วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรมทั้งหมดในโพธิปักฯ ๓๗ เป็นอุตริมนุษธรรม (สภาวะที่เหนือนมุษย์ปุถุชน) คือ เป็นสถาวะที่เกิดในอริยบุคคล ไม่เกิดในปุถุชน หลักฐานในพระไตรปิฎก ก็คือพระวินัยที่ว่าด้วยการอวดอุตริที่ไม่มีในตน ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


นิดหนึ่ง เขียน:
หากว่าทุกข์เป็นเหตุแห่งสติ ถามว่าคน ทำไมคนโดดตึก ทำไมฆ่าตัวตาย
เขาเป็นสุขหรือว่าเป็นทุกข์

เขาเสวยเวทนา
อ้างคำพูด:
เขามีสติหรือขาดสติ

เขาย่อมไม่มีสติอย่างแน่นอน
อ้างคำพูด:
คนมีทุกข์ทุกคนเรียกว่าคนมีสติหรือเปล่าค่ะ
ขอความรู้หน่อยนะค่ะ

คนมีทุกข์ทุกคนย่อมไม่มีสติ...แต่คนที่รู้จักทุกข์นั่นแหละคือคนที่มีสติ
อ้างคำพูด:
สาธุ ผิดพลาดขออภัย ความรู้น้อยค่ะ :b8:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ในเส้นทาง อาหาร(เครื่องหล่อเลี้ยง)ของวิชชา จากพระสูตร


อาหารของวิชชา คือโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ.
อาหารของโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ คือสติปัฏฐานสี่.
อาหารของสติปัฏฐานสี่ คือสุจริต ๓ ประการ.
อาหารของสุจริต ๓ ประการ คือ การสำรวมอินทรีย์.
อาหารของการสำรวมอินทรีย์ คือความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ.
อาหารของความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ คือโยนิโสมนสิการ(การทำไว้ในใจโดยแยบคาย).
อาหารของโยนิโสมนสิการ คือ สัทธา.
อาหารของสัทธา คือการได้ฟังพระสัทธรรม.
อาหารของการได้ฟังพระสัทธรรม คือ การคบสัตบุรุษ.

อาหารแห่งวิชชา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้


:b20: :b20: :b20:
เกิดปิติจนน้ำตาไหลเชียวครับ พี่หมอ :b8: :b8:

"มีอาหารเป็นเหตุ" จริงๆด้วย :b32: :b32:

.......คิดถึงหลวงพ่อขึ้นมาทันทีเลย..... :b20: :b20:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2010, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ข้าพเจ้าเฝ้าดูกระทู้นี้ด้วยความเบิกบาน
ข้าพเจ้าช๊อบชอบ เป้นกระทู้ที่น่ารักมากที่สุดกระทู้หนึ่งในความประทับใจของข้าพเจ้า

ผมขออนุโมทนาทุกท่านทุกคนมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
สาธุ สาธุ สาธุ จูจุ๊บทุกท่าน
:b8:

:b13:

คนอะไร :b10: ....ชมกระทู้ตัวเองก็ได้ด้วย :b32: :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2010, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

ท่าน กบ อ๊บๆ




เป็นชื่อที่น่ารักจริง ๆ ด้วย เห็นมั๊ย ท่าน อ๊บ อ๊บ...

ท่าน..ตรง..อิ อิ ยังอดไม่ได้ที่จะ...เติมสร้อยต่อท้ายให้ท่านเลย... :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คนอะไร :b10: ....ชมกระทู้ตัวเองก็ได้ด้วย :b32: :b32:


เอ แล้วท่าน จขกท เวลาเจอสิ่งที่ไม่ชอบไม่ถูกใจ สติ ของท่านเป็นอย่างไรหนอ
:b14: :b14: :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
เอ แล้วท่าน จขกท เวลาเจอสิ่งที่ไม่ชอบไม่ถูกใจ สติ ของท่านเป็นอย่างไรหนอ
:b14: :b14: :b14:


ก็สังเกตุดูที่ความรู้สึกที่"ชอบใจ" "ไม่ชอบใจ" หรือ"เฉยๆ" เหล่านั้น

แต่ที่พูดว่า "ชอบใจ" "ไม่ชอบใจ" หรือ"เฉยๆ"
ข้าพเจ้าเพียงแต่สื่อสารเป็นตัวหนังสือเท่านั้น

เวลาดุจริงๆ สังเกตุจริงๆก็ รับรู้ไปตามจริง
ไม่แบ่ง ไม่แยก ไม่คิด ไม่พิจารณาอะไร

ตาม-รู้-อยู่เฉย-ลงปัจจุบัน

เมื่อทำตามนี้ ปกติแ้ล้ว ใจมีลักษณะตั้งมั่นรู้ได้บ้าง รู้ไม่ได้บ้าง
คิดบ้าง ไม่คิดบ้าง จำแนกบ้าง ไม่จำแนกบ้าง
ก็ไม่ใช่ปัญหา เพียงแต่รู้สึกลงไปที่ปรมัตถ์ให้บ่อยๆ


ถ้าข้าพเจ้าโกรธมากๆ ข้าพเจ้าก้จะด่าให้หนำใจ
ถือเป็น"ความซวย"ของคนที่ทำให้ข้าพเจ้าโกรธ
คุณอายะคงรู้จักความซวยนี้ดี

พอข้าพเจ้าได้ระบายความชั่วของข้าพเจ้าใส่ผู้เคราะห์ร้ายแล้ว
ข้าพก็ก้จะสงบลง เหมือนลูกโป่งที่ปล่อยลมออกหน่อยนึง

:b13:

ตอนนี้ผมใช้ญานวิเศษณ์หยั่งดูคุณอายะแล้ว
พบว่า กำลังจะซวยขนานใหญ่
ให้ระวัง อย่าแหย่เสือหลับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
คนอะไร :b10: ....ชมกระทู้ตัวเองก็ได้ด้วย :b32: :b32:


คนพันธุ์ชาติสยาม
แซบบบ......บ. (ลากเสียงยาวๆ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พียงแต่รู้สึกลงไปที่ปรมัตถ์ให้บ่อยๆ


ถ้าข้าพเจ้าโกรธมากๆ ข้าพเจ้าก้จะด่าให้หนำใจ
ถือเป็น"ความซวย"ของคนที่ทำให้ข้าพเจ้าโกรธ
คุณ อายะคงรู้จักความซวยนี้ดี


อย่างนี้เรียกว่ารู้ขนาด สามารถรู้ลงไปที่ปรมัตถ์ได้ แต่ไฉนยิ่งรู้ปรมัตถ์ก็ยิ่งด่าชาวบ้านนะครับท่านชาติ
คราวนี้ก็กลับมาที่ประเด็นสติ กับความสามารถการด่า มันจะสวนทางกันนะท่านชาติ แล้วพฤติกรรมด่าให้หนำใจก็คือการตามใจกิเลส มิต่างอะไรกับโรคกลากเกลื้อน ยิ่งเกาก็ยิ่งคัน
และการที่ไปด่าคนอื่นก็เหมือนเอาของปฏิกูลไปให้เขา ถ้าเขาไม่รับมันก็กลับไปที่เจ้าของนะครับท่าน

:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


o
อายะ เขียน:
อย่างนี้เรียกว่ารู้ขนาด สามารถรู้ลงไปที่ปรมัตถ์ได้ แต่ไฉนยิ่งรู้ปรมัตถ์ก็ยิ่งด่าชาวบ้านนะครับท่านชาติ
คราวนี้ก็กลับมาที่ประเด็นสติ กับความสามารถการด่า มันจะสวนทางกันนะท่านชาติ แล้วพฤติกรรมด่าให้หนำใจก็คือการตามใจกิเลส มิต่างอะไรกับโรคกลากเกลื้อน ยิ่งเกาก็ยิ่งคัน
และการที่ไปด่าคนอื่นก็เหมือนเอาของปฏิกูลไปให้เขา ถ้าเขาไม่รับมันก็กลับไปที่เจ้าของนะครับท่าน

:b12: :b12:


ถูกๆ

คนรู้ปรมัตถ์ ไม่ได้มีดีอะไรต่างจากคนอื่น

เพราะแค่มีตาเห็นของบางอย่าง
แต่ไม่มีปัญญาเห็นว่า"ของที่เห็น" เป็นมีไตรลักษณ์อย่างไร
เหมือนเด็กน้อยเห็นน้ำเดือดๆ แต่ไม่มีปัญญารู้ว่ามันคือ"น้ำร้อน" เป็นภัย ไม่น่ายึดถือ
ถึงด่าไฟแล่บนี่ไง ทำติ่นเต้นไปได้ ทำยังกะตัวเองไม่ด่า
ปากเหม็นพอกันนั่นแหละ

นี่คุณอายะด่าพระด้วยนะ
ผมด่าคนอย่างคุณอายะสักหมื่นคน ยังไม่เท่าคุณอายะด่าพระผู้ทรงศีลคนเดียว
จำไว้นะ

ส่วนเรื่องด่านี่นะ มันเป็นการข่มใจ มันเป็นระดับศีล และสมาธิระดับสมถะ
ศีล และสมถะสมาธิ มันข่มกิเลสได้แค่ชั่วคราว เอาไว้ป้องกันตัว เป้นกำลัง เป้นฐาน
ตรงนี้ผมอ่อน ขาดสมถะกรรมฐาน ขาดทาน ขาดสมถภาวนา ขาดความข่มใจ ความอดทน

ส่วนรู้ปรมัตถ์มันเป็นระดับวิปัสนาปัญญา
มันเป็นการล้างที่ถ้ารู้เห็นแล้ว ล้างแล้วขาดกัน
ไม่มีกลับมากำเริบอีก

ดังนั้นที่คุณพูดว่าทำไมผมด่าน่ะ มันเป็นการขับแพะชนแกะ
เป้นเรื่องความเข้าใจสมถะ และ วิปัสสนา
คนละเหตุ คนละผล

ที่เล่าๆไปน่ะ มันเป้นอุบายสอนจิตเฉยๆ
คอยป้อนข้อมูลให้มันเฉยๆ
รู้ปรมัตถ์แค่ที่เล่าๆไปน่ะ มันเป้นแค่ต้นทาง เป็นแค่การนำร่อง

ถ้ารู้ปรมัตถ์แบบมีปัญญา แบบที่จัดว่า"ใช้ได้"
จิตมันจะตั้งมั่นแยกเป็นผู้รู้ขึ้นมาเลย ต้องมีคุณภาพขนาดนั้น
แยกออกมาจากกายเลย แต่อยู่ในกายนี่แหละ
เคยได้ยินคำว่า "กายในกาย" ไหม นีแหละ อธิบายได้ชัดเจนที่สุด
ว่าอะไรคือความตั้งมั่นของจิตผู้รู้
นี่ถึงเรียกว่าจิตมันเห็นปรมัุตถ์ของจริง

เมื่อเห้นแล้ว ก้ต้องเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสิง่ที่เห็น
มันถึงเบื่อหน่าย ถึงคลายกำหนัด ถึงวิมุตติ คือการเป้นอิสระจากความเห็นผิดในเรื่องที่เห็น

แต่ไม่ต้องห่วงนะ ผมสามารถด่าคุณอายะได้อีกนาน
อาจจะหลายชาติ ไม่ต้องรีบตื่นเต้น
ผมใช้ยานวิเศษณ์ส่องดูโหงวเอ้งคุณแล้ว
ลักษณะหน้าตาอย่างนี้ ต้องโดนผมด่าอีกนานนนนนนน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเสวนาถึงเรื่อง เหตุของสติ ในช่วงหลัง จะได้ยินการกล่าวถึง แนวทาง "สติตัวปลอม-สติตัวจริง" กันบ่อยๆ




อยากเสนอให้ลองเปรียบเทียบ

แนวทาง"สติตัวปลอม-สติตัวจริง"

กับแนวทาง

แนวทาง"สติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน-สติอัตโนมัติ"




เรื่อง "สติตัวปลอม-สติตัวจริง" คงต้องรอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง ท่านบรรยาย... แล้ว ลองเปรียบเทียบกับ "สติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน-สติอัตโนมัติ"





ผมขออนุญาตเสนอ "สติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน-สติอัตโนมัติ" ที่เคยสดับมา แล้วกัน


โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เสนออ่าน จาก

(เสนอให้อ่าน บทสนทนา โต้-ตอบ ตรงจุดนี้ ในกระทู้นั้นด้วย )

http://larndham.org/index.php?/topic/37 ... _p__667055


พระธรรมเจดีย์ :

นิวรณ์แลสังโยชน์นั้น ข้าพเจ้าทำไมจึงไม่รู้จักอาการ คงรู้จักแต่ชื่อของนิวรณ์แลสังโยชน์ ?

พระอาจารย์มั่น :

ตามแบบในมหาสติปัฏฐานพระพุทธเจ้าสอนสาวก ให้รู้จักนิวรณ์แลสังโยชน์

พระสาวกของท่านตั้งใจ กำหนด สังเกต ก็ละนิวรณ์แลสังโยชน์ได้หมดจนเป็นพระอรหันต์โดยมาก

ส่วนท่านที่อินทรีย์อ่อน ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นพระเสขบุคคล

ส่วนเราไม่ตั้งใจไม่สังเกต เป็นแต่จำว่านิวรณ์หรือสังโยชน์ แล้วก็ตั้งกองพูดแลคิดไปจึงไม่พบตัวจริงของนิวรณ์และสังโยชน์ เมื่ออาการของนิวรณ์แลสังโยชน์อย่างไรก็ไม่รู้จัก แล้วจะละอย่างไรได้



เสนอ สังเกตุ หลวงปู่มั่น ท่านไม่ได้ห้ามตั้งใจ หรือ ห้ามกำหนด




และ โอวาทหลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน

สติปัฏฐาน ๔


พระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน


การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ

แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ
เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้

จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้ การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา



เสนอ สังเกตุ ที่ หลวงตาท่านกล่าวถึง ความจงใจ ความตั้งใจ ในการเจริญสติ






คห.ส่วนตัว ....

ในขั้น การฝึกฝนเจริญสติ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญา เช่น พระพาหิยะ จะต้องอาศัยความเพียร ความจงใจ ความตั้งใจ .....

เสนอว่า เมื่อเสวนากันตรงจุดนี้ เรา-ท่าน คงไม่สามารถนำกรณีของพระพาหิยะ ที่ตรัสรู้อย่างรวดเร็ว มาเป็นประเด็นหลักได้... พระพาหิยะท่านเปรียบเสมือนตุ่มที่มีน้ำใกล้จะเต็ม เพียงเติมน้ำอีกขันเดียวก็เต็มตุ่ม... เรา-ท่าน ที่น่าจะเปรียบเหมือนตุ่มที่แทบจะไม่มีน้ำเลย ขืนไปมุ่งทำแบบท่าน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ

ถ้าท่านใด สดับพระพุทธธรรม แล้วไม่สามารถตรัสรู้อย่างฉับพลันได้แบบพระพาหิยะ(ซึ่งน่าจะเป็นคนส่วนใหญ่ที่เป็นเช่นนี้) ก็ น่าจะ ตั้งใจเจริญสติ น่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ส ติ เ ป็ น ข อ ง สำ คั ญ


พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ)
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

สติเป็นของสำคัญ

เวลามันตั้งไม่ได้อยู่ในวงใน ก็ให้มันอยู่ในวงกาย
ไม่ได้หนีจากนี้ เป็นสัมปชัญญะอยู่ในนี้

ระลึก เป็นที่ เป็นฐาน เป็นจุด เป็นต่อม นี่เรียกว่าสติ

ความระลึกรู้อยู่ทั้งตัว ความรู้ตัว ซ่านไปหมดในตัวนี้ เรียกว่าสัมปชัญญะ

รู้พร้อม รู้รอบ นี้แหละที่จะไปรวมตัวให้เป็นกำลังขึ้นมา
กลายมาเป็นมหาสติขึ้นมาได้ เพราะอันนี้รวมตัว

ถ้าเป็น มหาสติ แล้วตั้งไม่ตั้ง ....มันก็รู้

มหาสติมหาปัญญาคือปัญญาที่ทำงานภายในตัวเอง โดยไม่ต้องถูกบังคับขู่เข็ญใดๆ นั้น เป็นปัญญาที่ควรแก่การรื้อภพรื้อชาติ ได้อย่างมั่นเหมาะ ไม่มีอะไรสงสัย


• ท่านใช้ชื่อว่ามหาสติมหาปัญญา
ก็ไปตั้งแต่ปัญญาล้มลุกคลุกคลานนี้แล
จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญาขึ้นมาได้

เพราะการฝึกการอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอหนุนกันไปเรื่อย
พิจารณาเรื่อยจนมีกำลังแล้วกลายเป็นอัตโนมัติขึ้นมา



(คัดลอกบางตอนมาจาก : ธรรมวิสุทธิ์ ใน “มหาสมัยในปัจจุบัน”
โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)





สำหรับ แนวทาง"สติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน-สติอัตโนมัติ"นั้น....

ครูบาอาจารย์ ท่านสอนให้พัฒนาไปตั้งแต่ ขั้น"ล้มลุกคลุกคลาน" ด้วย "การฝึกอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอ" ..จน กลายเป็นขั้นอัตโนมัติ

ท่านไม่ได้ ห้ามตั้งใจเจริญสติ....

แต่ ที่เป็นสติอัตโนมัติได้นั้น เพราะ ประกอบเหตุแห่งสติครบถ้วน คือตั้งใจเจริญสติจนสมบูรณ์(วิริยินทรีย์) ผลคือ สติอัตโนมัติ(สตินทรีย์) จึงปรากฏ ....

{การฝึกอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอ น่าจะตรงกับ พระบาลีที่ว่า "พหุลีกตา" คือ เพียรให้ยิ่งๆขึ้นไป}


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "ตั้งใจ" จาก พจนานุกรม ราชบัณฑิต

อ้างคำพูด:
ตั้งใจ ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ




บางครั้ง ครูบาอาจารย์ ท่านจะเตือน ไม่ให้ตั้งใจมากจนเกินไป ในการเจริญภาวนา....

บางท่าน อาจจะเข้าใจว่าท่านกำลัง ห้ามไม่ให้ตั้งใจเลย



หลวงปู่ ชา สุภัทโท ท่านได้เคยกล่าวเรื่อง การมุ่งมั่นที่จะรู้ธรรมมากจนเกินไป ไว้ดังนี้


"ปุจฉา.....ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า


วิสัชชนา....เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ

***ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น***

ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ

ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น

ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย
***จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร***

อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง..."




...........................................



คห.ส่วนตัวน่ะครับ


หลวงปู่ ท่านกำลังกล่าวถึง การตั้งใจให้พอดี คือ ไม่มากจนเกินไป (และ ไม่น้อยจนเกินไป) ก็คือ วิริยะ ที่พอเหมาะ

วิริยะ คือ เพียร..ทั้งทางกาย(มุ่งเดินจงกรม นั่งสมาธิ) และ ใจ(มุ่งมั่น หรือตั้งใจที่จะรู้ธรรมให้ได้ )....

วิริยะเป็นสิ่งจำเป็น เป็นองค์ธรรมในอินทรีย์ห้า เป็นองค์ธรรมในอริยมรรค(สัมมาวายามะ) เป็นองค์ธรรมในในโพธิปักขิยธรรม(สัมมัปปธานสี่).... แต่ ถ้ามากเกินไป ก็จะกลายเป็นทรมานร่างกาย หรือ เวลาเจริญภาวนาจะตั้งใจมากจนเกินไป เสียสภาพความเป็นธรรมชาติ-ความนุ่มนวลของจิตอย่างที่ควร.

จาก หนังสือ พุทธธรรม หน้า877

"เมื่อ อินทรีย์บางอย่างแรงไป บางอย่างอ่อนไป ตามปกติต้องแก้ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ข้อที่ตรงเรื่องกัน

เช่น วิริยะแรงไป แก้ให้ลดลงด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น"



ท่านกล่าวถึง การใช้ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์(ความผ่อนคลายกาย-ใจ เป็นส่วนแห่งสมถะ) ปรับถ่วงดุลย์กับ วิริยะสัมโพฌชงค์.

กล่าว ง่ายๆ ก็คือ ถ้าตั้งใจมากจนเกินไป ก็ให้ผ่อนคลายใจลงบ้าง



ไม่น่าจะหมายถึง การห้ามไม่ให้ตั้งใจเจริญสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สติสูตร

การค้นหา พระสูตรที่ชื่อมีคำว่า สติสูตร
ตั้งแต่เล่มที่ 9 ถึงเล่มที่ 33
ผลการค้นหาพบ 13 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
ลำดับที่ 1 / 13.
๘. อานาปานสติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =14&A=3924
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=14&i=282
ลำดับที่ 2 / 13.
๙. กายคตาสติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =14&A=4182
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=14&i=292
--------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ลำดับที่ 3 / 13.
๒. ผุสติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... B=15&A=385
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=58
--------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ลำดับที่ 4 / 13.
๑๓. มุฏฐัสสติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =18&A=6406
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=18&i=477
--------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ลำดับที่ 5 / 13.
สติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =19&A=3882
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=19&i=682
ลำดับที่ 6 / 13.
สติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =19&A=4778
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=19&i=803
ลำดับที่ 7 / 13.
สติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =19&A=4926
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=19&i=825
--------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ลำดับที่ 8 / 13.
๑๐. มุฏฐัสสติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =22&A=5863
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=22&i=210
ลำดับที่ 9 / 13.
๙. อนุสสติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =22&A=6750
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=22&i=280
ลำดับที่ 10 / 13.
๙. มรณัสสติสูตร ที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =22&A=7188
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=22&i=290
ลำดับที่ 11 / 13.
๑๐. มรณัสสติสูตร ที่ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =22&A=7255
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=22&i=291
ลำดับที่ 12 / 13.
สติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =22&A=9961
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=22&i=341
--------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ลำดับที่ 13 / 13.
สติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =23&A=7143
อรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=23&i=187




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง่ายนิดเดียว

สติ มีเหตุปัจจัยจาก วิริยะ

วิริยะมีเหตุปัจจัย จาก ศรัทธา

:b32:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร