ก.ย. 2010, 08:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

๓. พิจารณาจิตในจิต สำหรับท่านที่มีจริตแบบทิฏฐิอย่างหยาบ คือ คือมักจะถือเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ มุ่งเอาแต่ใจของตนเองเป็นที่ตั้ง เมื่อถูกใจแล้วก็ถือใช้ได้ ความเห็นนั้นจะถูกหรือผิดเอาไว้ที่หลัง ท่านให้ตั้งสติพิจารณาจิต ก็คือตั้งสติกำหนดดูจิตใจนี้ มีราคะความติดใจยินดีหรือไม่มี มีโทสะหรือไม่มีโทสะ มีโมหะความหลงหรือไม่มี จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็ให้รู้ มีอคติหรือไม่มีอคติก็ให้รู้ ฯลฯ เป็นต้น

เมื่อจิตถูกสติเฝ้ามองเฝ้าดู เฝ้าระวังรักษาอยู่ ความโกรธ โมหะ ราคะความยินดีพอใจ ก็ไม่บังเกิดขึ้น เหมือนโจรที่ถูกเฝ้ามองอยู่ก็ไม่กล้าโผล่หน้ามา จิตก็สงบระงับจากนิวรณ์ห้า เป็นสมาธิ เป็นเอคตารมณ์ เป็นบาทเป็นฐานสำหรับ ปัญญา ในการพิจารณากิเลสตัณหาที่อยู่ในจิต เพื่อความรู้แจ้ง เพื่อละวาง ปล่อยความยึดมั่นถือมั่น เป็นที่สุด

แนวทางข้อที่ ๓ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิตในจิต

เจ้าของ:  ธรรมดาครับ [ 30 ก.ย. 2010, 08:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

๔. พิจารณาธรรมในธรรม สำหรับท่านที่มีทิฏฐิคือความเห็นอย่างละเอียด คือมักจะยึดติดในเรื่องที่บังเกิดขึ้นในใจ ต้องการให้ใจนี้ได้พบกับเรื่องที่พอใจที่ชอบใจเป็นที่ตั้ง แต่ว่าเป็นความยึดถือมั่นในธรรมะที่ผิด เช่น ยึดถือในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเราของเรา เป็นต้น ท่านก็สอนให้พิจารณาธรรม คือเรื่องที่บังเกิดขึ้นในจิตใจทั้งหลาย ให้เห็นความเกิดความดับเช่นเดียวกัน

การตั้งสติ พิจารณาธรรม ก็คือตั้งสติกำหนดดูธรรมะทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในจิต เช่น นิวรณ์ทั้ง ๕ กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่อยู่ในกาม ความพยาบาทความมุ่งร้ายปองร้าย พิจารณาอายตนะภายในและภายนอก พิจารณาอริยสัจจและมรรคแปด เป็นต้น

ในทางปฏิบัติ การพิจารณาธรรมในธรรม คือเห็นธรรมทั้งหลายที่เกิดแก่จิต หรือมีสติเห็นธรรมว่า สักแต่ว่าธรรม เป็นเครื่องเตือนสติและระลึกรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาญาณนั่นเอง คือมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์และการดับไปของทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง

สติปัฏฐาน๔ นั้นมีจุดประสงค์อยู่ที่ฝึกสติ มีสัมปชัญญะ และใช้สติพิจารณาสรุปให้เข้าใจโดยถ่องแท้ เพื่อให้เกิดปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ก็เพียงสักว่ามีอยู่ อาศัยระลึกเตือนสติเตือนใจ ไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ

หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เป็นเพื่อความบริสุทธิ์ของหมู่สัตว์ เพื่อล่วงความโศกเศร้าเสียใจและทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เอง

โปรดใคร่ครวญด้วยความรอบคอบ :b12:

เจ้าของ:  ต้อยตีวิด [ 30 ก.ย. 2010, 11:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มหาสติปัฏฐาน ๔

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงคะ ที่เขียนให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย :b4: :b17: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/