วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 17:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_0199.jpg
IMG_0199.jpg [ 115.85 KiB | เปิดดู 1424 ครั้ง ]
:b8: :b8: ๒. เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธเจ้ายังไม่ชื่อว่าอยู่ใกล้ :b42:

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่าภิกษุจับชายสังฆาฏิตามหลัง ย่างเท้าตามทุกก้าว แต่เธอมีความละโมภ มีความติดใจแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเป็นโทษ ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวม๑ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุนั้น ก็ยังอยู่ไกลเราโดยแท้ และเราก็อยู่ไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม ผู้ไม่เห็นธรรม ย่อมไม่เห็นเรา"

" :b8: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้น อยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์ แต่เธอไม่มีความละโมภ ไม่มีความติดใจแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตไม่พยาบาท มีความดำริแห่งใจอันไม่เป็นโทษ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าอยู่ใกล้เราโดยแท้ และเราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเห็นธรรม ผู้เห็นธรรม ย่อมเห็นเรา"

:b42: อิติวุตตก ๒๕/๓๐๐

:b42: ๓. ศัตรูภายใน

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินภายใน อมิตรภายใน ศัตรูภายใน ผู้ฆ่าภายใน ข้าศึกภายใน ๓ ประการ ได้แก่ โลภะ ความโลภ โทสะ ความคิดประทุษร้าย โมหะ ความหลง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินภายใน อมิตรภายใน ศัตรูภายใน ผู้ฆ่าภายใน ข้าศึกภายใน ๓ ประการเหล่านี้แล."

อิติวุตตก ๒๕/๒๙๕

๔. อาคามี(ผู้มาเกิด) อนาคามี(ผู้ไม่มาเกิด อรหันต์(ผู้ไม่มีกิเลส)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยกามโยคะ๒ ประกอบด้วยภวโยคะ๓ ย่อมเป็นอาคามี มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ผู้ไม่ประกอบด้วยกามโยคะ แต่ยังประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ผู้ไม่ประกอบด้วยกามโยคะ ไม่ประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็นพระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะ."

อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓

๕. ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล กัลยาณธรรม กัลยาณปัญญา ๔
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล กัลยาณธรรม กัลยาณปัญญา ย่อมเป็นผู้เสร็จธุระอยู่จบพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัย เราเรียกว่าอุดมบุรุษ

๑. ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณศีล คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีศีลสำรวมในปกฏิโมกข์ (ศีลที่สำคัญของภิกษุ) สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร (มารยาทและการไปแต่ในที่ที่สมควร) เห็นภัยในโทษเล็ก ๆ น้อย ๆ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอชื่อว่ามีกัลยาณศีลดั่งกล่าวมานี้แล

๒. ภิกษุผู้มีกัลยาณศีลดั่งนี้แล้ว จะชื่อว่ามีกัลยาณธรรมอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการอบรมธรรม อันเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ๓๗ ประการ๕ อยู่ เธอชื่อว่ามีกัลยาณธรรม ดั่งกล่าวมานี้แล

๓. ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล กัลยาณธรรมดั่งนี้แล้ว จะชื่อว่ามีกัลยาณปัญญาอย่างไร? ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ๖ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนในปัจจุบันอยู่ เธอชื่อว่ามีกัลยาณปัญญาอย่างนี้แล

ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล กัลยาณธรรม กัลยาณปัญญาดั่งนี้แล้ว ชื่อว่าเสร็จธุระ อยู่จบพรหมจรรย์ เราเรียกว่าอุดมบุรุษ."

อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓

๖. กองกระดูกเท่าภูเขา

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนหนึ่งที่เวียนว่ายท่องเที่ยวไปตลอดกัปป์ จะพีงมีกองกระดูกใหญ่ เหมือหนึ่งเวบุลลบรรพตนี้ ถ้ามีผู้คอยรวบรวมไว้ และกองกระดูกที่รวบรวม จะไม่กระจัดกระจายหายเสีย."

อิติวุตตก ๒๕/๒๔๒

๗. ยังพูดปดทั้ง ๆ ที่รู้ จะไม่ทำความชั่วอย่างอื่นเป็นไปไม่ได้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลยังไม่ละธรรมข้อหนึ่ง คือการพูดปดทั้ง ๆ รู้ เราย่อมไม่กล่าวว่า มีบาปกรรมอะไรบ้างที่ผู้นั้นจะทำไม่ได้."

อิติวุตตก ๒๕/๒๔๓

๘. มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่าง

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่างเหล่านี้ คือ

๑. โลภะ ความอยากได้ เป็นมูลรากแห่งอกุศล

๒. โทสะ ความคิดประทุกษร้าย เป็นมูลรากแห่งอกุศล

๓. โมหะ ความหลง เป็นมูลรากแห่งอกุศล

:b48: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่างเหล่านี้แล."

:b49: อิติวุตตก ๒๕/๒๖๔

:b45: ๙. พระธรรมเทศนา ๒ อย่าง

:b42: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ ประการ มีอยู่โดยปริยาย คือ ธรรมเทศนาที่หนึ่งว่า "ท่านทั้งหลาย จงเห็นบาปโดยความเป็นบาปเถิด" ธรรมเทศนาที่สองว่า "ท่านทั้งหลายเห็นบาปโดยความเป็นบาปแล้ว จงเบื่อหน่ายคลายความติดในบาปนั้น จงหลุดพ้นไปเถิด" นี้คือธรรมเทศนา ๒ อย่างของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่โดยปริยาย๗."

:b44: อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕

:b45: ๑๐. อะไรเป็นหัวหน้าอกุศลธรรมและกุศลธรรม

:b16: "ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชา๘ (ความไม่รู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา วิชชา(ความรู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย ความละอายใจ ความเกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา."

:b27: อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕

:b12: ๑๑. อริยปัญญา

:b8: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่เสื่อมจากอริยปัญญานั้น ชื่อว่าเสื่อมแท้ เขาย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความติดขัด มีความคับแค้น มีความเดือดร้อนในปัจจุบัน สิ้นชีวิตไปแล้ว ก็มีทุคคติเป็นที่หวังได้ สัตว์ที่ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความติดขัด ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบัน สิ้นชีวิตไปแล้ว ก็มีสุคติเป็นที่หวังได้."

อิติวุตตก ๒๕/๒๕๖

:b35: ๑๒. คำอธิบายเรื่อง "ตถาคต"

:b45: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตปลีกออกได้จากดลก เหตุให้โลกเกิดอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตละเหตุที่ให้เกิดโลกได้ ความดับแห่งโลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตทำให้ความดับแห่งโลกแจ่มแจ้งแก่ตนได้ ข้อปฏิบ้ติให้ถึงความดับแห่งโลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตได้อบรมข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว สิ่งใดที่โลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ที่ประชาพร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว๙ รู้แล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ เพราะเหตุที่สิ่งนั้น ๆ อันตถาคตตรัสรู้แล้ว จึงเรียกว่าตถาคต ดั่งนี้"

:b54: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด นิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ข้อความทั้งหมดที่ตถาคตกล่าว พูด แสดง ระหว่างราตรีนั้น ๆ (คือตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนถึงนิพพาน) ย่อมเป็นอย่างนั้นเทียว ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต"

:b42: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด ทำได้อย่างนั้น ทำได้อย่างใด ก็พูดได้อย่างนั้น เพราะเหตุที่พูดได้ตามที่ทำ ทำได้ตามที่พูด ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต"

:b53: "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นใหญ่ (โดยคุณธรรม) ไม่มีใครครอบงำได้ (โดยคุณธรรม) รู้เห็นตามที่แท้จริง เป็นผู้มีอำนาจ (โดยคุณธรรม) ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต."

ธรรมนำสุขมาให้

:b40: ชีวิตเกิดมาก็เพื่อฝึกและเรียนรู้ให้คุณแก่แผ่นดิน :b42:

:b39: เทพบุตร :b42:
:b39: size]

_________________
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 136 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร