วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 11:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้พระผู้มีพระภาคจะได้ทรงแสดงลักษณะของจิตในความหมายของคำว่า
“ปัณฑระ” แล้ว เพื่อให้เข้าใจลักษณะของ จิตยิ่งขึ้น จึงทรงแสดงในความหมาย

ของคำว่า “มนายตนะ”

ที่ (จิต) ชื่อว่า “มนายตนะ” อธิบายในคำว่ามนายตนะนั้น มนะ พึงทราบ

ว่า อายตนะ เพราะความหมายว่า เป็นที่อยู่อาศัย เป็นบ่อเกิด เป็นที่ประชุม

และเป็นเหตุ จริงดังนั้น แม้ผัสสะ เป็นต้น ย่อมเกิดในมนะนี้ รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะภายนอกย่อมประชุมที่มนะโดยความเป็นอารมณ์ แม้เพราะความหมาย

ว่าเป็นเหตุเพราะเป็นเหตุแห่งผัสสะ เป็นต้น โดยอรรถว่าเป็นสหชาตปัจจัย
จิตทุกขณะเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ แต่ที่จะเข้าใจลักษณะ

ซึ่งเป็นอนัตตาของจิตได้ยิ่งขึ้น ก็โดยรู้ว่าจิตเป็นมนายตนะ เพราะเป็นที่อยู่

อาศัย เป็นบ่อเกิด เป็นที่ประชุมและเป็นเหตุ ถึงรูปจะมีก็จริง ถึงเสียงจะเกิดขึ้น

ก็จริง ถึงกลิ่นจะมีปัจจัยเกิดขึ้นก็จริง ถึงรสต่างๆ จะมีก็จริง ถึงเย็นหรือร้อนอ่อน

หรือแข็งต่าง ๆ จะมีก็จริง แต่ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้ ถ้าไม่เป็นที่ประชุมของธรรมเหล่า

นั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏไม่ได้ เสียงก็ปรากฏไม่ได้ กลิ่นก็ปรากฏไม่ได้

รสต่างๆ ก็ปรากฏไม่ได้ เย็น ร้อน อ่อน แข็งก็ปรากฏไม่ได้ แต่เพราะว่าจิตเป็น

สภาพรู้ จึงเป็นที่อาศัย เป็นที่ประชุม เป็นเหตุที่จะให้สภาพธรรมปรากฏ สีสัน

วัณณะข้างหลังไม่ปรากฏ เพราะไม่ได้ประชุม คือ ไม่กระทบกับจักขุปสาท ไม่

กระทบกับจิต จิตจึงไม่เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหลัง แม้ว่ากรรมเป็นปัจจัยทำ

ให้จักขุปสาทเกิดขึ้นและดับไปๆ สืบต่ออยู่เรื่อยๆ ตราบใดที่ยังไม่ตาบอด แต่

จิตที่เห็นก็ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น ขณะใดที่สีสันวัณณะปรากฏ ขณะนั้น

จิตเป็นมนายตนะ เป็นที่ประชุมของรูปที่กระทบกับจักขุปสาท ขณะนั้นรูปที่

กระทบจักขุปสาทก็เป็นรูปายตนะ จักขุปสาทที่กระทบรูปก็เป็นจักขายตนะ

สภาพธรรมใด ที่ประชุมรวมกันในขณะนั้น เป็นอายตนะแต่ละอายตนะทั้งสิ้น

เสียงต้องกระทบกับโสตปสาทและกระทบกับจิต จิตจึงเกิดขึ้นรู้เสียงที่ปรากฏ

ได้
ฉะนั้น จิตจึงเป็นมนายตนะ เป็นที่ประชุมของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นพระอริยบุคคลมี ๔ ขั้น ผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

ประจักษ์แจ้งสภาพพระนิพพานครั้งแรก เป็นพระโสดาบันบุคคล ดับความเห็น

ผิด และความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย เมื่อพระโสดาบันบุคคล

เจริญปัญญาขึ้น รู้แจ้งอริยสัจจธรรมประจักษ์แจ้งนิพพานอีกครั้งหนึ่ง ดับความ

พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อย่างหยาบ เป็นพระสกทาคามีบุคคล

เมื่อพระสกทาคามีบุคคลเจริญปัญญาขึ้น รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ประจักษ์แจ้ง

นิพพานอีกครั้งหนึ่ง ดับความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงดับ

โทสะเป็นพระอนาคามีบุคคล เมื่อพระอนาคามีบุคคลเจริญปัญญาขึ้น รู้แจ้ง

อริยสัจจธรรมประจักษ์แจ้งนิพพานอีกครั้งหนึ่ง ดับอกุศลธรรมที่เหลืออยู่ทั้งหมด

เป็นพระอรหันต์ เมื่อพระอรหันต์ดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่เกิดอีกต่อไป


เมื่อเข้าใจแล้วว่า โลกุตตรปัญญาของพระอริยบุคคลแต่ละขั้นดับ

กิเลสแต่ละขั้นอย่างไร ก็จะต้องศึกษาให้เข้าใจหนทางปฏิบัติ ที่จะอบรมเจริญ

ปัญญาให้รู้แจ้งสภาพธรรมที่ปรากฏและดับกิเลสได้จริงๆ ตามที่พระผู้มีพระภาค

ได้ทรงแสดงไว้

ไม่มีใครชอบขณะที่จิตขุ่นเคือง กระวนกระวาย กระสับกระส่าย โศกเศร้า

เดือดร้อน แต่ชอบขณะที่เป็นสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ขณะที่สนุกสนาน

รื่นเริงเพลิดเพลินนั้น จิตก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะเกิดร่วมกับโลภเจตสิก ซึ่งเป็น

สภาพธรรมที่ติดข้อง ปรารถนา พอใจ เพลิดเพลินในอารมณ์ การศึกษาพระ

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น เพื่อให้สติปัฏฐาน(คือสติที่)ระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่ปรากฏและอบรมเจริญปัญญาโดยศึกษา คือ พิจารณาสังเกต

จนรู้ชัดสภาพธรรมนั้น ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า สภาพธรรมใดเป็นกุศล

สภาพธรรมใดเป็นอกุศล และสภาพธรรมใดไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ว่าอกุศล

ธรรมใดๆ ขั้นหยาบ หรือละเอียด ก็เป็นอกุศลธรรมทั้งสิ้น ไม่ใช่เป็นอกุศลธรรม

เฉพาะขณะที่โทสะเกิดเท่านั้น


บางท่านถามว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่โกรธ ?
สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา โทสะก็เป็นอนัตตา โทสะเกิดขึ้นเพราะ

เหตุเป็นปัจจัย ผู้ที่ดับความโกรธได้เป็นสมุจเฉท โทสเจตสิกไม่เกิดอีกเลย

นั้น เป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญาจนรู้แจ้งอริยสัจจธรรม๑ ถึงความเป็นพระ

อริยบุคคลขั้นพระอนาคามีบุคคล

ที่ (จิต) ชื่อว่า “ปัณฑระ” เพราะความหมายว่า บริสุทธิ์
คำนี้ ตรัสหมายเอา ภวังคจิต จิตเป็นสภาพที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทันที

การดับไปของจิตดวง(ขณะ)ก่อนเป็นปัจจัยให้ จิตดวง(ขณะ)ต่อไปเกิดขึ้น จิต

เห็นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป จึงไม่มีจิตที่เห็นอยู่ตลอดเวลา และไม่มีจิตที่ได้ยินอยู่

ตลอดเวลา ไม่มีจิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายอยู่ตลอดเวลา และไม่มีจิตที่คิดนึก

อยู่ตลอดเวลา ในขณะที่นอนหลับสนิทไม่ฝัน จิตก็เกิดดับรู้อารมณ์สืบต่อกัน

อยู่เรื่อยๆ แต่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตใดที่ไม่รู้อารมณ์ทาง

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตนั้นเป็นภวังคจิต คือ ดำรงรักษาภพชาติที่เป็นบุคคล

นั้นสืบต่อไว้จน กว่าจิตอื่นจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก

หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ สลับกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นสุดการ

เป็นบุคคลนั้น

ฉะนั้น ที่จิตชื่อว่า “ปัณฑระ” เพราะความหมายว่า “บริสุทธิ์” นั้น ตรัส

หมายเอาภวังคจิต ซึ่งบริสุทธิ์เพียงชั่วขณะที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

ใจเท่านั้น ขณะที่หลับสนิททุกคน ดูเหมือนบริสุทธิ์ ไม่รู้สึกชอบ ไม่รู้สึกชัง ไม่

ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่สำคัญตน ไม่เมตตา ไม่กรุณา พราะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้สิ่ง

ที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึกใดๆ ทั้งสิ้น แต่ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา หู

จมูก ลิ้น กาย ใจ จะรู้ได้ว่า จิตไม่บริสุทธิ์ เพราะสะสมกิเลสต่างๆ ไว้มาก จึง

ทำให้เกิดความยินดีพอใจเมื่อเห็นสิ่งที่น่าพอใจ และรู้สึกขุ่นเคือง ไม่แช่มชื่น

เมื่อเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทาง

ลิ้น ทางกาย ทางใจนั้น รู้สึกอย่างไร ความรู้สึกเฉยๆ ดีใจ เสียใจนั้น ไม่ใช่จิต

เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติเรียกว่า เวทนาเจตสิก

จิตเป็นนามธรรมที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้อารมณ์ แต่จิตไม่ใช่เวทนา

เจตสิกซึ่งรู้สึกเฉยๆ หรือดีใจ หรือเสียใจในอารมณ์ที่กำลังปรากฏ สภาพธรรม

ทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดตามลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยสภาพธรรมอื่นเป็น

ปัจจัยเกิดขึ้นพร้อมกัน จิตต้องเกิดร่วมกับเจตสิก เจตสิกต้องเกิดร่วมกับจิต จิต

และเจตสิกที่เกิดร่วมกันนั้นดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน และเกิดดับที่เดียว

กัน จิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นมีเจตสิกเป็นปัจจัยเกิดร่วมด้วยต่างๆ กัน และกระทำ

กิจต่าง ๆ กัน ฉะนั้น จิตจึงต่างกันเป็นหลายประเภท

(จิต) ชื่อว่า “หทย” เพราะความหมายว่า เป็นสภาวะอยู่ภายใน



จิตเป็นภายใน เพราะเป็นสภาพรู้อารมณ์ที่ปรากฏอารมณ์เป็นภายนอก เพราะ

เป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้ ฉะนั้น การศึกษาเรื่องจิตจึงเป็นการพิจารณาสภาพธรรมที่

กำลังปรากฏในขณะนี้ทั้งภายในและภายนอกจึงจะรู้ลักษณะของจิตได้ จิตมีจริง

แต่จิตอยู่ไหน จิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นภายใน ในขณะที่เห็น จิตไม่ได้อยู่ข้าง

นอก สีสันวัณณะกำลังปรากฏภายนอก จิตเป็นสภาพธรรมที่อยู่ภายใน คือ เป็น

สภาพธรรมที่กำลังรู้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา


การอบรมเจริญปัญญานั้น ต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามความเป็น

จริงที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดง ฉะนั้น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

คือขณะใดที่เห็นแล้วระลึกได้ไม่หลงลืมที่จะพิจารณาศึกษา สังเกต ค่อยๆ รู้ขึ้น

ว่า สภาพเห็นเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ในขณะที่กำลัง

ได้ยินเสียง สติสามารถเกิดขึ้นระลึกรู้ว่า สภาพทีกำลังได้ยินเสียงเป็นสภาพรู้

เป็นอาการรู้ เป็นสภาพธรรมซึ่งเป็นภายใน จึงยากที่จะพิจารณาให้รู้ได้ และ

สภาพที่ได้ยินเสียงนั้น ก็เกิดขึ้นรู้เสียงที่กำลังปรากฏแล้วดับไปทันที จิตซึ่ง

เป็นสภาพรู้นั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปรวดเร็วมาก เมื่อเข้าใจถูกว่าจิตกำลังเห็น

จิตกำลังได้ยิน จิตกำลังคิดนึก เป็นต้น สติปัฏฐานก็ย่อมเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะ

ของจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ในขณะนั้นๆ ได้


ฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาจึงสามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมตรงกับ

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงจนประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรม ดับกิเลสได้

เป็นพระอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

ตามลำดับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 101 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร