วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ธรรมของฆราวาส ๔

๑. สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน.
๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน.
๓. ขันติ อดทน.
๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของ ๆ ตนแก่คนที่ควรให้ปัน.


เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ควรมีธรรมอะไรเป็นหลักปฏิบัติ ครอบครัวจึงจะอยู่เป็นสุข ?
ควรมี ฆราวาสธรรม ธรรมของผู้ครองเรือน คือ
๑. สัจจะ สัตย์ซื่อแก่กัน
๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
๓. ขันติ อดทน
๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของ ๆ ตนแก่คนที่ควรให้ปัน.

ธรรมของฆราวาส เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ?
เรียก ฆราวาสธรรม มี ๔ อย่าง คือ
๑. สัจจะ สัตย์ซื่อแก่กัน
๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
๓. ขันติ อดทน
๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งขอๆตนแก่ผู้ที่ควรให้ปัน.


เพราะเหตุไร จึงต้องมีธรรมสำหรับฆราวาส ?
เพราะในวงการของฆราวาสวิสัยคนจะอยู่ตามลำพังคนเดียวไม่ได้ ย่อมต้องอาศัยกัน และกันช่วยเหลือกิจของกันและกัน เป็นธรรมดาของคนหมู่มากย่อมจะอดทะเลาะกันไม่ได้ จึงต้องมีเครื่องรัดรึงใจไว้ธรรมที่จะบรรเทาโทษเหล่านั้นให้ลดน้อย หรือสงบจึงต้องมีฆราวาสธรรมคือธรรมสำหรับฆราวาส.

สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน หมายถึงอะไร ?
หมายถึง ความสัตย์ซื่อต่อบุคคล เช่น ระหว่าง สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน หรือ เจ้านายกับลูกน้อง เป็นต้น ต่างคนต่างมีสัจจะต่อกัน ประพฤติด้วยน้ำใจจริง ประพฤติเที่ยงธรรมในหน้าที่ ย่อมมีความสุขความเจริญร่วมกัน.

สัจจะ ซื่อสัตย์ต่อกัน จัดเป็นฆราวาสธรรมอย่างไร ?
สัจจะชื่อว่ามีอยู่ในผู้ใด คณะใด ย่อมยังผู้นั้นคณะนั้น ให้รักใคร่กันสมานไมตรีภาพให้ยืนนาน
สัจจะจึงเป็นฆราวาสธรรมประการหนึ่ง.

ทมะ รู้จักข่มจิตของตน คืออะไร ?
คือ การบังคับใจในเมื่อสังกิเลสธรรมเกิดขึ้นครอบงำ ไม่ให้หุนหัน
หรือ พูด ทำลงไปตามอำนาจโทสะ .

ทมะ รู้จักข่มจิตของตน นับเป็นฆราวาสธรรมได้อย่างไร ?
คนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมวดหมู่จะให้ดีเหมือนกันหมดไม่ได้ ย่อมต้องมีอัธยาศัยแตกต่างกัน
คนผู้ไม่รู้จักข่มจิตไว้ ถือเอาแต่ใจเป็นประมาณก็มีแต่คนรังเกลียด หาใครรักใคร่ไม่ได้
การข่มจิตของตนจึงเป็นฆราวาสธรรมประการหนึ่ง


ขันติ ความอดทน คืออะไร ?

คือ ความอดกลั้น ได้แก่ ความยั้งใจหยุด ไม่ให้ผลุนผลัน.


ขันติ อดทน เป็นฆราวาสธรรมได้อย่างไร ?
ผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ถ้าไม่อดทนปล่อยไปตามอำนาจแห่งกิเลสย่อมทำให้เกิดทะเลาะกันบ้าง
ถ้ามีขันติบังคับใจไว้ ย่อมเป็นผลดี ขันติจึงเป็นฆราวาสธรรมอีกประการหนึ่ง.

จาคะ การสละให้ปันสิ่งของๆ ตน แก่คนที่ควรแบ่งปัน เป็นฆราวาสธรรมได้อย่างไร ?
การเผื่อแผ่กันอุดหนุนกันตามมีตามได้ เป็นไปเพื่อไมตรีกันและกัน
ทำความรักใคร่ให้หมั่นคงยิ่งขึ้น การให้ทานย่อมผูกไมตรีของคน
ผู้เป็นฆราวาสจึงควรบำเพ็ญตนให้เป็นผู้โอบอ้อมตามมีตามได้ จักได้เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
การสละให้ปันของๆ ตนแก่คนที่ควรให้ปันจึงเป็นฆราวาสธรรมอีกประการหนึ่ง.

ทานกับจาคะ แปลว่าอะไร ความหมายต่างกันอย่างไร ?
ทาน แปลว่า การให้เป็นการให้โดยหวังผลตอบแทน
จาคะ แปลว่า การเสียสละ

ความหมายต่างกัน คือ
ทาน ถ้า มาคู่กับจาคะ หมายถึงการให้วัตถุภายนอก
จาคะ หมายถึง การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกภายใน คือ กิเลส

จาคะ ถ้ามาศัพท์เดียว หมายความได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ
หมายถึงสละวัตถุภายนอกก็ได้ หมายถึงการสละสิ่งที่เป็นข้าศึกภายในก็ได้


:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 27 ต.ค. 2009, 12:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ช่วยจัดหน้าให้อ่านง่ายขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บริจาค ที่เข้าใจกันว่าให้ของนั้น

ที่จริงเวลาเราจะให้ของใครสักคนหนึ่ง แม้แต่ของที่เราไม่ใช้ เราจะรู้สึกว่าเหนียวๆ
ไม่อยากให้ ตัดใจไม่ลง
แม้กระทั้งของที่ไม่ใช้ก้ตาม ก็ยังไม่อยากให้

เวลาเราได้ให้ของไปแล้ว ของนั้นเรียกว่าทาน
ส่วนความรู้สึกเหนียวๆที่หวงแหนของอยู่ แล้วเราได้ทำการ จาคะ หรือสละ ออกไปได้

ดังนั้นการให้ของที่หวง ที่ให้แล้วไม่เดือดร้อนทั้งผู้ให้ผู้รับ
จึงเป็นทั้งทานและจาคะ เป็นพลังสะสมที่เรียกว่า ทานบารมี

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๔๕๒] ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน

ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุกับคุณชาติสยามและมหาราชันย์ด้วยครับ

(ตัวหนังสือด้านบนมันเป็นภาษาอังกฤษหมด
วรานนท์เลยทำอย่างท่านชาติสยามไม่เป็นขอบคุณด้วยครับ)


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร