วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 07:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมปฏิบัติเป็นพุทธบุชาด้วยเศียรเกล้าขอ
ขอธิฐานกุศลนี้ส่งผลถวายพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเครพ

m05.gif
m05.gif [ 16.93 KiB | เปิดดู 1172 ครั้ง ]
m05.gif
m05.gif [ 16.93 KiB | เปิดดู 1170 ครั้ง ]
:b8: ผู้มีปัญญา ย่อมเล็งเห็นกามคุณเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นโรค
ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกามคุณอันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่หลวงได้ :b8:

:b1: จุดประสงค์ของชีวิต ก็เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระองค์ยังสร้างบารมีเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่ จะเกิดกี่ภพกี่ชาติ ก็ทำแต่ความดี จนกระทั่งหมดอายุขัย และตลอดระยะเวลานั้น ท่านไม่เคยละเลยต่อการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง ทรงกระทำอย่างนี้ทุกชาติ จนบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นบรมครูของเรา สั่งสอนสัตวโลกให้เข้าถึงธรรมตามพระพุทธองค์ไปด้วย ดังนั้น เราควรหมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งกัน :b43:

:b42: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยเป็นสรภังคโพธิสัตว์ ได้กล่าวธรรมภาษิตไว้ว่า "ผู้มีปัญญา ย่อมเล็งเห็นกามคุณเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นโรค ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกามคุณอันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่หลวงได้" :b46:

:b44: ปัจจุบันนี้ กระแสสังคมโลกกำลังเปลี่ยนไป โลกเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน โลกใบนี้จึงดูเหมือนว่าจะเล็กลงไปถนัดตา ซึ่งคนส่วนมากจะพัฒนาแต่เฉพาะภายนอก โดยลืมนึกถึงการพัฒนาจิตใจ ทำให้เกิดการแข่งขัน ต่อสู้กันด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่มาบำรุงบำเรอตามความปรารถนา ซึ่งไม่พ้นไปจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เรียกว่า เบญจกามคุณ แสวงหาในเรื่องที่ทำให้ใจเหินห่างจากศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นต้นแหล่งแห่งความสุขที่แท้จริง ยิ่งแสวงหาเท่าไร ก็จะยิ่งห่างไกลจากความสุขมากขึ้นเท่านั้น :b50:

:b53: ผู้ที่มัวแต่แสวงหาความสุขจากภายนอก จะไม่มีวันรู้ซึ้งถึงความสุขที่แท้จริงเลยว่าเป็นอย่างไร เพราะผู้ปรารถนากามคุณ จะมีความพร่องอยู่เป็นนิตย์ แม้จะถมเท่าไรก็ไม่มีวันเต็ม เหมือนทะเลที่ไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ หากเมื่อใดที่มนุษย์เปลี่ยนวิธีการแสวงหาความสุขจากภายนอก มาแสวงหาความสุขภายใน ที่เกิดจากใจหยุดนิ่งกัน ความรู้สึกพอดีก็จะบังเกิดขึ้น อยากแบ่งปันความสุขให้แก่ผู้อื่น เป็นความรู้สึกที่ออกมาจากใจอันบริสุทธิ์ ซึ่งความรู้สึกนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงโลก ให้บังเกิดสันติสุขที่แท้จริง :b54:

:b45: โดยเฉพาะ ภาวนามยปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง ทำให้รู้เห็นไปตามความเป็นจริง เล็งเห็นทุกข์ และโทษของเบญจกามคุณ ไม่หลงใหลเพลิดเพลิน กับสิ่งไร้สาระเหล่านั้น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายความกำหนัด ใจจะยินดีในพระนิพพาน มุ่งแสวงหาธรรมรส ซึ่งเป็นความสุขล้วนๆ ไม่มีทุกข์เจือปนเลย :b51:

:b54: *เหมือนในสมัยอดีต พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดเป็นพระกุมารในกรุงราชคฤห์ ทรงพระนามว่า พรหมทัต พระองค์ทรงมีสหายสนิทอยู่คนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกของมหาอำมาตย์ ชื่อ ทรีมุข ทั้งสองได้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกสิลา เมื่อเรียนจบได้อำลาอาจารย์เพื่อไปหาประสบการณ์ตามสถานที่ต่างๆ จนเสด็จไปถึงเมืองพาราณสี :b29:

:b39: พรหมทัตกุมารทรงพักผ่อนอยู่บนแผ่นมงคลศิลา ในพระราชอุทยานจนผล็อยหลับไป เผอิญวันนั้น พระเจ้ากรุงพาราณสีสวรรคตครบ ๗วันพอดี พระองค์ไม่มีรัชทายาทสืบทอดราชสมบัติ ปุโรหิตพร้อมกับเหล่าอำมาตย์จึงได้เสี่ยงบุษยราชรถ คือ ปล่อยราชรถที่เทียมด้วยม้าสีขาวออกจากพระนคร เพื่อแสวงหาผู้มีบุญมาปกครองแผ่นดิน :b19:

:b1: ทรีมุขได้ยินเสียงดุริยางค์ที่ติดตามขบวนบุษยราชรถกำลังวิ่งมา ก็รู้ทันทีว่า "วันนี้พระสหายของเราจะได้ครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินในเมืองนี้ และเราจะต้องเป็นเสนาบดี แต่เราไม่ปรารถนายศถาบรรดาศักดิ์เลย ชีวิตนักบวชเท่านั้น เป็นชีวิตที่สงบและประเสริฐที่สุด" :b8:

:b8: แล้วทรีมุขก็รีบไปยืนหลบอยู่ในที่กำบัง รถม้าแล่นไปหยุดอยู่ที่ประตูพระราชอุทยาน ปุโรหิตเห็นพระโพธิสัตว์บรรทมหลับอยู่บนแผ่นศิลามงคล จึงไปตรวจดูลักษณะที่ฝ่าพระบาท ก็ทราบว่าท่านผู้นี้เป็นคนมีบุญ จึงให้ประโคมดุริยางค์ขึ้นพร้อมกัน :b19:

:b35: เมื่อพระราชกุมารได้สดับเสียงดุริยางค์ตื่นจากบรรทมแล้ว ปุโรหิตจึงได้ทูลอัญเชิญให้พระองค์เป็นพระราชาองค์ต่อไป พระราชกุมารมัวเพลิดเพลินอยู่กับความเป็นใหญ่ที่ได้รับ จึงลืมนึกถึงทรีมุขผู้เป็นพระสหาย ได้เสด็จขึ้นราชรถ มีบริวารห้อมล้อมมากมายเข้าไปสู่พระนคร :b42:

:b53: เมื่อทรีมุขเห็นว่าไม่มีใครอยู่บริเวณนั้นแล้ว ก็ออกมานั่งบนแผ่นศิลามงคลนั้น ท่านได้เห็นใบไม้เหลืองร่วงหล่นลงมาตรงหน้าพอดี จึงพิจารณาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมไปของสังขาร เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในสรรพสิ่ง ใจก็หยุดนิ่งไปตามลำดับ ปล่อยวางความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณในขณะนั้นนั่นเอง จากนั้นท่านไปบำเพ็ญสมณธรรมที่ภูเขานันทมูลกะในป่าหิมพานต์ :b46:

:b42: ฝ่ายพระโพธิสัตว์เมื่อได้รับอภิเษกเป็นพระราชาแล้ว ทรงรับสั่งหาทรีมุขกุมาร ทรงให้ราชบุรุษเที่ยวสืบข่าว เสาะแสวงหาตามเมืองต่างๆ แต่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะพบเลย จนเวลาได้ล่วงเลยไปถึง ๕๐ปี พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าก็ระลึกถึงพระสหาย ตั้งใจว่าจะไปแสดงธรรมเพื่อให้พระราชาออกผนวช จึงเหาะมาทางอากาศลงที่พระราชอุทยาน และให้เด็กน้อยคนหนึ่งไปกราบทูลพระราชา :b32:

:b8: เมื่อพระราชาเสด็จมาถึง พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ถวายพระพรว่า "ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระองค์ทรงพระชราภาพแล้ว บัดนี้ได้เวลาอันสมควรที่พระองค์จะละกามคุณ เพื่อเสด็จออกผนวชแล้ว" :b16:

:b1: พระราชาเมื่อได้สดับดังนั้น ยังทรงรับไม่ได้ จึงปฏิเสธว่า "ข้าพเจ้ายังกำหนัดยินดี มีความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสอยู่ คงออกบวชไม่ได้ แต่จะขอทำบุญกุศลให้เต็มที่" :b3:

:b8: ด้วยจิตที่จะอนุเคราะห์พระราชา พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงถวายพระพรว่า "ธรรมดานักโทษย่อมไม่ยินดีในเรือนจำ มีแต่ดิ้นรนแสวงหาหนทางออกจากเรือนจำนั้นอย่างเดียว ขอพระองค์จงเป็นเช่นนั้นเถิด จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือนจำเถิด โลกนี้ถูกความมืด คือ อวิชชา ห่อหุ้มไว้ ตราบใดที่สัตวโลกยังไม่ได้รับแสงสว่างจากพระสัทธรรม เปรียบเสมือนตกอยู่ในคุกมืด ขอพระองค์จงมุ่งสู่อภิสัมมาสัมโพธิญาณเถิด เพราะหากจะเอากองกระดูกของผู้ที่เกิดแล้วเกิดอีก มากองรวมกัน ภูเขาแม้สูงตระหง่านก็ดูเหมือนว่าจะเตี้ยเกินไป เมื่อเทียบกับกองกระดูกนั้น การเกิดบ่อยๆย่อมเป็นทุกข์ร่ำไป" :b42:

:b39: เมื่อแสดงธรรมให้พระราชาได้คิดแล้ว ท่านก็กลับไปยังภูเขานันทมูลกะตามเดิม พระราชาเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาอันประเสริฐเช่นนั้นแล้ว ทรงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ทรงสละราชสมบัติทั้งหมดให้พระราชโอรส แล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าป่าหิมพานต์ ผนวชเป็นฤๅษี บำเพ็ญเพียรจนได้สำเร็จอภิญญาสมาบัติ ท่านมุ่งปรารภความเพียร เจริญเมตตาจิตอยู่เป็นประจำ เมื่อละโลกไปแล้วก็ไปสู่พรหมโลก :b40:

:b44: จากเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ มิใช่การได้ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีทรัพย์สมบัติมากมาย ผู้รู้ทั้งหลายจึงแสวงหาสิ่งที่เหนือกว่าความสุขจากเบญจกามคุณ เพราะท่านรู้ว่าสมบัติเหล่านี้ไม่ยั่งยืน ไม่ใช่เป็นของเราตลอดไป เป็นเพียงทางผ่านในการสร้างบารมีเท่านั้น ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุธรรมอันประเสริฐ ก็ไม่ควรประมาทในชีวิต ชีวิตของเราจะปลอดภัยเมื่อได้เข้าถึงที่พึ่งที่แท้จริงเท่านั้น ให้มองดูชีวิตว่าเปรียบประดุจผลไม้สุกที่นับวันจะร่วงหล่นไปทุกขณะ มัจจุราชนับวันจะคืบคลานเข้ามาหา ถึงหมองูจะเยียวยาผู้ที่ถูกอสรพิษกัดให้หายได้ แต่จะถอนพิษให้ผู้ที่ถูกมัจจุราชประทุษร้ายแล้วไม่ได้เลย :b43:

:b39: การนำใจกลับเข้ามาอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่๗ ให้หยุดนิ่งจนเป็นปกติ จะทำให้เราได้เข้าถึงจุดที่ปลอดภัยที่สุดที่พญามัจจุราชเข้าไปไม่ถึง ยิ่งสามารถชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์มากเพียงใด ก็ยิ่งห่างไกลจากความทุกข์ ความสุขและความบริสุทธิ์ก็เพิ่มพูนทับทวีมากยิ่งขึ้น เมื่อไรที่สามารถทำใจให้หยุดนิ่ง เข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมอรหัต ก็ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีกต่อไป ได้ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วจากหัตถาพญามัจจุราช :b37:

:b42: เพราะฉะนั้น ให้ทุกๆท่านหมั่นฝึกทำใจให้หยุดนิ่ง ควบคู่กับภารกิจประจำวันที่เราทำอยู่ แล้วชีวิตนี้จะทรงคุณค่าและมีความหมาย เพราะได้เข้าถึงความสุขอันเกิดจากการประพฤติธรรมและเข้าถึงธรรมกัน :b8:

:b8: เทพบุตร :b42:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ........

รู้เห็นแจ้งสัจจะสี่ประการ
พระนิพพานเห็นกระจ่างสว่างใจ

แต่สำหรับคนที่มีปัญญาพระพุทธเจ้าตรัสว่า
นรกทุกชั้นทุกชนิด สวรรค์ทุกชั้นทุกชนิด มันก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อใดเราทำได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เย็นสนิท ไม่มีร้อนเลย เมื่อนั้นเป็นนิพพาน :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร