วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถาพลสูตรที่ ๕

พลสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พึงเห็นปัญญาพละเป็นต้น เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะอวิชชา

ความเกียจคร้าน การกล่าวโทษ และความไม่เชื่อ. บทว่า อกุสล-
สงฺขาตา ได้แก่ รู้ว่าเป็นอกุศล. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า นาล-
มริยา ได้แก่ ธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นพระอริยา หรือ ไม่สมควร

แก่พระอริยะ. บทว่า โวทิฏฺฐา ได้แก่ ธรรมที่บุคคลเห็นแล้วด้วยดี.
บทว่า โวจริตา ได้แก่ ธรรมที่ปรากฏอยู่ในมโนทวาร. บทว่า อตฺถิกสฺส

ได้แก่ ผู้ต้องการด้วยการแสดงธรรม. บทว่า อาชีวิตภยํ ได้แก่

ภัยที่เป็นไปในชีวิต. บทว่า อสิโลกภยํ ได้แก่ ภัยแต่การติเตียน.

บทว่า ปริสสารชฺชภยํ ได้แก่ ภัยที่ถึงบริษัทแล้วเกิดการสะทกสะท้าน.

ในสูตรนี้ท่านกล่าวทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้.
จบ อรรถกถาพลสูตรที่ ๕


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย นวกนิบาต เล่ม ๔- หน้าที่ ๗๒๑

๕. พลสูตร
ว่าด้วยกำลัง ๔ กับภัย ๕


[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้ ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ กำลัง คือ ปัญญา ๑ กำลัง คือ ความเพียร ๑

กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ ๑ กำลัง คือ การสงเคราะห์ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นไฉน ธรรม

เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น

อกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ

นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดขาว

นับว่าขาว ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรม

เหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความ

เป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใด

สามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ

ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเห็นแจ้ง ประพฤติได้ด้วยปัญญา นี้

เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ความเพียรเป็นไฉน ธรรม

เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามี

โทษ ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่า

ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่า

ไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ บุคคลยังฉันทะให้เกิด พยายาม

ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมเหล่านั้น ธรรม

เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่

มีโทษ ธรรมเหล่าใดขาว นับว่าขาว ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่า

ควรเสพ ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าสามารถ

ทำความเป็นพระอริยะ บุคคลย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภ

ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อได้ธรรมเหล่านั้น นี้เรียก

ว่ากำลัง คือ ความเพียร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ เป็น

ไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม อันหาโทษมิได้ นี้เรียกว่ากำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน

สังควัตถุ ๔ ประการนี้ คือ ทาน ๑ เปยยวัชชะ ๑ อัตถจริยา ๑

สมานัตตตา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้ง

หลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ

นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้

ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ใน

ศีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวน

ผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการ
ประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน

พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ

กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ นี้เลิศกว่าความ

มีตนเสมอทั้งหลาย นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการ

นี้แล ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการ ภัย ๕ ประการเป็นไฉน คือ

อาชีวิตภัย ๑ อสิโลกภัย ๑ ปริสสารัชภัย ๑ มรณภัย ๑

ทุคติภัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นแล พิจารณาเห็น

ดังนี้ว่า เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต ไฉนเราจักกลัวต่อภัย

อันเนื่องด้วยชีวิตเล่า เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา

กำลังความเพียร กำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์

คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คนเกียจคร้าน

จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คือ กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเพราะ

การงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร

ก็กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ

เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทกสะท้อนในบริษัท... เราไม่กลัวต่อภัย

คือความตาย... เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ ไฉนเราจักกลัวต่อภัย

คือทุคติเล่า เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลัง

ความเพียร กำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่

มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คนเกียจคร้านแล จึงกลัวต่อ

ภัยคือทุคติ คือ กลัวต่อภัยคือทุคติเพราะการงานทางกาย ทางวาจา

และทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร ก็กลัวภัยคือทุคติ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล ย่อม

ก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้.

จบ พลสูตรที่ ๕
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พลสูตร (ว่าด้วยกำลัง ๔ ประการ และ ภัย ๕ ประการ)

ข้อความโดยสรุป

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพละ (กำลัง) ๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ คือ

๑. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) คือ มีปัญญาที่เข้าใจความจริง รู้ธรรมที่เป็นกุศล,

อกุศล, มีโทษ, ไม่มีโทษ เป็นต้น

๒. วิริยพละ (กำลังคือความเพียร) คือ มีฉันทะ ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้

เพื่อละสภาพธรรมที่เป็นอกุศล แล้วเจริญสภาพธรรมที่เป็นกุศล ไม่มีโทษ ควรเสพ

เป็นต้น

๓. อนวัชชพละ (กำลังคือการงานอันไม่มีโทษ) คือ ประกอบกรรมที่ไม่มีโทษ ทั้งทาง

กาย ทางวาจา และ ทางใจ

๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์) คือ สงเคราะห์ด้วยธรรมเครื่องสงเคราะห์ ๔

ประการ คือ ทาน (การให้) ,เปยยวัชชะ หรือ ปิยวาจา (กล่าววาจาเป็นที่รัก), อัตถจริยา

(ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์) สมานัตตตา (ความเป็นผู้มีตนเสมอ คือ เสมอด้วยธรรม

ฝ่ายดี)

ต่อจากนั้นทรงแสดงว่า อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการแล้ว ย่อมก้าวล่วง

ภัย ๕ ประการ คือ อาชีวิตภัย (ภัยอันเนื่องด้วยชีวิต), อสิโลกภัย (ภัยคือการติเตียน),

ปริสสารัชภัย (ภัยคือความเป็นผู้สะทกสะท้านเมื่อเข้าถึงบริษัท), มรณภัย (ภัยคือความ

ตาย) และ ทุคติภัย (ภัยคือทุคติ).

... สังคหวัตถุ ๔ ...


... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน
สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ ...
ทาน ๑
เปยยวัชชะ ๑
อัตถจริยา ๑
สมานัตตตา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย การแสดง

ธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการ

พูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก

สำหรับ เปยยาวัชชะ คือ การพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก ก็ย่อมทำ

ให้บุคคลที่ได้ฟังสบายใจ ...เพียงสบายใจ แต่ว่าถ้าเป็นธรรม คือ

การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่ผู้ที่ต้องการฟัง ผู้เงี่ยลงสดับ พระผู้มีพระ

ภาคตรัสว่า ..."นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก"


วันหนึ่งๆ ก็มีเรื่องที่จะคุยกันมากเหลือเกิน หลายเรื่อง แต่ว่า

เรื่องใดซึ่งเป็นการสงเคราะห์กันด้วยธรรม ...ย่อมมีประโยชน์ที่สุด

เพราะทำให้บุคคลนั้นเจริญปัญญา ไม่ใช่แต่เพียงทำให้สบายใจ

เพราะเป็นเพียงถ้อยคำอันเป็นที่รัก แต่ว่านอกจากจะเป็นถ้อยคำ

อันเป็นที่รักแล้ว ก็ยังเป็นถ้อยคำที่มีประโยชน์เกื้อกูลแก่การอบรม

เจริญปัญญายิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ...

" ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่

บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอัน

เป็นที่รัก "

เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ เวลาที่จะคุยกัน เรื่องที่จะสนทนากันก็

มีมาก รวมทั้งธรรมด้วย อย่าลืม (ว่า) ธรรมก็เป็นเรื่องที่จะสนทนา

กันได้เสมอ
;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;
ประการต่อไป พระผู้มีพระภาคตรัสถึง อัตถจริยา การประ-

พฤติที่เป็นประโยชน์ทั้งหลายว่า ...
การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา
ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา
ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา
ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา
นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย
เป็นสิ่งที่ดีทั้งนั้นเลย ที่จะชักชวนบุคคลอื่นซึ่งไม่มีศรัทธา

ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา หรือว่าใครซึ่งเป็นผู้ที่ทุศีล ถ้า

สามารถที่จะชักชวนให้ผู้นั้นดำรงตั้งมั่นอยู่ในศีลสัมปทา ชักชวน

คนที่ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา หรือว่า ชักชวนให้

คนที่มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา ก็จะเป็น

การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ยิ่งกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้ง

หลาย

;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;

สำหรับ สมานัตตัตตา คือการเป็นผู้มีตนเสมอ พระผู้มีพระ

ภาคตรัสว่า ...
พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน
พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี
พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี
พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์
นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสง-

เคราะห์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ
ไม่ใช่สงเคราะห์แต่เฉพาะในเรื่องทานอย่างเดียวนะคะ ต้องคำ

พูดที่มีประโยชน์ ซึ่งเลิศกว่าถ้อยคำอันเป็นที่รัก แล้วก็การประ-

พฤติที่เป็นประโยชน์ ที่เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย

แล้ว ก็ต้องเป็น การมีตนเสมอ คือ ประพฤติธรรมจนกระทั่งมี

คุณธรรมเสมอกับพระโสดาบัน แล้วก็ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือให้

บรรลุถึงคุณธรรมที่เสมอกับพระสกทาคามี แล้วก็ให้ยิ่งขึ้นไปอีก

คือให้มีคุณธรรมบรรลุถึงความเสมอกับพระอนาคามี แล้วก็ให้มี

คุณธรรมยิ่งขึ้นจนกระทั่งบรรลุถึงความเป็นผู้เสมอกับพระอรหันต์

;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;

ถ้ามีบุคคลซึ่งกระทำความดี ท่านผู้ฟังเห็น อนุโมทนา ยินดี

ด้วยจริงๆ ค่ะ ที่บุคคลนั้น สามารถที่จะกระทำความดีได้ถึงอย่าง

นั้น ก็ยังไม่พอ ...ต้องสำหรับตัวท่านเองด้วยที่จะเป็นผู้ที่ประพฤติ

ปฏิบัติธรรม จนเป็นผู้ที่มีคุณธรรมเสมอกับพระอริยเจ้า
ความเป็นผู้มีตนเสมอ ควรเสมอในคุณธรรม ตามลำดับยิ่ง

ขึ้น ...หรือว่าบางท่านจะคิดว่ามีตนเสมอกับผู้ที่มีอกุศลจิต ไม่ควร

ใช่ไหมคะ ถ้าใครมีอกุศลแรงเท่าไร แรงขึ้นๆ เท่าไร ก็ไม่ควรที่คน

หนึ่งคนใด จะคิดที่จะทำอกุศลให้แรงหรือให้มากเท่ากับบุคคลอื่น

แต่โดยมากท่านผู้ฟังลืมที่จะประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะให้เป็น

ผู้มีคุณธรรมเสมอกับผู้ที่มีความประพฤติดี ...อาจจะเห็นว่าคนอื่น

ทำไมร้ายได้ ตัวท่านก็ควรจะต้องร้ายเสมอกับผู้นั้น ถูกไหมคะ

อย่างนี้ เป็นผู้เสมอในทางอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่ควรที่จะ

ประพฤติปฏิบัติธรรม จนกระทั่งมีคุณธรรม เสมอกับผู้ที่เป็นพระ

อริยเจ้า ตามลำดับขั้น
... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ...

[๒๘๕] ๓๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่สรรเสริญความปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ ...
คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว
ย่อมไม่ยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จได้
เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ
..................................................................................................
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราสรรเสริญความปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ ...
คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว
ย่อมยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จได้
เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุ.

จบสูตรที่ ๙
แล้วก็การประ-

พฤติที่เป็นประโยชน์ ที่เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย

แล้ว ก็ต้องเป็น การมีตนเสมอ คือ ประพฤติธรรมจนกระทั่งมี

คุณธรรมเสมอกับพระโสดาบัน แล้วก็ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือให้

บรรลุถึงคุณธรรมที่เสมอกับพระสกทาคามี แล้วก็ให้ยิ่งขึ้นไปอีก

คือให้มีคุณธรรมบรรลุถึงความเสมอกับพระอนาคามี แล้วก็ให้มี

คุณธรรมยิ่งขึ้นจนกระทั่งบรรลุถึงความเป็นผู้เสมอกับพระอรหันต์

ความเพียร โดยทั่วไปหมายถึง ความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน ไม่ท้อถอยใน

กิจการงาน แต่ทางธรรม คือ ความเพียรชอบ เพียรเจริญกุศล เพียรศึกษาพระธรรม

เพียรศึกษาสภาพธรรม เพียรละอกุศลด้วยความเพียรในสัมมัปปธาน ๔ ซึ่งทั้งหมด

เป็นกิจของวิริยเจตสิกที่เป็นสัมมาวายามะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 39

๓. ปธานสูตร ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ นี้

สัมมัปปธาน ๔ คืออะไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ

ยังอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

๒. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ

ละอกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว

๓. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ

ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ

ให้กุศลธรรมที่เกิดแล้วคงอยู่ไม่เลือนหายไป ให้ภิยโยภาพไพบูลเจริญเต็มที่

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สัมมัปปธาน ๔.

ภิกษุเหล่านั้นมีความเพียรชอบย่อม

ครอบงำเสียได้ซึ่งแดนมาร ภิกษุเหล่านั้น

เป็นผู้อันกิเลสไม่อาศัย แล้วพ้นภัย คือ เกิด

ตายแล้ว ถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน) ภิกษุ

เหล่านั้นสบายใจ ชนะมารกับทั้งพล-

พาหนะมารแล้ว ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่

หวั่นไหว ล่วงเสียซึ่งมารและพลมาร

ทั้งปวง ถึงซึ่งความสุข.

จบปธานสูตรที่ ๓

ตามหลักพระธรรมมีอยู่ว่า การที่จะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมอยู่ที่เจตนา

แม้ว่าดูภายนอกมีการกระทำหรือคำพูดเหมือนกัน แต่เจตนาต่างกันได้ ดังนั้น

การเขียนบทความซึ่งเป็นข้อความที่ดีมีประโยชน์เผลแพร่ให้สาธารณะได้ทราบ

บางครั้งอาจจะไปกระทบกับบทความของผู้อื่นก็ย่อมเป็นไปได้ แต่เราไม่มีเจตนา

ที่จะให้ผู้อื่นเกลียดชังเขา แต่มุ่งให้ความรู้ที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เป็น

การส่อเสียด ส่วนผลของการส่อเสียดโดยตรงทำให้เกิดในอบายภูมิ เศษกรรม

เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ย่อมจะแตกจากมิตร คือคบเพื่อนแล้วจะไม่นานก็แตกกัน
ความคิดไม่ดีถ้าเพียงอยู่ในใจ ไม่ล่วงออกมาทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมไม่ผล เป็นแต่

สะสมทำให้คิดแบบนั้นอีก ซึ่งจะต่างจากอกุศลกรรมที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ส่วนการจะ

พัฒนาความคิดที่ไม่ดีให้น้อยลงก็ต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญาให้มากขึ้นจึงจะช่วย

บรรเทา อกุศลจิตให้ลดลง และจะดับได้โดยไม่เกิดขึ้นอีกเลยด้วยปัญญาขั้นอรหันต

มรรค

สำหรับเรื่องของท่านพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่ได้ฆ่าตัวตายที่เมืองเวสาลี ถ้าพิจารณาโดย

ปรมัตถธรรม จะต้องมีวิถีจิตเกิดก่อนจุติจิต เพราะเหตุว่าความตายจะมีถึงในขณะไหน

ไม่มีนิมิตล่วงหน้าเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ก็ไม่ทราบได้ว่า ก่อนที่จุติจิตจะเกิด จะเป็นวิถี

จิตทางตาที่เห็น หรือว่าเป็นวิถีจิตทางหูที่ได้ยินเสียง หรือว่าเป็นวิถีจิตทางจมูกที่ได้

กลิ่น เป็นวิถีจิตทางลิ้นที่ลิ้มรส เป็นวิถีจิตทางกายที่กระทบสัมผัส หรือเป็นวิถีจิตทางใจ

ที่คิดนึกเรื่องราวต่างๆ

เมื่อวิถีจิตดับหมดแล้ว เป็นภวังคจิต หรือเป็นตทาลัมพนจิต หรือว่าแม้จะไม่มีตทาลัม-

พนจิต ไม่มีภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดแล้ว จุติจิตก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สิ้นสุดความ

เป็นบุคคลนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาโดยสภาพความเป็นปรมัตถธรรม ไม่ว่าจะตายโดยวิธีไหนทั้ง

สิ้น คือ เห็น แล้วจุติจิตก็เกิดต่อจากวิถีจิต หรือว่าทางกายซึ่งกำลังกระทบสัมผัสสิ่งซึ่ง

ไม่น่าพอใจ ทำให้เกิดทุกขเวทนา ความปวดเจ็บมากมายต่างๆ ความป่วยไข้ ก็คือวิถีจิต

ทางกาย ดับหมดแล้ว จุติจิตก็เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาโดยสภาพของปรมัตถธรรมแล้ว ก็ไม่ต่างกับขณะหนึ่งขณะใด

กับขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะเหตุว่าขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็มีการรับผลของอกุศลกรรมทาง

กาย เช่น การป่วยไข้ หรือว่าความเจ็บปวด เมื่อมีกายแล้ว ก็จะต้องมีทุกขเวทนา ปวด

ตา ปวดหู ปวดจมูก ปวดอวัยวะส่วนต่างๆ มีการเจ็บไข้ โรคภัยต่างๆ ชนิด ซึ่งในขณะที่

ยังไม่ตาย ก็เป็นอกุศลวิบาก เป็นผลของอดีตกรรมที่ได้กระทำแล้ว แต่เมื่อจะจุติ คือ จะ

สิ้นชีวิต บางท่านอาจจะมีทุกขเวทนาทางกายมาก ก็เหมือนกันกับก่อนที่จะตาย ไม่มี

อะไรที่ต่างกันเลย จะตายหรือไม่ตาย อกุศลวิบากทางกายก็เกิด เพราะฉะนั้น ถ้าจะตาย

โดยที่มีอกุศลวิบากทางกายปวดเจ็บทรมาน เจ็บไข้ได้ป่วย ก็เหมือนกับขณะที่ยังมีชีวิต

อยู่ เพียงแต่ว่าจุติจิตเกิดต่อจากนั้น แล้วก็เปลี่ยนสภาพความเป็นบุคคลนั้น เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นการตายโดยอาการอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ เจ็บ

ไข้ได้ป่วย หรือว่าจะเป็นการเห็น การได้ยินสิ่งที่ไม่น่าพอใจ การได้กลิ่นที่ไม่น่าพอใจ

การลิ้มรสที่ไม่น่าพอใจ การกระทบสัมผัสที่ไม่น่าพอใจ ก็เหมือนกับขณะที่ยังไม่ตายนั่น

เอง เพียงแต่ว่าจุติจิตยังไม่ได้เกิดขึ้น ยังไม่ได้ทำกิจทำให้สูญสิ้นสภาพของความเป็น

บุคคลนี้

เพราะฉะนั้น ทุกคนก็ควรที่จะคิดว่า พร้อมหรือยังเท่านั้นเอง ใช่ไหมคะ ผู้ที่ไม่ประมาท

ก็ย่อมจะเพียงแต่คิดว่า ความตายไม่ใช่เรื่องเล่นค่ะ ความตายเป็นเรื่องจริง ต้องเกิดแน่

นอน และก็จะเกิดหลังจากที่วิถีจิตดับไปแล้ว ทุกขณะได้หมด และก่อนจะจุติ บางคนก็

อาจจะมีโลภะมาก บางคนก็อาจจะมีโทสะมาก บางคนก็อาจจะมีกุศลมาก ก็เหมือนกับ

ก่อนจะตายเหมือนกัน คือ ก่อนจะตายคนที่โกรธจัดๆ ก็มีเหตุปัจจัยที่จะให้โกรธจัด

โกรธรุนแรงเมื่อยังไม่ตาย และถ้าจะตาย ถ้าจะมีเหตุปัจจัยที่จะให้โทมนัสเกิดอย่าง

รุนแรง ก็ห้ามไม่ได้ เพราะเหมือนกับก่อนจะตาย ที่ยังไม่ตาย ก็ยังมีโทสะได้แรงกล้าถึง

อย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าจุติจิตเกิดต่อจากนั้น ก็ย่อมเป็นไปได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องปกติ

ธรรมดาจริงๆ สำหรับผู้ที่พิจารณาลักษณะของปรมัตถธรรม แล้วก็รู้ว่า ความตาย คือ จุติ

จิต ซึ่งเกิดขึ้นขณะเดียว หลังจากที่วิถีจิตทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางนี้ดับ ส่วนการที่จะ

เกิดโลภะก่อนจุติ หรือจะเกิดโทสะก่อนจุติ หรือจะเกิดกุศลจิตก่อนจุติ ก็เหมือนกับชีวิต

ประจำวันนั่นเอง

ถ้าเป็นโดยลักษณะนี้ ทุกท่านก็น่าจะพิจารณาว่า เมื่อจะต้องตายโดยอาการอย่างไรๆ

ก็แล้วแต่ จะโดยอุบัติเหตุ หรือโดยเจ็บไข้ได้ป่วยก็ตาม พร้อมหรือยังที่จะตาย ถ้าเป็นผู้

ที่พร้อม ก็คือเป็นผู้ที่รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม แล้วก็ไม่หวั่นไหว เพราะเหตุว่าก็เหมือน

ทุกๆ วัน เพียงแต่ว่าสิ้นสุดสภาพของความเป็นบุคคลนี้ แล้วกรรมหนึ่งก็ทำให้ปฏิสนธิ

เกิดสืบต่อ ไม่จบสิ้น ถ้ายังไม่ได้ดับกิเลสถึงความเป็นพระอรหันต์
เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ทราบว่า ความตายจะมาถึงโดยลักษณะใด ควรที่จะเป็นผู้พร้อม

คือ เจริญเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความตายในลักษณะใดก็ตาม ปัญญาสามารถที่จะรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แม้

ว่ายังไม่ถึงการบรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์ แต่กุศลจิตที่เป็นญานสัมปยุตต์ที่เกิดก่อน

จุติ ก็จะเป็นชนกกรรมที่จะทำให้ญาณสัมปยุตต์ปฏิสนธิได้ ซึ่งก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้

ได้ และทุกคนหวังที่จะเป็นอย่างนั้น แต่ที่จะเป็นได้เหมือนอย่างท่านพระโคธิกะ หรือแม้

แต่สติจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมก่อนที่จะจุติได้ ก็ต้องเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติ

ปัฏฐาน นั่นคือผู้ที่พร้อมที่จะตาย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 125 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร