วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 14:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ตัวที่เป็นจุดกำเนิดของการจะนึกของการจะคิด
มันก็อยู่ที่จิต จิตคือ “สภาพรู้ หรือธาตุรู้”


จิตรับได้ทีละอารมณ์
จิตเมื่อไปตั้งอยู่กับอารมณ์ใดก็รู้อารมณ์นั้น
ระลึกรู้อารมณ์นั้น แล้วก็ปล่อยอารมณ์นั้น


จิตนี้ก็ไม่คงที่ เกิดดับ จิตนี่ก็ไม่มีตัวตน
สักแต่ว่าเป็นธรรมชาติ เป็นธาตุรู้ นึกคิดแล้วก้ดับลงเท่านั้นเอง


เมื่อใดจิตประกอบด้วย “สติ” คือการระลึกรู้
ไปรับรู้ที่สภาพที่รู้อยู่ จะเห็นว่าเดี๋ยวมันจะปรุงขึ้นมาแล้ว
มันจะนึก ๆ พอนึก ตัวนึก มันก็จะรับความหมายรับสัณฐานรับภาษาพูด
ก็เจริญสติรู้ลักษณะการนึกตรึกนั่นแหละ นั้น คือ “ปรมัตถ์”


อย่างไรก็ตาม สติ ตัวสัมปชญญะ ตัวปัญญา
มันก็ไม่ใช่ของเรา เพราะมันก็ไม่เที่ยง มันก็บังคับไม่ได้
สติเกิดขึ้น ก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป
จะไปไขวคว้าเป็นเราก็ไม่ได้

เพียงแต่สักว่าทำหน้าที่ ระลึกแล้วก็ดับ
ปัญญาก็เป็นเพียงธรรมชาติเข้าไปรับรู้พิจารณา
เข้าไปเข้าใจ ปรากฏแล้วก็ดับ


ทางเดินของวิปัสสนา คือ “รูป นาม”
ต้องเดินไปทางตามรูปนามที่กำลังปรากฏ
ตัวเดินทางก็คือสติสัมปชัญญะ

รูปนามเป็นทางเดิน

สติไประลึกที่รูปนาม
สัมปชัญญะพิจารณาที่รูปนาม
จึงจะเป็นวิปัสสนา
ถ้าไปดูอย่างอื่นที่ไม่ใช่รูปนาม
ก็ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา



:b8: :b8: :b8:

(เรียบเรียงโดยคัดลอกบางตอน มาจาก : “เจอ จิต แจ้ง ธรรม” : รวมธรรมบรรยาย ๔ เรื่อง โดย
พระครูเกษมธรรมทัต (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี) วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา, พิมพ์ครั้งที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๙)


:b8: :b8: :b8:

ส ติ ลั ก ข ณ ปั ญ ห า :b8:
viewtopic.php?f=2&t=29854

ส ติ อ า ก า ร ปั ญ ห า :b8:
viewtopic.php?f=2&t=30003


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 12 มี.ค. 2010, 17:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ในเส้นทาง อาหาร(เครื่องหล่อเลี้ยง)ของวิชชา จากพระสูตร


อาหารของวิชชา คือโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ.
อาหารของโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ คือสติปัฏฐานสี่.
อาหารของสติปัฏฐานสี่ คือสุจริต ๓ ประการ.
อาหารของสุจริต ๓ ประการ คือ การสำรวมอินทรีย์.
อาหารของการสำรวมอินทรีย์ คือความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ.
อาหารของความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ คือโยนิโสมนสิการ(การทำไว้ในใจโดยแยบคาย).
อาหารของโยนิโสมนสิการ คือ สัทธา.
อาหารของสัทธา คือการได้ฟังพระสัทธรรม.
อาหารของการได้ฟังพระสัทธรรม คือ การคบสัตบุรุษ.

อาหารแห่งวิชชา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
.



มีคำว่า สติ ปรากฏอยู่2ขั้น



คำว่า สติ นั้น
จึงมีความหมายทั้ง สติสัมปชัญญะ ซึ่งมีเหตุใกล้คือ โยนิโสมนสิการ
และ สติปัฏฐานสี่ ซึ่งมีเหตุใกล้คือ สุจริต๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 10:10
โพสต์: 104

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยเหมือนกันคะ ถ้าทุกข์เป็นเหตุของสติ พวกเราน่าจะเป็นผู้มีสติสมบูรณ์
น่าจะพ้นทุกข์ตั้งนานแล้วนะค่ะ

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ หมายถึง ความระลึกได้

ความระลึกได้ที่เกิดขึ้นมานั้นแสดงว่าต้องมี "ผู้ระลึก"และผู้ถูกระลึก

ต้องมีทั้งสองตัวนี้ ถ้ามีแค่ตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะไม่เกิดคำว่าสติ

การมีสติที่ดีนั้น ก็ต้องฝึกที่ตัว"ผู้ระลึก" คือวิญญาณขันธ์หรือจิต

วิธีที่ดีมากอย่างนึงคือการฝึกสติปัฏฐาน๔ ฝึกให้จิตอยู่ที่ฐานทั้ง๔(ผู้ถูกระลึก) อยู่เป็นเนืองๆ

สติ ความระลึกได้ก็จะดีขึ้น เร็วขึ้นเรื่อยๆ

ไม่ทราบว่าผมแก้ปัญหาที่ต้นเหตุป่าวครับคุณชาติสยาม

แต่ผมอยากหาเหตุแก้การไม่มี สตางค์ มากกว่าอ่ะครับ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 21:43
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำอย่างไรให้มีสติ
การกระทำอย่างนั้นแหละ
เป็นเหตุให้เกิดสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 22:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

คำว่า สติ นั้น
จึงมีความหมายทั้ง สติสัมปชัญญะ ซึ่งมีเหตุใกล้คือ โยนิโสมนสิการ
และ สติปัฏฐานสี่ ซึ่งมีเหตุใกล้คือ สุจริต๓


นี้มัน..เหตุใกล้..ของ..สัมมาสติ..นี้ครับ :b16: :b16:

แล้วมิจฉาสติ..มีได้มั้ย???

แล้วสติ..ที่เป็นแบบกลาง ๆ ละ..มีได้มั้ย??
:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ตรงประเด็น เขียน:

คำว่า สติ นั้น
จึงมีความหมายทั้ง สติสัมปชัญญะ ซึ่งมีเหตุใกล้คือ โยนิโสมนสิการ
และ สติปัฏฐานสี่ ซึ่งมีเหตุใกล้คือ สุจริต๓


นี้มัน..เหตุใกล้..ของ..สัมมาสติ..นี้ครับ :b16: :b16:

แล้วมิจฉาสติ..มีได้มั้ย???

แล้วสติ..ที่เป็นแบบกลาง ๆ ละ..มีได้มั้ย??
:b16: :b16: :b16:




ท่าน กบ อ๊บๆ


มีพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ




และ จาก พุทธธรรม

"...สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย
2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา
3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต
4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม..."

"...สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


สติปัฏฐาน (สติ+ปัฏฐาน) แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือ มีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ

โดยหลักการ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด

อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก (ทางเดียว) เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อข้ามพ้นความโศก และ ปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์ และ โทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔” *

(* ที.ม.10/273/325 ; ม.มู.12131/103 สติปัฏฐานมาใน อภิ.วิ.35/431-464/257-279 ด้วย)




สัมมาสติ จึง หมายเอา สติปัฏฐานสี่ ครับ....

ส่วน สติสัมปชัญญะนั้น เป็น บุพภาคของสติปัฏฐาน ในเส้นทางสู่วิชชาและวิมุติ .... โดยต้องผ่านขั้น อินทีย์สังวร และ สุจริต๓ เสียก่อน จึงจะเข้าขั้นสติปัฏฐาน


ส่วน มิจฉาสติ นั้นมีครับ... อยู่ใน มิจฉัตตะ๑๐



ประเด็น สติกลางๆ ที่ไม่เป็นทั้ง มิจฉาสติ หรือ สัมมาสติ ???....อาจจะหมายเอา สติสัมปชัญญะในระดับทั่วๆไป(ไม่แน่ใจ ตรงนี้เหมือนกันครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 23:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นั้นซิครับ..สติสัมปชัญญะทั่ว ๆ ไปนี้แหละ..ก่อนที่จะจำแนกว่า..แบบไหนเป็นสัมมา..แบบไหนเป็นมิจฉา..

หากจะให้ท่าน..จขกท..เปลี่ยนชื่อกระทู้เป็น..สิ่งใดเป็นเหตุของสัมมาสติ..
ดูจะง่ายกว่าเน๊าะ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 01:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งใด เป็น "เหตุ"ของ สติ

สติมี 4 สภาวะธรรม

1.กามาวจรสติ
2.รูปาวจรสติ
3.อรูปาวจรสติ
4.โลกุตตระสติ
สติแต่ละสภาวะธรรมไม่เหมือนกัน  ใช้ประโยชน์ต่างกัน

สติ เป็นเจตสิกธรรม ที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกับจิต ที่เป็นกุศล เท่านั้น
อกุศลจิต ไม่มี "สติเจตสิกธรรม" เกิดร่วมเกิดพร้อม

ในกระทู้นี้ กล่าวถึง "เหตุ" ของสติ

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค อินทรียกถา
...
เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์

เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์

เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์

ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์


ความไม่ปรากฏแห่งความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยการตั้งมั่น เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรมเป็นคุณแห่งสตินทรีย์
ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสตินทรีย์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 01:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สตินทรีย์

[๒๐๙] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์

เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เช่น

การฟังพระสัทธรรม การน้อมจิตไปในพระสัทธรรม
การปราถนาได้ผลบุญอำนวยให้ได้รับสิ่งดีๆ
ความชื่นชมยินดีในทาน....
การไ้ด้พบผู้ที่เราศรัทธาว่าจะนำทางอันถูกต้อง

ฯลฯ เป็นต้น ...

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์

การละกามฉันท์เป็นเหตุเกิดแห่งฉันทะในเนกขัมมะด้วยสามารถความตั้งมั่นในปฐมฌาน
การละความพยายาท เป็นเหตุเกิดแห่งฉันทะในเมตตา ด้วยสามารถความตั้งมั่นในปฐมฌาน
ฯลฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าเฝ้าดูกระทู้นี้ด้วยความเบิกบาน
ข้าพเจ้าช๊อบชอบ เป้นกระทู้ที่น่ารักมากที่สุดกระทู้หนึ่งในความประทับใจของข้าพเจ้า

ผมขออนุโมทนาทุกท่านทุกคนมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
สาธุ สาธุ สาธุ จูจุ๊บทุกท่าน
:b8:

:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์

เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความตั้งมั่น เช่น

ศีล
สุจริต 3
อสุภสัญญา
อนิจจสัญญา
ฯลฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์

แม้แต่ สติเอง ก็เป็น เหตุแห่ง สติ
เช่น

สติในจิตเหตุ ก็เป็นเหตุแก่ สติในจิตผล ถัดไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีอีกประการอื่น

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค
๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
[๙๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่าภิกษุจึงจะ
ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ


ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอย่างนี้แล
ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.....


การเจริญสติปัฏฐาน 4 ก็เป็นเหตุ แห่งสติ เช่นกัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 02:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร