วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 23:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ปฏิบัตเป็นพุทธบูชาด้วยเศียรเกล้า

IMG_0199.jpg
IMG_0199.jpg [ 115.85 KiB | เปิดดู 1037 ครั้ง ]
๑๖. :b8: ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความรู้(วิชชาภาคิยะ) :b42:

:b20: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา(วิชชาภาคิยะ)๒ อย่างเหล่านี้ คือ สมถะ(ความสงบ) ๑ วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) ๑. สมถะ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้จิตได้รับการอบรม จิตได้รับการอบรมแล้ว ย่อมทำให้ละราคะ (ความกำหนัดยินดี หรือความติดอกติดใจ) ได้ วิปัสสนา อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้ปัญญาได้รับการอบรม, ปัญญาได้รับการอบรมแล้ว ย่อมทำให้ละอวิชา(ความไม่รู้ตามความจริง) ได้." :b8:

ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๗๘

๑๗. คำอธิบายนิพพานธาตุ ๒ อย่าง :b8:

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ มี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสสสนิพพานธาตุ กับ อนุปาทิเสสนิพพดานธาตุ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่พึงทำอันได้ทำเสร็จแล้ว วางภาระแล้ว มีประโยชน์ของตนอันได้บรรลุแล้ว สิ้นเครื่องผูกพันในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ การเสวยอารมณ์ทั้งปวงของภิกษุนั้น ดับสนิท นี้เรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ."

อิติวุตตก ๒๕/๒๕๘

๑๘. :b8: ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ถูกปรุงแต่ง มีอยู่
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง มีอยู่ ถ้าไม่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่ง ก็จะปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุที่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่ง จึงปรากฏได้."

:b8: อิติวุตตก ๒๕/๒๕๗

๑๙. :b8: ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด
" ความเสื่อมจากญาติ ยังนับว่าเป็นความเสื่อมเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมที่นับว่าเลวร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ก็คือ ความเสื่อมจาก ปัญญา" :b45:

:b8: " ความเจริญด้วยญาติ ยังนับว่าเป็นความเจริญเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญที่เรากล่าวว่าเป็นยอด คือความเจริญด้วยปัญญา. เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้เจริญด้วย ปัญญาวุฑฒิ(ความเจริญด้วยปัญญา) ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล" :b54:

:b8: " ความเสื่อมจากโภคทรัพย์ ยังนับว่าเป็นความเสื่อมเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมที่นับว่าเลวร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ก็คือความเสื่อมจาก ปัญญา :b46:

:b8: " ความเจริญด้วยโภคทรัพย์ ยังนับว่าเป็นความเจริญเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญที่เรากล่าวว่าเป็นยอด คือความเจริญด้วย ปัญญา. เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้เจริญด้วย ปัญญาวุฑฒิ(ความเจริญด้วยปัญญา) ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล" :b43:

:b8: " ความเสื่อมจากยศ ยังนับว่าเป็นความเสื่อมเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมที่นับว่าเลวร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมทั้งหลาย คือความเสื่อมจาก ปัญญา"

:b8: " ความเจริญด้วยยศ ยังนับว่าเป็นความเจริญเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญที่เรากล่าวว่าเป็นยอด คือความเจริญด้วย ปัญญา เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้เจริญด้วย ปัญญาวุฑฒิ(ความเจริญด้วยปัญญา) ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๗,๑๘ :b8:

๒๐. จิตผ่องใสเศร้าหมองได้ หลุดพ้นได้ :b42:

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองเพราะอุปกิเลส๑ ที่จรมา"

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล หลุดพ้นได้จากอุปกิเลส๑ ที่จรมา." :b8:

เอกนิบาต อุงคุตตรนิกาย ๒๐/๑๑

๒๑. :b19: การอบรมจิตของบุถุชนผู้มิได้สดับ และอริยสาวกผู้ได้สดับ :b43:

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองได้เพราะอุปกิเลส๑ ที่จรมา บุถุชนผู้มิได้สดับเรื่องนั้น ย่อมไม่รู้ตามความจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า การอบรมจิตของบุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่มี"
:b42:
:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล หลุดพ้นได้จากอุปกิเลสที่จรมา อริยสาวกผู้ได้สดับเรื่องนั้น ย่อมรู้ตามความจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า การอบรมจิตของอริยสาวกผู้ได้สดับมีอยู่." :b8:

เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๑,๑๒ :b8:

๒๒. :b8: เมตตาจิตชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว :b8:

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุส้องเสพ เจริญ ทำในใจ ซึ่งเมตตาจิต แม้ชั่วเวลาสักว่าลัดนิ้วมือเดียว เราย่อมกล่าวว่า เธอผู้นี้ อยู่อย่างไม่ว่างจากฌาน เป็นผู้ทำตามคำสอนของศาสดา เป็นผู้ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันอาหารของราษฎรไปเปล่า ๆ จะกล่าวไย ถึงข้อที่ภิกษุจะทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า."

เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๒ :b42:

๒๓. :b8: กุศล อกุศล มีใจเป็นหัวหน้า :b8:

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไปในส่วนแห่งอกุศล เป็นไปในฝักฝ่าย (พวก) แห่งอกุศล เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจย่อมเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเกิดตามมา" :b27:

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศล เป็นไปในส่วนแห่งกุศล เป็นไปในฝักฝ่าย (พวก) แห่งกุศล เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจย่อมเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเกิดตามมา." :b8:

เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๒
:b8:
๒๔. ผู้ให้ กับ ผู้รับ

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่วแล้ว ทายก(ผู้ให้) พึงรู้ประมาณ ไม่ใช่ปฏิคาหก(ผู้รับ) ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะธรรมะกล่าวไว้ชั่วแล้ว" :b42:

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดีแล้ว ปฏิคาหก(ผู้รับ) พึงรู้ประมาณ ไม่ใช่ทายก(ผู้ให้) ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะธรรมกล่าวไว้ดีแล้ว." :b42:

เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๔๕ :b12:

:b8: ๕. ผู้ปรารภความเพียร กับ ผู้เกียจคร้าน :b20:

:b44: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่วแล้ว ผู้ใดปรารภความเพียร ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้ใดเกียจคร้าน ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะธรรมะกล่าวไว้ชั่วแล้ว" :b44:

:b42: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดีแล้ว ผู้ใดเกียจคร้าน ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้ใดปรารภความเพียร ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะธรรมะกล่าวไว้ดีแล้ว." :b39:


:b42: เทพบุตร :b43:

ขอท่านกัลยาณมิตรพึงเจริญในธรรมทุกท่านเทอญ :b42:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 66 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร