วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 15:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ในภาษาที่เราท่านใช้กันในปัจจุบัน

มักจะ ได้ยินกล่าวกัน บ่อยๆ ว่า ....

ให้ระมัดระวังไม่ให้เป็นสัญญา แต่ ให้เป็นปัญญาที่แท้จริง(เลย).



แต่ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ท่านไม่ได้ทรงห้ามสัญญา ถึงขนาดแบบปัจจุบันนี้

คำว่า"สัญญา" ....นอกเหนือจาก ความจำได้หมายรู้ ซึ่งจัดเป็นขันธ์ๆหนึ่งแล้ว

คำว่า"สัญญา" ....ยังมีความหมายถึง "เครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ"


อ้างคำพูด:
สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ

หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น
และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น;

ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่า เครื่องหมาย ที่สังเกต ความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ,

ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น




สัญญา เจ็ดประการ

ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงไว้....

ถึงแม้น จะยังไม่จัดว่า เป็นวิปัสสนาญาณโดยตรง ก็ตาม

แต่ พระพุทธองค์ก็ทรงสรรเสริญ และ สั่งสอนให้สาวกเจริญให้มากซึ่งสัญญาเจ็ดประการนี้

เพราะจะยังให้"หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด"


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

๗ ประการเป็นไฉน คือ

อสุภสัญญา ๑
มรณสัญญา ๑
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑
อนิจจสัญญา ๑
อนิจเจทุกขสัญญา ๑
ทุกเขอนัตตสัญญา ๑

ๆลๆ

=========

ๆลๆ

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ
ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง
ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา
ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย
มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย
ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ
ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา
อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้




เสนอเน้น สัญญาข้อสุดท้าย

คือ ทุกเขอนัตตสัญญา

นี่เป็นพระพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงโดยตรง ว่า

แม้นในตอนต้นของการเจริญภาวนาจะเป็นเพียงระดับสัญญา ยังไม่ใช่วิปัสสนาญาณเห็นประจักษ์แจ้งในไตรลักษณ์โดยตรง ก็ตาม...

แต่ ก็มีประโยชน์ และ พึงเจริญ




และ แสดงให้เห็นถึง การน้อมจิตพิจารณา หรือ induceแก่จิตด้วยสัญญานั้นๆ ว่า เป็นทางแห่งความเจริญ ทางแห่งความหลุดพ้น.... เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง ของภาษา อีกหน่อยครับ



เวลา ชาวพุทธในไทยยุคปัจจุบัน กล่าวถึงคำว่า " ฌาน" ...

เรามักจะนึกถึง พระฤาษีนอกพระศาสนา หรือ อาจจะเป็นพระภิกษุในพระศาสนานี้ ก็ตาม .....

ที่ต้องไป บำเพ็ญตบะกัน อย่างยากลำบาก และ ถูกมองว่า เป็นทางเดินที่อ้อม




แต่ พอเวลา ที่เราท่านในยุคปัจจุบัน กล่าวถึง

การปฏิบัติที่ เรียบง่าย และ ลัดสั้น .... เรามักจะชี้ไปว่า ปฏิบัติแบบนิกายเซน



ทั้งๆที่ ความจริงแล้ว

คำว่า "เซน" นั้นเป็นคำๆเดียวกับคำว่า "ฌาน" เลย


คือ เราลืมรากของภาษาที่มาของคำว่า เซน ไป



อ้างคำพูด:
คำว่า เซน (禅) ในภาษาญี่ปุ่นมาจากคำว่า ฌาน (禪) ในภาษาจีนที่มาจากภาษาบาลีอีกต่อหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการเข้าฌาน



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80% ... B%E0%B8%99



ฌาน คือ ความยากลำบาก และ เดินอ้อม

ในขณะที่ เซน กลับเป็น ความเรียบง่าย และ ลัดสั้น

ทั้งๆที่ เป็นคำๆเดียวกัน



เสนอ ให้เห็นถึงประเด็น ปัญหาของภาษาที่ใช้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ กับท่านตรงประเด็น

เรื่อง สัญญา เท่าที่ประสบ และร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนกับหลายท่านมา เห็นว่ามีการเข้าใจผิดอยู่ไม่น้อย ไม่ได้มีเฉพาะประเด็นที่ท่านนำมาตั้งกระทู้ให้อ่านเท่านั้น ยังมีประเด็นคลาดเคลื่อนอีกหลายอย่าง เช่น คำว่า "วิปัสสนึก" ที่หากขยายความไปถึงวิธีการปฏิบัติจะหมายถึงการห้ามเจริญสัญญาต่างๆ ได้เลยทีเดียว หาว่าเป็นการนึกที่ผิด ปฏิบัติผิด ไม่เป็นวิปัสสนาไปหมด ผมจึงเห็นว่า นี่แหละคงเป็นธรรมดาของหลักอนิจจังแห่งสัจธรรม ที่ย่อมมีสาเหตุให้เกิดขึ้น คือ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ และมีสาเหตุให้ดับไปสาปสูญ...เพราะพุทธบริษัท ๔ บางส่วนเข้าใจธรรมผิดพลาดไป และก็พยายามสอนความผิดพลาดนั้นให้แพร่หลายจนทำลายคำสอนที่ถูกต้อง?

ส่วนเรื่อง เซน VS ฌาน มีประโยชน์มากครับ ผมเพิ่งทราบข้อมูลนี้จากท่าน


แก้ไขล่าสุดโดย ศิรัสพล เมื่อ 27 ส.ค. 2009, 12:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นหัวข้อ นึกว่าวันนี้ จะมีการประกบคู่ชกชิงแชมป์โลก :b13:

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสัญญาเจ็ดประการ นั้น.... เป็น การเจริญพัฒนาจาก สุตะมัยยะปัญญา สู่ จินตะมัยยะปัญญา และ ภาวนามัยยะปัญญาในที่สุด

ภาวนามัยยะปัญญา ที่ชื่อว่า อาสวักขยะญาณ(สัมมาญาณะ) คืออันดับสุดท้ายของปัญญา ซึ่ง เป็นปัญญาที่จะดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง

แต่ ก่อนที่ สัมมาญาณะจะปรากฏขึ้น.... สัมมาสมาธิ ที่เป็นบาทแห่งสัมมาญาณะ ย่อมต้องปรากฏขึ้นก่อน





เสนอ พิจารณาจาก


[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ๆลๆ

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา



จาก ระดับพระสูตร นี้

บ่งชี้ว่า

ถึงแม้นจะเจริญ ทุกเขอนัตตสัญญาสัญญา(รวมทั้งอุบายแห่งวิปัสสนาวิธีอื่นๆในสัญญาเจ็ดประการ) ด้วย สมาธิตามธรรมชาติ เท่าที่มีในเบื้องต้น...สมาธิขั้นแน่วแน่ที่เรียกว่า เอกัคคตาจิต(สมถะ) ก็จะต้องปรากฏขึ้นด้วยเช่นกัน ในสมัยต่อมา .....จึงจะเกิดปัญญาญาณที่แท้จริงในที่สุด




หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย :b8:

ท่านเคยกล่าวเรื่องนี้เอาไว้มากแล้ว
ลองย้อนค้นกระทู้เก่าๆดูแล้วกัน
ผมเคยนำมาลงไว้บ่อยๆ



หลวงปู่ เทสก์ เทสก์รังสี :b8:

ท่านก็เคยแสดง เรื่องนี้ไว้ดังนี้ครับ

การ พิจารณาเห็นกายนี้ให้เป็นอสุภะ เป็นต้น ก็เป็นเพียงเพื่อละนิวรณ์ 5 เท่านั้น

พิจารณาเห็นความตายเป็นอารมณ์ ก็เพียงเพื่อละอารมณ์ที่ข้องอยู่ในใจบางอย่างเท่านั้น

การพิจารณาเห็นกายเป็นแต่สักว่าธาตุ ขันธ์ อายตนะ เป็นต้นก็ เพื่อปล่อยวางอารมณ์บางอย่างเหมือนกัน

ตราบใด ถ้ายังไม่เข้าไปรู้ตัวผู้พิจารณา พร้อมด้วยการมีจิตปล่อยวาง แลเหตุผลในเรื่องนั้น.... แล้ว จิตถอนออกจากอารมณ์นั้นแล้วเข้ามาตั้งอยู่เป็นเอกัคคตารมณ์อันเดียว โดยมีพระไตรลักษณ์ญานเป็นเครื่องดำเนินแล้ว.... ความรู้แลความเป็นไปอันนั้น ได้ชื่อว่า ยังไม่มั่นคงพอ




ลอง อ่านบทธรรมนี้ เปรียบเทียบ ดูอีกที

“..อินทรีย์คือสมาธิ (สมาธินทรีย์) เป็นไฉน ?

(คือ) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กำหนดเอาภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต นี้เรียกว่า อินทรีย์คือสมาธิ”

(สํ.ม.19/874/264 ฯลฯ )



ลอง พิจารณาดู น่ะครับ



คห ส่วนตัวน่ะครับ

หลวงปู่ เทสก์ ท่านกำลังกล่าวถึง เอกัคคตาจิต ที่มีการปล่อยวางรูปนามขันธ์๕เป็นอารมณ์อยู่ . ผมเห็นว่า ท่านกำลังกล่าวถึง สมาธินทรีย์ อยู่ครับ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: :b5: :b5: :b28: :b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 02:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
:b10: :b5: :b5: :b28: :b34:


คันปาก อยากจะ... :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 02:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาธรรมจากหลวงปู่หลวงพ่อต่างๆ มากมายเท่าไหร่ก็ตาม
ยิ่งศึกษายิ่งพบว่ามันรวมลงที่เดียวกันหมด ใจความเดียวกันหมด
ไม่มีหลุดแผกไปจากกันเลย

สังฆัง สรณัง คัจฉามิ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 28 ส.ค. 2009, 02:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2009, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:
:b10:


:b33: :b33: :b33: :b33:

:b34: :b34: :b34: :b34:

:b28: :b28: :b28: :b28:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 17:07
โพสต์: 5

โฮมเพจ: http://narisdesign.hi5.com
สิ่งที่ชื่นชอบ: ไอสไตพบพระพระพุทธ เจ้าเห็น
ชื่อเล่น: แนน
อายุ: 0
ที่อยู่: กาญจนบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทุกสิ่งในโลกนี้ เกิด ตั้งอยู่ และดับไป หลักแห่งสากลจักรวาล


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร