วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 14:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความรู้หน่อยนะค่ะ เพื่อเป็นวิทยาทานหรือธรรมทาน
สาธุคะ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย แก้วกัลยา เมื่อ 25 พ.ค. 2010, 10:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 15:13
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม = การกระทำ
ทำดีเรียกกรรมดี ทำชั่วเรียกว่ากรรมชั่ว
ผลของกรรมเรียก วิบากกรรม

ผลของกรรมดีเรียกว่า เสวยสุข
ผลของกรรมชั่วเรียกว่า เสวยทุกข์

แหะ ได้แค่นี้ครับ :b28: :b32: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 10:10
โพสต์: 104

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนาค่ะ แต่ทำไมวิบากกรรมท่านจึงว่าเป็นอจินตัยละค่ะ
วานท่านผู้รู้ด้วนะค่ะ tongue :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกสิ่งทุกอย่างเปนอจินไตยทั้งนั้นแหละจร้า. เมื่อสุขเกิดก็ไม่ยินดีในสุขแล้วเมื่อสิ่งที่เป็นทุกข์เกิดท่านก็ไม่เศร้าหมองในทุกข์ เพราะรู้ว่าทุกสิ่งไม่มีสภาวะที่จะตั้งอยู่ จึงว่าทั้งทุกข์และสุข ทั้งดีและร้ายต่างก็เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นทั้งนั้นไม่ต่างกัน แต่คนเราจะยินดียอมรับแต่ความสุขเท่านั้น เวลาทุกข์จึงเศร้าหมองเวลาสุขก็ลืมตนไป. ทั้งที่จริงๆก็เป็นอารมณ์เหมือนกันทั้งสิ้น ท่านผู้รู้จึงไม่ยินดีในสุข และไม่เศร้าหมองในทุกข์เพราะรู้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนดับไป

ส่วนที่ลึกกว่านั้นก็สามารถอยู่ในสภาวะจิตที่ไม่ยินดียินร้าย เพราะสรรพสิ่งทั้งหมดล้วนเป็น อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา สภาวะนั้นก็เป็นจิตที่เข้าถึงความเป็นอจินไตย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 01:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool

สวัสดีครับ คุณแก้วกัลยา และกัลยาณมิตรธรรมทุกท่าน :b16: :b16:

กรรม มาจากคำว่า กรฺม ในภาษาสันสกฤต ซึ่งตรงกับคำว่า กมฺม ในภาษาบาลี ตามรูปศัพท์แปลว่า การกระทำ ในพุทธศาสนา ตามนิพเพธิกสูตรที่ว่า “ภิกษุทั้งหลายเพราะอาศัยเหตุนี้ เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ” จึงถือได้ว่ากรรมกับเจตนาซึ่งเป็นเหตุการณ์หรือพฤติกรรมทางจิตอย่างหนึ่ง เป็นอันเดียวกัน โดยหมายถึงการกระทำที่เกิดจากเจตนา จึงเรียกว่ากรรม หลักกรรมหรือกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า “บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมต้องได้รับผลของกรรมนั้น” ในพระไตรปิฎกและอรรถกถามีการจำแนกประเภทของกรรมไว้หลายนัย แต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ :b55: :b55:

วิบากกรรม หมายถึง ผลของกรรม แต่เนื่องจากกรรมบางอย่างหรือการกระทำบางอย่าง ไม่มีผลปรากฏชัดในทันที ซึ่งการให้ผลแห่งกรรมนั้นมีความสลับซับซ้อน คนที่มองชีวิตและกรรมในสายสั้น ๆ จึงไม่อาจเข้าใจกรรมอย่างแจ่มแจ้งโดยตลอดได้ บางครั้งกรรมก็ให้ผลในปัจจุบัน บางครั้งก็ให้ผลในชาติต่อไปถัดจากชาติปัจจุบัน หรือให้ผลถัดไปอีกสบโอกาสเมื่อใดให้ผลเมื่อนั้น ความสลับซับซ้อนดังกล่าว จึงกล่าวว่าวิบากกรรมหรือผลของกรรมเป็นเรื่องอจินไตย ไม่ควรไปคิด เพราะปุถุชนอย่างเรา ๆ ไม่มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ หรืออนาคตังสญาณ ที่สามารถเห็นกรรมในอดีตและอนาคตไม่มีที่สิ้นสุดดังเช่นพุทธองค์ได้ คิดไปก็ป่วยการเปล่า ๆ :b55: :b55:

เรื่องของกรรม สอนให้คนทำดี ที่ส่งผลเป็นความสุขแก่ตนเองและผู้อื่น ทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจเพราะมีหลักยึดในการปฏิบัติตนและดำเนินชีวิต สอนให้รู้จักพึ่งตนเอง เพราะชีวิตก็เป็นไปตามกรรมที่ตนสร้างขึ้นมา การปฏิบัติตนอยู่ในกรรมดี ย่อมส่งผลให้ผู้ปฏิบัติ มีชีวิตที่ดีงาม ทั้งในชาตินี้ และชาติหน้าอย่างแน่นอน :b55: :b55:


เจริญในธรรมครับ
:b8: :b8: :b8:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม ชีวิตมนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่จะมีความสุขเพียงอย่างเดียว ความทุกข์ก็ย่อมมีอยู่ด้วย
เป็นธรรมดา ไม่มีใครจะเลือกสุขเวทนา โดยไม่ มีทุกข์เวทนาปะปนอยู่ด้วยเลย
จะสุขน้อยหรือสุขมาก จะทุกข์น้อยหรือ ทุกข์มาก ก็แล้วแต่ผลกรรมของตนเอง

แต่จะสุขหรือทุกข์อย่างไร ก็ยังเป็นวิสัยของชาวโลก ที่จะพ้นจาก พระไตรลักษณ์ คือ
“อนิจจัง” ความไม่เที่ยง “ทุกขัง” ความทนได้ยาก และ “อนัตตา” คือ ความไม่มีตัวตน

เพียงอนิจจังอย่างเดียว ก็เปลี่ยนแปลงชีวิตมนุษย์อย่างตั้งตัวแทบไม่ติด
ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ และผลที่ตามมา

มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ เกิดมา รวย เกิดมาจน เกิดมาสุขสำราญ
เกิดมายากจนแสนเข็ญ บางทีตายจาก มนุษย์ไป ก็ยังเกิดเป็น สัตว์ เปรต อสุรกาย เทวดา
มีความไม่ยั่งยืน แปรปรวนไปได้ทุกขณะ

ในเรื่องเหล่านี้ เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่องกรรมให้ดี เพราะความ รู้เรื่องกรรม เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
หรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าเราไม่ รู้เรื่องกรรม เราก็จะไม่รู้ว่าพระนิพพานเป็นอย่างไร

แม้แต่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็จำเป็นต้องเอาเรื่องกรรมเป็น หลัก และทรงยืนยันว่า
“กรรมเป็นสิ่งที่ทรงอำนาจใหญ่ยิ่ง ในการเกิด การตาย การได้ดี หรือการตกยากของมนุษย์เรา”

ในหมู่พุทธบริษัทส่วนมาก ต่างก็ยอมรับว่า แรงใดจะสู้แรงกรรม เป็นไม่มี
ดูแต่องค์พระมหาโมคคัลลานะ แม้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็ ยังต้องรับผลกรรมที่สืบเนื่องกันมา
ในอดีตชาติ ขนาดมีฤทธิ์มาก ก็ยัง ต้องรับกรรม ให้พวกโจรทุบตีเอา
แม้พระบรมศาสดาของเราท่านทั้ง หลาย ก็ยังต้องทรงรับสนองผลกรรมในบางกรณี

สำหรับผู้มีความรู้ดีในเรื่องของกรรม ย่อมอดทนในเมื่อต้องเสวยผล ของกรรม ไม่ทำการโต้ตอบ
ให้เกิดกิเลสสืบต่อไป ให้มันสิ้นกระแสไป เพียงเท่านั้น

ทั้งนี้ไม่เหมือนสามัญสัตว์ทั่วไป เมื่อได้เสวยผลของกรรมที่ตนทำ ไว้ แทนที่จะรู้สำนึก
และยอมรับผลกรรมแต่โดยดี กลับรู้สึกไม่พอใจ แล้วทำกรรมใหม่เพิ่มเติมและโต้ตอบ
ทำให้เป็นเวรสืบเนื่องไม่ขาดสายลงได้ อาจสืบต่อซ้ำซากกันไปตั้งกัปตั้งกัลป์ ร้อยชาติพันชาติ
อย่างอีกา กับนกเค้าแมว หรืออย่างงูกับพังพอน พบกันก็ต้องตีกันกัดกัน ไม่รู้ว่า
เป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมาแต่ครั้งไหน

พระพุทธเจ้าทรงทราบชัด เรื่องกรรมสนองกรรมอย่างชัดเจน จึง ทรงสอนมิให้สืบต่อเวรกรรมต่อไป
ให้อดทนและยอมรับผลกรรม เพื่อ ให้หมดสิ้นกันไป ทรงดำรัสเป็นใจความว่า

“ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่จะระงับ ได้ด้วยการไม่จองเวรเท่านั้น”

กรรมนั้นมีอยู่สองประเภท

อย่างหนึ่งเป็นกรรมของคนฉลาด เป็น ความดีที่มีอำนาจ สามารถบังคับความชั่ว
และล้างความชั่วได้ ท่านเรียก ว่า “กุศลกรรม” หรือ “บุญกรรม”

อีกอย่างเป็นกรรมที่ทำด้วยความโง่ เป็นความชั่วที่มีอำนาจเผาลน ให้ร้อนรุ่มดับถูกไฟเผาไหม้
เรียกว่า “อกุศลกรรม” หรือ “บาปกรรม” มีลักษณะทำให้สกปรกเศร้าหมอง

บางแห่งท่านเรียกกรรมดีว่า “สุกกะ” (ขาว) และเรียกกรรมชั่ว ว่า “กัณหะ” (ดำ)
ดังนั้นบัณฑิตพึงละ “กรรมดำ” เสีย พึงเจริญแต่ “กรรมขาว” เมื่อละกรรมทั้งหลายหายกังวลแล้ว
ย่อมยินดียิ่งในพระ นิพพาน อันเงียบสงัด

อย่างไรก็ตาม การกระทำกรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม เมื่อพูดถึง ความรู้สึก เราย่อมทราบว่า
เป็นกิริยาของจิตใจ และจิตใจนี้เองเป็นตัว การทำกรรมขึ้น โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาเป็นกรรม การจงใจทำ พูด คิด คือ เจตนาของจิตใจ
และจิตใจนั้นเอง จะต้องรับผิดชอบการกระทำ ของตนเอง จะปัดความรับผิดชอบนั้นไม่ได้”

ธรรมดา เจตนาในการทำ พูด คิด นั้นมีน้ำหนักแตกต่างกัน

ถ้า ความรู้สึกมีกำลังดันแรงที่สุด เจตนาก็ย่อมแรงที่สุด

ถ้าแรงพอประมาณ เจตนาก็แรงพอประมาณ ถ้าแรงเพลาๆ ก็ย่อมเพลาตามกัน

สังเกตได้ จากผู้มีโทสะแรงกล้า ก็อาจฆ่าคนได้ทันที จนแทบไม่รู้สึกตัว
ถ้ามี โทสะแรงพอประมาณ แม้คิดจะฆ่า ก็ยังคิดก่อนทำ ถ้าเพลาเบาลง ก็ เพียงคิดแต่ไม่ฆ่า

ผลของกรรมก็เช่นเดียวกัน ย่อมให้ผลสนองตอบ ตามกำลังของ เจตนานั้นๆ

ถ้ารู้สึกแรง ผลก็มาแรง เช่น อนันตริยกรรม ๕ มีการ ฆ่าบิดามารดา ผู้ที่จะทำเช่นนั้นได้
ต้องมีความรู้สึกฝ่ายกิเลสแรงกล้า เจตนาที่ทำก็แรงด้วย และมักให้ผลในขณะที่ทำนั้นเอง

เพราะแรงกรรมแตกต่างกันดังนี้ ท่านจึงแยกกรรมและผลของกรรม ไว้ดังนี้

๑. กรรมที่สามารถให้ผลให้ปัจจุบันชาติ ที่เรียกว่าให้ผลทันตา ได้แก่
กรรมประเภทประทุษร้ายผู้ทรงคุณ เช่น บิดา มารดา พระอรหันต์ แม้แต่เพียง
การด่าว่าติเตียนท่านผู้ทรงคุณเช่นนั้น ก็เป็นกรรมที่แรง สามารถ ห้ามมรรคผลนิพพานได้

ด้วยเหตุนี้เมื่อ องคุลิมาล จะฆ่ามารดาเป็นคนสุดท้าย จึงจะ ครบพันคนตามที่อาจารย์สั่งฆ่า
พระพุทธเจ้าจึงต้องเสด็จไปยับยั้งไว้ เพราะการเบียดเบียนสัตว์ หรือทรมานสัตว์บางจำพวก
ก็มักให้ผลใน ปัจจุบันทันตาได้เหมือนกัน เช่น การเบียดเบียนแมว เป็นต้น
นี่เป็น กรรมฝ่ายอกุศล ฝ่ายกุศลก็สามารถให้ผลทันตาเช่นกัน

อย่างผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งยังมีศีลบริสุทธิ์ ผลที่มองเห็นก็คือ ได้รับการอภิวาทกราบไหว้
ได้รับการยกเว้นภาษีอากรจากรัฐบาล ได้รับ การคุ้มครองจากรัฐบาล ได้รับปัจจัยที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธา เลี้ยงชีพเป็นสุขในปัจจุบัน ได้รับความเงียบสงัดใจ ความแช่มชื่นเบิกบานใจ
ความสุข สบายทั้งกายและใจ เพราะใจสงบเป็นสมาธิ ได้ฌานสมาบัติ ได้ไตรวิชชาหรืออภิญญา
สิ้นอาสวะในปัจจุบันชาติ แต่ถ้ายังมีกิเลสอยู่ ก็จะ เข้าถึงโลกที่มีสุขเมื่อตายไป

๒. กรรมที่สามารถให้ผล เมื่อเกิดใหม่ในชาติหน้า ถ้าเป็นกุศลกรรม ก็อำนวยผลให้มีความสุข
ตามสมควรแก่กรรมในคราวใดคราวหนึ่ง

ถ้าเป็นอกุศลกรรมก็ให้ผลเป็นทุกข์เดือดร้อน ตามสมควรแก่กรรมในคราวใด คราวหนึ่ง

สมมติชาติปัจจุบันเราเกิดเป็นมนุษย์ ได้กระทำกรรมไว้หลาย อย่าง ทั้งบุญและบาป
ตายแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ด้วยอำนาจ กุศลกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถแต่งกำเนิดได้
ในชีวิตใหม่นี้ ที่เราได้รับ สุขสมบูรณ์เป็นครั้งคราว เพราะกุศลกรรมในประเภทนี้ให้ผล เราได้รับ
ความเดือดร้อนเป็นบางครั้ง นั่นคืออกุศลกรรมในประเภทนี้ให้ผล

๓. กรรมที่สามารถให้ผลสืบเนื่องไปหลายชาติ ตัวอย่างในข้อนี้มีมาก

ฝ่ายกุศลกรรม เช่น พระบรมศาสดาทรงแสดงบุพกรรมของ พระองค์ไว้ว่า ทรงบำเพ็ญเมตตาภาวนา
เป็นเวลา ๗ ปี ส่งผลให้ไปเกิด ใน พรหมโลก นานมาก แล้วมาเกิดเป็น พระอินทร์ ๓๗ ครั้ง
มาเกิดเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ๓๗ ครั้ง

ฝ่ายอกุศลกรรม เช่น พระมหาโมคคัลลานะเถระในอดีตชาติ หลง เมียและฟังคำยุยงของเมีย
ให้ฆ่าบิดามารดาผู้พิการ ท่านทำไม่ลง เพียงแต่ทำ ให้มารดาลำบาก กรรมนั้นส่งผล
ให้ไปเกิดในนรกนาน ครั้นมาเกิดเป็น มนุษย์ ถูกเขาฆ่าตายมาตามลำดับทุกชาติถึง ๕๐๐ ชาติ
ทั้งชาติปัจจุบัน ที่บรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็ถูกโจรฆ่า

๔. กรรมที่ไม่มีโอกาสจะให้ผล เพราะไม่มีช่องที่จะให้ผล เลย หมดโอกาส และสิ้นอำนาจสลายไป
เรียกว่า “อโหสิกรรม”

ในฝ่ายอกุศล เช่น องคุลิมาล ได้หลงกลของอาจารย์ จึงได้ฆ่า คนเกือบพัน
เพื่อนำไปขึ้นครูขอเรียนมนตร์

พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ผลมีอยู่ ทรงเกรงว่า จะฆ่ามารดา
แล้วทำลายอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์เสีย จึงรีบเสด็จไปโปรด และตรัสพระวาจาเพียงว่า

“เราหยุดแล้ว แต่ท่านซิยังไม่หยุด”

องคุลิมาลเกิดรู้สึกตัว จึงเข้าเฝ้าขอบรรพชาอุปสมบท

๕. ชนกกรรม กรรมที่สามารถแต่งกำเนิดได้ กำเนิดของสัตว์ใน ไตรโลก มี ๔ อย่างด้วยกันคือ

ชลาพุชะ เกิดจากน้ำสัมภะของมารดาบิดาผสมกัน เกิดเป็นสัตว์ ครรภ์ แล้วคลอดออกมาเป็นเด็ก
ค่อยเจริญเติบโตขึ้นโดยลำดับกาล ฝ่ายดีเกิดเป็นมนุษย์ ฝ่ายไม่ดีก็เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน

บางจำพวก อัณฑชะ เดิมเป็นฟองไข่ก่อน แล้วจึงเกิดเป็นตัวออกจากกะเปาะ ฟองไข่ แล้วเจริญเติบโต
โดยลำดับกาล ฝ่ายดีได้แก่กำเนิดดิรัจฉานที่มี ฤทธิ์ เช่น นาค ครุฑ
ฝ่ายชั่วได้แก่กำเนิดดิรัจฉาน เช่น นกทั่วๆไป สังเสทชะ เกิดจากสิ่งโสโครก เหงื่อไคล

ฝ่ายดี เช่น นาค ครุฑ
ฝ่ายชั่ว ได้แก่ กิมิชาติ มีหนอนที่เกิดจากน้ำครำ เป็นต้น รวมทั้งเลือด ไร หมัด เล็น
ที่เกิดจากเหงื่อไคลหมักหมม เป็นต้น

ง. อุปปาติกะ เกิดขึ้นเป็นวิญญูชนทันที ฝ่ายดี เช่น เทวดา
ฝ่าย ชั่ว เช่น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย
รวมความว่ากรรมดีแต่งกำเนิดดี กรรม ชั่วแต่งกำเนิดชั่ว นี้เป็นกฎแห่งกรรมที่ตายตัว
ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไป

๖. อุปปัตถัมภกรรม เป็นกรรมที่คอยสนับสนุนกรรมอื่นซึ่งเป็น ฝ่ายเดียวกัน กรรมดีก็สนับสนุนกรรมดี
กรรมชั่วก็สนับสนุนกรรมชั่ว เช่น กรรมดีแต่งกำเนิดดีแล้ว กรรมดีอื่นๆ ก็ตามมาอุดหนุนส่งเสริม
ให้ได้รับความสุข ความเจริญยิ่งขึ้น

กรรมชั่วแต่งกำเนิดทราม กรรมชั่วอื่นๆ ก็ตาม มาอุดหนุนส่งเสริมให้ได้รับทุกข์เดือดร้อนในกำเนิดนั้น
ยิ่งๆ ขึ้น อย่างที่ เราเห็นๆกัน คนทำดี เช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ ความดีก็จะ ส่งเสริม
ให้ได้ดีมีความสุขยิ่งขึ้น บางคนเกิดมายากจน ชีวิตก็ยิ่งได้รับ ความยากจนตลอดมา

๗. กรรมที่เป็นปรปักษ์ต่อกรรมอื่นที่ต่างฝ่ายกับตน คอยเบียดเบียน ให้ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังอ่อนลง
ให้ผลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น เกิด เป็นมนุษย์ แล้วมีกรรมชั่วเข้ามาขัดขวางริดรอนอำนาจ
ของกรรมดีลง เช่น ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ให้มีอันเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
มี แต่ความทุกข์โศกสูญเสีย พลัดพราก ทั้งนี้ก็เพราะกรรมชั่วแต่งให้เกิด มาทราม แต่ยังมีกรรมดี
เข้ามาสนับสนุน ให้มีผู้เมตตาสงสารช่วยเหลือ ถึงเกิดเป็นสัตว์ ก็มีผู้เลี้ยงดูรักใคร่อุปถัมภ์
อย่างหมามีปลอกคอ

๘. กรรมที่เป็นปรปักษ์กับกรรมอื่น แต่มีอำนาจรุนแรงกว่า เช่น เกิดเป็นมนุษย์ แต่ไปฆ่าเขาตาย
ก็เสียความเป็นมนุษย์ไป ดูเหมือน เป็นยักษ์มารชั่วร้ายป่าเถื่อน

นั่นคือ กรรมดีให้มาเกิดเป็นมนุษย์ แต่กรรมชั่วทำให้เสียความเป็น มนุษย์ หรือเกิดมาเป็นเพศชาย
แต่ประพฤติอย่างเพศหญิง หรือเพศหญิง อยากเป็นชาย ซึ่งมีให้เห็นกันมาอย่างทุกวันนี้
ในพุทธกาลเคยมีตัวอย่าง เช่น โสเรยยะบุตรเศรษฐี ไปหลงใหลพระสังกัจจายน์ ว่าท่านรูปงาม
อย่างผู้หญิง มีจิตคิดเอาเป็นภรรยา ผลกรรมทำให้กลับเพศเป็นหญิง ต้องหนีจากบ้านไปอยู่เมืองอื่น
ไปได้สามี มีบุตรด้วยกัน ภายหลังมาขอ อโหสิกรรมจากพระเถระ ท่านอภัยโทษให้
จึงได้กลับเป็นชายตามเดิม เรื่องของพระอรหันต์จะไปล้อเล่นไม่ได้ บางคนไปเกิดเป็นเปรต
ได้มีผู้ อุทิศบุญให้ ต่อมาได้ไปเกิดเป็นเทวดา

๙. กรรมที่หนักมาก สามารถให้ผลในทันทีทันใด หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า “ครุกรรม”
ฝ่ายกุศล ได้แก่ ฌานสมาบัติ ฝ่ายอกุศล ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อนันตริยกรรมนี้มีผลร้ายแรงมาก
แม้เป็นผู้มี อุปนิสัยจะได้สำเร็จมรรคผลถึงขั้นพระอรหันต์ แต่ถ้าไปทำผิดเข้า ก็จะ ตัดมรรคตัดผล
ต้องไปเสวยกรรมอีกช้านาน

๑๐. กรรมอีกอย่างเรียกพหุกรรม หรืออาจิณกรรม คือต้องทำ เป็นประจำจนเคยชิน เป็นกรรมหนัก
รองจากครุกรรมลงมา ทางฝ่ายดี เช่น เป็นผู้บำเพ็ญทาน ถือศีล เจริญสมาธิ มีเมตตาภาวนา เป็นต้น
แต่ยังไม่ถึงได้ฌานสมาบัติ กรรมนี้ก็จะเป็นปัจจัยให้มีกำลังในจิต ที่จะ ทำดีอยู่เสมอ สามารถให้ผล
ต่อเนื่องไปนาน ถ้าไม่ประมาท ในชาติ ต่อไปก็จะทำเพิ่มเติมอยู่เป็นอาจิณ ตัดโอกาส
ไม่ให้กรรมเล็กน้อยมาตัด รอนได้

ทางฝ่ายอกุศลก็เช่นเดียวกัน เช่น พรานป่าล่าสัตว์ หรือชาวประมง ทำปาณาติบาตอยู่เป็นประจำ
แม้แต่คนมีอาชีพฆ่าหมูขาย เชือดไก่ เชือดเป็ด หรือขายสัตว์เป็นประจำ คนพวกนี้แม้จะมีกรรมดีอยู่บ้าง
ก็ยากที่จะเข้ามาช่วยได้ เพราะกรรมชั่วติดสันดานเสียแล้ว เวลาใกล้ตาย ก็จะส่งเสียงร้องเหมือนสัตว์
ที่ตนฆ่า พอสิ้นใจก็ไปนรกทันที

โรงงาน ใหญ่ๆ ที่ฆ่าไก่ส่งนอกวันละเป็นพันเป็นหมื่น เขามักจะจ้างคนอิสลาม มาฆ่า
ก็ไม่มีผลอะไรในเรื่องของบุญบาป เพราะเจ้าของผู้ให้ฆ่า และคน ฆ่า จะนับถือศาสนาอะไร
ก็ต้องรับผลทั้งนั้น

เจ้าของผู้ให้ฆ่าหรือจ้างวานให้ฆ่า จะว่าไปแล้วก็ถือว่าเป็นบาปกว่า คนฆ่าเสียอีก เขาเหล่านี้
แม้จะร่ำรวยเป็นพันเป็นหมื่นล้าน เมื่อถึง คราวจะสิ้นชีวิต ทรัพย์นั้นก็จะละลายหายสูญ
เช่นเดียวกับที่ถูกเผาไหม้ อยู่ในนรก

ยังมีกรรมอีกสองประเภท กรรมแรกเรียก “อาสันนกรรม” เป็น กรรมที่ให้ผลในเวลาใกล้ตาย
ไม่ว่าจะเป็นกรรมหนักหรือกรรมเบา

ตัวอย่างในสมัยพุทธกาลเล่าว่า มีบุรุษคนหนึ่งโดยสารไปในเรือเดิน ทะเล แล้วเกิดพายุทำให้เรือแตก
อับปางลง จึงได้สมาทานศีลก่อนตาย เพียงเล็กน้อย เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์
มีนามว่า สตุลลปายิกาเทวา

ตัวอย่างการอาราธนาศีลก่อนตาย คนไทยชาวพุทธแต่โบราณมา ยึดถือปฏิบัติกันทั่วไป
บิดามารดาก็ดี ญาติพี่น้องก็ดี เมื่อเห็นว่าใกล้จะ สิ้นใจ เขาจะบอกให้ผู้ใกล้ตายระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม
เช่น บอกให้ระลึกถึงคุณ พระพุทธเจ้า เช่น พุทโธ หรือ สัมมาอะระหัง เมื่อสิ้นใจแล้วจะได้มีสติ
ไปจุติในที่ดีเอาไว้ก่อน

แต่บางทีถ้าทำบาปเอาไว้มาก จะบอกอย่างไรก็ไม่มีสติจะระลึกได้ เพราะเจ้ากรรมนายเวร
ที่เขาอาฆาตได้ปิดบังเอาไว้

พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนนักหนาว่า “ขึ้นชื่อว่าบาป ไม่ทำเสียเลย ดีกว่า”

แต่ถึงจะเคยทำบาปมา ภายหลังสำนึกได้ กลับทำความดี ให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญสมาธิภาวนา
ก็ยังพอเอาตัวรอดได้ โดยเฉพาะการทำ สมาธินั้น เป็นเหตุให้มีสติดี เมื่อมีสติดี ก็สามารถ
จะระลึกถึงความดี เช่น พุทโธ ได้ก่อนสิ้นใจ

ดังนั้นท่านทั้งหลายจึงไม่ควรจะตายอย่างคนเลอะเทอะ หาสติมิได้
จะเป็นการเสียชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์

กรรมอีกประเภทหนึ่ง เรียก “กตัตตากรรม” เป็นกรรมที่เบา ที่สุด หรือจะเรียกว่า กรรมเล็กกรรมน้อย
ทำด้วยเจตนาอ่อนๆ แทบไม่มี เจตนาเลย เช่น การฆ่ามดแมลงของเด็กๆไม่เดียงสา
แสดงคารวะต่อพระ รัตนตรัย ตามที่ผู้ใหญ่สอนให้ทำ เด็กก็จะทำด้วยเจตนา ที่ชื่อว่าสักแต่ว่าทำ
ถ้าไม่มีกรรมอื่นให้ผลเลย กรรมชนิดนี้ก็ให้ผลได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม กรรมต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด แสดงว่าพระพุทธ ศาสนาไม่ได้สอนแบบกำปั้นทุบดิน
อย่างที่บอกว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ได้แยกแยะกรรมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ทำดีขนาดไหน
ทำอย่างไร ทำชั่วขนาดไหน ทำอย่างไร และให้ผลอย่างไร ท่านแสดงไว้หมด

ผู้ที่ วิตกว่า ได้ทำบาปมามาก กลัวจะใช้กรรมไม่หมด ก็ไม่ต้องกลัวขนาด นั้น เมื่อรู้ตัวว่าทำบาปมาก
ก็ยังมีทางแก้อยู่ คือ หันมาทำบุญให้มาก ท่าน ศีล ภาวนา ต้องทำให้มากกว่าบาปที่ทำมาแล้ว
ก็อาจแก้ไขให้ร้าย กลายเป็นดีได้ แต่ต้องทำให้มาก ชนิดที่กรรมชั่วตามไม่ทัน

อย่างองคุลิมาลได้ฆ่าคนมาร่วมพัน ยังได้บรรลุอรหันต์ พอบรรลุ อรหันต์ก็เป็นผู้เหนือโลก
พ้นโลกเสียได้แล้ว กรรมอื่นก็เป็นอันพ้นไป หมดทางที่จะชดใช้อีกแล้ว เว้นแต่กรรมบางชนิด
แม้เป็นอรหันต์แล้ว ก็ยังต้องใช้ อย่างที่กล่าวมาแล้ว

ยังมีผู้เข้าใจผิดในเรื่องของกรรมอีกมาก เช่น ทำดีได้บาป หรือทำ บาปแล้วยังได้ดี
ถ้าทำความเข้าใจเรื่องกรรมที่กล่าวมาแล้วให้ดี ก็จะ เห็นว่า ที่ทำบาปกลับได้ดีนั้น
เขายังมีกรรมอื่นสนับสนุนอุปถัมภ์อยู่ บุญกุศลที่เคยทำไว้ในอดีต ยังมีเหลืออยู่
บาปในชาตินี้ยังส่งผลให้ไม่ได้

ส่วนทำดีได้บาปนั้น ก็เช่นเดียวกัน บาปเก่ายังส่งผลอยู่ กรรมดีก็เข้าไป สนับสนุนไม่ได้
ต้องรอจนบาปเก่าสิ้นไป จึงจะได้รับผลดีตอบแทน จึง เชื่อว่าจะไม่สับสนในเรื่องของกรรม
หรือรู้เรื่องกรรมแบบกำปั้นทุบดิน

นอกจากนี้ยังมีลักษณะของกรรมที่อยากให้รู้ไว้ให้ชัดอีก ๖ ประการ คือ

๑. กรรมจากการฆ่าสัตว์ ย่อมส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ ครั้นกลับมา เกิดเป็นมนุษย์อีก
ก็เป็นคนอายุน้อยหรืออายุสั้น ตายเสียก่อนวัยอันควร

ส่วนกรรมที่ไม่ฆ่าสัตว์ มีเมตตาปรานีในสรรพสัตว์ ตายแล้วย่อมไป สู่สุคติโลกสวรรค์
เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นคนอายุยืน

๒. กรรมจากการเบียดเบียนสัตว์ ด้วยการตบตี ขว้างปา แทง ฟัน ส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ
ครั้นได้กลับมาเป็นมนุษย์อีก ก็เป็นคนมีโรคภัย ไข้เจ็บมาก

๓. กรรมจากความมักโกรธ ถูกว่าเล็กน้อยก็โกรธพยาบาทปอง ร้าย แสดงความโกรธ ความดุร้าย
ความน้อยใจให้ปรากฏออกมา ส่ง ผลไปสู่อบายภูมิ ครั้นมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนผิวทราม
ส่วนคน ที่ไม่มักโกรธ เกิดมาเป็นมนุษย์ก็ผิวงาม น่าเลื่อมใส ผ่องผุด เกลี้ยงเกลา

๔. กรรมจากความมีใจริษยา อยากได้ เข้าไปขัดขวางในลาภ สักการะของผู้อื่น หรือผู้อื่นมีใจนับถือ
นบไหว้ผู้อื่น ก็ไปขัดขวางเขา ต้องการให้นับถือตัวผู้เดียว ตายไปก็ลงสู่อบายภูมิ ครั้นเกิดเป็นมนุษย์อีก
ก็เป็นคนมีศักดาต่ำ ไม่ค่อยมีใครยกย่องนับถือ ส่วนตรงกันข้าม ก็ไปสู่สวรรค์ เกิดเป็นมนุษย์มีศักดาใหญ่
ได้รับความนับถือจากผู้อื่น

๕. กรรมจากการไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม ที่อาศัยหลบนอน ให้แสงสว่าง
แก่สมณะและคนดี เพราะความตระหนี่ เหนียวแน่น ตายไปก็ส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ ครั้นมาสู่
ความเป็นมนุษย์อีก ย่อมเป็นคนมีโภคะน้อย หรือมีสมบัติน้อย ส่วนตรงกันข้ามย่อมเป็นผู้มี โภคะมาก

๖. กรรมจากความกระด้างถือตัว ไม่ไหว้คนควรไหว้ ไม่ลุกรับคน ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนควรให้
ไม่หลีกทางแก่คนควรหลีก ไม่ สักการะคนควรสักการะ ไม่เคารพคนควรเคารพ ไม่นับถือคนควรนับถือ
ไม่บูชาคนควรบูชา ทั้งนี้ก็สามารถส่งผลดีและผลร้ายได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กรรมที่กล่าวมานี้ เป็นเรื่องของจิตใจโดยตรง เป็นกรรมทางจิต ก็จิตของมนุษย์
เรานั้น ถ้าปล่อยให้จิตเศร้าหมอง ขุ่นมัว ด้วยกรรมต่างๆ กัน ย่อมเป็นพิษภัยแก่ตัวเองทั้งสิ้น
ท่านจึง สอนให้ทำจิตให้สะอาด สว่าง และสงบ เป็นจิตบริสุทธิ์ ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา
อุเบกขา เป็นจิตใจที่อ่อนโยน

๗. กรรมอีกอย่างหนึ่ง คือ การไม่เข้าหาเพื่อศึกษา หรือไต่ถาม สมณพราหมณ์ หรือผู้รู้มีปัญญา
ในสิ่งที่ควรถาม เช่น กุศล อกุศล สิ่งมีโทษ ไม่มีโทษ สิ่งควรเสพ ไม่ควรเสพ กรรมที่เป็นไปเพื่อทุกข์
กรรมที่เป็นไปเพื่อสุข หรือสิ่งที่ส่งผลไปสู่อบาย หรือกรรมที่ส่งผลไปสู่ สุคติโลกสวรรค์ นิพพาน

การที่ท่านบัญญัติกรรมนี้ไว้ ก็เพราะถือว่า มนุษย์ที่เกิดมา จะทำดี หรือไม่ดี ก็เพราะความไม่รู้
ที่เรียกว่า “อวิชชา” การไม่แสวงหาความรู้ จึงเป็นต้นเหตุแห่งกรรมดีกรรมชั่วของมนุษย์
ผลที่เห็นได้ง่ายก็คือความ โง่เขลา และความเฉลียวฉลาดมีปัญญา

เมื่อได้รู้เรื่องกรรม ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ท่านผู้มัปัญญา ย่อมจำแนกแยกแยะ ความหยาบ
ความละเอียด หนักเบาของกรรม นั้นๆ ได้ และเป็นจริง

แสดงให้เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด
มีกรรมเป็นเครื่องจำแนกแยกให้เห็นว่า มนุษย์ จะดีหรือจะชั่ว จะร่ำรวยหรือยากจนเข็ญใจ
จะรูปงามหรือต่ำทราม จะลง นรกหรือขึ้นสวรรค์ จะเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ หรือจะหลุดพ้น
ไปสู่พระนิพพาน แดนแห่งจิตอมตะก็ด้วยกรรม คือ การกระทำของตน เองทั้งสิ้น

ทั้งนี้ไม่มีพระเจ้าองค์ใดจะบันดาลให้ได้ แม้พระพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งโลก ทั้ง ๓ ก็เป็นแต่ผู้แนะนำสั่งสอน
ชี้ให้เห็นทางถูกผิด กุศล อกุศล ให้ เท่านั้น ตัวเรา มนุษย์เรา จะเป็นผู้เลือกทางเดินของตนเอง
จะเลือกอย่าง คนโง่ดักดาน หรือจะเลือกอย่างคนฉลาดมีปัญญา ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ เองทั้งสิ้น

พระพุทธศาสนา ไม่มีคำสอนให้คนหลงใหลงมงาย แต่สอนให้รู้จัก ความเป็นตัวของตัวเอง
เชื่อตนเอง และให้พยายามค้นหาความเป็น จริง ในกายในจิตของตนเอง มากกว่าดูจากภายนอก
เพราะภายนอกนั้น ยังเป็นสิ่งลวงตาอยู่

เมื่อรู้จักเรื่องของกรรมแล้ว ก็ย่อมจะเข้าใจนิพพานได้ถูกต้องขึ้น ว่า แท้จริงแล้ว “นิพพาน”
มิได้สูญหายไปไหน คำว่า “นิพพานํ ปรมํ สูญญํ” นิพพานสูญนั้น ได้สร้างความเข้าใจผิด
หวาดกลัวมาสมัยหนึ่ง ใครๆ ก็ไม่อยากไปนิพพาน ไปทำไมเมื่อมีความสูญสลาย สู้เป็น
มนุษย์อยู่อย่างนี้ไม่ได้ บริบูรณ์ด้วยรูป รส กลิ่น เสียง หรือไม่ได้เป็น มนุษย์ ไปสวรรค์ยังดีเสียกว่า

ก็นี่แหละมนุษย์ ที่ยังติดรูป รส กลิ่น เสียง มีความโลภ โกรธ หลง เป็นเจ้าเรือนอยู่ ไม่ใช่จะสละละวาง
ไปนิพพานกันได้ง่ายๆ เอกเพียง แค่ไม่ทำบาป ก็เป็นของยากแสนเข็นเสียแล้ว
ก็ยากที่จะเอาชนะกิเลสได้

คำบาลีมีอีกประโยคหนึ่งว่า “นิพพานํ ปรมํ สุขํ” แปลว่า “นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง”
ซึ่งมีความหมายที่ถูกต้องที่สุด ความสุขอย่างยิ่ง เป็นลักษณะของพระนิพพาน
แต่สุขอย่างยิ่งอย่างไร จึงจะเป็นสุขของ พระนิพพาน

ธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีทุกขเวทนาเป็นพื้น ฐาน เกิดก็ทุกข์ แก่ก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์
ตายก็ทุกข์ เพียงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ครั้งหนึ่งก็พอทน แต่มันมีคำว่าเวียนว่ายตายเกิดเพิ่มขึ้นมา
ชีวิต มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ต่างเวียนว่ายตายเกิดเช่นนี้ นับภพนับชาติไม่ ถ้วน
เกิดแต่ละภพแต่ละชาติ ต่างก็ต้องทนทุกขเวทนาซ้ำแล้วซ้ำอีก

ผู้มีปัญญา ได้สร้างทานบารมี ศีลบารมี สมาธิบารมี จนเป็นผู้ มีปัญญา มีจิตเป็นกุศล
ย่อมเห็นทุกขเวทนาในการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เวียนว่ายตายเกิด ซ้ำซาก
ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด แสวงหาความพ้นทุกข์ หวังมรรคผลนิพพาน

ส่วนผู้มีอวิชชาครอบงำอยู่ ย่อมไม่รู้สึกรู้สา ต่อการละวางกิเลส ตัณหา ยังติดอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง
ซึ่งเป็นธรรมดาโลก ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับผลกรรมของตน ใครทำกรรมใดไว้ จะดีหรือชั่ว
ย่อมเป็นไปตาม กรรมนั้น

นิพพานที่ว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง ต้องทราบก่อนว่า ธรรมชาติจิตเป็น ธาตุอมตะ ไม่ใช่ของสูญได้
จิตย่อมเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมของตน

การที่เราจะเข้าถึงนิพพานที่เป็นสุขอย่างยิ่ง คือ ทำให้จิตไม่ต้องเกิดตาย ต่อไป เป็นจิตที่สุขอย่างเดียว
เหนือธรรมชาติของจิตธาตุอมตะธรรมดา ขึ้นไปอีก และเป็นจุดสุดยอดที่พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึง
และเป็นจุดสุดยอด ของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ใช่จะเข้าถึงได้โดยง่าย อย่างที่คนโดยมากคิดกัน
ต้องอาศัยบารมีที่สร้างสมมาหลายภพหลายชาติ เกื้อกูลส่งเสริมด้วย

ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่มนุษย์สามัญชนเรา จะมานั่งกลัวว่า ตน จะต้องไปนิพพาน
ที่เข้าใจว่าเป็นการสูญ

มนุษย์สามัญชนผู้ไม่รู้อดีตชาติ ไม่รู้กรรมดีกรรมชั่วที่เคยกระทำมา ถ้าเรามีจิตเป็นกุศล
เราอาจปรารถนานิพพานได้ แต่จะช้าหรือเร็ว ก็ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สุดแต่วาสนาบารมีที่เราเคยกระทำมา ซึ่งไม่ทราบว่ามี แค่ไหน

แต่เมื่อปรารถนานิพพาน แล้วตั้งใจทำกรรมดี ก็จะต้องได้สักวัน หนึ่ง หรือในชาติหนึ่งจนได้
ข้อสำคัญในปัจจุบัน เราทำอะไรอยู่ ถ้าเราทำ ในสิ่งที่เป็นกุศล เช่น ให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ
ทำไปจนเคยชินเป็น ปกติ ไม่ให้ตกไปอยู่ในความชั่วหรืออกุศลกรรม

แม้ไม่ปรารถนาสวรรค์ นิพพาน ก็ย่อมไปถึงจนได้ เพราะกุศลกรรมความดีนั้น เปรียบเหมือน
เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ เมื่อได้น้ำดี ดินดี ก็จะมีแต่ความงอกงาม เจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป

ดังนั้น แต่ละชีวิต แต่ละจิตวิญญาณ ก็ใช่ว่าเมื่อเกิดมาในภพใดภพ หนึ่งหรือชาติใดชาติหนึ่ง
ซึ่งต่างก็ผ่านมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จะมีโอกาส สร้างสมกุศลบารมี ทุกชาติทุกภพก็หาไม่

บางชาติบางภพ ก็มีโอกาส สร้างสมกุศลบารมีติดต่อกันมา แต่บางชาติบางภพ ก็มีอกุศลกรรม
มาทำให้หลงผิดเป็นชอบ สร้างบาปกรรมทำลายตนเองมากมาย

เพียงผิดศีล ๕ ก็ทำให้ตกนรกภูมิ เสียเวลาไปนับเป็นกัปเป็นกัลป์ เพราะอวิชชา ครอบงำ
และส่วนมากก็ตกอยู่ในสภาพที่จะต้องรับผลจากอกุศลกรรม มากกว่ากุศลกรรมด้วยซ้ำไป
เราเรียกเจ้าตัวอุปสรรคขัดขวางว่าเป็น มาร หรือกิเลสมาร อันเป็นฝ่ายอกุศล

ด้วยเหตุนี้ทำให้เห็นว่า ทุกชีวิตผู้มีจิตวิญญาณ ต่างก็ต้องพบกับ การทำความดี และการทำความชั่ว
สลับกันไป ข้อสำคัญอยู่ที่เราทำกรรมดี หรือกรรมชั่วมากกว่ากัน มันขึ้นอยู่กับชีวิตความคิดของเราเอง

เคยมีพระนักปฏิบัติบางรูป ท่านปรารภให้ฟังว่า ถ้าท่านเกิดทันใน พุทธกาล คือ ในสมัยที่พระพุทธเจ้า
ยังทรงดำรงค์พระชนม์อยู่ ก็คงจะบรรลุ เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว

คำที่ท่านปรารภออกมานี้ มันไม่แน่เสมอไป เพราะผู้ที่เกิดทันพระ พุทธเจ้า ได้สนทนากับพระพุทธเจ้า
ไม่ได้เป็นแม้เพียงโสดาบันก็มี ส่วนผู้ ที่เกิดภายหลังพระพุทธเจ้านับเป็นพันๆปี เมื่อปฏิบัติตาม
พระธรรมคำ สอนอย่างจริงจังแล้ว ได้บรรลุพระอรหันต์ก็มี มันขึ้นอยู่กับกุศลบารมี
ได้สร้างสมมาเต็มเปี่ยมหรือยัง

ดูแต่ อุปกาชีวก ซิ เขาเดินสวนทางกับพระพุทธเจ้า ไดทักถาม สนทนากับพระพุทธเจ้า
ตอนที่มุ่งหน้าไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน เมื่อพบพระองค์กลางทาง เขาทักว่า

“ดูกร อาวุโส…อินทรีย์ทั้งหลายของท่านผ่องใสพิเศษแล้ว พรรณนา แห่งผิวบริสุทธิ์ผุดผ่องโดยรอบ
ท่านได้บรรพชาเฉพาะซึ่งผู้ใด ใครหนอ เป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของผู้ใด”

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “เราเป็นผู้ครอบงำซึ่งธรรมทั้งปวงในภูมิ ๓ เราตรัสรู้แจ้งด้วยตนเอง
เราละเสียซึ่งเตภูมิกรรม เป็นผู้น้อมไปแล้ว ซึ่งอารมณ์พระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นผู้มีวิมุตติหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งปวง เราตรัสรู้เองแล้ว จะพึ่งใครเป็นศาสดาเล่า”

แต่อุปกาชีวก กลับแสดงอาการเย้ยหยัน ไม่เชื่อ แล้วหลีกไปเสีย นี่ก็แสดงว่าการพบพระพุทธเจ้า
ไม่ได้ทำให้เขาบรรลุมรรคผลแต่อย่างใด แทนที่จะทูลซักถามให้ละเอียด
และขอฟังธรรมของผู้สิ้นอาสวะแล้ว

การแสดงความไม่เชื่อ เย้ยหยันพระพุทธเจ้านั้น ก็อาจทำให้เขา ตกนรกได้ เพราะพระพุทธศาสนานั้น
ถือเรื่องความคิดเป็นเรื่องสำคัญ คนที่มีทิฐิ แสดงความไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์
ว่ามีอยู่จริง หรือไม่เชื่อบาปอกุศล ไม่เชื่อกุศลบารมี ทำให้ตกนรกอวจี ได้เหมือนกัน

“จิตมนุษย์” ล้วนมีความโลภ โกรธ หลง กิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นสัญชาติญาณประจำตัวก็ว่าได้
จึงเท่ากับมีทุนทางอกุศล เป็นทุนอยู่ แล้ว เรื่องการทำชั่วทำบาป จึงกระทำกันได้ง่าย จนกระทั่ง
ถือเป็นธรรมดา ไปก็มี คือ ทำกันจนเคยชิน เช่น การฆ่าสัตว์ เมื่อทำเป็นอาจิณ ผู้ทำก็ไม่รู้สึก
ถึงความผิดบาปแต่อย่างใด หรือการพูดโกหกมดเท็จ บางคนพูดจน กลายเป็นนิสัย
วันไหนไม่ได้พูดมุสา จะรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ คล้ายขาด อะไรไปอย่างหนึ่ง

ที่ท่านกล่าวว่าบาปทำได้ง่าย ก็เพราะมันมีบาปมากมาย ให้เลือก ทำได้ทุกโอกาส
ผิดกับการทำกุศลหรือการทำบุญสร้างความดี ต้องฝืนทำ ต้องพากเพียร ต้องตั้งใจให้จริง จึงจะทำได้

อันที่จริง การระลึกชาติได้นี้ มีคนในโลกระลึกได้ไม่น้อย เป็น การระลึกในลักษณะแตกต่างกันไป
บางคนก็ระลึกได้ในชาติที่แล้ว สามารถ บอกเล่าตรงกับความเป็นจริงได้ บางคนก็ระลึกได้ด้วยฌาณ
อันปฏิบัติ ธรรมดีแล้ว ที่เรียกว่า “อตีตังสญาณ” จะระลึกได้น้อยชาติหรือมาก ชาติ
ก็ขึ้นกับปัญญาบารมีของแต่ละคน

พระอรหันต์ระลึกได้น้อยกว่าพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ สามารถย้อนหลังระลึกชาติไปไม่มีสุด




นำมาให้อ่านค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:59
โพสต์: 50

อายุ: 0
ที่อยู่: ท่องไปดุจ..นอแรด

 ข้อมูลส่วนตัว


...กรรมคือ..เหตุ

...วิบากกรรมคือ..ผล
...ทุกสิ่งที่ได้เกิดขึ้นมา..ย่อมมาจากเหตุและผลที่ได้กระทำ
...ไม่เป็นอื่นไปได้เลย..ไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่ก็ตาม

.....................................................
"..หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ
หรือด้วยการเดา..หรือการคิดเอาเอง
หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ
การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว
การสอนก็ไม่จำเป็น..แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้
แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง!!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความ
ต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี ที่ให้
วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ
เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรม
ที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่ง
ผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด
อริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่ง
กรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อ
นั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส
เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม
ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่
มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปมากอย่าง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นเป็นศิลปิน ไม่ใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่
มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นเป็นพ่อค้า ไม่ใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่
มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ ไม่ใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ อนึ่ง ใน
หมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยของที่เขาไม่ให้เลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้
ว่า ผู้นี้เป็นโจร ไม่ใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ อนึ่ง ใน
หมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยศาตราวุธเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นเป็นทหาร ไม่ใช่พวกพราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ อนึ่ง
ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการงานของปุโรหิต ท่านจงรู้
อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่การบูชา ไม่ใช่พราหมณ์ ดูกร
วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดปกครองบ้าน และเมือง
ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพระราชา ไม่ใช่พราหมณ์ และเรา
ก็ไม่เรียกบุคคลผู้เกิดในกำเนิดไหนๆ หรือเกิดจากมารดา
(เช่นใดๆ) ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลถึงจะเรียกกันว่า ท่าน
ผู้เจริญ ผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่นั่นเอง เราเรียก
บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ยึดมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
ผู้ใดแลตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้วไม่สะดุ้ง เราเรียกผู้นั้นผู้ล่วง
กิเลสเครื่องข้อง ไม่ประกอบด้วยสรรพกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ตัดอุปนาหะดังชะเนาะ ตัณหาดังเชือกหนัง
ทิฏฐิดังเชือกบ่วง พร้อมทั้งทิฏฐานุสัยประดุจปม มีอวิชชาดุจ
ลิ่มสลักถอนขึ้นแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่
ประทุษร้าย อดกลั้นคำด่า การทุบตีและการจองจำได้ เรา
เรียกผู้มีขันติเป็นกำลังดังหมู่พลนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียก
บุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้มีองค์ธรรมเป็นเครื่องกำจัด มีศีล ไม่มี
กิเลสดุจฝ้า ฝึกฝนแล้ว มีสรีระตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าเป็น
พราหมณ์ ผู้ใดไม่ติดในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำบนใบบัว
หรือดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดบนปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่า
เป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ของตนในภพนี้เอง
เราเรียกผู้ปลงภาระผู้ไม่ประกอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้มีปัญญาอันเป็นไปในอารมณ์อันลึก มีเมธา
ฉลาดในอุบายอันเป็นทางและมิใช่ทาง บรรลุประโยชน์อัน
สูงสุด ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีด้วย
คฤหัสถ์ และบรรพชิตทั้งสองพวก ผู้ไปได้ด้วยไม่มีความอาลัย
ผู้ไม่มีความปรารถนา ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดวางอาชญาในสัตว์
ทั้งหลาย ทั้งเป็นสัตว์ที่หวั่นหวาด และมั่นคงไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้
ผู้อื่นให้ฆ่า เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่
พิโรธตอบในผู้พิโรธ ดับอาชญาในตนได้ ในเมื่อสัตว์
ทั้งหลายมีความถือมั่น ไม่มีความถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์
ผู้ใดทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไป ดังเมล็ดพันธุ์
ผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
ผู้ใดกล่าววาจาสัตย์ อันไม่มีโทษให้ผู้อื่นรู้สึกได้ อันไม่เป็น
เครื่องขัดใจคน เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์ แม้ผู้ใดไม่
ถือเอาภัณฑะทั้งยาวหรือสั้น เล็กหรือใหญ่ งามหรือไม่งาม
ที่เจ้าของไม่ให้ในโลก เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใด
ไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า เราเรียกผู้ไม่มีความ-
หวัง ผู้ไม่ประกอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่มีความ
อาลัย ไม่มีความสงสัยเพราะรู้ทั่วถึง เราเรียกผู้บรรลุธรรมอัน
หยั่งลงในอมตธรรมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดล่วงธรรมเป็น
เครื่องข้องทั้งสอง คือ บุญและบาปในโลกนี้ได้ เราเรียกผู้
ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี ผู้บริสุทธิ์นั้น ว่าเป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ปราศจากมลทิน บริสุทธิ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว
ดังดวงจันทร์ มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์
ผู้ใดล่วงอวิชชาประดุจทางลื่น หรือดุจหล่มอันถอนได้ยาก เป็น
เครื่องให้ท่องเที่ยวให้หลงนี้ได้ ข้ามถึงฝั่งแล้ว มีความเพ่งอยู่
ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น
เราเรียกผู้นั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดละกามได้ขาดแล้ว เป็น
บรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียกผู้มีกามและภพสิ้นรอบ
แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดละตัณหาได้ขาดแล้ว เป็น
บรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียกผู้มีกามและภพสิ้นรอบ
แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดละกามคุณอันเป็นของมนุษย์
ล่วงกามคุณอันเป็นของทิพย์แล้ว เราเรียกผู้ไม่ประกอบด้วย
กิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียก
บุคคลผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี เป็นผู้เย็น ไม่มีอุปธิ
ครอบงำโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้านั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้
จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้
ไม่ข้อง ผู้ไปดี ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เทวดา
คนธรรพ์และหมู่มนุษย์ไม่รู้คติของผู้ใด เราเรียกผู้นั้นผู้มีอาสวะ
สิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่มีกิเลส
เครื่องกังวลทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง เราเรียกผู้
ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรา
เรียกบุคคลผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหา
คุณใหญ่ ผู้ชำนะแล้วโดยวิเศษ ผู้ไม่หวั่นไหว อาบเสร็จแล้ว
ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้ญาณเครื่องระลึกชาติ
ก่อนได้ เห็นสวรรค์และอบาย และบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นชาติ
เราเรียกผู้นั้น ว่าเป็นพราหมณ์ อันชื่อคือนามและโคตรที่กำหนด
ตั้งไว้นี้ เป็นแต่สักว่าโวหารในโลก เพราะเกิดขึ้นมาตามชื่อ
ที่กำหนดตั้งกันไว้ในกาลนั้นๆ ทิฏฐิอันนอนเนื่องอยู่ในหทัย
สิ้นกาลนาน ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ก็
พร่ำกล่าวว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนชั่ว
เพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่
ที่แท้ ชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะ
กรรม เป็นชาวนาเพราะกรรม เป็นศิลปินเพราะกรรม เป็น
พ่อค้าเพราะกรรม เป็นคนรับใช้เพราะกรรม แม้เป็นโจร
ก็เพราะกรรม แม้เป็นทหารก็เพราะกรรม เป็นปุโรหิตเพราะ
กรรม แม้เป็นพระราชาก็เพราะกรรม บัณฑิตทั้งหลายมีปกติ
เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมเห็นกรรม
นั้นแจ้งชัดตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า โลกย่อมเป็นไปเพราะ
กรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้
ในกรรม เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น บุคคล
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะพรหมจรรย์
สัญญมะ และทมะ กรรม ๔ อย่างนี้ เป็นกรรมอันสูงสุดของ
พรหมทั้งหลาย ทำให้ผู้ประพฤติถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ ระงับ
กิเลสได้ สิ้นภพใหม่แล้ว ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ ของบัณฑิตผู้รู้แจ้ง
ทั้งหลาย.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะ
เราจักพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายตามลำดับตามสมควร สัตว์
ทั้งหลายมีความแตกต่างกันโดยชาติ เพราะชาติของสัตว์
เหล่านั้น มีประการต่างๆ กัน ท่านทั้งหลายย่อมรู้จัก
หญ้าและต้นไม้ แต่หญ้าและต้นไม้ ก็ไม่ยอมรับว่าเป็น
หญ้าเป็นต้นไม้ หญ้าและต้นไม้เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จ
มาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน แต่นั้นท่าน
ทั้งหลายจงรู้จัก หนอน ตั๊กแตน มดดำ และมดแดง สัตว์
เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของมัน
ต่างๆ กัน ท่านทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท้า ทั้งตัวเล็ก
ตัวใหญ่ สัตว์เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะ
ชาติของมันต่างๆ กัน ต่อแต่นั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จัก
ปลาที่เกิดในน้ำเที่ยวไปในน้ำ ปลาเหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จ
มาแต่ชาติ เพราะชาติของมันมีต่างๆ กัน ถัดจากนั้น
ท่านทั้งหลายจงรู้จักนกที่บินไปในเวหา นกเหล่านั้นมีสัณฐาน
สำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน เพศที่
สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมาก ไม่มีในมนุษย์ทั้งหลาย เหมือน
อย่างสัณฐานที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมากในชาติเหล่านี้
ฉะนั้น การกำหนดด้วยผม ศีรษะ หู นัยน์ตา ปาก
จมูก ริมฝีปาก คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง ตะโพก อก
ที่แคบ เมถุน มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขา วรรณะ
หรือเสียง ว่าผมเป็นต้น ของพราหมณ์เป็นเช่นนี้ ของกษัตริย์
เป็นเช่นนี้ย่อมไม่มีเลย เพศที่สำเร็จมาแต่ชาติไม่มีใน
มนุษย์ทั้งหลายเลย เหมือนอย่างสัณฐานที่สำเร็จมาแต่
ชาติในชาติเหล่าอื่น ฉะนั้น ความแตกต่างกันแห่งสัณฐาน
มีผมเป็นต้นนี้ ที่สำเร็จมาแต่กำเนิด ย่อมไม่มีในสรีระ
ของตนๆ เฉพาะในตัวมนุษย์ทั้งหลายเลย แต่ความต่าง
กันในมนุษย์ทั้งหลาย บัณฑิตกล่าวไว้โดยสมัญญา ดูกร
วาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่ง
อาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่
พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ใน
หมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีพด้วยศิลปะเป็นอันมาก ผู้
นั้นเป็นศิลปิน มิใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจง
รู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่ง อาศัยการค้า
ขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้ามิใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ
ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีวิต
ด้วยการรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้รับใช้ มิใช่พราหมณ์
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้
ใดผู้หนึ่งอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจร มิใช่
พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ใน
หมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยลูกศรและศาตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้น
เป็นนักรบอาชีพ มิใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ ท่าน
จงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีพด้วยความ
เป็นปุโรหิต ผู้นั้นเป็นผู้ยังบุคคลให้บูชา มิใช่เป็นพราหมณ์
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใด
ผู้หนึ่งปกครองบ้านและแว่นแคว้น ผู้นั้นเป็นพระราชา
มิใช่พราหมณ์ ก็เราหากล่าวผู้เกิดแต่กำเนิดในท้องมารดา
ว่าเป็นพราหมณ์ไม่ ผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่าโภวาที ผู้นั้นแล
ยังเป็นผู้มีเครื่องกังวล เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล
ผู้ไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ตัดสังโยชน์ได้ทั้ง
หมด ไม่สะดุ้งเลย ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว พราก
โยคะทั้ง ๔ ได้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ตัด
ชะเนาะคือความโกรธ เชือก คือ ตัณหา หัวเงื่อน คือ
ทิฐิ ๖๒ พร้อมทั้งสายโยง คือ อนุสัยเสียได้ ผู้มีลิ่ม
สลักอันถอดแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรา
กล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งคำด่าว่า การทุบตีและ
การจองจำ ผู้มีกำลังคือขันติ ผู้มีหมู่พลคือขันตี ว่าเป็น
พราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีกิเลส
อันฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด ว่าเป็น
พราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย ดุจน้ำไม่
ติดอยู่ในใบบัว ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลาย
เหล็กแหลม ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้รู้ชัดความสิ้นไป
แห่งทุกข์ของตน ในศาสนานี้แล ผู้ปลงภาระแล้ว
พรากกิเลสได้หมดแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้มีปัญญา
ลึกซึ้ง มีเมธา ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง ผู้บรรลุถึง
ประโยชน์อันสูงสุด ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ไม่มีความ
อาลัยเที่ยวไป มีความปรารถนาน้อย ว่าเป็นพราหมณ์
เรากล่าวผู้วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งผู้ที่สะดุ้งและ
มั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์ เรา
กล่าวผู้ไม่ปองร้าย ผู้ดับเสียได้ในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่
ยึดถือในผู้ที่มีความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่ทำ
ราคะ โทสะ มานะ และมักขะ ให้ตกไปแล้ว ดุจเมล็ด
พันธุ์ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลม ว่าเป็นพราหมณ์
เรากล่าวผู้เปล่งถ้อยคำไม่หยาบ ให้รู้ความกันได้ เป็นคำจริง
ซึ่งไม่เป็นเหตุทำใครๆ ให้ข้องอยู่ ว่าเป็นพราหมณ์ ก็เรา
กล่าวผู้ไม่ถือเอาสิ่งของยาวหรือสั้น น้อยหรือใหญ่ งาม
และไม่งาม ซึ่งเจ้าของมิได้ให้แล้วในโลก ว่าเป็นพราหมณ์
เรากล่าวผู้ไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ผู้สิ้น
หวัง พรากกิเลสได้หมดแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าว
ผู้ไม่มีความอาลัย รู้แล้วทั่วถึง ไม่มีความสงสัย หยั่งลงสู่
นิพพาน ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์ เรา
กล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้ง ๒ ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้
แล้ว ไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์แล้ว
ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้มีความยินดีในภพหมดสิ้นแล้ว
ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัวดุจพระจันทร์ที่ปราศจาก
มลทิน ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ล่วงทางอ้อม หล่ม
สงสาร โมหะเสียได้ เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง เพ่งฌาน ไม่หวั่น
ไหว ไม่มีความสงสัย ดับกิเลสได้แล้วเพราะไม่ถือมั่น
ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละกามในโลกนี้ได้เด็ดขาด
เป็นผู้ไม่มีเรือน บวชเสียได้ มีกามราคะหมดสิ้นแล้ว ว่า
เป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้เด็ดขาด เป็น
ผู้ไม่มีเรือน งดเว้น มีตัณหาและภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็น
พราหมณ์ เรากล่าวผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์ แล้วล่วง
โยคะที่เป็นของทิพย์เสียได้ ผู้พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง
ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี
เป็นผู้เยือกเย็น หาอุปธิมิได้ ผู้ครอบงำโลกทั้งปวง มีความ
เพียร ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้รู้จุติและอุปบัติของสัตว์
ทั้งหลาย โดยอาการทั้งปวง ผู้ไม่ข้อง ไปดี ตรัสรู้แล้ว
ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์รู้
คติไม่ได้ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์
เรากล่าวผู้ไม่มีเครื่องกังวลในขันธ์ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์
เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ แสวงหาคุณ
ใหญ่ชนะมาร ไม่มีความหวั่นไหว ล้างกิเลสหมด ตรัสรู้
แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้
เห็นสวรรค์และอบาย และถึงความสิ้นไปแห่งชาติแล้ว ว่า
เป็นพราหมณ์ นามและโคตรที่เขากำหนดกัน เป็นบัญญัติใน
โลก นามและโคตรมาแล้วเพราะการรู้ตามกันมา ญาติ
สาโลหิตทั้งหลาย กำหนดไว้ในกาลที่บุคคลเกิดแล้วนั้นๆ
นามและโคตรที่กำหนดกันแล้วนี้ เป็นความเห็นของพวก
คนผู้ไม่รู้ ซึ่งสืบเนื่องกันมาสิ้นกาลนาน พวกคนผู้ไม่รู้
ย่อมกล่าวว่าบุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่บุคคลเป็น
พราหมณ์เพราะชาติก็หามิได้ แต่เป็นพราหมณ์เพราะกรรม
ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม เป็นชาวนาก็เพราะกรรม
เป็นศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นผู้รับใช้ เป็นโจร เป็นนักรบ
อาชีพ เป็นปุโรหิต และแม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรม
และวิบาก ย่อมเห็นกรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้ โลก
ย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนหมุด
แห่งรถที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรม
อันประเสริฐนี้ คือ ตบะ สัญญมะ พรหมจรรย์ และ
ทมะ กรรมนี้ นำความเป็นพราหมณ์ที่สูงสุดมาให้ บุคคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยไตรวิชชา เป็นคนสงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว
เป็นพราหมณ์ผู้องอาจของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ ท่านจง
รู้อย่างนี้เถิดวาเสฏฐะ ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๖๖๔] ดูกรพราหมณ์ เราจะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูงก็หา
มิได้ แต่จะได้กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูงก็หามิได้. เราจะได้กล่าวว่า
ประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งหามิได้ แต่จะได้กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มี
วรรณะอันยิ่งก็หามิได้. จะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีโภคะมากหามิได้ แต่จะได้
กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มีโภคะมากก็หามิได้. ดูกรพราหมณ์ เพราะว่า บุคคลบางคน
ในโลกนี้ แม้เกิดในสกุลสูง ก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น
เราจึงไม่กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูง. บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดใน
สกุลสูง ก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากประพฤติผิดในกาม
เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาด
จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า
เลวทรามเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูง. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีวรรณะ
อันยิ่งก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ มีความโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า
ประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีวรรณะ
อันยิ่ง ก็เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า
เลวทรามเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีโภคะมาก
ก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
มีความโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าประเสริฐเพราะความ
เป็นผู้มีโภคะมาก. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีโภคะมาก ก็เป็นผู้เว้นขาดจากการ
ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มี
ความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าเลวทรามเพราะความ
เป็นผู้มีโภคะมาก. ดูกรพราหมณ์ เราย่อมไม่กล่าวว่า พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง แต่เราก็ไม่กล่าวว่า
ไม่พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง ก็เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญาย่อมเจริญ สิ่งนั้นเรากล่าวว่าพึงบำเรอ.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๒๐. ผู้ใดแลไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญาณว่าเป็นพระ-
อรหันต์ ผู้นั้นแลเป็นคนถ่อยต่ำช้า เป็นโจรในโลกพร้อม
ทั้งพรหมโลก คนเหล่าใด เราประกาศแก่ท่านแล้ว
คนเหล่านั้นนั่นแล เรากล่าวว่าเป็นคนถ่อย ฯ
บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ
แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ท่าน
จงรู้ข้อนั้น ตามที่เราแสดงนี้ บุตรของคนจัณฑาลเลี้ยง
ตัวเองได้ ปรากฏชื่อว่าตังมาคะ เป็นคนกินของที่ตนให้
สุกเอง เขาได้ยศอย่างสูงที่ได้แสนยาก กษัตริย์และ
พราหมณ์เป็นอันมากได้มาสู่ที่บำรุงของเขา เขาขึ้นยานอัน
ประเสริฐ ไปสู่หนทางใหญ่อันไม่มีฝุ่น เขาสำรอกกาม-
ราคะเสียได้แล้ว เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก ชาติไม่ได้
ห้ามเขาให้เข้าถึงพรหมโลก พราหมณ์เกิดในสกุลผู้สาธยาย-
มนต์ เป็นพวกร่ายมนต์ แต่พวกเขาปรากฏในบาปกรรม
อยู่เนืองๆ พึงถูกติเตียนในปัจจุบันทีเดียว และภพหน้า
ก็เป็นทุคติ ชาติห้ามกันพวกเขาจากทุคติหรือจากครหาไม่ได้
บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ
แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณคะ ที่ให้ความรู้ บางท่านก็สั้นจุ๊ดจู๋ แต่ก็ได้ความหมายนะค่ะ
บางท่านมีรายละเอียด จนสามารถนำไปทำ Thesis , Papers ได้ สบาย ๆ

ขออนุโมทนานะค่ะ สาธุคะ :b8: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b6:
...ยกตัวอย่างที่ชัดๆ เช่น การตั้งใจศึกษาเล่าเรียนมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งจบการศึกษาได้งานทำ...
...วิบากกรรมคือจากการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนนั้น ส่งผลให้มีงาน+เงินเดือนไว้เลี้ยงชีพจนถึงปัจจุบัน...
...ลองคิดดูว่าผู้ที่รับราชการได้งานทำจะมีสวัสดิการต่างๆรองรับ...ล้วนแต่เป็นผลจากกรรมที่ทำมา...
:b1:
...แต่ถ้าตอนเข้ามาทำงานทำกรรมอันใหม่ที่ไม่ดี เช่น ทุจริตโกงกิน ไม่ซื่อสัตย์ในการทำงาน...
...ไม่ต้องถามก็พอจะคาดเดาได้ว่า เมื่อถูกจับได้ก็อาจโดนไล่ออก ล้วนแต่วิบากกรรมที่ตามสนอง...
...ซึ่งความเป็นอจินไตยของกรรมและวิบากกรรมนั้น ไม่อาจประมาณการว่าจะออกมาในรูปแบบใดบ้าง...
:b16:
...เพราะผลของกรรมจะคอยติดตามผู้กระทำเหมือนเงาตามตัวและหาโอกาสให้ผลไม่จำกัดกาล...
...หากไม่มีโอกาสส่งผลกับผู้กระทำโดยตรง ก็จะหาโอกาสให้ผลกับคนที่รักเพื่อให้ผลทางใจกับผู้กระทำ...
...ไม่ควรประมาทว่ากรรมดีและไม่ดีจะไม่มาส่งผล...แม้บรรลุธรรมแล้วกรรมและวิบากกรรมก็ยังส่งผล...
:b8:
...จงคิดให้ดีก่อนกระทำ...ว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ก่อเวรภัยและความเดือดร้อนทั้งกายและใจต่อตนเองและผู้อื่น...
:b44: :b44:
:b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกัลยา ท่านผู้ดูแลบอร์ด

ช่วยแก้กระทู้

กรรมและวิบากกรม ในความเห็นของท่าน

เป็น

กรรมและวิบากกรรม ในความเห็นของท่าน

ด้วยครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร