วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงจาพวกที่ ๑ มีเจ้าของในฐานะผู้ปกครองดูแล ได้แก่ หญิงที่มีมารดารักษา เป็นต้น อาจจะเป็นหญิงที่เป็นบุตรสาว หลานสาว ที่อยู่ในความปกครองของมารดา บิดา พี่น้อง ญาติ และหญิงที่อยู่ในความดูแลของสานักนักบวช เป็นการดูแลให้การเลี้ยงดูให้เติบโต อบรมสั่งสอน ส่งเสริมให้ได้รับความรู้ เท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของสัมผัส คือไม่ได้ถือสิทธิในการจะเสพกามสุขที่เกิดจากการได้สัมผัส ชายที่ละเมิดล่วงเกินเกี่ยวกับการร่วมประเวณีในหญิงเหล่านี้ ย่อมเป็นกาเมสุมิจฉาจารได้ แต่สาหรับฝ่ายหญิงถ้ายินยอมพร้อมใจด้วยก็ไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจาร เพราะว่า หญิงนั้นมีผู้ดูแลก็จริง แต่ไม่ใช่มีเจ้าของสัมผัส หญิงจาพวกนี้มีสิทธิที่จะมอบสัมผัสนั้นแก่ชายใดก็ได้ ฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่าทาผิด สรุปว่า ถ้าชายไปล่วงเกิน ชายนั้นก็ผิดศีลฝ่ายเดียว หญิงจาพวกที่ ๒ มีเจ้าของในฐานะเจ้าของสัมผัส ได้แก่ หญิงที่เป็นภรรยาทั้งหลาย และหญิงที่มีคู่หมั้นด้วย หญิงที่เป็นภรรยาก็มีสามีของตนเป็นเจ้าของสัมผัส ส่วนหญิงที่มีคู่หมั้นแล้วก็เท่ากับยอมรับความจะเป็นภรรยาเขา ถ้าชายอื่นใดละเมิดในหญิงเหล่านี้ ชายนั้นก็ชื่อว่ากระทากาเมสุมิจฉาจาร ส่วนฝ่ายหญิงถ้ามีความยินยอมพร้อมใจ ก็ชื่อว่าทากรรมชั่วข้อนี้ร่วมกัน เพราะว่ามอบสมบัติคือสัมผัสอันผู้เป็นเจ้าของคือสามีของตนเท่านั้นถือสิทธิอยู่ ให้แก่ชายอื่น สรุปว่า ผิดทั้งคู่ ผลของกาเมสุมิจฉาจาร การส่งผลในปฏิสนธิกาล การทาบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าการประพฤติผิดในกามเช่นนี้ส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตจะนาไปเกิดในอบายภูมิ การส่งผลในปวัตติกาล ถ้าบาปนี้ไม่ส่งผลนาไปเกิดในอบายภูมิ บุคคลนั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลได้ในปวัตติกาล หรือเมื่อพ้นโทษจากอบายภูมิแล้ว เศษกรรมยังตามมาส่งผลในปวัตติกาลได้อีก กาเมสุมิจฉาจารนี้ เป็นการกระทาของคนขลาด ลักลอบ ทาอย่างปิดบัง หลบๆ ซ่อนๆ นี้เองจึงส่งผลให้เป็นผู้ที่ไม่องอาจผ่าเผย มีจิตใจไม่อาจหาญ และสามารถส่งผลให้เกิดมาเป็นหญิง เป็นกะเทย เป็นคนวิปริตผิดเพศ

การงดเว้นบาปอกุศลข้อกาเมสุมิจฉาจารได้ ผลบุญก็ย่อมปรากฏ คือ เป็นผู้มีกาลังใจอาจหาญ กล้าแข็ง ชนะใจตนเองได้อยู่เสมอ และเพราะเหตุที่ละเว้นจากการกระทาผิดเกี่ยวกับทางเพศ เมื่อเกิดในภพใดๆ ก็เป็นผู้มีเพศอุดม คือเกิดเป็นบุรุษ เมื่อเป็นคนไม่ประพฤติผิดทานองคลองธรรม ก็แสดงว่าเป็นคนจิตใจประณีต สะอาด จึงเป็นเหตุให้เป็นคนมีความเฉียบแหลม ละเอียดอ่อน และเพราะไม่กระทากรรมในที่ลับ จึงส่งผลทาให้เป็นผู้ที่มีความอาจหาญในท่ามกลางคนทั้งปวง ไม่ตกต่า เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏได้ง่าย และเพราะเหตุที่เป็นคนไม่มักมากในเมถุนโดยการเที่ยวแสวงหาหญิงอื่น เพราะกลัวผิดศีลจะมัวหมองนั่นเอง หากมีคู่ครอง คู่ครองก็จะซื่อสัตย์ จงรักภักดี ไม่นอกใจ เป็นต้น ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เมื่อเทียบกับศีล ๕ แล้ว ก็จะขาดศีลข้อ ๕ คือ สุราเมรัย ในหมวดอกุศลกรรมบถจัดอนุโลมสุราเมรัยเข้าในข้อกาเมสุมิจฉาจาร เพราะการดื่มสุรานั้นเป็นการติดในรส คือ พอใจในรสของสุรานั่นเอง เมื่อจะกล่าวถึงโทษของการดื่มสุราเมรัยนั้นมีมากมาย เพราะเมื่อดื่มแล้วทาให้ขาดสติสัมปชัญญะ ย่อมจะทาอกุศลกรรมได้ทุกอย่าง ย่อมจะนาไปสู่อบายภูมิ เมื่อสิ้นกรรมจากอบายภูมิ ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมนั้นยังส่งผลให้เป็นคนป๎ญญาอ่อน เป็นคนบ้า ๒. วจีทุจริต ๔
วจีทุจริต มี ๔ คือ
๑. มุสาวาท (อ่านว่า มุ-สา-วาด หรือ มุ-สา-วา-ทะ)
๒. ปิสุณวาจา (อ่านว่า ปิ-สุ - นะ-วา-จา)
๓. ผรุสวาจา (อ่านว่า ผะ-รุ-สะ-วา-จา)
๔. สัมผัปปลาปะ (อ่านว่า สา-ผับ-ปะ-ลา-ปะ)
๑. มุสาวาท
มุสาวาท คือ การมีเจตนากล่าวคาเท็จ เป็นคาพูดที่ไม่จริง ทาให้ผู้ฟ๎งเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนจากความจริง จะเป็นการพูดด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่น

พูด เขียนหนังสือ เขียนจดหมาย หรือประกาศกระจายเสียง ก็จัดเป็นมุสาวาททั้งสิ้น คาพูดเท็จ เป็นคาที่ไม่จริง รวมไปถึงการแสดงกิริยาอาการทางกายด้วย เช่น ส่ายหน้า พยักหน้า ฯลฯ การพูดเท็จจะสาเร็จทางวาจาเป็นส่วนมาก ฉะนั้น คาพูดเท็จ จึงเป็นการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกายหรือวาจา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ด้วยความคิดจะทาลายประโยชน์เขา องค์ประกอบของการพูดเท็จ มี ๔ ประการ คือ
๑. เรื่องที่ไม่จริง
๒. มีจิตคิดจะทาให้เขาเข้าใจคลาดเคลื่อน
๓. ความพยายามอันเกิดจากความคิดนั้น
๔. เมื่อพูดแล้วมีคนเชื่อคาพูดนั้น
เรื่องที่ไม่จริง เป็นอย่างไร ? คือ เรื่องจริงเป็นอย่างหนึ่ง แต่ตนเองนาไปกล่าวหรือแสดงให้เขาเข้าใจผิดไปอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามีเรื่องไม่จริงนั้นอยู่ในใจเท่านั้นยังไม่ได้กล่าวหรือแสดงออกมาก็ยังไม่เป็นมุสาวาท แต่คิดจะกล่าวเรื่องไม่จริงและมีเจตนาจะทาลายประโยชน์ของผู้ฟ๎ง แล้วกล่าวหรือแสดงออก และผู้ฟ๎งรู้เนื้อความนั้นและเชื่อเนื้อความนั้น ได้ชื่อว่ามุสาวาทแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ทาลายประโยชน์ คาพูดนั้นก็จัดเป็นเพ้อเจ้อ เพราะเรื่องนั้นตกเป็นเรื่องเหลวไหล ไร้สาระ อนึ่ง ถึงแม้เมื่อคิดจะมุสาวาทและตั้งใจอยู่นิ่งๆ โดยคิดว่า “ถ้าเรานิ่งเฉยอยู่อย่างนี้ เขาจะเข้าใจเป็นอย่างอื่น” ก็เป็นความพยายามเหมือนกันเพราะอาการนิ่งนั้นเป็นเพราะจัดแจงแต่งขึ้นด้วยจุดประสงค์จะมุสา ผลของมุสาวาท การส่งผลในปฏิสนธิกาล การทาบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แล้ว จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมนี้ส่งผล จะนาไปเกิดในอบายภูมิ การส่งผลในปวัตติกาล ถ้าบาปนี้ไม่ส่งผลนาไปเกิดในอบายภูมิ บุคคลนั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลได้ในปวัตติกาล

หรือเมื่อพ้นโทษจากอบายภูมิแล้ว เศษกรรมยังตามมาส่งผลในปวัตติกาลนี้อีก ผลในปวัตติกาล เจตนากรรมของมุสาวาทจะส่งผลทาให้ ตาส่อน เพราะเหตุที่เวลากล่าวคาเท็จจะมีอาการ เช่น คอยก้มหน้าต่า คอยเบนสายตาหลบ ไม่กล้าสบตากับผู้ที่ตนพูดด้วย เพราะมุ่งจะกล่าวคาเท็จ มีฟ๎นเกไม่เรียบชิดกัน เพราะเหตุที่คาเท็จนั้นเปล่งออกมาเพื่อทาลายประโยชน์ ปากมีกลิ่นเหม็นเพราะคาที่มุ่งทาลายประโยชน์เป็นคาที่น่ารังเกียจเหมือนปล่อยลมเสียออกมาทางปาก คนไม่เชื่อถือในคาพูด พูดติดอ่าง หรือเป็นใบ้ เพราะกรรมของมุสานั้นส่งผลทาให้ใครๆไม่ให้ความสาคัญ ไม่ให้ความเชื่อถือคาพูด เป็นต้น การงดเว้นจากการกล่าวคาเท็จจะมีอานิสงส์ส่งผลในปวัตติกาล เช่น เป็นคนหน้าตาแจ่มใส ตาไม่ส่อน ไม่เข ฟ๎นไม่เก ปากมีกลิ่นหอม จะกล่าวเรื่องใดพูดอะไรสั่งการใดๆ ก็มีคนเชื่อฟ๎ง ลูกน้องบริวารน้อมรับฟ๎งคาสั่ง และทาตามเพราะเชื่อในคาพูด ไม่พูดติดอ่าง ไม่เป็นใบ้ เป็นต้น ๒. ปิสุณวาจา
ปิสุณวาจา เป็นคาพูดของบุคคลที่ต้องการทาลายความรักความสามัคคีของคนที่เขาปองดองกันดีอยู่ ให้ผิดใจกัน แล้วหันมารักตนหรือสัมพันธ์กับตนแทน ถ้าผู้แตกแยกนั้นเป็นบุคคลที่มีศีลธรรมจะบาปมาก เช่น การพูดยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันไม่ทาสังฆกรรมร่วมกันเป็นบาปมาก องค์ประกอบของการพูดส่อเสียดมี ๔ ประการ คือ ๑. มีผู้ทาให้ถูกแตกแยก ๒. มีเจตนามุ่งให้แตกแยก ๓. เพียรพยายามให้เขาแตกแยก ๔. เขาได้แตกแยกกันสมใจคิด ถ้าพยายามพูดทาให้เขาแตกแยกกันแต่ว่าไม่สาเร็จผล ก็ยังไม่จัดเป็นปิสุณวาจา

ผลบาปของการพูดส่อเสียด
ผลของบาป ในปฏิสนธิกาล
เมื่อการพูดส่อเสียดสาเร็จลงโดยมีองค์ประกอบทั้ง ๔ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล ตอนสิ้นชีวิตจะนาไปเกิดในอบายภูมิ เป็นการส่งผลในปฏิสนธิกาล
ผลของบาป ในปวัตติกาล
กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทาให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทาให้แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกติเตียน มักถูกกล่าวหาในเรื่องที่ไม่เป็นจริง เป็นผู้ตาหนิตนเองอยู่เสมอๆ

๓. ผรุสวาจา ผรุสวาจา คือ การพูดคาหยาบ การด่าทอ การสาปแช่งต่างๆ ทาให้ผู้ถูกด่าเกิดความเศร้าใจเสียใจเดือดร้อนใจ เป็นการกระทาที่เกิดมาจากอานาจของความโกรธความไม่พอใจ การด่าว่าผู้มีอุปการคุณ เช่น บิดามารดา หรือผู้มีอุปการคุณอื่นๆ ด่าว่าผู้มีศีล เช่น พระภิกษุสงฆ์ สามเณร หรือแม่ชี จะมีบาปมากมีโทษมาก อนึ่ง คาพูดบางคาแม้ว่าเป็นคาหยาบ แต่เมื่อผู้พูดมีเจตนาอ่อนโยน ก็ไม่จัดเป็นผรุสวาจา
ตัวอย่างเช่น มีเรื่องเล่าว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อฟ๎งคามารดาว่าอย่าไปเที่ยวเล่นในป่า เมื่อมารดาไม่อาจห้ามได้ จึงด่าออกไปว่า “ขอให้มึงถูกแม่ควายดุ ไล่ขวิดเถอะ” ต่อมาเขาก็เผชิญกับแม่กระบือป่า ตามคาของมารดาจริงๆ เด็กได้ตั้งใจอธิษฐานว่า “มารดากล่าวถึงสิ่งใดแก่เราด้วยสักแต่ว่าพูดไป ใจมิได้คิดถึงสิ่ง






นั้นจริง ขอสิ่งนั้นจงอย่ามี คิดถึงสิ่งใดใคร่จะให้มีจริง ขอสิ่งนั้นจงมีเถิด” เมื่อจบคาอธิษฐาน แม่กระบือก็หยุดเฉยราวกับว่าถูกตรึงไว้กับที่ ณ ที่นั้น ตัวอย่างนี้ คาพูดของมารดาไม่มีเจตนาทาร้ายบุตร ถึงแม้คาพูดจะเป็นคาหยาบก็ตาม หรือคาพูดที่ไพเราะแต่มีเจตนาเย้ยหยันทาให้เขาเจ็บใจ ก็จัดเป็นผรุสวาจา เช่น การกล่าวประชดหรือดูถูกผู้อื่นเกี่ยวกับสกุลว่า “โอ ท่านผู้มีศักดิ์สูงส่ง ไฉนจึงแสร้งทาเป็นคนเข็ญใจอนาถาอยู่เล่า” องค์ประกอบของการพูดคาหยาบ มี ๓ ประการ คือ
๑. มีความโกรธ
๒. มีผู้ที่ตนจะพึงด่าว่า
๓. มีการพูดกล่าววาจาสาปแช่งหรือด่าทอ
ผลบาปของการพูดคาหยาบ
ผลของบาป ในปฏิสนธิกาล

เมื่อการพูดคาหยาบสาเร็จลงโดยมีองค์ ประกอบทั้ง ๓ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล ตอนสิ้นชีวิตจะนาไปเกิดในอบายภูมิ
ผลของบาป ในปวัตติกาลกรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทาให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทาให้มีกายวาจาหยาบ ตายด้วยการหลงลืมสติ แม้มีทรัพย์สินก็จะพินาศ

สัมผัปปลาปะ คือ การพูดเพ้อเจ้อ มีเจตนาที่จะพูดเรื่องไร้ประโยชน์ แต่ถ้ามีเจตนาและพูดเรื่องไร้ประโยชน์แล้ว ถ้าผู้อื่นยังไม่เชื่อ ก็ยังไม่เป็นสัมผัปปลาปะ แต่ถ้าผู้อื่นถือเอาคาพูดเรื่องไร้ประโยชน์นั้นโดยความเป็นสาระ เจตนานั้นก็สาเร็จเป็นสัมผัปปลาปะแล้ว สัมผัปปลาปะนั้นเป็นเรื่องไม่มีประโยชน์ มีแต่จะเป็นเหตุเป็นกระแสแห่งราคะ แห่งความยินดีพอใจของผู้อื่นนั้นมากขึ้น โดยปกติ มนุษย์ปุถุชนมักมีคาพูดเล่นกันอยู่เสมอเพื่อสนุกรื่นเริง เพื่อหัวเราะเฮฮา การยิ้ม การหัวเราะนั้นเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าถือว่าเป็นกระแสแห่งราคะ คือ คนที่ยังมีราคะอยู่เท่านั้นจึงยิ้มและหัวเราะ ส่วนพระอริยเจ้าชั้นพระอรหันต์ หรือ พระอนาคามี ซึ่งตัดกระแสราคะได้แล้วย่อมไม่ยิ้มไม่หัวเราะอย่างคนธรรมดา เมื่อเกิดความปีติปราโมทย์ในธรรมก็เพียงแต่แย้ม เมื่อเห็นเหตุการณ์ใดที่ควรแก่การกล่าวขยายให้ผู้อื่นได้ทราบ ก็แสดงอาการแย้ม อย่างที่พระพุทธองค์ทรงกระทาเสมอ การพูดเล่นในเรื่องไร้สาระ การสรวลเสเฮฮานั้นทั้งหมดเป็นคาพูดไร้ประโยชน์ แม้พูดมาก เพียงไรก็ไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ใคร ส่วนคาที่มีประโยชน์ย่อมประเสริฐกว่า เพราะฟ๎งแล้วนาไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้ ได้แก่ คาพูดว่า “จงมีสติ สารวจกายวาจาใจ เพื่อการประพฤติศีลสมาธิ” หรือคาที่ประกอบด้วยนิพพาน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ฯลฯ คาเหล่านี้ฟ๎งแล้วเป็นเหตุให้กิเลสสงบระงับ คือ สงบจากราคะ โทสะ เป็นต้น จัดเป็นคาพูดอันประเสริฐกว่าแม้จะพูดเพียงเล็กน้อย นี้เป็นตัวอย่างเบื้องสูง คาพูดที่มีประโยชน์แบบคาธรรมดาสามัญ เช่น ทาอย่างไรดี ทาอย่างไรชั่ว อะไรควรเว้น อะไรควรทา ควรดาเนินชีวิตอย่างไร ควรทาตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร เป็นต้น ผู้ฟ๎ง ฟ๎งแล้วนาไปปฏิบัติตามทาให้เกิดประโยชน์แก่ตนแก่สังคมได้ องค์ประกอบของการพูดเพ้อเจ้อ มี ๒ ประการ คือ ๑. เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ ๒. กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์


สัมผัปปลาปะ เป็นการกล่าวคาไม่จริง แต่ก็มีความแตกต่างกับมุสาวาท คือ เจตนาที่มุ่งจะกล่าวเรื่องไร้สาระอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นเจตนาที่เป็นไปโดยต้องการให้เขาเข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วทาประโยชน์ของเขาให้เสียหาย อย่างนี้เป็นมุสาวาท เกี่ยวกับคาพูดที่ไม่เป็นประโยชน์ เรียกว่า เดรัจฉานกถา เพราะเป็นสิ่งที่ขวาง มรรค ผล นิพพาน เดรัจฉานกถา มี ๓๒ ประการ
๑. พูดเรื่อง พระมหากษัตริย์ และราชวงศ์ ๒. พูดเรื่อง โจร ๓. พูดเรื่อง ราชการ การเมือง ๔. พูดเรื่อง ทหาร ตารวจ ๕. พูดเรื่อง ภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ๖. พูดเรื่อง อาวุธยุทโธปกรณ์ ๗. พูดเรื่อง อาหารการกิน ๘. พูดเรื่อง เครื่องดื่ม สุราเมรัย ๙. พูดเรื่อง การแต่งตัว เสื้อผ้าอาภรณ์ ๑๐. พูดเรื่อง การหลับนอน ๑๑. พูดเรื่อง ดอกไม้ การจัดประดับดอกไม้ ๑๒. พูดเรื่อง กลิ่นหอมต่าง ๆ ๑๓. พูดเรื่อง วงศาคณาญาติ ๑๔. พูดเรื่อง รถ เรือ ยานพาหนะต่างๆ ๑๕. พูดเรื่อง หมู่บ้าน ร้านค้าต่างๆ ๑๖. พูดเรื่อง นิคมต่างๆ (หมู่บ้านใหญ่,เมืองขนาดเล็ก)
๑๗. พูดเรื่อง เมืองหลวง จังหวัด ๑๘. พูดเรื่อง ชนบท ๑๙. พูดเรื่อง ผู้หญิง ๒๐. พูดเรื่อง ผู้ชาย ๒๑. พูดเรื่อง หญิงสาว ๒๒. พูดเรื่อง ชายหนุ่ม ๒๓. พูดเรื่อง วีรบุรุษ ความกล้าหาญ ๒๔. พูดเรื่อง ถนนหนทาง ๒๕. พูดเรื่อง ท่าน้า แหล่งน้า ๒๖. พูดเรื่อง ญาติ เรื่องคนที่ตายไปแล้ว ๒๗. พูดเรื่อง ต่างๆ นานา ๒๘. พูดเรื่อง โลกและผู้สร้างโลก ๒๙. พูดเรื่อง มหาสมุทร และการสร้างมหาสมุทร ๓๐. พูดเรื่อง ความเจริญ และความเสื่อมต่างๆ ๓๑. พูดเรื่อง ป่าต่างๆ ๓๒. พูดเรื่อง ภูเขาต่างๆ
ขอยกคากล่าวจากพระพุทธภาษิต มีความว่า

““คาพูดแม้ตั้งพัน แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมสู้คาเดียวที่เป็นประโยชน์ไม่ได้ บทเดียวที่เป็นประโยชน์ซึ่งฟ๎งแล้วทาให้สงบได้นั้น ประเสริฐกว่า ตัวอย่าง เรื่องชายเคราแดงผู้ฆ่าโจร ชายผู้นี้มีลักษณะพิเศษ คือ เคราแดงและนัยตาเหลือกเหลือง หน้าตาท่าทางเป็นคนดุร้าย เขาไปสมัครเป็นโจรกับหัวหน้าโจรกลุ่มหนึ่ง หัวหน้าโจรเห็นเขาแล้วรู้ว่า “ชายนี้กักขฬะนัก สามารถตัดนมแม่ หรือนาเลือดในลาคอของพ่อออกมากินได้” จึงปฏิเสธไม่รับเข้าหมู่ ชายนั้นไม่ลดละความพยายาม เขาเข้าตีสนิทกับสมุนโจรคนหนึ่ง พยายามทาทุกอย่างจนสมุนโจรพอใจ พาไปหาหัวหน้าโจรอีกครั้งหนึ่ง อ้อนวอนให้รับไว้ในหมู่ โดยอ้างว่าเป็นผู้มีอุปการะมากต่อพวกตน หัวหน้าโจรขัดไม่ได้จึงรับไว้ วันหนึ่งโจรกลุ่มนี้ถูกจับ พวกอามาตย์ขอให้หัวหน้าโจรฆ่าลูกน้องของตนทั้งหมดแล้วจะปล่อยหัวหน้าให้เป็นอิสระ หัวหน้าโจรไม่ยอมรับทา จึงถามโจรคนอื่นๆ ก็ไม่มีใครรับ มาถึงนายเคราแดง เขารับ แล้วฆ่าโจรพวกของตนทั้งหมด เขาจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ ต่อมาวันหนึ่ง พวกอามาตย์จับโจรอีกกลุ่มหนึ่งมีจานวนร้อยได้ จึงขอให้ชายเคราแดงฆ่าโจรกลุ่มนั้นอีก เขาฆ่าหมด พวกชาวเมืองและอามาตย์เห็นว่าเขาควรแก่งานฆ่าคนประจา จึงตั้งตาแหน่งเพชฌฆาตให้นายเคราแดง
นายเคราแดงทาอาชีพเพชฌฆาตอยู่ถึง ๕๕ ปี เมื่อแก่ลงมากไม่สามารถฆ่าคนให้ตายด้วยการฟ๎นครั้งเดียวได้ เพราะกาลังถดถอย

ชาวเมืองเห็นว่า ทาให้คนถูกฆ่าได้รับทุกข์ทรมาน จึงร่วมกันถอดจากตาแหน่งเพชฌฆาตเพื่อให้คนอื่นทาแทน เมื่อออกจากตาแหน่งแล้ว เขาต้องการทากิจ ๔ อย่าง เพื่อเป็นสิริมงคล คือ ๑. นุ่งผ้าใหม่ ๒. ดื่มยาคูเจือน้านมที่ปรุงด้วยเนยใสใหม่ ๓. ประดับดอกมะลิ ๔. ทาของหอมทั่วกาย ของทั้งหมดนี้ประชาชนเป็นผู้จัดหาให้ตามที่เขาต้องการ เมื่อเขานุ่งผ้าใหม่เตรียมจะบริโภคยาคู ขณะเดียวกันนั้นเอง พระสารีบุตรเถระเพิ่งออกจาก นิโรธสมาบัติ พิจารณาว่าควรจะไปโปรดใคร ได้เห็นนายเคราแดงนั้นแล้ว ทราบด้วยญาณว่า เมื่อท่านไปโปรดเขา เขาจักถวายอาหารแก่ท่าน และจักได้สมบัติใหญ่เพราะบุญนั้น นายเคราแดงพอเห็นพระสารีบุตรก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า “เราได้ฆ่าคนมาเป็นอันมาก เป็นเวลา นานถึง ๕๕ ปี บัดนี้ไทยธรรมของเราก็มีแล้ว พระเถระก็มายืนอยู่เฉพาะหน้า เราควรทาบุญในวันนี้” ดังนี้แล้ว ก็ลงไปนิมนต์พระเถระให้ขึ้นเรือน แล้วถวายยาคูลงในบาตร ราดเนยใสใหม่ลงไปแล้ว ได้ยืนพัดพระเถระอยู่ ขณะดูพระเถระฉันอยู่นั้นก็เกิดความอยากจะบริโภคยาคูเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ได้บริโภคอาหารเช่นนี้มาเป็นเวลานาน พระเถระรู้วาระจิตของเขา จึงบอกให้เขาไปบริโภคยาคูของเขาเสีย ให้คนอื่นมาทาหน้าที่พัดท่านแทน ขณะที่เขากาลังบริโภคยาคู พระสารีบุตรก็สั่งให้คนๆ นั้นไปพัดให้นายเคราแดง นายเคราแดงบริโภคจนอิ่มเต็มที่แล้วก็กลับมานั่งพัด พระสารีบุตรฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา แต่ใจของนายเคราแดงฟุ้งซ่าน ไม่อาจฟ๎งธรรมเทศนาได้ พระเถระสังเกตเห็นจึงถาม เขาตอบว่า “ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ทากรรมหยาบช้ามาเป็นเวลานาน ข้าพเจ้าฆ่าคนมาเป็นจานวนมาก เมื่อระลึกถึงกรรมนั้นแล้ว ก็ไม่อาจน้อมจิตไปตามธรรมเทศนาได้ ”
พระเถระคิดว่าจักลวง เพื่อให้เขามีใจปลอดโปร่งฟ๎งธรรมแล้วจักได้ผลมาก จึงถามว่า “ท่านทาเอง หรือใครสั่งให้ทา ” เขาตอบว่า

“ พระราชาสั่งให้ทา ” พระเถระกล่าวว่า “ เมื่อเป็นเช่นนี้ อกุศลจะมีแก่ท่านได้อย่างไร ” เมื่อได้ฟ๎งเช่นนั้นเขาก็เข้าใจว่าบาปไม่มีแก่เรา จึงตั้งใจฟ๎งธรรม ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อพระสารีบุตรอนุโมทนาเสร็จแล้วเดินกลับ เขาเดินตามไปส่งโดยระยะทางครู่หนึ่งแล้วเดินกลับ ขณะนั้นเองแม่โคนมตัวหนึ่งขวิดเขาถึงแก่ความตาย เขาได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต ภิกษุทั้งหลายสนทนาถึงเรื่องนี้ว่า “ เคราแดงตายแล้วไปเกิดที่ใดหนอ ” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต” ภิกษุทูลถามว่า “เขาทากรรมมาช้านาน จะไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตได้อย่างไร” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุรุษนั้นได้กัลยาณมิตรเช่นพระสารีบุตรแล้ว ได้ฟ๎งธรรมแล้ว สาเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว เมื่อตายแล้วจึงไปเกิดในภพดุสิต” ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นทาอกุศลกรรมไว้มาก เพียงแต่ฟ๎งอนุโมทนากถา จะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้อย่างไร” พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าถือเอาปริมาณแห่งคาสุภาษิตอันเราแสดงแล้วว่า น้อยหรือมาก เพราะว่า แม้เพียงคาเดียว แต่เป็นวาจาอันประกอบด้วยประโยชน์ย่อมประเสริฐโดยแท้ ” ผลบาปของการพูดเพ้อเจ้อ
ผลของบาป ในปฏิสนธิกาล

เมื่อการพูดเพ้อเจ้อสาเร็จลงโดยมีองค์ประกอบทั้ง ๒ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล จะนาไปเกิดในอบายภูมิ
ผลของบาป ในปวัตติกาลกรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทาให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี
เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่ได้รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยัง
สามารถตามมาส่งผลทาให้เป็นบุคคลที่ไม่มีใครเชื่อถือในคาพูด ไม่มีอานาจ หรือ วิกลจริต
๓. มโนทุจริต มี ๓ มโนทุจริต คือ อกุศลกรรมที่เกิดทางใจ เพียงแต่คิดไว้ในใจยังไม่ได้กระทาออกมาทางกาย ทางวาจา ก็ได้ชื่อว่าเป็นการทาบาปแล้ว มโนทุจริต ๓ ได้แก่ ๑. อภิชฌา ๒. พยาบาท ๓. มิจฉาทิฏฐิ ๑. อภิชฌา อภิชฌา คือ ความเพ่งเล็งในทรัพย์ของผู้อื่นและอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อให้มาเป็นของตน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
โลภะ มี ๒ อย่าง คือ
๑.๑ ความอยากได้โดยชอบธรรม เมื่อเกิดความอยากได้สิ่งต่างๆ ก็เสาะแสวงหามาโดยสุจริตไม่ผิดศีลธรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือการขอ
๑.๒ ความอยากได้โดยไม่ชอบธรรม เมื่อเกิดความอยากได้ ก็คิดหาทางที่จะขโมย ฉ้อโกง จี้ ปล้น หรือใช้กลวิธีต่างๆ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น

ถ้าเกิดความโลภในสิ่งของๆ ผู้อื่นแล้ว และตราบใดที่ยังไม่คิดว่า “ขอสิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ก็ยังไม่เป็นอภิชฌา อภิชฌา เพราะมีทรัพย์ของผู้อื่นเป็นเหตุ แต่ก็ต่างกับอทินนาทาน คือ ถ้าการลักเอาสิ่งของๆ ผู้อื่นมาด้วยเจตนาตั้งใจลักจัดเป็นอทินนาทาน แต่ถ้าเกิดความโลภอยากได้อย่างแรงกล้าแล้วเพียงแต่เพ่งจ้องสิ่งนั้นๆของผู้อื่น และปรารถนาเพื่อจะได้สิ่งนั้นๆมาเป็นของตน อย่างนี้จัดเป็นอภิชฌา องค์ประกอบของอภิชฌา มี ๒ ประการ คือ ๑. ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ๒. มีจิตคิดอยากจะได้มาเป็นของตน ผลบาปของความเพ่งเล็งอยากได้
ผลของบาป ในปฏิสนธิกาล

เมื่อความเพ่งเล็งอยากได้สาเร็จลงโดยมีองค์ ประกอบทั้ง ๒ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล จะนาไปเกิดในอบายภูมิ
ผลของบาป ในปวัตติกาลกรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทาให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่ได้รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทาให้ เมื่อมีทรัพย์และคุณความดี ก็จะทาให้ทรัพย์และคุณความดีนั้นตั้งอยู่ได้ไม่นาน ย่อมจะทาให้เกิดในตระกูลที่ต่า ขัดสนในลาภสักการะ มักจะถูกติเตียนอยู่เสมอ

๒. พยาบาท พยาบาท คือ ความมุ่งร้าย คิดทาลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่น องค์ธรรมได้แก่ โทสะ โทสะ คือ ความโกรธที่เป็นมุ่งทาให้ผู้อื่นได้รับความวิบัติ พยาบาทจะมีโทษน้อยหรือมากก็เป็นเช่นเดียวกันกับผรุสวาท องค์ประกอบของพยาบาท มี ๒ ประการ ๑. มีผู้อื่น ๒. คิดที่จะให้ความเสียหายเกิดกับผู้นั้น
พยาบาทที่มุ่งจะให้สัตว์ตาย มีความแตกต่างกับปาณาติบาต คือ ในการทาให้สัตว์ตายมีเจตนาตั้งใจจะฆ่าให้ถึงแก่ความตายเป็นประธาน แต่ถ้ามีความโกรธเฉพาะกับบุคคลหนึ่ง มุ่งจะทาลายล้างบุคคลนั้น เห็นว่าตนจะหมดความโกรธได้เมื่อบุคคลนั้นพินาศไปหรือตายไป เช่นนี้ความโกรธอย่างแรงกล้านั้นเป็นประธาน แต่เจตนาเป็นเพียงธรรมชาติที่มาคล้อยตามความโกรธเท่านั้น อย่างนี้จัดเป็นพยาบาท แม้ว่าผู้นั้นยังไม่ตายไปหรือพินาศไป

ผลบาปของความพยาบาท
ผลของบาป ในปฏิสนธิกาล

เมื่อความพยาบาทสาเร็จลงโดยมีองค์ ประกอบทั้ง ๒ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล ตอนสิ้นชีวิตจะนาไปเกิดในอบายภูมิ

ผลของบาป ในปวัตติกาล
กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทาให้ ได้เห็น
ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่ได้รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทาให้มีอายุสั้น มีโรคภัยเบียดเบียน มีผิวพรรณหยาบกร้าน
๓. มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ คือ การเห็นผิดจากความเป็นจริง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้อย่างกว้างขวาง เช่น สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นต้น หรือ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ที่แสดงไว้ในพรหมชาลสูตร หรือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ที่แสดงไว้ในสามัญผลสูตร เป็นต้น องค์ประกอบของมิจฉาทิฏฐิ มี ๒ ประการ
๑. เนื้อความที่ได้ยึดไว้นั้นผิดจากความจริง
๒. มีความเห็นว่าเนื้อความนั้นเป็นความจริง
มิจฉาทิฏฐิ ที่ถือว่าเป็นหลักของความเห็นผิด เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ มี ๓ ประการ (ดังแสดงรายละเอียดไว้แล้วในชุดที่ ๗.๑ ในที่นี้จะแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมให้ทราบอีกครั้ง) นิยตมิจฉาทิฏฐิ มี ๓ ประการ ๓.๑ นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีผลแห่งกรรมที่ทาไว้ เป็นการปฏิเสธผล ผู้ที่มีความเห็นชนิดนัตถิกทิฏฐิย่อมมีอุจเฉททิฏฐิด้วย คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไม่มีการเกิดอีก มีความเห็นว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สมมติสัจจะ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือคลองธรรมตามเหตุและผล ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสมมติสัจจะ เช่น ไม่มีมารดาบิดา สัตว์บุคคลเกิดสืบเชื้อสายกันมาตามเรื่องตามราวเท่านั้น จึงไม่มีใครที่จะต้องนับถือว่าเป็นบิดามารดา แม้ที่นับถือว่าเป็นสมณะ พราหมณ์ ภิกษุ สามเณร ก็ไม่มีเป็นต้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือที่เป็นไปตามคลองธรรม เช่น ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว อย่างนี้ก็ไม่มี

จากสามัญผลสูตร แสดงนัตถิกทิฏฐิ ว่ามีเหตุอยู่ ๑๐ ประการ มีดังนี้ ๑. เห็นว่า การทาทาน ไม่มีผล ๒. เห็นว่า การบูชา ไม่มีผล ๓. เห็นว่า การต้อนรับเชื้อเชิญ ไม่มีผล ๔. เห็นว่า การทาดี ทาชั่ว ไม่มีผล ๕. เห็นว่า ผู้มาเกิดในภพนี้ ไม่มี ๖. เห็นว่า ผู้จะไปเกิดในภพหน้า ไม่มี ๗. เห็นว่า บุญคุณของมารดา ไม่มี ๘. เห็นว่า บุญคุณของบิดา ไม่มี ๙. เห็นว่า ผู้ที่เกิดและโตทันที เช่นเทวดา พรหม เปรต ไม่มี ๑๐. เห็นว่า ผู้รู้แจ้งโลก คือ พระพุทธเจ้า ไม่มี ๓.๒ อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีเหตุ เป็นการปฏิเสธเหตุ คือ เมื่อได้รับผลดีผลร้ายต่างๆ ก็เห็นว่าเป็นไปตามคราว คราวที่มีโชคดีก็ได้รับผลดี คราวที่มีโชคร้ายก็ได้รับผลไม่ดี ไม่มีเหตุอะไรที่จะมาทาให้ได้ผลดีผลร้าย ปฏิเสธเหตุในการทาดี ทาชั่ว ของบุคคลทั้งหลายที่กระทากันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เชื่อว่าเป็นเหตุที่จะก่อให้เกิดผลได้ ฉะนั้นการปฏิเสธเหตุนี้ก็เท่ากับว่าปฏิเสธผลไปด้วย สามัญญผลสูตรได้แสดงไว้ว่า การปฏิเสธเหตุนั้น เป็นการปฏิเสธชนกกรรม คือ เหตุที่ให้เกิด และปฏิเสธอุป๎ตถัมภกกรรม คือ เหตุที่ช่วยอุปถัมภ์ให้สัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมอง ลาบากกาย ลาบากใจ ๓.๓ อกิริยทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าการทาบุญทาบาปก็เท่ากับไม่ได้ทา เป็นการปฏิเสธทั้งเหตุและผลแห่งกรรม คือ มีความเห็นว่าบุคคลทั้งหลายที่ทาดีก็ตามทาชั่วก็ตามไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญ สามัญผลสูตรได้แสดง อกิริยทิฏฐิ สรุปได้ดังนี้

๑.การทาดี การทาชั่ว จะทาด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทา ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป
๒. การทาร้ายโดยการตัดอวัยวะผู้อื่น ” ” ”
๓. การลงโทษโดยการเฆี่ยนตีทาให้เขาได้รับความทุกข์ ” ” ”
๔. การเอาทรัพย์ของคนอื่นมาทาให้เขาเศร้าโศกเสียใจ ” ” ”
๕. การลงโทษตนเองหรือแนะนาคนอื่นให้ลงโทษตนเองให้ลาบากเหมือนตน ก็ไม่ชื่อว่าทาบาป
๖. ตนเองมีความกระวนวายใจเดือดร้อนใจ หรือทาให้คนอื่นกระวนกระวายใจเดือดร้อนใจ ก็ไม่ชื่อว่าทาบาป
๗. การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ จะทาด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทา ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป
๘. การประพฤติผิดในกาม การมุสา จะทาด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทา ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป
เหตุเกิดของมิจฉาทิฏฐิ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต แสดงเหตุเกิดไว้เพียงเหตุเดียว คือ อโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจผิด) ในทุกนิบาต กล่าวไว้ ๒ ประการ คือ การฟ๎งมิจฉาธรรมจากผู้อื่น และอโยนิโสมนสิการ อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา กล่าวไว้ ๒ ประการ คือ การคบหากับคนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ และการมีอัชฌาสัยที่เป็นเหตุภายใน ทาให้เป็นมิจฉาทิฏฐิเอง การกาจัดมิจฉาทิฏฐิ ต้องศึกษาธรรมที่เป็นเหตุสร้างความเข้าใจถูกว่าอะไรถูกอะไรผิด คบกับสัตตบุรุษผู้เป็นคนดี การกาจัดมิจฉาทิฏฐิบางชนิดสามารถทาได้ด้วยวิป๎สสนาญาณ มิจฉาทิฏฐิทั้งหลายจะหมดไปอย่างสิ้นเชิงได้ด้วยโสดาป๎ตติมรรค ผลบาปของ นิยตมิจฉาทิฏฐิ

นิยตมิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ นี้ ต่างก็ปฏิเสธบุญและบาป เป็นการปฏิเสธกรรมและผลของกรรมนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นเหตุให้ท้อถอยในการทาความดีและสนับสนุนให้ทาความชั่ว จึงมีแต่หนทางที่จะนาไปสู่อบายภูมิเท่านั้น ความเห็นผิดเช่นนี้แม้พระพุทธองค์ก็ไม่สามารถที่จะไปช่วยเหลือแก้ไขได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของบุคคลเหล่านั้น สรุป มโนกรรม ๓ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะยังผลให้เกิดอกุศลกรรมอื่นได้

เมื่อทราบว่าอกุศลมีอะไรบ้าง และผลแห่งอกุศลจะนาพาให้ได้รับทุกข์รับโทษอย่างไรแล้ว ต่อไปศึกษาเรื่องกุศล คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล กามาวจรกุศลกรรม

กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยวในกามภูมิ คือ เกิดในกามภูมิ ชื่อว่า กามาวจรกรรม กามาวจรกรรม เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล กามาวจรฝ่ายอกุศลได้แสดงแล้วคือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ สาหรับฝ่ายกุศล ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล หรือการเจริญกรรมฐานที่ยังไม่สาเร็จผล เป็นการกระทาในเบื้องต้น เหล่านี้จัดเป็นกามาวจรฝ่ายกุศล ชื่อว่า กามาวจรกุศลกรรม ส่วนกรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในรูปภูมิ ชื่อว่า รูปาวจรกรรม และกรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในอรูปภูมิ ชื่อว่า อรูปาวจรกรรม จะได้แสดงรายละเอียดต่อไป กามาวจรกุศลกรรม จะแสดงให้ทราบถึง กุศลกรรมบถ ๑๐ กุศลกรรมบถ สาเร็จได้ ๓ ทวาร คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ก็ได้ชื่อสุจริตในทวารนั้นๆ ด้วย กุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติปาตวิรติ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทานวิรติ ” จากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจารวิรติ ” จากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทวิรติ ” จากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณวาจาวิรติ ” จากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจาวิรติ ” จากการพูดคาหยาบ
๗. สัมผัปปลาปวิรติ ” จากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌา ความไม่เพ่งเล็งอยากได้
๙. อพยาบาท ความไม่ปองร้าย
๑๐. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

คาว่า “วิรติ” คือ ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้งดเว้น คืองดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๗ ได้แก่ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จนถึง งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ การงดเว้นจากอกุศลทางใจ ๓ ประการ คือ อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาทิฏฐิ นั้น ไม่เกี่ยวกับการงดเว้น แต่เป็นสภาวธรรมที่เป็นปฏิป๎กษ์กัน คือ อโลภะ ความไม่โลภเกิดขึ้นในจิต โลภะ คือความโลภะก็จะไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นต้น วิรติ มี ๓ ประเภท คือ
๑. สัมป๎ตตวิรติ คือ งดเว้นเฉพาะหน้า
๒. สมาทานวิรติ คือ งดเว้นเพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว
๓. สมุจเฉทวิรติ คือ งดเว้นโดยเด็ดขาด
๑. สัมป๎ตตวิรติ คือ งดเว้นเฉพาะหน้า เกิดขึ้นในขณะที่อารมณ์เฉพาะหน้า และสามารถงดเว้นได้ ได้แก่ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ของบุคคลที่ไม่ได้สมาทานศีล เมื่อกาลังจะฆ่าสัตว์ก็คิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับตนประการใดประการหนึ่งแล้วจึงไม่ฆ่า คือ ๑. พิจารณาถึงชาติ ๒. ตระกูล ๓. วัย ๔.ความเป็นผู้มีความรู้ ๕. คิดว่าการฆ่าสัตว์เป็นการกระทาของคนยากจนต่าช้า ตัวอย่างแรก เช่น นายแดงขณะอยู่ต่อหน้าลูกศิษย์ เมื่อถูกยุงกัดก็ไม่ฆ่าเพราะคิดว่า “เราเป็นถึงครูอาจารย์ถ้าทาไม่ดีต่อหน้าลูกศิษย์ ก็จะถูกตาหนิได้” ตัวอย่างที่สอง นายดาไม่ได้สมาทานศีล เมื่อถูกยุงกัดยกมือจะตบยุง เกิดความกลัวบาปขึ้นมาในขณะนั้นก็ลดมือลงไม่ตบยุง ๒. สมาทานวิรติ คือ งดเว้นเพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หลังจากสมาทานแล้วก็ตั้งใจรักษาศีล ในเวลาที่สมาทานและในเวลาต่อจากนั้นไปก็ไม่ล่วงละเมิดศีล แม้ว่าต้องสละชีวิตของตน
ตัวอย่าง มีเรื่องเล่าว่า อุบาสกผู้หนึ่งเมื่อสมาทานศีลในสานักของพระปิงคลพุทธรักขิตเถระแล้วก็กลับไปไถนา ในเวลานั้นโคของเขาหายไป เขาจึงตามหาโคไปถึงภูเขา ทันตรวัฑฒมานะ ณ ที่นั้น เขาถูกงูใหญ่รัดเอาไว้ ขณะนั้นเขาจึงคิดว่า “ เราจะเอามีดคมเล่มนี้ตัดหัวมันเสีย” แล้วกลับคิดได้อีกว่า “ เราได้สมาทานศีล ที่ได้ไปรับมาจากสานัก ของท่านผู้เป็นครูน่ายก

ส่วนการงดเว้นโดยเด็ดขาดขณะที่พระอริยเจ้าบรรลุมรรค ในมรรคจิตมีองค์ธรรมที่เป็นวิรติแน่นอนอยู่แล้ว เพราะวิรติเป็นองค์มรรคด้วย องค์มรรค ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในองค์ ๘ นี้ ไม่มีเจตนาเป็นองค์มรรค มีแต่วิรติ ๓ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ฉะนั้น สาหรับพระอริยเจ้าแล้ว เจตนาไม่เป็นเหตุ มีแต่วิรติเท่านั้นที่เป็นเหตุแห่งการงดเว้น จึงกล่าวได้ว่า การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๗ มีปาณาติบาต เป็นต้น องค์ธรรม คือ “เจตนา” ก็ได้ หรือจะมี “วิรติ” ก็ได้ สาหรับ อนภิชฌา เมื่อว่าโดยองค์ธรรม ได้แก่ อโลภะ ซึ่งเป็นสภาวธรรมที่เป็นปฏิป๎กษ์ต่อโลภะ หมายความว่า ถ้าความไม่โลภเกิดขึ้น ขณะนั้นความโลภก็ไม่มี ส่วน อัพยาบาท องค์ธรรม ได้แก่ อโทสะ สภาวธรรมที่เป็นปฏิป๎กษ์ต่อโทสะ ในขณะที่ปรารถนาที่จะให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุข ซึ่งเป็นธรรมชาติของเมตตาเกิดขึ้น ขณะนั้นความโกรธ ความอาฆาต ความพยาบาท ก็ไม่มี และ สัมมาทิฏฐิ องค์ธรรมได้แก่ ป๎ญญา คือป๎ญญาที่รู้ตรงต่อความเป็นจริงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วที่ตนทาไว้ ที่เรียกว่า กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ ฉะนั้น องค์ธรรมของมโนสุจริต หรือ กุศลมโนกรรม ๓ คือ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ จึงได้แก่ ธรรมที่ประกอบกับเจตนา ได้แก่ อโลภะ อโทสะ และป๎ญญา ตามลาดับ การทาความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ที่ว่าด้วยการประพฤติกุศลกรรม ซึ่งทางแห่งการประพฤติกุศลกรรมนั้นได้กล่าวไว้แล้ว มี ๑๐ ประการ การประพฤติทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปในทางแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น นอกจากจะให้ความสุขกายสบายใจในภพนี้แล้ว ยังจะให้ผลในภพหน้าชาติหน้าและภพชาติต่อๆ ไป และจะเป็นป๎จจัยให้เข้าถึงซึ่งความพ้นทุกข์อีกด้วย
ต่อไปศึกษาละเอียดของการทาความดี คือ บุญกิริยาวัตถุ
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ บุญกิริยาวัตถุ คือ วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งบุญกุศล บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แสดงไว้ ๒ นัย โดยนัยแห่งพระสูตร และ โดยนัยแห่งพระอภิธรรรม นัยพระสูตร แสดงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่เกิดทางทวาร ๓ คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร ทวารละ ๑๐ ประการ เช่น การให้ทาน เกิดได้ ๓ ทวาร บุญกิริยวัตถุมี ๑๐ เกิดได้ ๓ ทวาร จึงได้เป็น ๓๐ นัยพระอภิธรรม แสดงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ได้แก่
๑. ทาน การให้ทาน
๒. ศีล การรักษาศีล
๓. ภาวนา การเจริญภาวนา
๔. อปจายนะ การอ่อนน้อมถ่อมตน
๕. เวยยาวัจจะ การช่วยงานกุศล
๖. ป๎ตติทาน การอุทิศส่วนกุศล
๗. ป๎ตตานุโมทนา การอนุโมทนากุศล
๘. ธัมมัสสวนะ การฟ๎งธรรม
๙. ธัมมเทศนา การแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม การทาความเห็นให้ตรงกับความจริง
๑. ทาน ทาน คือ การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับ ลักษณะของทานมี ๔ ประการ คือ
๑. เป็นการให้แก่ผู้อื่น
๒. เป็นการทาลายความโลภออกจากตัว
๓. ผลของทานจะให้ความสมบูรณ์พูนสุขในการเวียนเกิดเวียนตาย จนถึงนิพพาน
๔. เกิดขึ้นจากศรัทธาเห็นประโยชน์ของทานก่อน การทาทานจึงเกิดขึ้น
คาว่า “ทาน” มุ่งหมายที่เจตนา ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่ประกอบในมหากุศลจิต ๘ อันเป็นเหตุให้เกิดการทาทาน เจตนาทานมี ๓ ประการ คือ
๑. ปุพพเจตนาทาน คือ เจตนาก่อนให้ทาน
๒. มุญจเจตนาทาน คือ เจตนาขณะให้ทาน
๓. อปรเจตนาทาน คือ เจตนาหลังจากให้ทาน
เจตนาก่อนให้ ขณะให้ หลังจากที่ให้แล้ว ต้องให้ทานโดยไม่ความโลภ ไม่โกรธ และไม่หลง เข้ามาแวดล้อมมาคั่นในระหว่างกาลทั้ง ๓ ทานชนิดนี้ย่อมจะได้อานิสงส์มาก แต่ถ้าการให้ทานในคราวใดมีอกุศลมาแวดล้อมมาคั่นในระหว่างกาลทั้ง ๓ ทานชนิดนี้ย่อมให้ผลอานิสงส์น้อย ส่งผลต่างกันโดยชาติ โดยสกุล โดยฐานะ ทรัพย์สมบัติ บริวารบ้าง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเนื่องมาจากทาน ศีล ภาวนา ที่ถึงพร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ กาล หรือไม่พร้อมทั้ง ๓ กาล ขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่มีความตั้งใจเจตนาเลยนั้นเองเป็นเหตุ ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกล่าวโดยมีใจความว่า “ จงมีความยินดีก่อนที่จะทา จงยังความเลื่อมใสในขณะที่กาลังทา เมื่อทาเสร็จแล้วจงยังความปลื้มใจให้เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งใจที่มีอาการทั้ง ๓ ดังนี้ เป็นการทาบุญที่สมบูรณ์ที่สุด ” วัตถุทาน สิ่งที่นามาให้ทานหรือเรียกว่า วัตถุทาน มี ๓ คือ

๑. ป๎จจัย ๔ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) ๒.อารมณ์ ๖ (รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์) ๓. ทานวัตถุ ๑๐ (ข้าว น้า ผ้า ยาน ได้แก่ รองเท้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป ได้แก่ ไฟฟ้า ตะเกียง น้ามันเชื้อเพลิง) ตัวอย่างเช่น การถวายดอกไม้ ในขณะนั้นดอกไม้ก็เป็นหนึ่งในทานวัตถุ และกลิ่นของดอกไม้ก็จัดเป็นการให้คันทารมณ์ด้วย หรือการถวายน้ามันตะไคร้หอมสาหรับทากันยุง ตัวตะไคร้หอมจัดเป็นหนึ่งในป๎จจัย ๔ คือเป็นยา ส่วนกลิ่นของตะไคร้หอมทาให้ยุงไม่มารบกวน ก็จัดว่ากลิ่นนั้นทาให้ส่งผลทาให้โผฏฐัพพารมณ์ที่ดีต่อผู้ใช้ด้วย ลักษณะการให้ทานของสัปบุรุษ สัปบุรุษ คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในธรรม ตั้งอยู่ในทาน ศีล ภาวนา เมื่อบุคคลเหล่านี้จะให้ทาน ย่อมให้ด้วยความเข้าใจในทาน ทานของสัปบุรุษนี้ได้ชื่อว่า สัปปุริสทาน มี ๕ ประการ คือ
สัปปุริสทาน ๕
ผลของสัปปุริสทาน ๕
๑. สัทธาทาน คือ บริจาคทานโดยความเลื่อมใส เชื่อในการกระทา และผลของการกระทานั้น
ในภพต่อๆ ไป จะเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์ มีรูปร่างสัณฐานงดงามน่าดูน่าเลื่อมใส มีผิวพรรณวรรณะเปล่งปลั่ง
๒. สักกัจจทาน คือ บริจาคทานโดยความเคารพ กระทาด้วยตนเอง ไทยธรรมนั้นสะอาดหมดจด
ในภพต่อๆ ไป จะเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์ บุตร ภรรยา สามี บริวาร เชื่อฟ๎ง เอาอกเอาใจ
๓. กาลทาน คือ บริจาคทานเหมาะสมแก่เวลา
ในภพต่อๆ ไป จะเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์ ได้ลาภสักการะเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
๔. อนุคคหิตทาน คือ บริจาคทานโดยการสละอย่างแท้จริง ไม่มีความเสียดายในวัตถุทานนั้น ๆ
ในภพต่อๆ ไป จะเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์ จิตใจอิ่มเอิบอยู่กับการเสวยความสุข
๕. อนุปหัจจทาน คือ บริจาคทานโดยไม่กระทบกระเทือนตนเองและผู้อื่น
ในภพต่อๆ ไป จะเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์ ทรัพย์สินพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง
การให้ทานย่อมยังผลมากอานิสงส์มากแก่ผู้ให้ มีตัวอย่างมากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และตัวอย่างที่เราพบเห็นอยู่ในชีวิตประจาวัน ผลอานิสงส์ของการให้ทาน ให้ผลได้ทั้งในชาตินี้หรือส่งผลในภพต่อไป และผลอานิสงส์อย่างยิ่ง คือ เป็นป๎จจัยทาให้มรรคผลนิพพานเกิดขึ้นได้ ๒. ศีล ศีล คือ ธรรมชาติที่ทาให้กาย วาจาตั้งไว้ด้วยดี ศีลนั้นมีหน้าที่รักษากาย วาจา ไม่ให้เป็นไปในทางทุจริต อีกความหมายหนึ่ง ศีล คือ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งกุศลธรรม ได้แก่ สมาธิ ป๎ญญา และวิมุตติ เรื่องศีลเน้นอยู่ที่ กาย กับ วาจา ไม่ให้กระทาทุจริตกรรม เรื่องศีลมีแสดงไว้หลายหมวดหลายนัย ฉะนั้น จะนามาแสดงไว้โดยสังเขป ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ศีล มี ๔ ประเภท ส่วนที่ ๒ นิจศีล และ อนิจศีล ส่วนที่ ๓ อาชีวัฏฐมกศีล ๑. ศีล ๔ ประเภท คือ

๑. ภิกขุศีล คือ ศีลของพระภิกษุ มี ๒๒๗ ข้อ ที่ได้แสดงไว้ในภิกขุปาติโมกข์
๒. ภิกขุนีศีล คือ ศีลของภิกษุณี มี ๓๑๑ ข้อ ที่ได้แสดงไว้ในภิกขุนีปาติโมกข์
๓. สามเณรศีล คือ ศีลของสามเณร มี ๑๐ ข้อ
๔. คฤหัสถศีล คือ ศีลของผู้ครองเรือน ได้แก่ ศีล ๕ (อ่านว่า คะ-รึ-หัด-ถะ-สีน)
๒. นิจศีล และ อนิจศีล ๒.๑ นิจศีล หรือ เรียกอีกอย่างว่า วาริตตศีล คือ ศีลที่สมาทานครั้งเดียวแล้วรักษาตลอดไปเป็นนิตย์ไม่ต้องสมาทานอีก แต่เมื่อสมาทานไว้แล้วถ้าไม่รักษาย่อมจะมีโทษ ได้แก่ ศีลของพระภิกษุ ๒๒๗ ศีลของภิกษุณี ๓๑๑ ศีลของสามเณร ๑๐ สาหรับศีล ๕ จัดว่าเป็นนิจศีลของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่จะต้องรักษา แต่การรักษาต้องสมาทาน เมื่อสมาทานแล้วไม่รักษา ทาให้ศีลขาดก็เป็นโทษ คือ เป็นบาป และถึงแม้ว่าไม่ได้สมาทานศีล ๕ ถ้ามีการทาผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็เป็นโทษเป็นบาปเช่นกัน
๒.๒ อนิจศีล หรือ เรียกอีกอย่างว่า จาริตตศีล คือ ศีลที่ต้องสมาทาน คือ ขอรับมาเพื่อรักษา แต่ถ้าไม่ต้องการรักษาก็ไม่ต้องสมาทาน ได้แก่ ศีลของฆราวาส คือ ศีล ๘ , อุโบสถศีล และการประพฤติธุดงค์ ๑๓ ข้อ ของพระภิกษุ สามเณร ศีลกลุ่มนี้จะรักษาก็ได้ หรือไม่รักษาก็ได้ หมายความว่า ถ้าต้องการประพฤติเพื่อขัดเกลากิเลสให้ยิ่งขึ้นก็สมาทานไว้เพื่อประพฤติขัดเกลากิเลส ถ้ารักษาได้ก็เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ เป็นบุญ ถ้าไม่ต้องการรักษาก็ไม่มีโทษแต่อย่างใด
๓ อาชีวัฏฐมกศีล

อาชีวัฏฐมกศีล เป็นศีล ๘ อีกประเภทหนึ่งเป็นศีลที่ยิ่งด้วยการประพฤติเพื่อความสาเร็จในมรรค เป็นสิ่งที่จะต้องประพฤติให้บริสุทธิ์ในขั้นต้นของการดาเนินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ อาชีวัฏฐมกศีล จึงเหมาะสาหรับผู้ที่ต้องการเจริญกุศลธรรมให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความเจริญยิ่งในการปฏิบัติวิป๎สสนากรรมฐาน และก็ยังเหมาะกับผู้ที่มีป๎ญหาด้านสุขภาพที่ยังต้องรับประทานอาหารมื้อเย็น ความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีล และ อาชีวัฏฐมกศีล
อุโบสถศีล คือ ศีลเพื่อการรักษาระเบียบทางกาย วาจา
อาชีวัฏฐมกศีล คือ ศีลที่ประพฤติให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น นาไปสู่การดาเนินตามทางมรรคมีองค์ ๘
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการก้าวล่วงในพรหมจรรย์
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
๖. เว้นจากการรับประทานอาหารในยามวิกาล
๗. เว้นจากการตบแต่งเครื่องหอมเครื่องย้อม เครื่องทา
๘. เว้นจากการนอน บนที่นอนอันสูงใหญ่
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์ = สัมมากัมมันตะ
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. ว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. เว้นจากการพูดคาหยาบ
๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เว้นจากการประกอบอาชีพที่ขัดต่อการเจริญธรรม
= สัมมาอาชีวะ
อาชีพที่ควรงดเว้น คือ ๑. ค้าเนื้อสัตว์ และสัตว์มีชีวิต ๒. ค้ามนุษย์ ๓. ค้าอาวุธ ๔. ค้ายาพิษ ๕. ค้าสุรา
คุณลักษณะและประโยชน์ของศีล
๑. เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง อุปมาเสมือนแผ่นดิน ย่อมเป็นที่ตั้งของสรรพสิ่ง
ทั้งหลายทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
๒. มีการไม่กระทาในสิ่งที่ผิดศีล เหมือนกับคนไข้ย่อมไม่รับประทานของที่แสลงโรค
๓. มีกาย วาจา ที่บริสุทธิ์ คือ ไม่ทาบาป ด้วยกาย วาจา
๔. มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป (หิริโอตตัปปะ) เป็นต้นเหตุทาให้เกิดศีล
๕. ความไม่โกรธ (อโทสะ) ความไม่ประทุษร้ายจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการรักษาศีล
๖. ย่อมเป็นอุปนิสัยให้ได้มรรคเบื้องต่า ๓ คือ โสดาป๎ตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค เมื่อเป็นมหากุศลที่มีทาน ศีล รองรับแล้ว จะเป็นอุปนิสัยต่ออรหัตตมรรค อรหัตตผล
๓. ภาวนา ภาวนา คือ การทากุศลอันประเสริฐให้เกิดขึ้นบ่อยๆ หรือ ธรรมชาติใดที่ทาให้กุศลที่ประเสริฐเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วทาให้เจริญขึ้น ภาวนา แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ สมถภาวนา และวิป๎สสนาภาวนา สาหรับคาว่า ภาวนาในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ หมายถึงมหากุศลจิตอย่างเดียว ได้แก่ การทาให้ป๎ญญาเกิดขึ้น เช่น การเรียน การสอนธรรมะ ตลอดจนการพิจารณาใคร่ครวญธรรมะต่างๆ จัดเข้าเป็นภาวนา ในบุญกิริยาวัตถุทั้งสิ้น คุณลักษณะและประโยชน์ของภาวนา
๑. ทาให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น จนถึงอรหัตตมรรคและอรหัตตผล เหมือนน้าย่อมทาให้พืชพันธุ์เจริญงอกงาม จนกระทั่งผลิดอกออกผล

๒. มีการประหาณทาลายบาปอกุศลที่เกิดขึ้น เหมือนเครื่องตัดหรือเครื่องประหาร
๓. เป็นสื่อนาเข้าสู่การเจริญสติป๎ฏฐานรูปนาม ให้ถึงซึ่งโลกุตตรธรรม
๔. มีการใส่ใจในอารมณ์ที่ถูกที่ควรไว้ก่อน ภาวนากุศลจึงจะเกิดขึ้นได้
๔. อปจายนะ อปจายนะ คือ การเคารพนอบน้อม ต่อบุคคลที่ควรเคารพนอบน้อม โดยมิได้หวังผลใดๆ ไม่หวังในลาภ ยศ สักการะแต่อย่างใด ถ้าการเคารพนอบน้อมโดยหวังสิ่งตอบแทนใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็น อปจายนะ แต่เป็นมารยาสาไถย อปจายนะ มี ๒ อย่าง คือ ๑. สามัญอปจายนะ คือ การแสดงความเคารพนอบน้อมต่อ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ ซึ่งเรามีหน้าที่ที่จะต้องให้ความเคารพนอบน้อมต่อท่าน เพราะท่านเป็นผู้ใหญ่เป็นครูอาจารย์ ๒. วิเสสอปจายนะ คือ การแสดงความเคารพนอบน้อมในพระรัตนตรัย ด้วยการระลึกถึงพระคุณ พระพุทธคุณต่างๆ ในพระป๎ญญาคุณ พระอรหันตคุณ พระมหากรุณาธิคุณ เป็นต้น บุคคลที่ควรเคารพนอบน้อม มี ๓ ประเภท
๑. คุณวุฒิบุคคล คือ บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้มีศีลมีธรรม
๒. วัยวุฒิบุคคล คือ บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้มีอายุมากกว่าเรา
๓. ชาติวุฒิบุคคล คือ บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้มี ชาติตระกูลสูง หรือวงศ์สกุลสูง
วุฒิทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าวนั้น ผู้มีวุฒิครบทั้ง ๓ ประเภท เช่น พระมหากษัตริย์ แต่บุคคลทั่วไป บางคนมีคุณวุฒิมากกว่าแต่เขามีวัยวุฒิน้อยกว่า เราก็ควรแสดงความอ่อนน้อม ถ้าทาได้ก็จัดว่าเป็นบุญ

อานิสงส์ของการเคารพนอบน้อม
๑. ทาให้เป็นผู้มีความรู้ ความฉลาดในธรรม
๒. มีอายุยืน และมีผิวพรรณงดงาม
๓. มีความสุขกายสุขใจ
๔. มีเกียรติยศชื่อเสียง
๕. มีกาลังกายและกาลังป๎ญญา
๖. เมื่อจากโลกนี้ย่อมไปสู่สุคติ
๕. เวยยาวัจจะ เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายในบุญ ได้แก่ การช่วยเหลือในกิจการงานที่เกี่ยวกับกุศลต่างๆ หรือ การช่วยเหลือทาการงานต่างๆ ที่ไม่มีโทษ เช่น งานด้านปริยัติ ด้านปฏิบัติ หรือการปฏิสังขรณ์ การทาความสะอาดวัด ปูชนียสถาน หรือการงานทางโลกที่ไม่มีโทษ เช่น งานของบิดา มารดา ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง บุตร ธิดา จัดเข้าเป็นเวยยาวัจจะได้ ๖. ป๎ตติทาน ป๎ตติทาน คือ การอุทิศส่วนบุญกุศล เป็นการให้ส่วนบุญกุศลที่ตนได้กระทาสาเร็จแล้วให้กับบิดา มารดา ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว องค์ธรรมได้แก่ เจตนาที่ในมหากุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทาแล้วมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น
วิธีการอุทิศส่วนบุญกุศล คือ เมื่อขณะบุญต่างๆ ของเราสาเร็จแล้ว ก็ตั้งเจตนาน้อมระลึกถึงบุญกุศลนั้นแล้วน้อมใจอุทิศขอให้บุญจงสาเร็จแก่บุคคลที่

ล่วงลับไปแล้ว จะอุทิศให้อย่างเจาะจงผู้รับ หรืออุทิศให้อย่างไม่เจาะจงผู้รับก็ได้ จะกรวดน้า หรือไม่มีน้าก็ได้ สิ่งสาคัญอยู่ที่เจตนาที่มีจิตคิดจะอุทิศบุญ เมื่อได้อุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็มิใช่ว่าผลบุญนั้นจะลดน้อยถอยลงหรือหมดไปไม่ มีแต่จะเพิ่มพูนขึ้นเป็นลาดับ อุปมาเหมือนการต่อแสงเทียนไปเรื่อยๆ เป็นร้อยเป็นพันเล่ม แสงเทียนที่เทียนเล่มแรกก็ยังไม่ดับหรือหมดไป แต่แสงเทียนที่เกิดจากการต่อเทียนไปเป็นจานวนมากกลับจะทาให้เกิดความสว่างไสวยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับบุญที่อุทิศให้ไปไม่ทาให้ต้นบุญเดิมลดลง แต่ทาให้บุญเกิดขึ้นเพิ่มพูนมากขึ้น การอุทิศบุญกุศล กับการแผ่เมตตา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร การอุทิศส่วนกุศล คือการอุทิศบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว - ถ้าต้องการให้ผู้ที่ตายไปแล้วได้รับบุญที่เราได้ทาแล้ว ก็ทาได้โดยเมื่อทาบุญสาเร็จแล้วก็บุญกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว อย่างนี้เรียกว่า การอุทิศบุญ หรือ ป๎ตติทาน บุญจะเกิดกับญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยการป๎ตตานุโมทนา - ถ้าต้องการให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้มีส่วนในบุญที่เราได้ทาแล้ว ก็ทาได้โดยการบอกกล่าวให้เขาเหล่านั้นทราบถึงบุญ เมื่อเขามีความยินดีในบุญและกล่าวอนุโมทนาด้วยบุญนั้นก็สาเร็จแก่เขา ฉะนั้นถ้าต้องการให้บุคคลที่รักที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับบุญ ก็ต้องให้เขาได้รู้และได้อนุโมทนาคือมีจิตยินดีในบุญ การแผ่เมตตา จะทาอย่างไร การแผ่เมตตา คือ มีความรักให้สัตว์ทั้งหลาย และเมตตาจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องเจาะจงกับสัตว์ทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ การแผ่เมตตาไปในบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วไม่มีผล สาหรับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ก็ควรทาในเรื่องการอุทิศบุญ เมื่อทราบว่าการอุทิศบุญทาอย่างไรกับบุคคลใด และการแผ่เมตตาควรปฏิบัติอย่างไรกับบุคคลใดแล้ว ต่อไปจะได้กระทาได้ถูกต้อง ๗. ป๎ตตานุโมทนา

ป๎ตตานุโมทนา คือ การน้อมรับส่วนบุญที่บุคคลอื่นอุทิศให้ หรือเรียกว่าอนุโมทนาในส่วนบุญก็ได้ บุญกุศลทั้งหลายที่ได้ทาแล้วอุทิศให้แก่คนอื่นๆ จะโดยกล่าวให้ด้วยวาจาหรือเขียนเป็นตัวอักษรก็ตาม จิตของผู้รับเกิดความโสมนัสขึ้นแล้วด้วย และกล่าวคาว่า “สาธุ” ย่อมสาเร็จเป็นกุศล หรือ การยินดีในบุญที่บุคคลอื่นได้ทาสาเร็จแล้ว เช่น เห็นบุคคลอื่นกาลังทาบุญกุศล เห็นปูชนียสถานที่เป็นวัตถุก่อสร้างจารึกชื่อผู้สร้างอุทิศถวายแล้ว ก็อนุโมทนาบุญกับเขา ก็เป็นป๎ตตานุโมทนา เป็นบุญแล้ว ตัวอย่าง พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวันถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปรตซึ่งในอดีตชาติเคยเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้พากันส่งเสียงร้องโหยหวน เพราะพระเจ้าพิมพิสารไม่ได้ทรงแผ่ส่วนบุญไปให้ พระพุทธองค์จึงทรงแนะให้พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญกุศลไปยังเปรตทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเปรตเหล่านั้นได้อนุโมทนาในบุญของพระเจ้าพิมพิสารแล้วก็พ้นจากความเป็นเปรต ๘. ธัมมัสสวนะ ธัมมัสสวนะ คือ การฟ๎งพระธรรม พระธรรมหมายถึง พระสัทธรรม คือ พระธรรมคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะที่เป็นการคิดขึ้นมาเองของครูอาจารย์ ธรรมะนั้นไม่ใช่สัทธรรม คือไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า การฟ๎งธรรมที่แย้งและย้อนต่อคาสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ชื่อว่าธัมมัสสวนะ ไม่เป็นบุญ ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นเหตุให้เกิดบาปอกุศล เพราะธรรมที่ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า ธรรมเหล่านั้นไม่ใช่ธรรมที่นาไปสู่ความพ้นทุกข์ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมเจริญ แต่กลับเป็นเหตุให้อกุศลเจริญ เป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ประพฤติผิด ปฏิบัติผิด ตัวอย่างเช่น การฟ๎งธรรมที่ผู้สอนบอกว่า ถ้ายิ่งทาบุญด้วยเงินจานวนมากเท่าไร ผลแห่งบุญก็ยิ่งจะมากเท่านั้น ผลบุญนั้นจะส่งได้เร็วขึ้นตามจานวนเงินที่ทา นี้เป็นอสัทธรรม ฟ๎งแล้วไม่เป็นบุญ แต่เป็นเหตุให้อกุศลเกิดขึ้น คือ เมื่อเชื่อเช่นนั้นก็เกิดความโลภ หวังผลบุญที่จะได้รับ ยิ่งทาบุญด้วยเจตนาที่ผิด

ส่วนการฟ๎งธรรมที่ผู้สอนกล่าวเรื่องบุญว่า บุญคือเจตนาที่เป็นกุศล การทาบุญทาได้หลายอย่าง เช่น การให้ทานเป็นการสละ เป็นการขัดเกลากิเลส คือ ความโลภ เป็นการขัดเกลามัจฉริยะ คือความหวงแหน การให้ทานต้องมีเจตนาที่ดีทั้ง ๓ กาล ให้แล้วไม่หวังผลตอบแทน เพราะเข้าใจถูกแล้วว่าเมื่อทาเหตุดี ผลย่อมดี ให้แล้วไม่หวงแหนในสิ่งที่ให้ไปแล้ว เป็นต้น นี้เป็น สัทธรรม เป็นธัมมัสสวนะ การฟ๎งธรรม มี ๒ ประการ
๑. การฟ๎งธรรมเพื่อให้คนทั้งหลายชื่นชม คือ ปรารถนาว่าเมื่อบุคคลอื่นทราบ เขาก็จะกล่าวถึงเราว่าเป็นคนดีมีศรัทธา มีศีลธรรม เป็นต้น อย่างนี้เป็นการฟ๎งที่มิได้เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาที่แท้จริง มีกิเลสซ่อนเร้นอยู่ ย่อมจะมีผลน้อย อานิสงส์น้อย
๒. การฟ๎งธรรมที่ทาให้จิตใจอ่อนโยน คือ ปรารถนาเพื่อให้เกิดสติป๎ญญา เพื่อจะได้รู้จักคาสอนในพระพุทธศาสนา รู้จักบุญรู้จักบาป และสิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เป็นต้น การฟ๎งธรรมชนิด นี้ทาให้กุศลเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ย่อมมีผลอานิสงส์มาก
๙. ธรรมเทศนา ธรรมเทศนา คือ การแสดงธรรม ธรรมเทศนานี้ก็เป็นไปในทานองเดียวกันกับธัมมัสสวนะ กล่าวคือ ต้องสอนธรรมที่เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า จึงเป็นธรรมเทศนา อานิสงส์ของการแสดงธรรม มี ๒ ประการ ๑. การแสดงธรรมที่ได้อานิสงส์มาก ผู้แสดงธรรมที่จะได้อานิสงส์ ต้องแสดงธรรมโดยเป็นลาดับ ต้องแสดงธรรมด้วยมีจิตอนุเคราะห์แก่ผู้ศึกษา ไม่ว่าผู้ศึกษาจะเป็นใครก็ตาม ก็มีจิตอนุเคราะห์เสมอเหมือนกันหมดไม่แบ่งชั้นวรรณะ ต้องแสดงธรรมโดยไม่มุ่งหวังในลาภ สักการะ สรรเสริญ มุ่งแต่จะให้สาเร็จประโยชน์แก่ผู้ศึกษา คือ เมื่อผู้ศึกษาเข้าใจในธรรมะที่ถูกต้อง ก็จะเจริญงอกงามในบุญ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ถึงอมตธรรมคือพระนิพพาน การแสดงธรรมเช่นนี้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นธรรมเทศนาที่แท้จริง จะเป็นเหตุให้ผู้แสดงได้บุญมากได้อานิสงส์มาก

๒. การแสดงธรรมที่ได้อานิสงส์น้อย ผู้แสดงธรรมที่ไม่มีจิตอนุเคราะห์ผู้ฟ๎ง แสดงธรรม เพราะหวังลาภ สักการะ สรรเสริญ แสดงธรรมเพื่อให้คนรู้ว่าเราเป็นครูอาจารย์ เป็นผู้สอนธรรมะ เป็นต้น การแสดงธรรมอย่างนี้เป็นการแสดงธรรมชนิดที่มีกิเลสแอบแฝงอยู่ ผลอานิสงส์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับผู้แสดง ถ้าเกิดก็เกิดได้น้อย เพราะผู้แสดงธรรมนั้นมีอกุศลเกิดขึ้น อกุศลนี้เปรียบเสมือนตอที่ผุดขึ้นมากั้นกุศลที่จะเกิดขึ้น ๑๐. ทิฏฐุชุกรรม ทิฏฐุชุกรรม คือ การกระทาความเห็นให้ตรงกับความเป็นจริง ได้แก่ กัมมัสสกตาญาณ (อ่านว่า กา-มัด-สะ-กะ-ตา-ยาน) คือ ป๎ญญาที่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง จะทาดีหรือทาชั่วก็ตาม ย่อมจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น ธรรมที่เป็นป๎จจัยให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ มี ๓ ประการ
๑. สุตมยป๎ญญา คือ ป๎ญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การเรียนนี้มุ่งหมายการศึกษาคาสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นการแสดงความจริงของชีวิต มีเหตุมีผล เป็นไปตามกฎแห่งกรรม เมื่อศึกษาแล้วย่อมทาให้เกิดความเข้าใจในคาสอน ส่งผลทาให้ผู้ศึกษามีการมุ่งมั่นในการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นต้น ได้ถูกต้อง
๒. จินตามยป๎ญญา คือ ป๎ญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย เกี่ยว กับความมีโรค ไม่มีโรค ความโง่ ความฉลาด ความสุข ความทุกข์ อายุสั้น อายุยืน เหล่านี้เป็นต้น เมื่อคิดพิจารณาถูกต้องเช่นนี้แล้ว จึงเป็นเหตุให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ
๓. ภาวนามยป๎ญญา คือ ป๎ญญาที่เกิดจากการเจริญวิป๎สสนา เป็นป๎จจัยให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ มีการเห็นนามรูปพร้อมทั้งป๎จจัยของนามรูป เป็นต้น
ถึงแม้ว่า บุคคลทั้งหลายโดยส่วนมากจะยังไม่สามารถเห็นความเป็นจริงของรูปนาม ไม่รู้ป๎จจัยอันเป็นเหตุเกิดของรูปนาม เพราะบุคคลยังยึดรูปนามขันธ์ ๕ นี้ ว่าเป็นเรา เป็นของๆ เรา เป็นต้น แต่ถ้ามีความเห็นตรงตามทส


วัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ ก็ชื่อว่ามีกัมมัสสกตาญาณ เป็นทิฏฐุชุกรรม คือ เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริงได้เช่นกัน ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ
๑. เห็นว่า การทาบุญ ย่อมได้รับผลของบุญ คือ ผลดีมีประโยชน์
๒. ” การบูชา ย่อมได้รับผลของการบูชา คือ ผลดีมีประโยชน์
๓. ” การเชื้อเชิญต้อนรับ ย่อมได้รับผลของการเชื้อเชิญต้อนรับ คือ ผลดีมีประโยชน์
๔. ” การทาดีทาชั่ว ย่อมได้รับผลของการทาดีทาชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม
๕. ” ภพนี้ โลกนี้ (ป๎จจุบัน) มี เพราะมีการเกิด
๖. ” ภพหน้าโลกหน้ามี เพราะคนตายแล้วยังมีกิเลส จึงต้องเกิดในโลกหน้าอีก
๗. ” การทาดีทาชั่วต่อมารดา จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วในอนาคต
๘. ” การทาดีทาชั่วต่อบิดา จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วในอนาคต
๙. ” สัตว์ที่เกิดแล้วเติบโตขึ้นทันที คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม มีจริง
๑๐. ” ผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า สามารถชี้แจงให้เห็นจริงได้นั้นมี และผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เพื่อเข้าถึง มรรคผลนิพพานนั้นก็มี ในทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ เป็นเหตุให้มีกัมมัสสกตาญาณเกิดขึ้นในขันธสันดาน ดังนั้นควรสารวจว่าตนมีความเห็นใน ๑๐ ประการนี้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบถ้วนก็ควรศึกษาธรรมะและเจริญการปฏิบัติภาวนา เพื่อปรับปรุงแก้ไขความเห็นของตนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ ก็ชื่อว่ามีกัมมัสสกตาญาณ เป็นทิฏฐุชุกรรม คือ เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริงได้เช่นกัน ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ
๑. เห็นว่า การทาบุญ ย่อมได้รับผลของบุญ คือ ผลดีมีประโยชน์
๒. ” การบูชา ย่อมได้รับผลของการบูชา คือ ผลดีมีประโยชน์
๓. ” การเชื้อเชิญต้อนรับ ย่อมได้รับผลของการเชื้อเชิญต้อนรับ คือ ผลดีมีประโยชน์
๔. ” การทาดีทาชั่ว ย่อมได้รับผลของการทาดีทาชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม
๕. ” ภพนี้ โลกนี้ (ป๎จจุบัน) มี เพราะมีการเกิด
๖. ” ภพหน้าโลกหน้ามี เพราะคนตายแล้วยังมีกิเลส จึงต้องเกิดในโลกหน้าอีก
๗. ” การทาดีทาชั่วต่อมารดา จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วในอนาคต
๘. ” การทาดีทาชั่วต่อบิดา จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วในอนาคต
๙. ” สัตว์ที่เกิดแล้วเติบโตขึ้นทันที คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม มีจริง
๑๐. ” ผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า สามารถชี้แจงให้เห็นจริงได้นั้นมี และผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เพื่อเข้าถึง มรรคผลนิพพานนั้นก็มี ในทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ เป็นเหตุให้มีกัมมัสสกตาญาณเกิดขึ้นในขันธสันดาน ดังนั้นควรสารวจว่าตนมีความเห็นใน ๑๐ ประการนี้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบถ้วนก็ควรศึกษาธรรมะและเจริญการปฏิบัติภาวนา เพื่อปรับปรุงแก้ไขความเห็นของตนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เจริญมรรค , การกระทาผลให้แจ้ง , การละกิเลสได้ ภาวะที่จิตปราศจากนิวรณ์ , ความยินดียิ่งในสุญญาคาร เหล่านี้ ชื่อว่า อุตริมนุสสธรรม ” รูปาวจรกุศลกรรม รูปาวจรกุศลกรรม เป็นการเจริญกุศลในขั้นสูง คือ การเจริญฌาน (อ่านว่า ชาน) ฌานนั้นให้ความสงบสุขอันเป็นความสุขที่ประณีตกว่ากุศลขั้นทาน ศีล ฯลฯ ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว รูปาวจรกุศลกรรมเป็นการเจริญสมถกรรมฐาน มี กสิณ ๑๐ เป็นต้น (รายละเอียดอยู่ในบทเรียนชุดที่ ๙) โดยการกาหนดจิตให้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียว บุคคลเมื่อกาหนดจิตได้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียวได้ ทาให้สมาธิตั้งมั่น กาลังของสมาธิที่ตั้งมั่นและมากขึ้นๆ ตามลาดับ จะทาให้เกิดผลสาเร็จในการเจริญรูปฌาน ผลสาเร็จของการเจริญรูปฌาน มี ๕ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ป๎ญจมฌาน ซึ่งแต่ละขั้นจะมีองค์ฌานประกอบดังนี้ ฌานที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌานกุศล มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๒ ” ทุติยฌานกุศล ” ๔ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๓ ” ตติยฌานกุศล ” ๓ ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๔ ” จตุตถฌานกุศล ” ๒ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๕ ” ป๎ญจมฌานกุศล ” ๒ อุเบกขา เอกัคคตา

เจริญมรรค , การกระทาผลให้แจ้ง , การละกิเลสได้ ภาวะที่จิตปราศจากนิวรณ์ , ความยินดียิ่งในสุญญาคาร เหล่านี้ ชื่อว่า อุตริมนุสสธรรม ” รูปาวจรกุศลกรรม รูปาวจรกุศลกรรม เป็นการเจริญกุศลในขั้นสูง คือ การเจริญฌาน (อ่านว่า ชาน) ฌานนั้นให้ความสงบสุขอันเป็นความสุขที่ประณีตกว่ากุศลขั้นทาน ศีล ฯลฯ ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว รูปาวจรกุศลกรรมเป็นการเจริญสมถกรรมฐาน มี กสิณ ๑๐ เป็นต้น (รายละเอียดอยู่ในบทเรียนชุดที่ ๙) โดยการกาหนดจิตให้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียว บุคคลเมื่อกาหนดจิตได้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียวได้ ทาให้สมาธิตั้งมั่น กาลังของสมาธิที่ตั้งมั่นและมากขึ้นๆ ตามลาดับ จะทาให้เกิดผลสาเร็จในการเจริญรูปฌาน ผลสาเร็จของการเจริญรูปฌาน มี ๕ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ป๎ญจมฌาน ซึ่งแต่ละขั้นจะมีองค์ฌานประกอบดังนี้ ฌานที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌานกุศล มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๒ ” ทุติยฌานกุศล ” ๔ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๓ ” ตติยฌานกุศล ” ๓ ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๔ ” จตุตถฌานกุศล ” ๒ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๕ ” ป๎ญจมฌานกุศล ” ๒ อุเบกขา เอกัคคตา

พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสตินทรีย์ จะเกิดในสุทัสสาภูมิ มีอายุ ๔,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสมาธินทรีย์ จะเกิดในสุทัสสีภูมิ มีอายุ ๘,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยป๎ญญินทรีย์ จะเกิดในอกนิฏฐาภูมิ มีอายุ ๑๖,๐๐๐ มหากัปป์ ทิพยสมบัติของพรหม ผู้ที่ไปเกิดเป็นรูปพรหมด้วยอานาจของฌานที่ตนได้ จะเสวยทิพยสมบัติแห่งความเป็นพรหม มีอายุยืนยาวนานเป็นมหากัปป์ มีวิมาน มีสวนดอกไม้ มีสระโบกขรณี และเครื่องทรงอลงกรณ์ต่างๆ สวยสดงดงามประณีต และมีความสวยสดงดงามกว่าทิพยสมบัติของเทวดาทั้งหลาย เมื่อเกิดเป็นพรหมในรูปพรหม ๑๖ ชั้น ดังกล่าวแล้ว ก็หาพอใจในฌานหรือในทิพยสมบัติของตนที่มีอยู่ไม่ ต้องการหาความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น โดยการเจริญอรูปาวจรกุศลต่อไปอีก มีรายละเอียดดังนี้ อรูปาวจรกุศลกรรม อรูปาวจรกุศลกรรม ผู้เจริญรูปาวจรกุศลจนถึงป๎ญจมฌานแล้ว ปรารถนาจะเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไป ก็ต้องเจริญในอรูปฌานต่อไป ตั้งแต่อากาสานัญจายตนฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อรูปาวจรกุศลมี ๔ ระดับ แต่ละระดับมีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขาและเอกัคคตา เหมือนกันทั้ง ๔ ระดับ ในแต่ละระดับมีอารมณ์ต่างกัน ฌานที่ ๑ เรียกว่า อากาสานัญจายตนกุศล มีกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์ ฌานที่ ๒ เรียกว่า วิญญานัญจายตนกุศล มีอากาสานัญจายตนกุศลเป็นอารมณ์ ฌานที่ ๓ เรียกว่า อากิญจัญญายตนกุศล มีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์

ฌานที่ ๔ เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล มีอากิญจัญญายตนกุศลเป็นอารมณ์ ผลของอรูปาวจรกุศลกรรม ผู้ที่เจริญอรูปฌานจนสาเร็จในแต่ละขั้นแล้วถ้าฌานยังไม่เสื่อม เมื่อตายจากภพนี้ กาลังแห่งอรูปฌานกุศลนั้นจะส่งผลเป็นวิปากนาเกิดในอรูปพรหม เป็นพรหมที่มีแต่นาม ไม่มีรูป อากาสานัญจายตนกุศล จะนาเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนภูมิ มีอายุ๒๐,๐๐๐ มหากัปป์ วิญญานัญจายตนกุศล จะนาเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๒ คือ วิญญานัญจายตนภูมิ มีอายุ ๔๐,๐๐๐ มหากัปป์ อากิญจัญญายตนกุศล จะนาเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนภูมิ มีอายุ ๖๐,๐๐๐ มหากัปป์ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล จะนาเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ มีอายุ ๘๔,๐๐๐ มหากัปป์

พระอภิธรรม คือ ชี้ให้เห็นถึงสภาวธรรมแห่งเหตุ และได้แสดงโดยนัยแห่งพระสูตร คือ ยกตัวอย่างประกอบไว้แล้ว กรรมที่แสดงไว้แล้วทั้งหมดนี้เป็นกรรมชนิดที่ส่งผลนาเกิด คือ เมื่อกรรมสาเร็จแล้วย่อมส่งผลนาวิบากให้เกิดขึ้น เป็นการแสดงความเป็นจริงแห่งวัฏฏะ คือ วงเวียนแห่งชีวิตว่า มีการเกิด มีการดารงอยู่ และก็มีการตาย แล้วก็มีเกิดใหม่ ดารงอยู่ใหม่ แล้วก็ตายไป แล้วก็มีการเกิดใหม่ ดารงอยู่ใหม่ แล้วก็ตายไป เป็นอย่างนี้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นวัฏฏะทุกข์ คือ ทุกข์เพราะยังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะกรรมที่บุคคลทาไว้แล้วนั้นเป็นกรรมชนิดที่เป็นไปเพื่อวัฏฏะ
การจะหลุดพ้นจากวัฏฏะ หรือ วงเวียนแห่งชีวิตนี้ ต้องทากุศลขั้นวิวัฏฏะ คือ มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะพ้นไปจากวัฏฏะทุกข์นี้ เพราะรู้และ
เข้าใจความเป็นจริงแห่งชีวิต แล้วทากุศลทุกอย่างก็เพื่อ มุ่งให้เป็นป๎จจัยให้พ้นไปจากวัฏฏะ เจริญกุศลขั้นป๎ญญาเพื่อขจัดกิเลสให้เบาบาง เพื่อประหาณกิเลสทั้งหลาย เมื่อกุศลขั้นวิวัฏฏะยังผลให้โลกุตตรกุศลเกิดขึ้นเมื่อไร เมื่อนั้นก็จะพ้นไปจากวัฏฏะทุกข์เข้าสู่ความเกษมคือพระนิพพานได้

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานชุดใหญ่กับแม่และหลาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทาน อนุโมทนากับผูใส่บาตรตามถนนหนทาง
อาราธนาศีล รักษาศีล ได้รักษษอาการป่วยของแม่ ศึกษษการรักษาโรค
ช่วมพ่อแม่ทำงานบ้าน กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธรูป
และตั้งใจว่าจะสร้างบารมี ให้ครบทั้ง 10 อย่าง และตั้งใจว่าจะฟังธรรม ศึกษาธรรม
สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ เจริญอาโปกสิน สักการะพะธาตุ
และที่ผ่านมาได้ให้ของเล่นแก่เด็ก และได้ไปไหว้หลวงพ่อโสธร
และได้บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ อฐิษฐานจิต ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญชวนสร้าง
พระบรมธาตุเจ้าเจดีย์ศรีรัตนแก้วเก้ามิ่งมงคล
โทร ๐๘๓ - ๑๑๔ - ๓๖๘๑ , ๐๘๓ - ๕๖๘ - ๓๘๘๒

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร