วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 22:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ในภูมิที่มีขันธ์ห้า เช่น มนุษย์ เทวดา นามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยรูป ไม่ได้ แต่ในภูมิที่มีขันธ์สี่ คือ อรูปพรหมภูมิ

นามธรรมเกิดขึ้นโดย ไม่อาศับรูปก็เกิดขึ้นได้
เวทนาเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีผัสสะไม่ได้ เพราะนามธรรมเหล่านี้ต้องอาศัยกันและกัน

เกิดขึ้น(อัญญมัญญปัจจัย)ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และผัสสะเป็นเหตุใกล้ของ

เวทนา อีกอย่างหนึ่งขระที่จิตเกิดขึ้น ต้องมีนามธรรมคือเจตสิกอย่างน้อย เจ็ดประเภท

ถ้าเราเห็นมด เรารู้ว่ามดเป็นสัตว์ แต่เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย และ

พยาธิจะจัดเป็นสัตว์ไหม

พวกสัตว์ที่อยู่ในร่างกายคน เล่ม 65 หน้า 242

เหล่าสัตว์ต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อมเกิด ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะนอนเจ็บไข้
ตายตกไปในจอมปลวกนั้นเอง. จอมปลวกนั้น เป็นเรือนตลอด เป็นส้วม
เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้ ฉันใด

แม้ร่างกายของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น ก็ฉันนั้น มีกิมิชาติ (สัตว์เล็กๆน้อยๆ) ประมาณแปดหมื่นเหล่า
โดยการนับเหล่า อย่างนี้คือ เหล่าสัตว์ที่อาศัยผิว เหล่าสัตว์ที่อาศัยหนัง
เหล่าสัตว์ที่อาศัยเนื้อ เหล่าสัตว์ที่อาศัยเอ็น เหล่าสัตว์ที่อาศัยกระดูก
เหล่าสัตว์ที่อาศัยเยื่อในกระดูก ย่อมเกิดถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
นอนกระสับกระส่ายด้วยความไข้ตายตกไปภายในกายนั่นแหละ
โดยไม่คิดนึกว่า นี้เป็นกายของผู้มีอานุภาพมาก ที่คุ้มครองรักษาแล้ว
ประดับตกแต่งแล้ว กายแม้นี้ย่อมเป็นเรือนตลอด เป็นส้วมเป็นโรงพยาบาล
และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้
ดังนั้นจึงนับว่า จอมปลวก. (เปรียบร่างกายคนเหมือนจอมปลวก)



การทำกิจกรรมประจำวันที่จะต้องทำของมนุษย์ทั้งหลายนั้นไม่ถือว่าผิดศีล
เพราะขอบเขตของศีลข้อนี้ ท่านหมายเอา สัตว์ที่สามารถมองเห็นตัวของมันได้ด้วยตาเนื้อของคนธรรมดานี้ และมีเจตนาที่จะฆ่่ามันด้วยและสัตว์นั้นมันก็ตายด้วยความพยายามนั้นด้วย แบบนี้ถึงจะผิดศีล

การฆ่าสัตว์ที่เป็นการผิดศีลต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
1. สัตว์มีชีวิต
2. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต ***
3. จิตคิดจะฆ่า
4. พยายามที่จะฆ่า
5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

*** หมายถึง 1. เห็นด้วยตา 2. ได้ยินด้วยหู หมายถึง ได้ยินเสียงของสัตว์นั้น 3. ทราบได้ด้วยสัมผัสทางกาย - ลิ้น - จมูก 4. รู้ด้วยใจ (ฤทธิ์ทางใจ)

ชีวิตก็คือจิต จิตที่เกิดดับแต่ละขณะสืบต่อกันไป จิตเป็นธรรรมชาติสะสม สะสมลาภ

ยศ สักการะ สรรเสริญหรือเปล่า ไม่ใช่เลย แต่จิตเป็นธรรมชาติที่สะสม กุศลและอกุศล

ดังนั้นที่แสวงหากัน ก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถติดตัวไปได้เลย ต้องทิ้งไปทุกขณะเพราะจิต

ไม่ได้สะสมลาภ สักการะ ทรัพย์สินไปเลย แต่สิ่งที่ติดตัวไปได้หรือสะสมที่จิตทุกขณะ

นั้นคือ กุศลและอกุศลที่ได้ทำไว้เท่านั้น

ตราบใดที่เป็นปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลสก็ย่อมมีความยินดีพอใจ แสวงหา ต้องการในสิ่ง

ที่ไม่ประเสริฐ เช่น ทรัพย์ บุตร ภรรยา ที่กล่าวว่าไม่ประเสริฐเพราะมีความเกิด แก่ เจ็บ

ตายเป็นธรรมดา ไม่ได้เป็นสาระของชีวิตจริงๆ

แม้พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงว่า ทรัพย์ที่บุคคลสะสมไว้คิดว่าจะเป็นประโยชน์ในภาย

หน้า ทรัพย์เหล่านั้นก็หาสำเร็จประโยชน์กับผู้นั้นเสมอไปเพราะบุคคลนั้นต้องจากโลก

นี้ไปหรือบุคคลนั้นสิ้นบุญ

ผู้มีปัญญา รวบรวมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการเจริญกุศล ทำบุญเพราะบุญเท่านั้นที่

เป็นประโยชน์ในภพหน้า เมื่อรู้ความจริงว่าจิตเป็นสภาพธรรมที่สะสม สะสมกุศลและ

อกุศลเท่านั้น จึงไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกๆประการและสำคัญที่สุด สะสมความ

เข้าใจในพระธรรมที่เป็นความเห็นถูก

กำลังจากไปทุกขณะ ที่คิดว่ามีลาภ สักการะ ชื่อเสียง ก็แค่คิดเท่านั้นเองและก็หมด

ไป พร้อมๆกับความไม่รู้ในสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา สะสมในสิ่งที่

ควรสะสมคือกุศลและความเข้าใจพระธรรมดีที่สุด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๕

“ญาติก็ดี มิตรก็ดี หรือสหายทั้งหลาย เป็นที่ต้านทานของบุคคลผู้จะตาย ไม่มี,

ทายาททั้งหลาย ก็ขนเอาทรัพย์ของผู้นั้นไป ส่วนสัตว์ ย่อมไปตามกรรมที่ทำไว้,

ทรัพย์อะไร ๆ ย่อมติดตามคนตายไปไม่ได้”

(ข้อความตอนหนึ่งจาก...รัฏฐปาลสูตร)

บุคคลผู้ที่ยังมีอวิชชา ยังมีความไม่รู้ เป็นเครื่องปกปิดไว้ จึงทำให้มีความติดข้อง

ยินดี พอใจ ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทำให้ไม่เห็นว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏชั่วคราว

แล้วก็หมดไปเท่านั้น กล่าวได้ว่าเป็นการแสวงในสิ่งที่ไม่ประเสริฐ เพราะได้มาแล้ว

ทำให้ติดข้องยินดีพอใจ และที่สำคัญ เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว บุคคลไม่สามารถนำเอา

ทุกอย่างเหล่านี้ไปในภพหน้าได้ เลย ต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้ มีแต่การสะสม ทั้งที่ดี

และไม่ดี เท่านั้นจะติดตัวไปได้

ในชาตินี้ ยังมีกิเลสมาก และปัญญาก็ยังไม่เจริญ ถ้าไม่ได้สะสมเหตุที่ดีบ่อย ๆ

เนือง ๆ โดยเฉพาะการฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน แล้ว ก็ย่อม

จะเป็นโอกาสของอกุศลที่พร้อมจะเกิดขึ้นครอบงำจิตใจอยู่ตลอดเวลา และอาจจะตาย

ไปพร้อมกับความไม่รู้ก็เป็นได้ ดังนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ จึงควรอย่างยิ่งที่จะสะสมลาภ

ที่ประเสริฐ นั่นก็คือ การฟังพระธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญา ทำให้มีความเข้าใจถูก

เห็นถูก ไปตามลำดับ

และอีกประการหนึ่งที่ควรพิจารณา คือ สิ่งที่ได้มาแล้วเกิดความติดข้อง ยินดี พอใจ

กับการที่ได้มีความเข้าใจถูกแล้วไม่ติดข้องในสิ่งที่ได้มา ทั้งสองอย่างนี้ มีความต่างกัน

กล่าวคือ การไม่ติดข้อง ย่อมจะประเสริฐกว่า เพราะเหตุว่า จะหลีกเลี่ยงลาภ ยศ

สรรเสริญ สุข นั้น ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นไปตามเหตุปัจจัย แต่ว่ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง

รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่ชั่วคราวจริง ๆ เกิดแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม

เมื่อไม่ติดข้อง จึงไม่ทำให้มีความเดือดร้อนใจ อีกด้วย, ทั้งหมดทั้งปวง นี้จึงเป็นเรื่อง

ของความเข้าใจถูก เห็นถูกจริง ๆ (ปัญญา) ซึ่งเกิดจากการฟังพระธรรม นั่นเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร