วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 05:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2007, 09:17
โพสต์: 239

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไพศาลเขียนถึงหลวงพ่อปราโมทย์
นสพ.มติชน วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

“เหตุเกิดในวงการกรรมฐาน”



พระไพศาล วิสาโล

ในอดีตนั้นถือกันว่าสมาธิภาวนาหรือการทำกรรมฐาน
เป็นเรื่องของสงฆ์ ส่วนฆราวาสนั้นปฏิบัติธรรมด้วยการให้ทาน
และรักษาศีลก็พอแล้ว แม้จนทุกวันนี้เราก็ยังเห็นฆราวาสเข้า
วัดเพื่อ “ทำบุญ” เป็นส่วนใหญ่ แต่แบบแผนดังกล่าวดูเหมือน
จะจำกัดเฉพาะชาวพุทธไทย เอกลักษณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ชัด
เมื่อไปเยือนวัดในยุโรปหรืออเมริกาที่มีชาวพุทธหลายเชื้อชาติ
ให้ความศรัทธานับถือ ในขณะที่ชาวพุทธไทยนิยมมาถวาย
อาหารแก่พระสงฆ์ (แล้วก็ลากลับ) ชาวพุทธชาติอื่นโดยเฉพาะ
ชาติตะวันตกกลับสนใจฟังธรรมะและทำสมาธิกันอย่างจริงจัง

อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ฆราวาสที่สนใจทำ
กรรมฐานมีจำนวนมากขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็น
ปรากฏการณ์ที่โดดเด่นในแวดวงชาวพุทธไทย ตามสำนักต่าง ๆ
มีฆราวาสมาทำสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดอบรม
กรรมฐานกันเอง บ่อยครั้งก็มีฆราวาสเป็นอาจารย์กรรมฐาน
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่กับความสนใจใฝ่ศึกษาธรรม
ทั้งจากการอ่านและการฟังอย่างแพร่หลาย จนหนังสือธรรมะกลาย
เป็นหนังสือขายดี ขณะที่หน่วยงานหลายแห่งทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ
ก็มีการบรรยายธรรมอย่างสม่ำเสมอ

ความเครียด ความรุ่มร้อนในจิตใจและความรู้สึกว่างเปล่า
ในชีวิตทั้ง ๆ ที่เต็มไปด้วยวัตถุสิ่งเสพและความสะดวกสบาย
เป็นสาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้ผู้คนหันมาหาความสงบจากพุทธศาสนา
แต่ผู้คนยากจะค้นพบคำตอบจากพุทธศาสนาได้หากไม่มีผู้บอกทาง
ที่สามารถสื่อสารกับฆราวาสได้อย่างถึงแก่น ครั้นค้นพบแล้วจะลงมือ
ปฏิบัติหรือไม่ ก็ยังขึ้นอยู่กับผู้บอกทางว่าได้นำเสนอการปฏิบัติที่สมเหตุ
สมผล น่าเชื่อถือ ทำได้จริงหรือไม่ แต่เท่านั้นยังไม่พอ ที่ขาดไม่ได้
สำหรับคนสมัยใหม่ก็คือ จักต้องเป็นการปฏิบัติที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน
ยิ่งเป็นวิธีการที่ลัดสั้น ตรงถึงเป้าหมาย ก็ยิ่งได้รับความนิยม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช
เป็นผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นที่สุดในการชักนำให้ฆราวาสโดยเฉพาะคนชั้นกลาง
หันมาทำกรรมฐานกันอย่างจริงจังและอย่างแพร่หลายชนิดที่ไม่เคยปรากฏ
มาก่อน ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือคนเหล่านี้มีเป็นจำนวนมากที่ไม่เคยเห็นตัวท่าน
หรือได้รับการชี้แนะจากท่านโดยตรง หรือแม้แต่ฟังคำบรรยายจากปาก
ของท่าน หลายคนอยู่ไกลถึงต่างประเทศด้วยซ้ำ แต่ได้ปฏิบัติตามคำ
ชี้แนะของท่านอย่างต่อเนื่อง เท่าที่ทราบมีเป็นจำนวนมากที่ได้รับ
ผลดีจากการปฏิบัติ

ความสำเร็จดังกล่าว (หากจะใช้คำนี้) ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก
การใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะซีดี ซึ่งสะดวกแก่การเผย
แพร่ในหลายช่องทางรวมทั้งทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เข้าถึง
คนชั้นกลางจำนวนมาก แม้หนังสือของท่านจะพิมพ์เผยแพร่มิใช่น้อย
แต่เชื่อว่าผู้คนรู้จักพระอาจารย์ปราโมทย์ผ่านซีดีมากกว่าหนังสือ
และที่ศรัทธาปฏิบัติตามแนวทางของท่านก็เพราะซีดีมากกว่า
หนังสือเช่นกัน

อย่างไรก็ตามเหตุผลที่สำคัญกว่านั้นน่าจะได้แก่
แนวทางการปฏิบัติของท่าน ที่เน้นการดูจิต หรือตามรู้สภาวะ
และอาการต่าง ๆ ของจิต ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่กดข่มอารมณ์ที่
ไม่พึงปรารถนา และไม่แทรกแซง หรือควบคุมบังคับจิตเพื่อให้เกิด
ความสงบ ซึ่งรวมถึงการไม่ “กำหนด” หรือ เพ่งที่รูปหรือนามใด ๆ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ “รู้” โดยไม่ต้อง “ทำ” อะไรทั้งสิ้น

วิธีการดังกล่าว (ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าจิตตานุปัสสนาตาม
หลักสติปัฏฐานสี่) เหมาะกับคนชั้นกลางซึ่งมีนิสัยคิดฟุ้งปรุงแต่ง
มากจนยากที่จะทำใจให้สงบดิ่งลึก อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติได้ใน
ชีวิตประจำวันโดยไม่เลือกสถานที่และบรรยากาศ ทำให้กรรมฐาน
กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้โดยไม่ต้องหลีกเร้นไปอยู่ป่าหรือเข้า
คอร์สปฏิบัติธรรม ด้วยเหตุนี้หลายคนที่นำวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติ
จึงเห็นผลได้เร็ว คือมีสติรู้ตัวมากขึ้น จิตใจปลอดโปร่งกว่าเดิม
เห็นกายและใจชัดขึ้น การบอกกล่าวจากปากต่อปาก โดยมีซีดี
คำบรรยายของท่านเป็นสื่อการสอน ทำให้ผู้คนหันมาปฏิบัติตามแนว
ทางของท่านมากขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้ที่เคยปฏิบัติแนวอื่น
แต่ไม่ก้าวหน้าเพราะใช้วิธีเพ่งหรือบังคับจิตจนเครียด

จุดเด่นอีกประการหนึ่ง ก็คือ การสอนของท่าน ซึ่งนำเสนอ
แนวทางดังกล่าวในฐานะที่เป็นวิถีสู่ความพ้นทุกข์ จากการดูจิต
สู่การเห็นรูปและนามด้วยสติ ตามมาด้วยการเห็นรูปและ
นามด้วยปัญญา คือเห็นไตรลักษณ์จนละวางความยึดติดถือมั่น
ว่ารูปและนามเป็นตัวตน คำสอนของท่านพูดถึงการบรรลุธรรม
การหลุดพ้น และมรรคผลนิพพานบ่อยครั้ง มิใช่ในฐานที่เป็นสิ่ง
เหลือวิสัยของมนุษย์ หากเป็นอุดมคติที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
และควรทำให้ได้ในชีวิตนี้ คำสอนดังกล่าวได้ทำให้ผู้คนจำนวน
มากซึ่งเคยไกลวัดหันมาสนใจพระนิพพาน กล่าวได้ว่าไม่มีใคร
ที่สามารถจุดประกายให้ฆราวาสยุคนี้ปรารถนาและบำเพ็ญเพียร
เพื่อพระนิพพานได้มากเท่ากับพระอาจารย์ปราโมทย์


ทั้งแนวทางปฏิบัติและเนื้อหาคำสอนของท่านตามที่กล่าว
มาข้างต้น สามารถหาอ่านได้ไม่ยากจากหนังสือของท่าน
แต่สิ่งที่ไม่ปรากฏในหนังสือ ก็คือวิธีการสอนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ซึ่งจะประจักษ์ได้ก็จากการไปฟังการบรรยายของท่านตาม
สถานที่ต่าง ๆ เท่านั้น นั่นก็คือ การบรรยายด้วยถ้อยคำที่เข้าใจ
ง่าย เป็นกันเอง และที่ขาดไม่ได้ก็คือ การ “ทักจิต” ผู้ที่มา
“ส่งการบ้าน” ว่าหลงไปแล้ว หรือกำลังเพ่ง หรือ “ตื่น” แล้ว
เชื่อว่าวิธีนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้คนมาฟังคำบรรยายของท่าน
อย่างเนืองแน่นทุกครั้ง เพราะต้องการสอบถามให้แน่ใจว่าตน
ปฏิบัติถูกต้องตามคำสอนของท่านหรือไม่ สำหรับผู้ฟังคนอื่น ๆ
การทักจิตของท่านยังช่วยให้เข้าใจการปฏิบัติตามคำสอน
ของท่านดีขึ้น เนื้อหาและบรรยากาศส่วนนี้ถูกถ่ายทอดลงซีดี
ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมในวงกว้างกว่าหนังสือ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทักจิตของท่านย่อมทำให้
ศิษยานุศิษย์ (รวมทั้งลูกศิษย์ทางซีดี) เห็นท่านอยู่ในสถานะ
พิเศษเหนือคนธรรมดา ดังนั้นจึงเกิดศรัทธาปสาทะในตัวท่านมากขึ้น
หากนี้เป็นจุดแข็ง มันก็เป็นจุดอ่อนในเวลาเดียวกัน เพราะเป็นเหตุให้
ท่านถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่อยมาโดยเฉพาะจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ
แนวทางปฏิบัติของท่าน จนถึงจุดหนึ่งก็ขยายตัวเป็นการต่อต้านท่าน
อย่างชัดเจน ที่น่าประหลาดใจคือแกนนำหลายคนเคยเป็นลูกศิษย์
หรือผู้สนับสนุนคำสอนของท่านอย่างแข็งขันมาก่อน


เหตุผลข้อหนึ่งที่ผู้ต่อต้านใช้ในการโจมตีท่านก็คือ
การอวดอุตริมนุสสธรรม คือธรรมล้ำมนุษย์หรือคุณวิเศษที่เหนือปุถุชน
ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงการอวดอ้างว่าเป็นอริยบุคคล การกระทำดังกล่าวถือว่า
เป็นความผิดตามพระวินัย หากอวดคุณวิเศษดังกล่าวทั้ง ๆ ที่ตนเอง
ไม่มี ผู้อวดนั้นย่อมขาดจากความเป็นพระ กรณีพระอาจารย์
ปราโมทย์นั้น แม้ท่านจะแสดงให้เห็นว่ามีการทักจิตอยู่บ่อยครั้ง
แต่ก็ยากที่จะชี้ชัดว่าเป็นการอวดอุตริมนุสสธรรมตามที่ระบุใน
พระวินัย (แม้จะตีความเช่นนั้นแต่ถ้าท่านมีคุณสมบัติดังกล่าวจริง
ก็เป็นอาบัติเล็กน้อย) จะว่าไปแล้ววิธีการดังกล่าว ครูบาอาจารย์
หลายท่านทั้งอดีตและปัจจุบันก็ทำเป็นอาจิณ ส่วนที่กล่าวว่าท่าน
อวดอ้างเป็นอริยบุคคลนั้น ก็เป็นเรื่องของการตีความจากคำบรรยาย
เมื่อท่านพูดถึงสภาวะหรือสิ่งที่พบเห็นจากการปฏิบัติ ที่ผ่านมายัง
ไม่มีการอ้างคำพูดใด ๆ ของท่านที่เป็นหลักฐานสนับสนุนข้อ
กล่าวหาดังกล่าวอย่างชัดเจน

หากไม่นับสาเหตุส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวน
ไม่มากนักแล้ว มูลเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้งที่ขยายวงน่า
จะเป็นเพราะแนวทางการปฏิบัติและวิธีการสอนของท่านนั้นขัดกับ
แบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิม อาทิ การดูจิตโดยไม่เน้น
ที่รูปแบบ การทักจิตผู้ปฏิบัติในที่สาธารณะท่ามกลางผู้คนนับร้อย
(แทนที่จะทำในที่รโหฐาน) การสอนกรรมฐานโดยไม่เน้นพิธีรีตอง
(ไม่มีพิธีขอกรรมฐาน และใครจะแต่งตัวมาฟังธรรมที่สำนักของท่าน
อย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแต่งขาว และไม่มีการสวดมนต์รับศีล)
ซึ่งแม้ถูกจริตคนหนุ่มสาวแต่ไม่เป็นที่นิยมของคนแก่วัด
ยิ่งกว่านั้นการที่ท่านวิจารณ์การปฏิบัติที่เน้นการเพ่ง กำหนด
หรือควบคุมบังคับจิต อันเป็นที่นิยมในหลายสำนัก ย่อมทำให้เกิด
ปฏิกิริยาต่อต้านท่าน แต่ปฏิกิริยาดังกล่าวจะไม่มาก
หากลูกศิษย์ยังคงปฏิบัติในสำนักดังกล่าว แทนที่จะแห่กันไปปฏิบัติ
ตามแนวทางของท่าน หรือกลับมาตั้งคำถามกับการปฏิบัติของสำนักเดิม

แม้แกนนำในการต่อต้านจะเป็นฆราวาส แต่เชื่อว่ามี
พระจำนวนไม่น้อยสนับสนุนหรือขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง
เพื่อความเป็นธรรม ควรกล่าวด้วยว่าหลายท่านทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
บางท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ส่วนใหญ่
รับไม่ได้กับแนวทางการปฏิบัติและวิธีการสอนของพระอาจารย์
ปราโมทย์ ซึ่งหลายท่านมองว่าเป็นพระที่ยังมีพรรษาน้อย
และปฏิบัติสวนทางกับธรรมเนียมหลายประการพระป่าโดยเฉพาะ
สายหลวงปู่มั่น ข้อกล่าวหาอีกประการหนึ่งซึ่งร้ายแรงมาก
ในสายตาของพระป่าก็คือ การดัดแปลงคำสอนของครูบาอาจารย์
ซึ่งในที่นี้หมายถึง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

พระอาจารย์ปราโมทย์เป็นผู้ที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ และนำคำสอนของท่านมาเผยแพร่
โดยอธิบายให้เข้าใจได้อย่างเป็นระบบ ทำให้หลวงปู่ดูลย์เป็น
ที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่คนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม
อรรถาธิบายของท่านนั้นไม่ตรงกับที่ลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์หลาย
ท่านเข้าใจ หลายท่านเชื่อมั่นว่าท่านเข้าใจหลวงปู่ดูลย์ได้ถูก
ต้องกว่า จึงไม่พอใจพระอาจารย์ปราโมทย์ที่ “สอนผิดครู”
จนบางท่านถึงกับกล่าวหาพระอาจารย์ปราโมทย์ว่าเป็นศิษย์
คิดล้างครู สำหรับท่านเหล่านี้คำสอนของหลวงปู่ดูลย์เป็นสิ่งที่
ต้องรักษาไว้ในรูปแบบเดิมหรือถ่ายทอดตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด

มองในแง่หนึ่ง ความขัดแย้งกรณีพระอาจารย์ปราโมทย์
เป็นความขัดแย้งระหว่างระหว่าง “ใหม่” กับ “เก่า”
(ไม่ต่างจากความขัดแย้งระหว่างพระอาจารย์พรหมวังโส
กับสำนักหนองป่าพงกรณีบวชภิกษุณี) จะพูดว่า โดยพื้นฐานแล้ว
นี้คือความขัดแย้งระหว่างแนว “ปฏิรูป” กับ แนว “อนุรักษ์นิยม” ก็ย่อมได้
ซึ่งเป็นธรรมดาในทุกวงการและเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย
เมื่อ ๖๐ ปีก่อนท่านอาจารย์พุทธทาสก็เคยถูกโจมตีว่าเป็น
คอมมิวนิสต์เพราะการสอนที่แปลกใหม่ของท่าน ที่กระตุก
ความรู้สึกของผู้ฟัง (เช่น กล่าวว่าพระรัตนตรัยหากนับถือ
ไม่ถูกต้องก็เป็นภูเขาขวางกั้นทางสู่พระนิพพาน) แต่
ความขัดแย้งเป็นแค่ความแตกต่าง ที่ไม่ควรนำไปสู่
ความแตกแยก หรือการเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ที่สำคัญก็คือ
ไม่ควรให้ความโกรธเกลียดหรือกลัวเป็นตัวผลักดันการกระทำ

เมื่อมีความแตกต่างทางความคิดหรือการปฏิบัติ ควรโต้กันด้วยเหตุผล
แทนที่จะใช้วิธีโจมตี ใส่ร้าย หรือข่มขู่คุกคาม แม้จะทำด้วยความปรารถนาดี
คือเพื่อปกป้องธรรมะ แต่หากใช้วิธีอธรรมแล้ว
ผลร้ายย่อมตกอยู่กับธรรมะ อย่างไม่ต้องสงสัย


:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 11:41, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2007, 09:17
โพสต์: 239

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
กระทู้นี้ เป็นความตั้งใจดีที่อยากนำข้อมูลมาสู่สายตาสาธารณชนที่อาจจะเคลือบแคลงใจกับเรื่องราวเกี่ยวกับ วงกรรมฐาน ที่ได้ยินได้ฟังมาจากปากต่อปาก แล้วไม่เคยทราบว่าปัญหา หรือ ความจริงเป็นเช่นไร เท่านั้น

เพราะฉะนั้นกราบขอความกรุณา นักวิจารณ์ธรรมทั้งหลาย งดซึ่งวิจารณ์ข้อความอันจะเป็นเหตุให้ต้อง ตอบกันไป-มา

:b8: ซึ่งบางข้อความอาจจะเป็นเหตุให้ท่านได้ปรามาส ครูบาอาจารย์อย่างไม่ได้ตั้งใจ


สาธุ



:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


:b8: หากกระทู้นี้อันจะเป็นที่มา ของการประลองยุทธหรือข้อแย้งใดๆ ก็ตาม ขอความกรุณาท่านเวปมาสเตอร์หรือผู้ดูแล ช่วยลบกระทู้ให้ด้วยเถิด

อันเนื่องเพราะตัวเราเองไม่อยากต้องเป็นผู้นำเหตุอันใด มาให้ต่อยอดอันเป็นไปในทางที่ ส่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่สมควร



:b44: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ตะแง๊ว เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 19:12, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: สาธุค่ะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 12:24
โพสต์: 42

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะ ที่นำมาโพสต์ให้ได้หายข้องใจกัน หลายคนสับสน หลายคนที่ยังไม่รู้แน่ชัด
ต้องขอขอบคุณอีกครั้งที่นำมาลงนะคะ
และพระอาจารย์ไพศาล ท่านกล่าวได้อย่าง เป็นกลาง ชัดเจน กระจ่าง มากๆค่ะ
สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 15:21
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอขอบคุณมากเลยที่ทำให้อะไรๆ มันกระจ่างขึ้นค่ะ และก็ทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ค่ะ ให้หลายท่านไม่ทำบาปเพิ่มขึ้น :b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 23 ก.พ. 2010, 07:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
:b16: :b16: :b16:
:b27: :b27: :b27:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2007, 09:17
โพสต์: 239

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




-001.bmp
-001.bmp [ 458.84 KiB | เปิดดู 21187 ครั้ง ]
-002.bmp
-002.bmp [ 404.35 KiB | เปิดดู 21180 ครั้ง ]
-003-1.bmp
-003-1.bmp [ 305.91 KiB | เปิดดู 21152 ครั้ง ]
-003-2.bmp
-003-2.bmp [ 295.37 KiB | เปิดดู 21134 ครั้ง ]
:b44:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2007, 09:17
โพสต์: 239

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว




-004.bmp
-004.bmp [ 388.53 KiB | เปิดดู 21119 ครั้ง ]
-005.bmp
-005.bmp [ 388.53 KiB | เปิดดู 21113 ครั้ง ]
:b44:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ :b12:

:b4: มาคราวนี้...ป้ามด...เข้มเลยอ่ะนะ :b13:

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2007, 09:17
โพสต์: 239

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


TU เขียน:
ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ :b12:

:b4: มาคราวนี้...ป้ามด...เข้มเลยอ่ะนะ :b13:



:b5: :b9: เด่วตุ๊บให้นะ สาวิกาน้อย (มาแซวคนแก่)




:b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ตะแง๊ว เขียน:
พระไพศาลเขียนถึงหลวงพ่อปราโมทย์
นสพ.มติชน วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

“เหตุเกิดในวงการกรรมฐาน”



พระไพศาล วิสาโล

ในอดีตนั้นถือกันว่าสมาธิภาวนาหรือการทำกรรมฐาน
เป็นเรื่องของสงฆ์ ส่วนฆราวาสนั้นปฏิบัติธรรมด้วยการให้ทาน
และรักษาศีลก็พอแล้ว แม้จนทุกวันนี้เราก็ยังเห็นฆราวาสเข้า
วัดเพื่อ “ทำบุญ” เป็นส่วนใหญ่ แต่แบบแผนดังกล่าวดูเหมือน
จะจำกัดเฉพาะชาวพุทธไทย เอกลักษณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ชัด
เมื่อไปเยือนวัดในยุโรปหรืออเมริกาที่มีชาวพุทธหลายเชื้อชาติ
ให้ความศรัทธานับถือ ในขณะที่ชาวพุทธไทยนิยมมาถวาย
อาหารแก่พระสงฆ์ (แล้วก็ลากลับ) ชาวพุทธชาติอื่นโดยเฉพาะ
ชาติตะวันตกกลับสนใจฟังธรรมะและทำสมาธิกันอย่างจริงจัง

อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ฆราวาสที่สนใจทำ
กรรมฐานมีจำนวนมากขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็น
ปรากฏการณ์ที่โดดเด่นในแวดวงชาวพุทธไทย ตามสำนักต่าง ๆ
มีฆราวาสมาทำสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดอบรม
กรรมฐานกันเอง บ่อยครั้งก็มีฆราวาสเป็นอาจารย์กรรมฐาน
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่กับความสนใจใฝ่ศึกษาธรรม
ทั้งจากการอ่านและการฟังอย่างแพร่หลาย จนหนังสือธรรมะกลาย
เป็นหนังสือขายดี ขณะที่หน่วยงานหลายแห่งทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ
ก็มีการบรรยายธรรมอย่างสม่ำเสมอ

ความเครียด ความรุ่มร้อนในจิตใจและความรู้สึกว่างเปล่า
ในชีวิตทั้ง ๆ ที่เต็มไปด้วยวัตถุสิ่งเสพและความสะดวกสบาย
เป็นสาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้ผู้คนหันมาหาความสงบจากพุทธศาสนา
แต่ผู้คนยากจะค้นพบคำตอบจากพุทธศาสนาได้หากไม่มีผู้บอกทาง
ที่สามารถสื่อสารกับฆราวาสได้อย่างถึงแก่น ครั้นค้นพบแล้วจะลงมือ
ปฏิบัติหรือไม่ ก็ยังขึ้นอยู่กับผู้บอกทางว่าได้นำเสนอการปฏิบัติที่สมเหตุ
สมผล น่าเชื่อถือ ทำได้จริงหรือไม่ แต่เท่านั้นยังไม่พอ ที่ขาดไม่ได้
สำหรับคนสมัยใหม่ก็คือ จักต้องเป็นการปฏิบัติที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน
ยิ่งเป็นวิธีการที่ลัดสั้น ตรงถึงเป้าหมาย ก็ยิ่งได้รับความนิยม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช
เป็นผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นที่สุดในการชักนำให้ฆราวาสโดยเฉพาะคนชั้นกลาง
หันมาทำกรรมฐานกันอย่างจริงจังและอย่างแพร่หลายชนิดที่ไม่เคยปรากฏ
มาก่อน ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือคนเหล่านี้มีเป็นจำนวนมากที่ไม่เคยเห็นตัวท่าน
หรือได้รับการชี้แนะจากท่านโดยตรง หรือแม้แต่ฟังคำบรรยายจากปาก
ของท่าน หลายคนอยู่ไกลถึงต่างประเทศด้วยซ้ำ แต่ได้ปฏิบัติตามคำ
ชี้แนะของท่านอย่างต่อเนื่อง เท่าที่ทราบมีเป็นจำนวนมากที่ได้รับ
ผลดีจากการปฏิบัติ

ความสำเร็จดังกล่าว (หากจะใช้คำนี้) ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก
การใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะซีดี ซึ่งสะดวกแก่การเผย
แพร่ในหลายช่องทางรวมทั้งทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เข้าถึง
คนชั้นกลางจำนวนมาก แม้หนังสือของท่านจะพิมพ์เผยแพร่มิใช่น้อย
แต่เชื่อว่าผู้คนรู้จักพระอาจารย์ปราโมทย์ผ่านซีดีมากกว่าหนังสือ
และที่ศรัทธาปฏิบัติตามแนวทางของท่านก็เพราะซีดีมากกว่า
หนังสือเช่นกัน

อย่างไรก็ตามเหตุผลที่สำคัญกว่านั้นน่าจะได้แก่
แนวทางการปฏิบัติของท่าน ที่เน้นการดูจิต หรือตามรู้สภาวะ
และอาการต่าง ๆ ของจิต ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่กดข่มอารมณ์ที่
ไม่พึงปรารถนา และไม่แทรกแซง หรือควบคุมบังคับจิตเพื่อให้เกิด
ความสงบ ซึ่งรวมถึงการไม่ “กำหนด” หรือ เพ่งที่รูปหรือนามใด ๆ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ “รู้” โดยไม่ต้อง “ทำ” อะไรทั้งสิ้น

วิธีการดังกล่าว (ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าจิตตานุปัสสนาตาม
หลักสติปัฏฐานสี่) เหมาะกับคนชั้นกลางซึ่งมีนิสัยคิดฟุ้งปรุงแต่ง
มากจนยากที่จะทำใจให้สงบดิ่งลึก อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติได้ใน
ชีวิตประจำวันโดยไม่เลือกสถานที่และบรรยากาศ ทำให้กรรมฐาน
กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้โดยไม่ต้องหลีกเร้นไปอยู่ป่าหรือเข้า
คอร์สปฏิบัติธรรม ด้วยเหตุนี้หลายคนที่นำวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติ
จึงเห็นผลได้เร็ว คือมีสติรู้ตัวมากขึ้น จิตใจปลอดโปร่งกว่าเดิม
เห็นกายและใจชัดขึ้น การบอกกล่าวจากปากต่อปาก โดยมีซีดี
คำบรรยายของท่านเป็นสื่อการสอน ทำให้ผู้คนหันมาปฏิบัติตามแนว
ทางของท่านมากขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้ที่เคยปฏิบัติแนวอื่น
แต่ไม่ก้าวหน้าเพราะใช้วิธีเพ่งหรือบังคับจิตจนเครียด

จุดเด่นอีกประการหนึ่ง ก็คือ การสอนของท่าน ซึ่งนำเสนอ
แนวทางดังกล่าวในฐานะที่เป็นวิถีสู่ความพ้นทุกข์ จากการดูจิต
สู่การเห็นรูปและนามด้วยสติ ตามมาด้วยการเห็นรูปและ
นามด้วยปัญญา คือเห็นไตรลักษณ์จนละวางความยึดติดถือมั่น
ว่ารูปและนามเป็นตัวตน คำสอนของท่านพูดถึงการบรรลุธรรม
การหลุดพ้น และมรรคผลนิพพานบ่อยครั้ง มิใช่ในฐานที่เป็นสิ่ง
เหลือวิสัยของมนุษย์ หากเป็นอุดมคติที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
และควรทำให้ได้ในชีวิตนี้ คำสอนดังกล่าวได้ทำให้ผู้คนจำนวน
มากซึ่งเคยไกลวัดหันมาสนใจพระนิพพาน กล่าวได้ว่าไม่มีใคร
ที่สามารถจุดประกายให้ฆราวาสยุคนี้ปรารถนาและบำเพ็ญเพียร
เพื่อพระนิพพานได้มากเท่ากับพระอาจารย์ปราโมทย์


ทั้งแนวทางปฏิบัติและเนื้อหาคำสอนของท่านตามที่กล่าว
มาข้างต้น สามารถหาอ่านได้ไม่ยากจากหนังสือของท่าน
แต่สิ่งที่ไม่ปรากฏในหนังสือ ก็คือวิธีการสอนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ซึ่งจะประจักษ์ได้ก็จากการไปฟังการบรรยายของท่านตาม
สถานที่ต่าง ๆ เท่านั้น นั่นก็คือ การบรรยายด้วยถ้อยคำที่เข้าใจ
ง่าย เป็นกันเอง และที่ขาดไม่ได้ก็คือ การ “ทักจิต” ผู้ที่มา
“ส่งการบ้าน” ว่าหลงไปแล้ว หรือกำลังเพ่ง หรือ “ตื่น” แล้ว
เชื่อว่าวิธีนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้คนมาฟังคำบรรยายของท่าน
อย่างเนืองแน่นทุกครั้ง เพราะต้องการสอบถามให้แน่ใจว่าตน
ปฏิบัติถูกต้องตามคำสอนของท่านหรือไม่ สำหรับผู้ฟังคนอื่น ๆ
การทักจิตของท่านยังช่วยให้เข้าใจการปฏิบัติตามคำสอน
ของท่านดีขึ้น เนื้อหาและบรรยากาศส่วนนี้ถูกถ่ายทอดลงซีดี
ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมในวงกว้างกว่าหนังสือ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทักจิตของท่านย่อมทำให้
ศิษยานุศิษย์ (รวมทั้งลูกศิษย์ทางซีดี) เห็นท่านอยู่ในสถานะ
พิเศษเหนือคนธรรมดา ดังนั้นจึงเกิดศรัทธาปสาทะในตัวท่านมากขึ้น
หากนี้เป็นจุดแข็ง มันก็เป็นจุดอ่อนในเวลาเดียวกัน เพราะเป็นเหตุให้
ท่านถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่อยมาโดยเฉพาะจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ
แนวทางปฏิบัติของท่าน จนถึงจุดหนึ่งก็ขยายตัวเป็นการต่อต้านท่าน
อย่างชัดเจน ที่น่าประหลาดใจคือแกนนำหลายคนเคยเป็นลูกศิษย์
หรือผู้สนับสนุนคำสอนของท่านอย่างแข็งขันมาก่อน


เหตุผลข้อหนึ่งที่ผู้ต่อต้านใช้ในการโจมตีท่านก็คือ
การอวดอุตริมนุสสธรรม คือธรรมล้ำมนุษย์หรือคุณวิเศษที่เหนือปุถุชน
ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงการอวดอ้างว่าเป็นอริยบุคคล การกระทำดังกล่าวถือว่า
เป็นความผิดตามพระวินัย หากอวดคุณวิเศษดังกล่าวทั้ง ๆ ที่ตนเอง
ไม่มี ผู้อวดนั้นย่อมขาดจากความเป็นพระ กรณีพระอาจารย์
ปราโมทย์นั้น แม้ท่านจะแสดงให้เห็นว่ามีการทักจิตอยู่บ่อยครั้ง
แต่ก็ยากที่จะชี้ชัดว่าเป็นการอวดอุตริมนุสสธรรมตามที่ระบุใน
พระวินัย (แม้จะตีความเช่นนั้นแต่ถ้าท่านมีคุณสมบัติดังกล่าวจริง
ก็เป็นอาบัติเล็กน้อย) จะว่าไปแล้ววิธีการดังกล่าว ครูบาอาจารย์
หลายท่านทั้งอดีตและปัจจุบันก็ทำเป็นอาจิณ ส่วนที่กล่าวว่าท่าน
อวดอ้างเป็นอริยบุคคลนั้น ก็เป็นเรื่องของการตีความจากคำบรรยาย
เมื่อท่านพูดถึงสภาวะหรือสิ่งที่พบเห็นจากการปฏิบัติ ที่ผ่านมายัง
ไม่มีการอ้างคำพูดใด ๆ ของท่านที่เป็นหลักฐานสนับสนุนข้อ
กล่าวหาดังกล่าวอย่างชัดเจน

หากไม่นับสาเหตุส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวน
ไม่มากนักแล้ว มูลเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้งที่ขยายวงน่า
จะเป็นเพราะแนวทางการปฏิบัติและวิธีการสอนของท่านนั้นขัดกับ
แบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิม อาทิ การดูจิตโดยไม่เน้น
ที่รูปแบบ การทักจิตผู้ปฏิบัติในที่สาธารณะท่ามกลางผู้คนนับร้อย
(แทนที่จะทำในที่รโหฐาน) การสอนกรรมฐานโดยไม่เน้นพิธีรีตอง
(ไม่มีพิธีขอกรรมฐาน และใครจะแต่งตัวมาฟังธรรมที่สำนักของท่าน
อย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแต่งขาว และไม่มีการสวดมนต์รับศีล)
ซึ่งแม้ถูกจริตคนหนุ่มสาวแต่ไม่เป็นที่นิยมของคนแก่วัด
ยิ่งกว่านั้นการที่ท่านวิจารณ์การปฏิบัติที่เน้นการเพ่ง กำหนด
หรือควบคุมบังคับจิต อันเป็นที่นิยมในหลายสำนัก ย่อมทำให้เกิด
ปฏิกิริยาต่อต้านท่าน แต่ปฏิกิริยาดังกล่าวจะไม่มาก
หากลูกศิษย์ยังคงปฏิบัติในสำนักดังกล่าว แทนที่จะแห่กันไปปฏิบัติ
ตามแนวทางของท่าน หรือกลับมาตั้งคำถามกับการปฏิบัติของสำนักเดิม

แม้แกนนำในการต่อต้านจะเป็นฆราวาส แต่เชื่อว่ามี
พระจำนวนไม่น้อยสนับสนุนหรือขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง
เพื่อความเป็นธรรม ควรกล่าวด้วยว่าหลายท่านทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
บางท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ส่วนใหญ่
รับไม่ได้กับแนวทางการปฏิบัติและวิธีการสอนของพระอาจารย์
ปราโมทย์ ซึ่งหลายท่านมองว่าเป็นพระที่ยังมีพรรษาน้อย
และปฏิบัติสวนทางกับธรรมเนียมหลายประการพระป่าโดยเฉพาะ
สายหลวงปู่มั่น ข้อกล่าวหาอีกประการหนึ่งซึ่งร้ายแรงมาก
ในสายตาของพระป่าก็คือ การดัดแปลงคำสอนของครูบาอาจารย์
ซึ่งในที่นี้หมายถึง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

พระอาจารย์ปราโมทย์เป็นผู้ที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ และนำคำสอนของท่านมาเผยแพร่
โดยอธิบายให้เข้าใจได้อย่างเป็นระบบ ทำให้หลวงปู่ดูลย์เป็น
ที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่คนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม
อรรถาธิบายของท่านนั้นไม่ตรงกับที่ลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์หลาย
ท่านเข้าใจ หลายท่านเชื่อมั่นว่าท่านเข้าใจหลวงปู่ดูลย์ได้ถูก
ต้องกว่า จึงไม่พอใจพระอาจารย์ปราโมทย์ที่ “สอนผิดครู”
จนบางท่านถึงกับกล่าวหาพระอาจารย์ปราโมทย์ว่าเป็นศิษย์
คิดล้างครู สำหรับท่านเหล่านี้คำสอนของหลวงปู่ดูลย์เป็นสิ่งที่
ต้องรักษาไว้ในรูปแบบเดิมหรือถ่ายทอดตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด

มองในแง่หนึ่ง ความขัดแย้งกรณีพระอาจารย์ปราโมทย์
เป็นความขัดแย้งระหว่างระหว่าง “ใหม่” กับ “เก่า”
(ไม่ต่างจากความขัดแย้งระหว่างพระอาจารย์พรหมวังโส
กับสำนักหนองป่าพงกรณีบวชภิกษุณี) จะพูดว่า โดยพื้นฐานแล้ว
นี้คือความขัดแย้งระหว่างแนว “ปฏิรูป” กับ แนว “อนุรักษ์นิยม” ก็ย่อมได้
ซึ่งเป็นธรรมดาในทุกวงการและเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย
เมื่อ ๖๐ ปีก่อนท่านอาจารย์พุทธทาสก็เคยถูกโจมตีว่าเป็น
คอมมิวนิสต์เพราะการสอนที่แปลกใหม่ของท่าน ที่กระตุก
ความรู้สึกของผู้ฟัง (เช่น กล่าวว่าพระรัตนตรัยหากนับถือ
ไม่ถูกต้องก็เป็นภูเขาขวางกั้นทางสู่พระนิพพาน) แต่
ความขัดแย้งเป็นแค่ความแตกต่าง ที่ไม่ควรนำไปสู่
ความแตกแยก หรือการเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ที่สำคัญก็คือ
ไม่ควรให้ความโกรธเกลียดหรือกลัวเป็นตัวผลักดันการกระทำ

เมื่อมีความแตกต่างทางความคิดหรือการปฏิบัติ ควรโต้กันด้วยเหตุผล
แทนที่จะใช้วิธีโจมตี ใส่ร้าย หรือข่มขู่คุกคาม แม้จะทำด้วยความปรารถนาดี
คือเพื่อปกป้องธรรมะ แต่หากใช้วิธีอธรรมแล้ว
ผลร้ายย่อมตกอยู่กับธรรมะ อย่างไม่ต้องสงสัย


:b8: :b8: :b8:




อ้างคำพูด:
จักต้องเป็นการปฏิบัติที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน
ยิ่งเป็นวิธีการที่ลัดสั้น ตรงถึงเป้าหมาย ก็ยิ่งได้รับความนิยม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช
เป็นผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นที่สุดในการชักนำให้ฆราวาสโดยเฉพาะคนชั้นกลาง
หันมาทำกรรมฐานกันอย่างจริงจังและอย่างแพร่หลายชนิดที่ไม่เคยปรากฏ
มาก่อน


ขอบอกว่าทางไปมรรค ผล พระนิพพาน ไม่มีทางไหนสั้นสุด ไม่มีทางไหนลัดสุด

ใครบอกแบบนี้แสดงว่าหลงมาก หลงมรรค

ไม่รู้จักมรรค

ถ้าบอกว่าถ้านี้สัด ทางนั้นสั้น ทำไมพระพุทธเจ้าพระศาสดาผู้มีเมตตาอันประมาณไม่ได้จะไม่ชี้เอาไว้

ต้องให้อาจารย์ปราโมทย์มาชี้ จะเก่งเกินศาสดาหรือ

แล้วไปบอกว่าหลวงปู่ดูลย์สอนสภาวะผิด ครูศิลย์ล้างครูมีด้วยหรือ หา

พอครูอาจารย์ตาย ก็เก่งเกินท่านบอกครูอาจารย์สอนผิด มีที่ไหน

แล้วอีกอย่างพระพุทธเจ้า ไม่ได้สรรเสริญ อาเทศนาปาฏิหาริย์

ทรงสรรเสริญ อนุสาศนียะเทศนา

อาจารย์ปราโมทย์จะล้างพระพุทธเจ้า หรือ

ครูอาจารย์ท่านก็ไม่ใช้พร่ำเพื่อ

แล้วที่บอกว่าคนชั้นกลาง ปฏิบัติธรรมได้มาก เพราะอาจารย์ ปราโมทย์หรือ

ก็ไม่ใช่

หลวงตามหาบัวละ สายวัดป่าบ้านตาดละ ไม่เยอะหรือ

อาจารย์ไพศาล ก็ สายหลวงพ่อเทียน

สายหลวงพ่อเทียน ก็ หลวงพ่อ คำเขียน ก็สายเดียวกันกับ อาจารย์ปราโมทย์

ก็พอๆกันกับ ที่ดังตฤน ศิษย์อาจารย์ปราโมทย์ พยายามปกป้อง อาจารย์ตัวเองว่าไม่ผิด

ตัวที่ผิดไม่ใช่หลวงพ่อปราโมทย์ จะอาบัติหรือไม่

ผิดที่คิด ล้มล้าง พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ด้วย

เพราะความไม่แจ้ง ใน ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท



http://www.baanaree.net/baanareepost.html


ข้อโต้แย้งของบ้านอารีย์


ประกาศมูลนิธิบ้านอารีย์
ชี้แจงเหตุผลการยุติเผยแผ่คำสอนของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ก่อนอื่นต้องกราบขอขมาทุกท่านกับการกระทำที่เกิดขึ้น อาจทำให้เกิดอกุศลจิตขึ้นได้ โดยที่มิได้มุ่งหวังเช่นนั้น เป็นเพียงการตั้งใจทำหน้าที่ของผู้ร่วมเดินทางในสังสารวัฎ ตามกำลังสติปัญญาที่มี ที่สำคัญไม่ได้มีเจตนามุ่งร้ายต่อใคร ทั้งยังเป็นเรื่องที่อึดอัดลำบากใจ อย่างถึงที่สุดในการกระทำ แต่ด้วยภาพที่ประสบทุกเมื่อเชื่อวัน ถึงความอ่อนแอของเพื่อนร่วมทุกข์ที่เข้ามาเยี่ยมเยียนบ้านอารีย์ โดยเฉพาะในระยะหลังๆที่ล้วนเข้ามาด้วยความโหยหาที่พึ่ง แต่ที่พึ่งนั้นกลับมิใช่พระธรรม ตามที่พระศาสดาคือพระพุทธเจ้าของเราทรงมอบไว้ให้ กลับอยู่ที่ตัวบุคคล หรืออิทธิฤทธิ์ ปาฎิหาริย์ของบุคคล

บ้านอารีย์เริ่มแปรสภาพเป็นสำนักผู้วิเศษ สามารถรู้วาระจิตของผู้เข้ามาเยือน ส่งผลให้ชาวพุทธอ่อนกำลังลงอย่างสิ้นเชิง ภาพเหล่านี้พบเห็นอยู่ทุกวัน ทำให้จำต้องหันมาพิจารณาถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นต่อสิ่งที่เผยแพร่ สิ่งที่สอน ว่าเหตุใดกัน ทำไมถึงกลายเป็นยิ่งปฏิบัติยิ่งอ่อนแอลง

อีกทั้งด้วยบ้านอารีย์ได้มีครูบาอาจารย์แวะเวียนมาเมตตาเป็นระยะ ทำให้ได้ลองตรวจสอบคำสอนและแนวทางดู จึงได้พบเห็นบางสิ่งบางอย่างจนนำมาซึ่งการตัดสินใจนี้ และจะได้แจกแจงในประกาศนี้

ทั้งนี้บ้านอารีย์ขอยืนยันว่า เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตลอด 3 วันที่ผ่านมา แต่ยืนยันว่ามิได้เป็นเรื่องของการอื่นใด เว้นแต่เพียงต้องการกระตุ้นให้เพื่อนร่วมทุกข์เฉลียวใจหันมามองสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยกันรักษาพระสัทธรรมแท้ไว้ให้ลูกหลานของเราเท่านั้น

จากที่บ้านอารีย์ได้ประกาศยุติการเผยแผ่คำสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชนั้น ได้มีผู้สอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก บ้านอารีย์จึงขอชี้แจงเหตุผลที่ทำให้เห็นว่า ต้องยุติการเผยแผ่คำสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโชดังนี้

1. การบรรยายธรรมหลายครั้ง หลายกรณีมีการกระทบกระทั่งไปยังสำนักต่างๆ แทบจะทุกสำนัก ในลักษณะที่สื่อให้เห็นว่า การปฏิบัติของสำนักอื่นๆนั้น ยังมีข้อบกพร่อง ยังไม่สมบูรณ์ ต้องเสริมด้วยวิธีของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ทำให้เกิดอกุศลขึ้นระหว่างหมู่ผู้ปฏิบัติ ที่มีศรัทธาในสำนัก ในครูบาอาจารย์ของตน ไม่ก่อให้เกิดสังคมของพุทธศาสนิกชนที่ร่มเย็นขึ้นได้ จนทำให้ต้องมีการตัดต่อ ตัดตอน ลบ เก็บสื่อการสอนอยู่เป็นระยะๆ

2. การบรรยายธรรมหลายครั้ง หลายกรณีและบทความข้อเขียนเล่มต่างๆ มีการกล่าวหว่านล้อม โน้มน้าว ชักจูง ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว รวมถึงเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ซึ่งเป็นธรรมล้ำสามัญมนุษย์

กรณีเช่นนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงตำหนิภิกษุที่มีพฤติกรรมดังกล่าวว่า เปรียบเสมือนสตรีที่เผยอวัยวะพึงสงวนให้เขาดู เพราะเห็นแก่เงินทองของต่ำทราม

3. แก่นการสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ใช้การทักวาระจิต ทายใจเป็นหลัก และเป็นการใช้อย่างสม่ำเสมอ ในทุกคราวของการแสดงธรรม ทำให้เกิดการเสพติดของนักปฏิบัติ และเป็นวิถีทางการปฏิบัติแบบใหม่ ที่ผู้ปฏิบัติเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์จำนวนมาก ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ต้องอาศัยหวังพึ่งพิงปาฏิหาริย์ ทำลายหลักการ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ลงอย่างสิ้นเชิง

วิกฤติการณ์นี้ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ผู้ที่สนใจปฏิบัติ เมื่อเข้ามาสู่การสอนในลักษณะนี้ ได้ก่อให้เกิดสภาพเหมือนการปฏิบัติธรรมกลายเป็นศาสตร์แห่งไสย แทนที่ศาสตร์แห่งพุทธะ ที่สำคัญ แม้วิชานี้อาจทำได้จริง อาจให้ประโยชน์กับบางบุคคลในบางกรณี ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงผิดพลาดได้ ลัทธิอื่นก็มีวิชานี้ได้เช่นกัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงติเตียนและปราชญ์ทั้งหลาย อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็ไม่อนุญาตให้พระลูกศิษย์รูปใดกระทำเช่นนั้น หากมีลูกศิษย์รูปใดกระทำ หลวงปู่ดูลย์จะประณามเอาอย่างรุนแรง เพื่อให้ยุติการกระทำเยี่ยงนั้น

นอกจากนี้ ญาติธรรมหลายๆท่านได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองกำลังขาดสติแต่ถูกหลวงพ่อปราโมทย์ทักว่า ปฎิบัติได้ดี แสดงให้เห็นว่าการใช้การทักวาระจิตของท่านนั้นคลาดเคลื่อนไปจากสภาวะธรรมที่เป็นจริง และไม่สามารถยึดเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง

4. แนวทางการสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ไม่มีขั้นตอนการปฎิบัติที่ชัดเจน จึงต้องอาศัยการถามตอบเป็นหลักนั้น ทำให้ไม่มีมาตรฐานทางธรรม เกิดความฟุ้งซ่านขึ้นกับผู้ปฎิบัติ เฝ้ากังวลว่าจะปฎิบัติถูกหรือผิดหรือไม่อย่างไร จะเอาจิตไว้ที่ไหน ฯลฯ เพราะคอยแต่คิดคำนึงไปตามสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา วนเวียนอยู่กับการถามตอบ

อีกทั้งหลายกรณี คำตอบที่ได้จากหมู่ผู้สอนที่ได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อปราโมทย์ให้สอน ก็ขัดแย้งกันเอง จนนำมาซึ่งความสับสน เหนื่อยหน่าย เสื่อมความเพียรในการมุ่งหน้าเข้าสู่การปฎิบัติที่แท้จริง ”ขาดศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของตนเอง” ในการจะปฎิบัติธรรมให้ได้ผล ประหนึ่งนกที่ถูกผู้เลี้ยงหักปีกไว้ ทำให้ไม่สามารถบินไปไหนได้ เอาแต่คอยอาหารและน้ำจากผู้เลี้ยงเท่านั้น

5. ในการแสดงธรรมของหลวงพ่อปราโมทย์หลายครั้ง ได้ดูแคลนแนวทางการปฎิบัติที่ทำความเพียรในรูปแบบ และข้อวัตรปฎิบัติต่างๆของครูบาอาจารย์ต่างสำนัก ด้วยอาการเยาะเย้ย เหยียดหยาม ทำนองว่าเป็นทุกขาปฎิปทา ไม่เหมาะกับปัญญาชนคนเมือง ทำให้ล่าช้า สู้การทำความเพียรด้วยการฟังซีดีของท่านบ่อยๆ ไม่ได้

นอกจากนั้น ท่านยังไม่ส่งเสริมการสวดมนต์ การทำวัตรเช้าเย็น ซึ่งถือว่าขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับปฏิปทาของครูบาอาจารย์ที่ท่านอ้างว่าตนเป็นลูกศิษย์ โดยเฉพาะหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ลูกศิษย์ที่ดีจะต้องยึดปฏิบัติตามปฏิปทาของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ตนนับถือได้วางไว้

นอกจากปฏิปทาต่างๆแล้ว ยังมีข้อวัตรต่างๆที่ท่านละเลย เช่น การบิณฑบาตร เป็นต้น ซึ่งท่านไม่ได้ให้ความสนใจปฏิบัติในข้อวัตรที่จำเป็นเหล่านี้เลย

6. จากการพบปะพูดคุยกับญาติธรรมจำนวนมาก ที่อาศัยเพียงการดูจิตในชีวิตประจำวัน โดยละเลยการปฏิบัติในรูปแบบ และการทำสมถะซึ่งเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความตั้งมั่นของจิต ทำให้ไม่มีกำลังที่จะใช้ดูจิต ถูกอารมณ์ลากพาไป เห็นแต่เพียงอาการของจิต ไม่สามารถทำให้ลดละกิเลสได้ ซึ่งครูบาอาจารย์สำนักต่างๆ หลายสำนัก ล้วนมีความเห็นตรงกันว่า การทำสมถะมีความจำเป็นสำหรับทุกคน มิใช่บางคนเท่านั้น

7. หลังจากที่บ้านอารีย์ได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบข้อเท็จจริงว่า

7.1 จากการที่หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ได้มีความเพียรพยายามอ้างถึง ความเกี่ยวพันกับ หลวงพ่อมนตรี อาภัสสะโร (ผู้เป็นศิษย์อาวุโสของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล) และสวนพุทธธรรม-ป่าละอู ในลักษณะศิษย์พี่ศิษย์น้อง และวัดพี่วัดน้อง อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทั้งในรูปของคำพูด และข้อเขียน ไม่เป็นความจริง

7.2 จากการที่หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ได้ระบุไว้ในข้อเขียนเรื่อง “กว่าจะเป็นสวนสันติธรรม” (ปัจจุบันถูกลบออกจาก website ของสวนสันติธรรม หลังจากมีประกาศชี้แจงเรื่อง ความเกี่ยวพันระหว่างสวนพุทธธรรม-ป่าละอู และสวนสันติธรรมศรีราชา ลงวันที่ 11พฤศจิกายน 2552) ซึ่งมีเนื้อความกล่าวถึง การจัดสร้างสวนสันติธรรมว่า เป็นดำริเริ่มต้น ของหลวงพ่อมนตรี อาภัสสะโร และต่อมาได้รับการพิสูจน์ภายหลังว่า ไม่เป็นความจริงเช่นกัน

7.3 จากการที่ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช มีความพยายามที่จะแสดงให้ญาติธรรมเข้าใจว่า หลวงพ่อมนตรี อาภัสสะโร ได้เขียนจดหมายรับรองโสดาปัตติผลให้กับ แม่ชีอรนุช สันตยากร นั้นก็ได้รับการพิสูจน์ภายหลังว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

8. บ้านอารีย์เห็นว่า หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช มีปฏิปทาสวนทางกับพระพุทธวจนะ ว่าด้วยการพยากรณ์อริยะผล ซึ่งเป็นวิสัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

เป็นที่รับทราบกันดีว่า มีการพยากรณ์โสดาปัตติผลให้แก่ลูกศิษย์จำนวนอย่างน้อย 6 ราย อีกทั้งการพยากรณ์กันเองในหมู่ผู้แวดล้อม เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงติเตียน ดังในพระสูตรภิกษุโจรที่พยากรณ์กันเอง จนมีลาภสักการะจำนวนมาก

บ้านอารีย์เคารพเทิดทูนพ่อแม่ครูอาจารย์ยิ่งชีวิต และมีความเชื่อว่า พวกเราควรยึดหลักที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้คือ มีพระธรรมเป็นศาสดา มิใช่ยึดถือในตัวบุคคล ศรัทธาในตัวบุคคลเป็นใหญ่ เมื่อบุคคลวิบัติ ก็ยังมีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา มีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

บ้านอารีย์ขอยืนยันด้วยความสุจริตใจว่า การกระทำใดๆ ตลอดจนข้อเท็จจริง และเหตุผลที่บ้านอารีย์ได้นำมาเปิดเผยในประกาศฉบับนี้ เป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาก้าวล่วง ไปตำหนิหลวงพ่อปราโมทย์เป็นการส่วนตัว หากแต่เป็นไปเพื่อปกปักรักษาพระศาสนา ในฐานะที่เป็นชาวพุทธตามทำนองคลองธรรม อันจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไปในภายหน้า

ทั้งนี้ บ้านอารีย์ยังใคร่เชิญชวนพุทธศาสนิกชนที่มีความสนใจ หรือสงสัยในความถูกต้องของข้อความข้างต้น ได้ทำใจเป็นกลาง และใช้โยนิโสมนสิการ เฝ้าตามสังเกตข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ด้วยตัวท่านเอง


ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2553

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตะแง๊ว เขียน:
:b8:
กระทู้นี้ เป็นความตั้งใจดีที่อยากนำข้อมูลมาสู่สายตาสาธารณชนที่อาจจะเคลือบแคลงใจกับเรื่องราวเกี่ยวกับ วงกรรมฐาน ที่ได้ยินได้ฟังมาจากปากต่อปาก แล้วไม่เคยทราบว่าปัญหา หรือ ความจริงเป็นเช่นไร เท่านั้น

เพราะฉะนั้นกราบขอความกรุณา นักวิจารณ์ธรรมทั้งหลาย งดซึ่งวิจารณ์ข้อความอันจะเป็นเหตุให้ต้อง ตอบกันไป-มา

:b8: ซึ่งบางข้อความอาจจะเป็นเหตุให้ท่านได้ปรามาส ครูบาอาจารย์อย่างไม่ได้ตั้งใจ


สาธุ



:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


:b8: หากกระทู้นี้อันจะเป็นที่มา ของการประลองยุทธหรือข้อแย้งใดๆ ก็ตาม ขอความกรุณาท่านเวปมาสเตอร์หรือผู้ดูแล ช่วยลบกระทู้ให้ด้วยเถิด

อันเนื่องเพราะตัวเราเองไม่อยากต้องเป็นผู้นำเหตุอันใด มาให้ต่อยอดอันเป็นไปในทางที่ ส่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่สมควร



:b44: :b8:






อนุโมทนาค่ะคุณมด :b8:
อย่าไปใส่ใจกับกิเลสของชาวบ้านเลยค่ะ เจ้าตัวกรูรู้นี่แหละค่ะ ก่อภพก่อชาติใหม่ไม่รู้จักจบสิ้น
ใครสร้างเหตุอย่างไร เขาย่อมได้รับผลเช่นนั้น ไม่มีข้อยกเว้น
ไม่ใช่บอกว่า นี่ถูก นั่นผิด ตามความคิดของตัวเองกัน




เจ้าตัวผู้รู้ ตัวกรูของกรู ตัวอยากอวดว่ากรูรู้ กรูดี กรูเก่ง มันเยอะน่ะคุณมด
รู้ไปหมด เห็นไปหมด แต่ที่ไม่เห็นคือ กิเลสในจิตของตนเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 20:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b21: :b21: :b21: :b21:

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้แต่บอกว่า "ความจริงในใจ..ของใครของมัน"

แม้พระพุทธเจ้าเอง จะทรงตรัสแต่"ความจริง"
แต่ก็เป็น"ความจริง" ที่จริงเฉพาะพระองค์
เมื่อความจริงเหล่านั้นไปสู่ปุถุชนแล้วก็กลายเป้นเท็จทั้งหมด
ดังทรงตรัสโดยใจความว่า ทรงเป็นเพียงผู้ชี้ทาง ให้เดินไปเอง

สมัยพุทธกาลก็มีคนเยอะแยะที่แม้จะมีโอกาสได้ฟังพระสัทธรรมจากพระโอษฐ์
แต่ไม่สามารถจะรองรับเอาอะไรไปใช้ได้เลย
แถมปรามาสส่งท้ายพระพุทธเจ้าอีก

สัจธรรมก็เป็นอย่างนี้ ของใครของมัน
คนไหนเอาไปใช้ได้จริง เขาก็ไม่หวั่นไหว ใช้ได้มาก ก็เห็นคุณค่ามาก
ผู้ใดใช้ประโยชน์ไม่ได้ เขาก็เห็นเป็นขยะ เป็นส่วนเกิน หาค่าไม่มี

สำหรับผม หลวงพ่อปราโมทย์เหมือนพ่อเหมือนแม่ผู้ให้กำเนิดสู่ธรรม
ผมยอมรับนับถือในพระพุทธเจ้าอย่างหมดหัวใจ ไม่คลอนแคลน ก็เพราะหลวงพ่อ
อยู่รอดปลอดภัยจากปากเหยี่ยวปากกาในโลกของธรรมก็เพราะหลวงพ่อ
เคยแต่คิดแต่ฝันว่าจะอยากเป้นนั่นเป็นนี่
แต่หลวงพ่อทำให้เหลือความฝันอันเดียวคือ นิพพาน

ชาติสยามมีความรู้อัน ก็พึงทราบว่ามาจากหลวงพ่อปราโมชแทบทั้งสิ้น
ก็เพราะหลวงพ่อนี่แหละ ผมถึงได้พบพระพุทธ พระธรรม

ผู้ใดอยากมีความรู้เหมือนชาติสยามก็ฟังหลวงพ่อปราโมทย์มากๆ
อันใดไม่รู้ก็ลองเชื่อๆทำๆไปก่อน
อันใดทำได้เองแล้ว ความเชื่อมันก็หายไป กลายเป็นความรู้ขึ้นมาเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผิดที่คิด ล้มล้าง พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ด้วย
เพราะความไม่แจ้ง ใน ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท


smiley smiley

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 85 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร