วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีฟังเทศน์มา มีของดีหล่นตุีบมานิดนึง เลยเอามาวางตลาด
ไม่ทราบว่าจะขายดีหรือเปล่านะ
งานนี้ไม่มีเฉลยแจกอมยิ้มอะไรนะคับ

เพียงแต่ว่าช่วยๆกันแสดงแจกแจง
เผื่อมีอะไรน่าสนใจได้นำไปพิจารณากัน


"หวังในผล-บาป .... หวังในเหตุ-ไม่บาป"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 04:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณชาติสยาม
คนไร้สาระขอโอกาสแสดงความคิดเห็น นิดหนึ่ง

:b47: "หวังในผล-บาป .... หวังในเหตุ-ไม่บาป"
ด้วยประโยคนี้แยกเป็น 2 ประเด็นแล้วกัน

:b47: หวังในผล - บาป เพราะ เจตนาจิตเกิดจากตัณหา
อยากได้ผลแต่ไม่เพียรสร้างเหตุ หรือสร้างเหตุผิด จิตนั้น
เริ่มต้นด้วยตัณหา ไม่มีปัญญาเกิดจากจิตอกุศล กุศลย่อมไม่เกิด
จิตอกุศลที่เกิดย่อมเป็นบาป เพราะจิตหนัก ละโมบ

:b47: หวังในเหตุ - ไม่บาป หวังในเหตุเป็นจิต
ที่ประกอบด้วยความเพียรหรือฉันทะ ตั้งใจและมีปัญญา
เพียรสร้างเหตุ ส่วนผลไม่คำนึงถึงว่าจะได้เมื่อไร
เท่าไร เพราะเข้าใจถึง เหตุ - ปัจจัย ที่เกื้อกูลกัน
จิตนี้เริ่มต้นด้วยปัญญา ย่อมเกิดกุศลจิต เท่ากับเป็น
บุญเพราะจิตไม่ประกอบด้วยตัณหา

:b47: มีฉันทะในเหตุ ไม่มีตัณหาในผล

:b47: ขอแสดงความคิดเห็นเท่านี้ ผิดถูกอย่างไรโปรดพิจารณาค่ะ

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


งั้นมีคำถามค่ะ
มีวันหนึ่ง นั่งทำงานอยู่มีคนมาเคาะประตู ทำหน้าเศร้าบอกว่า แฟนเขา
ไม่สบายเป็นโรคหัวใจ เขาไม่มีตังค์ ขอความเห็นใจจากเราจะพาแฟนไป
โรงพยาบาล เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ลังเลให้ดีไม่ให้ดี แต่อำนาจฝ่ายสูงชนะ
คิดว่าถ้าไม่ให้ไป เกิดเป็นเรื่องจริงหละ พอให้ไปแล้ว ก็มีคนมาบอกว่า
คนนี้มาขอแบบนี้บ่อยๆ ก็เลยบอกเขาไปว่า ช่างเถอะเขาคงเดือดร้อนจริงๆ
เพราะถ้าไม่ให้แล้วจะมีความรู้สึกติดอยู่ที่ใจ คิดไปสารพัด ครั้งละหลายๆวัน

อีกเรื่องหนึ่ง ขณะที่ถือศิลอยู่ที่วัด หลังจากปฏิบัติแล้ว กำลังนั่งพักอยู่ริมรั้ว
ในเขตวัด แต่ติดถนนด้านนอก ก็มีเสียงเรียก"แม่ แม่ครับ" พอหันไปก็เจอ
ผู้ชายคนหนึ่ง บอกว่า "ผมยังไม่ได้กินข้าวเลย ผมหิวครับ" พอดีมีตังค์ติด
กระเป๋านิดหน่อย ก็ให้เขาไปและบอกว่า "เอาไปกินข้าวนะ แล้วอย่าไปรบกวน
โยคืท่านอื่นอีกนะ" เขาก็บอกว่า "ครับ" ก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง มีคนบอกว่าเขาจะเอาไปกินเหล้า
ก็ติดอยู่ที่ใจว่าเราทำผิดหรือถูกนะ แต่ก็อีกแหละถ้าไม่ให้ก็จะคิดเรื่องนี้อีกหลายๆวัน

ทุกครั้งที่เจอคนมาขอตังค์ ต้องให้ทุกครั้ง ถ้าไม่ให้จะรู้สึกผิดอยู่ตลอด ถ้าจะ
ไม่ให้เขาต้องไม่มองหน้าเขา ถ้าไม่เห็นหน้าก็จะรู้สึกเสียใจน้อยหน่อย แต่ถ้าเห็น
หน้าจะติดอยู่ทีใจหลายวันกว่าจะหาย บางครั้งต้องกลับไปตามหาคนคนนั้นแล้ว
เอาเงินให้เขาจนได้ ในขณะที่ให้ไม่ได้คิดอะไรนอกจากสงสารและคิดว่าเขาคงหิว
โดยที่ไม่เคยสนใจว่าเขาจะเอาเงินไปทำอะไร คิดแต่ว่าถ้าเขาหิวจริงๆหละทุกครั้ง

ช่วยแนะนำหน่อยซิค่ะ ว่าบาปหรือไม่? s006 s006

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทะทัง มิตตานิ คันถะติ คำพระขาน
ใครเป็นผู้ให้ทานทุกถิ่นฐานมิตรมากมี
ชาตินี้พอมีให้จงฝึกใจให้ยินดี
สร้างทานบารมีเป็นที่พึ่งทุกชาติไป
มีทานเป็นต้นทุนย่อมได้บุญเป็นกำไร
ชาตินี้หรือชาติไหนย่อมมีให้ไม่ขาดแคลน

การให้ทานแม้ทำแก่สัตว์ยังได้บุญ
เป็นการกำจัดโลภออกไปจากจิตใจของเรา

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
[i]งั้นมีคำถามค่ะ
มีวันหนึ่ง นั่งทำงานอยู่มีคนมาเคาะประตู ทำหน้าเศร้าบอกว่า แฟนเขา
ไม่สบายเป็นโรคหัวใจ .....(มีต่อ)........



ขอเชิญคุณคนไร้สาระช่วยแนะแนวดีกว่านะครับ
คนนี้พึ่งได้ ชาติรับรอง ชาติปลื้มคนนี้อยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะ คุณชาติสยาม จะลองตอบดูน่ะค่ะ
อย่างไรแล้ว ช่วยกันพิจารณาดีกว่าค่ะ

:b47: ทั้ง 3 วรรคของ คุณtaktayล้วนเป็นเรื่องของ
ความเมตตา มีจิตที่จะเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
แต่มีความลังเล ว่าเมื่อให้แล้วเขาจะไม่เอาไปทำตาม
ที่พูดไว้ ถ้าไม่ให้ก็ไม่สบายใจ ตรงนี้มีเมตตาแต่ขาด
อุเบกขา

:b47: คำว่า บาป หรือ ไม่ต้องดูที่เจตนาของจิตว่า
เจตนาจะเกื้อกูล เป็นบูญ แต่กรรมที่ก่อไปในทางบุญ
ก็จะได้บุญไม่เต็มร้อย เพราะจิตไม่มีความผ่องใสในบุญ
อันนั้น หนำซ้ำยังได้รับวิบากจากกุศลกรรมนั้นอีกด้วย
คือ ความไม่สบายใจ จิตเศร้าหมอง สร้างกุศลอยู่แท้ ๆ
แต่พลิกเป็นอกุศลได้ในพริบตา

:b47: คราวหน้าถ้ามีเหตุการณ์เช่นนี้อีก คุณควรมอง
ดูที่ใจตัวเองก่อนว่าพร้อม ไหมกับการเสียสละโดยไม่
ลังเลใจ คิดถึงแต่เรื่องการเกื้อกูลเพื่อนมนนุษย์ ไม่ต้อง
สนใจว่าให้แล้วเขาจะเอาไปทำอะไร ดูแต่ใจที่เป็นสุข
ก็พอ ถ้าใจไม่พร้อมไม่ควรให้ พิจารณาคำนี้ไว้สัตว์โลก
ย่้อมเป็นไปตามกรรม


:b47: อาการยึดติด เพราะไม่รู้ นี่แหละทำให้เราต้อง
เวียนว่ายตายเกิด จึงต้องศึกษาพัฒนาจิตกัน ให้เป็น
ผู้รู้ในที่สุด ขอแสดงความคิดเห็นด้วยความรู้เพียงเล็กน้อยเท่านี้ค่ะ

:b8: อนุโมทนาสาธุ หวังว่าจะพึ่งได้บ้าง ดั่งคำของคุณชาติสยาม

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณค่ะสำหรับคำตอบ
จริงๆแล้ว เวลามีคนมาขอตังค์ จิตพร้อมที่จะให้ทุกครั้ง
ไม่เคยสนใจว่าเขาจะเอาไปทำอะไร? ถ้าไม่มีคนทักก็จะเป็นสุข
ทุกครั้ง แต่ถ้ามีคนทักปุ๊ปจะลังเล ที่ลังเลไม่ใช่เสียดาย แต่กลัว
ว่าเขาจะเอาไปใช้ในทางที่เสื่อม เราก็จะบาปไปด้วยแค่นั้นเองค่ะ
จากคำตอบพอจะเข้าใจแล้ว ต่อไปคงจะพุ่งจิตไปที่ให้อย่างเดียว

อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ tongue

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไงล่ะๆ บอกแล้วๆ
cry cry cry
ธรรมดาที่ไหน

เจ้าป้าไม่ว่างรับรอง ชาติรับรองเอง
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้อีกคำเทศน์หนึ่ง จากหลวงพ่ออีกรูปหนึ่ง

"ขยันทำเหตุ แต่อย่าอยากได้ผล
ถ้าอยากได้ผลแล้วไม่ได้เลย เพราะกิเลสเอาไปกินหมด"



ปล.ไม่สะดวกออกชื่อพระผู้เทศน์ทั้งสองรูปนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 08:25
โพสต์: 19

อายุ: 0
ที่อยู่: เชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนา เน้อ

หวังในผล - บาป หวังในเหตุ - ไม่บาป

แต่ถ้าไม่หวัง ก็ดับเหตุ จึงไม่มี ผล

cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาท่านชาติฯครับ กับคำถาม...เข้าใจว่า คำกล่าวนี้ ท่านหมายเอาเฉพาะในทางธรรม..
ผมขออนุญาตร่วมตอบด้วยว่า จะฟันธงไปเลยทั้งหมดว่า"หวังในผล-บาป .... หวังในเหตุ-ไม่บาป" นั้นไม่ควรครับ..

ผมเข้าใจว่า หากหวังผลที่เป็นไปเพื่อส่งเสริมตัณหามานะและทิฏฐินี้ย่อมเป็นอกุศลเต็มที่ แต่หากหวังผลที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ตรงนี้ไม่น่าจะเป็นบาปเลย เพราะเป้าหมายตรงข้ามกับกิเลสแบบโลกๆโดยสิ้นเชิงครับผู้ที่หวังผลเช่นนี้ย่อมมีจิตที่มีเนกขัมมะวิตกประกอบอยู่ เขาย่อมขวนขวายที่จะประกอบเหตุเพื่อผลที่หวัง

คนเราไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ย่อมพาดพิงไปถึง"ผล"อันเป็นที่ปรารถนา หาไม่แล้วคงไม่มีใครๆทำกิจกรรมอะไรนะครับ..

การหวังผลก็ย่อมแตกต่างกันไปตามระดับของกิเลสตัณหา และการสั่งสมอบรมฝึกจิตของแต่ละบุคคล...ชาวปุถุชนหวังด้วยกิเลสตัณหาเต็มที่ แต่กลุ่มที่หวังผลคือการสิ้นสังสารทุกข์หรือเข้าถึงพระนิพพาน อย่างมั่นคงแล้วย่อมทราบชัดว่า"ผล"ที่ท่านจะได้นั้น ย่อมมาจาก"เหตุ"ใด ท่านคงไม่เสียเวลาคิดถึงผลแต่จะประกอบเหตุด้วยวิริยะตามภูมิพัฒนาของท่านไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย..

ที่จริงการหวังผลนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเหตุทุกชนิด แม้การที่ใครๆจะกล่าวว่า ที่ทำไปไม่หวังสิ่งใดนั้น (แท้จริง กิริยาอาการนี้ มีได้เฉพาะในพระอรหันต์เท่านั้น) เมื่อตรวจให้ดีจะพบความหวังบางอย่างนอนเนื่องอยู่ภายในเสมอ แม้ที่สุดด้วยเพียงปรารภความสบายใจของตน ซึ่งก็ยังไม่พ้นกิเลสคืออัตตานุทิฏฐิอยู่ นี่ว่ากันในชั้นละเอียดนะครับ..

ดังนั้นการห้ามหรือแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการ"หวังผล"นั้น ไม่น่าจะมีผลดีแก่ผู้ที่"เริ่มต้น"ในการเดินทางบนเส้นทางธรรม แม้พระพุทธเจ้า เมื่อทรงสอนชนบางกลุ่ม ก็ยังทรงสอนด้วย"อนุปุพพิกถา"เป็นเบื้องต้นเสียก่อน
อ่านเรื่อง "อนุปุพพิกถา" ได้ที่นี่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6021

ผมยังคิดว่า"การหวังผล" เพื่อการ"ไม่หวัง"อะไรๆ ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นครับในระยะเริ่มต้น ..
ผิดพลาด ขออภัยครับ :b8: :b12:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงอย่างที่คุณ -dd- กล่าวมาครับ

ที่มาทำๆกันอยู่ก็อยากจะได้นิิพานกันทั้งนั้น อยากสุขสบายกันทุกคน
ดังนั้น ถ้าไปพูดว่า "อยากดีก็บาป อย่าอยากดี"
ใครไม่รู้ ก็จะพากันเลิกคิ้วสงสัยว่าตกลงบาปก็ไม่ให้ทำ บุญก็ไม่ให้หวัง แล้วจะยังไงดี
ก็เป็นปัญหาของภาษาว่าจะสื่อสารอย่างไรต่อไปนะครับ
ท่านเทศน์มาอย่างนั้น เราก็ไม่บังอาจไปแก้คำของท่านน่ะเนาะ

บัวมีสี่เหล่าอย่างว่านั่นแหละครับ
ดูคุณคนไร้สาระเป็นตัวอย่าง แค่เห็นหัวข้อก็เข้าใจเนื้อหาแจ่มแจ้งแล้ว ไม่ต้องอธิบายต่อ
แต่คนอื่นๆที่เขายังไม่ค่อยเข้าใจก็คงจะล่อแหลมอย่างว่านั่นแหละครับ

ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกันล่ะครับนี่ :b23:
ขนาดพระพุทธเจ้าพูดแท้ๆ คนยังเถียงกันเป็นวรรคเป็นเวร

แล้วแต่ยถากรรมของคนล่ะคุณ -dd- เอ๊ย
ชาติก็จนปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
พอดีฟังเทศน์มา มีของดีหล่นตุีบมานิดนึง เลยเอามาวางตลาด
ไม่ทราบว่าจะขายดีหรือเปล่านะ
งานนี้ไม่มีเฉลยแจกอมยิ้มอะไรนะคับ

เพียงแต่ว่าช่วยๆกันแสดงแจกแจง
เผื่อมีอะไรน่าสนใจได้นำไปพิจารณากัน


"หวังในผล-บาป .... หวังในเหตุ-ไม่บาป"




ตรงนี้ขอพูดแบบภาษาชาวบ้านนะคะ เพราะไม่ได้ร่ำเรียนอะไรมามากมาย

หวังในผล - บาป

ท่านสอนว่า ให้ระวังในเรื่องของบาปกรรม ผลที่เราได้กระทำลงไปที่เป็นผลของบาปที่ได้รับ

หรือถ้าพูดง่ายๆคือ พยายามอย่าสร้างเหตุที่เป็นอกุศล เพราะต้องได้รับผลนั้นอย่างแน่นอน

หวังในเหตุ - ไม่บาป

เหตุไม่บาปคืออะไร คือ กุศลกรรม ให้เราหมั่นสร้างกุศลกรรมกันไว้

ถ้าพูดตรงๆไม่ต้องอ้อมค้อม ต้องมาตีภาษากัน พูดแบบง่ายๆคือ

หมั่นสร้างแต่กุศลกันเด้อ อกุศลอย่าไปทำมัน อย่าไปเอามัน

การกระทำทุกอย่างมันส่งผลอย่างแน่นอน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
อันนี้อีกคำเทศน์หนึ่ง จากหลวงพ่ออีกรูปหนึ่ง

"ขยันทำเหตุ แต่อย่าอยากได้ผล
ถ้าอยากได้ผลแล้วไม่ได้เลย เพราะกิเลสเอาไปกินหมด"



ปล.ไม่สะดวกออกชื่อพระผู้เทศน์ทั้งสองรูปนะครับ




เรื่องนี้ก็เหมือนกัน ถ้าว่าในแง่ของการปฏิบัติ

บางคนขยันมากๆในการทำสมาธิ ขยันจริงๆ เพราะอยากให้จิตสงบ

เพราะมีความอยาก กิเลสมันเลยเอาไปกินหมด

เพ่งก็แล้ว กดข่มก็แล้ว พยายามพลิกแพลงต่างๆนาๆ

สุดท้ายมีแต่ความฟุ้งซ่าน จิตไม่ยอมเป็นสมาธิสักที

นี่แหละ ท่านถึงกล่าวว่า ขยันทำเหตุ แต่อย่าอยากได้ผล

ถ้าอยากได้ผลแล้วไม่ได้เลย เพราะกิเลสเอาไปกินหมด

ข้อความนี้ ท่านกล่าวเป็นนัยในเรื่องการปฏิบัติ

มันคนละนัยกับเรื่องบุญและบาปเมื่อกี้นี้ คนละเรื่องกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 01:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ข้อความนี้ ท่านกล่าวเป็นนัยในเรื่องการปฏิบัติ

มันคนละนัยกับเรื่องบุญและบาปเมื่อกี้นี้ คนละเรื่องกัน[/color]



ชาติกรุ้มเลย

ความจริงบริบทที่ท่านเทศน์ว่า "หวังในเหตุ-ไม่บาป หวังในผล-บาป"
เป็นเรื่องของการปฏิบัติล้วนๆ ท่านเทศน์ถึงจิตเหตุ และจิตผล
จิตเหตุที่มีตันหา ก็ไม่สามารถจะให้ผลในสิ่งที่ควรจะเป็น
จิตเหตุที่มีตันหา ท่านเลยใช้คำว่าบาป จิตมันมีบาป มีอกุศลธรรม

ที่คุณคนไร้สาระแจกแจงมานี้ ได้ครบถ้วนเลย ไม่มีตกหล่น

ก็เป็นความผิดของชาติเองที่ไม่นำบริบทมาลงด้วย
ทำให้เข้าใจไปถึงบุญบาปในแบบที่ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว

แหม แต่จะถอดเทปก็กะไรอยู่ ไม่ทราบว่าท่านจะอนุญาตไหม

เพราะคำว่าบาปบุญ มันเป็นคำใหญ่
ถ้าเราพูดว่ามีตันหา นั่นคือมีบาป มีอกุศลจิต จิตมีตันหาคือจิตมีบาป
ตันหาในการปฏิบัติ จึงสามารถจะพูดได้ว่าเป็นจิตบาป
แต่อย่างว่าแหละ คำว่าบาปมันพาให้นึกไปในความหมายที่ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว

ถ้าไงมาดูหลวงพ่อพุธเล่นคำดูนะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร