วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถามเรื่อง สติ อย่างไรที่เรียกสัมมาสติและมิจฉาสติ
ขอโมทนาคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:06
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วกัลยา เขียน:
เรียนถามเรื่อง สติ อย่างไรที่เรียกสัมมาสติและมิจฉาสติ
ขอโมทนาคะ :b8:

สติ ระลึกได้ ระลึกถึง

ระลึกถึง สิ่งที่เป็นโทษ เป็นอกุศล เรียก มิจฉาสติ
ระลึกถึง สิ่งที่เป็นคุณ เป็นกุศล เรียก สัมมาสติ

สั้นไปเปล่า :b32: :b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเข้าใจส่วนตัวของผมนะ

สติก็คือระลึก

อย่างเล่นเกมส์ ใจมันอยู่ที่เกมส์ เพียรระลึกลงที่เกมส์ ก็เป็นสติที่สติอยู่กับเกมส์เป็นหลัก
ขับรถอยู่ สติก็อยู่กับการขับรถ คอยระลึกถึงแต่กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการขับรถเป็นหลัก
จะมีแวะไปฟังเพลงมั่ง แวะไปนึกถึงงานมั่ง

สติเหล่านี้มันไม่ได้มีหน้าที่ในการถอดถอนความเห็นผิด ถอดถอนสังโยชน์
ถึงจะระลึกไปอีกกี่หมื่นปี
ก็ไม่ได้ช่วยอะไรในการถอดถอนความเห็นผิดใดๆเลย


สติประเภทที่จะช่วยในกรถอดถอนความเห็นผิด ถอนสังโยชน์นั่นกระมัง
เรียกว่าเป็นสัมมาสติ เพราะให้ผลเป้นสัมมาทิฐิ คือความรู้ที่ถูกต้อง
ระลึกถูกที่ ก็ได้ความรู้ถูกทาง

แล้วระลึกอะไรล่ะ ถึงจะมีผลโดยตรงกับการถอดถอนความเห็นผิด
ก็ต้องเป็นสติที่ "โอปนยิโก" คือน้อมเข้ามา
น้อมเข้ามาที่ไหน ก็ที่กายและใจ

กายและใจนี้แหละ เป็นที่ตั้งของความทุกข์
เพราะความยึดถือขันธ์ (กาย+ใจ=ขันธ์) นี่แหละ ที่เป็นทุกข์
เพียรระลึกลงไปที่ตั้งแห่งความทุกข์นั่นเอง

"สติปัฏฐาน" ก็พูดแบบง่ายๆว่า ก้คือฐานที่ตั้งของสติ
ก็คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
ถ้าเราหมั่นระลึกลงไปที่สิ่งเหล่านี้ ก็เรียกว่าเป็นสัมมาสติ

การหมั่นระลึกลงไปที่บนที่ตั้งแห่งความทุกข์นี้เอง เป็นการสั่งสมความรู้
ว่าความทุกข์มาจากไหน

ถ้าชำนาญน้อยหน่อย เราก็พอจะดูหยาบๆได้ เช่นเครียด
ชำนาญมากขึ้น ย่อมเห็นละเอียดลงไปว่า ก่อนจะมาเป็นเครียด มันมาจากไหน
อะไรมันผสมกันจนมาเป็นอย่างนี้
ชำนาญมากขึ้นอีก ย่อมเห็นความจริงละเอียดขึ้นโดยลำดับ


ถ้าเอาสติไปไว้ผิดที่ เช่นไประลึกถึงลูก เมีย งาน เงินทอง ระลึกไปถึงอดีต อนาคต อย่างนี้
ล้วนเป็นของนอกตัว นอกสติปัฏฐาน 4

แต่ถ้าคิดไปแล้วรู้สึกดีใจ
ก็ทำความระลึกลงไปที่ความดีใจ นี่เรียกว่าสติระลึกลงถูกที่ถูกฐาน
แต่ถัดจากนั้นไปหลุดไปคิดทางอื่นอีก นี่คือหลุดจากฐาน

อย่างการทำสมาิธิที่เรียกว่า อาณาปานสติ
ก็คือการทำความรู้สึกตัวโดยอาศัยการหายใจเป็นที่ยึดเหนียวความระลึกเอาไว้
คือให้ใจมันเพียรระลึกอยู่แต่กับการหายใจ ไม่หนีไปไหนได้

นี่ก็คือการทำความระลึกอยู่ที่ "การหายใจ" ซึ่งก็เป็นการดู "กาย" นั่นเอง
เป็นสัมมาสติ เพราะระลึกอยู่ที่กาย เป็นกายานุปัสนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสติปัฏฐาน 4

แต่ถ้าเป็น ทีวีสติ ดาราสติ การงานสติ อดีตสติ
คือเอาใจไประลึกอยู่ที่ทีวี ดารา การงาน อดีต อนาคต ฯลฯ
ถามว่าเป้นสติไหม คงต้องบอกว่าเป็น
แต่เป็นสัมมาสติไหม คงต้องบอกว่าไม่ใช่

แม้กระทั่งการคิด ผมคิดว่าก็ไม่จัดว่าเป็นสัมมาสติ
เพราะถ้าคิดแล้วหลุดพ้นได้ พวกคิดมากคิดเก่งๆคงจะหลุดพ้นก่อนเพื่อน
ซึ่งไม่ใช่ พระพุทธเจ้าเราไม่ได้หลุดพ้นด้วยการนั่งคิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกรัก เขียน:
ระลึกถึง สิ่งที่เป็นโทษ เป็นอกุศล เรียก มิจฉาสติ


จอขัดใจนิดนึงนะครับ คุณดอกรักคงไม่ถือโทษ

ถ้าระลึกถึงบาปที่ทำ แล้วละบาปนั้นได้
ก็แสดงว่า ละบาปได้ด้วยมิจฉาสติ เพราะระลึกที่อกุศล คือบาปที่ตนทำ
ซึ่งผมว่ามันแปลกๆนะ

ผมเห็นว่าการระลึกที่ "ธรรม" หรือธัมมานุปัสนา
น่าจะไม่ได้ห้ามระลึกถึงอกุศลนะครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 15 มิ.ย. 2010, 21:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกรัก เขียน:

ระลึกถึง สิ่งที่เป็นโทษ เป็นอกุศล เรียก มิจฉาสติ
ระลึกถึง สิ่งที่เป็นคุณ เป็นกุศล เรียก สัมมาสติ

สั้นไปเปล่า :b32: :b4: :b8:



สาธุ ครับ



ความหมาย โอเค ...แต่ ภาษา น่าจะเป็น

การระลึก ที่นำไปสู่อกุศล เรียก มิจฉาสติ
การระลึก ที่นำไปสู่กุศล เรียก สัมมาสติ


...................

ท่าน จขกท.ครับ

ปัจจุบัน อย่างไร เรียกว่า มิจฉาสติ...อย่างใดเรียกว่า สัมมาสติ....สำนักต่างๆ จะมีความเข้าใจที่แตกต่างกันมาก. และ นี่นำไปสู่ ความแตกต่างและแตกแยก อลหม่าน กันในขณะนี้



เสนอ พิจารณาคำอธิบาย มิจฉาสติ.ท่านเจ้าคุณๆ ท่านประมวลมาจากพระไตรปิฎก กันดีกว่า


จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

มิจฉาสติ (ระลึกผิด ได้แก่ ความระลึกถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เช่น ระลึกถึงการได้ทรัพย์ การได้ยศ เป็นต้น ในทางอกุศล อันจัดเป็นสติเทียม เป็นเหตุชักนำใจให้เกิดกิเลสมีโลภะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น— wrong mindfulness)




ส่วน สัมมาสติ นั้น ก็คือ ระลึกไปในทางกุศล...

แต่ กุศล นั้นยังมี2ระดับ คือ กุศลที่ยังคงอยู่ในโลก(โลกียะกุศล) และ กุศลที่พาออกจากโลก(โลกุตระกุศล)


พิจารณา สัมมาสติ ที่ยังคงเป็นโลกียะกุศล


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต ๘

.......................

[๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย
ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมา
สติ มีในสมัยนั้น


นี่คือ ตัวอย่างของ สัมมาสติที่ยังคงเป็นโลกียะ อยู่.... ยังไม่ใช่ สัมมาสติในองค์มรรคระดับที่จะละสังโยชน์ได้

นอกจากนี้ ก็มี สตินทรีย์ ใน รูปวาจรกุศลจิต(โลกียะอยู่)อีก

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=1



ส่วน สัมมาสติ ที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค ก็ ดูได้จาก การเจริญสติปัฏฐาน ครับ...


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 15 มิ.ย. 2010, 21:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วกัลยา เขียน:
เรียนถามเรื่อง สติ อย่างไรที่เรียกสัมมาสติและมิจฉาสติ
ขอโมทนาคะ :b8:


viewtopic.php?f=1&t=32546

คุณแก้วกัลยา คงจะจำได้ว่า ลักษณะแห่ง "สัมมา" ที่ เช่นนั้น เคยแสดงไว้ใน กระทู้สัมมาทิฏฐิ มีลักษณะอย่างไร เช่นนั้น ก็จะใช้ลักษณะ "สัมมา"ดังกล่าว ในหัวข้อนี้

สติ ... มีความเข้าใจง่ายๆ ว่า "ระลึก" ความระลึกได้ ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมาก
เนื่องจาก สติ มีสัญญา เป็นเหตุใกล้ จนบางครั้งผู้ปฏิบัติธรรม ไปจับเอาสัญญา เป็นสติก็มี

อะไรที่ ทำให้สติ มีความต่าง จากสัญญา?
สติ มีสัญญาบางประการเป็นอารมณ์ เป็นสัญญาที่หนักแน่น ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง แสดงโดยคร่าวๆ อย่างนี้. จึงเรียกว่า ความระลึก

ตัดเข้าประเด็น สัมมาสติ มิจฉาสติ

ความเข้าใจที่ง่ายที่สุดตื้นที่สุดในการแยกแยะสององค์ธรรมนี้ ก็คือ ความว่า "สติ เป็นเครื่องกั้นกระแส"
ถ้าใช้ตรงนี้มาอธิบาย ก็ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

เมื่อสัมมาสติ เป็นเครื่องกั้นกระแส(แห่งตัณหา ทิฏฐิ)ในโลก ไม่ให้ท่วมทับอายตนะภายใน 6

อะไร คือเครื่องกั้นปัญญา ธรรมนั้นคือ นิวรณ์

เมื่อจิตมีนิวรณ์ เป็นเครื่องกั้นปัญญา จิตหมกหมุ่นแต่กามฉันท์ พยาบาท ถีนะมิทธ อุทธัจจะ และวิจิกิจฉา

จิตมีนิวรณ์ นั้นๆ เป็นวัตถุแห่งการระลึกตลอด. นิวรณ์ จึงเป็นมิจฉาสติ.

นิวรณ์จึง พรากจิตออกจากสัมมาสติ ที่ไม่ประมาทในการระลึกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง, เพื่อเข้าไปยินดีพอใจ; เพ่งเล็งอยากได้อยากมี; ยินร้ายในอารมณ์ทั้งหลายที่มากระทบ ทำให้อารมณ์นั้นๆมีอิทธิพลครอบงำจิต.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 02:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในทางพระอภิธรรม จึงแยก สติไว้กับ กุศลจิต เพราะเหตุนั้น
สติเจตสิก จึงจัดเฉพาะเข้าไว้กับ กุศลจิตทั้งหลายทั้งมวล และไม่แสดงโดยเรียกว่า มิจฉาสติซึ่งปรากฏเฉพาะแต่ในพระสุตตันตปิฏก ว่า มิจฉาสติ

เมื่อทำความเข้าใจดังนี้ ก็จะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า สติก็ไม่อาจเกิดขึ้นลอยๆ ได้ สติก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยความไม่พยายาม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 02:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ คือความระลึกได้ถึงความปรากฏของ รูปนาม สติเป็นอนัตตาเช่นเดียวกับธรรมทั้งปวง
ดังนั้นไม่มีใครที่จะสั่งหรือจงใจให้สติเกิดขึ้นได้ สติจะเกิดขึ้นเองเมื่อทำเหตุที่สมควรให้ถึงพร้อม
โดยไม่ต้อง พยายามทำให้เกิด เหตุให้เกิดสติได้แก่ การที่จิตรู้จักและจดจำสภาวะของรูปนามได้แม่นยำ
เพราะได้เจริญสติปัฏฐานหรือตามรู้สภาวะของกาย เวทนา จิต หรือธรรมเนืองๆ
และทันทีที่สติเกิดขึ้น สติจะทำหน้าที่คุ้มครองจิต คืออกุศลจะดับไปแล้วกุศลเกิดขึ้นทันที

สติหรือสัมมาสตินี้จะแตกต่างจากมิจฉาสติหรือสติธรรมดา
ตรงที่สัมมาสตินั้นเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ ได้แก่ รูปนามในขั้นการเจริญมรรคเบื้องต้น
และระลึกรู้นิพพานในขณะที่เกิดอริยมรรค
ส่วนมิจฉาสติเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์ บัญญัติอันเป็นสาธารณกุศลต่างๆ
สัมมาสติจะสักว่าระลึกรู้อารมณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปพร้อมกับจิตเป็นขณะๆ
ส่วนสติธรรมดามักจะเข้าไปตั้งแข็งหรือนอนแช่อยู่ในอารมณ์
และให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าสตินั้นเป็นของที่ตั้งอยู่ได้นานๆ โดยไม่เกิดดับ

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 02:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ มีปัญญา เป็นเครื่องอบรม
ปัญญามี โยนิโสมนสิการ และกัลยาณมิตร เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา
ดังนั้น สติ จะมีได้ ก็ต้องมีโยนิโสมนสิการ กัลยาณมิตร และปัญญา เป็นองค์อุปการะธรรม

ความดำิริถึง ประโยชน์ของความมีสติ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งขึ้นของ สติ

การตั้งขึ้นแห่งสติ ก็ยังต้องอาศัย ฉันทะซึ่งเป็นความพอใจอันปัญญาเข้าไปประกอบแล้ว(ด้วยสามารถแห่งโยนิโสมนสิการ และเสียงจากกัลยาณมิตร)...ฉันทะอันปัญญาเข้าไปประกอบแล้ว สติจึงเกิดขึ้นตั้งขึ้นได้.

โยนิโสมนสิการ อย่างไร พิจารณาโดยชอบอย่างนี้ว่า ความไม่ประมาทต่อกุศลธรรม มีคุณอย่างไร เป็นเครื่องรักษา อย่างไร อย่างนี้ เป็นการ คำนึงถึงเพื่อประโยชน์แห่งการตั้งมั่น สติจึงเกิดขึ้นตั้งขึ้นได้.

ความที่จิต ระลึกมั่นในการที่จะประคองจิตไว้รักษาจิตไว้ ไม่ให้จิตเกลื่อนกล่นกระจัดกระจายไปกับอกุศลธรรม และกิเลส กามสัญญาทั้งหลาย เพื่อเอกัคคตาแห่งจิต สติจึงเกิดขึ้นตั้งขึ้นได้

ดังนั้น เมื่อ ละนิวรณ์ได้ สติก็ตั้งขึ้นได้ ด้วยสามารถแห่งสติปัฏฐาน 4.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:06
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกรัก เขียน:
สติ ระลึกได้ ระลึกถึง

ระลึกถึง สิ่งที่เป็นโทษ เป็นอกุศล เรียก มิจฉาสติ
ระลึกถึง สิ่งที่เป็นคุณ เป็นกุศล เรียก สัมมาสติ

สั้นไปเปล่า :b32: :b4: :b8:


แหะ..แหะ..สั้นไปหน่อยจริงๆ ครับ

ระลึกถึงสิ่งที่เป็นโทษ ผมหมายถึง ระลึกถึงสิ่งที่ทำให้เกิด กามราคะ เกิดความโลภ เกิดความหลง
ระลึกถึงอกุศล ที่ตนเคยทำไว้ซึ่งก่อให้เกิดความเศร้าหมองของจิต

ระลึกถึงสิ่งที่เป็นคุณ หมายถึง สิ่งที่ทำให้คลายความกำหนัด คลายราคะ คลายโลภและหลง
ระลึกถึงสิ่งที่เป็นกุศล ก็คือผลบุญที่ตนเองประพฤติปฏิบัติมา ทำให้เกิดความสบาย จิตใจผ่องใส

แหะ แบบนี้แหละครับ ขอขอบคุณท่านที่ท้วงติงนะครับ
ขอโมทนากับทุกท่านคร้าบบ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบขอบพระคุณทุกท่านคะ ที่ร่วมให้ความรู้ ความกระจ่าง
บางครั้งการอ่านเองร้อยเล่ม ยังไม่เท่ากับได้สนทนากับผู้รู้
ผู้มีประสพการณ์แม้นครั้งเดียว ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจทันที
ง่ายกว่าการอ่านเอาเอง ซึ่งทำความเข้าใจยาก

โมทนานะค่ะ สาธุคะ tongue :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa012.jpg
Resize of aa012.jpg [ 75.08 KiB | เปิดดู 4061 ครั้ง ]
tongue
สติ เป็น เจตสิก ประกอบจิต มีหน้าที่ รู้ทัน(ปัจจุบันอารมณ์) ระลึกได้ ไม่ลืม

สัมมาสติ คือ สติที่ถูกอบรมด้วย ปัญญา ให้รู้จักศีล รู้จักโอวาทปาติโมกข์ รู้จักอริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา โพธิปักขิยธรรม 37 แล้วนำมาเป็นที่ตั้ง ที่ระลึก กำกับพฤติกรรมให้เป็นไปบนทางสายกลาง โดยมีเป้าประสงค์สุดท้ายมุ่งชี้ตรงไปที่พระนิพพาน

มิจฉาสติ คือสติ ที่ถูกอบรมโดยอัตตา อุปาทาน ความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา ของกู ของเรา เมื่อสติ ถูก กู มากำกับสั่งใช้แล้ว การกระทำ พฤติกรรมทั้งหมดจะกลายเป็นผิด เป็นเหตุทุกข์ และเวียนว่าย ตาย เกิด ไม่รู้จบ

:b27: :b27: :b16: :b16: :b1: :b1: :b12: :b12: :b12: :b8: :b8:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร