วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวใจของการปฏิบัติธรรม “เพื่อความพ้นทุกข์” นั้นจะต้องทำความเข้าใจวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
เพราะถ้าไม่รู้วิธีและแนวทางในการปฏิบัติ
ก็จะทำให้เสียเวลาและไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางหรือประสบความสำเร็จได้
มัวแต่ลองผิดลองถูก กว่าจะเข้าใจก็เสียเวลาไปนาน


ครั้นสมัยเมื่อ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านยังทรงพระชนม์อยู่
พระองค์ทรงเน้นสอนและทรงแสดงโทษของการยึดมั่นถือมั่นในอุปทาน“ขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์” พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อการ “ตรัสรู้” เพื่อเข้าสู่มรรคผลนิพพาน
คือพระองค์จะทรงหยิบยก และแสดงธรรมในเรื่อง “อริยสัจสี่” เป็นส่วนมาก
และในการแสดงธรรม “อริยสัจสี่” ในแต่ละครั้งนั้น
จะมีทั้งอุบาสก, อุบาสิกา, พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีทั้งหลายได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นจำนวนมาก


พระองค์ทรงเน้นแสดง “ตัวสมุทัย” คือเหตุให้เกิดทุกข์
ได้แก่ “ตัณหา” ความอยากได้และความไม่อยากได้ในกองขันธ์ 5 ที่รู้สึกเป็นสุข และเป็นทุกข์
เช่น ขันธ์ 5 เป็นสุข ก็ยึดไว้ เวลาขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ก็ผลักไสไม่ยอมเผชิญหน้ากับมัน
จึงเกิดความลำบาก เพราะพยายามที่จะแก้ไขโดย “การวิ่งหนี และวิ่งเข้าหา”
คือ “อยากวิ่งหนีทุกข์ และอยากวิ่งหาสุข”
แต่โดยความเป็นจริงของสัตว์ และมนุษย์นั้น เมื่อถือกำเนิดขึ้นมาแล้วมีแต่กองแห่งทุกข์
ค้นหาความสุขเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ เท่าที่สังเกตดูมีแต่ทุกข์น้อย กับทุกข์มากเท่านั้นเอง
ฉะนั้นจึง “มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป”
รวมแล้วในขณะที่ยังมีชีวิต ก็คือมีขันธ์ 5 เป็นเครื่องอาศัยอยู่ จะต้องอยู่กับกองทุกข์ตลอดกาล


มีวิธีเดียวที่จะไม่ทุกข์ คือการไม่เกิด
เมื่อไม่กลับมาเกิด ก็ไม่มีขันธ์ ถ้าไม่มีขันธ์ก็ไม่มีทุกข์ เพราะทุกข์มีที่ขันธ์ ไม่ใช่มีที่จิต
แต่เหตุที่มาเกิดเพราะความหลง ได้แก่ “อวิชชา” คือความไม่รู้ความจริง
ไปยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน จิตจึงเกาะติดขันธ์ 5 พาให้เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น
และก็มาทุกข์เพราะขันธ์ 5 “อยู่ทุกชาติไป” นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์


เราต้องมาทำลายเหตุของการเกิดเสียก่อน
คือทำลายความยึดมั่นถือมั่นในกองขันธ์ 5 ให้ได้
และจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมา พิจารณากาย-ใจ คือ ขันธ์ 5 นี้
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
เพื่อให้จิตเกิดความเบื่อหน่าย แล้วจิตจะได้ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นใน กาย-ใจ นี้เสียได้
จิตจะไม่หลงไปเกาะติดกับขันธ์ คือถอนตัวเป็นอิสระอยู่เหนือขันธ์
ทั้งที่มีความทุกข์ของขันธ์อยู่ “แต่จิตสบาย” ไม่ทุกข์ไปกับขันธ์
เพราะยอมรับความจริงว่าเกิดมามีขันธ์ก็ต้องทุกข์แบบนี้ "ไม่มีใครหนีพ้น”
จงพิจารณาว่า ก่อนที่เราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ เราก็ไม่มีรูปกายนี้มาก่อน เมื่อเกิดมามีรูปกายแล้วจึงมี

เวทนา คือ ความสุข – ความทุกข์ หรือเฉยๆ ตามมา

สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ตามมา

สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่งตามมา

วิญญาณ คือ ความรับรู้ – รับทราบ ตามมา


เมื่อ รูปกายนี้ดับ เวทนาก็ดับ สัญญาก็ดับ สังขารก็ดับ วิญญาณก็ดับ
จึงไม่เหลือความเป็นเราอยู่ตรงไหนอีกเลย
นี่แหละที่เราหลงกัน จึงเรียกว่า “หลงสมมุติ” หลงของชั่วคราว
ทั้งที่ยึดเอาไว้ ก็ยึดไม่ได้ แก้ไขก็ไม่ได้ ท้ายที่สุดก็แล้วแต่เขาจะเป็นไป
ท้ายที่สุดก็ดับสลาย แล้วก็ตายจากไปไม่มีเหลือ
และขณะอยู่ก็เป็นทุกข์ด้วย ทุกข์ตลอดเวลาที่เราอาศัยเขาอยู่
เมื่อเรามาพิจารณาใน กาย – ใจ โดยความเป็นทุกข์
และเป็นธรรมชาติของเขา เป็นปรากฏการณ์อันหนึ่งของธรรมชาติ
ซึ่งเป็นไปตามสภาวะของเขา โดยไม่มีใครไปบังคับบัญชาเขาได้
แม้แต่ "เรา" ผู้ที่เข้าไปรู้สมมุตินี้ ก็เกิดขึ้นมาแล้ว จากธรรมชาติเช่นกัน
หาได้เป็นตัวเป็นตนไม่ เมื่อเรามาพิจารณา ขันธ์ กับจิตเป็นธรรมชาติที่เกิดดับ
หาความเป็นตัวเป็นตนไม่ได้ จิตก็จะปล่อยวางรูปขันธ์และนามขันธ์เสียได้


จึงต้องทำบ่อยๆ พิจารณาขันธ์ 5 และการทำงานของขันธ์ 5
โดยแยกให้เห็นหน้าที่แต่ละตัวและอาการต่างๆของเขาจนชัดเจน
มองหาและสังเกตอยู่ตลอดเวลา เท่าที่มีเวลา โดยไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิเสมอไป
ทำได้ทุกอิริยาบท เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะการที่เรากำหนดดูอยู่ที่กาย ก็เป็นสมาธิอยู่แล้ว
แต่ไม่ได้หมายเอาความสงบ เพราะความสงบ “ตรัสรู้” ไม่ได้
เพราะขณะที่มีความสงบ ตัวสังขารจะไม่ทำงาน เมื่อสังขารไม่ทำงาน ปัญญาก็ไม่เกิด
ต้องอาศัยการคิดค้น จึงจะรู้ความจริง เมื่อเข้าใจความจริงแล้ว จึงปล่อยวางตัวสังขารอีกที
เพราะคิดค้นจึงรู้ เมื่อรู้แล้วจึงปล่อยวางความคิดไป
เพราะความคิดก็เป็นเพียงสังขารขันธ์ เป็นของสมมุติ เป็นของไม่เที่ยงเช่นกัน


ทำและพิจารณาอย่างนี้ไปนานๆ ก็จะเกิดความชำนาญขึ้นเอง
เมื่อชัดเจนขึ้น จิตจะยอมรับเองและจะปล่อยวางในที่สุด
ถ้ายังไม่ปล่อยวางก็ทำต่อไป จนเข้าไปเห็นความจริง และจิตยอมรับ
ทำซ้ำๆ โดยการหาเราในความเป็นรูป และหาเราในความเป็นนาม
ว่ามีเราอยู่ตรงไหน ให้เน้นดูใน ธาตุทั้งสี่(รูป)ในกายนี้ว่ามีเราอยู่ตรงไหน
ในเมื่อหาเราในธาตุทั้งสี่ที่กาย ไม่มีเราแล้ว ก็ยกนามทั้งสี่(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ขึ้นมาหาว่ามีเราอยู่ตรงไหน เมื่อนามทั้งสี่ไม่มีเราแล้ว ก็ย้อนกลับมาหาเราใน “ตัวผู้รู้”
ว่ามีเราอยู่ตรงไหน ทั้งที่ตัวผู้รู้ ก็เป็น วิญญาณขันธ์ นั่นเอง
ก็ไม่เที่ยงเช่นกัน เมื่อเห็นอย่างนี้จะมีอะไรให้หลง
เพราะทุกอย่างเป็น “สมมุติของขันธ์ 5” ทั้งหมดเลย จึงต้องวางทั้งหมด
จะได้ชื่อว่าปล่อยวางสมมุติ เพื่อเข้าสู่ความเป็นวิมุติ
คือหลุดพ้นจากการยึดมั่นในสมมุติทั้งปวง


แจกหนังสือและซีดีMP3 หลักปฏิบัติสู่ความหลุดพ้น
ทิ้งชื่อและที่อยู่ไว้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้ครับ เราจะจัดส่งให้ถึงบ้าน
http://www.watpachareongtham-chonburi.com


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 115 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร