วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 14:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: นะโม ตัสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสะ
นะโม ตัสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสะ
นะโม ตัสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสะ

normal_buddha004~0.jpg
normal_buddha004~0.jpg [ 18.54 KiB | เปิดดู 1433 ครั้ง ]
[size=150] 1 ปฐมิวีกสิณ เป็นกรรมฐาน ซึ่งสาธารณะ ซึ่งสาธารณะจริตทั้ง 6 โดยการนำดินมาทำเป็นรูปวงกลม พออเหมาะแก่สายตาที่จะดูแล้วเพ่งดู บริกรรมว่า ดินๆ จนภาพดินนั้นปรากฎติดตาติดใจ หลับก็เห็นเหมือนกับลืมตา เรียกว่าอุคคหนิมิต แล้วเพ่งขยายให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามต้องการ เรียกว่า ปฎิภาคนิมิต เพ่งหนักจนกระทั่งปรากฎมีสีแดงงดงามใสเหมือนกระจกเป้น อุปจารสมาธิ เพ่งหนักเข้า ด้วยการฝึกให้เป็นองค์ณาน คือ วิตกนึกถึงดิน สู่ทุติยณาน กรรมฐาน วิจารประคองให้รู้เฉพาะดินเท่านั้น กรรมฐาน วิจารประคองให้รู้เฉพาะดินเท่านั้น ปิติอิ่มใจ เหมาะใจในอารมณ์ ดินนั้น สุขคือดีใจ สะอาดใจในอารมณ์ดินนั้น เอกัคคตารู้เฉพาะดินนั้นอยู่ เสมอ ดับจากอารมณ์อย่างอื่นสิ้น เป็นอัปปนาสมาธิ มีสมาธิมั่นคงแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว ได้ปฐมณาน เมื่ออยู่กับปฐวีกสิณ เพ่งดินจนไม่ต้องอาศัยวิตก ตรึกนึกถึง ละวิตกเสียได้ ก้าวขึ้น สู่ทุติยณาน เมื่อเพ่งดินไปจนไม่ต้องประคองจิตให้รู้อารมณ์ดินนั้นแล้ว ก็จะละวิจาร ก้าวขึ้นสู่ตติยณาน
เมื่อเพ่ง ดินไปจนละปีติความอิ่มใจเสียได้ เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา ก็ชื่อว่าก้าวขึ้นสู่ จตุตถณาน
จนกระทั่งละสุขได้ มีแต่อุเบกขากับเอกัคคตา แน่วแน่อยู่กับ ปฐวีกสิณนั้น ชื่อว่าก้าวขึ้นสู่ ปัญจมณาน อย่างนี้จัดเป็นสมถะ สงบจากนิวรณ์ ทั้งปวง คือ กามฉันทะความรักใคร่ไม่เกิดขึ้น พยาบาทความชังไม่เกิดขึ้น ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอนไม่เกิดขึ้น อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจไม่เกิดขึ้น วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่เกิดขึ้น มีจิตใจอันสงบดิ่งลง แล้วสู่อารมณ์ปฐวีกสิณเป็นณานที่จะให้ยกขึ้นวิปัสสนาได้ ถ้าผู้เจริญสมถกรรมฐานนี้ไปชอบใจในอารมณ์ ติดใจอยู่ ก็จะติดอยู่เพียงแค่นี้ หรือสำคัญผิดว่า ที่แสงสว่างเกิดจากเพ่งดิน จนเป็นอัปปนาสมาธิ นั้นเป็นที่สุดแล้ว ไม่เจริญวิปัสสนา เพื่อให้แจ้งซึ่งพระนิพพานแล้วใซร้ ก็จะ ได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในวัฏฏะ เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปเสื่อมณานจากพรหมและอรูปพรหมแวก็กลับมาเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์อีก
มาทำชั่วก็จะให้เกิด ในอบายอีก ฉะนั้น จึงจำเป็นแก่ผู้ทำณานทั้งหลาย จะต้องยกณานขึ้นสู่ วิปัสสนา เห็นรูปนามในองค์ณานนั้น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็น ลักษณะของมหัคคตจิต คือ จิตที่ได้ณาน เพราะองค์ณานนั้นเป็นนามขันธ์ ซึ่งมีสงเคราะห์ดังนี้

วิตก เป็นสังขารขันธ์ คือ นามธรรม
วิจาร เป็นสังขารขันธ์ คือ นามธรรม
ปิตี เป็นสังขารขันธ์ คือ นามธรรม
สุข เนเวทนาขันธ์ คือ นามธรรม
เอกัคคตา เป็นสังขารธ์ คือ นามธรรม

[size=150] 1 ปฐมิวีกสิณ เป็นกรรมฐาน ซึ่งสาธารณะ ซึ่งสาธารณะจริตทั้ง 6 โดยการนำดินมาทำเป็นรูปวงกลม พออเหมาะแก่สายตาที่จะดูแล้วเพ่งดู บริกรรมว่า ดินๆ จนภาพดินนั้นปรากฎติดตาติดใจ หลับก็เห็นเหมือนกับลืมตา เรียกว่าอุคคหนิมิต แล้วเพ่งขยายให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามต้องการ เรียกว่า ปฎิภาคนิมิต เพ่งหนักจนกระทั่งปรากฎมีสีแดงงดงามใสเหมือนกระจกเป้น อุปจารสมาธิ เพ่งหนักเข้า ด้วยการฝึกให้เป็นองค์ณาน คือ วิตกนึกถึงดิน สู่ทุติยณาน กรรมฐาน วิจารประคองให้รู้เฉพาะดินเท่านั้น กรรมฐาน วิจารประคองให้รู้เฉพาะดินเท่านั้น ปิติอิ่มใจ เหมาะใจในอารมณ์ ดินนั้น สุขคือดีใจ สะอาดใจในอารมณ์ดินนั้น เอกัคคตารู้เฉพาะดินนั้นอยู่ เสมอ ดับจากอารมณ์อย่างอื่นสิ้น เป็นอัปปนาสมาธิ มีสมาธิมั่นคงแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว ได้ปฐมณาน เมื่ออยู่กับปฐวีกสิณ เพ่งดินจนไม่ต้องอาศัยวิตก ตรึกนึกถึง ละวิตกเสียได้ ก้าวขึ้น สู่ทุติยณาน เมื่อเพ่งดินไปจนไม่ต้องประคองจิตให้รู้อารมณ์ดินนั้นแล้ว ก็จะละวิจาร ก้าวขึ้นสู่ตติยณาน
เมื่อเพ่ง ดินไปจนละปีติความอิ่มใจเสียได้ เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา ก็ชื่อว่าก้าวขึ้นสู่ จตุตถณาน
จนกระทั่งละสุขได้ มีแต่อุเบกขากับเอกัคคตา แน่วแน่อยู่กับ ปฐวีกสิณนั้น ชื่อว่าก้าวขึ้นสู่ ปัญจมณาน อย่างนี้จัดเป็นสมถะ สงบจากนิวรณ์ ทั้งปวง คือ กามฉันทะความรักใคร่ไม่เกิดขึ้น พยาบาทความชังไม่เกิดขึ้น ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอนไม่เกิดขึ้น อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจไม่เกิดขึ้น วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่เกิดขึ้น มีจิตใจอันสงบดิ่งลง แล้วสู่อารมณ์ปฐวีกสิณเป็นณานที่จะให้ยกขึ้นวิปัสสนาได้ ถ้าผู้เจริญสมถกรรมฐานนี้ไปชอบใจในอารมณ์ ติดใจอยู่ ก็จะติดอยู่เพียงแค่นี้ หรือสำคัญผิดว่า ที่แสงสว่างเกิดจากเพ่งดิน จนเป็นอัปปนาสมาธิ นั้นเป็นที่สุดแล้ว ไม่เจริญวิปัสสนา เพื่อให้แจ้งซึ่งพระนิพพานแล้วใซร้ ก็จะ ได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในวัฏฏะ เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปเสื่อมณานจากพรหมและอรูปพรหมแวก็กลับมาเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์อีก
มาทำชั่วก็จะให้เกิด ในอบายอีก ฉะนั้น จึงจำเป็นแก่ผู้ทำณานทั้งหลาย จะต้องยกณานขึ้นสู่ วิปัสสนา เห็นรูปนามในองค์ณานนั้น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็น ลักษณะของมหัคคตจิต คือ จิตที่ได้ณาน เพราะองค์ณานนั้นเป็นนามขันธ์ ซึ่งมีสงเคราะห์ดังนี้

วิตก เป็นสังขารขันธ์ คือ นามธรรม
วิจาร เป็นสังขารขันธ์ คือ นามธรรม
ปิตี เป็นสังขารขันธ์ คือ นามธรรม
สุข เนเวทนาขันธ์ คือ นามธรรม
เอกัคคตา เป็นสังขารธ์ คือ นามธรรม

จิตที่องค์ณานทั้ง 5 เป็นประกอบ เป็นวิญาญาณขันธ์คือนามธรรม ความจำ อารมณ์ปฐมวีกสิณเป็นต้น เป็นสัญญาขันธ์ เป็นนามธรรม หทัยวัตถุรูปเป็น รูปนามก็ดับไป เป็นอนิจจังตั้งอยู่ไม่ได้ เป็นทุกขังทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา บังคับบัญชาๆไม่ได้ดังนี้ เมื่อวิปัสสนาพิจารณามีณานเกิดขึ้นตามลำดับ ทั้ง 16 ญาณแล้ว สิ้นอาสวะกิเลส มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้รับฉายา ว่าเป็น สถยานิกะ ผู้มีความสงบเป็นเครื่องนำไปเป็นพระอริยะบุคคลประเภท ณานลาภีบุคคล ( มีปฐวีกสิณดินทั้งปวงเป็นกรรมฐาน สามารถดำดินได้ ทางยาวทำให้สั้นได้ ทางสั้นทำให้ยาวได้ นิมิตวัตถุต่างๆ ได้ เช่น ภูเขา ป่าไม้ บ้าน ปราสาท เป็นต้น)

2. อาโปกสิณ เพ่งน้ำทั้งปวงเป็นอารมณ์กรรมฐาน ด้วยนำเอาน้ำอันใสสะอาดมาเพ่งว่า น้ำๆนั้นเหมือนกัน จนเกิดอุคคหนิมิตติด ตาทั้งหลับตาและลืมตาก็เห็น จนเกิดปฏิภาคนิมิต เพ่งให้ใหญ่ได้ เล็กได้ตามใจปราถนา บริกรรมว่า น้ำๆ ไปจนเกิดอุปจารสมาธิมีสมาธิใกล้จะได้ญาณได้ จนถึงอัปปนาสมาธิ มีสมาธิแน่วแน่ เกิดองค์ณานประหาณนิวรณ์ขึ้นอนุโลมไปโคตรภูข้ามจากกามโคตรสู่ปฐมณานได้ มีวิตกประหาณถีนมิทธะวิจารประหาณวิจิกิจฉา ปีติประหาณอุทธัจจกุกุจจะสุขประหาณพยาบาท เอกัคคตาประหาณกามฉันทะ อยู่เป็นนิตย์ ฝึกณาน ซึ่งเรียกว่า ณานกิฬา เป็น วสี คือความชำนาญ ได้แก่ อาวัชชนวสิตา ชำนาญในการนึกเห็นอาโปกสิณ ว่องไวทันทีที่นึก สมาปัชชนวสิต ชำนาญในการเข้าณานได้ตรงตามเวลาที่ต้องการ อธิฐานวสิตา ชำนาญในการเข้าณานบังคับไม่ให้ภวังค์เกิดตามความต้องการในเวลาที่อธิษฐานไว้ วุฏฐานวสิตา ชำนาญในการออกจากณานเวลาใด ก็สามารถออกได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา ปัจจเวกขณวสิตา ชำนาญในการพิจารณาองค์ณาน จนกระทั่งผ่านปฐมณานผ่านทุติยณาน ผ่านตติณาน ผ่านจตุตถณานไปถึงปัญจมณาน ตาม วสีทีละองค์ณานไปตามลำดับ ผู้เห็นภัยวัฏฏะไม่ยินดีอยู่แต่เพียงเท่านั้นยังพยายามหาทางเจริญวิปัสสนาต่อไป โดยยกรูปนามในองค์ณานขึ้นสู่พระไตรลักษณ์คือนึกถึงน้ำ รูปนามเกิดขึ้น หยุดนึก รูปนามดับไป ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ บังคับไมได้ เห็นแจ้งตามความเป็นจริง มีญาณ ๑๖ ปรากฏขึ้นตามลำดับ จนข้ามโคตรปุถุชนไปสู่อริยโคตร ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นพระอริยบุคคลประเภทณานลาภีบุคคล(มีอาโปกสิณเป็นกรรมฐาน อาจสามารถเดินบนน้ำได้ ดำน้ำได้ ทำให้ฝนตกได้ เนรมิต แม่น้ำ มหาสมุทร ทำให้น้ำไหล ออกจากกายได้ ทำให้ภูเขา ดิน ป่าไม้ไหวได้ ทำดินเนน้ำได้ ทำน้ำเป็นดินได้)

เตรียมพบกับข้อที่ 3-10 เร็วนี้

ขอทุกท่านพึงเจริญในธรรมทุกท่าเถิด
:b42: เทพบุตร :b42:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร