ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

อ่านพระไตรปิฎก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=24020
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 12:29 ]
หัวข้อกระทู้:  อ่านพระไตรปิฎก

มีไครอ่านพระไตรปิฎกจบครบ 45 เล่มบ้างครับ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

ไม่เคยอ่านเลย :b32:

เจ้าของ:  Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

โห... :b10: แล้วที่เอามาบอกเล่ากันตั้งมากมายนี่เอามาจากใหนกันครับ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

ก็หาๆเอาตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้าง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

แล้วคุณอ่านได้กี่เล่มแล้วครับ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

เล่มแรกว่าไงบ้างครับ

เจ้าของ:  Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

อ้างคำพูด:
ก็หาๆเอาตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้าง

กรรม.. :b5:

ก็เริ่มอ่านพระสูตรก่อน ถ้าเป็นเล่มแปลไทยไม่รวมอัถกถา ก็ถือเป็นเล่ม 9 ตอนนี้อ่านถึงพวกสูตรสั้นๆ รวมๆ ก็ 6-7 เล่มแล้ว อ่านมาตั้งแต่ต้นปี ตอนนี้ก็มาดูพระอภิธรรมบ้างแล้ว

พระสูตรช่วงแรกๆ อธิบายที่มาที่ไปของพระธรรมมีประวัติศาสตร์ด้วย มีเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ข้ามไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะเรื่องมหาปรินิพานสูตร ตอนนี้ข้ามไม่ได้เด็ดขาด (อยู่ในเล่มสองของพระสูตร) พินัยกรรมของพระพุทธองค์เขียนไว้ชัดเจนในสูตรนี้ (เล่มแรกจริงๆ บอกเรื่องเกี่ยวกับการสอนธรรมที่เริ่มจากศีล) เล่มต่อๆ ไปก็เป็นเรื่องที่สั้นลง แต่พออ่านไปแล้วถึงจะเริ่มรู้เนื้อแท้ของพุทธศาสนาได้ชัดเจนขึ้น (รวมไปถึงลัทธิอื่นๆด้วย โดยเฉพาะพรามหณ์)
อ้างคำพูด:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

อ้างคำพูด:
เรื่องมหาปรินิพานสูตร


ยังไงมหาปรินิพพานา มันแปลว่าอะไร ไม่เข้าใจ บอกรายละเอียดหน่อยสิครับ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

อ้างคำพูด:
พออ่านไปแล้วถึงจะเริ่มรู้เนื้อแท้ของพุทธศาสนาได้ชัดเจนขึ้น



อะไรคือเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาครับ แล้วชัดเจนยังไง :b16:

เจ้าของ:  Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

เออ... ตอบงัยดี ถ้าจะเอาแบบฟันธงสั้นๆ ก็ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับโลกุตระ ส่วนถ้าอยากได้รายละเอียด ก็ต้องไปลองอ่านเอาเอง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

Supareak Mulpong เขียน:
เออ... ตอบงัยดี ถ้าจะเอาแบบฟันธงสั้นๆ ก็ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับโลกุตระ ส่วนถ้าอยากได้รายละเอียด ก็ต้องไปลองอ่านเอาเอง


คุณอ่านแล้ว คงรู้สิครับว่า โลกุตระ เป็นยังไง บอกคนไม่เคยอ่านตระกร้าสามใบบ้างสิครับ :b1:

เจ้าของ:  Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

โลกุตร มาจากคำว่า โลก + อุตริ แปลว่า เกินโลก แปลง่ายๆ ว่า ไม่ใช่เรื่องของโลก เป็นเรื่องของความพยายามที่จะออกไปจากโลก พ้นไปจากโลก ส่วนรายละเอียดมันมาก อย่าให้เขียนเลย (ที่จริงยังเขียนไม่ได้ ยังไม่รู้เรื่องแทงตลอด)

วิธีการนั้นก็ไม่น่าจะยาก ตอนนี้กำลังหาคนเคยอ่านพระไตรปิฎกจริงๆ ไม่ได้เอาคำสอนจากครูบาอาจารย์ที่บอกต่อๆ กันมา เพราะเห็นพระสัมมามัมพุทธเจ้าทรงทิ้งไว้เป็นพินัยกรรม อ่านไปก็รู้สึกว่าเจออะไรแปลกๆ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

Supareak Mulpong เขียน:
โลกุตร มาจากคำว่า โลก + อุตริ แปลว่า เกินโลก แปลง่ายๆ ว่า ไม่ใช่เรื่องของโลก เป็นเรื่องของความพยายามที่จะออกไปจากโลก พ้นไปจากโลก ส่วนรายละเอียดมันมาก อย่าให้เขียนเลย (ที่จริงยังเขียนไม่ได้ ยังไม่รู้เรื่องแทงตลอด)

วิธีการนั้นก็ไม่น่าจะยาก ตอนนี้กำลังหาคนเคยอ่านพระไตรปิฎกจริงๆ ไม่ได้เอาคำสอนจากครูบาอาจารย์ที่บอกต่อๆ กันมา เพราะเห็นพระสัมมามัมพุทธเจ้าทรงทิ้งไว้เป็นพินัยกรรม อ่านไปก็รู้สึกว่าเจออะไรแปลกๆ



โลกุตร มาจากคำว่า โลก + อุตริ แปลว่า เกินโลก แปลง่ายๆ ว่า ไม่ใช่เรื่องของโลก เป็นเรื่องของความพยายามที่จะออกไปจากโลก พ้นไปจากโลก

อุตริ

อ้อ โลก+อุตริ แปลว่า เกินโลก เพิ่งเคยได้ยิน แล้วสระอิ มาจากไหน
คำแปลอุตริ ฟังดูชอบกลนะคร้าบ :b32:
ไม่ใช่ โลก+อุตร หรือครับ อุตร แปลว่า เหนือ
แล้วโลกในที่นี้ได้แก่อะไรครับ

เจ้าของ:  Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 18:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

อุตริมนุษย์ก็พวกทำเกินคนนั่นแหละครับ อุตระ หรือ อุตริ อันที่จริงมันก็มาจากรากศัพท์เดียวกันนั้นแหละ

เอาเป็นว่า เรื่องอะไรที่ทำแล้วไม่ได้กลับมาเกิดในโลกอีก (ทั้งสามโลก) ก็คือว่าเป็นพุทธแท้ละครับ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 19:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อ่านพระไตรปิฎก

อ้างคำพูด:
อุตริมนุษย์ก็พวกทำเกินคนนั่นแหละครับ อุตระ หรือ อุตริ อันที่จริงมันก็มาจากรากศัพท์เดียวกันนั้นแหละ
เอาเป็นว่า เรื่องอะไร ที่ทำแล้วไม่ได้กลับมาเกิดในโลกอีก (ทั้งสามโลก) ก็คือว่าเป็นพุทธแท้ละครับ



คุณ Supareak Mulpong เป็นสมาชิกใหม่เพิ่งเข้าร่วมวันนี้เอง แต่คุณได้ทำให้กรัชกายตลึง
ถึงกับต้องเปิดพจนานุกรม

:b6: อืมม ความรู้ความเข้าใจการตีความข้อธรรมแต่ละท่านๆ ช่างหลากหลายดีจริงๆ

เปิดแล้วพบว่างี้
-อุดร ทิศเหนือ เช่น ทิศอุดร = ทิศเหนือ (ปาลี สันสกฤต อุตฺตร)

-อุตริ (อุตตะหริ) ว. นอกคอก, นอกทาง, นอกรีต (ปาลี สันสกฤต ว่า ยิ่ง)
สังเกตคำแปลที่เป็นปาลี สันสกฤต ในวงเล็บไว้

เค้าว่า (อุตริมนุษย์ ก็พวกทำเกินคน)

คงจับแพะกับแกะชนกัน มาจากสิกขาบท ข้อหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ หรือเปล่า
ดูสิกขาบทข้อ ๔ ในปาราชิก

๔.ภิกษุอวดอุตริมนุสสธรรม (คือ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์) ที่ไม่มีในตน ต้องปาราชิก

อุตริมนุสธรรม คุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ ธรรมวิเศษ มีการสำเร็จฌาน สำเร็จมรรคผล
เป็นต้น (ปาลี อุตฺตริมนุสฺสธมฺม)


เมื่อฟังไม่สับจับไปกะเดียดก็สับสน จึงได้เข้าใจผิดว่า (โลกุตร มาจากคำว่า โลก + อุตริ แปลว่า
เกินโลก แปลง่ายๆ ว่า ไม่ใช่เรื่องของโลก เป็นเรื่องของความพยายามที่จะออกไปจากโลก พ้นไปจากโลก)

เค้าขยายคำว่า โลก คือโลกสาม ยังไม่ชัดว่าโลกสามอะไรบ้าง

เคยเห็นแต่โลกุตตรธรรม

โลกุตตริธรรม เพิงเคยได้ยินครั้งนี้เป็นครั้งในชีวิต เป็นเรื่องส่วนตัวของSupareak Mulpong

แต่เป็นความเห็นหนึ่งที่พึงระมัดระวัง

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/