วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 20:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


yahoo เขียน:
อิ อิ รอดตัวเพราะ เบาปัญญา
คอยรออ่านอย่างเดียว

:b4: :b4: :b4:




ขอบคุณครับ


เบาปัญญา???....น่ะดีแล้วครับ

ถ้าเกิด "หนักปัญญา" ขึ้นมา ละจะยุ่ง


ท่านผู้รู้ เคยสอนไว้ว่าว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเรื่องที่นำไปสู่ความเบาจากการปล่อยวาง

แต่ ตอนเจริญอริยมรรคอาจต้องฝึกต้องฝืนกิเลสสังขารที่ฝังลึกอยู่ในใจตนเอง(ขันธสันดาร)บ้าง... เลยรู้อาจจะสึกหนักในตอนแรก เพราะจิตกิเลสมันเคยชินเช่นนี้มาไม่รู่กี่ภพกี่ชาติ
เมื่อเราเจริญอริยมรรคที่ฝืนความเคยชินเดิมๆ เลยอาจรู้สึกหนัก รู้สึกลำบากบ้าง ในตอนแรก... แต่ เป็นความหนักที่จะส่งผลเป็นความเบา ในภายหลัง

ดีกว่า ความรูสึกเบา(หลอกๆ)จากการเอาแต่ตามใจกิเลสที่เคยชินมานาน ที่จะให้ผลเป็นความหนัก(ลำบาก) ในภายหลัง





แต่ เมื่อเข้ามาแล้ว ถึงไม่ได้ส่งเทียบเชิญ
ก็ ขอเชิญแสดงความเห็นน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน


การปฏิบัติธรรมต้องฝืนกิเลส

การฝืนกิเลสต้องเป็นความทุกข์ยากลำบาก เป็นธรรมดา

เพราะฉะนั้นขอให้ทราบไว้อย่างนี้ แล้วพยายามฝืนทน




และ ภาษิตที่งดงาม ของหลวงตา อีกบท

http://www.luangta.com/images/banchon/wallpaper50.jpg


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรียบเหมือนเราเดินขึ้นเขา
มันอาจจะเหนื่อยหน่อยตอนเดินขึ้น
พอถึงแล้วก็สบาย...สู้ๆทุกท่านครับ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณบัวศกล



ขอบคุณครับ


อ้างคำพูด:
ผมคิดว่า เนกขัมมะ มี 2 ระดับ คือระดับที่เป็น โลกีย์ และโลกุตระ



จาก มหาจัตตารีสกสูตร
แสดง สาสวะสัมมาสังกัปปะ และ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ ไว้ดังนี้ครับ


http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 724&Z=3923

[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่ามิจฉาสังกัปปะ
รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ ความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ

[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตกความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึกมีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ



ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ

เมื่อละมิจฉาสังกัปปะ จึงจัดว่าเข้าสู่สาสวะสัมมาสังกัปปะ และ เมื่อเจริญอริยมรรคก็จะบ่ายหน้าไปสู่อนาสวะสัมมาสังกัปปะ... เดินตามรอยเท้าพระอริยะเจ้า




อ้างคำพูด:
เนกขัมมะในชั้นโลกีย์ถึงแม้จะไม่สามารถทำลายอาสวะได้ แต่ก็เป็นส่วนแห่งการควบคุม
อาการรบกวนจากกามคุณได้ และเป็นเหมือนดังเครื่องชักนำนิสัยจิต ให้น้อมไปคุ้นเคย
กับภาวะอันสันโดด ภาวะที่ว่างเว้นจากกามได้ ซึ่งความคุ้นเคยในเนกขัมมะหากกระทำให้
มากเข้า จิตของผู้นั้นก็จะมีทิศทางการน้อมเอียงไปสู่วิเวก สู่วิราคะได้เองโดยไม่ต้องบังคับ

หากอบรมให้มากจนคุ้นเคย จิตก็จะถูกสร้างนิสัยใหม่ จิตจะกลายเป็นจิตที่รักสันโดด รักสงบ
และยินดีต่อเนกขัมมะด้วยตัวของจิตเองโดยไม่ต้องบังคับเหมือนเมื่อเริ่มแรก และแทบไม่รู้ตัว

เนกขัมมะชั้นโลกีย์ จะช่วยส่งเสริมให้จิตเข้าถึงความสงบได้ง่าย และช่วยส่งเสริมด้าน
การสร้างอุปนิสัยใหม่ที่สวนทางกับวิถีกามให้เกิดขึ้นกับจิต ดังนั้นบุคคลที่น้อมไปสู่การ
ถือเนกขัมมะ ปฏิบัติในเนกขัมมะให้มาก บุคคลนั้นก็ชื่อว่า กำลังสร้างและปรับรากฐาน
เพื่อให้วิถีปฏิบัติมีความเอื้อต่อการเจริญวิปัสสนาขั้นสูงขึ้นไป และจิตก็ได้สั่งสมนิสัยที่น้อม
ไปสู่วิเวก วิราคะอยู่ในทีด้วย


สาธุ กล่าวชอบแล้ว



อ้างคำพูด:
เมื่อสั่งสมการกระทำในทางเนกขัมมะอย่างโลกีย์มากเข้า ผลของการอบรมปฏิบัติ
ก็จะเปลี่ยนเนกขัมมะอย่างโลกีย์ ที่ต้องบังคับต้องตั้งใจควบคุมกระทำ
มาเป็นเนกขัมมะในชั้นโลกุตระ ที่จิตมันน้อมไป ไหลไป เอนไปในเนกขัมมะได้เองอย่างเป็น
ธรรมชาติ และเป็นนิสัยใหม่ของเนื้อตัวชีวิต


เห็นด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ



เนกขัมมดำริที่เป็นโดยอัตโนมมัติ ไม่ต้องฝืนความรู้สึก นั้น...เป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด เป็นการเดินตามรอยเท้าพระอริยะ

แต่ เนกขัมมดำริที่เป็นโดยอัตโนมมัติ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ หรือ เกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องฝึกฝนอบรม


ด้วย คำว่า"อัตโนมัติ" ย่อมเป็นคนล่ะความหมายกับ การปราศจากเหตุปัจจัย


หากแต่ คำว่า"อัตโนมัติ" คือ ความหมายแห่ง การที่เหตุปัจจัยประชุมพร้อมสมบูรณ์จากความเพียรชอบ แล้ว นำไปสู่ผล.... แม้นไม่ได้ตั้งใจให้เป็นในขณะนั้น

ส่วน ที่ปรากฏผลให้ในขณะนั้นๆขึ้นเอง เป็นเพราะ เหตุปัจจัยที่ได้สั่งสมปฏิบัติมานั้น พร้อมสมบูรณ์เต็มที่แล้วในขณะนั้นๆ



นึกถึงคำกล่าวของครูบาอาจารย์ที่ว่า "กุศลที่พ้นเจตนา "



ในยุคปัจจุบัน ชาวพุทธจะเน้น อริยมรรคแบบอัตโนมัติกันมาก
โดยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการประกอบเหตุ


คือ เอะอะ อะไร ก็มุ่งจะเอาแต่ อริยมรรคแบบอัตโนมัติ แบบไม่ต้องฝึกฝืนเท่านั้น (คือ ไม่ประกอบเหตุ)

ครั้นจะเจริญอริยมรรคที่ยังคงต้องฝึกฝืนอยู่ ก็ บอกว่า "ยังคงมีเจตนาอยู่"...ข้าพเจ้าไม่เอา.


เวลาจะกล่าวถึงการเจริญอริยมรรค ....ก็ จะเน้นไปถึง อริยมรรคที่พ้นจากเจตนา(ของพระอริยเจ้า)เลย

โดยไม่พิจารณาว่า อริยมรรคในขั้นที่พ้นจากเจตนานั้นๆ ก็มาจากการพากเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)ประกอบเหตุ..... หาใช่ลอยมาหาเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ วลัยพรครับ


ขอบคุณครับ
สำหรับความเห็น




อ้างคำพูด:
สภาวะทุกสภาวะเขาจะเป็นไปตามสภาวะของเขาเอง ไม่ต้องมากดมาข่มอะไรกันเลย


นี่คือ ประเด็นของกระทู้นี้ครับ

คือ บางท่านเห็นว่า เนกขัมมดำริที่ยังไม่เป็นอัตโนมัติเป็นการฝึกฝืน(เช่น เพียรสมาทานศีล๘) คือ การกดข่มราคะ

ต้องเป็นเนกขัมอัตโนมัติเลย คือ ไม่ต้องฝึกต้องฝืน จึงจะไม่เป็นการกดข่มราคะ




อ้างคำพูด:
ถ้าจำไม่ผิดกามราคะนี่จัดว่าเป็นรูป รูปมี 2 แบบ แบบหยาบกับแบบละเอียด
แบบหยาบคือภายนอกที่มองเห็นได้ด้วยตา เช่น ความสวยงาม
แบบละเอียดคือภายในไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เช่น เรื่องของความรู้สึก


จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์

ราคะ ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม
(ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๑ ในอนุสัย ๗)

รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต
(ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)

อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม, ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ
(ข้อ ๗ ในสังโยชน์ ๑๐)



เรื่อง กามราคะอย่างหยาบกับอย่างละเอียด ผมเคยอ่านผ่านตาเหมือนกัน
แต่ นึกไม่ออกว่ามาจากที่ไหน




อ้างคำพูด:
บางคนมองว่าแค่อสุภะนี้ก็จบ กดข่มเอาไว้ แล้วความกำหนัดที่มีอยู่ภายในล่ะ
จะขจัดมันอย่างไร



หลวงปู่ เทสก์ ท่านเคยแสดง เรื่องนี้ไว้ดังนี้ครับ

การ พิจารณาเห็นกายนี้ให้เป็นอสุภะ เป็นต้น ก็เป็นเพียงเพื่อละนิวรณ์ 5 เท่านั้น

พิจารณาเห็นความตายเป็นอารมณ์ ก็เพียงเพื่อละอารมณ์ที่ข้องอยู่ในใจบางอย่างเท่านั้น

การพิจารณาเห็นกายเป็นแต่สักว่าธาตุ ขันธ์ อายตนะ เป็นต้นก็ เพื่อปล่อยวางอารมณ์บางอย่างเหมือนกัน

ตราบใดถ้ายังไม่เข้าไปรู้ตัวผู้พิจารณา พร้อมด้วยการมีจิตปล่อยวาง แลเหตุผลในเรื่องนั้นแล้ว จิตถอนออกจากอารมณ์นั้นแล้วเข้ามาตั้งอยู่เป็นเอกัคคตารมณ์อันเดียว โดยมีพระไตรลักษณ์ญานเป็นเครื่องดำเนินแล้วความรู้แลความเป็นไปอันนั้น

ได้ชื่อว่า ยังไม่มั่นคงพอ



และ ในขณะเดียวกัน ท่านก็สอนเรื่องเนกขัมมดำริไว้ดังนี้ครับ

ดอกไม้คือกามคุณทั้งห้าบานสะพรั่งอยู่ในโลกเต็มไปหมด

มนุษย์หญิงชายผู้เคราะห์ร้ายเกิดมาแล้วหลงชมชอบรักใคร่เก็บมาประดับ

หมู่มารเห็นแล้วหัวเราะพอใจคิดว่าเขาเหล่านี้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเราแล้ว แล้วก็ขับเพลงกล่อมให้เต้นไปตามจังหวะของตน





อ้างคำพูด:
เคยอ่านที่หลวงปู่หล้าตอบคำถามไว้
มีโยมกราบเรียนถามท่านว่า เขาไม่เคยยุ่งกับภรรยาเขาเลย คือไม่แตะต้องเลย
เห็นแต่สิ่งไม่สวยงาม แบบนี้ภูมิธรรมสามารถไปถึงพระอนาคามีได้ไหม?

หลวงปู่หล้าตอบว่า ขออนุโมทนาที่พยายามรักษาภูมิอนาคามี แต่อนาคามีไม่ได้มีแค่นี้
แม้แต่จะกอดใคร ก็ไม่คิดจะอยากจะกอด แม้แต่มดเข้ารูจมูกก็ไม่รู้สึกอะไร ไม่รำคาญ
ท่านพูดยาว แต่อ่านแล้วจำมาได้แค่นี้ค่ะ


ก็คงเป็นจริงอย่างที่หลวงปู่ท่านกล่าวแสดง

คือ อริยะขั้นอนาคามี นั้น ไม่ใช่เป็นแต่เพียงรูปแบบภายนอกที่ห่างจากกามเท่านั้น
แต่ จุดสำคัญ คือ เป็นจากภายใน ด้วยละสังโยชน์เบื้องกลางขาดลงจึงมีจิตอันห่างจากกามอย่างแท้จริง




ยินดีที่ได้สนทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ ชา สุภัทโท



ถึงแม้น เราท่านจะรู้จักท่านในฐานะสุปฏิปันโนผู้มีปัญญาเยี่ยมยอด

แต่ ท่านให้ความสำคัญกับศีลเนกขัมมะมาก


ท่านเคย แสดงถึงความสำคัญของ ศีลเนกขัมมะ สำหรับการเจริญภาวนา ไว้ดังนี้


".........อีกประเด็นหนึ่งที่หลวงพ่อได้ยกขึ้นมาเป็นข้อเตือนใจผู้ปฏิบัติ ได้แก่ การที่ผู้สอนกรรมฐานยังถือเพศฆราวาส และ ไม่ให้ความสนใจในเรื่องศีลเท่าที่ควร. คงมุ่งสอนเฉพาะวิธีในการนั่งสมาธิเท่านั้น …..

ทั้งที่ในความเป็นจริง ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างเป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน


หลวงพ่อได้ย้ำความสำคัญของการถือพรหมจรรย์ โดยกล่าวว่า

“ความเป็นจริง พุทธศาสนานี่นะ คนเป็นครูเป็นอาจารย์สอนพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ต้องอยู่ในพรหมจรรย์อย่างนี้ เป็นพระสงฆ์ตลอดไปอย่างนี้ สอนกรรมฐานเรื่อยไป

การอยู่พรหมจรรย์เช่นนี้ ไม่ใช่เฉพาะคนเดียวนะ….หลายๆคน…อำนวยประโยชน์แก่การปฏิบัติได้มากที่สุด
เพราะชีวิตพรหมจรรย์ไม่ต้องการอะไรมาก …..มุ่งสั่งสอนตนเองและญาติโยมทั้งหลายให้มีธรรมะเท่านั้น ไม่มุ่งอะไรต่างๆนาๆหลายอย่าง อาตมาว่าควรแล้ว

จะพูดถึงมนุษย์ มันก็มากไปแล้ว เดี๋ยวนี้…..มันมากไป….พอที…..เป็นพรหมจรรย์ก็ดีเหมือนกันน่ะ มันจะไม่มีที่หากินกันแล้วทุกวันนี้ มันยุ่งกันนี้ เกิดรบราฆ่าฟันกันหลาย เพราะว่าคนมาก ไปรักษาพรหมจรรย์กันก็ดีเหมือนกัน จะมีประโยชน์มากเลย”


(โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท จาก อุปลมณี หน้า 540)





และ อีกเรื่องหนึ่ง ที่ท่านสอนเรื่อง ความสำคัญของศีลและวินัย

ว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพูดลอยๆ เท่านั้น

http://www.thaidhammajak.com/webboard/d ... on_id=8537

เกลือไม่เค็ม

"พระรูปหนึ่งบอกว่าเป็นนักปฏิบัติ เมื่อมาขออยู่กับอาตมา ถามถึงระเบียบปฏิบัติ อาตมาจึงอธิบายให้ฟังว่า 'เมื่อมาอยู่กับผม จะสะสมเงินทองและสิ่งของไม่ได้ ผมถือตามวินัย'

ท่านพูดว่า 'ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย'

อาตมาบอกว่า 'ผมไม่ทราบกับท่าน'

ท่านเลยถามว่า 'ถ้าผมจะใช้เงินทอง แต่ไม่ยึดไม่หมายจะได้ไหม'

อาตมาตอบว่า 'ได้ ถ้าท่านเอาเกลือมากินดูแล้วไม่เค็มก็ใช้ได้ ท่านจะพูดเอาเฉย ๆ เพราะท่านขี้เกียจรักษาของจุก ๆ จิก ๆ นี่มันยาก เมื่อเอาเกลือมากินท่านไม่เค็มแล้ว ผมจึงเชื่อ ถ้ามันไม่เค็มจะเอามาให้กินสักกะทอ (เข่งเล็ก) ลองดู มันจะไม่เค็มจริง ๆ หรือ

เรื่องไม่ยึดไม่หมายนี้ ไม่ใช่เรื่องพูดเอง คาดคะเนเอา.... ไม่ใช่

ถ้าท่านพูดอย่างนี้อยู่กับผมไม่ได้

ท่านจึงลาไป "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณหมอเชิญเป็นเรื่องเป็นราวรู้สึกหน้าผมมันบานๆยังไงไม่รู้ :b8:

ผมว่ามันเป็นเรื่องของไตรสิกขาน่ะครับ
ศีล-สมาธิ-ปัญญา มันเป็นของที่แยกกันไม่ออก

พวกพยามจะนุ่งขาว พยามอยู่ในที่สงัดจากนิวรณ์ แล้วถ้าเพียงถือศีลเอยๆ
สมาธิไม่ถูกต้อง ไม่เจริญสติ ก็เรียกว่าเป็นพวกที่จบอยู่แค่ศีล ไม่ถึงสมาธิ ปัญญาเลยไม่เกิด
ก็เลยไปเข้าใจว่าการถือศีลให้ผลผลิตเป็นการถอดถอนกิเลส
เข้าใจไตรสิกขาผิดหมด

ผู้คน 9/10 เวลาพูดถึงการทำบุญปฏิบัติธรรม
ก็คิดว่าจะต้องเอาสีขาวมาใส่ตัว ต้องเจียมเนื้อเจียมตัว
ทำตัวให้มันดีผิดธรรมดาของตัวเอง ต้องทำขรึม ทำเรียบร้อย
อันที่จริงไม่ผิด แต่ไม่ถูก

เพราะกลายเป็นว่ากดกิเลสเอาไว้ด้วยคุณของศีล
แล้วเข้าใจว่านี่คือการละกิเลส ถอดถอนกิเลส
คิดว่าการกดข่มกิเลสเอาไว้ได้นั้นเป็นการพัฒนาจิตใจ ซึ่งไม่ถูก
ที่จริงต้องพูดว่า การกดข่มกิเลสเอาไว้ได้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาจิตใจ
กล่าวคือ"ศีลเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาจิตใจ" แต่ไม่ใช่ว่า "ศีลคือ(ทั้งหมดของ)การพัฒนาจิตใจ"

อย่างที่เราเคยทราบกันมาแล้วว่า การปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นนั้น
มีตัวอย่างเปแรียบเทียบกับการปลุกต้นไม้

ศีลก็ค้ลายๆกับการเตรียมผืนดิน
กล่าวคือทำให้ดินผื่นนั้นมันเหมาะกับสิ่งที่จะปลูก
เช่นว่าต้นกล้วยไม้ก็เหมาะกับสภาพแปลงที่มันชื้นๆ แสงพอรำไร
ต้นกระบองเพชรก็เหมาะกับแดดจัดๆ ไม่ชอบน้ำมาก อะไรทำนองนั้น
การเตรียมดินก็คือศีล คือทำให้ดินมันมีความสมดุลย์ควรแก่การงานที่จะทำต่อไปเสียก่อน

เมื่อแปลงดินของเรามันพร้อม
เวลาเราปลูกธรรมะอะไรลงไป มันก็จะงอกงามได้อย่างมีคูณภาพ
เช่นว่าเราเป็นคนหนุ่ม พระหนุ่ม มีแรงตามธรรมชาติเรื่อง s*e*x มาก
เราก็ต้องต่อสู้ด้วยการไปเจริญอสุภะกรรมฐาน หรือการโยนิโสไปในทางว่าร่างกายนี้
มีเลือด มีกระดูก ลอกหนังหน้าออกแล้วหน้าแตาเหมือนหันหมด อะไรทำนองนี้
ซึ่งก็คือการปรุงแต่งจิตใจไปจากความจริง แต่ถามว่าทำไมต้องปรุง
เพราะจิตใจมันฟุ้ง เราต้องเอาของที่มันแก็กันได้ ไปแก็ให้มันกลับมาสู่สมดุลย์ของใจ
ทำอย่างนี้ก็เรียกว่าฉลาดปรุง ฉลาดในการพัฒนาจิตใจ
เมื่อใจมันหายฟุ้ง ก็แปลว่ามีคุณสมบัติพอจะเริ่มทำสมาธิได้แล้ว

กรรมฐานแนวไหนก็ตาม ท่านจะสอนเหมือนกันว่า "ต้องมีศีลคุมเอาไว้"
มีสำนวนว่า"ศีลประดุจอาอรณ์อันประเสริฐ"
คือมีศีลมาคุมเอาไว้ ไม่ให้ภายในที่เกินมันล้นออก ไม่ให้ภายนอกที่เิกินมันล้นเข้า

ผู้จะถือศีลอะไรก็ตาม ผมอยากจะชวนให้นึกถึงเรื่องการปลูกต้นไม้
คือเตรียมดินให้มันเหมาะกับสิ่งที่ปลูก
กล้วยไม้ก็อย่างหนึ่ง กระบองเพชรก็อย่างหนึ่ง การเตรียมดินย่อมต่างกัน
ไม่ใช่ว่าผิดว่าถูก แต่ต้องเหมาะกับตัวเอง พอดีกับตัวเอง
เรื่องความเหมาะพอดีนี่แหละ มันเป็นปัญญาของแต่ละคน


ึคล้ายๆหลวงพ่อชาท่านดุลูกศิษย์คนนึ่งที่ไม่ดูแลกุฏิ
พระลูกศิษย์ก็มีทิฐิว่า อุเบกขา คือปล่อยสรรพสิ่งให้มันเป็นไปตามจริงของมัน ไม่ต้องแทรกแซง ไม่ปรุง ไม่ยึด อะไรทำนองนั้น
ทีนี้ก็เลยไม่ดูแลกุฏิ ปล่อยให้หลังคารั่ว หลังคาพัง
หลวงพ่อเลยดุว่าอุเบกขาแบบควาย
ก็เป็นลักษณะเดียวกันว่า ยังอ่อนไตรสิกขา

หรืออีกตัวอย่างว่า
.. นั่งสมาธิตอนเช้าๆ แดดอ่อนๆ ก็นั่งได้
นั่งไปนั่งมาสายแล้ว แดดเริ่มแรง แต่ก็นั่งต่อไป "ไม่หนีปรากฏการณ์"
....
ต่อมาเที่ยงเลย แดดลงกลางหัว เริ่มได้กลิ่นเนื้อย่าง ก็ยังไม่หนีปรากฏการณ์อีก
คือโง่จนไม่ทันเฉลียวใจว่าปรากฏการณ์ที่ไม่ยอมหนีนั่นน่ะ มันเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น
ก็เรานั่นแหละมีเจตจำนงค์จะทำเนื้อแดดเดียว ไม่ใช่ใช่ธรรมชาติตามเป็นจริง
ที่ดีๆสบายๆมี ไม่นั่ง
นี่คือศีลที่ขาดปัญญา


สำหรับผมมองว่า ประเด็นของกระทู้มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ทั่วๆไป
ที่สนใจการปฏิบัติธรรม แต่ไม่เข้าใจไตรสิกขาอย่างพอเพียง
ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องศึกษาเรื่องไตรสิกขา
ก็จะเกิดลักษณะที่ว่าเอาศีลเป็นเอก เป็นใหญ่ เข้าใจว่าศีลทำหน้าที่ปัญญา
(เข้าใจว่าศีลสามารถถอดถอนกิเลส)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 02:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b45: :b48: :b55: :b42: :b38: :b37: :b41: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณชาติสยาม คุณกบนอกกะลา ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง การปฏิบัติต่อจิตที่เอนไปในอกุศลวิตก นั้น มีพระสูตรหนึ่งที่น่าสนใจ



http://84000.org/tipitaka/read/?12/256-262

พระสูตร วิตักกสัณฐานสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสูตรนี้ แสดงถึง กุศโลบายที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำวิธีปฏิบัติต่ออกุศลในจิต


เริ่มพระสูตรด้วย พระพุทธดำรัส

“[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน?”


ปล....
@ ภาษาคำว่า ”มนสิการ” ในพระสูตรนี้ หมายถึง การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา
{จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)}
@ ภาษาคำว่า”นิมิต”ในพระสูตรนี้ ไม่ใช่ ภาพ-แสง-สี-เสียงใดๆ ที่อาจบังเกิดขึ้นในเวลาเจริญสมาธิภาวนา เช่น เห็นสวรรค์ วิมาน พระพุทธรูป แสงสว่าง ๆลๆ ดังที่เข้าใจกันในปัจจุบัน. แต่ “ นิมิต ได้แก่ การณะ (คือ เหตุ) “ เช่น นิมิตอื่นที่ควรมนสิการ ในกรณีที่จิตมีโทสะ คือ การเจริญเมตตาภาวนา . นิมิตอื่นที่ควรมนสิการ ในกรณีที่จิตมีฉันทะ(ราคะ) คือ การเจริญอสุภสัญญา และ ๆลๆ.
@ ภาษาคำว่า “ฉันทะ”ในพระสูตรนี้ สื่อถึง (ฉันทะ)ราคะ


5แนวทาง ที่พระพุทธองค์ทรงวางการปฏิบัติต่ออกุศลในจิต นั้น มีดังนี้


1.” ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ “


### จาก อรรถกถา ข้อนี้ หมายถึง การเจริญภาวนาด้วยกุศลธรรมที่ยังให้อกุศลในจิตนั้นๆระงับ

ปัจจุบัน ชาวพุทธยุคใหม่บางส่วน จะเชื่อว่า การปฏิบัติเช่นนี้ เป็นลักษณะ แทรกแซงจิต กดข่มจิต และ ไม่สมควรทำ . เพราะ ไม่เป็นการรับรู้สภาวะธรรมตามที่เป็นจริง อีกทั้งยังคงเป็นการอาศัยธรรมที่ยังคงเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตอยู่(เช่น การเจริญอสุภสัญญา ในกรณีจิตมีราคะ) ..... ที่สมควรทำคือ การเจริญสติกำหนดรู้เท่าทันสภาวะของจิต และ จิต ”เท่านั้น”.

อนึ่ง การเจริญสติกำหนดรู้เท่าทันสภาวะของจิต และ จิต โดยรู้ชัดตามที่ปรากฏจริง เช่นในจิตตานุปัสสนา นั้น ก็เป็นการเจริญภาวนาที่นำไปสู่ที่สุดแห่งทุกข์ได้จริง....

***แต่ ความจริงแล้ว ในขณะที่ รู้ชัดว่าจิตมีราคะ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ห้ามเจริญอสุภสัญญา*** และ การเจริญอสุภสัญญาก็ไม่ใช่เป็นการกระทำที่ขาดสติ. แต่ เป็นเพราะ ยังมีสติรู้สึกตัวว่า จิตมีราคะอยู่ จึงมาเจริญอสุภสัญญา

จากพระสูตรต่างๆ พระพุทธองค์ก็ทรงสอนถึงการเจริญกุศลธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับอกุศลในจิต และ ไม่ได้ห้ามใจในทุกๆอารมณ์ ...

แต่ให้ ห้ามใจเฉพาะจากอารมณ์ที่นำไปสู่บาป-ไม่พึงห้ามใจในอารมณ์ที่นำไปสู่ความสำรวม
ดังที่ทรงตรัสใน

มโนนิวารณสูตร ว่าด้วยการห้ามใจ
จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 16 สังยุตตนิกาย
สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรค

เทวดากราบทูลว่า
”บุคคลห้ามใจจากอารมณ์ใดๆ ได้ ทุกข์เพราะอารมณ์นั้นๆ ย่อมไม่มาถึงเขา
เขาห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวงได้ย่อมพ้นจากทุกข์ เพราะอารมณ์ทั้งปวง”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
”***บุคคลไม่พึงห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวง***ไม่พึงห้ามใจที่ถึงความสำรวม
บาปเกิดขึ้นในอารมณ์ใดๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ “



และ ในพระสูตรอื่น จาก วิชิตเสนเถรคาถา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกจิต

[๓๔๓] เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์ กักช้างไว้ที่ประตูนคร
ฉะนั้น เราจักไม่ประกอบจิตไว้ในธรรมอันลามก จักไม่ยอมให้จิตตกลง
ไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิดในร่างกาย
เจ้าถูกเรากักขังไว้แล้ว จักไปตาม
ชอบใจไม่ได้ เหมือนช้างได้ช่องประตู ฉะนั้น ดูกรจิตผู้ชั่วช้า บัดนี้
เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนืองๆ ดังก่อนมิได้ นายควาญ-
ช้างมีกำลังแข็งแรง ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ให้อยู่ใน
อำนาจด้วยขอ ฉันใด ***เราจักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจ ฉันนั้น*** นาย
สารถีผู้ฉลาดในการฝึกม้าให้ดี เป็นผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้
ฉันใด เราจักฝึกเจ้าให้ตั้งอยู่ในพละ ๕ ฉันนั้น จักผูกเจ้าไว้ด้วยสติ
จักฝึกจักบังคับเจ้าให้ทำธุระด้วยความเพียร เจ้าจักไม่ได้ไปไกลจาก
อารมณ์ภายในนี้ละนะจิต.


***พึงสังเกตุว่า วิธีการเจริญภาวนา ด้วยการเจริญกุศลธรรมที่ยังให้อกุศลในจิตนั้นๆระงับ นี้ พระพุทธองค์ทรงวางไว้เป็นอันดับแรก***

อนึ่ง ถ้าหากได้เจริญภาวนาด้วยกุศลธรรมที่ยังให้อกุศลในจิตนั้นๆระงับแล้ว แต่จิตก็ยังคงไม่คลายจากอกุศลธรรมนั้นๆ ก็ให้ปฏิบัติตามข้อต่อไป คือ



2.” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบากแม้อย่างนี้ ดังนี้ “

## นี่ก็คือ การพิจารณา การเป็นอกุศล เป็นโทษ มีทุกข์เป็นวิบาก ของอกุศลในจิตเหล่านั้น ด้วยปัญญา เพื่อให้จิตเห็นชอบและวางอกุศลในจิตเหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าหากเจริญภาวนาด้วยการพิจารณา การเป็นอกุศล เป็นโทษ มีทุกข์เป็นวิบาก ของอกุศลในจิตเหล่านั้น แล้ว จิตก็ยังไม่คลายจากอกุศลธรรมนั้นๆ ก็ให้ปฏิบัติตามข้อต่อไปคือ



3. “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น “

## ในอรรถกถากล่าวถึงข้อนี้ว่าเป็น การเบี่ยงเบนไปหาสิ่งอื่นทำแทน.

อนึ่ง ถ้าหากเจริญภาวนาด้วยความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น แล้ว จิตก็ยังไม่คลายจากอกุศลธรรมนั้นๆ ก็ให้ปฏิบัติตามข้อต่อไปคือ



4.” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขาร ของวิตกเหล่านั้น”

### ในอรรถกถาบรรยายว่า หมายถึง การมนสิการถึงเหตุและมิใช่เหตุของอกุศลวิตกในจิตทั้งหลายว่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเหตุไรจึงเกิดขึ้น . คือ เป็นการพิจารณาด้วยสติ-ปัญญาถึง ที่มา ที่ไป เหตุ ปัจจัย ของอกุศลในจิตเหล่านั้น. เป็นการทำลายมูลรากของอกุศลในจิต

ปล... ความเห็นส่วนตัว คือ ข้อนี้อาจจะคล้ายๆกับ การเจริญสติปัฏฐาน ใน ธัมมานุปัสสนา นิวรณ์พรรพ แห่งสติปัฏฐานสูตร ที่ว่า

รู้ชัดว่า มีหรือไม่มีนิวรณ์อยู่ในจิต
รู้ชัดว่า นิวรณ์ที่มีนี้ มีเพราะเหตุใด
รู้ชัดว่า นิวรณ์ที่มันดับไป ดับด้วยเหตุใด
รู้ชัดว่า นิวรณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด
และ เห็นสภาวธรรมทั้งหลาย เป็นเรื่อง"สักแต่ว่า" ที่ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


อนึ่ง ถ้าหากเจริญภาวนาด้วยการมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารแล้ว จิตก็ยังไม่คลายจากอกุศลธรรมนั้นๆ ก็ให้ปฏิบัติตามข้อต่อไปคือ



5.” ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิต “

# .ในข้อนี้ จากพระสูตรบรรยายด้วย “เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น “

ข้อนี้ อาจจะฟังดูขัดหู สำหรับชาวพุทธในยุคปัจจุบัน!!! ที่ เน้นว่าต้องไม่กดข่มจิตเลย เพราะ เชื่อว่าเป็นเหตุให้เครียด และ ไม่เป็นเพียงการรู้ตามสภาวะเฉยๆ....

แต่ พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีนี้เอาไว้จริงๆ

ในหัวข้อนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงเปรียบเทียบด้วยคำว่า “บังคับจิตด้วยจิต”!!! คือ ทรงเปรียบเทียบด้วย คนมีแรงมากกว่า จับคนมีแรงน้อยกว่า กดหัวกดคอ เอาไว้ เลยทีเดียว.




โดยสรุป

วิธีปฏิบัติต่ออกุศลในจิตจากระดับพระพุทธพจน์ ก็มีวิธีการที่หลากหลาย .

มีลักษณะทั้ง บ้างนุ่มนวล-บ้างหนักแน่น ใช้ ทั้งไม่อ่อน-ไม้แข็ง .

ดังนั้น การปฏิบัติต่ออกุศลในจิตด้วยกุศโลบายต่างๆ หาได้ต้องจำกัดอยู่เฉพาะ วิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้น.


..................................



เรื่อง การบังคับจิตด้วยจิตนี้

ในประวัติของ หลวงปู่ ตื้อ อจลธัมโม
มีครูบาอาจารย์เล่าให้ฟังไว้ว่า ท่านเคยใช้วิธีที่หนักเพื่อทรมานจิตที่อยากกินมะพร้าว

กล่าวคือ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านอยากฉันมะพร้าวมาก จิตของท่านมันจะไปหาแต่มะพร้าว... ท่านแก้ไม่ตก.

ท่านจึงให้ลูกศิษย์ปีนขึ้นไปนำมะพร้าวลงมาหนึ่งทลายใหญ่ๆ ให้ปลอกถวายท่าน แล้วท่านก็นั่งฉันไปเรื่อยๆ...ฉันจนอาเจียนออกมา แล้วก็ฉันต่ออีก ไปเรื่อยๆ.... จนจิตมันยอมหายพยศ ท่านจึงยุติ

ท่านเลือกวิธี ข้อ5 ในพระสูตรนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


"ข่ม-ประคอง-ๆลๆ-วางเฉย-ๆลๆ จิต"ในสมัยที่ควร(พุทธพจน์)



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
สีติวรรคที่ ๔

๑. สีติสูตร

[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ไม่วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑
เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑
เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน


ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ



...........................................

จิตเป็นอนัตตา คือ ไมใช่ตัวตนที่แท้จริง

แต่ การที่จิตเป็นอนัตตานั้น หาใช่ว่า จะฝึกจิต หรือ อบรมจิต ไม่ได้.
ดังมี พระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้"

การฝึกจิต หรือ อบรมจิต นั้น มีหลากหลายกุศโลบาย...หาใช่ว่า จะต้องจำกัดอยู่ในวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง


ในพระสูตรนี้
กล่าวถึง ทั้งการ " ข่ม-ประคอง-ยังให้ร่าเริง-วางเฉย-น้อมไปในธรรมประณีต-ยินดียิ่งในนิพพาน" ในสมัยที่ควร

คำว่า "ในสมัยที่ควร"นี้ละครับ มันเป็นประเด็นที่ควรสนใจว่า สมัยไหนควรปฏิบัติต่อจิตเช่นใด

ถ้า ในสมัยที่ควรข่มจิต แต่ กลับไปวางเฉยจิต(รับทราบสภาวะของจิตแล้ววาง คือ รู้อย่างเดียว)

หรือ ในสมัยที่ควรวางเฉยจิต(รับทราบสภาวะของจิตแล้ววาง คือ รู้อย่างเดียว) แต่ กลับไปข่มจิต

ก็คงไม่น่าจะใช่ สมัยที่ควร



..................



เคยมีเรื่องเล่า ของครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ที่ท่านเคยผจญกับ กามราคะ


เรื่องคือ ท่านไปธุดงค์อยู่สถานที่แห่งหนึ่ง...

ณ ที่นั้น ท่านพบกับหญิงสาวคนหนึ่ง... ท่านรู้สึกถูกชะตากับหญิงสาวท่านนี้ และ หญิงสาวท่านนี้ก็แสดงท่าทีว่าสนใจท่านมาก

ในคืนวันหนึ่ง ท่านรู้สึกว่า ความอยากสึกหาลาเพศจากสมณะ มันแรงมาก... จิตมันไม่ยอมอยู่ในผ้ากาสวพักตร์ จะลาสิกขาให้ได้อย่างเดียว

ท่านรู้สึกว่า ราคะในจิตมันแรงมาก จนท่านไม่อาจต้านได้แล้ว
ท่านเลยตัดสินใจ เก็บกลด แล้วออกเดินทางไปจากที่นั้น กลางดึกนั้นเลย โดยไม่ร่ำลาใคร... หนีกิเลส นั่นละครับ

และ ในกาลต่อมาท่านจึงเจริญสมณะธรรม และ เห็นธรรมในที่สุด.... เป็นครูบาอาจารย์ที่สอนกรรมฐาน ยังประโยชน์ในวงกว้างให้แก่พระศาสนา


ปัจจุบัน ชาวพุทธรุ่นใหม่เขาคงไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านทำในคืนนั้น ... เพราะ นี่คือ การหนีกิเลส

ถ้าจะกล่าวแบบ อินเทรนด์ ในสมัยปัจจุบัน ก็ต้องกล่าวว่า "จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ...จิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีราคะ... ให้รู้อย่างเดียว ห้ามแทรกแซงใดๆทั้งสิ้น"

แต่ ถ้าหากท่านไม่ตัดสินใจแทรกแซงจิตในคืนนั้น ด้วยวิธีเช่นนั้น....ท่านก็คงมีหวังต้องสึกหาลาเพศไปแล้วในครั้งนั้น



ผมมองเรื่องนี้ เหมือนกับ การที่ เรารู้ตัวว่า กิเลสมีกำลังมาก-มรรคยังมีกำลังน้อย จึงต้องใช้กุศโลบายด้านต่างๆมาช่วยให้รอดตัวไปก่อน...
แม้นแต่ การหนีไปตั้งหลัก(ไม่ใช่หนีตลอด) ก็อาจจำเป็นในบางครั้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเข้าใจว่าเป็นการทำลายสะพานถูกหรือเปล่าครับ เมื่อเรารู้ว่า ข้าศึกอยู่ตรงนี้เราก็หนีไปซะ หรือเรารู้ว่าข้าศึกอยู่ตรงนั้นเราก็ไม่หันหัวเรือไปทางนั้น ก็เป็นการฉลาดในการอยู่ใช่หรือเปล่าครับ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมบอกว่าผมเบาปัญญา
เพราะผมเข้าใจแค่ว่า ถ้าคิดจะดำริออกจากกามแล้ว
ทำอะไรได้ก็ทำไปเถอะ
จะกระทำด้วยศีล คือ การสำรวม กาย วาจา ใจ
หรือกระทำด้วยสมาธิ คือ ทำความสงบแก่จิต แล้วหยิบอสุภะ ขึ้นมาพิจารณา
หรือกระทำด้วยปัญญา คือ พิจารณาธรรมตาม กฎไตรลักษณ์
ผมว่ามันก็พลิกแพลงกันอยู่แถว ๆ นี้ล่ะ
แล้วแต่ความเหมาะสม เวลาไหนควรเจริญสิ่งใด

สำหรับเรื่อง ศีล การสำรวมกาย วาจา ใจ และเพียรนำตัวเองให้ห่างจากที่อโครจร
ต้องยอมรับว่า กามคุณอย่างหยาบ นี่ block ไว้ได้ในระดับหนึ่งเลย
อย่างสมัยวัยรุ่น แทนที่ผมเลือกที่จะคบหมู่เพื่อนที่ชอบเที่ยว
ผมเลือกไปคบเพื่อนที่เล่นกีฬา
ดังนั้น ผมไม่ต้องมารบกับกามคุณหลาย ๆ อย่างได้ในระดับหนึ่งเลย...
และกามคุณในระแวกนั้นก็ไม่เจริญงอกงามในใจผมเลย...คือไม่เกิดก็คือไม่เกิดน่ะ

จริง ๆ ผมเน้นการเห็นเหตุแห่งทุกข์นะครับ เห็นทุกข์ในการพอใจในกามคุณ...
เพราะถ้าเห็นเหตุว่าการยึดติดในกามคุณเป็นทุกข์ การดำริออกมันก็จะเกิดขึ้น...
บางครั้งเรายังต้องอยู่กับมัน อย่างหน้าที่การงาน ก็ถือว่าเป็นกาม...
ทุกอย่างที่เป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดการยึดติด การพอใจ ล้วนอยู่ในสายตาที่ผมจะพิจารณาทั้งสิ้น
เพราะการรู้จักมัน จะทำให้เราเพียรที่จะอยู่กับมันอย่างเหมาะสม... คือรู้หยิบ รู้วาง
ตรงนี้ กฎไตรลักษณ์ เป็นพระเอกชูโรง

แค่นั้น.....ผมทำด้วยพื้นฐาน Basic ง่าย ๆ ครับ...
ไม่ได้มีหลักอะไรเลย....ก็แค่เบื่อทุกข์...และไม่ละเลยที่จะทำเหตุให้พ้นทุกข์แค่นั้น...
และผมก็เข้าใจมาตลอดว่าสิ่งที่ผมทำเป็นแค่ผมพยายามจะเอาตัวให้รอดไปวัน ๆ เบาใจไปวัน ๆ เท่านั้น
ก็แค่พยายามจะรับมือกับทุกข์ ที่มีแล้วในอดีต มีอยู่ในปัจจบัน
เพื่อตัดยอด(ลดทอน)ทุกข์ที่จะเกิดในอนาคต ก็แค่นั้น...
ไม่ได้คิดว่านั้นคือการปฏิบัติธรรม...

:b12: :b12: :b12:

ดังนั้นปัญญาของผม...ก็แค่นั้นเอง...หางอึ่งครับ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างที่ผมได้กล่าวแล้ว ว่าพระพุทธองค์ทรงทารบถึงความจริงว่ามนุษย์เป็นไปตามกรรมจริงๆเป็นไปตามระดับความคิดตามระดับปัญญา เพราะทุกคนคิดได้แค่ไหนก็จะหาเหตุผลมารองรับความคิดของตัวเอง108ความเห็น ว่าสิ่งที่ตัวเราทำอยู่นะมันถูก

เปรียบเหมือนว่าการเรียนมันก็มีหลายชั้น อนุบาลก็มี ประถมก็มี มหาลัยก็มี ป.ตรี โท เอกก็มี อนุบาลก็ไม่รู้ว่าประถมเรียนอะไร ป.ตรีก็ไม่รู้ป.เอกเรียนอะไร แต่ป.เอกถึงรู้ก็บอกให้อนุบาลเข้าใจ อนุบาลก็ไม่เข้าใจ(เปรียเทียบในระดับขั้นนะ)

แต่ความรู้การบรรลุธรรมมันไม่ได้เรียนเป็นชั้นๆไม่มีการสอบวัดผล มันก็เลยยุ่ง เพราะบางคนเข้าชั้นป.โท มาบอกก็โดนชั้นประถมแซวเอา อันนี้ต้องยอมรับกันให้ได้เพราะไม่มีประกาศมาโชว์สะด้วย แต่คนที่อยู่สูงเขาเมตาคนอยู่ล่างเสมอล่ะผมทราบ

และผมเองอาจจะอยู่ชั้นอนุบาลก็ได้ ไว้รู้กันตอนเจอกันที่นิพพานนั้นแหละครับ ถึงรู้ว่าใครมาก่อนมาหลัง จริงมั้ย แต่ผู้ที่ฉลาดในธรรมย่อมคว้าโอกาสในสิ่งที่เพื่อนสหายธรรมนำมาแสดง อันไหนมันสะกิดใจก็รู้ว่าเรายังมีหลงเหลืออยู่ ก็ขัดเกลา บางครั้งเขาแสดงไม่ได้ตั้งใจว่าเรา ไอ้เรามันก็รับเอามาอันนี้เกิดกับตัวผมเอง

ดีครับเห็นตัวเองดี ผมว่าทุกท่านเป็นคนดีครับ จะขั้นไหนไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ ศึกษาเพิ่มเติมกันได้ ผิดถูกก็ค่อยๆตามกันไป ผมก็ได้อะไรดีๆจากการสนทนาธรรมตรงนี้แหละเยอะเลยครับ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร