วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 18:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้นสมัยเมื่อ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านยังทรงพระชนม์อยู่
พระองค์ทรงเน้นสอนและทรงแสดงโทษของการยึดมั่นถือมั่นในอุปทาน“ขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์” พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อการ “ตรัสรู้” เพื่อเข้าสู่มรรคผลนิพพาน
คือพระองค์จะทรงหยิบยก และแสดงธรรมในเรื่อง “อริยสัจสี่” เป็นส่วนมาก
และในการแสดงธรรม “อริยสัจสี่” ในแต่ละครั้งนั้นจะมีทั้งอุบาสก, อุบาสิกา, พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีทั้งหลายได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นจำนวนมาก

พระองค์ทรงเน้นแสดง “ตัวสมุทัย” คือเหตุให้เกิดทุกข์
ได้แก่ “ตัณหา” ความอยากได้และความไม่อยากได้ในกองขันธ์ 5
ที่รู้สึกเป็นสุข และเป็นทุกข์ เช่น ขันธ์ 5 เป็นสุข ก็ยึดไว้เวลาขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ก็ผลักไสไม่ยอมเผชิญหน้ากับมัน จึงเกิดความลำบาก เพราะพยายามที่จะแก้ไขโดย “การวิ่งหนี และวิ่งเข้าหา”
คือ “อยากวิ่งหนีทุกข์ และอยากวิ่งหาสุข”
แต่โดยความเป็นจริงของสัตว์ และมนุษย์นั้น เมื่อถือกำเนิดขึ้นมาแล้วมีแต่กองแห่งทุกข์
ค้นหาความสุขเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ เท่าที่สังเกตดูมีแต่ทุกข์น้อย กับทุกข์มากเท่านั้นเอง
ฉะนั้นจึง “มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป”
รวมแล้วในขณะที่ยังมีชีวิต ก็คือมีขันธ์ 5 เป็นเครื่องอาศัยอยู่ จะต้องอยู่กับกองทุกข์ตลอดกาล

มีวิธีเดียวที่จะไม่ทุกข์ คือการไม่เกิด เมื่อไม่กลับมาเกิด ก็ไม่มีขันธ์ ถ้าไม่มีขันธ์ก็ไม่มีทุกข์
เพราะทุกข์มีที่ขันธ์ ไม่ใช่มีที่จิต แต่เหตุที่มาเกิดเพราะความหลง
ได้แก่ “อวิชชา” คือความไม่รู้ความจริง ไปยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน
จิตจึงเกาะติดขันธ์ 5 พาให้เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น และก็มาทุกข์เพราะขันธ์ 5 “อยู่ทุกชาติไป” นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์


ดาวน์โหลดและฟังกัณฑ์เทศน์ และสามารถลงชื่อขอรับหนังสือและซีดี
แนวทางการปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ ตามแนวอริยสัจสี่
ได้ที่เว็บไซต์วัดป่าเจริญธรรมครับ http://www.watpachareongtham-chonburi.com


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 00:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


พงพัน เขียน:
รวมแล้วในขณะที่ยังมีชีวิต ก็คือมีขันธ์ 5 เป็นเครื่องอาศัยอยู่ จะต้องอยู่กับกองทุกข์ตลอดกาล

มีวิธีเดียวที่จะไม่ทุกข์ คือการไม่เกิด เมื่อไม่กลับมาเกิด ก็ไม่มีขันธ์ ถ้าไม่มีขันธ์ก็ไม่มีทุกข์
เพราะทุกข์มีที่ขันธ์ ไม่ใช่มีที่จิต แต่เหตุที่มาเกิดเพราะความหลง
ได้แก่ “อวิชชา” คือความไม่รู้ความจริง ไปยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน
จิตจึงเกาะติดขันธ์ 5 พาให้เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น และก็มาทุกข์เพราะขันธ์ 5 “อยู่ทุกชาติไป” นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์


:b8: :b8: :b8:
สาธุ..สาธุ..สาธุ

:b20: :b20: :b20:

ปัญหา..คือ..แม้ปากจะตะโกนว่า..ไม่เอา..ไม่เอา..ไม่ยึด..ไม่ยึด..มันจะหมดการยึดมั้ย???

แม้จะรู้ว่า..การไปยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นตน..จึงทุกข์..รู้แล้ว..นิพพานได้มั้ย???

การไม่เอา..ไม่ยึด..รู้ว่าการไปยึด..เป็นทุกข์..ต้องทำให้ปรากฏขึ้นที่ไหน???

มีบ๋อย ๆ เวลาคนพูดจาเสียดสีกันว่า..รู้อยู่แก่ใจ

รู้อยู่แก่ใจ..นี้..มันรู้ยังงัยนะ
:b12: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 19 มี.ค. 2010, 00:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมคุณกบยังไม่หลับนอนอีกครับเนี่ย ดึกแล้วนา

กบนอกกะลา เขียน:

ปัญหา..คือ..แม้ปากจะตะโกนว่า..ไม่เอา..ไม่เอา..ไม่ยึด..ไม่ยึด..มันจะหมดการยึดมั้ย???

ที่ตะโกนออกมาน่ะ เข้าไปพิจารณาให้รู้จริงหรือยังล่ะครับ ว่ามันยึดไม่ได้ยังไง
ถ้าตะโกนอย่างเดียว โดยยังไม่พิจารณาเลย การยึดก็ไม่หมดหรอก


กบนอกกะลา เขียน:
แม้จะรู้ว่า..การไปยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นตน..จึงทุกข์..รู้แล้ว..นิพพานได้มั้ย???

ถ้ารู้โดยสัญญาแบบนี้ย่อมไม่เกิดอะไรคุณกบก็ทราบดีนี่ครับ
ถ้ารู้โดยปัญญาจากการพิจารณาจนรู้แจ้ง นิพพานได้อยู่แล้ว

กบนอกกะลา เขียน:
การไม่เอา..ไม่ยึด..รู้ว่าการไปยึด..เป็นทุกข์..ต้องทำให้ปรากฏขึ้นที่ไหน??????

ก็พิจารณาขันธ์๕ ตามความเป็นจริงสิครับ ให้เห็นโทษของมัน เห็นโทษของการเข้าไปยึด
เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน ความไม่ยึดก็จะปรากฏเอง มิใช่เราเป็นผู้ไม่ยึดนะครับ
แต่เป็นผลที่เกิดจากการพิจารณาจนจิตยอมรับ แล้วมันจะค่อยๆคลายความยึดมั่นเอง

กบนอกกะลา เขียน:
มีบ๋อย ๆ เวลาคนพูดจาเสียดสีกันว่า..รู้อยู่แก่ใจ

รู้อยู่แก่ใจ..นี้..มันรู้ยังงัยนะ
:b12: :b12: :b12:

อันนี้ออกแนว รู้แล้วทำเป็นไม่รู้ล่ะมั้งครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 02:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 23:29
โพสต์: 1065


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ...ค่ะ

smiley ขออนุญาตร่วมสนทนาก่อนนอนด้วยคนค่ะ

"รู้จำ"...ไม่ถือว่ารู้จริง
รู้จำ แล้วทำได้..จึงถือเป็น "รู้จริง"


:b8: Onion :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัพเพ สังขารา ทุกขา
สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นทุกข์ครับ

ผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝากลิงค์นี้ให้อ่าน

viewtopic.php?f=2&t=23043

นำร่องให้ดังนี้


สมมุติว่า มีห่อของอยู่ห่อหนึ่ง ห่อด้วยผ้าสีสวยงาม วางไว้ในตู้กระจก ที่ปิดใส่กุญแจไว้

มีชายผู้หนึ่ง เชื่ออย่างสนิทใจว่า

ในห่อนั้นมีของมีค่า เขาอยากได้ ใจจดจ่ออยู่ แต่ยังเอาไม่ได้

เขาพะวักพะวงวุ่นวายอยู่กับการที่จะเอาของนั้น เสียเวลาเสียการเสียงาน


ต่อมา มีคนที่เขานับถือมาบอกว่า

ในห่อนั้นไม่มีของมีค่าอะไร ไม่น่าเอา และการที่เขาอยากได้

อยากเอา วุ่นวายอยู่นั้นไม่ดีเลย ทำให้เกิดความเสียหายมาก


ใจหนึ่งเขาอยากจะเชื่อคำบอกของคนที่นับถือ และเขาก็เห็นด้วยว่า การพะวงอยู่นั้นไม่ดี มีโทษมาก

แต่ลึกลงไปก็ยังเชื่อว่า

คงต้องมีของมีค่าเป็นแน่ เมื่อยังเชื่ออยู่ เขาก็ยังอยากได้ ยังเยื่อใย ยังตัดใจไม่ลง

แต่เขาพยายามข่มใจ เชื่อตามคนที่เขานับถือ และแสดงในคนอื่นๆเห็นว่า เขาเชื่อตามเห็นตามคำ

ของคนที่เขานับถือนั้นแล้ว

เขาจึงแสดงอาการว่า

เขาไม่อยากได้ เขาไม่ต้องการเอาของห่อนั้น

สำหรับคนผู้นี้ ถึงเขาจะยืนตะโกน นั่งตะโกนอย่างไร ๆ ว่า ฉันไม่เอาๆ

ใจของเขาก็คงผูกพัน เกาะเกี่ยวอยู่กับห่อของนั้นอยู่นั่นเอง และบางทีเพื่อแสดงตัวให้คนอื่นเห็นว่า

เขาไม่ต้องการของนั้น เขาไม่อยากได้ เขาจะไม่เอาของนั้น เขาอาจแสดงกิริยาอาการที่แปลกๆ ที่เกินสมควร

อันนับได้ว่า มากไป กลายเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้

นี่เป็นตอนที่หนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ ตอนที่สอง)

ต่อมาชายผู้นั้น มีโอกาสได้เห็นของที่อยู่ในห่อ และ ปรากฏว่า

เป็นเพียงเศษผ้าเศษขยะจริง ตามคำของคนที่เขานับถือเคยพูดไว้ ไม่มีอะไรมีค่าควรเอา

เมื่อรู้แน่ประจักษ์กับตัวอย่างนี้แล้ว เขาจะหมดความอยากได้ทันที ใจจะไม่เกาะเกี่ยว ไม่คิดจะเอาอีกต่อไป

คราวนี้ ถึงเขาจะพยายามบังคับใจของเขาให้อยากได้ ข่มฝืนให้อยากเอา ถึงจะเอาเชือกผูกตัวติดกับของนั้น

หรือ หยิบของนั้นขึ้นมา ร้องตะโกนว่า ฉันอยากได้ ฉันจะเอา ใจก็จะไม่ยอมเอา

ต่อจากนี้ไป ใจของเขาจะไม่มาวกเวียนติดข้องอยู่กับห่อของนั้นอีก ใจของเขาจะเปิดโล่งออกไป พร้อมที่จะ

มองจะคิดจะทำการอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่สืบไป

นี้เป็นตอนที่สอง

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ทำความเข้าใจต่อที่ =>

viewtopic.php?f=2&t=23043

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ดู) ความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่ง

เปรียบได้กับพฤติกรรมของปุถุชน ผู้ยังมีความอยาก และความยึดอยู่ด้วยตัณหา อุปาทาน

เขาได้รับคำสั่งสอนทางธรรมว่า

สิ่งทั้งหลายที่อยากได้มั่นหมายยึดเอานั้น มีสภาวะแท้จริง ที่ไม่น่าอยาก ไม่น่ายึด และความอยากความยึดถือ

ก็มีโทษมากมาย เขาเห็นด้วย โดยเหตุผลว่า

ความอยากได้ และ ความถือมั่นไว้มีโทษมาก และก็อยากจะเชื่อว่า

สิ่งทั้งหลายที่อยากได้ล้วนมีสภาวะ ซึ่งไม่น่าฝันใฝ่ใคร่เอา แต่ก็ยังไม่มองเห็นเช่นนั้น

ลึกลงไปในใจ ก็ยังมีความอยากความยึดอยู่นั่นเอง แต่เพราะอยากจะเชื่อ อยากจะปฏิบัติตาม หรือ อยาก

แสดงให้เห็นว่า ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางธรรมนั้น

เขาจึงแสดงออกต่างๆ กระทำการต่างๆ ให้เห็นว่า เขาไม่อยากได้ไม่ยึดติด

ไม่คิดจะเอาสิ่งทั้งหลายที่น่าใคร่น่าพึงใจเหล่านั้น


ในกรณีนี้ ความไม่อยากได้ไม่อยากเอา หรือไม่ยึดติดของเขา มิใช่ของแท้จริงที่เป็นไปเองตามธรรมดา

ธรรมชาติ เป็นเพียงสัญญาแห่งความไม่ยึดมั่น ที่เขาเอามายึดถือไว้

เขาเข้าใจความหมายของความไม่ยึดมั่นนั้นอย่างไร ก็พยายามปฏิบัติ หรือ ทำการต่างๆไปตามนั้น

ความไม่ยึดมั่นของเขา จึงเป็นเพียง ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

และการกระทำของเขา ก็เป็นการกระทำด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

การกระทำเช่นนี้ย่อมมีโทษ คือ อาจกลายเป็นการกระทำอย่างเสแสร้ง หลอกตนเองหรือเกินเลยของจริง

ไม่สมเหตุผล อาจถึงกับเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเทียบเคียงในตอนที่สอง

เปรียบได้กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยถูกต้องตามธรรมดา แห่งกระบวนธรรม เป็นธรรมชาติ เป็นไปเองตามเหตุ

ปัจจัย คือ เกิดจากความรู้แจ้งประจักษ์ ตามหลักการที่ว่า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว ผลก็เกิดขึ้นเอง

จำเป็นจะต้องเกิด ถึงฝืนก็ไม่อยู่ คือ เมื่อรู้สภาวะของสังขารทั้งหลายแท้จริงแล้ว จิตก็หลุดพ้น

หมดความยึดติดเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออีกหน่อย เพื่อให้ต่อเนื่องกัน

ถามว่า

ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนเมื่อยังไม่เกิดญาณทัสสนะ จะพยายามปฏิบัติตามหลัก ความไม่ยึดมั่น ถือมั่นบ้างไม่ได้หรือ


ตอบว่า ได้ และควรอยู่ เพราะเพียงมองเห็นโทษของความยึดมั่นก็นับว่า เป็นประโยชน์แล้ว

แต่ข้อสำคัญ จะต้องมีสติรู้ระลึกไว้ว่า นี้เราอยู่เพียงในขั้นของความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นเท่านั้น

เมื่อจะทำอะไรอาจบอกตัวเองว่า เราจะทำการนี้ด้วยความไม่ยึดมั่น พร้อมนั้น ก็ระลึกไว้ด้วยว่า

เราจะทำไปตามเหตุตามผล ไม่หลงไปตามความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนั้น

พยายามทำการด้วยปัญญาด้วยความรู้ความเข้าใจให้มากที่สุด

เพียงเท่านี้ ก็จะเป็นการกระทำที่เป็นคุณ ผลที่จะได้ในระดับนี้ก็คือเป็นการฝึกตน เป็นการปูพื้นฐานสำหรับ

ความไม่ยึดมั่นที่แท้จริงต่อไป และผลเสียจากการกระทำเลยเถิดเกินไป หรือ มากไป

หรือหลอกตัวเองก็จะไม่เกิดขึ้น

แต่ถ้าเข้าใจผิดเห็นไปว่านี่แหละ คือ ความไม่ยึดมั่นก็จะผิดพลาดเกิดผลเสียได้ทันที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


"รู้จริง"[/color][/b] :b8:

คำนี้ผมเพิ่งโดนครูบาอาจารย์ท่านตำหนิสอนมา(โดนมาเยอะ สะดุ้งเลย) :b3: :b3: :b3:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 00:29
โพสต์: 15

งานอดิเรก: ศึกษา
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา ครับผม :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"วิปริต"

อืมมมม

เป็นคำที่น่าเจ็บปวดจริงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 23:29
โพสต์: 1065


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความไม่ยึดมั่นของเขา จึงเป็นเพียง ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น


:b43: :b43: :b43:

ขออนุโมทนากับธรรมที่ ท่านกรัชกาย แสดงมาด้วยค่ะ....โดนจริงๆ :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2010, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงชื่อและที่อยู่เพื่อขอหนังสือและซีดีได้ที่เว็บไซต์วัดป่าเจริญธรรมนะครับ
http://www.watpachareongtham-chonburi.com


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร