ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=24906
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  พุทธบาล [ 13 ส.ค. 2009, 22:27 ]
หัวข้อกระทู้:  คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจหลายคนเวลาเหงาหว้าเหว่ สิ้นหวังคล้ายว่าเป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบหรือไม่มีคำตอบอาจจะมีคนตอบได้แต่ก็ไม่อาจยืนยันว่าเป็นคำตอบที่แท้จริง tongue :b11: :b4: :b9:

ไฟล์แนป:
pratudong.jpg
pratudong.jpg [ 20.37 KiB | เปิดดู 6957 ครั้ง ]

เจ้าของ:  kritsadakorn [ 14 ส.ค. 2009, 10:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

ตอบสั้นๆ คนเราที่ต้องเกิดมา เหตุเกิดจาก อวิชชา ความไม่รู้ของจิต
จะดับอวิชชาได้ ก็ต้องลองมาให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา

ลองมาภาวนาก่อน แล้วจะค่อย ๆ รู้ๆ ไปเรื่อยๆ ครับ

เจ้าของ:  damjao [ 15 ส.ค. 2009, 07:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

เราเป็นพุทธบริษัท ก็ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องทำตนให้เป็นพุทธบริษัท
พุทธบริษัทต้องเป็นผู้รู้ ต้องเป็นผู้ตื่น ต้องเป็นผู้มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา

หน้าที่ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เรามีหน้าที่ที่จะทำตนให้เป็นมนุษย์
คือให้เป็นผู้มีจิตใจสูง อย่าเป็นผู้อยู่อย่างคนใจตำ
ให้อยู่เหมือนดอกบัวซึ่งเกิดในสระนำ
นำไม่เปื้อนดอกบัว โคลนไม่เปื้อนดอกบัว
ดอกบัวเป็นดอกไม้ที่สะอาดถึงจะอยู่ในที่สกปรก มันก็สะอาด
ฉันใด เราก็ควรมีชีวิตอยู่อย่างสะอาด ไม่สกปรก ไม่เศร้าหมอง ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อใด อัตตา หมดไป อนัตตา ก็เกิดขึ้นแทน
ซึ่งแปลว่า วิชชา หรือแสงสว่างเกิดขึ้นถึงที่สุด
ก็หมดทุกข์โดยประการทั้งปวง
เนื่องจากเป็นผู้เห็นคำตอบอย่างแจ่มแจ้งของปัญหาชีวิต
ทุกข้อทุกกระทง คนเราคืออะไร? เกิดมาทำไม? ชีวิตคืออะไร?
จะครองชีวิต หรือทำในใจต่อโลกนี้อย่างไร?

เราเกิดมาเพื่อทำหน้าที่ เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี

ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ....... :b8:

เจ้าของ:  yahoo [ 15 ส.ค. 2009, 19:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

เกิดมาเพื่อเรียนรู้ว่าตน(อัตตา)ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ค้ำฟ้า...

เจ้าของ:  kanalove [ 15 ส.ค. 2009, 19:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

ไปเวปพลังจิต

แล้วท่านจะรู้

ว่าแต่คำสอนของพระพุทธเ้จ้านั้นมีคำตอบ

ไยท่านไม่ค้นคว้าศึกษาเล่า

เจ้าของ:  อวบอั๋นขั้นสุดท้าย [ 16 ส.ค. 2009, 00:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

:b12: กระผมเกิดมาใช้กรรม และสะสมบุญต่อไปให้ถึงนิพพานขอรับ



:b6: ว่าแต่......นิพพานไปทางไหนใครรู้วานบอกทีขอรับ....จะได้เรียก taxi ไปส่งถูก :b19:

เจ้าของ:  natdanai [ 18 ส.ค. 2009, 13:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

คนเกิดมาเพื่อสร้างบารมี.... :b8:

เจ้าของ:  -dd- [ 18 ส.ค. 2009, 13:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

เกิดมาเพื่อรับผลกรรมเก่า ทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว...และในขณะเดียวกันเพราะยังมีกิเลส เมื่อในขณะรับผลกรรมเก่าอยู่ก็สร้างกรรมใหม่ขึ้นมาอีก
หากได้รับอารมณ์ที่ดีอันเกิดจากผลบุญในอดีต เราก็ดีอกดีใจ เราก็ทำบาปกับความโลภความยินดีพอใจกันต่อไปอีก
หากได้รับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเพราะบาปในอดีตส่งผล เราก็โกรธ ไม่พอใจ เราก็ทำบาปโทสะกันใหม่อีก
เวียนไปเวียนมาอย่างนี้ทั้งชาติ หลายๆชาติ ตลอดทุกชาติก็เป็นอย่างนี้..เมื่อทำกรรมใหม่เข้าแล้ว ก็ต้องเกิดมารับผลกรรมอีก แล้วเมื่อรับผลกรรมเพราะมีกิเลสก็ต้องทำกรรมใหม่อีก เมื่อทำกรรมใหม่ ก็ต้องรับผลในอนาคตอีก จึงเรียกว่า วัฏฏะ เพราะหมุนเป็นวงกลมเป็นสาย หาเงื่อนต้นไม่ได้ หาเบื้องปลายไม่เจอเลย
เกิดมาเป็นชาวพุทธแล้วก็ต้องฟังธรรม อย่างน้อยหากจะทำกรรมใหม่ ก็เลือกทำแต่กุศลกรรมดีเข้าไว้ เพื่อผลคือวิบาก จะไม่เป็นทุกข์เดือดร้อน

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 18 ส.ค. 2009, 14:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

อ้างคำพูด:
คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ



คำตอบ ก็ต้องเป็นคำตอบในใจ ... กล่าวเป็นวาจาออกไปไม่ได้ :b32:

ล้อเล่นครับ





เอาเป็นว่า ไปฟังพระผู้รู้กันดีกว่า


เกิดมาทำไม

http://www.dhammajak.net/book-chayasaro/4.html

เจ้าของ:  chulapinan [ 19 ส.ค. 2009, 10:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

เกิดมาใช้กรรมค่ะ แต่พิเศษอีกหน่อย คือ สร้างบุญเพื่อบรรเทากรรมที่จะมีติดตัวไป สร้างบุญที่เปรตหรือเทวดามีโอกาสทำน้อยกว่าค่ะ

หน้าที่ของคนตามหลักธรรมก็คือ ทำดีให้กับทั้งตัวเองและผู้อื่น โดยยึดเจตนาที่บริสุทธิ์เป็นหลัก ทำโดยไม่ทำให้เกิดทุกข์กับตัวเอง แต่การจะไม่เกิดทุกข์ก็มาจากเราเข้าใจธรรม เข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ววางเฉยได้ ก็ไม่ทุกข์

ปฏิบัติโดยทำตามมรรคแปด ถือศีล ทำสมาธิ แล้วรอปัญญาเกิด แล้วจะรู้เองว่า ทำไมจุฬาภินันท์เรียกสามอย่างนี้เป็นมรรคแปด

เชื่อจุฬาภินันท์หรือไม่ก็ได้ เพราะจุฬาภินันท์ไม่ทำให้ตัวเองทุกข์ค่ะ ไม่ทุกข์เพราะวางกิเลสได้น่ะค่ะ

เจ้าของ:  thammathai [ 19 ส.ค. 2009, 16:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

เพราะ ความไม่รู้ (อวิชชา)

เพราะไม่รู้ว่า มีอะไรมากไปกว่าจิต จะเป็นอย่างไร(สังขาร)

เจ้าของ:  TAKSA [ 19 ส.ค. 2009, 19:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

เกิดมาเพื่อตั้งอยู่แล้วก็ดับไป มันเป็นของมันแบบนี้ ไม่อยากเกิด
มันก็มาเกิดของมันเอง ไม่อยากดับ(ตาย)มันก็ตายของมันเอง บังคับมัน
ไม่ได้ซักที่ ชาติที่แล้วก็เป็นแบบนี้ ชาตินี้เอาอีกแล้ว ตอนนี้กำลังหาทาง
อยู่ พอรู้วิธีบ้างแล้ว นี่ก็ลงมือทำไปบ้างนิดหน่อย กะว่าอีกซักร้อยชาติคงไม่
ต้องเกิดละมั้ง :b12:

เจ้าของ:  wic [ 19 ส.ค. 2009, 21:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คนเราเกิดมาทำไม เป็นคำถามในใจ

.......................................................
เนื่องจากเกิดเป็นคนขึ้นมา ก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม? เกิดมาศึกษาเอาอะไร? หน้าที่สำคัญที่มีค่ายิ่งสุดคืออะไร? ไม่รู้ว่าชีวิตควรอุตสาหะพากเพียรสู้ทนเพื่ออะไร?

อะไรคือจุดยอดที่คนเกิดมาแล้วควรจะได้?

คำตอบจริงๆของคำถามที่ว่า “คนเกิดมาทำไม? นั้น คือ.... คนเกิดมาทำงาน พร้อมกับสร้าง “ความประเสริฐความดี” ให้สูงสุด ให้ได้จุดยอดที่สุดที่คนเกิดมาแล้วควรจะได้

คือ..... “ความประเสริฐความดี”


แล้วทำไมคนจึงไม่ตั้งหน้าตั้งตาอุตสาหะทำเอา “ความดีความประเสริฐ” นั้นๆกันละ??
คนไม่ตั้งหน้าตั้งตาทำเอา เพราะหลงผิดใน “ความดีความประเสริฐ” อยู่(โมหะ)
เพราะเข้าใจยังไม่ได้ หรือเพราะ “รู้ไม่จริง-รู้อย่างไม่ยืนยันมั่นแท้” (อวิชชา)
ว่า... “ความดีความประเสริฐ” ของคนคืออะไร?
ถ้างั้น “ความดีความประเสริฐ” ของคน คืออะไรกันแท้ที่สุด?

คือ แชมป์ในเกมส์อบายมุขอย่างไดอย่างหนึ่ง หรือต้องเป็นแชมป์ทุกอย่างหรือ?
คือ ความมีเงินทองทรัพย์ศฤงคารมหาศาลที่สุดกว่าใครๆหรือ?
คือ ความมียศศักดิ์ล้นฟ้ามหาสถานหรือ?
คือ ความมีอำนาจสามารถชี้นิ้ว หรือประกาศิตจนคนกลังเกรงได้ทั้งโลกหรือ?
คือ ความสรรเสริญเยินยอ จนปราศจากคำตำหนิติติงจากคนได้อย่างเด็ดขาดหรือ?
คือ การได้เสพโลกียสุขทุกชนิด เช่นเสพสมสุขจากทวาร ๕ และเสพสมสุขทางจิต ทวารทางภวังค์ ไม่ขาดตกบกพร่องเลย ตามที่อยากที่ต้องการตลอดชีวิตหรือ?
คือ ความเก่งในฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์เสกเป่าเนรมิต เหาะเหิน เดินน้ำได้อย่างวิเศษ เป็นต้น จนแปลกประหลาดมหัศจรรย์ น่าทึ่ง น่าฉงนของคนทั่วไปหรือ?
คือ สภาพมีความฉลาดเยี่ยมยอด สามารถรอบรู้ถ้วนทั่วในสรรพศาสตร์ สรรพวิชาการ สรรพสิ่งลึกลับในมหาจักรภพครบมหาจักรวาลนี้กระนั้นหรือ?


คำตอบที่ถูกต้องที่สุด คือ.....
เปล่าเลย หาใช่สิ่งที่กล่าวแล้วนั้นๆใดๆไม่เลย ! !
คนเลิกเด็ดขาด ไม่แตะต้องอบายมุขเด็ดขาด จนจิตหลุดพ้นอบายมุขได้จริงแท้ นั่นต่างหาก คือ คนมี “ความดีความประเสริฐ”

คนผู้นำตนเข้ามาพิสูจน์เด่นชัดให้ได้แท้ด้วยตนเองว่า ไม่เป็นทาสเงินทรัพย์ศฤงคารเลยนั่นต่างหาก คือ คนมี “ความดีความประเสริฐ”

คนผู้ไม่เป็นทาสยศศักดิ์ ไม่เห่อเหิม ไม่หลงใหล ไม่ลบหลู่ หรือไม่ติดดียึดดีในยศศักดิ์นั่นต่างหาก คือ คนมี “ความดีความประเสริฐ”

คนผู้ไม่หลงอำนาจ ไม่ข่มใครด้วยอำนาจแม้จะมีอำนาจโดยสัจจะธรรมคุณงามความดีที่แท้ก็ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ไม่ช่างชี้ใช้ แต่กลับเป็นผู้มีเมตตาเกื้อกูล จนคนอื่นยินดีจะรับใช้เกรงใจ นอบน้อมเองด้วยยินดีนั่นต่างหาก คือ คนมี “ความดีความประเสริฐ”

คนผู้ไม่หลงในสรรเสริญเลย แม้จะมีคำตำหนิก็ยินดีรับฟังรับพิจารณาอย่างตั้งใจจริง ไม่อคติเข้าข้างตน รู้อนุโลมปฏิโลม นั่นต่างหาก คือ คนมี “ความดีความประเสริฐ”

คนผู้ลดละล้าง จนไม่มีโลกียสุขเลย ไม่หลงเสพสมสุขสมจากทวารทั้ง ๕ ไม่หลงเสพสมสุขสมทางจิตทวารหรือในภวังค์ เป็นผู้ใจพอในความสงบจากรสโลกียสุขทั้งปวงได้จริง(วูปสมสุข) ไม่อยากไม่ต้องการเสพโลกียสุขใดๆอีกเลย ทั้งในกามภพ ทั้งในภวังค์ (รูปภพ-อรูปภพ) นั่นต่างหาก คือ คนมี “ความดีความประเสริฐ” ที่ยิ่งสูงยิ่งยอด

คนผู้ไม่หลงทึ่ง ไม่เห็นมหัศจรรย์ แปลกประหลาดในความเก่ง ฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์เสกเป่าเนรมิต เหาะเหิน เดินน้ำ ฯลฯ เป็นต้นและ ไม่ยินดีไม่สนใจจะส่งเสริมจะศึกษาในเดรฉานวิชาเหล่านี้ แถมแม้ตนเองจะเกิดจะได้จะเป็นจะมีความเก่งเหล่านี้ เพราะมันเป็นบารมีของตน ก็ไม่หลงยินดีไม่หลงแสดง จะเข้าใจด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยซ้ำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุไม่ให้แสดงสิ่งเหล่านี้นั้นเป็นความถูกต้อง เป็นความเจริญ เป็นความเป็นอยู่ผาสุกของคนของสังคมอย่างแท้จริง คนผู้เป็นเช่นที่กล่าวมานี้ต่างหาก คือ คนมี “ความดีความประเสริฐ”

คนผู้ไม่หลงใหลในสรรพความรู้ สรรพศาสตร์ สรรพวิชาการ สรรพสิ่งลึกลับในมหาจักรภพครบมหาจักรวาลใดๆแต่ก็ไม่ได้ลบหลู่ ไม่ได้ด้อยความรู้เหล่านั้น ไม่ได้ไร้ความสามารถฝีมือในสรรพศาสตร์ต่างๆเหล่านั้น ทว่ากลับรู้แจ้งในความจริงที่พอเหมาะพอควร สร้างสรรค์ขยันพากเพียรเสียสละให้แก่สังคมมนุษยชาติอยู่จริงๆ

ที่สำคัญคือ รู้แจ้งสภาพที่เฉลียวฉลาดแต่ทว่าเอาเปรียบ(เฉโก) รู้แจ้งสภาพไม่หมดความเห็นแก่ตัว ที่มีอยู่ละเอียดสุขุมนักในตน (เฉโก) ว่าแตกต่างกับ ความเฉลียวฉลาดแต่ซื่อสัตย์เสียสละที่แท้ (ปัญญา) จนไม่เหลือเศษความเห็นแก่ตัว ซึ่งต้องมีแต่ความเมตตาขวนขวายช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์แท้(ปัญญา)

แล้วผู้นั้นก็พากเพียรประพฤติอบรมตน จนได้เป็นคนเฉลียวฉลาดซื่อสัตย์เสียสละที่จริงหมดความเห็นแก่ตัวจริงจนได้อย่างสะอาดหมดจดมั่นคงเที่ยงแท้ (นิยม, นิยต)มีสภาพนั้นเป็นความถาวรประจำตนอยู่ตราบชีวิตจะหาไม่

นั่นต่างหาก คือ คนผู้มี “ความดีความประเสริฐ” ที่สูงยิ่ง-ยิ่งสูง

จากส่วนหนึ่งของหนังสือ สัมมาสิกขาฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๑

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/