วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 06:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 15:13
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การบรรลุธรรม บางท่านก็ว่าเป็นปัจจัตตัง ถ้าเป็นปัจจัตตังแล้วท่านสอนให้เราเข้าใจได้อย่างไรครับ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
...มนุษย์ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ...ในบรรดาสัตวโลกทั้ง 31 ภพภูมิ...
...สามารถสั่งสอน...อบรม...เรียนรู้ได้...ฝึกหัดดัดแปลงได้...มีความฉลาด...
...รู้จักคิด...รู้จักพิจารณา...รู้จักเลือกเฟ้นการกระทำ...ทำได้ทั้งความดีและความชั่ว...
...ดีสูงสุดจนบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าได้...ก็คือต้องมาเกิดในภพภูมิมนุษย์เท่านั้นค่ะ...
:b27: :b17:
:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ่อ... ก็ยังมีเทวดา ไปบรรลุโสดาบันที่สวรรค์ด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...บทสวดพุทธคุณ...สัตถาเทวามนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ...
...พระบรมศาสดาเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย...
...เทวดาหรือมนุษย์...จะบรรลุอรหันต์ได้ที่ภพภมิมนุษย์ในชาติสุดท้าย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การบรรลุธรรม บางท่านก็ว่าเป็นปัจจัตตัง ถ้าเป็นปัจจัตตังแล้วท่านสอนให้เราเข้าใจได้อย่างไรครับ


เหมือนเวลาที่เรียนหนังสือ ครูก็สอนวิชาไปตามหลักสูตร คุณไ้ด้เรียนรู้มาก็รู้เฉพาะตน คนอื่นก็รู้เฉพาะตนต่างคนต่างรู้กันไป ครูก็มารู้แทนไม่ได้ จึงเห็นได้ว่า ตนนั่นแหละที่รู้ว่าตนรู้ไปถึงใหน โดยนัยเดียวกัน..คนที่บรรลุธรรม เมื่อได้ฟังแล้วปฏิบัติ ก่อนบรรลุ ก็ย่อมต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้ามาก่อน(ยกเว้นผู้ที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเอง ก็ไม่ต้องฟังใครก่อน แต่รู้ได้เอง )

พึงทราบว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมนำไปสู่"ปัญญา" ไม่ใช่สอนเพื่อเบลอหรือเลอะเลือน ทำนองว่ายิ่งฟังยิ่งเขลาบอด หรือนำไปปฏิบัติไม่ได้ หรือได้แต่ก็พาโข่งไปเรื่อยเปื่อย..เมื่อได้ปัญญาก็ย่อมรู้ว่าตนทำอะไร ทำเพื่ออะไร มีจุดหมายอย่างไร...พอพูดถึงจุดหมาย ก็ต้องหมายเอาจุดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ทราบว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร ไม่ใช่สุ่มมั่วเดาด้นเอาเอง เหมือนเวลาเราจะเดินทางก็ต้องรู้จุดหมาย เราก็อาจพอรู้คนคร่าวๆว่า จุดหมายนั้นจะมีลักษณะอย่างไร เพื่อตรวจสอบเมื่อถึงที่นั้นว่า นี่คือที่ที่เรามุ่งจะมาถึงใช่หรือไม่ พอได้หลักแล้ว ปัญญานั่นแหละอันตนอบรมให้ดี จะชี้นำเองว่าไปถึงใหนแล้ว เมื่อบรรลุ ก็รู้ว่าบรรลุและไม่สงสัยลังเลว่านี่รึเปล่าคือการ บรรลุ..เพราะคนมีปัญญาระดับบรรลุนั้น ย่อมรู้ว่าเมื่อใดตนสงสัยอะไรๆอยู่ เมื่อนั้นจะไม่เรียกว่าบรรลุ หรือมีการบรรลุโดยเด็ดขาดครับ..

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


cool พรหมที่เป็นพระอานาคามี ไงครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉัตรพงษ์ เขียน:
การบรรลุธรรม บางท่านก็ว่าเป็นปัจจัตตัง ถ้าเป็นปัจจัตตังแล้วท่านสอนให้เราเข้าใจได้อย่างไรครับ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ :b8:



การบรรลุธรรม - เป็นผลของการปฏิบัติ ตรงนี้ไงคะที่เป็นปัจจัตตัง รู้ได้ด้วยตนเอง


สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ.

“ธรรมคุณ ๖” จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ รองศาสตราจารย์ดนัย ไชยโยธา ที่เขียนให้เข้าใจง่ายๆว่า

คุณของพระธรรม มี ๖ ประการ ดังที่นักปราชญ์ได้ร้อยกรองเป็นบทสวดสำหรับน้อมนำระลึกไว้ในใจ ดังนี้

๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม หมายถึง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
พระองค์ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น อันได้แก่ ศีล งามในท่ามกลาง อันได้แก่ สมาธิ และงามในที่สุด อันได้แก่ ปัญญา พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์หรือหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

๒. สันทิฏฐิโก หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง

ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำ บอกเล่าของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้

๓. อกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยกาล

ผู้ปฏิบัติไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา พร้อมเมื่อใดบรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใดเห็นผลได้ทันที นั่นคือ ให้ผลในลำดับแห่งการบรรลุ ไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดูกาล

๔. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู

พระธรรมเป็นคุณอัศจรรย์ดุจของประหลาดที่ควรเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง

๕. โอปนยิโก หมายถึง ควรน้อมเข้ามา

ผู้ปฏิบัติควรน้อมเข้ามาไว้ในใจของตน หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติ ให้เกิดมีขึ้นในใจ

๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ผลอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ จะรู้ซึ้งถึงผลแห่ง พระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจ ของตนเอง

************************ :b51: :b53:

ท่านบอก "ควรเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์ น้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติ"

หากบอกว่าเชียงใหม่สวยอย่างไร คนไม่เคยไปไม่เคยเห็นนึกภาพไม่ออกก็ไม่มีวันเข้าใจหรอกค่ะ

การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตรงทางและมรรคผลขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยคือการสะสมบุญบารมีและปัญญา

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัตตัง คือ ความรู้เฉพาะตัว หมายถึง ตนเองรู้เห็น อธิบายให้ตนเองเข้าใจ หายสงสัยได้
แต่อธิบายให้คนอื่นเข้าใจ หายสงสัยไม่ได้ ได้แต่เปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัยให้ฟังเท่านั้น

ผิดถูกไม่ว่ากันนะครับ..สาธุ..โมทนากับทุกท่านขอรับ... :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เอางี้ซิ ลองอธิบายว่า ความโกรธมันเป็นความรู้สึกแบบไหนอย่างไร ความสุข ความดีใจ ฯลฯ อันนี้แหล่ะคือ ปัจจัตตัง
เรื่องทางพุทธ จะเป็นเรื่อง สภาวะ เสียส่วนมาก อธิบายได้บางส่วน แต่สุดท้ายก็ปัจจัตตัง เช่น สภาวะฌาณ พอจะอธิบายได้ มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา แต่จริงๆ แล้ว สภาวะฌาณ เป็นปัจจัตตัง เป็นอจินไตย

การเน้นปริยัติ (อ่านตำรา) มากเกินไป บางครั้งจึงเป็นตัวถ่วง เพราะเราจะพยายามหาสิ่งที่อธิบายเป็นตัวหนังสือ มาเข้ากับสิ่งที่เป็นปัจจัตตัง เช่น นั่งสมาธิ ก็คอยมองหาว่า นี่วิตก นี่วิจาร เอ๊ะนี่สุขหรือเปล่า สุดท้ายมีหมด ยกเว้นเอกัคคตา คือมองหาจนฟุ้งซ่านไป...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ

หลวงปู่โง่น เคยบอกให้ถามว่า ยังไม่ต้องไปดูไกลหูไกลตาหรอก
ให้ถามว่า ตอนนี้เงินในกะเป๋า ข้าพเจ้ามีเท่าไร

อิอิ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 12 พ.ค. 2010, 22:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 22:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนดีที่โลกลืม เขียน:
เรื่องนี้ไงเป็นปัจจัตตัง พระอริยะเจ้าและพระอรหันต์ เข่น ......


หาก..อยากจะเล่าเรี่องนี้นะ..ไปตั้งกระทู้ของตัวเองเลย..จะดีกว่ามั้ง???..คุณคนดี

คุณคนดีฯ..อาจจะตี่นตากับเรี่องนี้..

แต่..กบฯ..ว่า..มันธรรมดา..ธรรมดา..

อย่าแปลกใจ..คุณคนดีฯ..มันปัจจัตตัง..นะ.. :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2010, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 12:49
โพสต์: 117

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8: เจริญในธรรมค่ะ :b8: :b8: :b8:
:b48: :b48: :b48: :b41: :b41: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b41: :b41: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
หนทางสว่าง เริ่มต้นจากใจของเรา


แก้ไขล่าสุดโดย krathin2009 เมื่อ 13 พ.ค. 2010, 08:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2010, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 15:13
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณยิ่งครับ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
tongue
...บทสวดพุทธคุณ...สัตถาเทวามนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ...
...พระบรมศาสดาเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย...
...เทวดาหรือมนุษย์...จะบรรลุอรหันต์ได้ที่ภพภมิมนุษย์ในชาติสุดท้าย...


เธอให้จิตดำเนินไปด้วย
ธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่า
นั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ
ดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้น ถ้าไม่บรรลุ จะเป็นโอปปาติกะ
พระอนาคามี
ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๒๘๑๔ - ๒๙๖๑. หน้าที่ ๑๒๓ - ๑๒๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉัตรพงษ์ เขียน:
การบรรลุธรรม บางท่านก็ว่าเป็นปัจจัตตัง ถ้าเป็นปัจจัตตังแล้วท่านสอนให้เราเข้าใจได้อย่างไรครับ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ :b8:


ที่คุณได้รับรู้มา ไม่ถูกต้องขอรับ เพราะ

คำว่า "ปัจจัตตัง" หรือ ปัจจัตตลักษณะ ตามความหมายในพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) หมายถึง
" ลักษณะเฉพาะตน หรือ ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ"
คำว่า "ลักษณะเฉพาะตน" ย่อมหมายถึง อาการ อากัปกิริยา ท่วงท่า การเดิน การพูด อุปนิสัย ใจคอ ความชอบ ความไม่ชอบ ฯลฯ
ส่วน คำว่า "ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ" ย่อมหมายถึง สภาพสภาวะหรือลักษณะแห่งขันธ์ ต่างๆ หรือสภาพสภาวะหรือลักษณะแห่ง มหาภูตรูป และหรือ สิ่งที่อาศัยหรือเกิดด้วย มหาภูตรูป ยกตัวอย่างเช่น เวทนา ย่อมมีลักษณะ หรือสภาพสภาวะของการรับรู้ฯอารมณ์ ต่างๆ หรือ สัญญา ย่อมมีลักษณะ หรือ สภาพสภาวะของการ จำได้ รู้ได้ว่าเป็นสิ่งใด ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น

ปัจจัตตัง หรือ ปัจจัตตลักษณะนี้ จะคู่กับ สามัญญลักษณะ ซึ่ง มีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ดังนี้
สามัญญลักษณะ หมายถึง "ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่
๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้
๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน
แสดงความตามบาลีดังนี้
๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน;
ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์,
ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
ด้วยเหตุนี้ การบรรลุธรรม จึงไม่เกี่ยว กับ ปัจจัตตัง และการบรรลุธรรม ก็ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะตน ไม่เกี่ยวกันคนละอย่างกัน

[b]แต่ การบรรลุธรรม บุคคลจะรู้ได้เฉพาะตน ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะตน[/b]
อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี
ผู้บรรลุธรรม จะรู้ได้เฉพาะตน แต่ก็สามารถสอนให้ผู้อื่น บรรลุธรรมได้ด้วย และสามารถทำให้บุคคลอื่นมองเห็นหรือสัมผัสธรรมทั้งหลายที่ได้บรรลุนั้น ในที่นี้จะไม่อธิบายว่า มองเห็นหรือสัมผัสได้อย่างไร เพราะมันจะเป็นการโอ้อวด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร