วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ในการเจริญสติในการเจริญวิปัสสนานั้นต้อง

มีกิเลสมาอยู่เสมอจนกว่าผู้ที่เจริญวิปัสสนานั้น



เป็นพระอรหันต์จึงจะปราศจากกิเลสได้

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าท่านนั้นเดินอยู่ที่สวนผลไม้แห่งหนึ่ง

ในระหว่างนั้นท่านได้เจริญสติกำหนดรู้

ในระหว่างนั้นเองเกิดอาการคิดเรื่องๆหนึ่ง

และทำให้จิตนั้นฟุ้งซ่าน นั่นคือโมหะ

แล้วท่านก็คิดอีกว่าทำไมต้องคิดด้วย

ต้องพยายามหยุดคิดแต่ ไม่สามารถหยุดได้ ความอยากที่จะไม่ให้คิดคือ โลภะ

แล้วก็เกิดความไม่พอใจว่าทำไมถึงทำให้หยุดคิดไม่ได้นะ ความไม่พอใจนั้นแหละคือโทสะ



บางครั้งสติเผลอ นั่นแหละคือ โมหะ

เห็นไหมว่า ปุถุชน

ยังมีกิเลสอยู่ คือโลภะโทสะและโมหะนั่นเอง

วิธีแก้ก็คือต้องมีการเจริญสติเยอะๆพร้อมกับฟังธรรมควบคู่ไปด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


" ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ "


ท่องซ้ำ ๆ และปฏิบัติตามข้อความนี้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานนะครับ
ความฟุ้งซ่าน หรือ ราคะ โทสะ โมหะ จะสงบระงับไปครับ และจิตจะเป็นสมาธิมีปีติสุขในธรรมเกิดขึ้นครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:


ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าท่านนั้นเดินอยู่ที่สวนผลไม้แห่งหนึ่ง

ในระหว่างนั้นท่านได้เจริญสติกำหนดรู้

ในระหว่างนั้นเองเกิดอาการคิดเรื่องๆหนึ่ง

และทำให้จิตนั้นฟุ้งซ่าน นั่นคือโมหะ

แล้วท่านก็คิดอีกว่าทำไมต้องคิดด้วย

ต้องพยายามหยุดคิดแต่ ไม่สามารถหยุดได้ ความอยากที่จะไม่ให้คิดคือ โลภะ

แล้วก็เกิดความไม่พอใจว่าทำไมถึงทำให้หยุดคิดไม่ได้นะ ความไม่พอใจนั้นแหละคือโทสะ






ขออนุญาต เสนอ แลกเปลี่ยน ข้อมูล และ ความคิดเห็น น่ะครับ



อ้างคำพูด:
ในระหว่างนั้นเองเกิดอาการคิดเรื่องๆหนึ่ง

และทำให้จิตนั้นฟุ้งซ่าน นั่นคือโมหะ


ขาดสติ จิตจึงฟุ้งซ่าน น่าจะเป็นโมหะ...เห็นด้วยครับ



อ้างคำพูด:
แล้วท่านก็คิดอีกว่าทำไมต้องคิดด้วย

ต้องพยายามหยุดคิดแต่ ไม่สามารถหยุดได้ ความอยากที่จะไม่ให้คิดคือ โลภะ



คำว่า อยาก ที่เราท่านใช้ในภาษาไทยนี้ คงต้องย้อนกลับไปยังพระบาลีเดิมด้วยว่า มาจาก คำๆใด



1.ถ้าอยากออกจากทุกข์ แบบมีสติ ปัญญา กำกับ และ มุ่งประกอบเหตุอันควร ท่านเรียกว่า ฉันทะ.

อยากแบบนี้ พาพ้นทุกข์...

แต่ ต้องอยากให้ถูก คือ ต้องเพียรประกอบเหตุด้วย หาใช่มุ่งแต่จะเอาผลโดยไม่ประกอบเหตุ

(และ ต้องไม่เผลอปฏิบัติต่ออกุศลในจิตด้วย วิภวตัณหา คือ เมื่อรู้สึกตัวว่ามีอกุศลในจิตก็ไม่รังเกียจอกุศลเหล่านั้นจนเกินเหตุ อันทำให้เครียด หรือ เป็นทุกข์ไปกับมัน)



2.ถ้าอยากแบบมุ่งประสงค์เวทนา และจะต้องการสิ่งสำหรับเอามาเสพเสวยเวทนา หรือสิ่งที่ปรนเปรอตัวตน พัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องตัวตน เอาอัตตาเป็นศูนย์กลาง และนำไปสู่ปริเยสนา หรือ การแสวงหา
ท่านเรียกว่า ตัณหา(ไปในทิศทางเดียวกันกับคำว่า โลภะ)



เสนอสดับ

อย่าเอาความอยากที่ชั่วร้าย มาปะปน

ความอยากที่เป็นกุศลนั้น เราต้องมี


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


http://www.openbase.in.th/node/7842



และ จากพุทธธรรม

"....คำถามและคำค่อนว่า 2 ข้อดังกล่าว กระทบหลักการของพระพุทธศาสนาตลอดสาย

ตั้งแต่การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน จนถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

หรือตั้งแต่ระดับโลกียะจนถึงระดับโลกุตระ

สาเหตุให้เกิดคำถามและคำกล่าวหาเช่นนี้ เกิดจากความเข้าใจพร่ามัวสับสนบางอย่าง

ซึ่งมีอยู่มากในหมู่ชาวพุทธเอง

ความสับสนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับถ้อยคำด้วย

จุดสำคัญ คือ เข้าใจคำว่า ความอยากเป็นตัณหาทั้งหมด

และเข้าใจต่อไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละความอยาก

หรือ สอนไม่ให้มีความอยากใดๆเลย

นอกจากนั้น บางทีรู้จักข้อธรรมอื่น ที่มีความหมายทำนองนี้เหมือนกัน แต่รังเกียจ

ที่จะแปลว่า ความอยาก จึงเลี่ยงแปลเป็นอื่นเสีย เมื่อถึงคราวจะพูดเรื่อง

เกี่ยวกับความอยาก จึงลืมนึกถึงคำนั้น ...."


"....ก่อนที่จะทำความเข้าใจกันต่อไป

ขอให้ลองหยุดดูหลักการง่ายๆ เกี่ยวกับความอยาก ที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้สักแห่งหนึ่ง

ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี และปรมัตถทีปนี ท่านกล่าวไว้ว่า "ความปรารถนา"

(บาลีว่า ปตฺถนา แปลว่า ความอยาก)

มี 2 อย่าง คือ

1. ความปรารถนาที่เป็นตัณหา (ตัณหาปัตถนา แปลว่า อยากด้วยตัณหา)

2. ความปรารถนาที่เป็นฉันทะ (ฉันทปัตถนา แปลว่า อยากด้วยฉันทะ)


คำอธิบายนี้ แม้จะเป็นชั้นอรรถกถา แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับทำความเข้าใจได้ดีมาก

ถือความตามนี้ว่า ความอยากที่เป็นแรงจูงใจให้มนุษย์กระทำการต่างๆนั้น

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

ความอยากที่ชั่วร้ายก็มี ความอยากที่ดีก็มี

ความอยากฝ่ายชั่วเรียกว่า ตัณหา

ความอยากฝ่ายดีเรียกว่า ฉันทะ
...."



"....สรุปความเท่าที่กล่าวมาเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับทำความเข้าใจกันต่อไป ดังนี้

1. ตัณหา มุ่งประสงค์เวทนา และจะต้องการสิ่งสำหรับเอามาเสพเสวยเวทนา หรือสิ่งที่ปรน

ปรือตัวตน ตัณหาอาศัยอวิชชาคอยหล่อเลี้ยงและให้โอกาส พัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องตัวตน

เอาอัตตาเป็นศูนย์กลาง และนำไปสู่ปริเยสนา หรือ การแสวงหา


2. ฉันทะ มุ่งประสงค์อัตถะคือตัวประโยชน์ (หมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต คล้ายกับ

ที่ปัจจุบันเรียกว่าคุณภาพชีวิต) และจึงต้องการความจริง สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม

ฉันทะก่อตัวขึ้นจากโยนิโสมนสิการ คือ ความรู้จักคิด หรือ คิดถูกวิธี คิดตามสภาวะ

และเหตุผล เป็นภาวะกลางๆของธรรมไม่ผูกพันกับอัตตา และนำไปสู่อุตสาหะ

หรือ วิริยะ คือ ทำให้เกิดการกระทำ
..."





การมีสติระลึกรู้สึกตัวได้ว่า จิต(ที่เป็นอนัตตา)กำลังคิดอกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
เป็นต้นทางแห่ง สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)

ถ้าปราศจาก สติเสียแล้ว สัมมาสังกัปปะ ก็ไม่มีทางบริบูรณ์ได้...

จาก มหาจัตตารีสกสูตร สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) ย่อมห้อมล้อมด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ

ถ้า เห็นชอบ ระลึกชอบ เพียรชอบ ไม่มีเสียแล้ว ....ดำริชอบย่อมเป็นไปไม่ได้




อนึ่ง

การปฏิบัติต่ออกุศลในจิต(ก็เป็นอนัตตาอีก) ที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ ก็มีหลากหลายวิธี ตาม จริตนิสัย และ สมัยที่ควร...มีทั้ง ไม้อ่อน ไม้แข็ง ๆลๆ

ตรงนี้ ต้องมีปัญญากำกับด้วย จึงจะรู้ว่า กุศโลบายไหนจึงเหมาะสมกับสภาวะนั้นๆของตน

จิต และ อกุศลในจิต ถึงแม้นจะเป็นอนัตตาก็จริง.... แต่ พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีปฏิบัติต่อจิต และ อกุศลในจิตเอาไว้....

หาใช่ว่า ถ้าจิตและอกุศลในจิตเป็นอนัตตาแล้ว จะไม่สามารถปฏิบัติใดๆต่อจิต และ อกุศลในจิตเลย แต่อย่างใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากในเหตุเป็นฉันทะ
อยากในผลเป็นตันหา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:
ในการเจริญสติในการเจริญวิปัสสนานั้นต้อง
มีกิเลสมาอยู่เสมอจนกว่าผู้ที่เจริญวิปัสสนานั้น
เป็นพระอรหันต์จึงจะปราศจากกิเลสได้


การเจริญสมถะวิปัสสนา อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เป็นการเจริญวิปัสสนา เพื่อ ละ กิเลสครับ เป็นอนาสวะครับ ไม่มีกิเลสจรมาครับในขณะทำเหตุอยู่ครับ
หยุดทำเหตุ ก่อนก่อมรรคจิตสำเร็จนั่นแหละครับ กุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากก็ให้ผลครับ แต่ถ้าก่อมรรคจิตสำเร็จ วิบากแห่งมรรคก็ให้ผลครับ

อ้างคำพูด:
ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าท่านนั้นเดินอยู่ที่สวนผลไม้แห่งหนึ่ง

ท่านนั้นในที่นี้ ไม่ใช่พระอรหันต์ แต่คุณรสมนคงหมายความถึง ปุถุชน
ดังนั้น ในทีนี้ เช่นนั้นเข้าใจว่า ท่านนั้นคือ ปุถุชน

อ้างคำพูด:
ท่านนั้นเดินอยู่ที่สวนผลไม้แห่งหนึ่ง
ในระหว่างนั้นท่านได้เจริญสติกำหนดรู้
ในระหว่างนั้นเองเกิดอาการคิดเรื่องๆหนึ่ง
และทำให้จิตนั้นฟุ้งซ่าน นั่นคือโมหะ


ปุถุชน ผู้มีรูปเป็นอารมรณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ ฯลฯ เป็นผู้หลงอยู่ในกามสัญญา ฟุ้งอยู่ในกามสัญญา ไม่ได้เจริญสติแต่ประการใด สิ่งที่รู้เป็นเพียง วิญญาณรู้ผัสสะแห่งจักษุ แต่เข้าใจไปเองว่า รู้ผัสสะเป็นสติ
การฟุ้งไปตามนามรูป ที่เห็นย่อมเป็นธรรมดา

อ้างคำพูด:
แล้วท่านก็คิดอีกว่าทำไมต้องคิดด้วย
ต้องพยายามหยุดคิดแต่ ไม่สามารถหยุดได้ ความอยากที่จะไม่ให้คิดคือ โลภะ
แล้วก็เกิดความไม่พอใจว่าทำไมถึงทำให้หยุดคิดไม่ได้นะ ความไม่พอใจนั้นแหละคือโทสะ


ปุถุชน พอได้กาม แล้วก็เกิดวิภวตัณหา คืออยากไม่หยุดคิดกามที่ได้แล้ว เพราะปราถนา อุเบกขาในกามสัญญา แต่ไม่ได้จึงเกิดโทสะ

อ้างคำพูด:
บางครั้งสติเผลอ นั่นแหละคือ โมหะ
เห็นไหมว่า ปุถุชน
ยังมีกิเลสอยู่ คือโลภะโทสะและโมหะนั่นเอง

ปุถุชนมี โมหะมาตั้งแต่ต้นจนจบจนกระทั้งบัดนี้ ไม่มีอาการของเป็นผู้มีสติเลย

วิธีแก้ก็คือ วิตกวิจารใน "ละอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้" เป็นอารมณ์กรรมฐาน และปฏิบัติให้เป็นจริง จนเกิดญาณปัญญา มีปีติ สุข หรืออุเบกขา ละนิวรณ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร