วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักของการปฏิบัติธรรม ในทางพุทธศาสนา ที่ถูกต้อง
ความจริงแล้ว ข้าพเจ้าเคยเขียนเรื่องของการปฏิบัติธรรมไปแล้วหลายครั้ง แต่เนื่องจาก หลายคน ก็หลากหลายความคิด ความที่แต่ละบุคคลมีความคิดเข้าข้างตัวเอง คิดว่าตัวเองดี ตัวเองถูก ก็เลยทำให้การปฏิบัติธรรม ของแต่ละสำนัก ออกจะแปลกแตกต่างกันไป ตามความอวดรู้ อวดฉลาด และหรือคิดว่า ความคิด ความเข้าใจของเขาเหล่านั้นถูกต้อง ถึงแม้ว่า หลายๆสำนัก ก็ล้วน ยกเอา ความในพระไตรปิฎก มาเป็นแม่แบบในการเผยแพร่ ด้วยความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง อีกทั้งยังปฏิบัติไม่ได้ผลตามที่มีปรากฎในหลักการของพระไตรปิฎก กล่าวคือ ไม่สามารถ ปฏิบัติ จนสามารถบรรลุ โสดาบัน , สกทาคามี ,อนาคามี, อรหันต์ ,นิพพาน แต่เขาเหล่านั้น ก็หลงผิดคิดว่า ได้ผลดีแล้ว ข้าพเจ้าเคยอธิบายไปหลายครั้งถึงลักษณะ ของผู้บรรลุโสดาบัน ไปจนถึง นิพพาน แต่ก็คงไม่มีผล
เหตุเพราะมนุษย์เหล่านั้น หลงผิดคิดว่า พุทธศาสนา(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้น) จะทำให้การครองเรือน หรือการประกอบอาชีพของพวกเขาเหล่านั้น มีอุปสรรค
ซึ่งเป็นความผิดอย่างมหันต์ของเขาเหล่านั้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ บุคคากรทางศาสนา ขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักการทางศาสนาอย่างแท้จริง ไม่เข้าใจถึงจิตวิทยาของมวลสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิต แลไม่มีชีวิต ไม่เข้าใจว่า ศาสนาสอนอย่างไร เพื่ออะไร ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ ขาดความรู้ ไม่มีความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมายของศาสนา ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง เป็นเพียงบอกหรือแจ้งให้ท่านทั้งหลายทั้งที่เป็นบุคคลากรทางศาสนา และผู้ศรัทธาในศาสนา ได้ทำความเข้าใจไว้ว่า ศาสนา ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะบังคับให้มนุษย์ทั้งหลาย ละทิ้งความเป็นตัวตน อาชีพ และหรือ ครอบครัว หรือละทิ้งความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่ ศาสนา ต้องการที่จะทำให้มนุษย์ทั้งหลายได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในตัวตนของตัวเองและผู้อื่น เพื่อปกปักรักษาธรรมชาติ ให้เป็นปกติสุข ปกปักรักษาความเป็น ผู้เจริญแล้ว นั่นก็คือ ความเป็นมนุษย์
จากความต้องการของศาสนาที่ได้กล่าวไป จึงได้ก่อให้เกิดหลักศีล หลักธรรม อันเป็นหลักการปฏิบัติเพื่อการปกปักรักษาธรรมชาติให้เป็นปกติสุข
หลักการปฏิบัติทางศาสนานั้น แน่นอน ย่อมต้องเป็นไปตามความเหมาะสมของการครองเรือนของแต่ละบุคคล หมายความว่าบุคคลมีบทบาทหน้าที่อย่างหนึ่ง ก็ต้องมีการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ไม่ใช่เอาหลักปฏิบัติตามบทบาทของตัวเอง ไปสอนให้ผู้อื่นจนเกิดความเข้าใจผิด ในศาสนา ต้องทำความเข้าใจหรือต้องรู้ว่า ตัวเองครองเรือนในบทบาทหน้าที่ไหน และต้องรู้และเข้าใจว่า ควรปฏิบัติธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาในข้อใด หมวดใด เพื่อให้เกิดความเป็นปกติสุขในธรรมชาติของตัวเองและผู้อื่น
บุคคลากรทางศาสนาบางกลุ่มบางพวก ก็สอนการปฏิบัติธรรมจนเลยเถิด สอนกันผิดๆ แต่คิดว่าถูกต้องตามศาสนา ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึง เพราะจะเป็นการไปก้าวก่าย ในกิจของพวกเขา ก็ได้แต่เตือนและแนะนำ เอาไว้
การปฏิบัติธรรมนั้น ต้องปฏิบัติตามหลักธรรม แต่ในหลักธรรมนั้น นั้นจะเป็นตัวกำเนิดการประพฤติปฏิบัติ ในรูปแบบต่างๆ เช่นก่อให้เกิด การประพฤติปฏิบัติทางกายบ้าง ทางใจบ้าง ทางวาจา อันเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับกายและใจ
ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติธรรม ตามหลักอิทธิบาทสี่ อันหมายความว่า "เครื่องมือที่จะนำบุคคลให้บรรลุสู่ความสำเร็จในกิจทั้งปวงได้" อันได้แก่ ฉันทะ(ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น) , จิตตะ(ความเอาใจจดจ่อฝักใฝ่ในสิ่งนั้น),วิริยะ(ความขยันหมั่นเพียรในสิ่งนั้น),วิมังสา(ความหมั่นพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้น),การปฏิบัติธรรมในหมวดธรรมนี้ สามารถสร้างหรือก่อกำเนิดให้เป็นการประพฤติปฏิบัติได้หลายรูปแบบ เช่นปฏิบัติ สมาธิ ก็ได้ ใช้เป็นเครื่องมือประกอบในการปฏิบ้ติงานต่างๆ ก็ได้ เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ อิทธิบาทสี่ เป็น สภาพสภาวะจิตใจรูปแบบหนึ่ง อันเกิดจาก ความจำ เกิดจากการได้สัมผัส ทำให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การปฏิบัติสมาธิ แต่การปฏิบัติสมาธิ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรม อย่าสงสัยหรืองงนะขอรับ อ่านตัวอย่างที่อธิบายไป ก็คงพอจะเข้าใจ
ที่ได้อธิบายไป คงยังไม่ละเอียด แต่ก็คงมีคนที่อ่านแล้วเกิดความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิ จะได้ไม่บ้า ไม่หลง ว่าปฏิบัติสมาธิอย่างนั้น อย่างนี้ จะได้อย่างนั้นอย่างนี้
อ่านแล้วก็อย่ามีความคิดคัดค้าน เพราะที่เขียนไป เป็นเพียงบางส่วน เอาพอเข้าใจ เขียนยาวอ่านเข้าใจยาก สวัสดี.
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
27 สิงหาคม 2553


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อให้อ่านหนังสือธรรมะจบเป็นสิบๆเล่ม ต่อให้นั่งสมาธินานแค่ไหน แต่หากไม่พิจารณาถึงความไม่เที่ยงของสังขาร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เห็นกฏของพระไตรลักษณ์ ก็ไม่สามารถดับกิเลส อุปาทานที่ฝังอยู่ในใจได้
คนไทยยกย่องพระไตรลักษณ์เพราะเป็นธรรมชั้นสูง จึงมีพระนำหน้าเรียกว่าพระไตรลักษณ์
ทุกสิ่งในโลกนี้อยู่ภายใต้กฎของพระไตรลักษณ์ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด
หากยังยึดมั่นถือมั่นว่านี่ตัวเราของเรา บ้านเรา ร่างกายเรา รถเรา บ้านเรา ศาสนาเรา คนไทย คนต่างชาติ ก็ย่อมไม่สามารถเห็นสัจธรรมที่เป็นจริงได้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร