วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 23:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


วันมาฆะบูชา ตามธรรมเนียมในศาสนาพุทธ จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓

วันนี้คุณดูปฏิทินแล้วหรือยังครับ
ปีนี้กลับตรงกับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ตรงกับขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔

ในทรรศนะผม ไม่เห็นควรต้องเลื่อนตามอธิกมาสเลยซักนิด (คำนวนตามระบบสุริยาตร์ไทย-ระบบจันทรคติ)

ที่สำคัญ นิมิตหมายอยู่ที่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ไม่ใช่ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔

ไม่รู้ว่าหลักเกณฑ์ที่ต้องเลื่อนตามอธิกมาสนั้น ออกมาจากวิธีการคิดของใคร
ท่านใดพอมีความรู้เรื่องนี้ ช่วยให้ความกระจ่างทีครับ
ผมไม่ได้เข้ามานาน อาจไม่รู้ว่าเขาคุยกันไปหรือยัง ต้องขออภับล่วงหน้าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


cool สวัสดีค่ะ ขออนุญาตมาทักทาย หายหน้าหายตาไปจากลานเสียนาน...
สบายดีนะคะ
s006

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
cool สวัสดีค่ะ ขออนุญาตมาทักทาย หายหน้าหายตาไปจากลานเสียนาน...
สบายดีนะคะ
s006


สวัสดีครับ สบายดีตามอัตภาพครับ
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ไม่แปลกหรอกครับ

เพราะปีนี้เป็นปีทีมีอธิกมาส ( 8 สองหน) เลยเลื่อนไปอีกหนึ่งเดือนครับ

วันวิสาขบูชาก็จะตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือน 7

ส่วนวันอาสาฬหบูชาจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำแต่เป็น 8 หลังครับ

4 ปีจะมีครั้งหนึ่งครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมว่าแปลกๆคือ ทำไมต้องเปลี่ยนตามอธิกมาสด้วย
มีหลักเกณฑ์อะไรจึงต้องเปลี่ยนไป
เพราะตามหลักคือ พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะในเดือน ๓

อนึ่ง พระจันทร์จะมีการเสวยฤกษ์มาฆะในทุกๆเดือน ถ้ามีการย้ายไปมาตามอธิกมาส
ก็เท่ากับดูว่าจะเลื่อนลอยไป อีกหน่อยกาลผ่านไป ก็เลื่อนไปเรื่อยๆได้ เพราะถือว่าจันทร์เสวย
ฤกษ์มาฆะในทุกเดือนอยู่แล้ว

จันทรคติ เท่าที่ทราบ จะมีเกินหรือขาดไปในเดือน ๘ เท่านั้น ก็น่าจะปรับแค่การเข้าพรรษา นอกนั้นควร
คงไว้อย่างเดิมเถิด


เรื่องนี้ไม่มีกล่าวชัดเจนไว้เหมือนการเข้าพรรษา ในเรื่องการเข้าพรรษามีการตรัสไว้เป็นแปดหน้าแปดหลัง
ชัดแจ้ง ในความคิดผมน่าจะยึดตามปกติวิสัยไปตายตัว

ถ้าไม่รักษาของเดิมไว้ บางอย่างอาจค่อยๆเสื่อมไปตามกาลเวลา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันก็ตรงเหมือนเดิมครับ หมายถึงวันนี้ในอดีตก็คือวันเดียวกัน แต่จะเป็นเดือนสามหรือเดือนสี่ก็เป็นอีกเรื่องนึงครับ การที่มีแปดสองหนเป็นปีอธิกมาส เป็นค่าคำนวนปฎิทินซึ่งสี่ปีมีหนเดียวจึงขยับเดือนเป็นเดือนสี่ แต่วันเท่าเดิม ให้ดูที่ปฎิทินครับ อธิกมาส(เดือนยิ่ง หรือเดือนเกิน)ปกติวาร(วันเท่าเดิม) ผมเข้าใจว่าคนโบราณเข้าใจการโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ดี จึงมีการคำนวนเผื่อวงโครจรที่เป็นด้านโค้ง(วงรี) ซึงการคำนวนปฎิทินนี้เรียกว่า คัมภีร์สุริยาตร์ เราได้รู้การคำนวนปฎิทินนี้จากอินเดีย ฉะนั้นเรื่องแปดสองหนมีในพุทธบัญญัติ ก็ไม่ผิด แสดงว่า ปฎิทินที่เราใช้กันทุกวันนี้ ยังคงเค้าเดิมการคำนวนแบบโบราณอยู่ แม้ว่าการกำหนดเดือนอย่างไทยจะเดือนขยับไปจริง แต่การคำนวนสุรทิน(วาร) วัน หรือจำนวนวัน เป็นการกำหนดเอาตามอาทิตย์หรือวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ คือปีนึงเคยได้ได้เท่าไรก็คงเท่านั้น ไม่ผิดมากจะเห็นได้ว่าเดือนกุมภาพันธ์ในแต่ละปีจะมีวันไม่เท่ากัน ตามแบบการคำนวนมาจากอาทิตย์ จะเป็นการกำหนดฤดูกาลต่างๆกำหนดตามจันทร์จร แต่ปฎิทินเราได้อ้างอิงตามอาทิตย์จรด้วยจึงทำให้ไม่ผิดเพี้ยนจากเดิม หรืออันนี้เรารู้ง่ายๆว่าวันตรงกันทุกปี(ตามการคำนวนอาทิตย์) แต่เดือน(ไทย)ไม่ตรงกัน(เพราะเหตุผลทางค่าการคำนวนตามจันทร์)
ผิดถูกประการใด ท่านผู้รู้ ขอให้เสริมและแนะนำติเตียนด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

ผมเคยสังเกตุดูว่าปีหนึ่งเรามีแรม 14 ค่ำเป็นเดือนดับอยู่ถึง 6-7 วัน

แต่ทำไม่ ? พระจันทร์ยังเต็มดวงอยู่เหมือนเดิม อันนี้ก็น่าคิดเหมือนกันครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ...วันลอยกระทงก็ยังเป็น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อยู่ ทำไมไม่เลื่อนเป็น ๑๕ ค่ำเดือนอ้ายบ้างล่ะ

อนึ่ง ต้องเข้าใจก่อนว่า วันมาฆะบูชาในปี ๒๕๕๓ นี้ยังอยู่ในช่วงของปี ๒๕๕๒ นะครับ
เพราะตามปีจันทรคติยังจัดเป็นปีเก่าอยู่ เราจะตัดเข้าปีใหม่ตามจันทรคติต่อเมื่อพระอาทิตย์ยก
เข้าสู่ราศีเมษเมื่อประมาณเดือนเมษายน ฉะนั้น มาฆะบูชาจึงจัดอยู่ในห้วงของปี ๒๕๕๒ ซึ่งไม่ใช่
ปีอธิกมาส เมื่อไม่มีอธิกมาสในปี ๒๕๕๒ ก็ไม่เห็นที่จะต้องเลื่อนวันมาฆะบูชาออกไปนี่ครับ

อนึ่งการที่จะกล่าวว่ารอบวันตรงกันนั้น เป็นเรื่องยากครับ ยังสรุปกันไม่ได้ การคำนวนปฏิทิน
แบบเกเกอร์เรียและสุริยาตร์ไทย ยังหาข้อสรุปเถียงกันไม่จบสิ้น ยังกล่าวไม่ได้ว่ารอบวันตรงกัน
ถึงแม้จะมีเดือนขาดเดือนเกินอย่างไร วันที่เป็นขึ้นแรมจะมีการทดการทอนวันอยู่ในตัวเอง
ที่น่าวินิจฉัยคือ จะมีกี่ขึ้นแรม เราก็ต้องเข้าใจว่า ๑ ปี มี ๓๖๕.๒๕๘๗๕ วันอยู่ดี หาใช่เพิ่ม
วันเข้ามาอีก ๓๐ วัน เพราะการคำนวนปีนั้น ยึดจุลศักราชคุณด้วยอัตราวันเฉลี่ยในรอบปีที่อ้างมา(๓๖๕.๒๕๘๗๕) ไม่มีบอกที่ไหนในการคำนวนว่าอธิกมาสต้องเพิ่มมาอีก ๓๐ วันเลย

การที่เรียกว่าเดือนเกินหรือ อธิกมาสนั้น ไม่น่าถูกต้องนัก เป็นศัพท์บัญญัติใช้ในการคำนวนเท่านั้น
ที่จริงแล้วอธิกมาส เป็นผลมาจากเดือนขาดมากกว่า จึงต้องเพิ่มเพื่อให้เต็มจำนวนวันที่ขาดไปในระหว่างปี

ถ้าคิดว่าใน ๔ ปีมีขาด ๑ เดือน ลองคิดซิครับว่า ระหว่างปีที่ ๒ ปีที่ ๓ ก็ย่อมจะขาดวันไปไม่ใช่หรือ
(เพราะอธิกมาสเพิ่มมาเพื่อชดเชยวันที่ขาดไปในรอบ ๔ ปี) เมื่อเป็นเช่นนี้ ในรอบปีที่ ๒ ปีที่ ๓ ทำไมไม่
เลื่อนวันมาฆะบ้างละครับ ทำไมต้องมาเลื่อนเฉพาะในปีที่ ๔ ปีเดียว

ผมไปดูตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกกันในระบบจันทรคติ ก็ไม่เคยเจอว่าเขาเลื่อนกัน ทำเป็นหลักตายตัวไป
เช่นวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ ๑ เมื่อเขาคำนวนว่าตรงกับวันที่เท่าใดของสุริยคติ ก็ยึดวันตามนั้น
เลยไม่เห็นต้องเลื่อนว่าปีนั้นตรงกับวันนั้น หรือ ๔ ปีเลื่อนวันครั้งหนึ่ง

เป็นอะไรที่น่าคิดนะครับในเรื่องนี้ ผมคำนวนปฏิทินตามระบบสุริยาตร์มา ผมก็ยังไม่แน่ใจเท่าไรในเรื่อง
นี้ แค่อยากฝากให้วินิจฉัยกันบ้าง ไม่อยากให้อะไรปล่อยผ่านไปโดยที่เราไม่รู้ว่าเป็นมาแบบไหน

ปล. ถ้าสนใจการคำนวนปฏิทินระบบสุริยาตร์ ผมจะนำมาลงให้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


วรานนท์ เขียน:
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

ผมเคยสังเกตุดูว่าปีหนึ่งเรามีแรม 14 ค่ำเป็นเดือนดับอยู่ถึง 6-7 วัน

แต่ทำไม่ ? พระจันทร์ยังเต็มดวงอยู่เหมือนเดิม อันนี้ก็น่าคิดเหมือนกันครับ


:b8: :b8: :b8:


แสดงว่าในแต่ละปีก็มีการคลาดเคลื่อนของวันอยู่ แล้วทำไมปีนั้นๆไม่เลื่อนวันบ้างละครับ
น่าคิดนะครับ

อนุโมทนาครับที่ยังสนใจข้อเล็กน้อยมที่ใหญ่หลวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริงก็น่าจะเป็นไปตามสุริยาตร์แหละ แต่ก่อนก็เคยเรียน แต่ไม่ไหว เพราะงงเหลือเกิน แล้วทุกวันนี้ก็ออกขัดๆกันอยู่ ของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว ในหมู่ผู้ศึกษาโหราศาสตร์ว่าถูกต้องที่สุด รักษาแบบแผนการคำนวนไว้ดีที่สุด ก็ยังไม่ลงกะปฎิทินตัวอื่นได้ จำไม่ได้แน่เมื่อปีไหน รู้สึกจะไม่นานมานี่ ที่มีความขัดแย้งกันเรื่องปฎิทิน เรื่องการคำนวนนี่แหละ จนพระบางรูปวิตกเรื่องวันกำหนดพรรษา ผมว่าถ้าสนใจจริงๆอาจจะต้องเทียบเคยงกะทางประเทศอินเดียวเค้า ว่าเค้าจัดงานวันไหน แต่ก็อย่างว่า ของเราก็ไม่ตรงกะจีนอีกในวันนี้ :b23: ทุกวันนี้ผมก็ถือตามปฎิทินอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว อยู่ครับ ปฎิทินท่านว่าอย่างไร เราก็ว่าไปตามท่าน เพราะเราก็ไม่เชี่ยวชาญจริง เพียงได้ได้รับเหตุผลจากครูบาอาจารย์ท่านว่ามาอย่างนั้น :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่จริงก็น่าจะเป็นไปตามสุริยาตร์แหละ แต่ก่อนก็เคยเรียน แต่ไม่ไหว เพราะงงเหลือเกิน


มีวิธีคำนวนที่ไม่งงเท่าไรแล้วครับ
เครื่องคิดเลยที่มี sin ก็พอทำได้แล้ว

อ้างคำพูด:
แล้วทุกวันนี้ก็ออกขัดๆกันอยู่ ของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว ในหมู่ผู้ศึกษาโหราศาสตร์ว่าถูกต้องที่สุด รักษาแบบแผนการคำนวนไว้ดีที่สุด ก็ยังไม่ลงกะปฎิทินตัวอื่นได้


ที่ว่าขัดกันน่าจะเป็นการคำนวนของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว กับ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ที่จริงในความ
คิดผม ถูกทั้งคู่ครับ ตามแต่ละวิธี รัชกาลที่ ๔ พระองค์ก็ใช้สุริยาตร์คำนวนการเกิดคราสได้อย่างแม่นยำ
ของอาจารย์เทพย์ท่านเป็นนิรายนะวิธี(สุริยาตร์ของพาราณสี)นำมาปรับรุ้งแวงให้ตรงกับสยาม ผลการ
คำนวนเลยออกมาไม่ตรงกันแทบทุกดาว เวลาตัดขึ้นแรมของจันทรคติก็คลาดเคลื่อน ถ้าไม่มีความรู้เรื่อง
การคำนวนคงต้องเป็นดุลพินิจของแต่ละคน

อ้างคำพูด:
จำไม่ได้แน่เมื่อปีไหน รู้สึกจะไม่นานมานี่ ที่มีความขัดแย้งกันเรื่องปฎิทิน เรื่องการคำนวนนี่แหละ จนพระบางรูปวิตกเรื่องวันกำหนดพรรษา ผมว่าถ้าสนใจจริงๆอาจจะต้องเทียบเคยงกะทางประเทศอินเดียวเค้า ว่าเค้าจัดงานวันไหน แต่ก็อย่างว่า ของเราก็ไม่ตรงกะจีนอีกในวันนี้ :b23: ทุกวันนี้ผมก็ถือตามปฎิทินอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว อยู่ครับ ปฎิทินท่านว่าอย่างไร เราก็ว่าไปตามท่าน เพราะเราก็ไม่เชี่ยวชาญจริง เพียงได้ได้รับเหตุผลจากครูบาอาจารย์ท่านว่ามาอย่างนั้น :b9:


คิดถึงพระเถระสมัยโบราณนะครับ ท่านเก่งเรื่องการคำนวนปฏิทินมาก ถ้าท่านอยู่คงไม่มีปัญหามากมาย
เช่นกันครับ ผมก็ใช้วิธีคำนวนของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว การสอบทานประวัติศาตร์ถ้านานขนาดไม่มี
ปฏิทิน ผมก็จะคำนวนย้อนไปเอง

ปล. อย่าลืมนะจ๊ะ ถ้าใช้ปฏิทินอาจารย์เทพย์ ก็ควรใช้วิธีการทำนายแบบสายเขา
ถ้าใช้สุริยาตร์ ก็ควรใช้วิธีทำนายแบบสุริยาตร์ ผมคิดว่าคุฯสติฯ น่าจะเป็นนักโหราศาสตร์นะเนี่ย
:b13: :b13: :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร