วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2009, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


อัสมิมานะคือ มานะ ความสำคัญตน ความถือตัวว่าเรามีอยู่ ความถือตัวว่าเป็นเรา

อามิส คือเหยื่อ ส่วนใหญ่จะหมายถึงกามคุณ แต่ในบางแห่งหมายถึงวัฏฏะทั้งสิ้น

" คำว่า กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน ... ท่านมุ่งหมายธาตุถายในกายของเรา ที่รู้ได้

สัมผัสถูกต้องได้...
อัสมิมานะ คือ สำคัญว่าเป็นตัวเรา ยินดีในความเป็นเรา ถ้าสติเกิดก็ระลึกว่าที่เคย

สำคัญว่าเป็นเรา แท้ที่จริงแล้ว เราไม่มี มีแต่สภาพธรรมะที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยค่ะ

อามิส หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เช่น ขณะนี้เราก็เปรียบเหมือนปลาที่

ติดเบ็ด ติดอยู่ในกามคุณ 5 มีหนทางเดียวคืออบรมปัญญาเพื่อจะละการติดเบ็ดค่ะ

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม จุดประสงค์เพื่อให้เข้าใจทุกข์ โดยธาตุ โดยขันธ์ ฯลฯ

ต้องเข้าใจตรงลักษณะจริง ๆ เช่น แข็งที่ตัว หรือแข็งที่ภายนอก เป็นธรรมไม่ใช่เรา
คำว่า " เจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุติ " มีความหมายต่างกัน คือ หลุดพ้นพร้อมด้วย

ฌานเป็นเจโตวิมุติ หลุดพ้นด้วยปัญญา เป็นปัญญาวิมุติ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

ทั้งสองคำนี้ มีความหมายหลายนัย ในบางแห่ง ฌานจิตทุกระดับเป็นเจโตวิมุติ เช่น

คำที่ว่าเมตตาเจโตวิมุติเป็นต้น ในบางแห่งหมายถึง สมาธิในอรหัตตผล ชื่อว่า เจโตวิ-

มุติ

และคำว่า ปัญญาวิมุติในอรรถกถาบางแห่ง หมายถึง ปัญญาในอรหัตตผล ใน

บางแห่งกล่าวถึง การบรรลุเป็นพระอรหันต์ที่ไม่ประกอบด้วยอรูปฌาน คือ พระอรหันต์

ที่เป็น สุกขวิปัสสกะ หรือพระอรหันต์ที่ประกอบด้วยรูปฌาน ฌานใดฌานหนึ่ง เรียก

ว่า ปัญญาวิมุติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

แต่พยาบาทนั้น จะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย ในเมตตาเจโต-

วิมุตติ. ในคำว่า เมตตาเจโตวิมุตินั้น เมื่อพูดกันถึงเมตตา ย่อมควรทั้งอัปปนา

ทั้งอุปจาระ. บทว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่อัปปนาโยนิโสมนสิการมีลักษณะ

ดังกล่าวแล้ว. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในเมตตาเจโตวิมุตติ


นั้น ย่อมละพยาบาทได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุต


กายมหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่ การทำให้


มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิด


แห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละพยาบาทที่เกิดแล้วดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ -

[๕๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน

ทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอย่างนั้นได้เหมือนกัน.

บทว่า โจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ สมาธิในอรหัตผล.

บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่ ปัญญาในอรหัตผล.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓- หน้าที่ 223

วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ปัญญาวิมุตตบุคคล. ผู้ใดหลุดพ้นวิเศษ

แล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุตตบุคคล. ปัญญาวิมุตตบุคคลนั้น

มี ๕ จำพวก คือ พระอรหัตสุกขวิปัสสก ๑ บุคคลผู้ออกจากฌานทั้ง ๔ แล้ว

บรรลุพระอรหัต อีก ๔ จำพวก. ก็บรรดาพระอรหันต์เหล่านั้น แม้องค์หนึ่งที่

ได้วิโมกข์ ๘ หามีไม่. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "น

เทว โข อฏฺฐวิโมกฺเข" ดังนี้ แต่บรรดาอรูปาวจรฌานทั้งหลาย เมื่อมีอยู่

สักหนึ่งฌาน ก็ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตบุคคล ได้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาปัญญาวิมุตตบุคคล
เจโตวิมุตติ

เจต ( จิต , ใจ ) + วิมุตฺติ ( ความหลุดพ้น )

ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะด้วย

กำลังของสมาธิ ที่เป็นโลกียะ ได้แก่ สมาบัติ ๘ ที่เป็นโลกุตระ ได้แก่ ผล

จิต ( มรรคจิตและนิพพานก็ได้ชื่อว่า วิมุตติด้วยโดยปริยาย

ปัญญาวิมุติ

ปญฺญา ( ความรู้ทั่ว ) + วิมุตฺติ ( ความหลุดพ้น )

ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา

ด้วยกำลังของปัญญา ได้แก่ มรรคจิตซึ่งเป็นขณะที่กำลังหลุดพ้น และผลจิตซึ่ง

เป็นขณะที่หลุดพ้นแล้ว

ปัญญาวิมุติที่เป็นพระอริยบุคคล หมายถึง ผู้ที่หลุดพ้นโดยไม่มีองค์ฌาน

ที่เกิดจากการอบรมสมถภาวนาเกิดพร้อมกับมรรคจิต ผลจิตเป็นการหลุดพ้นเพียงฝ่าย

เดียว ( เอกโตภาควิมุติ คือหลุดพ้นจากสังขาร เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ )

อุภโตภาควิมุติ หมายถึง พระอริยบุคคลที่บรรลุทั้ง ๒ ฝ่าย คือมีฌานจิต

เกิดพร้อมกับมรรคจิต ผลจิต ( อรูปฌานเป็นการหลุดพ้นจากรูป โลกุตรธรรมเป็น

การหลุดพ้นจากสังขาร

"ปัญญา"

(ซึ่งรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง)

เป็นปัจจัยที่ทำให้ "ละ-คลาย" โมหะ (ความไม่รู้)

และ ความเห็นผิด.


การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

จะทำให้ "ละ-คลายการยึดถือ" ในสภาพธรรมทั้งหลาย

ซึ่งจะทำให้ "เป็นอิสระ" มากขึ้น.

ควรอ่านพระธรรม

และ พิจารณาให้เข้าใจพระธรรมที่ได้อ่าน

และ

ควรคบหากับผู้ที่สามารถอธิบายให้เราเข้าใจสภาพธรรมได้.


เพื่อการอบรม เจริญปัญญา

เพื่อ รู้ สภาพธรรม ตามความเป็นจริง

ในชีวิตประจำวัน.
พระพุทธศานา

สอนให้ "รู้สภาพที่แท้จริง" ของ การเห็น การได้ยิน

การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส และ การคิดนึก.


พระพุทธศาสนา

สอนให้ "รู้สภาพที่แท้จริง" ของ สิ่งที่ปรากฏทางตา และ เสียงที่ได้ยิน

และ สภาพอื่น ๆ ที่ปรากฏทางทวารทั้ง ๖.

คือ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ.
เราใช้ "คำบัญญัติ" เพื่อบอกให้รู้ว่า เราหมายถึงอะไร.?

เช่น เราพูดว่า........ที่ไคโรร้อน หรือว่า ไฟร้อน เป็นต้น.



ความร้อน เป็นสภาพธรรมที่เราสัมผัสได้จริง ๆ ทางกายทวาร

โดยไม่ต้องเรียกว่าอะไรเลย.?



ความร้อน เป็นสภาพธรรมที่รู้ได้จริงสำหรับทุกคน.

ความร้อน เป็น ปรมัตถธรรม.



เมื่อคุณคิดถึง "ไคโร" หรือ "ไฟ"

คุณคิดเป็น "เรื่องราว".....แต่ไม่มีสภาพธรรมที่จะรู้ได้จริง ๆ


.


จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา

ไม่ใช่ เพื่อให้คิดไตร่ตรองเรื่องโลก

และสร้างเป็นเรื่องราวของโลก และผู้คนต่าง ๆ


จุดมุ่งหมาย คือ ให้อบรมเจริญปัญญา

เพื่อ รู้สภาพธรรมทั้งหลาย เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น

การลิ้มรส การสัมผัส และ การคิดนึก

รวมทั้ง สี เสีง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งที่กะทบสัมผัส)

และ อารมณ์ที่ปรากฏได้ทางใจ (มโนทวาร)


สภาพธรรมเหล่านี้

เป็นสิ่งที่เราสามารถ "พิสูจน์ได้จริง"

เมื่อ"ปรากฏทีละขณะ ๆ"



.
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทางหลายสาย
ถวายข้าวพระพุทธรูป รักษาศีล สักการะพระธาตุ กำหนดอิริยาบทย่อย
ฟังธรรมแต่เช้า ที่ผ่านมาได้ไปซื้อของและพ่อค้าทอนเงินมาเกินก็เลยคืนให้แก่พ่อค้า
และโดนสุนัขแถวบ้านกัด และไม่โกรธเจ้าของสุนัขและให้อภัย
และตั้งใจว่าจะรักษาศีล สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย
เจริญอนุสติหลายอย่างเช่นพุทธานุสติ จาคานุสติ กายคตาสติ
และฟังธรรม ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญสักการะ พระพุทธรูปแกะ
สลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ เราจะนำเรื่องราวและประวัติของสถานที่แห่งนี้มาให้ชมกัน
เขาชีจรรย์เริ่มมีการกล่าวขานมากขึ้น เมื่อได้มีการจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉาย
ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 น้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาส
ทรงครองสิริราชสมบัติปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระพุทธรูปแบบ
ประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ความสูง 109 เมตร


ประวัติการสร้าง จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุดมี
ความสูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจากระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหิน
ฟิลไลต์, หินฉนวน, และหินเมต้าเชิร์ต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอา
วาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงชื่อ
อยู่คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถาน
สำคัญทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533 คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดย
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดข้อยุติสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปาง
มารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความ
สูงขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ "
ขั้นตอนการสร้าง การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้าง
พระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ และส่วนที่สองคือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา
เขาชีจรรย์ การก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชน
ที่เหมาะสมในการก่อสร้างซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์
ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นาย กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ
และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นของ
องค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับ เกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา จากนั้นงานระยะ
ที่สองทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์
เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อ
การมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสง
เลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็
ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่
31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร
และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 80 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร