วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 21:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐาน เป็น การอบรมเจริญไตรสิกขา


เพราะว่า

ในขณะที่ สติ ระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.


ขณะนั้น

เป็น "ศีล" อย่างละเอียด

คือ

"อธิศีลสิกขา"


ซึ่ง เป็นขณะที่ สติ ระลึก รู้ลักษณะของจิต เจตสิก รูป

เป็นการรู้ลักษณะของ กุศลธรรม และ อกุศลธรรม ทางกาย ทางวาจา

ก่อนที่จะเกิดการกระทำใด ๆ ทางกาย ทางวาจา.



.




สติปัฏฐาน เป็น "อธิจิตสิกขา"


เพราะว่า

เป็นความตั้งมั่น ของ "เอกัคคตาเจตสิก" (สมาธิ)

ในอารมณ์ ที่กำลังปรากฏ ซึ่ง เกิด-ดับ อย่างรวดเร็ว.


.


สติปัฏฐาน เป็น "อธิปัญญาสิกขา"


เพราะว่า

ขณะที่สติปัฏฐานเกิด

ขณะนั้น เป็น "ปัญญา"ที่กำลังพิจารณา ศึกษา

และ รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง........โดยละเอียด.

นิยามของคำว่า "ธรรม"


ความเข้าใจใน "ธรรม"

มิได้เป็นภาระหน้าที่ ของผู้หนึ่งผู้ใด.


แต่

เป็นผลมาจากการที่ผู้ใด"เห็นคุณค่า"

และ "คุณประโยชน์" ของ "ธรรม" ว่า


หากไม่มีการศึกษา "ธรรม" ให้เข้าใจจริง ๆ


ต่อไป......พระพุทธศาสนา

ก็จะค่อย ๆ เลือนหายไป.!


เพราะว่า

"ธรรม" เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง

การศึกษาและเข้าใจ "ธรรม"

จึงต้องอาศัย การพิจารณา ไตร่ตรอง

โดยเป็น....... "ผู้ตรงต่อเหตุและผล"

บางคน แสวงหา "ธรรม"

โดยไปสู่สถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง

เพื่อแสวงหา "ธรรม"




โดยไม่เข้าใจ ว่า "ธรรม"

มีปรากฏ อยู่ตลอดเวลา

ตั้งแต่ เกิด......จนตาย.


ที่ใกล้ที่สุด ที่เป็น "ธรรม"

คือ ที่ตัวเอง

ซึ่งเป็น "ธรรม" ทั้งหมด

ทุกสิ่งทุกอย่างภายนอก

ก็เป็น ธรรม" ทั้งนั้น.


เมื่อไม่รู้....ก็ไปแสวงหา "ธรรม"

เพราะไม่เข้าใจ "ธรรม" นั่นเอง.


.


ต่อเมื่อใด ที่ได้ฟังพระธรรม

ได้เข้าใจ "ธรรม"

ก็จะเข้าใจ ว่า

"ธรรม" ไม่ต้องแสวงหา.


และไม่มีบุคคลหนึ่ง บุคคลใด

จะสามารถสร้าง "ธรรม" ชนิดหนึ่งชนิดใด ขึ้นมาได้.


เพราะว่า

ขณะนี้...."ธรรม" เกิดขึ้นแล้ว

ตามเหตุ ตามปัจจัย

ข้อความ ในอังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ธัมมปริยายสูตร ข้อ ๑๙๓


พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่า



"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

เราจักแสดงธรรมปริยาย

อันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสน

แก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี

เราจักกล่าว"



ภิกษุเหล่านั้นทูลรับคำของพระผู้มีพระภาคฯ แล้ว

พระผู้มีพระภาคฯ ได้ตรัสว่า



"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมปริยาย อันเป็นเหตุของความกระเสือกกระสน เป็นไฉน.?


ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน

เป็นผู้รับผลของกรรม

เป็นผู้มีกรรม เป็นกำเนิด

มีกรรม เป็นพวกพ้อง

และ มีกรรม เป็นที่พึ่งอาศัย

กระทำกรรมใดไว้ เป็นกรรมดีหรือชั่วก็ตาม

ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น"


.


"กรรม"

คือ เจตนา ที่เป็นกุศล หรือ อกุศล

ซึ่งเป็น "เหตุ" ให้กระทำกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม.


และถึงแม้ว่า กรรมนั้น จะดับไปแล้ว

กำลังของกรรม ที่ได้กระทำแล้ว

ก็เป็นปัจจัยให้เกิด"ผล" ตามควรแก่ "เหตุ" (คือ กรรมนั้น ๆ)


.


การให้ผลของกรรมนั้น

ให้ผลได้ทั้งในชาติที่ได้กระทำกรรมนั้น

หรือ ในชาติหน้า หรือ ในชาติต่อ ๆ ไป ก็ได้.


เพราะไม่ใช่ว่า กรรม ทุก กรรม

จะให้ผลเฉพาะในชาตินี้ทั้งหมด

ทั้งนี้

ย่อมเป็นไปตามกำลังของกรรมนั้น ๆ


.


นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ก็ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใด สามารถบอกได้ ว่า

จิตเห็น หรือ จิตได้ยิน.....ในขณะนี้

เป็น ผลของกรรม

ในชาตินี้ หรือ ชาติไหน.!


.




เมื่อพูดถึง กรรม และ การให้ผลของกรรม.

เช่น การได้ลาภ เสื่อมลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น

ตามความเป็นจริงนั้น

เพราะว่า "จิต" ซึ่งเห็น หรือ ได้ยิน เป็นต้น

จึงมีการรับผลของกรรม

เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น.


.


เพราะฉะนั้น

การรับผลของกรรมมี ๕ ทาง

คือ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย.

ซึ่งหมายถึง

จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น

จิตลิ้มรส จิตรู้โผฏฐัพพะ.


.


"ธรรม"

เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์

เพราะว่า

มีอยู่....เกิดอยู่....ปรากฏอยู่.!

แต่ถ้าไม่ศึกษา และไม่มีมีความเข้าใจ เรื่องของ "ธรรม"

ก็จะไม่มีทางรู้จัก "ธรรม" ได้เลย.!


เช่น การรับผลของกรรม

เกิดเมื่อไร.....ขณะไหน.!


เมื่อพูดแต่เพียงผิวเผิน ว่า เมื่อทำกรรมก็ต้องรับผลของกรรม

แต่บอกได้ไหม ว่า

กรรมอะไร และ ผลของกรรมอะไร.?




.


พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงไว้ว่า

การรับผลของกรรม......ในชาตินี้

เริ่ม ขณะแรก คือ.......ขณะเกิด.

(ขณะปฏิสนธิจิต)


.


ทุกคนเกิดมาต่างกัน

และไม่ใช่มีแต่มนุษย์เท่านั้น

ยังมีสัตว์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งมี จิต เจตสิก รูป

ซึ่งเป็น ผลของกรรม ที่ต่างกัน.


ฯลฯ


กรรม เป็น เหตุ

วิบาก เป็น ผลของกรรม.


ซึ่งไม่มีใครหนีพ้นกรรม และ ผลของกรรม.

เช่น


ขณะที่เห็น.!

จักขุวิญญาณ เป็น "ผลของกรรม"

ซึ่งเป็นชั่วขณะที่สั้นมาก.


และเมื่อ จักขุวิญญาณ ดับไปแล้ว

หลังจากนั้น

ก็เป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต

ซึ่ง ไม่ใช่ ผลของกรรม.


แต่ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต

เป็น "เหตุ" ที่สะสมใหม่.!


ถ้า อกุศลจิต มีกำลัง

จนทำให้เกิดการกระทำทุจริตกรรม

ขณะนั้น เป็น อกุศลกรรม.............

ถ้าเป็นฝ่ายกุศล ก็เป็น กุศลกรรม.


.


ซึ่ง กุศลกรรม และ อกุศลกรรม

ที่กระทำแล้วนั้น

เป็น "เหตุ"

ที่จะทำให้เกิด "ผลของกรรม" ต่อไป.
การที่จะรู้จักตัวจริงของสภาพธรรม

ที่เราเรียนกันมานาน และเรียนจากคัมภีร์ต่าง ๆ นั้น


จะเป็นการรู้จริง ก็ต่อเมื่อ

สติ เกิด ระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.


.


เมื่อ ความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรม เพิ่มขึ้น

ชื่อ ทั้งหมดในพระไตรปิฎก ก็จะกระจ่าง

ตามปัญญาของผู้ที่อบรม.


.


แม้แต่ พยัญชนะสั้น ๆ ที่ว่า


"ไม่มี...แล้วมี...แล้วหามีไม่"


.


เมื่อครู่นี้ ไม่มีเสียง...แล้วมีเสียง....แล้วเสียงก็หมดไป.!


ไม่มี...แล้วมี...แล้วหามีไม่.!




.




สภาพธรรม ทั้งนามธรรม และ รูปธรรม

เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป "อย่างรวดเร็วมาก"


เพราะฉะนั้น

เมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เกิดขึ้น.........


ความทรงจำเรื่องราวของสิ่งนั้น

ก็ ปกปิด ไม่ให้รู้ถึงการเกิดขึ้น และ ดับไปของสภาพธรรมทั้งหลาย

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.


และ ยังคงทรงจำ

ว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เที่ยง.!




.


การฟังธรรม

ต้องไตร่ตรอง ให้ลึกลงไปอีก

ไม่ใช่ฟังเรื่องใด แล้วทิ้งไปเลย.!

แต่ทุกคำ ที่ฟังเข้าใจ

ต้องเก็บไว้ เพื่อที่จะได้เข้าใจให้สอดคล้องกับข้อความต่อไปอีก.


แม้แต่คำว่า

"ไม่มี...แล้วมี...แล้วหามีไม่"

ก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มาก.!


.


ถ้าจะไม่พูดตามตำรา คือ ไม่ใช้คำภาษาบาลี

แต่ ใช้คำที่เราสามารถเข้าใจได้

พยัญชนะนี้ หมายความว่า


เมื่อไม่มี....แล้วทำไมจึงมี "สิ่งที่ปรากฏ" ได้.!


นี่เป็น ความน่าอัศจรรย์ ของ "ธาตุ"

ซึ่ง ไม่ใช่เรา.




ธาตุแข็ง มี ธาตุเสียง มี ธาตุกลิ่น มี

ธาตุร้อน ธาตุเย็น มี

ธาตุโกรธ ธาตุโลภะ มี

ฯลฯ


ทุกอย่างที่มีจริง เป็น "ธาตุ"

เพราะ คำว่า "ธรรม" กับคำว่า "ธาตุ"

มีความหมายอย่างเดียวกัน.!


เป็น "ธาตุ"

เพราะเหตุที่ไม่มีเจ้าของ ไม่เป็นของใคร

และ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล"


แต่ละลักษณะ ของ ธาตุต่าง ๆ มีลักษณะเฉพาะของตน

เช่น ธาตุเห็น ไม่ใช่ธาตุได้ยิน ธาตุแข็ง ไม่ใช่ธาตุกลิ่น

เป็นต้น.




.


เมื่อใด....................................

ที่ "รู้ชัด" ตามความเป็นจริง ว่า

ทุกอย่างที่มีจริงเป็นเพียง "ธาตุ" แต่ละอย่าง ๆ เท่านั้น

ทั้งหมด เป็น"ธาตุ" ไม่มีใครเลย.!

เมื่อนั้น.........ก็เป็น "ปัญญา"

ที่รู้ ความจริงของสภาพธรรม.


.


เพราะฉะนั้น

เมื่อมีปัจจัยให้สิ่งใดเกิด...สิ่งนั้นก็เกิด ฯ

สภาพธรรมเกิดขึ้น เพราะ "เหตุ-ปัจจัย"


.


หน้าที่ของ "สติ" นั้น

เมื่อเกิดขึ้น

ก็ระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.

และ

"ปัญญา" รู้ ลักษณะของสภาพธรรม

คือ นามธรรม หรือ รูปธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น.!


"สติปัฏฐาน"

จึงเป็น การระลึก รู้ ตรงลักษณะของ นามธรรม และ รูปธรรม

ที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน.


"สติปัฏฐาน"

จึงไม่ใช่เรื่องทำ แต่เป็น "ความเข้าใจ"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 139 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร