วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 05:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


จิต เกิด-ดับ อย่างรวดเร็ว.!

ฉะนั้น

(อนุ) ขณะทั้ง ๓ ของจิต ก็ดับหมดไป อย่างรวดเร็วด้วย.!


.


แต่ ธรรมใด ซึ่งเป็น อดีต คือ "ล่วงไปแล้ว" นั้น.!

หมายความว่า

ล่วงไปแล้วทั้ง ๓ ขณะ

คือ

ไม่เหลือ...ทั้งอุปาทขณะ ฐิติขณะ และ ภังคขณะ.


.


คำอธิบายตอไป มีว่า

คำว่า "ดับแล้ว" คือ ถึงความดับแล้ว

เปรียบเหมือน ไฟที่ดับแล้ว...ไม่มีอีก.!


.


คำว่า "ปราศไปแล้ว"

คือ ถึงความปราศไปแล้ว หรือ ไปปราศแล้ว.

เปรียบเหมือนคนตาย ที่ปราศไปแล้ว หรือ ไปปราศแล้ว...ไม่เหลือเลย.!


นั้น คือ "ลักษณะของความดับ"


.


คำว่า "แปรไปแล้ว"

คือ ถึงความแปรไป...ด้วยการ ละ ปกติ.!


คำว่า "ปกติ" คือ มี.

แต่ "แปรไป...ด้วย "การละปกติ" คือ ไม่มี.!


.


คำว่า "อัสดงคตแล้ว"

ด้วย อรรถ ว่า

"ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้"

กล่าวคือ..."ความดับ"


.


"อพฺภตฺถงฺคตา" แปลว่า ถึงความดับสูญแล้ว.

ทรงเพิ่มบทด้วย อุปสรรค

หมายความว่า

ไม่เพียงแต่ใช้ คำว่า "ดับ"

แต่ ยังเพิ่มบท ด้วยอุปสรรค.


คือ

ให้ รู้ถึง ความดับสูญแล้ว ไม่เหลือจริง ๆ


และ

คำว่า

"เกิดขึ้น แล้ว ปราศไป"

คือ

บังเกิด แล้ว ปราศไป...ไม่ใช่ ว่า ไม่มี.!

แต่ มี เพราะเกิดขึ้น.

และเมื่อ เกิดขึ้นแล้ว...ก็ ปราศไป สูญไปจริง ๆ

คือ ไม่มีเหลืออีกเลย.!


.


ธรรม ส่วนที่ "ล่วงไปแล้ว" นั้น.!

อะไรบ้าง.?

ที่เป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ.!

ซึ่ง

เป็น "สังขตธรรม" และ เป็น "ขันธ์ ๕"


.


"ขันธ์ ๕"


คือ


๑. รูปขันธ์.


คือ รูปทุกรูป ซึ่ง เกิดขึ้น แล้วต้องดับไป.


.


๒. เวทนาขันธ์.


คือ ความรู้สึกทุกอย่าง หมายถึง "เวทนาเจตสิก"

ซึ่ง เกิดขึ้น แล้วต้องดับไป.


.


๓. สัญญาขันธ์.


คือ สภาพธรรมที่จำ หมายถึง "สัญญาเจตสิก"

ซึ่ง เกิดขึ้น แล้วต้องดับไป.


.


๔. สังขารขันธ์.


คือ สภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิต หมายถึง "เจตสิก ๕๐ ประเภท"

(ยกเว้น เวทนาเจตสิก และ สัญญาเจตสิก เพราะ เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท)

ซึ่ง เกิดขึ้น แล้วต้องดับไป.


.


๕. วิญญาณขันธ์.


คือ จิตทุกประเภท.

(จิตทั้งหมด มี ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท)


.


เมื่อทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้น เป็น "สังขตธรรม"

ซึ่งหมายถึง ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่ง ใน ๕ ขันธ์.


.


ซึ่ง ขณะนี้...กำลังเกิดขึ้น และ ดับไป ๆ ๆ


อย่างนี้.!


ยังอาลัย ยังยึดถือ ยังผูกพัน ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งอยู่บ้างหรือไม่.?


.


ในเมื่อ....ทุกขันธ์ เกิดขึ้น แล้วต้องดับไป เช่นนี้.!


เมื่อดับแล้ว...ก็สูญไปหมดเลย.!

ไม่ใช่ดับแล้ว...ยังมีเหลือ..........


แต่ว่า

สูญไป ปราศไป..............

โดย ไม่เหลืออยู่อีกเลย.!

ในวันหนึ่ง ๆ ของแต่ละบุคคล.

เคยชอบ สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ.


เคยยึดถือ สิ่งต่าง ๆ ว่า

"เป็นตัวเรา"

"เป็นของเรา"

"เป็นสมบัติของเรา"


.


ตามความเป็นจริง

ทุกสิ่งทุกอย่าง ปรากฏ....ขณะที่เป็น "วิถีจิต" เท่านั้นเอง.!


.


สภาพธรรมใด ที่เป็นวิบาก....ก็เป็น ผล ของ กรรม.!


ไม่ว่าจะมีบ้าน มีเรือน มีทรัพย์สมบัติ

มีเสื้อผ้าอาภรณ์มากมายอย่างไร ประณีตสวยงามอย่างไร.


วิบากจิต ซึ่ง เป็น ผล ของอดีตกรรม

เพียงเกิดขึ้น รู้อารมณ์ที่น่าพอใจ หรือ ไม่น่าพอใจ นั้น ๆ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.


เพียง "ชั่วขณะที่สั้นมาก"

ที่ วิบากจิตขณะนั้น ๆ เกิดขึ้นและดับไป.!


ไม่ยั่งยืนเลย.!

เพราะเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ๆ


และ ไม่มีใครรู้ ว่า

กรรมใด จะให้ผล ในขณะต่อไป.!


เพราะเหตุว่า

ทุกคน ได้เคยกระทำอดีตกรรมมาแล้ว

ทั้งกุศลกรรม และ อกุศลกรรม

ในอดีต-อนันตรชาติ ในสังสารวัฏฏ์.


.


ฉะนั้น

ขณะใด ที่ถึงพร้อม ด้วยปัจจัย

กรรมใด กรรมหนึ่ง ที่กระทำแล้วในอดีต ก็ให้ผล

เป็น กุศลวิบากจิต หรือ อกุศลวิบากจิต.


.


วิบากจิตใด ๆ ที่เกิดขึ้น ขณะนั้น ๆ

ก็เกิดขึ้น รู้อารมณ์ ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง

ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง และ ทางใจบ้าง

เท่านั้นเอง.!

ซึ่ง ก็แล้วแต่ เหตุ-ปัจจัย.


.


การศึกษา พิจารณา

"เรื่องความไม่เที่ยงของสภาพธรรม"

เป็น

"วิริยารัมภกถา"

ซึ่งเป็นปัจจัย ให้ "สติ" เกิดขึ้น

ระลึก ตรง "ลักษณะของสภาพธรรม" ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.


และเป็นปัจจัย ให้มีการศึกษา พิจารณา

ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

จนกว่า "ปัญญา"เกิดขึ้น

และ รู้ ตามความเป็นจริง ว่า

สภาพธรรมทั้งหลาย

ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน.

แต่เป็นเพียง สภาพธรรม

คือ

รูปธรรม และ นามธรรม.!


ซึ่งมี "ลักษณะ" ที่ปรากฏให้จิต รู้ ได้

ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง

และ ทางใจบ้าง.


ตามเหตุ ตามปัจจัย...ซึ่งเป็น "อนัตตา"


.


ดังนั้น

เมื่อ "เข้าใจถูกต้อง"

ใน "ลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย"


ชวนวิถีจิต......ที่เป็น กุศลจิต

ก็มีปัจจัย ให้มี "การสั่งสมกุศลจิต" เพิ่มขึ้น ๆ


แต่

ถ้าไม่มีการฟังพระธรรม ที่ถูกต้อง

ไม่มีการศึกษาพระธรรม ที่ถูกต้อง

(ด้วยความไม่ประมาท)


ก็ไม่มีปัจจัย ให้เกิด "ความเข้าใจที่ถูกต้อง"

ใน "ลักษณะของสภาพธรรม"ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริงได้เลย.!


และยังเป็นเหตุ ที่ทำให้ ไม่เข้าใจ ว่า

ขณะใด เป็นวิบากจิต

ซึ่งเป็นเพียง ผลของกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต.!

หรือ

ขณะใด เป็น ชวนวิถีจิต

ที่กำลังสั่งสมสันดาน ที่เป็น อกุศลจิต หรือ กุศลจิต.!


.


และ เหตุ คือ "ความไม่รู้" นี้เอง

เป็นปัจจัยให้ "ไม่เห็นโทษของอกุศลธรรม"


.


เมื่อไม่เห็นโทษของอกุศลธรรม

และ

ไม่เห็นประโยชน์ ของการอบรมเจริญกุศล ทุกประการ

ทั้งขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นภาวนา.


สังสารวัฏฏ์ ก็ ต้อง ยืดยาว ต่อไป....!


.


เคยพิจารณาไหม ว่า

ในวันหนึ่ง ๆ นั้น......

อกุศลจิต เกิดมาก...หรือ กุศลจิต เกิดมาก.?


.


ฉะนั้น

ผลของกรรม ที่จะเกิดในอนาคตข้างหน้า

จะเป็นอกุศลวิบาก...หรือ เป็น กุศลวิบาก

อย่างไหน...จะมากกว่ากัน.?


.


ซึ่ง ทุกท่าน

ควรพิจารณาสภาพธรรมต่าง ๆ

ที่เกิดกับท่าน ในชีวิตประจำวัน

ตามปกติ.....ตามความเป็นจริง.


(เช่น...ขณะนี้.!)


บารมี คือ ธรรมที่จะทำให้ถึงฝั่ง คือพระนิพพาน ถ้าขาดบารมีแล้วไม่

สามารถถึงพระนิพพานได้ การอบรมเจริญสติปัฏฐานเป็นปัญญาบารมี เป็น

หนึ่งใน ๑๐ เท่านั้น จริงอยู่สติปัฏฐานเป็นทางเดียวที่จะดับกิเลสได้ แต่ต้องมี

ธรรมอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบ เช่น ทาน ศีล วิริยะ ขันติ เมตตา เป็นต้น สรุป

คือ ต้องอบรมบารมี

จำเป็นต้องเจริญบารมีทั้ง ๑๐ เพราะขณะที่จิตไม่เป็นกุศล ก็จะเป็นอกุศล จึงควร

เจริญกุศลทุกประการ ทุกสถานที่ ทุกกาลเวลา โดยเฉพาะเจริญสติปัฏฐาน เพราะ

เมื่อเจริญสติปัฏฐานแล้วจะรู้ว่าขณะใดเป็นกุศล และขณะใดเป็นอกุศล และจะรู้ว่า

อกุศลเกิดมากมาย มากกว่ากุศล จึงควรอบรมเจริญบารมี ไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล ภาวนา

คือการอบรมเจริญปัญญา

ในชีวิตประจำวันจะประกอบไปด้วยอกุศลจิตเป็นส่วนใหญ่ เพราะ โลภะ โทสะ

โมหะ มีกำลังมากจากการสะสม และจากอารมณ์ที่มากระทบ การบำเพ็ญบารมี ๑๐ ใน

ชีวิตประจำวัน เช่น ทาน ศีล ขันติ วิริยะ เมตตา จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเพี่อเป็น "พละ"

ในการต่อสู้กับกิเลสที่กำลังมายาวนานกว่า และเพื่อเป็นบันไดก้าวไปสู่การเจริญ

สติปัฏฐานด้วย

การเจริญสติปัฏฐาน คือ การอบรมเจริญปัญญา อบรมความรู้ความเข้าใจถูกต้อง

อบรมความเห็นถูกต้อง อบรมความไม่หลงลืม อบรมสติสัมปชัญญะ เพื่อการค่อยๆ

รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงในทวารทั้ง ๖ สภาพธรรมทั้งหมด

เป็นเพียงธัมมะอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ปรากฏ เมื่อปัญญาเจริญสมบูรณ์ขึ้นย่อมเห็นตาม

ความเป็นจริง เมื่อเห็นตามเป็นจริงย่อมหน่าย เมื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด

เมื่อคลายความกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสย่อมพ้นจากกอง

ทุกข์ทั้งปวง นี่คือประโยชน์ของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ในชีวิตประจำวัน ความรู้

ดีกว่าความไม่รุ้ ความไม่รู้มีโทษ ความรู้ คือ ปัญญาไม่มีโทษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 571

อีกอย่างหนึ่งบารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ.

หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส. หรือบารมีย่อม

ถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจ

รู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว หรือบารมีย่อมตักตวง

คุณมีศีลเป็นต้นอื่น ไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง. หรือบารมีย่อมทำลาย

ปฎิปักษ์อื่นจากธรรมกายอันเป็นอัตตา. หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความ

พินาศแก่ตนนั้น

บารมี คือ ธรรมะหรือคุณธรรมที่จะทำให้ถึงฝั่งคือพระนิพพาน ผู้ที่มีปัญญาย่อมกระทำ

การให้ทาน รักษาศีล ฟังพระธรรม เป็นต้น ไม่หวังผลจากการกระทำนั้น การกระทำ

ด้วยจิตบริสุทธิ์เป็นบารมี แต่ผู้นั้นต้องมีปัญญาเห็นโทษของกิเลสและสังสารวัฏ และ

เข้าใจหนทางในการออกจากวัฏฏะอันน่ากลัว แต่ถ้าไม่มีความรู้อะไรเลย มีคนมาชวน

ให้ไปสร้างบารมี บารมี คืออะไรก็ไม่รู้ ปัญญาคืออะไรก็ไม่รู้ นิพพานคืออะไรก็ไม่รู้ การ

กระทำอย่างนี้ของคนนี้ไม่ใช่บารมี เพราะไม่มีปัญญา คนไม่มีปัญญาแม้จะใช้คำว่าสร้าง

บารมี แต่การกระทำนั้นไม่ใช่บารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 571

คำตอบมีดังต่อไปนี้ :- บารมีคืออะไร ? บารมี คือ คุณธรรมทั้งหลาย

มีทาน เป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือ กรุณาอันตัณหา

มานะ และทิฏฐิไม่เข้าไปกำจัด.



บารมีเพราะอรรถว่ากระไร ? พระมหาสัตว์พระโพธิสัตว์เป็นผู้ยอดยิ่ง

เพราะสูงกว่าสัตว์ด้วยการประกอบคุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้น ความเป็น

หรือการกระทำของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นบารมี กรรมมีการบำเพ็ญเป็น

ต้น ก็เป็นบารมี.



อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ปรม เพราะอรรถว่าบำเพ็ญ ชื่อว่า โพธิสัตตะ

เพราะอรรถว่าเป็นผู้บำเพ็ญและเป็นผู้รักษาคุณทั้งหลายมีทานเป็นต้น. คุณ

ดังกล่าวมานี้ เป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. ภาวะก็ดี, กรรมก็ดีเป็นบารมีของ

ผู้บำเพ็ญ. กรรมมีการบำเพ็ญทานเป็นต้น ก็เป็นบารมีของพระโพธิสัตว์

ผู้บำเพ็ญ.



อีกอย่างหนึ่งบารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ.

หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส. หรือบารมีย่อม

ถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจ

รู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว หรือบารมีย่อมตักตวง

คุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง. หรือบารมีย่อมทำลาย

ปฎิปักษ์อื่นจากธรรมกายอันเป็นอัตตา. หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความ

พินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปรมะ. สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะ

ดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่า มหาสัตว์. คำเป็นต้นว่า ปรมสฺส อยํ ดังนี้

ก็พึงประกอบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว. หรือบารมีย่อมขัดเกลาคือย่อมบริสุทธิ์

ในฝั่งคือพระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด. หรือบารมีย่อมผูก

ย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมไปย่อมถึง

ย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมกำหนดรู้ซึ่งพระนิพพานนั้น

ตามความเป็นจริง. หรือบารมีย่อมตักตวงซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น.

หรือบารมีย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น.

ฉะนั้น จึงชื่อว่าบารมี. บุรุษใดบำเพ็ญบารมีดังกล่าวมานี้ บุรุษนั้นชื่อว่า

มหาบุรุษ.

ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น เป็นธรรมฝ่ายกุศลควรอบรม ด้วยการเข้าใจสภาพ

ธรรมตามความเป็นจริง เพราะมีปัญญาเข้าใจความจริงจึงเป็นผู้ไม่มักโกรธ อดทน

ต่ออารมณ์ที่มากระทบ ผู้ที่อดทนอดกลั้นได้เพราะมีปัญญา

ขอยกตัวอย่างจากพระไตรปิกฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 341

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ธรรมเทพบุตรมีขันติเป็นกำลัง ชนะ

อธรรมเทพบุตร ผู้มีกำลังในการรบ ทำอธรรม-

เทพบุตร ฝังไว้ในแผ่นดิน. ธรรมเทพบุตร

เป็นผู้มีกำลังยิ่งไม่ล่วงสัจจะ ดีใจขึ้นรถไปตาม

นั่นเอง.

อธรรมเทพบุตรในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. บริวารของ

อธรรมเทพบุตร คือบริษัทของเทวทัต. ธรรมเทพบุตร คือพระโลกนาถ.

บริวารของธรรมเทพบุตร คือพุทธบริษัท.

แม้ในธรรมเทวปุตตจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือตาม

ควร โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่ง แม้ในจริยานี้ ก็พึงประกาศคุณานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ มี

อาทิอย่างนี้ คือ การที่เมื่อพระมหาสัตว์เปี่ยมพร้อมด้วย อายุ วรรณะ ยศ

สุข และความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ ด้วยกามคุณอันยิ่งใหญ่เป็นทิพย์เหมือน

กัน อันนางอัปสร ๑,๐๐๐ บำเรออยู่ตลอดกาล น่าจะตั้งอยู่ในความประมาท

อย่างใหญ่ แต่มิได้ถึงความประมาทแม้แต่น้อย แสดงธรรมในวัน ๑๕ ค่ำ

ทุกๆ เดือนด้วยหวังว่า จักยังโลกัตถจริยาให้ถึงที่สุด พร้อมด้วยบริวารเที่ยว

ไปในทางของมนุษย์ ยังสรรพสัตว์ให้เว้นจากอธรรม แล้วประกอบในธรรม

ด้วยมหากรุณา การที่พระโพธิสัตว์แม้พบกับอธรรมเทพบุตร ก็มิได้คำนึงถึง

ความไร้มารยาทที่อธรรมเทพบุตรแสดงออกมา ไม่ทำจิตให้โกรธในอธรรม-

เทพบุตรนั้น ยังขันติ เมตตาและความเอ็นดูเท่านั้นให้ตั้งอยู่ แล้วรักษาศีล

ของตนมิให้ขาด และให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี.

จบ อรรถกถาธรรมเทวปุตตจริยาที่ ๘


อธิษฐานบารมี คือ ความตั้งใจมั่นที่จะอบรมเจริญกุศลเพื่อดับกิเลส

เพราะเห็นโทษของอกุศล

ถ้ายังไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง แล้วคิดว่าตัวเองดีแล้ว หรือว่าดีกว่าอีกหลายคน

ก็จะมีความพอใจในความดีของตน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีความดีมาก

ไม่ว่าขณะบริโภคอาหาร กำลังสนุกสนาน กำลังทำกิจการงานต่าง ๆ

ก็เต็มไปด้วยอกุศลทั้งสิ้น

ถ้าไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง แล้วคิดว่าเป็นผู้ที่ดี แล้วก็จะไม่เจริญกุศล

ไม่รู้ตัวว่าอกุศลกำลังชักจูง โน้มเอียงให้เป็นไปในอกุศลมากขึ้น

ผู้ที่มีอธิษฐานบารมี

คือความตั้งใจมั่นที่จะอบรมเจริญปัญญาศึกษาและปฏิบัติธรรม

เพื่อที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

ยังต้องมีสัจจบารมี คือ การเป็นผู้จริง เป็นผู้ตรง ต่อความตั้งใจมั่นนั้น

ถ้าไม่มีสัจจบารมีก็ย่อมหวั่นไหว แล้วก็พ่ายแพ้ต่ออกุศล

จะเห็นได้จริง ๆ ว่า เรื่องของการที่จะรู้จักตัวเอง แล้วก็อบรมเจริญกุศล

ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ควรประมาท

ฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ประมาทในการฟังธรรม

ถึงแม้ว่าในกาลครั้งหนึ่ง คิดที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์

ก็เป็นเพียงกาลครั้งหนึ่ง ครั้งเดียว หรือสองครั้ง สามครั้งเท่านั้น ยังไม่มั่นคงพอ

ต้องเพิ่มปัญญาธิษฐานด้วยจึงจะมีความมั่นคงขึ้น

จนกระทั่งเป็นอธิษฐานบารมีที่ถึงความสมบูรณ์

เป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ปัญญาบารมี เพื่อความถึงฝั่ง

คือการประจักษ์แจ้งพระนิพพาน

อธิษฐาน คือ ความตั่งใจมั่น ความมั่นคงในการทำความดี ไม่เปลี่ยน แม้ว่าจะมีอุป-

สรรค์ก็ยังมีความตั้งใจเด็ดเดี่ยว ถ้าเราทำบุญแล้วอธิษฐานขอให้หมดกิเลสก็อยู่ที่เรา

ทำเหตุหรือไม่ ถ้าเราไม่ได้ฟังธรรมะ ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ไม่ได้สะสมปัญญา ถึง

จะอธิษฐานให้หมดกิเลสก็ไม่ได้ เพราะถ้าเป็นบารมีจริง ๆต้องมีปัญญาประกอบด้วย



เวลาใส่บาตรหรือทำบุญต่างๆจะอธิษฐานขอให้เราหมดกิเลสหลุดพ้นจากความโลภ

ความโกรธ ความหลง ขอให้มีปัญญา " ขออย่างนั้นเป็นโลภะจ้ะ ถึงแม้จะขอในสิ่งที่ดี

แต่ถ้าไม่ได้เจริญเหตุผลที่ดีย่อมมีไม่ได้ ศาสนาพุทธสอนให้ละ แม้แต่ความดีก็ไม่

ติดข้องว่าเป็นเราดี จึงต้องมั่นคงในการเจริญกุศลเพื่อขัดเกลากิเลสให้บริสุทธิ์หมดจด

เป็นอธิษฐานบารมี

วิริยบารมี หมายถึง ความเพียรในการสะสมความดีที่เป็นบารมี คือ ต้องเป็นไปในกุศล

ของผู้มีปัญญาเพื่ออกจากวัฏฏะ ไม่ใช่ความเพียรธรรมดาทั่วไป ดังตัวอย่างวิริยบารมีของ

พระโพธิสัตว์ ดังนี้



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 66

ข้อความตอนหนึ่งจากสังขพราหมณจริยา

สังขพราหมณ์นั้นย่อมได้รับบารมีแม้เหล่านี้ คือ ศีลบารมี ด้วย

อำนาจแห่งนิจศีลและอุโบสถศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี. เนกขัมมบารมีด้วยอำนาจ

แห่งกุศลธรรม เพราะออกจากธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทานและศีลเป็นต้น.

วิริยบารมี ด้วยอำนาจแห่งความอุตสาหะยิ่งเพื่อให้สำเร็จ ทานบารมีเป็นต้น

และด้วยอำนาจแห่งความพยายามข้ามมหาสมุทร.



ข้อความตอนหนึ่งจาก เอกราชจริยา

พึงทราบ ทานบารมี ด้วยการสละทรัพย์ ๖๐๐,๐๐๐ ณ โรงทาน

๖ แห่ง ทุกๆ วันของพระโพธิสัตว์นั้น และด้วยการทรงบริจาคราชสมบัติ

ทั้งสิ้นแก่พระราชาข้าศึก. ศีลบารมี ด้วยการรักษาศีลและอุโบสถเป็นนิจ

และด้วยการสำรวมศีลไม่เหลือเศษของนักบวช. เนกขัมมบารมี ด้วยการ

ออกบวชและด้วยการบรรลุฌาน. ปัญญาบารมี ด้วยการไตร่ตรองถึง

ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย และด้วยการจัดแจงทานและ

ศีลเป็นต้น. วิริยบารมี ด้วยการขมักเขม้นสะสมบุญมีทานเป็นต้น

ความเพียรในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ถือเป็นวิริยะได้หรือไม่ เพราะเคยได้ฟังธรรม

หรืออ่านหนังสือจำไม่ได้ บอกว่าวิริยะที่เป็นกุศล คือ การเพียรทำลายกิเลสในตัวเราให้หมด

ไป ส่วนที่เป็นอกุศล คือเพียรที่จะขี้เกียจไม่ทำในสิ่งดีๆ เช่น การสวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน

รู้ว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ทำ เพราะความขี้เกียจของตัวเอง

วิริยะ เป็นปกิณณกเจตสิก เกิดกับ กุศล หรือ อกุศลก็ได้ครับ

แต่กุศลก็มีหลายระดับ กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาก็มี ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็มี

แต่ถ้าเป็นวิริยะบารมี คือ ความเพียรที่ทำให้ถึงฝั่งคือดับกิเลส วิริยะที่จะเป็นบารมีต้อง

ประกอบด้วยปัญญา ปัญญาอย่างไร คือ ปัญญาที่เห็นโทษของกิเลส และโทษของการเกิด

และอยู่ในสังสารวัฏจึงเป็น วิริยะบารมี คือเพียรที่จะออกจากสังสารวัฏ ดังนั้น เพียรที่จะเจริญ

กุศล เพื่อจะออกจากสังสารวัฏ กุศลที่ทำก็น้อมไปเพื่อจะดับกิเลส เพียรทำกุศลเพื่อน้อมไป

เพื่อออกจากสังสารวัฏ จึงเป็น วิริยะบารมี

วิริยะบารมี จึงต้องมีปัญญาเสมอ ที่เห็นโทษของกิเลสและสังสารวัฏครับ ส่วนการทำงาน

ก็ต้องมีจิตเกิดขึ้น ขณะที่ทำงานจิตเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นอกุศลจิต ก็มีวิริยะเจตสิกเกิด

ด้วย แต่เป็นความเพียรในอกุศล

วิริยะบารมี คือ ความเพียร ความขยันในทางกุศล และเป็นไปเพื่อการสละกิเลส เช่น

มีความเพียรในการฟังธรรม เพื่อละความไม่รู้ เพื่อขัดเกลากิเลส ฯลฯ คนเกียจคร้าน

ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา

ตามตัวอย่างที่พระโพธิสัตว์ท่านบริจาคทรัพย์ บุตรภริยา อวัยวะ ชีวิต

ให้เป็นทาน ท่านบริจาคตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ผู้ที่บริจาคอวัยวะร่างกายให้โรง

พยาบาลเพื่อการศึกษา หลังจากตนตายไปแล้ว ก็เป็นการกระทำที่ทำได้ยาก

เหมือนกัน ถ้าหากว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่แสดงความจำนงค์ไว้ ก็ควรที่กล่าว

ได้ว่าเป็นการบริจาคที่สมบูรณ์ ส่วนจะเป็นทานบารมีหรือไม่ อยู่ที่ความเข้าใจ

ของผู้บริจาค เช่นเดียวกับการให้ทาน ใช่ว่าการให้ทานของทุกคนจะเป็นบารมี

ทั้งหมด คือต้องเป็นไปเพื่อการสละกิเลส

เรื่องทานบารมีของพระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓- หน้าที่ 618

การชี้แจงธรรมเป็นข้อปฏิบัติของทานบารมี. ในทานบารมีนั้นมีทาน ๓ อย่าง

โดยเป็นวัตถุที่ควรให้ คือ อามิสทาน ๑ อภัยทาน ๑ ธรรมทาน ๑.

ในวัตถุเหล่านั้น พระมหาบุรุษ เมื่อจะให้วัตถุภายนอกรู้ด้วยตนเอง

ว่า จะให้วัตถุแก่ผู้มีความต้องการ. แม้เขาไม่ขอก็ให้. ไม่ต้องพูดถึงขอละ.

มีของให้ จึงให้. ไม่มีของให้ ย่อมไม่ให้. ให้สิ่งที่ปรารถนา. เมื่อมีไทยธรรม

ย่อมไม่ให้สิ่งที่ไม่ปรารถนา. อาศัยอุปการะตอบย่อมให้. เมื่อไม่มีไทยธรรม

ย่อมแบ่งสิ่งที่ปรารถนาให้สมควรแก่การแจกจ่าย. อนึ่ง ไม่ให้ศัสตรายาพิษ

และของเมาเป็นต้น อันจะนำมาซึ่งความเบียดเบียนผู้อื่น. แม้ของเล่นอัน

ประกอบด้วยความพินาศ และนำมาซึ่งความประมาท ก็ไม่ให้. อนึ่ง ไม่ให้

ของไม่เป็นที่สบาย มีน้ำดื่มและของบริโภคเป็นต้น หรือของที่เว้นจากการ

กำหนดแก่ผู้ขอที่เป็นไข้. แต่ให้ของเป็นที่สบายเท่านั้นอันสมควรแก่ประมาณ.

อนึ่ง คฤหัสถ์ขอก็ให้ของสมควรแก่คฤหัสถ์. บรรพชิตขอก็ให้ของ

สมควรแก่บรรพชิต. ให้ไม่ให้เกิดความเบียดเบียนแก่ใคร ๆ ในบรรดาบุคคล

เหล่านี้ คือ มารดาบิดา ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ บุตรภรรยา ทาส

และกรรมกร. อนึ่ง รู้ไทยธรรมดีมาก ไม่ให้ของเศร้าหมอง. อนึ่ง ไม่ให้

อาศัยลาภสักการะความสรรเสริญ. ไม่ให้อาศัยการตอบแทน. ไม่ให้หวังผล

เว้นแต่สัมมาสัมโพธิญาณ. ไม่ให้รังเกียจผู้ขอหรือไทยธรรม. อนึ่ง ไม่ให้

ทานทอดทิ้ง ยาจกผู้ไม่สำรวม แม้ผู้ด่าและผู้โกรธ. ที่แท้มีจิตเลื่อมใสให้

อนุเคราะห์ด้วยความเคารพอย่างเดียว. ไม่ให้เพราะเชื่อมงคลตื่นข่าว. ให้

เพราะเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมเท่านั้น. ไม่ให้โดยที่ทำยาจกให้เศร้าหมอง

ด้วยการให้เข้าไปนั่งใกล้เป็นต้น. ให้ไม่ทำให้ยาจกเศร้าหมอง. อนึ่ง ไม่ให้

ประสงค์จะลวงหรือประสงค์จะทำลายผู้อื่น. ให้มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างเดียว.

ไม่ให้ทานใช้วาจาหยาบ หน้านิ่วคิ้วขมวด. ให้พูดน่ารัก พูดก่อน พูดพอ

ประมาณ. โลภะมีมากในไทยธรรมใด เพราะความพอใจยิ่งก็ดี เพราะสะสม

มานานก็ดี เพราะความอยากตามสภาพก็ดี. พระโพธิสัตว์รู้อยู่บรรเทาไทย-

ธรรมนั้นโดยเร็ว แล้วแสวงหายาจกให้. อนึ่ง ไทยวัตถุใดนิดหน่อย

แม้ยาจกก็ปรากฏแล้ว แม้ไม่คิดถึงไทยวัตถุนั้น ก็ทำตนให้ลำบาก แล้วให้

ยาจักนับถือเหมือนอกิตติบัณฑิต ฉะนั้น.

เรื่องการบริจาควัตถุภายใน เช่น ดวงตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓- หน้าที่ 620

ส่วนทานภายในพึงทราบโดยอาการ ๒ อย่าง. อย่างไร ? เหมือน

บุรุษคนใดคนหนึ่งสละตน เพราะเหตุอาหารและเครื่องปกปิดแก่ผู้อื่น. ย่อม

ถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นทาสฉันใด. พระมหาบุรุษก็ฉันนั้นเหมือน

กัน มีจิตปราศจากอามิสเพราะเหตุสัมโพธิญาณ ปรารถนาประโยชน์สุขอัน

ยอดเยี่ยมแก่สัตว์ทั้งหลาย ประสงค์จะบำเพ็ญทานบารมีของตน จึงสละตน

เพื่อคนอื่น ย่อมถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นผู้ต้องทำตามความประสงค์.

ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ มอบอวัยวะน้อยใหญ่มีมือเท้าและนัยน์ตาเป็นต้น

ให้แก่ผู้ต้องการด้วยอวัยวะนั้น ๆ. ไม่ข้องใจ ไม่ถึงความสยิ้วหน้า ในการ

มอบให้นั้น เหมือนในวัตถุภายนอก. เป็นความจริงอย่างนั้น พระมหาบุรุษ

ยังความปรารถนาของยาจกเหล่านั้นให้บริบูรณ์ ด้วยการบริโภคตามสบาย

หรือด้วยความชำนาญของตน จึงสละวัตถุภายนอกด้วยอาการ ๒ อย่าง ด้วย

หวังว่า เราให้ทานหมดสิ้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณด้วยการเสียสละอย่างนี้

ดังนี้. พึงทราบการปฏิบัติในวัตถุภายใน ด้วยประการฉะนี้.





เรื่องอภัยทานและธรรมทานของพระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓- หน้าที่ 621

ส่วนอภัยทาน พึงทราบโดยความป้องกันจากภัย ที่ปรากฏแก่สัตว์

ทั้งหลายจากพระราชา โจ ไฟ น้ำ ศัตรู สัตว์ร้ายมีราชสีห์ เสือโคร่งเป็นต้น.

ส่วนธรรมทาน ได้แก่การแสดงธรรมไม่วิปริต แก่ผู้มีจิตไม่เศร้า

หมอง. การชี้แจงประโยชน์อันสมควร นำผู้ยังไม่เข้าถึงศาสนาให้เข้าถึง

ผู้เข้าถึงแล้วให้เจริญงอกงาม ด้วยทิฏฐธรรมิกประโยชน์(ประโยชน์ปัจจุบัน)

สัมปรายิก(ประโยชน์ภายหน้า) และปรมัตถประโยชน์(ประโยชน์คือบรรลุมรรค

ผล)


ทานบารมี มีการบริจาคเป็นลักษณะ มีการกำจัดโลภะในไทยธรรมเป็นรส

มีความสามารถคือการสละได้เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีภวสมบัติและวิภวสมบัติเป็นปัจจุปัฏฐาน

มีวัตถุอันควรบริจาคเป็นปทัฏฐาน

ทานบารมีจริง ๆ นั้น เป็นปัจจัยให้ถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นฝั่งที่ดับกิเลส

ต่างจากฝั่งซึ่งเป็นฝั่งของกิเลส

การที่จะถึงฝั่งดับกิเลสนั้นแสนไกล ไม่ใช่ว่าจะถึงได้โดยง่าย และต้องเข้าใจจริง ๆ

เป็นการขจัดขัดเกลากิเลส เพราะฉะนั้น ในขณะที่ให้ก็จะต้องรู้ว่า

มีความมุ่งหวังสิ่งตอบแทนอย่างใดหรือไม่

ถ้ายังหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใด การให้นั้นก็ไม่ใช่บารมี เพราะยังเป็นไปกับกิเลส

ฉะนั้นการให้ที่ละโลภะ จึงเป็นการให้เพื่อขัดเกลากิเลส คือไม่หวังสิ่งใดตอบแทนทั้งสิ้น



นอกจากการให้วัตถุเป็นทานแล้ว ก็ยังมีการให้ที่สูงกว่านั้น คือการให้ธรรม

การให้ความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในชาตินี้และในชาติ ต่อ ๆ ไปด้วย

เพราะถ้าพิจารณาแล้ว การให้วัตถุสิ่งของ เพื่อสงเคราะห์ผู้ที่ขัดสนยากไร้นั้น

เป็นเพียงปลายเหตุ

แต่ว่าไม่ได้พิจารณาถึงเหตุที่ทำให้บุคคลนั้นต้องเป็นผู้ที่ยากไร้

การเป็นผู้ที่ยากไร้นั้นเป็นผลของอกุศลกรรม

ซึ่งตราบใดที่ยังมีอกุศลกรรมอยู่ ก็ยังเป็นเหตุให้เกิดเป็นผู้ยากไร้ได้



ฉะนั้น การสงเคราะห์จริง ๆ นั้น นอกจากสงเคราะห์ด้วยวัตถุแล้วก็

ควรสงเคราะห์ให้ถึงต้นเหตุ

คือเหตุที่ทำให้เป็นผู้ยากไร้ โดยการสงเคราะห์ให้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง

ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า ชีวิตประจำวันที่สงเคราะห์ ช่วยเหลือกันจริง ๆ นั้น

สามารถที่จะกระทำได้ทั้งในขั้นของ วัตถุทานและ ขั้น ธรรมทาน

ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ผู้อื่นได้มีโอกาสเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้อง

และได้ประพฤติปฏิบัติธรรมด้วย

นอกจากนั้นการสงเคราะห์ให้บุคคลใดมีความเข้าใจพระธรรม


ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้กุศลของบุคคลนั้นเจริญขึ้นด้วย

เพราะเมื่อไม่เข้าใจพระธรรม กุศลอื่น ๆ ก็เจริญไม่ได้ แม้แต่ในเรื่องของทาน ศีล และภาวนา

บารมี เป็นคุณธรรมที่ทำให้สามารถดับกิเลสและถึงพระนิพพาน ดังนั้น การจะถึงพระ

นิพพานและดับกิเลสก็ต้องเป็นปัญญาที่สามารถดับกิเลสได้และทำให้ถึงพระนิพพาน

บารมีก็ช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบารมี ในข้อใด เช่น ทานบารมี เป็นต้น ก็ต้องประกอบด้วย

ปัญญา(ปัญญาบารมี)เสมอ มีปัญญาอย่างไร คือ บารมี ๑๐ ที่พระโพธิสัตว์ตั้งใจ

สมาทานครั้นเมื่อเป็น สุเมธดาบส เพราะท่านมีปัญญาเห็นโทษของการเกิด และ

กิเลส จึงบำเพ็ญบารมี มี ทาน เป็นต้น ด้วยตั้งใจว่าการให้ครั้งนี้ เป็นไปเพื่อดับกิเลส

และไม่เกิดอีก ดังนั้น ปัญญาจึงเป็นตัวกำหนดว่า จะเป็นบารมีหรือไม่ใช่บารมี ด้วย

การเห็นโทษของกิเลสและการเกิด และที่สำคัญที่สุด เข้าใจหนทางในการดับกิเลส

(สติปัฏฐาน) มิเช่นนั้นก็อาจเข้าใจว่า นิพพานเป็นอย่างอื่นไป ดังนั้น ทานที่เป็น

บารมีและไม่เป็นบารมีก็มี เช่น ให้ด้วยความหวัง เป็นทานบารมีหรือเปล่า ให้ด้วย

ความไม่หวังแต่ไม่มีปัญญา เช่น ให้อนุเคราะห์เพื่อช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งศาสนาอื่นก็มี

เป็นทานบารมีหรือเปล่า หรือ ให้ด้วยตั้งใจว่า เพื่อเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสและน้อม

บุญไปความไม่เกิดอีกในอนาคต เป็นทานบารมีหรือเปล่า ดังข้อความในพระไตรปิฎก


เรื่อง การทำกุศลที่เป็นบารมีคือทำเพื่อออกจากสังสารวัฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน

[๘๒๖] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า

นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไป

ตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาด้วยเครื่องหอมและ

ดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักษิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่าง

ใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ ก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญ

เพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญ

เพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุ

แห่งวัฏฏะ เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้ม

โอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้

ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน

ปัญญาบารมี เป็นประธาน บารมีอื่นเป็นบริวารของปัญญาบารมี

เพราะถ้าขาดปัญญาเสียแล้ว ก็ไม่สามารถอบรมเจริญบารมีได้



พุทธองค์ทรง แสดงธรรม งามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เปรียบเหมือนบุคคลผู้หงาย

ของที่คว่ำอยู่ - เปิดของที่ปิดอยู่ - บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ ส่องประทีปในที่มืดเพื่อ

ผู้มีจักษุจะพึงเห็นรูปได้ ฉะนั้น.....ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ

ถ้าท่านได้พิจารณาและสำรวจตนเองทราบว่า ยังไม่มีกำลังเรี่ยวแรง พอที่

จะเดินทางไปสู่ทิศที่ปลอดภัยนั้นได้ทันที ยังไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้กับ

กิเลสในแต่ละวัน ซึ่งมักจะพ่ายแพ้อยู่เสมอ ก็ขอให้ท่านได้สะสมกำลัง

ซึ่งก็คือ “บารมี ๑๐” อันเป็นธรรมเครื่องระงับยับยั้งกิเลส และเป็นธรรม

ที่เป็นกำลังทำให้ถึงซึ่งฝั่ง คือ พระนิพพาน ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และเหล่าพระอริยสาวกได้ทรงดำเนินมาแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถามคุณ รสมนครับ

ผมไม่รู้เรื่องอภิธรรมเลยครับ

เลยขอถามซะข้อนะครับ

ขันธ์ 5 มีนามกับรูป ใช่ไหมครับ

แล้วมีการแยกเกิดแยกดับหรือไม่ครับ คือ นามเกิดก่อนหรือรูปเกิดก่อน ตอนที่มองเห็นนะครับ หรือ ว่าเป็นอย่างอื่นครับ

อยากทราบคำตอบมากครับ เพราะไม่รู้เรื่องพระอภิธรรมเลยครับ

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปกับนามนั้น ขออธิบายว่า
ถ้าเราก้าวขาซ้ายเดิน
การก้าวเดินนั้นเป็นรูป ส่วนการรู้ว่าเดินนั้นเป็นนาม
ถ้าเรารับประทานอาหารอยู่แล้วมีรสอาหาร
รสเป็นรูป ส่วนอาการที่รู้รสเป็นนาม
เมื่ออยู่ในห้องแอร์ มีความเย็น
ความเย็นเป็นรูป ความรู้สึกเย็นนั้นเป็นนาม
เมื่อสัมผัสเหล็ก ความแข็งเป็นรูป ความรู้สึกแข็งเป็นนาม
สรุป รูปเป็นเพียงสักแต่ว่ารูป
แต่อาการที่รู้เป็นนามและรับรู้ที่ใจ
ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รักษาศีล ทำสมาธิ ด้วยความตั้งใจโดยปราศจากหวังใดๆ แล้วรอปัญญาธรรมเกิด เมื่อนั้นคุณๆจะเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธองค์ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บารมี คือ

บอใบไม้ สระอา รอเรือ มอม้า สระอี
อ่านว่า
บา ระ มี...

สาธุ๊............... :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


yahoo เขียน:
บารมี คือ

บอใบไม้ สระอา รอเรือ มอม้า สระอี
อ่านว่า
บา ระ มี...

สาธุ๊............... :b8: :b8: :b8:


อุ๋ย...:b5:....อาการเหมือนโดนเหยียบหาง

:b18: :b18: :b18: :b18: :b18: :b18:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2008, 08:42
โพสต์: 67

ที่อยู่: สังขตธาตุ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขันธ์ 5 มีนามกับรูป ใช่ไหมครับ


ถูกต้องนะครับ ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูป 1(กาย) นาม 4 (จิต)
มีรูปกายแต่ขาดนาม(จิต).....ก็ตาย
มีแต่จิตไม่มีรูปกาย....ตายคือกัน

อ้างคำพูด:
แล้วมีการแยกเกิดแยกดับหรือไม่ครับ คือ นามเกิดก่อนหรือรูปเกิดก่อน ตอนที่มองเห็นนะครับ หรือ ว่าเป็นอย่างอื่นครับ


มันจะแยกกันเกิดดับได้อย่างไร ต้องอยู่ด้วยกันจึงจะเรียกว่าชีวิต
เกิดครั้งเดียว.....ตายครั้งเดียว Onion_L

.....................................................
เราคือใจที่บริสุทธิ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร