วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 10:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 206 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่เราจะไม่สามารถนึกย้อน เสียง กลิ่นและรส ได้ จริงปะ

ภาพสัมพันธ์กับสิ่งภายนอกที่ชัดเจน ผัสสะหาย แต่ภาพยังคงอยู่...

แต่กลิ่น...กะรส... อ๊ะ อ๊ะ ท่านมู...เคยได้ยิน กลิ่นติดจมูกมั๊ยยยย...ง่ะ... :b13:
เวลาไปทดสอบน้ำหอมน่ะ... :b13:
อย่าง...ขมติดลิ้น... :b13:

อิ อิ เป็นไง...เอกอนเริ่มออกแววดื้อรึยัง..
ช่างเถียงด้วยนะ...อิ อิ.... :b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 06 ต.ค. 2010, 20:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool กำลังคิดอะไรเล่นๆ
สิ่งที่มหัศจรรย์มากที่สุด ไม่ใช่เรื่องจักรวาลหรือภพภูมิ แต่เป็นสิ่งมีชีวิตนี่เอง...

กำลังคิดเรื่องความสำคัญของไมโตคอนเดรียในเซล ในรูปแบบที่พิศดารมั่กๆ :b32: :b32: :b32:
เอ... แล้วไมโตคอนเดรียมีการสั่นน้อยๆ ไหมนะ หาข้อมูลดูก็ไม่เห็นมีที่ไหนเขียนไว้

แต่ตอนนี้ขอไปเล่นเกมก่อน ฮิฮิ :b32: :b32: :b32:

ปล. แต่สิ่งที่เราคิด ยังไงก็ยังห่างไกลจาก การขึ้นรูปของตัวอ่อน ซึ่งก็ต้องรู้คอนเซปต์ของ การขึ้นรูปของเซล ก่อน แต่ก็รู้สึกกำลังใกล้ขึ้นทุกทีๆ

ปล2. ไม่ตอบเอกอนล่ะ ขี้เกียจ อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
cool cool cool กำลังคิดอะไรเล่นๆ
สิ่งที่มหัศจรรย์มากที่สุด ไม่ใช่เรื่องจักรวาลหรือภพภูมิ แต่เป็นสิ่งมีชีวิตนี่เอง...

กำลังคิดเรื่องความสำคัญของไมโตคอนเดรียในเซล ในรูปแบบที่พิศดารมั่กๆ :b32: :b32: :b32:
เอ... แล้วไมโตคอนเดรียมีการสั่นน้อยๆ ไหมนะ หาข้อมูลดูก็ไม่เห็นมีที่ไหนเขียนไว้

แต่ตอนนี้ขอไปเล่นเกมก่อน ฮิฮิ :b32: :b32: :b32:

ปล. แต่สิ่งที่เราคิด ยังไงก็ยังห่างไกลจาก การขึ้นรูปของตัวอ่อน ซึ่งก็ต้องรู้คอนเซปต์ของ การขึ้นรูปของเซล ก่อน แต่ก็รู้สึกกำลังใกล้ขึ้นทุกทีๆ

ปล2. ไม่ตอบเอกอนล่ะ ขี้เกียจ อิอิ


:b26: :b26:

ขี้โกงงงง...

ร่างกายของคนเราคือเนื้อเดียวกันกับจักรวาล... :b12: :b12:
เพราะมีต้นกำเนิดเดียวกัน... :b12: :b12:
ปฏิกิริยาเคมี/ธาตุในร่างกายที่มีการโคจรสัมพันธ์กับธาตุภายนอกร่างกาย...
เรารู้สภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายได้จาก...การโคจรของธาตุภายในร่างกาย...

เราเป็น...สิ่งที่เรารู้...แต่สิ่งที่เรารู้นั้น...ไม่ได้เป็นสิ่งที่จะครอบครองได้...
แค่รู้...เราจึงคิดว่าเราเป็น...
แต่จริง ๆ เราแค่รู้...เท่านั้น...


:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool จริงๆ แนวคิดเรื่องสนามแรงโน้มถ่วง เราคิดว่า สมบูรณ์พอที่จะอธิบายได้ทุกอย่าง
แต่ก็คิดว่า มาอธิบายเพิ่มเติมก็น่าจะดี...

คราวนี้มาว่ากันเรื่อง อุณหภูมิ เรื่องนี้แหล่ะที่ทำให้คิดเลยเถิดไป จนถึงระบบชีวิตในบางด้าน


อุณหภูมิ คือ การสั่นสะเทือนโดยรวมของสสาร (ทั้งที่เป็นวัตถุ ของเหลวและแก๊ส)
การสั่นสะเทือนอาจจะเกิดขึ้นในหลายกรณี เช่นถูกกระหน่ำจากแสง (โฟตอน) ซึ่งเขาเรียกว่า การแผ่รังสีความร้อน เช่นแสงจากดวงอาทิตย์

บรรยากาศของโลกมีหน้าที่สำคัญอันหนึ่งคือ เป็นตัวซับ ลดการกระหน่ำของแสงที่มาจากดวงอาทิตย์ แสงที่มีความถี่สูง (อุลตราไวโอเลต และรังสีต่างๆ) ก็จะถูกลดจนกลายเป็นแสงปกติ แสงปกติก็จะถูกลดไปเป็นชั้นๆ
บรรยากาศชั้นนอกของโลกจึงมีอุณหภูมิสูงมาก...
อุณหภูมิจะลดลงเรื่อยๆ ตามการกระหน่ำของแสงที่ลดลง จนถึงชั้นบรรยากาศใกล้ผิวโลก ที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาอีกจากการสะท้อนของแสงกลับขึ้นมาจากพื้นโลก


:b6: :b6: :b6: เมื่อวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนมาเจอกัน วัตถุที่มีการสั่นมากกว่าจะถ่ายแรงไปยังวัตถุที่สั่นน้อยกว่า (ก็เป็นสมดุลพลังงานอะนะ) การถ่ายแรงแบบนี้เขาเรียกว่า การนำความร้อน
เทอร์โมมิเตอร์ ก็ทำงานในลักษณะนี้ คือให้มีถ่ายแรงไปที่ปรอท จนทั้งปรอทและวัตถุมีการสั่นที่เท่ากัน

ที่เขียนมานี่ ก็คงรู้แล้วว่า อุณหภูมิไม่มีจริง แต่อุณหภูมิมีจริงนี่...
ตรงนี้แหล่ะที่ทำให้เราคิดไปถึงระบบเซลของชีวิต :b6: :b6: :b6:

แต่ก่อนอื่น เราจะลองอธิบายว่าอุณหภูมิมีผลอย่างไรในระดับสนามแรงโน้มถ่วง (อนุภาค)

สสารที่มีการสั่นสะเทือนโดยรวมมาก (มีอุณหภูมิสูง) ย่อมทำให้การสร้างสมดุลการหมุนในทางประจุ (คือ การเหนี่ยวนำให้เกิดอิเล็กตรอน) ทำได้ยากขึ้น และการสั่นสะเทือนที่มาก ก็ทำให้สนามที่อยู่โดยรอบ ไม่ราบเรียบ นักเช่นกัน ซึ่งก็หมายความว่า สสารที่มีอุณหภูมิสูงจะมี การนำไฟฟ้า ที่ไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับสสารที่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งสนามบริเวณพื้นผิวจะราบเรียบกว่า...

เราเข้าใจว่า นี่จะเป็นคำอธิบายง่ายๆ ว่า ซูเปอร์คอนดักเตอร์ เกิดขึ้นได้อย่างไร

:b6: การสั่นสะเทือนยังมีผลในเชิงทำลาย ถ้าความแตกต่างของการสั่นนั้นมีมาก อนุภาคของสสารที่มีการสั่นสูงกว่า อาจมีโมเมนตัมมากพอที่จะกระแทกอนุภาคของอีกสสารหนึ่งให้หลุดออก...

จริงๆ เรื่องที่เราโพสต์นี่ มันลึกพอได้เลยนะ :b6: :b6: :b6: ส่วนเรื่องระบบชีวิต ค่อยมาเขียนใหม่ ตอนนี้ไปเล่นเกมก่อน ฮิฮิ :b32: :b32: :b32:


ปล. เราไม่รู้ว่านักวิทย์เขาวัดอุณหภูมิในระดับอะตอมกันอย่างไร แต่ถ้าวัดโดยใช้แสง ก็ไม่มีทางพบสสารที่มีอุณหภูมิ 0 องศาเคลวิน หรือ 0 องศาสัมบูรณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และก็มาเป็นเรื่องของพันธะเคมี... :b14:

เทคนิคหนึ่งที่นำมาใช้... การถ่ายภาพผ่านฟิลม์/กล้องจับความร้อน...


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 11 ต.ค. 2010, 00:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2010, 12:54
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูท่าลุงหลานคู่นี้จะพากันไปถึง"ธรรมะฟิสสิกชีวะ"จับมือกันดีๆ เดี๋ยวหาทางกลับไม่เจอ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool มาเรียบเรียงความคิดอีกนิดหนึ่ง

โดยทั่วไป ร่างกายคนเรามีอุณหภูมิที่สูงกว่าสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพราะฉะนั้นเมื่อเราแตะวัตถุ (โดยส่วนใหญ่) จะรู้สึกเย็นเสมอ...

สสารที่มีการสั่นสะเทือนมากกว่า (อุณหภูมิสูงกว่า ต่อไปจะใช้คำว่า อุณหภูมิ) เมื่อประชิดกับสสารที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า แรงสั่นสะเทือนที่มากกว่า จะกวาดเอาอิเล็กตรอน (ประจุ) ส่วนหนึ่งออกจากพื้นผิว
จริงๆ น่าจะกวาดออกทั้ง 2 ฝั่ง แต่โดยผลลัพธ์แล้ว ฝั่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจะถูกกวาดออกมากกว่า
คำว่าอุณหภูมิสูงกว่า อย่าไปนึกถึง ไฟ เพราะนั่นเป็นอุณหภูมิระดับทำลาย คือมีโมเมนตัมสูงพอที่จะเอาชนะแรงของอะตอม

อิเล็กตรอนจะถูกกวาดออกมาได้ง่าย เพราะถ้าจะว่าไป อิเล็กตรอนดูเหมือนจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอะตอมเท่าไรนัก แต่มันเกิดจากการเหนี่ยวนำของอนุภาคหลัก (โปรตอน) ให้เกิดขึ้นมาเท่านั้น

:b6: :b6: :b6: ความรู้สึกเย็นเกิดขึ้นเพราะระบบของร่างกาย มีเซนเซอร์ (น่าจะแทรกอยู่ระหว่างเซล) คอยจับอิเล็กตรอนส่วนเกิน และส่งต่อไปทางเส้นประสาท และอย่างที่เคยเขียนไปว่า ความเย็นและความเจ็บคือสิ่งเดียวกัน หากอิเล็กตรอนมีปริมาณมาก มันจะกลายเป็นความเจ็บแทน

ในวัตถุที่เย็นมากๆ อิเล็กตรอนจะหลั่งไหลเข้ามาจนเรารู้สึก เย็นเฉียบ (ใกล้ความเจ็บ) เพราะวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำ ย่อมมีสภาพการนำไฟฟ้าที่ดีกว่า อิเล็กตรอนจากส่วนอื่นๆ จะไหลเข้ามาทดแทนได้ง่ายและเร็ว

ความรู้สึกเย็นจะลดน้อยลงเรื่อยๆ จนกว่าอุณหภูมิของร่างกายจะถ่ายไปยังวัตถุนั้นจนใกล้เคียงกัน การแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนจะยังคงมีอยู่ (เพราะอะตอมไม่ได้ชนกัน) แต่ผลลัพท์จะมีไม่มากถึงระดับ เย็น

- โลหะจะให้ความรู้สึกเย็นที่มากกว่า เพราะพื้นผิวของโลหะมีสภาพคล้ายทะเลอิเล็กตรอน...
- วัตถุที่มีพื้นผิวเรียบจะเอื้ออำนวยต่อการไหลของอิเล็กตรอนมากกว่าพื้นผิวที่หยาบ และวัตถุที่เป็นฉนวนก็ย่อมเย็นน้อยกว่าวัตถุที่ไม่เป็นฉนวน
- ฉนวนทางประจุจริงๆ นั้น ไม่มี มันเป็นเพียงต้านการนำไฟฟ้าจนไม่อยู่ในระดับที่วัดได้ คือไม่อยู่ในระดับที่เรียกว่าไฟฟ้า นั่นแหล่ะ

:b6: ผิวหนังคนเรามีความต้านทานทางไฟฟ้าในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดบาดแผล เราจะรู้สึกเจ็บทันที เพราะอิเล็กตรอนจากอากาศจะถูกกวาดเข้ามาโดยไม่มีอะไรมาขวาง เพราะงั้น...
- ถ้าอากาศร้อน ความรู้สึกเจ็บจะน้อยกว่า (ความแตกต่างของการสั่นสะเทือนมีน้อยกว่า เมื่อเทียบกับอากาศที่เย็น)
- ในสุญญากาศที่ไม่ใช่อวกาศ ความเจ็บน่าจะลดลงมากจนแทบไม่มี และความเย็นน่าจะไม่เกิดด้วย แต่ระบบสมดุลชีวิตน่าจะเกิดปัญหา เช่น ร่างกายร้อนระอุ เพราะไม่มีอะไรมาระบายความร้อนออกไป (เรื่องความร้อน ความปวด จะเขียนเป็นตอนต่อไป)


:b6: อากาศจะซับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่าน้ำ เมื่อเทียบโมเลกุลต่อโมเลกุล แต่เพราะอากาศมีโมเลกุลเบาบาง ทำให้โดยผลรวม มันระบายความร้อนได้ช้ากว่าน้ำ


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 12 ต.ค. 2010, 20:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




:b6: ช่วงนี้...ไม่มีอารมณ์จะคุย และ ไม่มีอารมณ์จะอ่านเรื่องเทคนิค...
ขี้เกียจใช้พลังงานในการคิด...และการอ่าน...
เพราะช่วงนี้กินเจ...
ผักเผิก...ไม่อยู่ท้องเลย...


:b2: :b2: :b2:

หิว...ที่สุด

:b2: :b2: :b2:

ออกเจแล้วค่อยพบกันใหม่...ท่านมู...

:b2: :b2: :b2:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 12 ต.ค. 2010, 23:32, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2010, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool ตอนนี้มาคั่นเรื่องคอนเซปต์ของระบบชีวิตก่อน เป็นคอนเซปต์หยาบๆ

ชีวิตชั้นสูงประกอบไปด้วย จิต รูปปรมัตถ์ (วิญญาณ) และร่างกาย

:b6: รูปแบบของร่างกายทั้งหมดถูกบรรทึกลงบน DNA และรวมถึง โครงร่างของรูปปรมัตถ์ ซึ่งตรงนี้เรายังสงสัยอยู่ว่า มันน่าจะมีร่องรอยของโมเลกุลบางลักษณะที่จะแสดงถึงเส้นทางของรูปปรมัตถ์

รูปปรมัตถ์ (ต่อไปจะใช้คำสั้นๆ ว่า รูป) น่าจะมี 3 แบบ คือ
1. รูปที่เชื่อมเข้ากับจิต ซึ่งอาจมีไม่กี่รูป ศูนย์กลางน่าจะรวมๆ กันอยู่ในระบบลิมบิก
2. รูปที่ค้ำจุนระบบชีวิต ซึ่งน่าจะต่อออกมาจากระบบอัตโนมัติ (สมองส่วนซีรีเบลลัม)
และ 3. รูปที่เป็นระบบปิดของอวัยวะต่างๆ

:b6: กลไกระดับเซล จะเป็นกลไกทางชีวเคมีแบบอัตโนมัติ มีรูปแบบการทำงานที่แน่นอนตายตัว ตอนนี้เราเข้าใจว่า นิวเคลียสของเซลน่าจะเป็นแหล่งของเซนเซอร์หลากหลายชนิด ซึ่งน่าจะวางอยู่ที่เยื่อหุ้มนิวเคลียส (แถมนิดหน่อย นิวคลีโอลัสน่าจะเหมือนสต๊อกของ RNA :b32: )
คอนเซปต์ระดับเซลไม่น่าจะซับซ้อนมากนัก ยกเว้นเรื่องการแบ่งตัว ซึ่งเรายังคิดไม่ออก :b9: :b9: :b9:

:b6: ของเหลวในเซล น่าจะมีการสั่นอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งเราทายว่าเป็นผลจากการทำงานของไมโตคอนเดรีย
สัตว์เลือดอุ่น เซลมีการทำงานเต็มที่ (หรือใกล้เต็ม) ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เราไม่ต้องมีระยะเวลาอุ่นเครื่องในแต่ละวัน และน่าจะเป็นเหตุผลที่ สัตว์เลือดอุ่นไม่จำเป็นต้องมี เกล็ด หรือมี เปลือก แบบต้นไม้ เพราะเซลสามารถคงรูปอยู่ได้เอง จากการสั่นของน้ำในเซล (ซึ่งก็แปลว่า ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้นมา)

เซลแต่ละเซลต่างก็มีการสั่นของตนเอง และรูปปรมัตถ์จะเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ คือทำให้การสั่นเป็นไปในทำนองเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็น เนื้อเยื่อหรืออวัยวะ ขึ้นมา
การสั่นในทางเดียวกัน ยังทำให้เกิด การคงรูปของร่างกาย ด้วย สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีรูปปรมัตถ์ (ไม่มีวิญญาณ) จะมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน คือแบ่งเซลไปเรื่อยแบบต้นไม้

แต่ละอวัยวะน่าจะมีรูปคลุมอยู่ทั้งก้อน และเป็นไปได้ว่า การปรับเปลี่ยนการไหลของรูป จะมีผลถึงการทำงานของแต่ละเซลด้วย
อวัยวะแต่ละชิ้น น่าจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นเหมือนเซนเซอร์หลัก เซนเซอร์นี้จะตอบสนองต่อ ฮอร์โมน และปรับเปลี่ยนการไหลของรูปในรูปแบบที่แน่นอนอันหนึ่ง
จากแนวคิดนี้ เซนเซอร์นั้นก็คือ จุดเริ่มต้นของ รูป ของอวัยวะนั้น

:b6: รูปปรมัตถ์คงอยู่ได้ด้วยอำนาจจิต ถ้าเปรียบรูปปรมัตถ์เหมือนแม่น้ำ อำนาจจิตจะทำให้เกิดกระแสน้ำ แต่ร่องน้ำจะต้องมีอยู่ก่อนแล้ว นั่นแสดงว่า จะต้องมีร่องรอยของโมเลกุลบางอย่างที่ร้อยกันเป็นสาย เชื่อมต่อกลุ่มเซลเข้าด้วยกัน และเป็นไปได้มาก ที่จะ ร้อย ผ่านนิวเคลียส ผ่านจุดเซนเซอร์บางตัวที่ถูกกำหนดไว้แล้ว ว่าจะตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของกระแสอย่างไร
เป็นไปได้ไหมว่า ธาตุที่น่าจะมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเส้นทางของรูป คือธาตุ เหล็ก

เมื่อรูปปรมัตถ์ คงอยู่ได้ด้วยอำนาจจิต จิตก็ย่อมส่งผลต่อร่างกายอย่างแน่นอน...


:b6: ตอนนี้ไม่พูดเรื่องสมอง แต่แถมนิดหน่อย กลไกระดับเซลเห็นจะเป็นกลไกทางชีวเคมี ส่วนกลไกของสมอง ก็จะเป็นแบบ cpu คือเป็นวงจรง่ายๆ แต่เมื่อเชื่อมกันแล้วก็ให้การทำงานอย่างสลับซับซ้อน


:b6: :b6: :b6: เรื่องการขึ้นรูปของตัวอ่อน ยังคิดได้ไม่เคลียร์ แต่เป็นไปได้ไหมว่า...
DNA น่าจะแบ่งออกเป็น 4 ตอนใหญ่ๆ... 3 ตอนน่าจะถูกยืดออกมาโดย รก และจะพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
แต่ละตอนของ DNA ก็จะบรรจุลักษณะของอวัยวะชนิดต่างๆ เช่นถ้าตอนแรก มีอวัยวะ 10 ชิ้น ก็น่าจะมีส่วนที่เป็น Header อยู่ 10 จุด
แต่ละส่วนก็จะมีรูปแบบที่กำหนดตายตัว ลักษณะน่าจะคล้ายๆ protocol ของข้อมูลในทางคอม เช่นถัดจาก Header ก็จะต่อด้วยข้อมูลโครงร่างของรูปปรมัตถ์ ต่อด้วยลักษณะของเซล ลักษณะการทำงาน อะไรแบบนั้นไปเรื่อยๆ
ตอนที่ 4 น่าจะรูปแบบลักษณะภายนอก... แต่อันนี้แค่คิดคร่าวๆ นะ

จุดที่น่าจะสร้างเป็นจุดสุดท้าย คือ รูป ที่จะใช้เป็นที่เชื่อมต่อกับจิต...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2010, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6: จากแนวคิด รูปปรมัตถ์ทำให้ร่างกายเป็นหนึ่งเดียว น่าจะนำไปอธิบายอะไรอื่นๆ ได้อีกเยอะ เช่นว่า...

- ตัวอ่อนอยู่ในครรภ์ได้ เพราะเซลทั้งหลายมีการสั่นพ้องกับตัวแม่ ซึ่งเมื่อคลอดออกมาแล้ว การสั่นของเซลจะค่อยๆ แตกต่างออกไปจากจิตที่เป็นอิสระ จนทำให้เซลไม่สามารถเข้ากันได้อีก...

- ร่างกายสามารถระบุสิ่งแปลกปลอมได้ในทุกรูปแบบ และสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ทุกชนิด (ถ้าไม่ตายไปเสียก่อน :b32: ) กลไกของระบบภูมิคุ้มกัน น่าจะเกี่ยวข้องกับการสั่นของเซลแต่ละชนิด ซึ่งเป็นไปได้ว่า จะต้องมีโมเลกุลชนิดหนึ่งที่จะไปสัมผัสกับเซลแปลกปลอม และนำรูปแบบการสั่นนั้นไปผลิตสารต่อต้านออกมา (กรณีไวรัส)

- การเกิดโรคมะเร็ง เป็นไปได้ว่า ปัจจัยหนึ่งน่าจะเกิดจากจิตที่อ่อนกำลังลง จนการไหลเวียนของรูปปรมัตถ์ไม่เพียงพอที่จะควบคุมเซลในอวัยวะหนึ่งๆ บวกกับปัจจัยของเซลที่เสียหาย จึงทำให้เกิดโรคร้ายขึ้นมา

เป็นต้น... :b32: :b32: :b32:

- หรือแถมอีกนิด การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะจึงมีปัญหามาก และจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน แม้การแพทย์จะพัฒนาไปจนถึงขั้น นำสเต็มเซลของผู้ป่วยมาเพาะเป็นอวัยวะนอกร่างกาย...
ถ้ามองแบบนิยาย ก็อาจมองว่า ก่อนจะปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ คงต้องมีการ Sync ความถี่ให้ตรงกันก่อน :b32: :b32: :b32:


ปล. วันนี้เอาหนังสือ update เล่มเก่าๆ มาอ่านอีกที เรื่องสาเหตุของสายตาสั้น เราก็เลยสงสัยว่า... เคยมีผลการศึกษาอะไรไหมว่า แสงจากหลอดไฟ ฟลูออเรสเซนต์ ส่งผลอย่างไรต่อ วุ้นในดวงตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool มาอัพเดตอีกนิด...

จากที่เขียนข้างบนว่า รูปปรมัตถ์ น่าจะมี 3 แบบ... จริงๆ รูปทั้งหมดเชื่อมต่อกัน แต่จะเหมือนแม่น้ำที่แยกสายออกไปในแต่ส่วน

นอกจากอวัยวะภายในแล้ว กล้ามเนื้อแต่ละมัดก็น่าจะมี รูป เป็นของตนเช่นกัน เวลาที่โดนไฟฟ้าจากสมองช๊อตมา มันจะได้หดตัวไปในทางเดียวกัน :b32: :b32:

เราคิดว่า ไกด์ไลน์ของเส้นลมปราณเหล่านี้ น่าจะหาได้จากวิชา ฝังเข็ม ของจีน และอีกอย่างหนึ่ง... การควบคุมเส้นทางของลมปราณ อาจไม่ได้มีลักษณะที่มีโมเลกุลบางชนิด ร้อยกันเป็นสายก็ได้
บางที มันอาจเป็นจุดที่มาร์คเส้นทางเป็นระยะๆ คล้ายๆ หลักกิโลตามถนน เช่นว่า... มีเซนเซอร์ (โมเลกุล) จำเพาะชนิดหนึ่ง ที่วางตัวอยู่เป็นแนวจากเซลถึงเซล นั่นคือ รูปปรมัตถ์ (ลมปราณ) จะไม่เหมือนกระแสน้ำ แต่จะเหมือน กระแสลม มากกว่า :b6: :b6:


เอาล่ะๆ มาอัพเดทเรื่องที่ค้างไว้... :b31: :b31: :b31:

การรับรู้ ความร้อนและความปวด เข้าใจว่าเป็นอีกระบบหนึ่งนอกจาก ความเย็นและความเจ็บ

:b6: กลไกของความเย็น เป็นกลไกทางประจุไฟฟ้า ซึ่งเราคิดว่า ระบบนี้ก็คือ ระบบประสาทสัมผัส นี่แหล่ะ นั่นคือวงจรประสาทในสมองที่มาเชื่อมกับระบบนี้ จะต้องมี 2 วงจรเป็นอย่างน้อย คือ วงจรหนึ่งส่งสัญญาณว่ามีการสัมผัส และอีกวงจรหนึ่งตรวจวัดระดับของประจุ ส่วนมันจะไปยังไงกับเจตสิก ก็ยังหาทางคิดต่อไม่ได้ :b32: :b32:

หมายเหตุ: ก็แก้ไขแนวคิดเดิมที่เราเคยเสนอว่า ระบบสัมผัสกับระบบความเจ็บนั้น แยกกัน ให้เป็นว่าเป็นระบบเดียวกัน... แต่ยังคงแนวคิดเดิมที่ว่า การสัมผัสและความเจ็บนั้น เป็นการ เทียบเคียง คือ เมื่อสัมผัสเกิด ความเจ็บเกิด สัมผัสนี้จึงเจ็บ...


:b6: :b6: :b6: ทีนี้ มาเรื่อง ความร้อนและความปวด ทั้งสองนี้ เป็นความรู้สึกเดียวกัน แต่ความรู้สึกเฉพาะที่และการตอบสนองของร่างกาย ทำให้เราคิดไปว่า มันคือคนละสิ่งกัน

เซนเซอร์ความร้อน น่าจะอยู่ลึกลงไปในผิวหนัง (หรือกล้ามเนื้อ) จริงๆ เรายังไม่ค่อยแน่ใจในสิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้นะ แต่คิดแล้วว่า คงคิดอะไรไม่ได้มากกว่านี้...

เป็นไปได้ว่า เซนเซอร์ความร้อน น่าจะตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนของน้ำในเซลที่เกินกว่าระดับที่กำหนด นั่นก็คือ เซนเซอร์นี้ย่อมไม่ได้ประกอบจากโมเลกุลเพียวๆ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่า ร่างกายอาจใช้เซลๆ หนึ่งเป็นเซนเซอร์ก็ได้

การสั่นของน้ำในเซลที่มากขึ้น จะทำให้ความร้อนกลายเป็นความปวด อันนี้คือ ตัดเรื่องการตอบสนองของร่างกายออกไปนะ...

เมื่อเซลเริ่มถูกทำลาย กลไกระดับเซลย่อมต้องสร้างสารหลายชนิดออกมาเพื่อรักษาสมดุลของเซล สารหลายๆ ชนิดที่ถูกปั้มออกมา น่าจะทำให้ความเข้มข้นของน้ำในเซลสูงขึ้น ซึ่งก็อาจหมายถึง โมเมนตัมของการสั่นที่รุนแรงขึ้น...

ความปวดมักจะมาเป็น บริเวณ ซึ่งน่าจะเกิดจากการสั่นของน้ำในเซลที่เกินระดับจำนวนหนึ่ง (หรืออาจเกิดจากการบีบอัดของสิ่งอื่นนอกเซลก็ได้) ถ่ายทอดการสั่นไปยังเซลข้างเคียง ตามแนวคิดรูปปรมัตถ์ ที่แต่ละอวัยวะมีการสั่นไปในทิศทางเดียวกัน

ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ความปวดจะ ไม่ ข้ามอวัยวะ ? เช่น กล้ามเนื้อจะปวดเป็นมัดๆ ไป ?

แนวคิดเรื่อง ความร้อน-ปวด เป็นแนวคิดที่เรายังงงๆ อยู่เลย :b32: :b32: :b32:
เอาล่ะ คิดว่าพอสมควรแก่เหตุล่ะ อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ไปอ่านอะไรนิดๆ หน่อยเรื่อง ฝังเข็ม ก็รู้สึกว่าเราพอจะคิดมาถูกแนว...

การฝังเข็ม เป็นวิชาที่ไปกระตุ้น ลมปราณ หรือ รูปปรมัตถ์กายวิญญาณ...
ซึ่งเราเข้าใจว่า มันน่าจะมีวิธีกระตุ้น 2 แบบ คือ แบบชะลอการเคลื่อนไหว และแบบกระตุ้นการเคลื่อนไหว

:b6: เข็มที่ปักลงไปอย่างพอดิบพอดี น่าจะไปขัดขวางการไหลของกระแส (สนามแรงโน้มถ่วง) และส่งผลให้เกิดการ ชะลอ การทำงานของอวัยวะนั้นๆ ก็ตามแนวคิดรูปปรมัตถ์ที่เราเสนอไป คือ
เซลในแต่ละอวัยวะจะมีเซนเซอร์ที่จะจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแส ซึ่งถ้ากระแสนั้นช้าลง มันก็คือการ ลด การทำงานของเซลนั้นๆ ลง

การฝังเข็มช่วยระงับความเจ็บปวดได้ เพราะเซนเซอร์รับประจุถูกหน่วงให้ทำงานน้อยลง คือเฉื่อยลง ประจุก็ถูกส่งผ่านไปยังระบบประสาทน้อยตามลงไปด้วย
อ้อ ระบบประสาทเป็นอีกระบบหนึ่งของชีวิต ทำไมชีวิตต้องมี 2 ระบบ เดี๋ยวจะอธิบายต่อไป...

:b6: มันมีการฝังเข็มอีกแบบ ที่น่าจะเป็นการกระตุ้นให้กระแสไหลได้เร็วขึ้น คือแบบที่ต้องมีการปั่นหรือต่อกับแบตเตอรี่
เราเข้าใจว่า จะใช้การฝังเข็มแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับว่า ความเจ็บป่วยนั้นเกิดจากการ พร่อง หรือ ล้นเกิน ของการทำงานของอวัยวะนั้นๆ นั่นแสดงว่า การวินิจฉัยโรคแบบการแพทย์สมัยใหม่ จึงจำเป็นต่อการฝังเข็มมาก


:b6: แต่ตามคอนเซปต์ชีวิต การฝังเข็มก็มี โทษ ได้อย่างมาก เพราะลมปราณก็คือ รูปปรมัตถ์กายวิญญาณ ซึ่งเป็นไปได้มากที่ กระแสลมปราณจะ เชื่อม เข้ากับสมองส่วนซีรีเบลลัมโดยตรง (เป็นปรมัตถ์ที่เป็นระบบค้ำจุนชีวิตขั้นพื้นฐาน)

การฝังเข็มโดยผู้ที่ไม่ชำนาญ หากไปฝังในเส้นลมปราณที่เป็นเส้นเมนหลัก อาจทำให้กายวิญญาณ ขาด ลง นั่นก็คือระบบค้ำจุนชีวิตถูกทำลาย เมื่อ รูป ถูกทำลาย จิตก็ต้องไปปฏิสนธิใหม่...
การฝังลงไปในเส้นเมนรองอย่างผิดพลาด อาจทำให้รูปอื่นๆ (ในอวัยวะอื่นๆ) ที่ต่อพ่วงอยู่ในเส้นเมนนั้น ใช้การไม่ได้ (เป็นอัมพาตที่ไม่ได้เกิดจากระบบประสาท)
การฝังที่ผิดพลาด ในจุดที่เป็นเส้นเมนของอวัยวะ อาจทำให้อวัยวะนั้น เสื่อมสภาพ โดยเฉพาะว่า หากฝังในเวลาที่นานจน ความถี่ของกลุ่มอวัยวะนั้น แตกต่างออกไปจากร่างกายโดยรวม มันก็อาจเกิดผลร้ายได้อย่างคาดไม่ถึง


:b6: :b6: :b6: พอเรียบเรียงความคิดมาถึงตรงนี้ เราก็พอจะเข้าใจคอนเซปต์ของชีวิตมากขึ้นไปอีก...

รูปปรมัตถ์ มี 3 แบบ แบบแรกเป็นรูปที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง (สมอง) ซึ่งน่าจะเป็นเอกเทศ คือไม่ได้เชื่อมกับปรมัตถ์แบบอื่น เป็นรูปที่เชื่อมกับเจตสิกโดยตรง เป็นรูปที่ทำหน้าที่ในด้าน อายตนะทั้ง 5 ผ่านระบบประสาท และอาจควบคุมการทำงานของสมองใหญ่ด้วย...

:b6: แบบที่สอง เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า ลมปราณ หรือ กายวิญญาณ เป็นระบบค้ำจุนชีวิตให้คงอยู่ น่าจะมีจุดเริ่มต้นหลักจากสมองส่วนซีรีเบลลัม (สมองน้อย) แต่รูปนี้ก็ต้องมีจุดเชื่อมกับเจตสิกเช่นกัน เพราะการขับเคลื่อนกระแส จำเป็นต้องใช้พลังจากอำนาจจิต

เราคิดว่า รูปปรมัตถ์นี้นอกจากจะช่วยให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้แล้ว ยังน่าจะมีหน้าที่ สั่งการโดยรวม เช่น เมื่ออากาศหนาว...
ระบบลิมบิกจะส่งคำสั่งไปยังซีรีเบลลัม สคริปต์จำนวนหนึ่งจะถูกส่งกลับ เพื่อให้ระบบลิมบิกสั่งการไปยังสมองส่วนการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดการสั่นของกล้ามเนื้อ
อีกด้านหนึ่ง ซีรีเบลลัมจะสั่งการผ่านปรมัตถ์นี้ ทำให้เส้นเลือดหดตัวและขนลุก...
ทิศทางการทำงานของจริง จะเป็นแบบนี้หรือเปล่า ก็ไม่รู้นะ :b6: :b6: :b6:

:b6: แบบที่สาม เป็นรูปที่ไหลเวียนในแต่ละอวัยวะ เป็นรูปที่เชื่อมกับแบบที่สอง...
ในทางลมปราณ เขาคงถือว่า เป็นลมปราณเหมือนกัน
รูปในแบบที่สามนี้ น่าจะทำหน้าที่สั่งการเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้นๆ ให้ทำงานในทิศทางเดียวกัน เช่น เซลทั้งหมดต่างผลิตเอนไซม์ชนิดเดียวกัน เป็นน้ำย่อยขึ้นมา เป็นต้น...

รูปปรมัตถ์แบบที่สามนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับกลไกการแบ่งเซลด้วย คือให้การแบ่งเซลเป็นไปในทิศทางที่กำหนด และหยุดเมื่อควรหยุด ซึ่งกลไกการควบคุมจะเป็นอย่างไร เราคิดว่า น่าจะหาคำตอบได้จาก เซนเซอร์ของเซล (น่าจะอยู่บริเวณนิวเคลียส)

ตามคอนเซปต์นี้ อวัยวะทั้งหมดในร่างกาย จะต้องมีรูปปรมัตถ์แบบที่สามนี้อยู่ ยกเว้นสมองและระบบประสาท
อ้อ ระบบลิมบิกจะสั่งการรูปนี้ผ่านทาง ฮอร์โมน

คิดว่าน่าจะโอเค... เดี๋ยวตอนต่อไป จะเป็นเรื่องวิวัฒนาการ อิอิ :b29: :b29: :b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2010, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool เพิ่มเติมนิด... ถ้าเข็มมีผลต่อการไหลของลมปราณ (ซึ่งก็คือสนามแรงโน้มถ่วง) นั่นแสดงว่า โมเลกุลที่ประกอบกันเป็นเซนเซอร์ ย่อมต้องมีธาตุโลหะเป็นส่วนประกอบ
และก็น่าจะหมายถึงว่า สนามแม่เหล็กโลก ย่อมต้องมีผลต่อร่างกายอยู่บ้าง แต่น่าจะเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับผลจากระบบร่างกาย...
แล้วก็แว็บความคิดขึ้นมาอันหนึ่ง... สนามแม่เหล็กคือการไหลของสนามแรงโน้มถ่วง หรือเปล่า ซึ่งถ้าใช่ มันก็แปลว่า โลกก็มีวิญญาณ :b14: :b14: :b14: เพราะวิญญาณ (รูปปรมัตถ์) ก็คือการไหลของสนาม...
แต่อย่าลืม วิญญาณไม่ใช่จิต...

เอาล่ะ มาเรื่องวิวัฒนาการ ซึ่งเราจะลองเขียนโดยคิดเอาในแบบ การพัฒนาทางเทคโนโลยี เป็นนิยาย ย้ำว่า เป็นนิยาย เพราะไม่ได้อ้างอิงข้อเท็จจริงใดๆ เลย :b9:

:b6: การพัฒนาชีวิตเริ่มจาก สัตว์เซลเดียว คำว่าชีวิตนี้ จริงๆ น่าจะใช้คำว่า ชีวกล คือเป็นเหมือนเครื่องจักรที่เป็นสารอินทรีย์
ที่ต้องเป็นสารอินทรีย์ (พวกโปรตีน สารไฮโดรคาร์บอนต่างๆ) ก็อธิบายได้ง่ายๆ ว่า เพราะมันเอื้ออำนวยต่อการสร้างกลไกทางชีวเคมี สามารถทำปฏิกิริยาต่างๆ แตกรูป สร้างรูปได้ง่าย ไม่ต้องใช้พลังงานมาก...

ขนาดของเซลถูกจำกัดโดย การแพร่ ของสารต่างๆ เซลจะเล็กแค่ไหนก็ได้ แต่ต้องไม่ใหญ่จนสารต่างๆ ใช้เวลานานเกินไปในการเดินทางไปยังจุดต่างๆ ของเซล
การจัดการในเซลเป็นระเบียบขึ้น (มีประสิทธิภาพสูงขึ้น) เมื่อใช้ระบบนิวเคลียส สามารถตอบโต้กับสภาพแวดล้อมได้ในบางลักษณะ โดยใช้เซนเซอร์อัตโนมัติ

ชีวกลพัฒนาขึ้นเป็น สัตว์หลายเซล การประกอบขึ้นจากหลายเซล ทำให้เซลที่อยู่ด้านในขาดสารต่างๆ ที่จำเป็น ระบบย่อยอาหารอย่างง่ายจึงปรากฎขึ้น และ การกิน ก็เริ่มนับแต่บัดนั้น
ระบบประสาทอย่างง่าย เกิดขึ้นตามมาเพื่อให้เกิดการแสวงหาอาหาร (ล่า)

ชีวกลแบบนี้ ถึงทางตันอย่างรวดเร็ว เพราะเซลหลายเซลเพียงแค่ อยู่ติดกัน เท่านั้น ทำให้มันไม่คงทนต่อแรงกระทบ และต้องอาศัยน้ำในการช่วยพยุงรูปร่าง...
เราคิดว่า แมงกะพรุน น่าจะเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของชีวกลแบบนี้แล้ว...

:b6: ชีวกลยุคต่อมา น่าจะเป็นยุคของ ไมโตคอนเดรีย ที่ถูกนำมาใช้ โดยใช้หลักของการสั่นอย่างพร้อมเพรียง เพื่อให้เซลทั้งหมดมีความเป็น เนื้อเดียวกัน สามารถทนต่อแรงกระทบต่างๆ ได้ การสั่นจากสารที่ไมโตคอนเดรียผลิตออกมา น่าจะถูกถ่ายทอดไปยังเซลอื่นๆ โดยใช้ สารแม่เหล็ก ซึ่งในสเกลของระบบเล็กๆ มันก็น่าจะเพียงพอ

ชีวิตในยุคนี้ น่าจะเป็นเพียงกลุ่มเนื้อเยื่อแบบง่ายๆ ลอยไปลอยมาเท่านั้น...

เมื่อชีวิตมีขนาดใหญ่ขึ้น สิ่งที่กินก็ต้องใหญ่ขึ้นด้วย... พืชหลายเซลจึงกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นอาหารให้กับสัตว์หลายเซล เพราะการกินของสัตว์หลายเซลด้วยกันเอง ไม่น่าจะเป็นเรื่องง่ายนัก... และน่าจะเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากเขมือบเอา :b32: :b32:

พืชหลายเซล ใช้ผนังเซลช่วยในการคงรูป ซึ่งก็คือมันเคลื่อนไหวได้จำกัด แม้จะแกร่งกว่าชีวกลยุคแรก แต่ก็ถือว่าเปราะบาง...

:b6: เมื่อเวลาผ่านไป ท้องทะเลน่าจะเต็มไปด้วยสัตว์แบบเนื้อเยื่อ และพืชก็เติบโตได้ลำบาก
ผู้ล่า จึงกำเนิด และเกิดแนวความคิดในเชิงนิเวศน์วิทยา สัตว์พวกแรกที่น่าจะปรากฎคือ หอย โดยปรับแนวคิดจากผนังเซล มาเป็นเปลือก...

:b6: เราว่า ชีวิต จริงๆ (คือเริ่มมี จิต ) น่าจะเข้ามาหลังยุคนี้
หลังจากห้องแล็บของมะนาวต่างดุ๊ดหลายๆ ทีม พากันออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาใส่ลงในท้องทะเล ซึ่งก็ต้องมีองค์กรกลางในการกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาใช้ เช่น อาจต้องระบุใน DNA ว่า ผลิตภัณฑ์นี้จะล่าผลิตภัณฑ์อื่นในสกุลใด เมื่อองค์กรอนุมัติจึงออกวางตลาดได้ :b32: :b32: :b32: ตลกไม๊

ครือว่า...

จิตเริ่มเข้ามา เมื่อชีวกลนั้น มีความซับซ้อนจนเกินระดับที่โมเลกุลของสารแม่เหล็ก จะควบคุมกลุ่มเซลได้ทั้งหมด เช่นอาจมีจำนวนกลุ่มเนื้อเยื่อมากเกินไป หรือมีการวางตัวที่ซับซ้อนขึ้น...

เราคิดว่าน่าจะมีการ ผ่านยุค ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบของ สิ่งมีชีวิต ในท้องทะเลยุคนั้น น่าจะเต็มไปด้วยชีวกลที่มีเปลือก ซึ่งบางตัวอาจมีขนาดใหญ่มาก จึงจำเป็นต้องเคลียร์พื้นที่เพื่อเปิดทางให้กับชีวิตยุคใหม่...

เปลือกน่าจะถูกดัดแปลงจนกลายเป็น เกล็ด เพื่อให้สอดคล้องกับกำลังของจิตที่เข้ามาปฏิสนธิ ซึ่งมีอำนาจในการขับเคลื่อนกระแสมากกว่าโมเลกุลเดิมๆ...

:b6: การผ่านยุคน่าจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการใส่สิ่งใหม่ๆ ลงมาในระบบ เพราะระบบชีวิตใหม่ๆ น่าจะเอาตัวรอดได้ยาก เมื่อต้องเจอกับขั้นสูงสุดของระบบเดิม...

ชีวิตเริ่มขึ้นบนผืนแผ่นดิน เมื่อการพัฒนาเริ่มเข้าสู่ทางตัน สิ่งมีชีวิตที่ดีที่สุด ก็เป็นเพียงนักล่าที่ดีที่สุดเท่านั้น เพราะน้ำที่เป็นแหล่งสารอาหาร ในอีกด้านหนึ่ง มันก็มีความแรงมากพอที่จะหยุดยั้งการพัฒนาในด้านอื่นๆ

มีความพยายามนำชีวิตชั้นสูงที่อยู่บนบก กลับลงไปในน้ำ เช่นปลาวาฬ ปลาโลมา ซึ่งก็เป็นการยืนยันว่า ชีวิตในน้ำไม่สามารถพัฒนาอารยธรรมได้ จุดใหญ่น่าจะเป็นว่า มันต้องเคลื่อนที่ด้วยครีบเท่านั้น และไม่มีอิสระมากพอในการออกแบบรูปร่าง...

:b6: :b6: :b6: แล้วมนุษย์จะมีวิวัฒนาการอย่างไรอีก... เราคิดว่า โดยรูปแบบแล้ว ชีวิตในแบบมนุษย์น่าจะถือว่า เป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดแล้ว วิวัฒนาการจึงน่าจะจบลงตรงนี้ หากจะมีอีก ก็จะเป็นเพียงการปรับรูปแบบในส่วนย่อยๆ เท่านั้น...

บางคนว่าโลกจะแตก (หมายถึง อารยธรรมต้องเริ่มใหม่) เรื่องนี้เราเชื่อว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่มีเหตุผลอันใดที่เราต้องไปเริ่มหมักเหล้า เรียนรู้การใช้เครื่องมือ เริ่มระบบเทพเจ้า ตั้งศาสนากันใหม่ และเริ่มมีคนคิดได้ว่า ลูกแอปเปิ้ลตก เพราะมีแรงโน้มถ่วง...
มันมีแต่จะเข้าสู่ระบบใหม่ ซึ่งอาจจะอึ้งไปตามๆ กัน ฮิฮิ :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2010, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้อ เพิ่มเติมเรื่องรูปปรมัตถ์ การสั่งการโดยรวมของปรมัตถ์อาจมีแค่ 2 แบบคือ กระแสเร็วขึ้นหรือช้าลงเท่านั้น เช่นว่า
เมื่อร่างกายร้อน ซีรีเบลลัมอาจขยายช่องทางของเส้นลมปราณในสมอง (เหมือนประตูน้ำ) เมื่อช่องทางขยายขึ้น กระแสก็ไหลได้เร็วขึ้น อวัยวะทั้งหมดก็ทำงานมากขึ้นตาม ต่อมเหงื่อจากที่เคยทำงาน 50% ก็กลายเป็น 100%

เมื่อร่างกายหนาว ช่องทางอาจถูกบีบให้แคบลง กระแสก็เดินได้ช้าลง อวัยวะทั้งหลายก็ช้าลงตาม...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2010, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


มาเพิ่มอีกหน่อย เพื่อไม่ให้ลืม cool cool cool

- กลไกหลักของการนอนหลับคือ การหยุดการทำงานของ แรม และ ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งระบบนี้จะยึดโยงเราให้ยังอยู่กับโลก

:b6: ตอนนี้เราค่อนข้างเชื่อว่า ระบบประสาทสัมผัสน่าจะมีจุดปลาย (เซนเซอร์) อยู่ที่ซีรีเบลลัม ซึ่งมันจะถูกระงับไปพร้อมกับความเย็นและความเจ็บ...

ตรงนี้ก็ต้องแก้ไขโพสต์ก่อนๆ คือ เมื่ออากาศหนาว... กลไกทั้งหมดน่าจะเป็นเรื่องของซีรีเบลลัมล้วนๆ แต่เรายังไม่แน่ใจว่า การสั่งการไปยังสมองส่วนการเคลื่อนไหว ต้องผ่านระบบลิมบิกหรือเปล่า หรือซีรีเบลลัมสั่งการตรง :b6:

ส่วนระบบประสาทสัมผัสทำงานอย่างไร เรายังไม่แน่ใจนัก แต่คิดว่า มันไม่น่าจะซับซ้อนมากอย่างที่เราคิด
เป็นไปได้ว่า... ระบบประสาทสัมผัส เป็นเพียงการบันทึกระยะเวลาที่ต่างกันของกลุ่มเซนเซอร์ในแต่ละจุด และสมอง จำได้ ว่า ระยะเวลาที่นานเท่านี้ มาจากส่วนใด...
และเราจะรู้ตำแหน่งของการสัมผัสจริงๆ ก็ด้วยการ มองเห็น

ซึ่งถ้าจริง ในคนตาบอด การรับรู้ตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายก็จะไม่แม่นยำมากนัก คือแค่รู้เป็นบริเวณๆ ไป หรือในคนปกติ เราจะหาจุดสัมผัสในบริเวณที่มองไม่เห็น เช่น แผ่นหลัง ศรีษะ ได้ไม่ดีนัก...


:b6: ส่วนที่เราว่าเป็น แรม นั้น บางทีมันอาจเป็นส่วนคัดกรองของการบันทึกความจำระยะยาว ซึ่งก็คือส่วนคอนโทรลเลอร์ด้านความจำนั่นเอง... สมองส่วนนี้น่าจะเชื่อมอยู่กับต่อมไพเนียล ซึ่งทำหน้าที่เป็นกระดานข้อมูล

มีความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง การบันทึกความทรงจำอาจใช้ สารแม่เหล็ก เป็นตัวจัด คือวางแนวของเส้นแรงแม่เหล็กไว้ในรูปแบบที่ต้องการ
ซึ่งถ้าสมองคนเรา อุดมไปด้วยธาตุโลหะ ความจำก็อาจบันทึกในแบบเดียวกับ ฮาร์ดดิสก์ ก็ได้ คือไม่ได้บันทึกโดยการจัดโครงข่ายประสาท แต่บันทึกโดยการจัดวางโมเลกุลของโลหะแทน...

ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น การถ่ายข้อมูลออกจากต่อมไพเนียล จึงไม่จำเป็นต้องมีเส้นประสาทมาเชื่อมโยงมากมาย
มันอาจใช้การเหนี่ยวนำไปยังสมองส่วนแรม ซึ่งก็ขึ้นกับว่า สารในต่อมไพเนียลเป็นสารอะไร บางทีมันอาจเป็นสารที่เมื่อถูกกระตุ้นจากการถูกยิงด้วยประจุ แล้วก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้นมาก็ได้

ซึ่งถ้าเป็นจริง มันก็แสดงว่า สิ่งที่เราจำได้ย่อมไม่เหมือนกับสิ่งเราเห็นแบบเป๊ะๆ และนั่นย่อมหมายความว่า หากเรามีเครื่องอ่านสนามแม่เหล็กที่ไวพอในระดับโมเลกุล เราก็สามารถรู้ได้ว่า คนๆ นั้นกำลังคิดอะไร และมีอะไรอยู่ในความทรงจำ...

และนี่ก็น่าจะเป็นหลักการของ เจโตปริยญาณ


s004 มีอัพเดทเรื่องอื่นอีกนิดหนึ่ง...
- ในแนวคิดรูปปรมัตถ์ ลมปราณ (กายวิญญาณ) ซึ่งเป็นกระแสการไหลของสนามแรงโน้มถ่วง (เส้นแรงแม่เหล็ก) มีจุดควบคุมหลักที่เหมือนประตูน้ำในซีรีเบลลัม ที่จุดนั้นจึงน่าจะเป็นก้อนแม่เหล็กที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย... อันนี้พิสูจน์ได้ไม่ยากว่า เราจะต้องคิดใหม่หรือเปล่า :b32: :b32:

ตรงนี้น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ซีรีเบลลัมต้องแยกออกจากสมองใหญ่ (นอกจากเหตุผลด้านกระบวนการนอนหลับ) คือเพื่อป้องกันการรบกวนกับความทรงจำที่ถูกบันทึกในสมองใหญ่

ซึ่งก็ขยายความต่อได้อีกว่า การบันทึกความจำในแบบสคริปต์ที่เป็น ทักษะ ที่เราเชื่อว่ามีตำแหน่งอยู่ในซีรีเบลลัมนั้น จึงต้องถูกบันทึกในรูปแบบของ โครงข่ายประสาท ซึ่งคงทนถาวร
และนั่นคือคำอธิบายว่า เหตุใดทักษะการเคลื่อนไหวนั้น เมื่อเราเป็นแล้ว จะไม่ลืมอีก...


s004 เรื่องที่สอง หลังจากเราคิดเรื่องข้างบนแล้ว... ก็แวบขึ้นมาอีกว่า
การแบ่งเซลสืบพันธุ์ออกเป็นไข่และอสุจิ เป็นการแบ่งขั้วแม่เหล็กออกจากกันใช่หรือไม่ คือเป็น แม่เหล็กขั้วเดียว ที่นักวิทย์กำลังตามหา...

ไข่และอสุจิ อาจมีองค์ประกอบที่เป็นแม่เหล็กขั้วเดียวทั้งคู่ และเมื่อมาอยู่ใกล้กัน มันก็จะวิ่งเข้าหากัน จริงหรือเปล่านะ :b6:
ถ้าจริง นี่อาจเป็นต้นกำเนิดของแนวคิด หยิน-หยาง

เมื่อไข่และอสุจิผสมกัน เส้นแรงแม่เหล็กที่สมบูรณ์ก็จะเป็นตัวเริ่มขับเคลื่อนกลไกการขึ้นรูปในระยะเริ่มต้น
การวางโครงร่างของเส้นลมปราณจะต้องเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จิตจะเข้ามาเชื่อม นั่นหมายถึงว่า ขีดจำกัดของอวัยวะนั้นมีอยู่ คือต้องไม่มากหรือซับซ้อนจนเกินขีดจำกัดของแรงแม่เหล็กระดับเซล...

ออกลูกเป็นไข่ - ชีวิตชั้นสูงต้องการพลังงานและองค์ประกอบอื่น ในการเติบโตของตัวอ่อนมากเกินกว่าที่จะบรรจุสารอาหารทั้งหมดไว้ใน ไข่ ได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 206 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 89 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร