วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 10:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อข้อสงสัยที่ว่า
- "จิต" ดับไม่ได้
- และ "จิต" เกิดดับได้


ผมไปผมสิ่งนี้ จึงนำมาฝาก

คนไหนคิดว่าจิตดับไม่ได้
ลองแก้บทความนี้ดูหน่อยสิครับ


อ้างคำพูด:
นานาปัญหา
โดย คณะสหายธรรม

จาก http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=16&A=2519&Z=2566



๒๔. พระอรหันต์นิพพานแล้วเหลือแต่จิตบริสุทธิ์หรือ


ถาม ผมอยากทราบว่า ตามหลักอภิธรรมกล่าวว่าจิตกับวิญญาณขันธ์เป็นสิ่งเดียวกัน ใช่หรือไม่ครับ
ถ้าใช่อย่างนั้น เวลาบรรลุเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์ปรินิพพานเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน
ขันธ์ทั้ง ๕ ดับหมด ก็สูญหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างนะสิครับ หรือความจริงเป็นอย่างไร

มีบางท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า
จิตถูกหุ้มห่อด้วยขันธ์ทั้ง ๕ เป็นชั้นที่ ๑ และถูกหุ้มห่อด้วยวิบากเป็นชั้นที่ ๒
เมื่อทำลายกรรมและวิบากหมดแล้ว บรรลุเป็นอรหันต์เหลือแค่ขันธ์ ๕ ทรงอยู่อย่างบริสุทธิ์
ต่อเมื่อดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ขันธ์ทั้ง ๕ ก็ดับหมดเหลือแต่จิตล้วนๆ บริสุทธิ์ (เรียกว่า เกวล) ถึงบรมสันติสุขสถาพร ตลอดกาลนิรันดร

ขอคำอธิบายจากคณะสหายธรรมด้วยว่า ความจริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่ในเรื่องนี้

ตอบ ก่อนอื่นขอเรียนว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะหลักธรรมขั้นสูง คือมรรคผลนิพพานนั้น บางนิกายก็มีความเห็นแตกต่างไปจากนิกายเถรวาทที่เรานับถือกันอยู่ คำถามที่คุณตั้งมานั้นจะเป็นคำสอนของผู้ใดนิกายไหนคณะไม่อาจทราบได้ แต่คำสอนในนิกายเถรวาทไม่ใช่เช่นนั้น เพราะฉะนั้น คำตอบที่จะตอบต่อไปนี้จึงเป็นคำตอบที่ได้มาจากคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระอรหันต์สาวกและอรรถกถาในนิกายเถรวาทเท่านั้น

ในพระอภิธรรม พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติชื่อของสภาพรู้ คือจิตไว้ถึง ๙ ชื่อดังนี้คือ
๑. จิต ๒. มนะ ๓. มานสะ
๔. หทยะ ๕. ปัณฑระ ๖. มนายตนะ
๗. มนินทรีย์ ๘. วิญญาณ ๙. วิญญาณขันธ์

ซึ่งจะใช้ชื่อใดก็หมายความถึงจิตทั้งสิ้น

ในบรรดาขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์นั้น
วิญญาณขันธ์ก็คือจิตนั่นเอง

ขันธ์ทั้ง ๕ นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

ถ้าขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ดับไปแล้ว คือปรินิพพานแล้ว เหลือแต่จิตล้วนบริสุทธิ์
ก็แสดงว่าขันธ์ของพระอรหันต์ดับไปเพียง ๔ ขันธ์ วิญญาณขันธ์คือจิตมิได้ดับด้วย
จึงยังคงเหลือบริสุทธิ์อยู่


ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง จิตก็เที่ยง
เพราะดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ นี่ก็ขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วจึงถูกต้องไปไม่ได้



อนึ่ง ในพระอภิธรรมท่านแสดงว่านามขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เมื่อเกิดขึ้นต้องเกิดพร้อมกัน ๔ ขันธ์ และเมื่อดับก็ดับไปพร้อมกันทั้ง ๔ ขันธ์
ไม่ใช่ ๓ ขันธ์ดับ วิญญาณขันธ์ไม่ดับ

เมื่อรูปกายอันเป็นรูปขันธ์แตกดับ นามขันธ์ทั้ง ๔ ก็อยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับด้วย
และต้องแตกดับพร้อมกันทั้ง ๔ ขันธ์ด้วย
ไม่ใช่ดับเพียง ๓ ขันธ์ เหลือวิญญาณขันธ์คือจิตไว้
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธในนิกายเถรวาท


ธรรมดาขันธ์ ๕ เป็นสังขตธรรมหรือสังขารธรรม
คือธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและมีสภาพเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
ปราศจากเหตุปัจจัยแล้ว ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นไม่ได้
เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด ขันธ์ ๕ ก็เกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัย ขันธ์ ๕ ก็ดับ

ดังที่ พระอัสสชิกล่าวแก่อุปติสสะปริพาชก
ซึ่งภายหลังคือท่านพระสารีบุตร ว่า “ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสถึงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”

ด้วยเหตุนี้ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์เมื่อดับคือปรินิพพานแล้วเพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดแล้ว
จึงไม่เกิดอีก ไม่ว่าจะเป็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเหลือแต่จิตล้วนๆ บริสุทธิ์
ในเมื่อจิตก็คือวิญญาณขันธ์ เมื่อวิญญาณขันธ์ซึ่งรวมอยู่ในขันธ์ ๕ ดับ การจะเหลือแก่จิตบริสุทธิ์จึงเป็นไปไม่ได้



ใน พรหมชาลสูตร ที. สีลขันธวรรค ข้อ ๙๐ ตอนท้าย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ภิกษุว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้วเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต”
จากพระพุทธดำรัสนี้ก็แสดงชัดว่า ผู้ที่ทำลายตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดในภพต่างๆ ได้ขาดแล้ว
เป็นพระอรหันต์แล้วยังมีชีวิตอยู่ เทวดาและมนุษย์ย่อมเห็นกายของพระอรหันต์ได้

แต่เมื่อพระอรหันต์สิ้นชีวิตแล้วคือปรินิพพานแล้ว
เทวดาและมนุษย์ย่อมไม่เห็นกายของท่าน
เพราะกายของท่านดับแล้วไม่เกิดอีกแล้ว


อนึ่ง การดับของขันธ์ ๕ ท่านไม่เรียกว่าสูญ
ในเมื่อขันธ์ ๕ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ดับไปก็เพราะสิ้นเหตุปัจจัย
ท่านจึงเรียกการไม่ได้เกิดอีกของขันธ์ ๕ ว่า เพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะให้เกิด ขันธ์ ๕ ก็ไม่เกิด

อีกอย่างหนึ่ง จุติของพระอรหันต์ท่านเรียกว่า จริมะจิต
คือเป็นจิตดวงสุดท้ายในสังสารวัฏ สำหรับบุคคลที่ตายแล้วยังต้องเกิดอีก

จิตดวงสุดท้ายในแต่ละชาติที่ตายนั้นเรียกว่า จุติจิต
เพราะจุติจิตดับแล้วมีปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นในภพใหม่ชาติใหม่อีก
ทั้งนี้บุคคลที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์นั้น ไม่ว่าจะเกิดมากี่ร้อย กี่พัน กี่แสน กี่โกฏิชาติ
จิตก็เกิดดับติดต่อกันมาตลอดร้อยชาติ
พันชาติ แสนชาติ โกฏิชาติ คือจุติจิตดับแล้วปฏิสนธิจิตก็เกิดสืบต่อไปอีกทุกๆ ชาติ

ต่อเมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วนั่นแหละ จุติของท่านจึงชื่อว่าจริมะจิต
คือเป็นจิตดวงสุดท้ายของการเกิดมาในสังสารวัฏอันยาวนานนั้น
เพราะไม่ปฏิสนธิจิตสืบต่ออีก เหมือนในชาติที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์
นี่คือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในเรื่องนี้และในนิกายเถรวาทนี้



________________________________________

ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔

มหาวรรค ภาค ๑

พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B= ... &Z=1456#65



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑


ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค


พรหมชาลสูตร
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=09&A=1&Z=1071#90



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

มหาตัณหาสังขยสูตร

ว่าด้วย สาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=12&A=8041&Z=8506



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

อัสสุตวตาสูตร
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=16&A=2519&Z=2566



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ยมกสูตร ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=16&A=2519&Z=2566


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 14:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับข้อสงสัยของคุณ Oz
ที่เข้าใจว่า จิตเหมือนลิงจับกิ่งไม้ จับตรงนั้แล้วก็ปล่อยตรงนั้น
โดยสื่อทำนองว่าจิตเป็นจองถาวร (ลิง) ที่หยิบฉวยสิ่งต่างๆ (เจตสิก)
และเชื่อว่าจิตก็ไม่ได้ได้ดับไปพร้อมกับเจตสิก

ผมเลยเอาต้นฉบับมาเลย ว่าจิตดับหรือไม่ดับกันแน่

จากพระไตรปิฏก

Quote Tipitaka:
มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑


[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

... ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง
ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ

นั้นเพราะเหตุไร

เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี
ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ
ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น

แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง


ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา
ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน

ฉะนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ


สรุปข้างบนนี้ก่อนว่า "จิต" ของพระพุทธเจ้าแปลว่าอะไร
....แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
...


Quote Tipitaka:
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้
โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่
ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง
สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง
ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ



ข้างล่างนี้ คุณ Oz ดูให้ดีๆ
Quote Tipitaka:
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น
ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ



http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=16&A=2519&Z=2566


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 15:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มี.ค. 2010, 08:42
โพสต์: 34

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้ "ถก" กันมาเยอะมากเลย เดี๋ยวเอาข้อมูลมาให้ดู
..
..
ส่วนตัว สรุปเอาเองว่า
ถ้าจะเปรียบ "จิต" กับ ดวงไฟ
น่าจะเป็น "จิต"ติด และ "จิต"ดับ ... ไม่ใช่ จิต "แตก"
..
ดังนั้น ดวงไฟมีดวงเดียวจ้ะ ...หลอดประหยัดไฟตราพานาโซนิก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Satoranai เขียน:
เรื่องนี้ "ถก" กันมาเยอะมากเลย เดี๋ยวเอาข้อมูลมาให้ดู
ส่วนตัว สรุปเอาเองว่า
ถ้าจะเปรียบ "จิต" กับ ดวงไฟ
น่าจะเป็น "จิต"ติด และ "จิต"ดับ ... ไม่ใช่ จิต "แตก"
..
ดังนั้น ดวงไฟมีดวงเดียวจ้ะ ...หลอดประหยัดไฟตราพานาโซนิก


อนาถ
ลองเอาไปถามหลวงพ่อสงบสิ ว่าที่พูดมานี้ผิดหรือถูก
แล้วก็ไปถามหลวงตาอีกเป็น second opinion

ถามเอาเอง พิจารณาเอาเองนะ
ไม่จำเป็นต้องมาตอบผมเรื่องนี้


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 19:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มี.ค. 2010, 08:42
โพสต์: 34

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอามาให้ดูจากพันทิป เคยมีประโยคนี้ถูกเขียนไว้
อยู่ในหนังสือที่พิมพ์ขึ้นมาแจกฟรีกว่าสองหมื่นฉบับ

“ ยิ่งถ้าน้องเห็นการเกิดดับของสภาวะจิตด้วยการตามรู้กายรู้ใจ บ่อยๆนะ
น้องจะเข้าใจและเห็นเองเลยว่า ในอดีตที่เราเคยคิด เคยเชื่อว่า จิตมีดวงเดียว
จิตมีตัวตนถาวร หากเราตายแล้ว จิตก็ล่องลอยออกไป สิงร่างใหม่
หรือไม่ก็ลอยขึ้นสู่สวรค์ชั้นฟ้า

ความเชื่อเหล่านั้นมันไม่ใช่ความจริง
เพราะผู้ฝึกสติ สัมปชัญญะ จะค้นพบว่า ที่แท้จิตก็เหมือน แสงไฟจากนีออน
ซึ่งจริงๆแล้ว แสงไฟ กระพริบเปิดปิดตลอดเวลา ด้วยอัตรา 50ครั้ง ในช่วงเวลา 1วินาที
แต่เพราะมันกระพริบเปิดๆปิดๆเร็วมาก เร็วจนตาเรามองไม่ทัน
เราทุกคนที่ไม่เคยเรียนวิทยาศาสตร์ ก็เลยนึกว่า แสงไฟนีออนสว่างจ้า ตลอดเวลาที่เปิดไฟ
ซึ่ง ความเชื่อที่ว่า แสงไฟนีออนสว่างจ้าตลอดเวลา ก็ไม่ใช่ความจริงนะ
เด็กมัธยมอย่างเรารู้กันตั้งแต่ม.ต้นแล้ว”

- ผู้เขียน ครู Sup’k ที่ปรึกษา ดังตฤณ – อ้างอิงจาก หลวงพ่อปราโมทย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Satoranai เขียน:
เอามาให้ดูจากพันทิป เคยมีประโยคนี้ถูกเขียนไว้
อยู่ในหนังสือที่พิมพ์ขึ้นมาแจกฟรีกว่าสองหมื่นฉบับ

“ ยิ่งถ้าน้องเห็นการเกิดดับของสภาวะจิตด้วยการตามรู้กายรู้ใจ บ่อยๆนะ
น้องจะเข้าใจและเห็นเองเลยว่า ในอดีตที่เราเคยคิด เคยเชื่อว่า จิตมีดวงเดียว
จิตมีตัวตนถาวร หากเราตายแล้ว จิตก็ล่องลอยออกไป สิงร่างใหม่
หรือไม่ก็ลอยขึ้นสู่สวรค์ชั้นฟ้า

ความเชื่อเหล่านั้นมันไม่ใช่ความจริง
เพราะผู้ฝึกสติ สัมปชัญญะ จะค้นพบว่า ที่แท้จิตก็เหมือน แสงไฟจากนีออน
ซึ่งจริงๆแล้ว แสงไฟ กระพริบเปิดปิดตลอดเวลา ด้วยอัตรา 50ครั้ง ในช่วงเวลา 1วินาที
แต่เพราะมันกระพริบเปิดๆปิดๆเร็วมาก เร็วจนตาเรามองไม่ทัน
เราทุกคนที่ไม่เคยเรียนวิทยาศาสตร์ ก็เลยนึกว่า แสงไฟนีออนสว่างจ้า ตลอดเวลาที่เปิดไฟ
ซึ่ง ความเชื่อที่ว่า แสงไฟนีออนสว่างจ้าตลอดเวลา ก็ไม่ใช่ความจริงนะ
เด็กมัธยมอย่างเรารู้กันตั้งแต่ม.ต้นแล้ว”

- ผู้เขียน ครู Sup’k ที่ปรึกษา ดังตฤณ – อ้างอิงจาก หลวงพ่อปราโมทย์


5555

คุณนี่ วัวพันหลักจริงๆ

อ่านหนังสือไม่แตกจริงๆ

เขาพูดชัดว่า เปรียบเทียบ จิต ว่าเป็นแสงไฟนีออน
ไม่ได้เปรียบเทียบกับตัวหลอดนีออน

หมายความว่า เกิดดับอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนแสงนีออนมันสว่างนิ่งอยู่
คือจิตมันเกิดดับสืบเนื่องกันไป ติดๆๆๆกันไปหมด จนดูเป็นอันเดียวกัน
ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับตัวหลอด


แต่คูณน่ะ เปรียบเทียบจิตว่าเป็นตัวหลอดนีออน
ที่มีแสงเป็นสิ่งแสดงออกของหลอด ที่เด๊่ยวติดเดี๋ยวดับ
แสงติดๆดับๆ แต่หลอดนั้นถาวร

กล่าวคือเชื่อว่าจิตเป็นสิ่งถาวรอันหนึ่ง
ที่พอตายแล้วไปครองร่างใหม่
นับเป็นมิจฉาทิฐิขั้นรุนแรง ที่เชื่อว่าตายแล้วไม่สูญ

อ่านหนังสือไม่แตก มันถึงพาทุกข์พายาก


ว่างๆผมจะหาตัวอย่างที่ดีกว่านี้มาแสดงความคิดเห็น
ตัวอย่างหลอดนีออนมันล่อแหลมจริงๆ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 20:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 18:42
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต๊องหน่ะ จะมาคุยเรื่องจิต สมาธิยังไม่ได้เลย จะคุยเรื่องจิตเกิดดับ นั่งเทียนคิด นั่งเทียนอ่าน ตัวเองก็ทำไม่ได้ ได้แต่ฝันเพ้อเจ้อไปวันๆ ไร้สาระ ถ้าตัวไม่รู้ ก็ไปถามที่รู้ แล้วปฏิบัติตามพิสูจน์กันว่าจริงรึเปล่า นี่เอาแต่อ่านๆๆ มาตีความตามที่ตัวอยากให้เป็น แล้วก็เชื่อ ไปถามสิ เหนื่อยใจจริงๆ บอกแล้วพระไตรปิฎกหน่ะ มันมีสิ่งที่ขัดแย้งกันอยู่ถ้ายังใช้ปัญญาแบบโลกๆตีความ เถียงอภิธรรมกันตั้ง ๒๕๕๓ ปีแล้ว รีบๆไปถามครูอาจาย์เถอะ ดูซิจะบอกเหมือนพระโปรโมทรึเปล่า ถามไปเลย จิตเกิดดับ หรือ เจตสิกเกิดดับ จิตมีดวงเดียวหรือมีหลายดวง มั่วแต่เดาไปวันๆ ถ้าจะบ้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Oz(ob) เขียน:
ต๊องหน่ะ จะมาคุยเรื่องจิต สมาธิยังไม่ได้เลย จะคุยเรื่องจิตเกิดดับ นั่งเทียนคิด นั่งเทียนอ่าน ตัวเองก็ทำไม่ได้ ได้แต่ฝันเพ้อเจ้อไปวันๆ ไร้สาระ ถ้าตัวไม่รู้ ก็ไปถามที่รู้ แล้วปฏิบัติตามพิสูจน์กันว่าจริงรึเปล่า นี่เอาแต่อ่านๆๆ มาตีความตามที่ตัวอยากให้เป็น แล้วก็เชื่อ ไปถามสิ เหนื่อยใจจริงๆ บอกแล้วพระไตรปิฎกหน่ะ มันมีสิ่งที่ขัดแย้งกันอยู่ถ้ายังใช้ปัญญาแบบโลกๆตีความ เถียงอภิธรรมกันตั้ง ๒๕๕๓ ปีแล้ว รีบๆไปถามครูอาจาย์เถอะ ดูซิจะบอกเหมือนพระโปรโมทรึเปล่า ถามไปเลย จิตเกิดดับ หรือ เจตสิกเกิดดับ จิตมีดวงเดียวหรือมีหลายดวง มั่วแต่เดาไปวันๆ ถ้าจะบ้า


น่ะ เห็นไหม

พอเอาพระไตรปิฏกมาแย้ง
ก้หาเหตุว่าตัวผมทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นพระไตรปิฏกคงจะเท็จ
เหมือนกันหมดเลยนะพวกคูณเนี่ยะ

แถมยังมีอภิญญามาล่วงรู้ว่าผมทำสมาธิไม่เป็น
เหอะๆ

ผมทำสมาธิอีท่าไหนไม่รู้นะ คงจะผิด
แต่เห็นจิตรับเสียงโดยไม่ตีความเสียงได้น่ะ
ตั้งแต่นั้นเป้นต้นมา ไม่สงสัยคำว่า "ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน"
เนี่ยะ คนทำสมาธิไม่เป้นนะ พ่ออภิญญา

นี่ผมยังไม่พูดถึงตานะ พิศดารกว่านี้

หนอยๆ ทำมาล่วงรู้สมรรถนะจิตเรา
ด่าหลวงพ่อเป็นวรรคเป้นเวร ว่าดูวาระจิตผู้อื่นไม่ดีอย่างนั้น อย่างนี้
ทีตัวเองล่ะ อภิญญาก็ไม่มี คาดๆเดาๆ เอาแท้ๆเลย
แล้วก้มาพิพากษาสมรรถนะจิตผู้อื่นกลางอิืนเตอร์เน้ต
โรคนี้ระบาดหนักจริงๆ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 21:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร