วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 13:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต สรุปสาระ ของ แนวทาง"สติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน-สติอัตโนมัติ"


การเจริญสติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน คือ มาถูกทางแล้ว แต่ ยังไม่บริบูรณ์ ...


วิธีปฏิบัติคือ เพรียรเจริญสติให้ยิ่งๆขึ้นไป(พหุลีกตา).... จนบริบูรณ์ ชำนาญ และ เป็นอัตโนมัติในที่สุด


การเจริญสติ ในลักษณะนี้

1.สติอัตโนมัติ ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่ บังเกิดเป็นอัตโนมัติเมื่อเหตุปัจจัยประชุมพร้อม

และ

2.ไม่ได้ห้ามตั้งใจเจริญสติ ในขั้นตอนที่ยังเป็นการฝึกฝนอยู่



............................



อยากขอเรียนถาม ทาง แนวทาง"สติตัวปลอม-สติตัวจริง" เกี่ยวกับการเจริญสติ ว่า


1.สติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน ถือว่าเป็น สติตัวปลอมไหม.....


2.วิธีปฏิบัติต่อ สติตัวปลอม ปฏิบัติอย่างไร....
ระหว่าง
2.1ควรเพียรเจริญด้วยความตั้งใจ จนเชี่ยวชาญ และ เป็น อัตโนมัติในที่สุด
หรือ
2.2ควรเว้นการตั้งใจเจริญสติ (ห้ามตั้งใจเจริญสติ)

3.สติตัวจริง พัฒนาไปจาก สติตัวปลอม หรือไม่ อย่างไร

4.ในกรณี ถ้าหากห้ามตั้งใจเจริญสติ....จะปฏิบัติอย่างไร ให้สติตัวจริงบังเกิดขึ้น



ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


hmmm... ตกลงพูดกันถึงเรื่องสัมมาสติกันอยู่รึนี่ ... ไอ้เราก็นึกว่าพูดถึงเรื่องสติเจตสิก

สติเจตสิก = การระลึกถึงสัญญา
มิจฉาสติ = อาการสติที่ระลึกถึงมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็น)
สัมมาสติ = อาการสติที่ระลึกถึงสัมมาทิฏฐิ (ความจริง)
สตินทรีย์ = อินทรีย์ของ(สัมมา)สติ การที่สติระลึกถึงสัมมาทิฏฐิเป็นกิจลักษณะ หรือที่เรียกกันว่า (สัมมา)สติอัตโนมัติ
สติพละ = อินทรีย์ของสติที่มั่นคงแข็งแรงมีกำลัง

เหตุเกิดสติ คือ ผัสสะ อารมณ์ เหตุเกิดสัมมาสติ คือ การสะสมสัมมาทิฏฐิไว้มากๆ ร่วมโยนิโสมนสิการ เจตนา หรือ สัมปัญญชัญะ

ในพระไตรปิฏกมีการละคำ หรือใช้คำย่ออยู่เอยะนะ ก็แล้วแต่กลุ่มผู้ฟัง ... :b38: ... ดูกันดีๆ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"สติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน-สติ อัตโนมัติ"

ลองไปอยู่วัดอัมพวันสิงห์บุรี ห้ามพูดคุยกับใครยกเว้นคนสอนกรรมฐาน สำรวมอินทรีย์ กำหนดสติตลอดยกเว้นตอนนอนหลับไปแล้ว เดินจงกลม สลับนั่งสมาธิ กิน เดิน ถ่าย ดื่ม ฯ เจริญสติตลอดเวลา กินน้อย นอนน้อย 15 - 30 วัน ก็น่าจะแยกออกได้ครับ ไอ้ที่ว่า สติ(ที่เหมือน)อัตโนมัติ มันเป็นอย่างไรนะครับ

หมายเหตุที่ใช้คำว่าที่เหมือน เพราะอย่างไรมันก็ต้องมีเจตนานะครับ มันเกิดขึ้นเองบ่ได้ แต่มันรวดเร็วมากจนคิดว่ามันเป็นอัติโนมัติประมาณนั้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านใด มีข้อมูล เรื่อง สติตัวปลอม-สติตัวจริง .... ลองนำมาลง ศึกษาร่วมกัน น่ะครับ



สติ เป็นแกนหลักของโพชฌงค์
สติ เป็นตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงที่สุดแห่งธรรม

ความเข้าใจในเรื่อง สติ แตกต่างกัน.....ก็อาจจะเป็น สาเหตุที่ทำให้เข้าใจในธรรมอื่นๆ แตกต่างกันออกไป

ถ้า ปรับจูนความเข้าใจในเรื่อง สติ ให้ใกล้เคียงกัน.... ก็น่าจะเป็นผลดีต่อส่วนรวม



ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มี บทธรรมเทศนา ของ หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย เกี่ยวกับเรื่อง การเจริญสติ มาลงเพิ่ม ครับ



อุบายที่จะทำให้ตัณหาดับนั้นคือทำอย่างไร

ทำสติอย่างเดียว

สิ่งใดเกิดขึ้นทางตาทำสติรู้ ถ้าจิตเกิดความยินดียินร้าย พิจารณาหามูลเหตุว่าทำไมจึงยินดียินร้าย
เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็เหมือนกัน ในเมื่อสัมผัสเข้าแล้วเกิดความพอใจ ไม่พอใจ มาทำสติพิจารณาสิ่งนั้น

แม้ว่าเราจะไม่รู้จริงเห็นจริง แต่เราเอาสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ โดยธรรมชาติของจิตแล้ว ถ้าหากว่ามีสิ่งรู้แล้วมีสติระลึกอยู่กับสิ่งนั้น ในเมื่อตั้งใจ สนใจ เอาใจใส่ จดจ้องดูอยู่ตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติคือการทำสมาธิ เป็นการเจริญสมถวิปัสสนาไปในตัว

เพราะสิ่งใดที่เราดูด้วยความมีสติสัมปชัญญะ ย่อมเป็นอุบายให้จิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมมีปีติ มีความสุข และมีเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาอย่างอื่น

จุดหมายของการภาวนา คือ การสร้างพลังสติสัมปชัญญะ

เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายของการเจริญสมถวิปัสสนา ที่แน่ๆ ที่สุด อยู่ตรงที่ฝึกฝนอบรมให้มีสติสัมปชัญญะมีพลังเข็มแข็ง ซึ่ง เรียกว่า สติพละ

สติพละสามารถที่จะประคับประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติเมื่อประสบกับอารมณ์ต่างๆ สตินทรีย์ เมื่อสติพละเพิ่มกำลังขึ้นกลายเป็นสตินทรีย์ เป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงสามารถที่จะปฏิวัติตนไปสู่การค้นคว้าพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ จนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎแห่งความเป็นจริง

เมื่อสตินทรีย์มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็นสติวินโย คือมีสติเป็นผู้นำ กระชับแน่นอยู่ที่ดวงจิตของผู้ปฏิบัติไม่พรากจากกันตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หลับ และตื่น สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย




เสนอ สังเกตุ

หลวงพ่อพุธ ท่านกล่าวถึงการเจริญสติในเบื้องต้นด้วยคำว่า "ทำสติ" ....ซึ่ง มีคำว่า "ตั้งใจ" และ "จดจ้อง" อยู่ด้วย





ผมจึงเสนอว่า

ครูบาอาจารย์พระป่า ไม่ว่าจะองค์ไหนๆ ก็ไม่เคยห้าม"ตั้งใจ"เจริญสติในเบื้องต้น ครับ




ส่วน สติที่เป็นอัตโนมัติ ท่านก็แสดงไว้ว่า ก็พัฒนาไปจาก สติในขั้นฝึกฝน นี้ละครับ...หาใช่ว่า รอให้เผลอๆ แล้ว สติอัตโนมัติจึงจะเกิดขึ้นเองลอยๆแบบปราศจากเหตุปัจจัย(อเหตุ-อปัจจโย)



ไม่ทราบว่า ท่านอื่นๆ มีความเห็นเช่นใด ในประเด็นนี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปลอม
คุณหมอลองค้นคำว่า "มิจฉาสติ" จากพระไตรปิฏกดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
สติปลอม
คุณหมอลองค้นคำว่า "มิจฉาสติ" จากพระไตรปิฏกดู



ถ้าเช่นนั้น

สติในขั้นฝึกฝนที่ยังคงมีความ"ตั้งใจ"อยู่ ซึ่งยังไม่เป็นอัตโนมัติ(เช่น ที่ครูบาอาจารย์พระป่าท่านแสดงไว้)....จัดว่า เป็น มิจฉาสติ หรือไม่ อย่างไร ครับ


ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องย้อนกลับไปดูความหมายของคำว่าสติ ก่อนดีไหมครับ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
อ้างคำพูด:
นิดหนึ่ง / เขียน
หากว่าทุกข์เป็นเหตุแห่งสติ ถามว่าคน ทำไมคนโดดตึก ทำไมฆ่าตัวตาย
เขาเป็นสุขหรือว่าเป็นทุกข์ เขามีสติหรือขาดสติ
คนมีทุกข์ทุกคนเรียกว่าคนมีสติหรือเปล่าค่ะ
ขอความรู้หน่อยนะค่ะ

สาธุ ผิดพลาดขออภัย ความรู้น้อยค่ะ
ขอโมทนากับคุณ Rosarin ค่ะ ขอโทษท่านเจ้าของกระทู้ด้วยนะค่ะ

:b12:
...ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นค่ะ...ท่านชาติสยาม...
...มนุษย์ทุกคนมีความทุกข์ในจิตใจ...เรียกว่ามีโรคทางใจทุกคน...
...เว้นแต่พระพุทธเจ้า...พระสาวก...และพระอรหันต์ที่ไม่ทุกข์ใจ...
...สาเหตุของทุกข์มาจากการรับรู้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ...
:b16:
...การรับรู้ดังกล่าวเรียกว่าการเห็น(การสร้างกิเลส)...
...เห็นแล้วเกิดชอบใจไม่ชอบใจ...ทำให้เกิดอยากได้ไม่อยากได้...
...เมื่อมีการรับรู้ในทางชอบใจก็ปรารถนาอยากได้สิ่งนั้น...
...ในทางกลับกันถ้าไม่ชอบก็ปรารถนาอยากหลีกให้พ้นสิ่งนั้น...
:b12:
....ความอยากกับไม่อยากมากๆเพราะกิเลสพาให้คิด...
...ไม่ใช้สติคือไม่คิดถึงผลดีผลร้ายที่ตามมาคือการขาดสติ...
...จากตัวอย่างที่คุณนิดหนึ่งยกมาคือทำไมคนโดดตึก ทำไมฆ่าตัวตาย...
...เป็นทุกข์ที่ไม่มีสติ...ทุกข์จนหาทางออกให้ตนเองผิดๆ...
...เป็นการกระทำที่เบียดเบียนตนเองเป็นทุกข์ที่สุดในโลก...
...ถ้ามีสติแล้วเขาจะต้องคิดถึงผลกระทบที่เกิดกับคนเกี่ยวข้องด้วย...
:b34:
...การเห็นทุกข์ของผู้ที่มีสติคือการช่วยเหลือประคับประครอง...
...ชีวิตคือสภาพร่างกายและจิตใจของตนให้มีอายุขัยไปตามวาระ...
...ไม่ใช่การทำร้ายร่างกายและจิตใจตนเองจนเร่งให้หมดอายุขัยก่อนกำหนด...
...หรือการไปทำร้ายร่างกายและจิตใจคนอื่นเพราะโกรธแค้นชิงชังอยากให้เขาตาย...
:b1:
...การเห็นทุกข์ที่มีสติ...คือการระลึกรู้ได้ว่าการได้มีชีวิตอยู่หนึ่งชีวิตของตนเองนั้นมีคุณค่า...
...ด้วยชีวิตของเราสามารถสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและยังประโยชน์เกื้อกูลชีวิตอื่นๆได้...
...ผู้ที่ทำประโยชน์แก่ตนแล้วเกื้อกูลชีวิตอื่นๆได้...นับว่าเป็นผู้มีสติในการดำเนินชีวิต...
:b16:
...การกระทำเกิดมาจากการคิดก่อน...สติคือการคิดไตร่ตรองเหตุ-ผลก่อนแสดงออกทางกาย...
...การคิดมีได้ทั้ง 2 ทาง...คิดดีกับคิดไม่ดี...การแสดงออกมีได้ทั้ง 2 ทาง...ดีกับไม่ดี...
...ผู้มีสติจึงเป็นผู้ที่มีการเลือกเฟ้นการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสม...คือมีการคิดอย่างมีเหตุผล...
...โดยใช้สติมองเหตุที่เกิดขึ้นและคิดถึงผลที่จะตามมา...และเลือกทำให้ชีวิตไม่เดือดร้อนใจภายหลัง...
:b17:
:b4: :b4:
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 18 มี.ค. 2010, 11:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เสนอ พิจารณาคำอธิบาย มิจฉาสติ


จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

มิจฉาสติ (ระลึกผิด ได้แก่ ความระลึกถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เช่น ระลึกถึงการได้ทรัพย์ การได้ยศ เป็นต้น ในทางอกุศล อันจัดเป็นสติเทียม เป็นเหตุชักนำใจให้เกิดกิเลสมีโลภะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น— wrong mindfulness)




ผมเห็นว่า

มิจฉาสติ ในที่นี้ ไม่น่าจะรวมถึง สติในขั้นการฝึกฝนที่ยังคงมีความ"ตั้งใจ"อยู่(ยังไม่เป็นอัตโนมัติ)....

เพราะ สติในขั้นการฝึกฝนที่ยังคงมีความ"ตั้งใจ"อยู่ ถึงแม้นจะยังไม่เป็นสติอัตโนมัติ แต่ ก็ไม่นำไปในทางอกุศล(หวังว่า คงไม่มีท่านใดเข้าใจว่า ครูบาอาจารย์พระป่าสอนให้เจริญสติที่นำไปสู่อกุศลน่ะครับ )

หรือ จะกล่าวให้กระชับ ก็น่าจะเป็นว่า สติในขั้นฝึกฝนนั้น มาถูกทางแล้ว แต่ ยังไม่บริบูรณ์...การปฏิบัติ คือ เดินหน้าต่อไปในทิศทางเดิม แต่ เพียรให้ยิ่งๆขึ้นไป(พหุลีกตา)



ในขณะที่ มิจฉาสตินั้น มาผิดทาง ตั้งแต่ต้น เลย...การปฏิบัติ คือ ต้องยุติ และ ไปเริ่มใหม่ในแนวทางที่ถูกต้อง



ไม่ทราบว่า ท่านอื่นๆ จะเห็นเช่นใดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b12:
...สิ่งใดเป็นเหตุของสติ...ข้าพเจ้าก็จะสรุปว่าเหตุของสติคือความคิดเห็นมีทั้งถูกและผิด...
...คือสัมมาสติ(คิดถูกแบบมีหิริ-โอตัปปะ)กับมิจฉาสติ(คิดผิดแบบไม่มีหิริ-โอตัปปะ เกิดทุกข์)...
...ทุกข์เกิดจากการคิดที่มีกิเลสคือปรุงแต่งอารมณ์ชอบไม่ชอบ คิดบ่อยๆ ซ้ำๆ ย้ำคิดย้ำทำ...
...เกิดการดิ้นรนแสวงหาให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ...เกิดการยึดมั่นถือมั่นตัวตน เรา เขา...
:b20:
...การคิดมีสติคือคิดบวกคือคิดดีมีเหตุผล คิดถูกต้อง คิดเหมาะสม คิดยาว(คิดถึงอนาคต)...
...คิดได้ คิดเป็น คิดแบบมีปัญญาแก้ปัญหา...คือคิดถึงตนเองและคนที่เกี่ยวข้อง...
...ไม่มีสติคือคิดผิด คิดลบ คิดแล้วทำให้ตนเองเดือดร้อนทั้งร่างกายและจิตใจ...
...คิดแล้วหาทางออกไม่ได้ คิดแล้วทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม คิดสั้น คิดทำร้ายตนเอง...
...คิดทำร้ายผู้อื่น คิดแล้วทำแบบคนสิ้นคิด(เช่นคิดว่าปล้นธนาคารแล้วจะรวยไม่คิดว่าผลคือติดคุก)...
:b17:
:b27: :b27:
:b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 06:55
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
......


จ๋อง...จ๋อง...จ๋อง อาหย๋าม :b17: :b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 23:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

ผมจึงเสนอว่า

ครูบาอาจารย์พระป่า ไม่ว่าจะองค์ไหนๆ ก็ไม่เคยห้าม"ตั้งใจ"เจริญสติในเบื้องต้น ครับ


ส่วน สติที่เป็นอัตโนมัติ ท่านก็แสดงไว้ว่า ก็พัฒนาไปจาก สติในขั้นฝึกฝน นี้ละครับ...หาใช่ว่า รอให้เผลอๆ แล้ว สติอัตโนมัติจึงจะเกิดขึ้นเองลอยๆแบบปราศจากเหตุปัจจัย(อเหตุ-อปัจจโย)


ไม่ทราบว่า ท่านอื่นๆ มีความเห็นเช่นใด ในประเด็นนี้ครับ


เหออ..ๆ...ๆ

กบฯ..แม้ตายังถั่วอยู่..ก็ขอ..เห็นด้วย..ครับ

:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต นำความหมายของ คำ ที่ใช้ในการเสวนา ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันมาลง น่ะครับ

เพื่อจะได้ เข้าใจตรงกัน เวลากล่าวถึง คำๆนั้น



อ้างคำพูด:
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

จงใจ

ความหมาย

ก. ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา




เมื่อกล่าวถึงคำว่า "ตั้งใจ" (เช่น ที่ครูบาอาจารย์ ท่านกล่าว) ก็มีความหมายเดียวกันกับ "จงใจ" และ หมายรวมไปถึงคำว่า"เจตนา" ด้วย


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 19 มี.ค. 2010, 06:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง สติอัตโนมัติ(รวมถึงองค์แห่งอริยมรรคอื่นๆอีกด้วย) ที่ พ้นความตั้งใจ พ้นความจงใจ พ้นเจตนา คือ เป็นเองโดยสมบูรณ์ในขณะนั้น




เสนออ่าน


สนทนาธรรมภาคปฏิบัติ ปฏิปัตติวิภัชน์

โดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


ผ. ถามว่า การปฏิบัติก็มุ่งต่อความพ้นจากกิเลส แต่ทำไมตั้งใจจะละอาสวะให้หมดไป จึงไม่หมดไปได้อย่างใจ

ฝ. ตอบว่า อาสวะเป็นกิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องอาศัยอริยมรรคที่เป็นกุศลพ้นเจตนาจึงละไว้ได้

การตั้งใจละนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา เพราะฉะนั้นจึงละอาสวะไม่ได้ คงละได้แต่กิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา แต่ก็ละได้ชั่วคราว ภายหลังอาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะเป็นโลกิยกุศล

ผ. พูดว่า อ้อ อย่างนี้นี่เล่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่ากิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องละด้วยกุศลที่พ้นจากเจตนา คือ อริยมรรค ส่วนกิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ต้องละด้วยกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา ซึ่งเป็นกรรมวัฏฝ่ายบุญ

ฝ. พูดว่า ถ้าตั้งใจจะละอาสวะได้ง่าย ๆ เหมือนอย่างตั้งใจทำกรรมวัฏฝ่ายบุญแล้ว พระอรหันต์ก็คงหาได้ง่าย ๆ ในโลก พระอริยสงฆ์คงไม่น่าอัศจรรย์เท่าไหร่ แม้พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี เสขบุคคล ๓ จำพวกนี้ก็ต้องอาศัยอริยมรรค ซึ่งเป็นกุศลที่พ้นจากเจตนา จึงจะฆ่าสังโยชน์ได้




เรื่อง กุศลที่พ้นเจตนาอันเป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้ นั้น .... ครูบาอาจารย์พระป่ารุ่นก่อนๆ ท่านกล่าวไว้นานแล้ว....

แต่ ท่านไม่ได้ห้ามตั้งใจเจริญสติในช่วงฝึกฝน น่ะครับ

สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญาแล้ว.... การจะนำไปสู่ กุศลที่พ้นเจตนา นั้น ก็ต้องอาศัยเจตนา คือ ความพากเพียรพัฒนาเป็นไปในเบื้องต้น .....หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า ต้องมีความตั้งใจในเบื้องต้นเสียก่อน จนเมื่ออินทรีย์ทั้งห้าพอเหมาะ อริยมรรคบริบูรณ์ ความเป็นอัตโนมัติจึงปรากฏ



ขอเสนอเพิ่มเติมมาดังนี้ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 130 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร