วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 23:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 19:13
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเหมือนกับว่าได้ยินคำไม่ดีในสมองพร้อมสรรเสริญพุทธองค์อยู่ในใจแต่เผอิญเกิดสับสนผมนึกชื่อพระพุทธองค์แล้วตามด้วยคำปรามาสในสมองโดยไม่ตั้งใจไม่อยากให้เกิดแล้วรู้สึกเศร้าเล็กน้อยผมแล้วขอขมาตอพระพุทธองค์แล้วผมจะบาปมากไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tammylala เขียน:
ผมเหมือนกับว่าได้ยินคำไม่ดีในสมองพร้อมสรรเสริญพุทธองค์อยู่ในใจแต่เผอิญเกิดสับสนผมนึกชื่อพระพุทธองค์แล้วตามด้วยคำปรามาสในสมองโดยไม่ตั้งใจไม่อยากให้เกิดแล้วรู้สึกเศร้าเล็กน้อยผมแล้วขอขมาตอพระพุทธองค์แล้วผมจะบาปมากไหมครับ


ตรงนี้ผมเคยเป็นมากกว่าคุณมากหลายปีก่อนผมเริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆผมเห็นพระพุทธรูปไม่ได้เลยผมจะมีจิตใจอีกส่วนหนึ่งที่เลวมากคิดไม่ดีจริงๆ ผมต้องเอาพระพุทธรูปออกจากห้องและสายตาผมเลยเมื่อเราเริ่มปฎิบัติธรรมถูกวิธีเจาะลึกเข้าสู่อนุสัยมันก็จะฟุ้งขึ้นมา ความเลวในสันดานเรามีเยอะมาก ดีแล้วเห็นตัวเองมีก็มีอยู่ไม่ต้องตกใจยอมรับแล้วดูเฉยๆ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอโหสิกรรม แต่ต้องตั้งปนิธานว่าจะไม่ทำอีก

พระเทวทัตจ้างคนไปฆ่าพระพุทธองค์ถึง 6 ครั้ง เมื่อสำนึกผิดคิดจะไปขอขมา แค่ก้าวเท้าออกก็โดนธรณีสูบเพราะเทวดาไม่ยอม ถ้าไปได้ก็มีสิทธิ์พ้นนรก

ไม่ต้องคิดมาก สมัยพุทธกาลพวกด่าพระพุทธองค์มีเยอะ เรียกพระพุทธองค์ว่าสมณะโล้น ก็ยังมีได้ถึงอรหันต์ตั้งหลายคน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่บาปครับ แต่ทำให้ฟุ้งซ่านครับ

ผมเป็นอยู่พักหนึ่ง

ต่อเมื่อทำสมาธิมากเข้าก็หายไปเอง

หรือสวดมนต์มากๆ เ้ข้าก็ช่วยได้

หรือบริกรรมว่า ไม่เที่ยง ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราไม่ใช่ตัวตนของเรา

เป็นเพียงจิตอกุศลเท่านั้น

ครับ

อ้อ หรือเ้ด็ดสุด บริกรรมว่า รู้หนอ

ใช้ได้ทั้งหมดครับ ลองมาแล้วครับ

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 23:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เป็นอโหสิกรรม แต่ต้องตั้งปนิทานว่าจะไม่ทำอีก

พระเทวทัตจ้างคนไปฆ่าพระพุทธองค์ถึง 6 ครั้ง เมื่อสำนึกผิดคิดจะไปขอขมา แค่ก้าวเท้าออกก็โดนธรณีสูบเพราะเทวดาไม่ยอม ถ้าไปได้ก็มีสิทธิ์พ้นนรก


เพิ่งเคยได้ยินนี้แหละ..เพราะเทวดากลัวเทวทัตจะพ้นนรก..จึงดูดลงนรกซะก่อน

เทวดาตนนี้..คง..ขี้โกรธ..ขี้อิจฉา..อาฆาต..เทวทัต..น่าดู

ขอความรู้เพิ่มตรงนี้หน่อย นะครับ คุณ Supareak Mulpong


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ประสปการณ์แบบนี้เป็นกันเยอะ ผมก็เป็น เหมือนมารมาขวางไม่ให้ปฏิบัติธรมได้สะดวก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ก็ยังเป็นตั้ง 3 ปี ผมลองมาหลายวิธี วิธี่ที่ได้ผลคือหยุดปฏิบัติไปสักเดือน กินเล่นเที่ยว แล้วมาทำใหม่คราวนี้หายไปเลยถึง 90 เปอร์เซ็น

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 02:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ ดิฉันก็เป็นค่ะ ยังกลัวอยู่จนทุกวันนี้เลย
พอเริ่มปฏิบัติได้ระยะหนึ่ง นอนอยู่ดีๆความคิดก็แว่บ "ปรามาส" พระพุทธองค์
แล้วก็สะดุ้งเอง ว่าเราคิดอย่างนี้ได้อย่างไร? ไม่ใช่เรา และก็มีความรู้สึกตอน
นั้นว่าเหมือนไม่ใช่เราจริงๆ และไม่กล้าปรึกษาใครเรื่องนี้เลย กลัวมาก ขอบคุณ
นะค่ะที่ตั้งกระทู้ขึ้นมา ค่อยเบาใจหน่อยว่ามีทางแก้แล้ว กลัวมหาอเวจีจริงๆค่ะแล้ว
ยังตัดหนทางนิพพานอีก อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง
ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม


ให้เราทบทวนสาเหตุที่เราฟุ้งซ่าน
สมาธิไม่เกิด อาจมาจาก ร่างกาย
เช่น ท่านั่งไม่ถูกต้อง มีอารมณ์
มากระทบจิตใจ เรื่องครอบครัว
การงาน ความรัก ญาติ ก่อนนั่งสมาธิ
ให้ทบทวนสิ่งเหล่านี้ดู

ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ...........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของบาปคืออะไรครับ

จับความหมายให้ได้

แล้วมาพิจารณาที่เจตนา

อย่างนี้พอไหวไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อาการที่คุณ ท่าน จขกท เล่า




อาการนี้ ในทางธรรม เรียกว่า กุกกุจจะ

กุกกุจจะ ความรำคาญใจ,
ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า
สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ
สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งาม ที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว,
ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ,
ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง,
ความระแวงสงสัย เช่นว่า
ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่
สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง




ในทางจิตวิทยา

http://www.mahidol.ac.th/mahidol/ra/rapc/ocd.html


"....อาการย้ำคิด (obsession) เป็นความคิด ความรู้สึก หรือจินตนาการ ที่มักผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ผู้ป่วย เองก็ทราบว่าเป็นความคิดที่เหลวไหล ไม่เข้าใจว่าเกิดความคิดเช่นนี้ได้อย่างไร รู้สึกรำคาญต่อความคิดนี้ เช่น
มีความคิดจะจุดไฟเผาบ้าน
คิดว่ามือสกปรก
คิดด่าทอพระพุทธรูปที่ตนเคารพ ๆลๆ

ผู้ป่วยรู้สึกผิดต่อความคิดที่เกิดขึ้น มีความกังวลใจ พยายามที่จะไม่ใส่ใจ หรือเลิกคิด บางครั้งอาจแก้หรือหักลัางความคิดนี้ด้วยความคิดหรือการกระทำต่างๆ เช่น ถ้าคิดว่าไม่ได้ปิดแก๊ส ก็จะตรวจเช็คเตาแก๊สวันละหลายๆ ครั้ง ไปล้างมือเมื่อคิดว่าสกปรก หรือท่องนะโมในใจทุกครั้งที่คิดในทางไม่ดีต่อพระพุทธรูป.....

ๆลๆ

คนเราปกติก็อาจมีความคิดหรือพฤติกรรรมเช่นนี้ได้ แต่ในผู้ป่วย OCD อาการเหล่านี้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมาก ผู้ป่วยพยายามฝืนสิ่งที่เกิดขึ้น แต่มักผืนไม่ได้ เสียเวลาไปกับความคิดหรือพฤติกรรมค่อนข้างมากในแต่ละวัน (มากเกินกว่าวันละ 1 ชั่วโมง) ..."





อาการนี้ ในทางธรรมเป็นลักษณะฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ-กุกกุจจะ) ทั้งๆที่รู้ว่าการคิดเช่นนี้ไม่มีประโยชน์ แต่ก็ไม่รู้จะหยุดคิดอย่างไร..... และเป็นทุกข์กับความคิดนั้น




คำสอนหลวงปู่ชา สุภัทโท


โยม : ความฟุ้งซ่าน เวลามันเกิดขึ้นมา เราจะแก้ไขด้วยอุบายอย่างไร

หลวงพ่อ : มันไม่ยากหรอก มันเป็นของไม่แน่หรอก ไม่ต้องไปแก้มัน คราวที่ฟุ้งซ่านมีไหม ที่มันไม่ฟุ้งซ่านมีไหม

โยม : มีครับ

หลวงพ่อ : นั่น ! จะไปทำอะไรมันล่ะ มันก็ไม่แน่อยู่แล้ว

โยม : ทีนี้เวลามันแวบไปแวบมาล่ะครับ

หลวงพ่อ : เอ๊า ! ก็ดูมันแวบไปแวบมาเท่านั้นแหละ จะทำยังไงกับมัน มันดีแล้วนั่นแหละ โยมจะไม่ให้มันเป็นอะไร อย่างไร มันจะเกิดปัญญาหรือนั่น

โยม : มันแวบไป เราก็ตามดูมัน

หลวงพ่อ : มันแวบไปมันก็อยู่นั่นแหละ

เราไม่ตามมันไป เรารู้สึกมันอยู่ มันจะตรงไปไหนล่ะ มันก็อยู่ในกรงอันเดียวกัน ไม่ตรงไปไหนหรอก

นี้แหละ เราไม่อยากจะให้มันเป็นอะไรนี่ พระอาจารย์มั่นเรียกว่า สมาธิหัวตอ ถ้ามันแวบไปแวบมา ก็ว่ามันแวบไปแวบมา ถ้ามันนิ่งเฉย ๆ ก็ว่านิ่งเฉย ๆ จะเอาอะไรล่ะ ให้รู้เท่าทันมันทั้งสองอย่าง

วันนี้มันมีความสงบก็คิดว่า มันมาให้ปัญญาเกิด แต่บางคนเห็นว่าสงบนี่ดีนะ ชอบ ดีใจ วันนี้ฉันทำสมาธิมันสงบดีเหลือเกิน แน่ะ ! อย่างนี้เมื่อวันที่สองมาไม่ได้เรื่องเลย วุ่นวายทั้งนั้นแหละ แน่ะ วันนี้ไม่ดีเหลือเกิน

เรื่องดีไม่ดีมันมีราคาเท่ากัน เรื่องดีมันก็ไม่เที่ยง เรื่องไม่ดีมันก็ไม่เที่ยง จะไปหมายมั่นมันทำไม ? มันฟุ้งซ่านก็ดูมันฟุ้งซ่านไปซิ มันสงบก็ดูมันสงบซิ อย่างนี้ให้ปัญญามันเกิด

มันเป็นเรื่องของมันจะเป็นอย่างนี้ เป็นอาการของจิตมันเป็นอย่างนั้น เราอย่าไปยุ่งกับมันมากซิ ลักษณะอันนั้น อย่างเราเห็นลิงตัวหนึ่งนะ มันไม่นิ่งใช่ไหม โยมก็ไม่สบายใจ เพราะลิงมันไม่นิ่ง

มันจะนิ่งเมื่อไร โยมจะให้มันนิ่ง โยมถึงจะสบายใจ มันจะได้เรื่องของลิงนะ ลิงมันเป็นเช่นนี้ ลิงที่กรุงเทพ ฯ มันก็เหมือนลิงตัวนี้แหละ ลิงที่อุบลราชธานีก็เหมือนลิงที่กรุงเทพ ฯ นั่นแหละ

ลิงมันเป็นอย่างนั้นของมันเอง ก็หมดปัญหาเท่านั้นแหละ เอาอย่างนี้แหละ จะได้หมดปัญหาของมันไป อันนี้ลิงก็ไม่นิ่ง เราก็เป็นทุกข์อยู่เสมอ อย่างนั้นก็ตายเท่านั้นแหละ เราเป็นลิงยิ่งกว่าลิงเสียแล้วกระมัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท

ลองศึกษา พระพุทธพจน์ที่ตรัสถึง กุศโลบายปฏิบัติต่อจิต


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

http://84000.org/tipitaka/read/?22/356/486

สีติวรรคที่ ๔

๑. สีติสูตร

[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ไม่วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑
เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑

เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ





เพ่งเล็งในวิธีปฏิบัติต่อจิต๔วิธี ในพระสูตรนี้ คือ

1. ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
2.ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
3.ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
4.ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย




ครูบาอาจารย์ผู้รู้ท่านเคยสอนมาว่า


ถ้า เราท่านใช้วิธีที่๑(หรือ ๒ หรือ๓) แล้ว ยังคงรู้สึกเป็นทุกข์กับ อาการต่างๆของจิตอยู่

ก็ ลองดูวิธีที่๔ คล้ายๆกับที่ หลวงปู่ ชา ท่านกล่าวนั้นละ... คือ เพียงแต่รับทราบ แล้ววาง
ไม่ไปให้ความสำคัญอะไรกับมัน

ไม่ต้องไป แม้นแต่จะปราถนาให้ความฟุ้งซ่านนั้นๆมันดับลง

ความฟุ้งซ่านมันจะยังดำรงอยู่ ก็รับทราบเฉยๆ
ความฟุ้งซ่านมันดับไป ก็รับทราบเฉยๆ
ความฟุ้งซ่านปรากฏขึ้นมาอีก ก็รับทราบเฉยๆ
ความฟุ้งซ่านที่ปรากฏขึ้นมาใหม่มันดับไปอีก ก็รับทราบเฉยๆ
ดูไปเรื่อยๆ

จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตไม่ฟุ้งซ่าน

ไม่หงุดหงิด แม้นความฟุ้งซ่านมันยังดำรงอยู่
ไม่ดีใจ แม้นความฟุ้งซ่านมันดับไป

เมื่อ จิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก มันก็จะเป็นสมาธิ เอง
จิตมันจะสงบได้ โดยใช้ความฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์กรรมฐาน

สุดท้าย ถ้าสติมีกำลัง สมาธิตั้งมั่นชอบ จะเห็นชอบด้วยตนเองว่า ความฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่าน ซึ่งเป็นลักษณะอาการของจิต และ แม้นแต่จิตผู้รู้ ก็เป็นสิ่งที่"สักแต่ว่า" ...จะยึดมั่นถือหมายใดๆไม่ได้เลย

เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง
นั่นเป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีโอวาทพระสุปฏิปันโน มาเสนอ ลองพิจารณากันดูน่ะครับ


โอวาทธรรม หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน


การอบรมจิต

จงใช้ปัญญาพิจารณาด้วยดีในอาการของธรรมทุกแง่ซึ่งเกิดขึ้นจากจิต
ความสัมผัสรับรู้ในขณะที่อารมณ์มากระทบจิต ไม่ให้พลั้งเผลอและนอนใจในอารมณ์ นั้นแลเรียกว่า ความเพียร

ดีชั่ว สุขทุกข์ เศร้าหมอง ผ่องใส จงตามรู้ด้วยปัญญาแล้วปล่อยไว้ตามสภาพ ไม่ยึดถือและสำคัญว่าเป็นตน

สิ่งใดที่ปรากฏขึ้นจงกำหนดรู้ อย่าถือเอาแม้แต่อย่างเดียว

รู้ชั่วปล่อยชั่ว กลับมาหลงดี ถือสิ่งที่ดีว่าเป็นตน นี้ก็ชื่อว่าหลง

จงระวังการมีสติหรือเผลอสติในขณะๆ นั้นๆ อย่าตามกังวล เป็นความผิดทั้งนั้น จงกำหนดเฉพาะหน้า พิจารณาเฉพาะหน้า

กายมีอยู่ จิตมีอยู่ ชื่อว่าธรรมมีอยู่
อย่าหลงธรรมว่ามีนอกไปจากกายกับจิต
ไตรลักษณ์หรือสติปัญญาก็ต้องมีอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน
จงพิจารณาในจุดที่บอกนั้น แม้ที่สุดทำผู้รู้หรือสติให้รู้อยู่ในวงกายตลอด โดยไม่เจาะจงในกายส่วนใดส่วนหนึ่งก็ถูก ข้อสำคัญให้จิตตั้งอยู่ในกาย อย่าใช้ความอยากเลยเหตุผลที่ตนกำลังทำอยู่ก็แล้วกัน การทำถูกจุดผลจะค่อยเกิดเอง ไม่มีใครแต่งหรือบังคับ
อย่าส่งจิตไปตามอดีตที่ล่วงแล้ว ไม่มีประโยชน์แม้แต่น้อย

16 มีนาคม 2503


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุ



เรื่อง การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน


เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่า จิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา

พิจารณาจิตก็มี ๒ อย่าง
เพียงรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรกำหนดเท่านี้ก็เป็นสมถะ กำหนดเพียงภาวะว่าจิตของเรากำลังเป็นอย่างไรเท่านั้นเป็นสมถะ
ถ้าว่ากำหนดข้อเท็จจริงของมันเป็นอย่างไร ที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร นี่เรียกว่าปัญญาเป็นวิปัสสนา


ๆลๆ......




การใช้ลักษณะอาการต่างๆของจิตเป็นเครื่องระลึก สามารถยังให้พ้นทุกข์ได้

ดังนั้น แทนที่จะมามัวหงุดหงิดกับอาการต่างๆของจิต
สู้ดี หันมาใช้ลักษณะอาการต่างๆของจิตเป็นกรรมฐานเสียเลย ดีกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่า จิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา

[/color]


คุณหมอครับ ผมรู้สึกว่ามันแปลกๆ
แต่ผมอธิบายไม่ถูก แล้วก็กลัวที่จะวิพากย์วิจารณ์

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ตรงประเด็น เขียน:
ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่า จิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา

[/color]


คุณหมอครับ ผมรู้สึกว่ามันแปลกๆ
แต่ผมอธิบายไม่ถูก แล้วก็กลัวที่จะวิพากย์วิจารณ์

:b8:




รับทราบครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร