วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:01
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
และการปล่อยวางของจิตก็ไม่ได้มาเริ่มปล่อยกันตอนท้ายสุดของการปฏิบัติ

แต่จิต มีการปล่อยวางมาทุกระยะของการปฏิบัติ และปล่อยหลายครั้งหลายหน


นี่แหละครับชอบประโยคนี้ ขอบคุณครับ :b8: :b8: :b8:

มีการปล่อยตลอดครับ ปล่อยจากหยาบมาหาละเอียด

แต่ระยะเวลาในการปล่ิอยของแต่ละคนไม่เท่ากันเท่านั้นเอง(สติปัญญา)

.....................................................
รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย วันชัย(อยุธยา) เมื่อ 30 พ.ย. 2009, 18:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันชัย(อยุธยา) เขียน:
เอรากอน เขียน:
งั๊นคุณก็คงต้องนำทีมคุยล่ะ...เพราะดูคุณจะคล่องในเรื่องนี้....


ต้องถามคุณเอรากอนครับ smiley smiley

รอฟังอยู่เหมือนกันครับ.. :b12: :b12: :b12:


อิ อิ อ่านแล้ว ไบกอน ยังงง....

ต้องถามอะไรล่ะจ๊ะ ถามมา จะได้ตอบ

แล้วรอฟังอะไรอยู่จ๊ะ บอกมา จะได้บอก... :b9: :b9:

มาทิ้งคำพูดครึ่ง ๆ กลาง ๆ ให้ไบกอนจินตนาการ ไบกอนไม่กล้าคิดลึก... :b3: :b3:

เดี๋ยวจะลดแลกแจกแถมจนเกินงาม... :b3: :b3:

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิที่ยังนำไปเกิด

สมาธินั้นยังเป็นภัย

ควรจะเจริญตามสมาธิสูตร

เป็นไปเพื่อถอนภพชาติ

ดั้งนี้

เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๒. ทุติยวรรค - สมาธิสูตรที่ ๔
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
สมาธิสูตรที่ ๔
[๒๒๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้
หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง
ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล
เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร ขออรรถแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่าน
พระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลายจงฟังอรรถแห่ง
ภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ
ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี
สัญญา ฯ
ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ
ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่าธรรมชาติ
นั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล
การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ...
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ


สมาธิสูตร
[๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่า
เป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น
อากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญา
ณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน
ฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญา
ยตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ
ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึง
มีแก่ภิกษุหรือหนอแล ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวี
ธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ
สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น
พึงมีแก่ภิกษุ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์... ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่า
เป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้
อย่างไร ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่านั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นแห่งตัณหา
ความปราศจากความกำหนัด ความดับ นิพพานดังนี้ ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญใน
ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ...
ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิ
เห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖


แม้จะได้สมาบัติ 8 แล้ว แต่จิตยังไม่ตั้งมั่นสู้ สมาธิที่พระพุทธเจ้า สอนในสมาธิสูตรได้เลย

การทำรูปฌาน ก็ตาม อรูปฌานก็ตาม ก็ยังไม่สามารถละกิเลสได้

เพราะพระพุทธเจ้าทรงบอกว่าเป็นเพียง เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ไม่ใช่เครื่องขัดเกลากิเลสเลย

แม้แต่อภิญญา 5 ว่า วิเศษแล้วยังไม่ ถือว่า สู้ การละอวิชชา อาสวะได้เลย

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
สมาธิที่ยังนำไปเกิด

สมาธินั้นยังเป็นภัย

ควรจะเจริญตามสมาธิสูตร

เป็นไปเพื่อถอนภพชาติ

ดั้งนี้

เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๒. ทุติยวรรค - สมาธิสูตรที่ ๔
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
สมาธิสูตรที่ ๔
[๒๒๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้
หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง
ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล
เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร ขออรรถแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่าน
พระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลายจงฟังอรรถแห่ง
ภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ
ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี
สัญญา ฯ
ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ
ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่าธรรมชาติ
นั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล
การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ...
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ


สมาธิสูตร
[๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่า
เป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น
อากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญา
ณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน
ฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญา
ยตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ
ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึง
มีแก่ภิกษุหรือหนอแล ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวี
ธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ
สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น
พึงมีแก่ภิกษุ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์... ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่า
เป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้
อย่างไร ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่านั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นแห่งตัณหา
ความปราศจากความกำหนัด ความดับ นิพพานดังนี้ ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญใน
ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ...
ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิ
เห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖


แม้จะได้สมาบัติ 8 แล้ว แต่จิตยังไม่ตั้งมั่นสู้ สมาธิที่พระพุทธเจ้า สอนในสมาธิสูตรได้เลย

การทำรูปฌาน ก็ตาม อรูปฌานก็ตาม ก็ยังไม่สามารถละกิเลสได้

เพราะพระพุทธเจ้าทรงบอกว่าเป็นเพียง เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ไม่ใช่เครื่องขัดเกลากิเลสเลย

แม้แต่อภิญญา 5 ว่า วิเศษแล้วยังไม่ ถือว่า สู้ การละอวิชชา อาสวะได้เลย


ขอบคุณคุณ ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ ที่นำพระสูตรอันมีประโยชน์มาลงให้อ่านครับ :b8:

พระสูตรทั้งสองข้างต้น จะเป็นพระสูตรที่เน้นให้เห็นถึงสมาธิที่เป็น "โลกุตรสมาธิ" เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นสมาธิของผู้ที่สำเร็จหรือบรรลุอริยผลขั้นใดขั้นหนึ่งจนกระทั่งอรหันตผลแล้ว

สมาธิดังกล่าวจะมี "นิพพาน" เป็นอารมณ์ ไม่ใช่สมาธิแบบธรรมดาๆ ทั่วไป

แต่สมาธิโลกุตรก็มีพื้นฐานมาจากโลกียสมาธินั่นแหละที่ทำการพัฒนาไป เรียกว่าต่อยอด ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นโลกียสมาธิก็ตาม ก็หาได้เปล่าประโยชน์หรือเป็นสิ่งที่ด้อยค่าไม่ แต่เป็นสิ่งที่หาได้ยาก ทำได้ยาก ต้องสั่งสมมาถึงจะทำได้ ต้องมีวิริยจิตที่สงบกว่าปกติถึงจะทำได้ และยังใช้เป็นบาทฐานให้แก่การเจริญวิปัสสนาได้อย่างง่ายดาย สภาวะต่างๆ ก็มองให้สังเกตได้ง่ายดุจคนตาดีมองสิ่งที่อยู่ในน้ำใสสะอาดฉะนั้น หรือเปรียบเหมือนกับคนที่เหยียบถึงบันไดขั้นที่ ๙ เพียงขั้นเดียวก็ขั้นที่ ๑๐ ซึ่งเมื่อเริ่มก้าวเท่านั้นก็ถึงได้ขั้นที่ ๑๐ ได้โดยไม่ยากจนเกินไปเลย

ขอให้ผู้ปฏิบัติเพียรพยายามเจริญฌาน เจริญสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นโลกียะก็ตาม หรือโลกุตรก็ตาม ขอให้ผู้ปฏิบัติเพียรทำให้มาก ให้ได้สมาธิสักอย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังดีกว่า...ละเอียดสุขุมกว่าสุขจากกาม หรือไม่ได้สมาธิอะไรเลย...อย่าได้เพียงแต่สั่งสมสุตตะเท่านั้น...ไม่เช่นนั้นเราก็แห้งดุจใบลานเปล่าได้

ขอบคุณสำหรับพระสูตรดีๆ ครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ศิรัสพล เมื่อ 30 พ.ย. 2009, 22:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:01
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ขอมาเล่า แลกกับคุณศิรัสพลครับผม

ผมมีประสบการณ์อยู่ครั้งหนึ่งเมื่อปี47 และไม่ได้สนใจในเรื่องฤทธิ์(เดินปัญญาอย่างเดียว)
แต่วันนี้ได้ไปอ่านเจอข้อความ ข้อความหนึ่งที่เขาบรรยายถึงอภิญญาบางตัว

อ้างอิง คัมมภีร์อภิธัมมัตถสังหคะ ปริเฉทที่9
http://www.watnai.or...1:-1-&Itemid=71

ผมอ่านแล้ว โอ้..มันเป็นอย่างที่เขาเขียนไว้จริงๆ
พออ่านไปปีติก็ซาบซ่านทั่วจิตเลย เพราะสภาวะมันตรงเป๊ะเลย ใช่เลย.

อ้างคำพูด:
ทิพพจักขุญาณ ตาเป็นทิพย์ สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ไกลมากหรืออยู่ในที่กำบังต่าง ๆ นั้นได้ ซึ่งตามปกติแล้วนัยน์ตาอย่างธรรมดาสามัญไม่สามารถที่จะเห็นเช่นนั้นได้เลย เป็นการเห็นทาง
มโนทวารโดยชัดเจนเหมือนกับว่าเห็นด้วยนัยน์ตาจริง ๆ (อย่างฝันก็ไม่ได้เห็นด้วยนัยน์ตา แต่ก็ชัดเจน
แจ่มแจ้งเหมือนกัน) ทิพพจักขุจะเกิดได้ด้วยกสิณ ๔ คือ เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้


เหมือนอย่างที่คัมภีร์พิมพ์ไว้เลยครับ ใช่เลย
สภาวะไหนนะ ถ้ามันตรงกับที่เราเคยผ่านมา มันจะสะดุดเข้าที่ใจเลย ปีติเกิดเลย นี่แหละใช่เลยครับ
ผมว่าผมไม่ได้นิรมิตกายออกจากร่างแน่ (ตอนนั้นผมยังอยู่ในอรูปฌานอยู่เลย)
เพราะตอนนั้นผมเพ่งหรือระลึกเข้าไปในความว่าง(อากาสา) ใช่แล้ว ใช่แล้ว
ผมเข้าไปที่เนวสัญญาแล้วมันไม่มีคำตอบอะไรเลย ผมจึงไปดูที่ความว่างต่อ
คือเพ่งเข้าไปที่ความว่าง(สมถะ) จนจิตวึบ...ไป
แล้วก็ค่อยๆวืด ค่อยๆวืด แล้วก็วืดออกเองเลยครับ
ในตอนนั้นไม่มีควมรู้สึกทางกายเลย เห็นกายนั่งตัวตรงๆอยู่ต่อหน้าครับ
ใช่แล้วครับ ใช่เลยเห็นทางมโนทวาร เพราะผมรู้สึกว่า มีแต่ตัวรู้ตัวเดียว ที่มองไปที่สิ่งอื่น
มองห้องก็มองทะลุได้ มองทะลุผ่านทุกสิ่งได้หมดจริงๆครับ เป็นอย่างนั้นจริงๆ
มองไปที่ใดชัดมากๆ ชัดกว่าตาเนื้ออีก มันเป็นอย่างนั้นจริงๆครับ
มองไปที่บ้านที่อยู่ห่างจากที่ผมอยู่60ก.ม ก็เห็นชัด ชัดสว่างใสกว่าที่เราเห็นด้วยตาเนื้อ

เรื่องนี้ตอนแรกผม คิดว่าตนถอดจิตออกมา
เพราะทราบมาว่าแค่เข้าถึงอุปจารสมาธิก็สามารถถอดจิตได้แล้ว

แต่มาพิจารณาดู จึงรู้ว่า ผมไม่ได้ถอยจิตมาที่อุปจารสมาธินี่นา
ตอนนั้นผมอยู่ที่อรูปฌานอยู่นะ (อยู่ที่เนวสัญญา) พอดูที่เนวสัญญามันระลึกอะไร ก็ไม่มีคำตอบเลย
ผมจึงเพ่งเข้าไปในความว่างของจักวาลต่อ เพ่งจนจิตวึบ...ไป
แล้วก็เป็นอย่างที่เล่ามาแต่ต้น

นี่แหละครับคือประสบการณ์ที่เป็นผลพรอยได้จากการทำฌานครับ
เป็นการเข้าฌานได้ครั้งแรก และก็เห็นผลในครั้งแรกเลย
เป็นของเก่าที่พอทำถึงจุด มันก็เกิดให้เห็นน่ะครับ

ตั้งแต่เด็ก ผมจะมีตัวนิ่งอยู่ตัวหนึ่งที่ติดอยู่กับจิตผมมา ตั้งแต่จำความได้
เวลาที่ฟุ้งหรืออยากให้จิตสงบ ผมแค่ระลึกหรือเพ่งไปที่ตัวนิ่งตัวนั้น
จิตผมก็จะค่อยๆสงบลงๆ (จุดนี้แหละครับ ที่ทำให้ผมเรียนหนังสือเก่ง)

ตั้งแต่เด็ก ถ้าผมเห็นภาพหรือวีดีโอที่เกี่ยวกับจักวาลหรือความว่าง
จิตผมจะชอบมากๆ ชอบเป็นพิเศษ

ท่านเคยดูเรื่ององคุลีมาลไหมครับ
ตอนที่องคุลีมาลเข้าปฐมฌานได้น่ะ
แล้วเขาทำภาพ ที่จิตกำลังรวมน่ะครับ

จิตผมน้อมระลึกถึงอารมณ์นั้นขึ้นมาเองทันทีเลยครับ
จิตวิ่งเข้าไปสงบนิ่งเองเลยครับ.

ถ้ามีอะไรเกี่ยวกับฌาน อย่าลืมมาเล่าให้กันฟังนะครับ.

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




53.gif
53.gif [ 150.33 KiB | เปิดดู 3718 ครั้ง ]
ไบกอนไปกะเขาได้ทุกงานน๊อ ขอชมๆ ลูกสาวใครหนอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
สมาธิที่ยังนำไปเกิด

สมาธินั้นยังเป็นภัย

ควรจะเจริญตามสมาธิสูตร

เป็นไปเพื่อถอนภพชาติ

ดั้งนี้

เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๒. ทุติยวรรค - สมาธิสูตรที่ ๔
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
สมาธิสูตรที่ ๔
[๒๒๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้
หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง
ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล
เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร ขออรรถแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่าน
พระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลายจงฟังอรรถแห่ง
ภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ
ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี
สัญญา ฯ
ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ
ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่าธรรมชาติ
นั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล
การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ...
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ


สมาธิสูตร
[๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่า
เป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น
อากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญา
ณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน
ฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญา
ยตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ
ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึง
มีแก่ภิกษุหรือหนอแล ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวี
ธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ
สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น
พึงมีแก่ภิกษุ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์... ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่า
เป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้
อย่างไร ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่านั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นแห่งตัณหา
ความปราศจากความกำหนัด ความดับ นิพพานดังนี้ ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญใน
ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ...
ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิ
เห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖


แม้จะได้สมาบัติ 8 แล้ว แต่จิตยังไม่ตั้งมั่นสู้ สมาธิที่พระพุทธเจ้า สอนในสมาธิสูตรได้เลย

การทำรูปฌาน ก็ตาม อรูปฌานก็ตาม ก็ยังไม่สามารถละกิเลสได้

เพราะพระพุทธเจ้าทรงบอกว่าเป็นเพียง เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ไม่ใช่เครื่องขัดเกลากิเลสเลย

แม้แต่อภิญญา 5 ว่า วิเศษแล้วยังไม่ ถือว่า สู้ การละอวิชชา อาสวะได้เลย


ขอบคุณคุณ ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ ที่นำพระสูตรอันมีประโยชน์มาลงให้อ่านครับ :b8:

พระสูตรทั้งสองข้างต้น จะเป็นพระสูตรที่เน้นให้เห็นถึงสมาธิที่เป็น "โลกุตรสมาธิ" เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นสมาธิของผู้ที่สำเร็จหรือบรรลุอริยผลขั้นใดขั้นหนึ่งจนกระทั่งอรหันตผลแล้ว

สมาธิดังกล่าวจะมี "นิพพาน" เป็นอารมณ์ ไม่ใช่สมาธิแบบธรรมดาๆ ทั่วไป

แต่สมาธิโลกุตรก็มีพื้นฐานมาจากโลกียสมาธินั่นแหละที่ทำการพัฒนาไป เรียกว่าต่อยอด ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นโลกียสมาธิก็ตาม ก็หาได้เปล่าประโยชน์หรือเป็นสิ่งที่ด้อยค่าไม่ แต่เป็นสิ่งที่หาได้ยาก ทำได้ยาก ต้องสั่งสมมาถึงจะทำได้ ต้องมีวิริยจิตที่สงบกว่าปกติถึงจะทำได้ และยังใช้เป็นบาทฐานให้แก่การเจริญวิปัสสนาได้อย่างง่ายดาย สภาวะต่างๆ ก็มองให้สังเกตได้ง่ายดุจคนตาดีมองสิ่งที่อยู่ในน้ำใสสะอาดฉะนั้น หรือเปรียบเหมือนกับคนที่เหยียบถึงบันไดขั้นที่ ๙ เพียงขั้นเดียวก็ขั้นที่ ๑๐ ซึ่งเมื่อเริ่มก้าวเท่านั้นก็ถึงได้ขั้นที่ ๑๐ ได้โดยไม่ยากจนเกินไปเลย
ขอให้ผู้ปฏิบัติเพียรพยายามเจริญฌาน เจริญสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นโลกียะก็ตาม หรือโลกุตรก็ตาม ขอให้ผู้ปฏิบัติเพียรทำให้มาก ให้ได้สมาธิสักอย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังดีกว่า...ละเอียดสุขุมกว่าสุขจากกาม หรือไม่ได้สมาธิอะไรเลย...อย่าได้เพียงแต่สั่งสมสุตตะเท่านั้น...ไม่เช่นนั้นเราก็แห้งดุจใบลานเปล่าได้

ขอบคุณสำหรับพระสูตรดีๆ ครับ :b8:




สวัสดีงับ

จากที่คุณ ศิริพลได้แสดงความ คิดเห็น ข้างต้น ผมขอ อนุโมทนา

และยอมรับว่า เป็นผู้รู้ ในลานธรรมจักร ตัวจริง เพราะผู้รู้แจ้งในสมาธิ และ ปัญญา อันเป็นโลกุตรสมาธิมีน้อยมาก

ความจริงพระสูตรข้างบน ผมไม่ได้ยกมาเองหรองับ

ความจริงแล้ว พระอาจารย์ท่านสอนผมแบบนี้

เลยอยากให้ทุกท่านได้อ่านบ้าง

เพราะผม ปฏิบัติแล้วรู้สึกว่า เป็นยอดมาก

ท่านสอนผมว่า ลมหายใจ หรือ การภาวนา อานาปาณสติ จะสงบก็ช่างมัน จะไม่สงบก็ช่างมัน ให้ยกจิต

ขึ้นเหนือมัน ผมก็ทำตามไม่เป็น แล้วสุดท้าย พอทำเป็นก็เข้าใจเลยว่า สมาธินี้ไม่ธรรมดา เหนือฌาน 8

ไปอีก ความจริงผมก็เคยทำฌาน ทำแล้วจิตรวมลงเร็ว เหมือนตกเหว ทำไปสุดท้ายบางที่ก็เหลือแต่จิตผู้

รู้ บางทีก็ทำไปแล้วเอาอากาศเป็นอารมณ์บ้าง เอาวิญญาณเป็นอารมณ์บ้าง เอาความไม่มีอะไรเป็น

อารมณ์บ้าง ทำจนไปถึงสภาวะที่ หลายท่านบอกว่าเป็นที่สูงสุดของสมถะแล้ว ก็ยังไม่ถึงที่พ้นทุกข์

ผมไปเจอพระอาจารย์ วันแรก ท่านก็สอนผม ให้ทำลายสัญญาเวทนา ในองค์ฌานบ้าง ให้ยกจิตเหนือ

องค์ฌาน พิจารณาเอาองค์ฌานมาเป็นไตรลักษณ์ แล้วสุดท้ายท่านก็บอกให้ผมทำสมาธิตัวนี้

ผมทำแล้วก็ทราบได้เลยว่า สมาธินี้ไม่ธรรมดา ทำแล้วจิตมันไม่เอาธรรมคู่ ทั้งข้างสงบ ไม่สงบ มันรู้

เฉยๆ ไม่เข้าไปข้องในอารมณ์ เป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นได้นานมาก

จึงรับรองเลยว่า เหนือ ฌานสมาบัติทั้ง 8 เลย

จึงนำมาเล่าสู่กันฟังงับ


แต่ขอบอกเลยนะงับ

ว่า สมาธินี้ไม่จำเป็นต้องทำฌานมาก่อนเลย แต่ถ้าเข้าถึงสมาธิตัวนี้แล้ว จะนำไปต่อฌานโลกียะ ได้ง่ายมาก

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไบกอนไปกะเขาได้ทุกงานน๊อ ขอชมๆ ลูกสาวใครหนอ


อิ อิ เจ๊กลากไป ไทยลากมาก ก็มั่ว ๆ ไป หน่ะ...จานป้อ...
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไปด้วยไม่หว๋าย คือ บาลี... อุ อุ.... :b32: :b32: :b32:



ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:

ความจริงพระสูตรข้างบน ผมไม่ได้ยกมาเองหรองับ

ความจริงแล้ว พระอาจารย์ท่านสอนผมแบบนี้

เลยอยากให้ทุกท่านได้อ่านบ้าง

เพราะผม ปฏิบัติแล้วรู้สึกว่า เป็นยอดมาก

ท่านสอนผมว่า ลมหายใจ หรือ การภาวนา อานาปาณสติ จะสงบก็ช่างมัน จะไม่สงบก็ช่างมัน ให้ยกจิต

ขึ้นเหนือมัน ผมก็ทำตามไม่เป็น แล้วสุดท้าย พอทำเป็นก็เข้าใจเลยว่า สมาธินี้ไม่ธรรมดา เหนือฌาน 8


ไปอีก ความจริงผมก็เคยทำฌาน ทำแล้วจิตรวมลงเร็ว เหมือนตกเหว ทำไปสุดท้ายบางที่ก็เหลือแต่จิตผู้

รู้ บางทีก็ทำไปแล้วเอาอากาศเป็นอารมณ์บ้าง เอาวิญญาณเป็นอารมณ์บ้าง เอาความไม่มีอะไรเป็น

อารมณ์บ้าง ทำจนไปถึงสภาวะที่ หลายท่านบอกว่าเป็นที่สูงสุดของสมถะแล้ว ก็ยังไม่ถึงที่พ้นทุกข์

ผมไปเจอพระอาจารย์ วันแรก ท่านก็สอนผม ให้ทำลายสัญญาเวทนา ในองค์ฌานบ้าง ให้ยกจิตเหนือ

องค์ฌาน พิจารณาเอาองค์ฌานมาเป็นไตรลักษณ์ แล้วสุดท้ายท่านก็บอกให้ผมทำสมาธิตัวนี้

ผมทำแล้วก็ทราบได้เลยว่า สมาธินี้ไม่ธรรมดา ทำแล้วจิตมันไม่เอาธรรมคู่ ทั้งข้างสงบ ไม่สงบ มันรู้

เฉยๆ ไม่เข้าไปข้องในอารมณ์ เป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นได้นานมาก

จึงรับรองเลยว่า เหนือ ฌานสมาบัติทั้ง 8 เลย

จึงนำมาเล่าสู่กันฟังงับ


แต่ขอบอกเลยนะงับ


ว่า สมาธินี้ไม่จำเป็นต้องทำฌานมาก่อนเลย แต่ถ้าเข้าถึงสมาธิตัวนี้แล้ว จะนำไปต่อฌานโลกียะ ได้ง่ายมาก


เออ...เน๊อะ อ่านข้อความของคุณขงเบ้ง ก็ยังแปลก ๆ ใจ คือ วันก่อนเราเพิ่งจะเดา ๆ สุ่มสี่สุ่มห้าเกี่ยวกับเรื่อง
ธรรมค่ง ธรรมคู่ อะไรประมาณนี้อยู่ เพราะเราเห็นมันเผยอุบายมาทางจิต...
ก็ยังคิด ๆ อยู่ว่า เราช่างเผลอพร่ำอะไรไป..หว๋า สงสัยจะหน้าแตก แน่ ๆ เลย...หว๋า
แต่ก็เจอคุณหยิบคำสอนหลวงพ่อมากล่าว...
เอ้อ...ค่อยยัง..ซั่ว... ว่าที่มั่ว ๆ พร่ำไป..ยังพอมีแวว...

... มีจริง ด้วยแฮะ...
ประเภท.....ปฏิบัติมาแบบมั่วซั่ว...แต่ดันฟลุ๊ค......
คือมันมาแบบว่า สมาธิของเรามันไม่ได้เรื่องง่ะ...ทำดีสู้คนอื่น ๆ ไม่ได้
คนอื่นเขามีเรื่องมาคุยเยอะแยะ แต่เราเหมือนไม่ได้เอาอ่าว...

ด้วยความน้อยใจตัวเองเกิดมาโง่เง่าในการปฏิบัติเช่นนี้ ...
เราก็เลย ปล่อยเลย...ไม่เอาแล้ว กำหนดลมหายใจแบบปล่อย ๆ วาง ๆ สบาย ๆ
จะสงบก็ช่างมัน จะไม่สงบก็ช่างมัน ให้ยกจิตอยู่เหนือมัน
โง่....แต่เจือก....ฟลุ๊ค...หง่ะ.... :b9: :b9: ช่างเป็นความโง่ที่น่าภูมิใจ.... :b14: :b14:
แล้วนี่เราจะโง่อีกนานมั๊ยนี่.... :b32: :b32:


:b14: :b9: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 02 ธ.ค. 2009, 09:12, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ไบกอนไปกะเขาได้ทุกงานน๊อ ขอชมๆ ลูกสาวใครหนอ


อิ อิ เจ๊กลากไป ไทยลากมาก ก็มั่ว ๆ ไป หน่ะ...จานป้อ...

แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไปด้วยไม่หว๋าย คือ บาลี...อุ อุ...



อันที่จริง พุทธธรรมนั้น ถ้ารู้เข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้ศัพท์ธรรมคำบาลี

สักคำเดียว ก็เป็นพุทธธรรม

แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี

ก็หาใช่เป็นพุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเสีย



อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รู้เข้าใจด้วยกันแล้ว คำศัพท์กลับเป็นเครื่องหมายรู้ที่ช่วยสื่อถึงสิ่งที่เข้าใจ

ได้โดยสะดวก พูดกันง่าย เข้าใจทันที

หรือแม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละ

จะเป็นสื่อแห่งการสอนที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว


หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช้คำศัพท์เลย ในที่สุดก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น เกิดขึ้น

ใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้นอาจจะนำไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น


โดยนัยนี้ คำศัพท์ อาจเป็นสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมก็ได้


เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พึงนำศัพท์ธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน คือ รู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง

รู้กาลควรใช้ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดถือคลั่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หรือแม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละ

จะเป็นสื่อแห่งการสอนที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว


หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช้คำศัพท์เลย ในที่สุดก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น เกิดขึ้น

ใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้นอาจจะนำไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น


โดยนัยนี้ คำศัพท์ อาจเป็นสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมก็ได้


เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พึงนำศัพท์ธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน คือ รู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง

รู้กาลควรใช้ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดถือคลั่ง


:b8: :b20: :b8: :b20:

ขอบคุณค่ะ... ทุกวันนี้ ไบกอน ก็พยายามหา :b2: พระไตรมานั่งศึกษา ค่ะ...
เพราะ ไบกอน ยังเข้าใจว่าตนยังโง่อยู่มากนัก ยังมีกิจที่ต้องถากถางอยู่มากนัก...
และน่าจะยังมีความเข้าใจหลาย ๆ อย่างที่ต้องชำระให้ถูกต้องตามธรรมแห่งพระพุทธองค์อยู่มากนัก...

เพราะความสุ่มสี่สุ่มห้าที่ทำ ๆ มา ไบกอน ไม่รู้จริง ๆ ว่าตนได้ออกนอกลู่นอกทางไปบ้างแค่ไหน..
ก็คงมีแต่ธรรมของพระพุทธองค์ ที่เราต้องใฝ่ใจศึกษาเองนี่ล่ะ
ที่จะทำให้เราตอบกับตัวเองได้อย่างมั่นใจ

ไบกอน ก็กำลังเพียรที่จะนำธรรมของพระพุทธองค์ มาสำรวจตน และ จะพยายามปรับความเห็นของตน
ให้สอดคล้องกับธรรมของพระพุทธองค์อยู่ค่ะ...ยืมพระไตรมาจากวัด
บอกหลวงพ่อ ขอเอาไปศึกษาทีละเล่ม ท่านใจดี หยิบมาให้ 5 เล่ม :b2: :b2: :b32:
เดี๋ยวว่าจะเอาไปคืน เพราะ load จาก net ไว้หมดแล้ว...
แต่ความเห็นแก่นอนเข้าแทรก ก็เลยยังกระต้วมกระเตี๊ยม... :b9: :b9:

ไบกอบ รู้สึกขอบคุณ และซาบซึ้ง กับคำแนะนำของ จานป้อ ทุกครั้งที่จานป้อช่วยชี้แนะ...
มีจานป้อเป็นกัลยานมิตรที่น่ารัก คอยสะกิด ไบกอน จะตั้งใจเพียรค่ะ...

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 07:32
โพสต์: 95

แนวปฏิบัติ: หลักวิถีธรรมชาติ - อานาปานสติ,บริกรรมภาวนา
ชื่อเล่น: นุ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...เท่าที่อ่านมานะครับ ต้องขอกราบขออภัยเป็นอย่างยิ่ง ถ้าบางข้อความอาจจะไม่ถูกต้อง คืออย่างงี้ครับ ตัวผมเองนั้น ได้ยึดถือแนวทาง-ปฎิปทา ตามการชี้แนวทางของ หลวงปู่(พ่อ)พุธ ฐานิโย
แห่งวัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ดังนี้ครับ
- ท่านเคยกล่าวไว้ว่า การปฎิบัติสมาธิภาวนานั้น อย่าไปติดวิธีการ อย่าไปยึดถือวิธีการเป็นใหญ่
- การปฎิบัตินั้นให้เอาความรู้สึก ลักษณะอาการของจิตในสมาธิ มาอธิบาย
เพราะว่า ท่านกล่าวว่า คำว่า สมาธินั้นเป็นสัจจะธรรม ใครจะปฎิบัติอย่างไร
หรือวิธีการอย่างไร ลักษณะ-อาการของจิตในสมาธิ มีแนวโน้มเหมือนกันหมด
- การปฎิบัติสมาธิภาวนานั้น ให้ใช้หลัก2อย่างคือ
... ภาวิตา - ภาวนาให้มากๆ
... พุลีกตา - อบรมให้มากๆ กระทำให้ชำนิชำนาญ
- การปฎิบัติสามาธิภาวนานั้น ถ้าผู้ฎิบัติถึงระดับของ อัปปนาสมาธิ หรือ ฌาณ๔ ได้บ่อยๆเข้า มันเป็นฐานสร้างพลังงานให้กับจิต
อย่างมหาศาล และผู้ปฎิบัติไม่ควรร้อนใจ ควรบำเพ็ญสมาธิ-บำเพ็ญฌาณ
ให้มันแก่กล้า แล้วภูมิจิตภูมิใจ จะก้าวหน้าไปเอง

ซึ่งตัวผมเองนั้น ได้ยึดถือแนวทางการชี้นำนี้
ถึงแม้ว่าภูมิจิตภูมิใจจะก้าวหน้าไปช้าๆก็ตาม

ขอได้โปรดได้ลองเอา ไฟล์นี้ไปทดลองรับฟังรับชม ดูก่อนนะครับ
http://www.mediafire.com/?o2zz4tdnynt
อยากให้หลายๆท่านได้นำไปรับฟังรับชมบ้าง เพื่อจะได้เกิดประโยชน์
กับตัวเองบ้าง พอสมควร โดยเฉพาะคุณศิรัสพล ลองรับไปฟังดูนะครับ

ขออนุโมทนา ...ขอเจริญในธรรมทุกๆท่านครับ

.....................................................
จงทำศีลให้เป็น อธิศีล
ทำจิตให้เเป็น อธิจิต
ทำปัญญาให้เป็น อธิปัญญา


พื้นฐานคุณธรรมความเป็นมนุษย์คือ ศีล๕ กุศลกรรมบถ๑๐ หิริโอตัปปะ และความกตัญญู กตเวทิตา

จุดสูงสุดของการรู้ธรรม เห็นธรรม ก็คือ
...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ไบกอนไปกะเขาได้ทุกงานน๊อ ขอชมๆ ลูกสาวใครหนอ


อิ อิ เจ๊กลากไป ไทยลากมาก ก็มั่ว ๆ ไป หน่ะ...จานป้อ...
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไปด้วยไม่หว๋าย คือ บาลี... อุ อุ.... :b32: :b32: :b32:



ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:

ความจริงพระสูตรข้างบน ผมไม่ได้ยกมาเองหรองับ

ความจริงแล้ว พระอาจารย์ท่านสอนผมแบบนี้

เลยอยากให้ทุกท่านได้อ่านบ้าง

เพราะผม ปฏิบัติแล้วรู้สึกว่า เป็นยอดมาก

ท่านสอนผมว่า ลมหายใจ หรือ การภาวนา อานาปาณสติ จะสงบก็ช่างมัน จะไม่สงบก็ช่างมัน ให้ยกจิต

ขึ้นเหนือมัน ผมก็ทำตามไม่เป็น แล้วสุดท้าย พอทำเป็นก็เข้าใจเลยว่า สมาธินี้ไม่ธรรมดา เหนือฌาน 8


ไปอีก ความจริงผมก็เคยทำฌาน ทำแล้วจิตรวมลงเร็ว เหมือนตกเหว ทำไปสุดท้ายบางที่ก็เหลือแต่จิตผู้

รู้ บางทีก็ทำไปแล้วเอาอากาศเป็นอารมณ์บ้าง เอาวิญญาณเป็นอารมณ์บ้าง เอาความไม่มีอะไรเป็น

อารมณ์บ้าง ทำจนไปถึงสภาวะที่ หลายท่านบอกว่าเป็นที่สูงสุดของสมถะแล้ว ก็ยังไม่ถึงที่พ้นทุกข์

ผมไปเจอพระอาจารย์ วันแรก ท่านก็สอนผม ให้ทำลายสัญญาเวทนา ในองค์ฌานบ้าง ให้ยกจิตเหนือ

องค์ฌาน พิจารณาเอาองค์ฌานมาเป็นไตรลักษณ์ แล้วสุดท้ายท่านก็บอกให้ผมทำสมาธิตัวนี้

ผมทำแล้วก็ทราบได้เลยว่า สมาธินี้ไม่ธรรมดา ทำแล้วจิตมันไม่เอาธรรมคู่ ทั้งข้างสงบ ไม่สงบ มันรู้

เฉยๆ ไม่เข้าไปข้องในอารมณ์ เป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นได้นานมาก

จึงรับรองเลยว่า เหนือ ฌานสมาบัติทั้ง 8 เลย

จึงนำมาเล่าสู่กันฟังงับ


แต่ขอบอกเลยนะงับ


ว่า สมาธินี้ไม่จำเป็นต้องทำฌานมาก่อนเลย แต่ถ้าเข้าถึงสมาธิตัวนี้แล้ว จะนำไปต่อฌานโลกียะ ได้ง่ายมาก


เออ...เน๊อะ อ่านข้อความของคุณขงเบ้ง ก็ยังแปลก ๆ ใจ คือ วันก่อนเราเพิ่งจะเดา ๆ สุ่มสี่สุ่มห้าเกี่ยวกับเรื่อง
ธรรมค่ง ธรรมคู่ อะไรประมาณนี้อยู่ เพราะเราเห็นมันเผยอุบายมาทางจิต...
ก็ยังคิด ๆ อยู่ว่า เราช่างเผลอพร่ำอะไรไป..หว๋า สงสัยจะหน้าแตก แน่ ๆ เลย...หว๋า
แต่ก็เจอคุณหยิบคำสอนหลวงพ่อมากล่าว...
เอ้อ...ค่อยยัง..ซั่ว... ว่าที่มั่ว ๆ พร่ำไป..ยังพอมีแวว...

... มีจริง ด้วยแฮะ...
ประเภท.....ปฏิบัติมาแบบมั่วซั่ว...แต่ดันฟลุ๊ค......
คือมันมาแบบว่า สมาธิของเรามันไม่ได้เรื่องง่ะ...ทำดีสู้คนอื่น ๆ ไม่ได้
คนอื่นเขามีเรื่องมาคุยเยอะแยะ แต่เราเหมือนไม่ได้เอาอ่าว...

ด้วยความน้อยใจตัวเองเกิดมาโง่เง่าในการปฏิบัติเช่นนี้ ...
เราก็เลย ปล่อยเลย...ไม่เอาแล้ว กำหนดลมหายใจแบบปล่อย ๆ วาง ๆ สบาย ๆ
จะสงบก็ช่างมัน จะไม่สงบก็ช่างมัน ให้ยกจิตอยู่เหนือมัน
โง่....แต่เจือก....ฟลุ๊ค...หง่ะ.... :b9: :b9: ช่างเป็นความโง่ที่น่าภูมิใจ.... :b14: :b14:
แล้วนี่เราจะโง่อีกนานมั๊ยนี่.... :b32: :b32:


:b14: :b9: :b9:


ช่วยอธิบายข้อความข้างล่างด้วยนะงับ

อ่านแล้ว ยังไม่เข้าใจงับ

เออ...เน๊อะ อ่านข้อความของคุณขงเบ้ง ก็ยังแปลก ๆ ใจ คือ วันก่อนเราเพิ่งจะเดา ๆ สุ่มสี่สุ่มห้าเกี่ยวกับเรื่อง
ธรรมค่ง ธรรมคู่ อะไรประมาณนี้อยู่ เพราะเราเห็นมันเผยอุบายมาทางจิต...
ก็ยังคิด ๆ อยู่ว่า เราช่างเผลอพร่ำอะไรไป..หว๋า สงสัยจะหน้าแตก แน่ ๆ เลย...หว๋า
แต่ก็เจอคุณหยิบคำสอนหลวงพ่อมากล่าว...
เอ้อ...ค่อยยัง..ซั่ว... ว่าที่มั่ว ๆ พร่ำไป..ยังพอมีแวว...

... มีจริง ด้วยแฮะ...
ประเภท.....ปฏิบัติมาแบบมั่วซั่ว...แต่ดันฟลุ๊ค......
คือมันมาแบบว่า สมาธิของเรามันไม่ได้เรื่องง่ะ...ทำดีสู้คนอื่น ๆ ไม่ได้
คนอื่นเขามีเรื่องมาคุยเยอะแยะ แต่เราเหมือนไม่ได้เอาอ่าว...

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
ช่วยอธิบายข้อความข้างล่างด้วยนะงับ

อ่านแล้ว ยังไม่เข้าใจงับ

เออ...เน๊อะ อ่านข้อความของคุณขงเบ้ง ก็ยังแปลก ๆ ใจ คือ วันก่อนเราเพิ่งจะเดา ๆ สุ่มสี่สุ่มห้าเกี่ยวกับเรื่อง
ธรรมค่ง ธรรมคู่ อะไรประมาณนี้อยู่ เพราะเราเห็นมันเผยอุบายมาทางจิต...
ก็ยังคิด ๆ อยู่ว่า เราช่างเผลอพร่ำอะไรไป..หว๋า สงสัยจะหน้าแตก แน่ ๆ เลย...หว๋า
แต่ก็เจอคุณหยิบคำสอนหลวงพ่อมากล่าว...
เอ้อ...ค่อยยัง..ซั่ว... ว่าที่มั่ว ๆ พร่ำไป..ยังพอมีแวว...

... มีจริง ด้วยแฮะ...
ประเภท.....ปฏิบัติมาแบบมั่วซั่ว...แต่ดันฟลุ๊ค......
คือมันมาแบบว่า สมาธิของเรามันไม่ได้เรื่องง่ะ...ทำดีสู้คนอื่น ๆ ไม่ได้
คนอื่นเขามีเรื่องมาคุยเยอะแยะ แต่เราเหมือนไม่ได้เอาอ่าว...


ไม่เข้าใจตรงไหน...เอ่ย... :b16: :b16:

ไม่เข้าใจตรงที่ว่า คนพูด(เรา)มันโง่ หรือมันฉลาดกันแน่...รึเปล่า...
ยืนยัน ว่า เราซื่อบื้อ...จริง ๆ :b16: เชื่อเถอะ...
เพียงแต่เราจับหลักง่าย ๆ และ ก็แค่นั้นล่ะ หลัก ๆ สุ่มสี่ สุ่มห้า..มาอย่างนั้น...

ถ้าไม่เข้าใจเรื่องการเผยอุบายมาทางจิต...
จะให้เราใช้คำพูดว่าอย่างไรล่ะ... ก็คล้าย ๆ กับ จิต สอน จิต..
ซึ่งเราก็ยังไม่เคยกล้าพูดอะไรมากไปกว่านี้
เพราะถ้าเราพูด มันจะเป็นภาษาติ๊ดชึ่ง...ซึ่งก็คงจะมีแต่เฉพาะเราเท่านั้นล่ะมั๊ง ที่ใช้
เพราะ มันเป็นสภาวะที่เราสำรวจตัวเรา เฝ้ามองตัวเรา และเราเห็นเช่นนั้น ตามรูปแบบของเรา
ไม่ได้กางแผนที่ ไม่ได้กางตำราเดิน...
และเราก็ได้สัมผัสสภาวะแปลก ๆ พอประมาณ
และความซื่อบื้อของเราอีกนั่นล่ะ....เราก็คิดว่ามันเป็นอาการทางจิตประสาท :b14: :b14:

แต่โรคจิตของเรา ก็ดันมีธรรมที่สอดคล้องกันมาสนับสนุนตลอด...
อย่างเช่นคำสอนอาจารย์ที่คุณยกมาเป็นต้น...
เราก็เลยคากิ คาใจ มาตลอดว่า ระหว่าง ศรีธัญญา กับ วัด
เราจะตัดสินใจก้าวเท้าเดินเข้าประตูไหนดี... :b12:

เราก็เลยมาเดินหา...ข้อมูลในการเลือกเส้นทางที่นี่...
และเราก็ได้คำตอบว่า ก่อนที่จะเดินเข้าประตูไหน
เราควรใส่ใจที่จะเอาพระไตรฯ มาศึกษาดูก่อน...อิ..อิ..

:b16: :b16: :b16: :b16:

เมื่อคุณเอาข้อความมาลง เราจึงได้อดที่จะเปรยกับตัวเองไม่ได้

ว่าเรา มันประหนึ่งเหมือน สามล้อถูกหวย... :b9: :b9: :b9:

อะไร...ที่คุณยังสงสัยใน...สามล้อ...คนนี้ อีกจ๊ะ...

:b12: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 03 ธ.ค. 2009, 17:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างวันหนึ่ง ในสภาวะเรากำลังหลับตาและผ่อนคลาย จิตก็กำลังเบา ๆ สบาย ๆ

และอยู่ ๆ เราก็นิมิตเห็นถึงภาพความสัมพันธ์

ของตัวเรา แกนกลางของโลก และ สิ่งที่อยู่ ณ ขอบจักรวาล...

เราไม่รู้ว่าเรียกว่าอย่างไร แต่มันเป็นระนาบความสัมพันธ์ที่ขึ้นต่อกัน...มีอิทธิพลต่อกัน

สิ่งที่อยู่ ณ ขอบจักรวาล ได้ส่งอิทธิพลต่อ .... ความเป็นไปของ...

สิ่งนี้ผุดขึ้นมาเมื่อประมาณสิบปีก่อน ... :b14: :b14: :b14:

เราก็ไม่ได้คิดอะไร เพราะมันเป็นเรื่องที่...เกินความสามารถเราจะพิสูจน์ แต่เราจำได้...


และนี่คือ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่เพิ่งมีการตีพิมพ์ลงใน pocket book เมื่อเร็ว ๆ นี้

"การอิงอาศัย"
การทดลอง "ลูกตุ้มฟูโกต์"

ฟูโกต์ นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสต้องการพิสูจน์ว่าโลกหมุนรอบแกนตัวเอง
โดยการแขวนลูกตุ้มจากเพดานโบสถ์แพนธีออน
ทันทีที่ลูกตุ้มเคลื่อนที่ ลูกตุ้มจะปรากฎพฤติกรรมที่แปลกประหลาด เมื่อเวลาผ่านไป ลูกตุ้มจะค่อย ๆ เปลี่ยนทิศทางการแกว่งตัว
คือ ถ้าลูกตุ้มตั้งต้นแกว่งจากทิศเหนือ-ใต้ หลังจากผ่านไปสามชั่วโมง
ลูกตุ้มจะแกว่งในแนวทิศตะวันออก-ตก
จากการคำนวณเราจึงรู้ว่า หากนำลูกตุ้มไปแขวนบริเวณขั้วโลกเหนือ
หรือขั้วโลกใต้
ลูกตุ้มจะหมุนรอบเป็นวงกลมสมบูรณ์ภายในเวลา 24 ชม.
ความเคลื่อนไหวที่เห็นเป็นภาพลวงตา
ที่จริงแล้วลูกตุ้มแกว่งในทิศเดียวกันตลอด แต่โลกต่างหากที่...หมุน

จากการค้นพบตรงจุดนี้มันเลยเถิดไปยัง "การเคลื่อนไหวที่สัมบูรณ์"
จากแนวความคิดเดิมของ กาลิเลโอ
กาลิเลโอ เห็นว่า การเคลื่อนไหวมีอยู่ ก็ต่อเมื่อสัมพันธ์กับบางสิ่งเท่านั้น
คือ โลกหมุน ก็เมื่อสัมพันธ์กับสิ่งที่ ไม่หมุน
คำถาม "เราจะหาบางสิ่งที่ว่านั้น จากที่ไหน"


ซึ่งถ้าเราจะทดสอบการไม่เคลื่อนที่ของจุดอ้างอิงใด ๆ
เราก็แค่แกว่งลูกตุ้มไปทางดาวดวงนั้น ถ้าดาวดวงนั้นไม่เคลื่อนที่
ลูกตุ้มจะแกว่งไปทางดาวดวงนั้นตลอด
แต่ถ้าดาวเคลื่อนที่ มันจะค่อย ๆ
เคลื่อนตัวห่างออกจากการแกว่งของลูกตุ้มอย่างเห็นได้ชัด

หลังจากผ่านไปสักสองปี ก็เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้กับบรรดาดาวฤกษ์ใกล้ ๆ
ยิ่งวัตถุมีระยะห่างออกไปมากเท่าไร
เวลาของการแกว่งของลูกตุ้ม...ยิ่งนานขึ้น
ยิ่งการขยับห่างออกไป(ของวัตถุอ้างอิง)
การเคลื่อนตัวห่างออกจากแนวแกว่งยิ่งน้อยลงจนเข้าใกล้ศูนย์มากขึ้น

เฉพาะกาแลคซีที่ไกลที่สุด ที่ตั้งอยู่ที่ขอบเอกภพที่เรามองเห็น
ซึ่งห่างออกไปหลายพันล้านปีแสงเท่านั้น
ที่จะไม่ขยับออกจากระนาบตั้งต้นของการแกว่งลูกตุ้มเลย

บทสรุปของการทดลองนี้
ลูกตุ้มของฟูโกต์ ไม่มีพฤติกรรมตามสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวมัน
แต่กลับขึ้นอยู่กับ กาแลคซี่ที่อยู่ห่างออกไปไกลที่สุด
หรือถ้าจะพูดอีกอย่างก็คือ ขึ้นอยู่กับเอกภพทั้งหมด


"สิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา
เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล"

..... :b55: :b55: :b55: :b55: .....

หลายเหตุผล จากการเห็นเช่นนั้นเป็นประจำ เราจึงสนใจติดตามผลงานทางวิทยาศาสตร์
และเราก็เจอเรื่องที่มันคาบเกี่ยว... เราถึงเริ่มลองมาศึกษาทางด้านศาสนา...เพิ่มเติม...

..... :b55: :b55: :b55: :b55: ......

:b16: :b16: :b16: :b16: :b16: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 105 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร